Loader

ประวัติ พระอัญญาโกณฑัญญะ อัครองค์แรก ในพระพุทธศาสนา

Started by phorn456, September 07, 2011, 22:19:18

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

                        อนุพุทธประวัติ
               ๑.  ประวัติแห่งพระอัญญาโกณฑัญญะ
      ดังได้สดับมา  พระอัญญาโกณฑัญญะนั้น  ได้เกิดในสกุล
พราหมณ์มหาศาล  ในบ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ  ไม่ห่างจากกบิล-
วัตถุนคร  มีชื่อว่า  โกณฑัญญะ  เจริญวัยขึ้น  ได้เรียนจบไตรเพท
และรู้ลักษณะมนตร์  คือตำราทายลักษณะ  ในคราวที่สมเด็จพระบรม-
ศาสดาประสูติใหม่  พระเจ้าสุทโธทนะตรัสให้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน
มาเลี้ยงโภชนาหาร   ในการทำพิธีทำนายลักษณะตามราชประเพณี
แล้วเลือกพราหมณ์ ๘ คน  จากพวกนั้นเป็นผู้ตรวจและทำนายลักษณะ.
ครั้งนั้น  โกณฑัญญพราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม  ได้รับเชิญไปในงานเลี้ยง
ด้วย  ทั้งได้รับเลือกเข้าในพวกพราหมณ์ ๘ คน  ผู้ตรวจและทำนายพระ
ลักษณะ  เป็นผู้อ่อนอายุกว่าเพื่อน.   พราหมณ์ ๘ คนนั้น  ตรวจลักษณะ
แล้ว ๗ คน  ทำนายคติแห่งพระมหาบุรุษเป็น ๒ ทางว่า  ถ้าทรงดำรง
ฆราวาส  จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ถ้าเสด็จออกผนวช  จักเป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า   ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์เห็นแน่แก่ใจแล้ว  จึง
ทำนายเฉพาะทางเดียวว่า  จักเสด็จออกผนวช  แล้วได้ตรัสรู้เป็นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแน่.  ตั้งแต่นั้นมา  ได้ตั้งใจว่า  เมื่อถึงคราวเป็น
อย่างนั้นขึ้นและตนยังมีชีวิตอยู่  จักออกบวชตามเสด็จ.

      ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกผนวชแล้ว   กำลังทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยาอยู่  โกณฑัญญพราหมณ์ทราบข่าวแล้ว  ชวนพราหมณ์
ผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้ตรวจทำนายลักษณะในครั้งนั้น  และทำ
กาลกิริยาแล้ว  ได้ ๔ คน คือ ภัททิยะ ๑  วัปปะ ๑  มหานามะ ๑
อัสสชิ ๑ เป็น ๕ คนด้วยกัน  ออกบวชเป็นบรรพชิตจำพวกภิกษุ
ติดตามพระมหาบุรุษไปอยู่ที่ใกล้  เฝ้าอุปัฏฐากอยู่ด้วยหวังว่า  ท่าน
ตรัสรู้แล้ว  จักทรงเทศนาโปรด.   ภิกษุ ๕ รูปสำรับนี้  เรียกว่า
ปัญจวัคคีย์  แปลว่าเนื่องในพวก ๕   เฝ้าอุปัฏฐากพระมหาบุรุษอยู่
ตลอดเวลาทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาคณนาว่า ๖ ปี.   ครั้นพระมหาบุรุษ
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเต็มที่แล้ว  ทรงลงสันนิษฐานว่ามิใช่ทางพระ
โพธิญาณ  ทรงใคร่จะเปลี่ยนตั้งปธานในจิต  จึงทรงเลิกทุกรกิริยา
นั้นเสีย  กลับเสวยพระกระยาหารแค่นทวีขึ้น  เพื่อบำรุงพระกายให้
มีพระกำลังคืนมา  พวกปัญจวัคคีย์สำคัญว่าทรงท้อแท้ต่อการบำเพ็ญ
พรตอันเข้มงวด  หันมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว  สิ้นเลื่อมใส
สิ้นหวังแล้ว  เกิดเบื่อหน่ายขึ้น  ร่วมใจกันละพระมหาบุรุษเสีย  ไป
อยู่ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงนครพาราณสี.
      พระคันถรจนาจารย์แก้ข้อความนี้ว่า   ธรรมดานิยมให้ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์มาพบ  และอุปัฏฐากพระมหาบุรุษในเวลากำลังทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยา  เพื่อจะได้เป็นผู้รู้เห็น   เมื่อถึงคราวทรงแสดงพระธรรม-
เทศนาคัดค้านอัตตกิลมถานุโยค  จะได้เป็นพยานว่า  พระองค์ได้เคย
ทรงทำมาแล้ว  หาสำเร็จประโยชน์จริงไม่   ครั้นถึงคราวต้องการด้วย

วิเวก  บันดาลให้สิ้นภักดี  พากันหลีกไปเสีย.
      ฝ่ายพระมหาบุรุษ  ทรงบำรุงพระกายมีพระกำลังขึ้นแล้ว  ทรง
ตั้งปธานในทางจิต  ทรงบรรลุฌาน ๔  วิชชา ๓  ตรัสรู้อริยสัจ ๔
ทรงวิมุตติจากสรรพกิเลสาสวะบริสุทธิ์ล่วงส่วน   ทรงเสวยวิมุตติสุข
พอควรแก่กาลแล้ว  อันกำลังพระมหากรุณาเตือนพระหฤทัย  ใคร่จะ
ทรงเผื่อแผ่สุขนั้นแก่ผู้อื่น  ทรงเลือกเวหาไนยผู้มีปัญญาสามารถพอจะ
รู้ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพเห็นปานนั้น   ในชั้นต้น  ทรงพระปรารภถึง
อาฬารดาบส  กาลามโคตร  และอุทกดาบส  รามบุตร   อันพระองค์
เคยไปสำนักอยู่เพื่อศึกษาลัทธิของท่าน   แต่เผอิญสิ้นชีวิตเสียก่อนแล้ว
ทั้ง ๒ องค์   ในลำดับนั้น  ทรงพระปรารภถึงภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้เคย
อุปัฏฐากพระองค์มา  ทรงสันนิษฐานว่าจักทรงแสดงประถมเทศนาแก่
เธอ   ครั้นทรงพระพุทธดำริอย่างนี้แล้ว  เสด็จพระพุทธดำเนินจาก
บริเวณพระมหาโพธิ  ไปสู่อิสิปตนมฤคทายวัน.
      ฝ่ายพวกภิกษุปัญจวัคคีย์  ได้เห็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จมาแต่ไกล  เข้าใจว่าเสด็จตามมาด้วยปรารถนาจะหาผู้อุปัฏฐาก
เนื่องจากความเป็นผู้มักมากนั้น  นัดหมายกันว่า  จักไม่ลุกขึ้นรับ
จักไม่รับบาตรจีวร  จักไม่ไหว้  แต่จักตั้งอาสนะไว้  ถ้าพระองค์
ปรารถนา  จะได้ประทับ.   ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปใกล้  อันความ
เคารพที่เคยมา  บันดาลให้ลืมการนัดหมายกันไว้นั้นเสีย  พร้อมกัน
ลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังเคยมา   แต่ยังทำกิริยากระด้าง
กระเดื่อง  พูดกับพระองค์ด้วยถ้อยคำตีเสมอ  พูดออกพระนาม  และ

ใช้คำว่า  อาวุโส.   พระองค์ตรัสบอกว่า  ได้ทรงบรรลุอมฤตธรรมแล้ว 
จักทรงแสดงให้ฟัง  ตั้งใจปฏิบัติตามแล้ว  ไม่ช้าก็บรรลุธรรมนั้น
บ้าง.   เธอทั้งหลายกล่าวค้านว่า  แม้ด้วยการประพฤติทุกรกิริยา
อย่างเข้มงวด  พระองค์ยังไม่อาจบรรลุอมฤตธรรม   ครั้นคลายความ
เพียรเสียแล้ว  กลับประพฤติเพื่อความมักมาก  ไฉนจะบรรลุธรรมนั้น
ได้เล่า.   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือน  พวกภิกษุปัญจวัคคีย์
พูดคัดค้าน  โต้ตอบกันอย่างนั้นถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง.   พระองค์ตรัสเตือน
ให้เธอทั้งหลายตามระลึกในหนหลังว่า  ท่านทั้งหลายจำได้หรือ  วาจา
เช่นนี้  เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้ ?  พวกภิกษุปัญจวัคคีย์
นึกขึ้นได้ว่า  พระวาจาเช่นนี้ไม่เคยได้ตรัสเลย  จึงมีความสำคัญใน
อันจะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม.   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้
ตรัสพระธรรมเทศนาเป็นประถม  ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่
พวกปัญจวัคคีย์   ในเบื้องต้น  ทรงยกส่วนสุด ๒ อย่าง  คือ  กาม-
สุขัลลิกานุโยค  คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกามอันเป็น
ส่วนสุดข้างหย่อน ๑  อัตตกิลมถานุโยค  คือ การประกอบความ
เหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า  อันเป็นส่วนสุดข้างตึง ๑  ขึ้นแสดงว่า  อัน
บรรพชิตไม่พึงเสพ  ในลำดับนั้น  ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา  คือปฏิบัติ
เป็นสายกลาง  ไม่ข้องแวะด้วยส่วนสุดทั้ง ๒ นั้น  อันมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ ๑  สัมมาสังกัปปะ  ความดำริชอบ ๑
สัมมาวาจา  เจรจาชอบ ๑  สัมมากัมมันตะ  ทำการงานชอบ ๑  สัมมา-
อาชีวะ  เลี้ยงชีวิตชอบ ๑  สัมมาวายามะ  เพียรชอบ ๑  สัมมาสติ
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 5
ระลึกชอบ ๑  สัมมาสมาธิ  ตั้งใจชอบ ๑.   ในลำดับนั้น  ทรงแสดง
อริยสัจ ๔ คือ  ทุกข์ ๑  สมุทัย  เหตุยังทุกข์ให้เกิด ๑  ทุกข-
นิโรธ  ความดับทุกข์ ๑  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ปฏิบัติถึงความ
ดับทุกข์ ๑  ทุกข์  ทรงยกสภาวทุกข์และเจตสิกทุกข์ขึ้นแสดง  ทุกข-
สมุทัย  ทรงยกตัณหามีประเภท ๓ คือ  กามตัณหา  ภวตัณหา
วิภวตัณหา  ขึ้นแสดง  ทุกขนิโรธ  ทรงยกความดับสิ้นเชิงแห่ง
ตัณหานั้นขึ้นแสดง  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ทรงยกอริยมรรคมี
องค์ ๘  คือ  มัชฌิมาปฏิปทานั้นขึ้นแสดง.   ในลำดับนั้น  ทรงแสดง
พระญาณของพระองค์อันเป็นไปในอริยสัจ ๔ นั้น  อย่างละ ๓ ๆ คือ
สัจจญาณ  ได้แก่รู้อริยสัจ ๔  นั้น ๑  กิจจญาณ  ได้แก่รู้กิจ  อันจะ
พึงทำเฉพาะอริยสัจนั้น ๆ ๑  กตญาณ  ได้แก่รู้ว่ากิจอย่างนั้น ๆ
ได้ทำเสร็จแล้ว ๑  พระญาณทัสสนะ  มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ใน
อริยสัจ ๔ เหล่านี้  ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด  ยังทรงปฏิญญาพระองค์
ว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณไม่ได้เพียงนั้น  ต่อบริสุทธิ์แล้ว
จึงทรงอาจปฏิญญาพระองค์อย่างนั้น   ในที่สุด  ทรงแสดงผลแห่ง
การตรัสรู้อริยสัจ ๔ นั้น  เกิดพระญาณเป็นเครื่องเห็นว่าวิมุตติ
คือความพ้นจากกิเลสอาสวะของพระองค์ไม่กลับกำเริบ  ความเกิดครั้งนี้
เป็นครั้งที่สุด  ต่อนี้ไม่มีความเกิดอีก.
      พระธรรมเทศนานี้  พระคันถรจนาจารย์เรียกว่า  พระธรรม-
จักกัปปวัตนสูตร๑  โดยอธิบายว่า  ประกาศศพระสัมมาสัมโพธิญาณ-


เทียบด้วยจักรรัตนะ  ประกาศความเป็นจักรพรรดิราช.
      เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  กำลังตรัสพระธรรมเทศนาอยู่
ธรรมจักษุคือดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรมปราศจากธุลีมลทิน  ได้เกิด
ขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล  มีความดับเป็นธรรมดา.   ท่านผู้ได้ธรรมจักษุ  พระ
อรรถกถาจารย์กล่าวว่าเป็นพระโสดาบัน  โดยนัยนี้  ธรรมจักษุได้แก่
พระโสดาปัตติมรรค.   ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุโลกุตตรธรรมเป็น
ประถมสาวก  เป็นพยานความตรัสรู้ของพระศาสดา  เป็นอันว่า  ทรง
ยังความเป็นสัมมาสัมพุทธให้สำเร็จบริบูรณ์   ด้วยเทศนาโปรดให้
ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วยอย่างหนึ่ง.   สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า
ท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว  ทรงเปล่งพระอุทานว่า   อญฺาสิ
วต  โภ  โกณฺฑญฺโญ  อญฺญาสิ  วต  โภ  โกณฺฑญฺโญ  แปลว่า
โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ  เพราะอาศัยพระอุทานว่า  อญฺญาสิ
ที่แปลว่า  ได้รู้แล้ว  คำว่า  อญฺญาโกณฺฑญฺโญ  จึงได้เป็นนามของ
ท่านตั้งแต่กาลนั้นมา.
      ท่านอัญญาโกณฑัญญะ  ได้เห็นธรรมแล้ว  ได้ความเชื่อใน
พระศาสดามั่นคงไม่คลอนแคลน  ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรม-
วินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์ทรงรับด้วยพระวาจา
ว่า  มาเถิดภิกษุ  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  จงประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.   พระวาจานั้นย่อมให้สำเร็จอุปสมบท
ของท่าน.   ด้วยว่าในครั้งนั้น  ยังมิได้ทรงพระอนุญาตวิธีอุปสมบท

อย่างอื่น  ทรงพระอนุญาตแก่ผู้ใด  ด้วยพระวาจาเช่นนั้น  ผู้นั้นย่อม
เป็นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.   อุปสมบทอย่างนี้  เรียกว่า  เอหิภิกขุ-
อุปสัมปทา  ผู้ได้รับพระพุทธานุญาตเป็นภิกษุด้วยพระวาจาเช่นนี้
เรียกว่า  เอหิภิกขุ.   ทรงรับท่านอัญญาโกณฑัญญะเป็นภิกษุในพระ
พุทธศาสนาด้วยพระวาจาเช่นนั้นเป็นครั้งแรก.  จำเดิมแต่กาลนั้นมา
ทรงสั่งสอนท่านทั้ง ๔ ที่เหลือนั้น  ด้วยพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดตาม
สมควรแก่อัธยาศัย.   ท่านวัปปะและท่านภัททิยะได้ธรรมจักษุแล้ว
ทูลขออุปสมบท  พระศาสดาทรงรับเป็นภิกษุ  ด้วยพระวาจาเช่นเดียว
กัน.   ครั้งนั้น  พระสาวกทั้ง ๓ เที่ยวบิณฑบาต  นำอาหารมาเลี้ยงกัน
ทั้ง ๖ องค์.   ภายหลังท่านมหานามะและท่านอัสสชิได้ธรรมจักษุแล้ว
ทูลขออุปสมบท  ทรงรับโดยนัยนั้น.
      ครั้นภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นธรรม  และได้อุปสมบทเป็นสาวก
ทั่วกันแล้ว   สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา  เป็นทาง
อบรมวิปัสสนา  เพื่อวิมุตติอันเป็นผลที่สุดแห่งพรหมจรรย์อีกวาระหนึ่ง
ทรงแสดงปัญจขันธ์  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ
ว่าเป็นอนัตตา  มิใช่ตน  หากปัญจขันธ์นี้จักเป็นอัตตาเป็นตนแล้วไซร้
ปัญจขันธ์นี้  ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ  และจะพึงได้ในปัญจขันธ์นี้ว่า
ขอจงเป็นอย่างนี้เถิด  อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย  เพราะเหตุปัญจขันธ์
เป็นอนัตตา  จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ  และย่อมไม่ได้ตามปรารถนาอย่าง
นั้น  ในลำดับนั้น  ตรัสถามนำให้ตริเห็นแล้ว  ปฏิญญาว่า  ปัญจขันธ์
นั้นไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  โดยเนื่องเหตุกันมาเป็นลำดับ

แล้วทรงแนะนำให้ละความถือมั่นในปัญจขันธ์  ทั้งที่เป็นอดีต  อนาคต
ปัจจุบัน  ทั้งที่เป็นภายใน  ทั้งที่เป็นภายนอก  ทั้งที่หยาบ  ทั้งที่ละเอียด
ทั้งที่เลว  ทั้งที่ดี  ทั้งที่อยู่ห่าง  ทั้งที่อยู่ใกล้  ว่านั่นมิใช่ของเรา  นั่นมิใช่
เรา  นั่นมิใช่ตัวของเรา   ในที่สุดทรงแสดงอานิสงส์ว่า  อริยสาวก
ผู้ได้ฟังแล้ว  ย่อมเบื่อหน่ายในปัญจขันธ์  ย่อมปราศจากความกำหนัด
รักใคร่  จิตย่อมพ้นจากความถือมั่น  มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว  รู้ชัดว่า
ความเกิดสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว  กิจที่ควรทำได้
ทำเสร็จแล้ว  ไม่ต้องทำกิจอย่างอื่นอีก  เพื่อบรรลุผลอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์.
      พระธรรมเทศนานี้  แสดงลักษณะเครื่องกำหนดปัญจขันธ์ว่าเป็น
อนัตตา  พระคันถรจนาจารย์จึงเรียกว่า  อนัตตลักขณสูตร.๑
      เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดา  ตรัสพระธรรมเทศนาอยู่  จิตของ
ภิกษุปัญจวัคคีย์  ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสพระธรรมเทศนานั้น
พ้นแล้วจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.   ท่านทั้ง ๕ ได้เป็นพระ
อรหันตขีณาสพ  ประพฤติจบพรหมจรรย์  ในพระธรรมวินัยนี้  เป็น
สังฆรัตนะจำพวกแรก  เป็นที่เต็มแห่งพระไตรรัตน์  ประกาศสัมมา
สัมพุทธภาพแห่งพระศาสดาให้ปรากฏ.   ครั้งนั้น  มีพระอรหันต์ทั้ง
สมเด็จพระสุคตด้วยเพียง ๖ พระองค์.