Loader

ประวัติแห่งพระโมคคัลลานะ

Started by phorn456, September 07, 2011, 22:37:16

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

  ประวัติแห่งพระโมคคัลลานะ
      พระโมคคัลลานะนั้น  เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านผู้หนึ่ง  ผู้โมค-
คัลลานโคตรและนางโมคคัลลี  ชื่อนี้น่าจะเรียกตาสกุล  เกิดในตำบล
บ้านไม่ห่างแต่กรุงราชคฤห์  มีระยะทางพอไปมาถึงกันกับบ้านสกุลแห่ง
พระสารีบุตร  ท่านชื่อ โกลิตะมาก่อน  อีกอย่างหนึ่ง  เขาเรียกตาม
โคตรว่า  โมคคัลลานะ   เมื่อท่านมาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว
เขาเรียกท่านว่า  โมคคัลลานะ  ชื่อเดียว.   จำเดิมแต่ยังเยาว์จนเจริญวัยแล้ว
ได้เป็นมิตรผู้ชอบพอกันกับพระสารีบุตร  มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน  มีสกุล
เสมอกัน  ได้ศึกษาศิลปศาสตร์ด้วยกันมา  ได้ออกบวชเป็นปริพาชกด้วย
กัน  ได้เข้าอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ด้วยกัน  ดังกล่าวแล้วในประวัติ
แห่งพระสารีบุตร.   ในอธิการนี้  จักกล่าวประวัติเฉพาะองค์พระโมค-
คัลลานะเป็นแผนกออกไป.
      จำเดิมแต่ท่านได้อุปสมบทแล้วในพระธรรมวินัยนี้ได้ ๗ วัน  ไป
ทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม  แขวงมคธ  อ่อนใจนั่งโงกง่วง
อยู่   พระศาสดาเสด็จไปที่นั้น  ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความโงกง่วง
สั่งสอนท่านว่า๑  โมคคัลลานะ  เมื่อท่านมีสัญญาอย่างไร  ความง่วงนั้น
ย่อมครอบงำได้  ท่านควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก  ข้อนี้จักเป็นเหตุ
ให้ท่านละความง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นควรตรึกตรองพิจารณา
ถึงธรรม  อันตนได้ฟังแล้วและได้เรียนแล้วอย่างไร  ด้วยน้ำใจของตน

ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้,   ถ้ายังละไม่ได้  ท่านควร
สาธยายธรรมอันตนได้ฟังและได้เรียนแล้วอย่างไร  โดยพิสดาร  ข้อนี้จัก
เป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรยอน
ช่องหูทั้ง ๒ ข้าง  และลูบตัวด้วยฝ่ามือ  ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความ
ง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรลุกขึ้นยืน  แล้วลูบนัยน์ตา
ด้วยน้ำ  เหลียวดูทิศทั้งหลาย  แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์  ข้อนี้จักเป็นเหตุ
ให้ท่านละความง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรทำในใจถึง
อาโลกสัญญา  คือความสำคัญในแสงสว่าง  ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้
ในจิต  ให้เหมือนกันทั้งกลางวันกลางคืน  มีใจเปิดเผยฉะนี้  ไม่มีอะไร
หุ้มห่อ  ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด  ข้อนี้จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วง
นั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควรอธิษฐานจงกรม  กำหนดหมาย
เดินกลับไปกลับมา  สำรวมอินทรีย์  มีจิตไม่คิดไปภายนอก  ข้อนี้
จักเป็นเหตุให้ท่านละความง่วงนั้นได้,  ถ้ายังละไม่ได้  แต่นั้นท่านควร
สำเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงข้างเบื้องขวา  ซ้อนเท้าเหลื่อม  มี
สติสัมปชัญญะ  ทำความหมายในอันจะลุกขึ้นไว้ในใจ  พอท่านตื่นแล้ว
รีบลุกขึ้น  ด้วยความตั้งใจว่า  เราจะไม่ประกอบสุขในการนอน  เราจัก
ไม่ประกอบสุขในการเอนข้าง (เอนหลัง) เราจักไม่ประกอบสุขในการ
เคลิ้มหลับ  โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้แล.   อนึ่ง
โมคคัลลานะ  ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจักไม่ชูงวง (คือถือ
ตัว) เข้าไปสู่สกุล  ดังนี้.   เพราะว่า  ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่สกุล  ถ้า
กิจการในสกุลนั้นมีอยู่  อันเป็นเหตุที่มนุษย์เขาจักไม่นึกถึงภิกษุผู้มาแล้ว
ภิกษุก็คงคิดว่า  เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกร้าวจากสกุลนี้  เดี๋ยวนี้ดู
มนุษย์พวกนี้มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา  เพราะไม่ได้อะไร  เธอก็จัก
มีความเก้อ  ครั้นเก้อ  ก็จักเกิดความฟุ้งซ่าน   ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว
ก็จักเกิดความไม่สำรวม  ครั้นไม่สำรวมแล้ว  จิตก็จักห่างจากสมาธิ.  อนึ่ง
ท่านควรสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า  เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกัน  ถือ
ผิดต่อกันดังนี้  เพราะว่า  เมื่อคำอันเป็นเหตุเถียงกัน  ถือผิดต่อกันมีขึ้น
ก็จำจักต้องหวังความพูดมาก  เมื่อความพูดมากมีขึ้น  ก็จักเกิดความคิดฟุ้ง
ซ่าน  ครั้นคิดฟุ้งซ่านแล้ว  ก็จักเกิดความไม่สำรวม  ครั้นไม่สำรวมแล้ว
จิตก็จักห่างจากสมาธิ.  อนึ่ง  โมคคัลลานะ  เราสรรเสริญความคลุกคลี
ด้วยประการทั้งปวงหามิได้  แต่มิใช่ไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยประ-
การทั้งปวงเลย  คือ  เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วยหมู่ชนทั้ง  ทั้งคฤหัสถ์
ทั้งบรรพชิต  ก็แต่ว่า  เสนาสนะที่นอนที่นั่งอันใดเงียบเสียงอื้ออึง
ปราศจากลมแต่คนเดินเข้าออก  ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการ
ที่สงัด  ควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย  เราสรรเสริญความ
คลุกคลีเสนาสนะเห็นปานนั้น.   เมื่อพระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้ว
พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า  โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร  ภิกษุ
ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา  มีความสำเร็จล่วงส่วน  เกษมจาก
โยคธรรมล่วงส่วน  เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน  มีที่สุดล่วงส่วน
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.   พระศาสดาตรัสตอบว่า
โมคคัลลานะ  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าบรรดาธรรมทั้งปวงไม่ควร
ยึดมั่น  ครั้นได้สดับดังนี้แล้ว  เธอทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญา
อันยิ่ง   ครั้นทราบธรรมทั้งปวงชัดด้วยปัญญาอันยิ่งดังนั้นแล้ว  ย่อม
กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง   ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว  เธอได้
เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง   พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องหน่าย
พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็นเครื่องดับ   พิจารณาเห็นด้วยปัญญาเป็น
เครื่องสละคืน  ในเวทนาทั้งหลายนั้น   เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น  ย่อม
ไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก  เมื่อไม่ยึดมั่น  ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น  เมื่อ
ไม่สะดุ้งหวาดหวั่น  ย่อมดับกิเลสให้สงบจำเพาะตน  และทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นที่ต้องทำอย่างนี้อีกมิได้มี โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล  ภิกษุ
ชื่อว่า  น้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา  มีความสำเร็จล่วงส่วน  เกษม
จากโยคธรรมล่วงส่วน  เป็นพรหมจารีบุคคลล่วงส่วน  มีที่สุดล่วงส่วน
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย   พระโมคคัลลานะปฏิบัติ
ตามพระพุทธโอวาทที่พระศาสดาทรงสั่งสอน  ก็ได้สำเร็จพระอรหัตใน
วันนั้น.
      พระศาสดา  ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะเป็นคู่กับพระสารีบุตร
ในอันอุปการะภิกษุผู้เข้ามาอุปสมบทใหม่ในพระธรรมวินัย ดังกล่าวแล้ว
ในหนหลัง.  อีกประการหนึ่ง  ทรงยกย่องพระโมคคัลลานะว่าเป็นเยี่ยม
แห่งภิกษุสาวกผู้มีฤทธิ์นี้.   ฤทธิ์นี้ หมายเอาคุณสมบัติเป็นเครื่องสำเร็จ
แห่งความปรารถนา  สำเร็จด้วยความอธิษฐาน  คือตั้งมั่นแห่งจิต  ผลที่
สำเร็จด้วยอำนาจฤทธิ์นั้น  ท่านแสดงล้วนแต่พ้นวิสัยของมนุษย์  ดังมี
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 42
แจ้งอยู่ในอิทธิวิธี  อันนับเป็นอภิญญาอย่างหนึ่ง  ด้วยหมายจะแสดง
บุคคลาธิฏฐาน  เปรียบธัมมาธิฏฐาน  หรือด้วยจะให้เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น
จริง  ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวถึงในอธิการนี้  เพราะไม่เกี่ยวข้องด้วยฤทธิ์อันมี
เฉพาะในองค์พระโมคคัลลานะ.  แต่ความเข้าใจฤทธิ์โดยอาการอย่างนั้น
เป็นเหตุให้พระคันถรจนาจารย์พรรณนาถึงความวิเศษแห่งพระโมค-
คัลลานะว่า  สามารถจาริกเที่ยวไปในสวรรค์  ถามเทวบุตรบ้าง  เทวธิดา
บ้าง  ถึงความได้สมบัติในที่นั้นด้วยกรรมอะไร  ได้รับบอกแล้วกลับลง
มาเล่าในมนุษยโลก.  อีกทางหนึ่งเที่ยวจาริกไปในเปตโลกหรือในนิรยา-
บาย  พบสัตว์ได้เสวยทุกข์มีประการต่าง ๆ  ถามถึงกรรมที่ได้ทำในหน
หลัง  ได้ความแล้ว  นำมาเล่าในมนุษยโลก.   อีกประการหนึ่ง  พระ
ศาสดาจะโปรดเวไนยนิกรแต่เป็นผู้ดุร้าย  จะต้องทรมานให้สิ้นพยศก่อน
ตรัสใช้พระโมคคัลลานะให้เป็นผู้ทรมาน.  ผู้อ่านผู้ฟังเชื่อตามท้องเรื่อง
จะพึงเห็นพระโมคคัลลานะ  เป็นสาวกสำคัญในพระพุทธศาสนาองค์
หนึ่ง.  ผู้ไม่เชื่อจะไม่พึงเห็นพระโมคคัลลานะเป็นสาวกสำคัญเลย.   ถ้า
จะแปลคำพรรณนานั้นว่าเป็นบุคคลาธิฏฐาน  เปรียบธัมมาธิษฐาน  จะ
พึงได้ความว่า  พระโมคคัลลานะ  สามารถจะชี้แจงสั่งสอนบริษัทให้เห็น
บาปบุญคุณโทษโดยประจักษ์ชัดแก่ใจ  ดุจว่าได้ไปเห็นมาต่อตาแล้วนำ
มาบอกเล่า  การทรมานเวไนยผู้มีทิฏฐิมานะให้ละพยศ  จัดว่าเป็น
อสาธารณคุณ  ไม่มีแก่พระสาวกทั่วไปก็ได้.  การที่พระศาสดาทรงยกย่อง
พระโมคคัลลานะว่า  เป็นเอตทัคคะในฝ่ายสาวกผู้มีฤทธิ์นั้น  ประมวล
เข้ากับการที่ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่า  เป็นเอตทัคคะในฝ่ายภิกษุผู้มี
นักธรรมโท - อนุพุทธประวัติ - หน้าที่ 43
ปัญญาจะพึงให้ได้สันนิษฐานว่า  พระโมคคัลลานะ  เป็นกำลังใหญ่ของ
พระศาสดาในอันยังการที่ทรงพระพุทธดำริไว้ให้สำเร็จ  พระศาสดาได้
สาวกผู้มีปัญญา  เป็นผู้ช่วยดำริการ  และได้สาวกผู้สามารถยังภารธุระที่
ดำริแล้วนั้นให้สำเร็จ  จักสมพระมนัสสักปานไร.   แม้โดยนัยนี้  พระ
โมคคัลลานะ  จึงได้รับยกย่องว่าเป็นพระอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรเป็น
ฝ่ายซ้าย  โดยหมายความว่า  เป็นคณาจารย์สอนพระศาสนาในฝ่ายอุดร
ทิศดังกล่าวแล้ว  หรือโดยหมายความว่าเป็นที่ ๒ รองแต่พระสารีบุตร
ลงมา.
      พระธรรมเทศนาของพระโมคคัลลานะอยู่ข้างหายาก  ที่เป็นโอวาท
ให้แก่ภิกษุสงฆ์  มีแต่อนุมานสูตร๑  ว่าธรรมอันทำตนให้เป็นผู้ว่ายาก
หรือว่าง่าย  พระธรรมสังคาหกาจารย์  สังคีติไว้ในมัชฌิมนิกาย.
      พระโมคคัลลานะนั้น  เห็นจะเข้าใจในการนวกรรมด้วย  พระ
ศาสดาจึงได้โปรดให้เป็นนวกัมมาธิฏฐายี  คือ  ผู้ดูนวกรรมแห่งบุรพา-
ราม  ที่กรุงสาวัตถี  อันนางวิสาขาสร้าง.
      แม้พระโมคคัลลานะ  ก็ปรินิพพานก่อนพระศาสดา.  มีเรื่องเล่าว่า
ถูกผู้ร้ายฆ่า  ดังต่อไปนี้:   ในคราวที่พระเถรเจ้าอยู่ ณ ตำบลกาฬสิลา
แขวงมคธ  พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า  พระโมคคัลลานะเป็นกำลังใหญ่
ของพระศาสดา  สามารถนำข่าวในสวรรค์และนรกมาแจ้งแก่มนุษย์
ชักนำให้เลื่อมใส  ถ้ากำจัดพระโมคคัลลานะเสียได้แล้ว  ลัทธิฝ่ายตนจัก
รุ่งเรืองขึ้น  จึงจ้างผู้ร้ายให้ลอบฆ่าพระโมคคัลลานะเสีย.   แต่ในคราว

รจนาอรรถกถา  ชะรอยจะเห็นว่าพระสาวกเช่นพระโมคคัลลานะ  ถึง
มรณะเพราะถูกฆ่า  หาสมควรไม่  ในท้องเรื่องจึงแก้ว่าใน ๒ คราวแรก
พระโมคคัลลานะหนีไปเสีย  ผู้ร้ายทำอันตรายไม่ได้  ในคราวที่ ๓ ท่าน
พิจารณาเห็นกรรมตามทัน  จึงไม่หนี  ผู้ร้ายทุบตีจนแหลก  สำคัญว่า
ถึงมรณะแล้ว นำสรีระไปซ่อนไว้ในสุมทุมแห่งหนึ่งแล้วหนีไป.   ท่าน
ยังไม่ถึงมรณะ  เยียวยาอัตภาพด้วยกำลังฌานไปเฝ้าพระศาสดาทูลลา
แล้ว  จึงกลับมาปรินิพพาน ณ ที่เดิม  ในสาวกนิพพานปริวัตร  กล่าวว่า
พระโมคคัลลานะอยู่มาจนถึงพรรษาที่ ๔๕  แต่ตรัสรู้ล่วงแล้ว  ปรินิพ-
พานในวันดับแห่งกัตติกมาส  ภายหลังพระสารีบุตรปักษ์หนึ่ง  พระ
ศาสดาได้เสด็จไปทำฌาปนกิจแล้ว  รับสั่งให้เก็บอัฐิธาตุมาก่อพระเจดีย์
บรรจุไว้  ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูแห่งเวฬุวนาราม.   ระยะทางเสด็จพุทธ-
จาริกแต่บ้านเวฬุคาม  อันกล่าวในปกรณ์นี้ไม่สมด้วยบาลีมหาปรินิพ-
พานสูตร  น่าเห็นว่าปรินิพพานก่อนแต่นั้นแล้ว  ถ้าพระเถรเจ้าอยู่มาถึง
ปัจฉิมโพธิกาล  บาลีมหาปรินิพพานสูตร  น่าจักได้กล่าวถึงท่านบ้าง.