Loader

บทสวดอนิสงส์นานับประการ สวดกันบ่อยๆนะครับ

Started by Neosiris, February 08, 2012, 15:00:55

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้

พระอาการะวัตตาสูตรนี้ ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้ปรารถนา พระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เป็นพระพุทธเจ้า มีปัญญามากเพราะเจริญพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ เจริญได้ทุกๆวัน จะเห็นผลความสุขเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการ ได้ 4 เดือน ( คือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่ากระบือบ้าน และกระบือเถื่อนพยัคฆะ หมู เสือ สิงห์และ ภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชาผู้เป็นจอมของนรชนภัยอันเกิดแต่น้ำ และเพลิง เกิดแต่มนุษย์ และอมนุษย์ ภูตผีปิศาจ เกิดแต่อาชญาของแผ่นดิน เกิดแต่ยักษ์กุมภัณฑ์และคนธรรพ์อารักขเทวดา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆเกิดแต่วิชาธรผู้ทรงคุณวิทยากร และภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ)


ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานเว้นแต่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าให้ผู้อื่นเลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชา เคารพนับถือพร้อมทั้ง ไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใส จะกระทำซึ่งอาการะวัตตาสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อนพึ่งพาอาศัยในวัฎฎะกันดาร ดุจเกาะแลฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปมาในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า28 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าของเราปัจจุบันนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงเจริญรอยตามพระสูตรนี้มาทุกๆพระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่น ไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึง เป็นธรรมอันระงับได้โดยแท้

ในอนาคตกาล ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกถ่วงไป เป็นวัชชกรรมที่ชักนำให้ไปปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม คือ สัญชีพนรก กาฬสุตตนรก สังฆาฏนรก โรรุวนรก มหาโรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉานกำเนิดไซร้ ถ้าได้ท่องบ่นจำจนคล่องก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์ ผู้นั้นระลึกตามเนื่องๆก็จะสำเร็จ ไตรวิชชา และ อภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญานให้บริสุทธิ์ ดุจองค์มเหสักกเทวราช

มีอาการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป จะเป็นที่พึ่งพาอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหาร ภัยอันตราย ศัตรูหมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี่เป็นทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตา

ในสัมปรายิกานิสงส์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้ เมื่อสืบขันธะประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือน และที่คลังเป็นต้นประกอบด้วยเครื่องอลังการวิภูษิตพรรณต่างๆ จะมีกำลังมากแรงขยันต่ออยุทธนาข้าศึก ศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศซึ่งสรรพรูปทั้งปวง และจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณ และจะได้เป็น บรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 ทวีปน้อย 2000 เป็นบริวาร นานถึง 36 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยประสาทอันแล้วไปด้วยทองควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว อันเป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน

ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร อานิสงส์คงอภิบาล ตามประคองไป ให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาน อวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพาน อนึ่ง ถ้ายังไม่ถึง พระนิพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉานกำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม ช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุภโตพยัญชนกอันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทย ที่เป็นอภัพพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชน ผู้ใดทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยถึงตาย จะเป็นคนมีศีล ศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรคาพยาธิเบียดเบียน สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกาย ก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์ ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้จะตายจะไม่หลงสติ จะดำรงไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบ ซึ่งพระสูตรอันเจือปนด้วยพระวินัยปรมัตถ์ มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้ จบอานิสงส์สังเขป

พระอาการวัตตาสูตร เป็นพระสูตรซึ่งบรรจุ นวหรคุณอภินิหาร การก้าวลงสู่พระครรภ์ การตั้งอยู่ในพระครรภ์ ความตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระองค์บ้าง มหาปัญญาบารมีธรรมของพระองค์บ้าง วิชชาปริญญาธรรมบ้าง บรรจุไว้ซึ่งทศพลญาณกายกำลังของพระองค์บ้าง พุทธจริยาและลักษณะธรรมบ้าง ตลอดทั้งความชำนาญในกำลังญาณต่างๆ และบรรจุไว้ซึ่งพระพุทธประเพณี เมื่อบุคคลใดได้ท่องบ่นสาธยายทุกเช้าค่ำ จะมีอานุภาพ มหาตบะเดชะ ตลอดทั้งยศอำนาจ ลาภเมตตามหานิยม ทั่วทุกสารทิศ บันดาลให้เกิดโภคสมบัติ บริวารสมบัติ ประกอบด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดจนดลบันดาลตนเองให้มีฤทธิ์ มีโชค มีสติ มีปัญญา ป้องกัน สรรพภัย มิให้แผ้วพาลได้ จะคิดอะไรก็สมปรารถนา ด้วยอำนาจแห่งพระอาการวัตตาสูตรที่ตนสาธยาย ตลอดกาลนานฯ

ให้ใช้ภาวนาสำหรับคนดวงชะตาขาด เป็นการต่อดวงชะตาชีวิตและจะมีอานุภาพให้เกิดโชคลาภ อำนาจ บริวาร และปราศจากภัยอันตราย ให้ภาวนาทุกเช้าค่ำ

ขึ้นต้นพระคาถาอาการวัตรสูตร
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ

พระคาถาอาการวัตรสูตร
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะ มะนุสสานัง
อิติปิ โส ภะคะวา พุธโธ
อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติ อะระหาทิคุณะวัคโค ปะฐะโมฯ

พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม [วรรคที่ 1]

อิติปิ โส ภะคะวา อภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ญานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ชุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
อภินิหาระวัคโค ทุติโย [วรรคที่ 2]

อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละ วิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐา ปาระมิสัมปันโน
คัพภะ วุฏฐานะวัคโค ตะติโย [วรรคที่ 3]

อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะ มะหาปุริสะลักขะณา ปาระมิสัมปันโน
อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ [วรรคที่ 4]

อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะ พุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม [วรรคที่ 5]

อิติปิ โส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อุเบกขา ปาระมิสัมปันโน

ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ [วรรคที่ 6]

อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังขานะหะนัง ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญานะ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญานะทัสสะ ปาระมิสัมปันโน
ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม [วรรคที่ 7]

อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา วิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะ ปะริยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
วิชชาวัคโค อัฏฐะโม [วรรคที่ 8]

อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญานะ ปาระมิสัมปันโน
ปะริญญาณะวัคโค นะวะโม [วรรคที่ 9]

อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
โพธิปักขิยะธัมมะวัคโค ทะสะโม [วรรคที่ 10]

อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สัตตานังนานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปะโรปะริยัตตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ฌาณาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปาปะตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม [วรรคที่ 11]

อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานัง ปะกะฏิสะหัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะ สะหัสสานัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุญานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐะสะมาปัตติคุณะ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาคุณะ ปาระมิสัมปันโน
กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม [วรรคที่ 12]

อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ญานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อุตสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
ถามะพะละวัคโค เตระสะโม [วรรคที่ 13]

อิติปิ โส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา พุทธัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา พุทธัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
จะริยาวัคโค จะตุททะสะโม [วรรคที่ 14]

อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตูสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม [วรรคที่ 15]

อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วุสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วุสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม [วรรคที่ 16]

อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรัมมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรัมมะวิหาระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะโกฏิสะตะวะชิระ ปาระมิสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม [วรรคที่ 17]

อาการวัตตะสุตตังนิฏฐิตัง

(พระคาถาสุนทรีวาณี: หัวใจพระอาการวัตรสูตร)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง

สาธุ สาธุ ๆ...
**[HIGHLIGHT=#ffff00]บัณเฑาะว์ขับรั่นร้อง[/HIGHLIGHT]...............[HIGHLIGHT=#ffff00]คีตา[/HIGHLIGHT] [HIGHLIGHT=#ffff00]เพลงเฮย [/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]พึงเพ่งฟังบูชา[/HIGHLIGHT]..........................[HIGHLIGHT=#ffff00]บทไหว้ [/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]ประนบหัตถ์ก้มหน้า[/HIGHLIGHT]....................[HIGHLIGHT=#ffff00]เกล้าเกศ ท่านนา [/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]เชิญช่วยอวยเทพไท้[/HIGHLIGHT]..................[HIGHLIGHT=#ffff00]จึ่งได้โดยสม[/HIGHLIGHT]**


ประพันธ์โดย [HIGHLIGHT=#ffffff]สการะวาตี [/HIGHLIGHT]