Loader

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และตราประจำหน่วยงานอันเกี่ยวเนื่องกับพระเป็นเจ้าของฮินดู

Started by อินทุศีตาลา, January 09, 2010, 22:36:18

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

นึกขึ้นได้ว่า มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง ปรากฎรูปพระผู้เป็นเจ้าอยู่ด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์ รามาธิบดี The honourable order of Rama

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2461 เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จในราชการทหาร แบ่งเป็น 6 ชั้น
ตามลำดับคือ

เหรียญรามมาลา
เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร
อัศวิน
โยธิน
มหาโยธิน
เสนางคบดี  เป็นอันดับสูงที่สุด

ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการงดพระราชทานไปช่วงหนึ่ง จนมีการพระราชทานอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยมีประเพณีว่าผู้ได้รับพระราชทานทั้งเก่าและใหม่ ต้องร่วมในพระราชพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาด้วยค่ะ

เครื่องราชฯ ตระกูลนี้มีตราเป็นรูปพระปรศูรามาวตารปราบพระยาการตวิรยะ ดิฉันเดาว่าสมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบตามพระราชดำริของพระผู้ทรงสถาปนา

ทรงเลือกปรศุรามาวตารเพราะเป็นอวตารปางที่ 6 ตรงกับลำดับรัชกาลของพระองค์ และทรงเห็นว่านารยณ์อวตารลำดับนี้ทรงเก่งกาจแบบทหารหาญ

จึงอยากชวนทุกท่านมาช่วยกันนึกว่า นอกจากรูปครุฑแล้ว มีเครื่องหมายอะไรในศาสนาพรามหณ์อีกบ้างคะ ที่ปรากฎในสยามประเทศ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



เครื่องราชอิสริยาภรณือันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นอัศวิน
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



เราไม่ค่อยได้เห็นเครื่องราชฯตระกูลนี้เท่าไรค่ะ นอกจากในงานเต็มยศของทหาร ที่เห็นประจำทุกปีคืองานสวนสยามถวายสัตย์ปฏิญาณของทหารมหาดเล็กราชวัลลภ 2 ธันวาคมของทุกปี
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ชื่นชมท่านเจ้าของกระทู้ ช่างคิดมากๆครับผม

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

สวัสดีคุณโหราน้อยค่ะ ดิฉันว่าน่าสนุกนะคะ บ้านเราเต็มไปด้วยเครื่องหมายอันเป็ฯมงคลมากมาย ที่ถูกผูกขึ้นด้วยความหมายอันลึกซึ้ง น่าเสียดายที่ความหมายและเรื่องราวเหล่านั้นมีคนสนใจน้อยลงทุกที

ในทางภาษาศาสตร์ พระนามของเหล่าเทพก็ถูกนำมาผูกเป็นราชทินนาม อิศริยยศ บรรดาศักดิ์ มากมาย

ถ้าได้รวบรวมและทำความเข้าใจ

ดิฉันคิดไปเองว่าน่าจะเป็นเรื่องประเทืองปัญญา น่าสนุกดีนะคะ

แต่อาจจะสนุกอยู่คนเดียว
55555555
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกรมกองต่างๆของทางราชการเนาะ  ที่มักจะนำรูปพระเป็นเจ้าองค์ต่างๆมาปรากฎเป็นสัญลักษณ์  เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา  กรมที่ดิน  กรมชลประทาน ฯลฯ

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

จริงๆแล้วนอกจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีที่มีรูปพระปรศุรามปรากฏบนดวงตราแล้ว ยังมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกตระกูลหนึ่งที่มีปรากฏภาพพระเป็นเจ้าเช่นกันครับ นั่นก็คือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชสมิตราภรณ์ ซึ่งที่กลางดวงตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้จะปรากฏเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ โดยในหนึ่งสำรับของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ประกอบด้วย
[list=1]
  • ดวงตราสำหรับสายห้อยสร้อย มีรูปจักรและตรีศูลขัดกัน ประดับเพชรอยู่ในวงกลมบนพื้นสีขาบ ขอบวงกลม เป็นเพชรสร่งเงินมีรัศมีทองแปดแฉก ด้านหลังมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." อยู่ในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาว ขอบวงกลมสีน้ำเงิน เบื้องบนด้านหน้ามีอุณาโลมและพระมหามงกุฎทองมีรัศมีทองห้อยกับสายสร้อยทองรูปดอกชัยพฤกษ์สลับกนกเกลียว ตรงที่ห้อยดวงตรามีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." ประดับเพชร อยู่ในรูปปทุมลงยาสีเหลือง ใช้สำหรับสวมคอ
  • ดวงตราสำหรับห้อยสายสะพาย มีลักษณะเช่นเดียวกับดวงตราสำหรับห้อยสายสร้อย แต่มีขนาดเล็กกว่า รูปจักรและตรีศูลลงยาสีขาวด้านหลังไม่มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ห้อยกับสายสะพายแพรแถบสีเหลืองขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร มีริ้วสีขาวกว้าง 5 มิลลิเมตรใกล้ขอบทั้งสองข้าง ริมริ้วสีขาวทั้ง 2 ข้าง มีเส้นสีน้ำเงิน สะพายบ่าขวางเฉียงลงทางซ้าย
  • ดารา มีรูปนารายณ์ทรงครุฑทองอยู่ในวงกลมบนพื้นลงยาสีขาบขอบวงกลมเป็นเพชนสร่งเงินมีรัศมีทองแปดแฉก ประดับที่อกเสื้อด้านซ้าย
โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชสมิตราภรณ์นี้ เป็นเครื่องราชอิสรายาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศเท่านั้น และถือว่ามีศักดิ์สูงที่สุดในบรรดาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดของไทยครับ


.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

อะไรเช่นนั้นน่ะค่ะ

ยกตัวอย่าง กรมประชาสัมพันธ์ ใช้รูปพระอันทร์บันลือสังข์ สวยมากค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

January 09, 2010, 23:03:26 #8 Last Edit: January 09, 2010, 23:09:46 by สิรวีย์
โอ คุณอักษรชนนีมาแล้ว สวัสดีและขอบพระคุณสำหรับข้อมูลค่ะ เครื่องราชฯมิตราภรณืนี้ เราก้ไม่ค่อยได้เห็นอีกเช่นกันนะคะ เพราะเป็นของที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และพระราชทานประมุขของประเทศบางประเทศเท่านั้น
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ครับ ด้วยความที่เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชสมิตราภรณ์เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานเฉพาะประมุขต่างประเทศเท่านั้น จึงทำให้นานๆครั้งเราจะเห็นการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ เฉพาะเวลาที่มีพระราชอาคันตุกะซึ่งเป็นประมุขของประเทศที่ได้รับพระราชทาน เสด็จหรือเดินทางมาเยือนประเทศไทยเท่านั้นครับ หรือไม่ก็พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปเยือนต่างประเทศ ทางประมุขของประเทศที่ได้รับพระราชทานก็จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ตามธรรมเนียม (ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพระองค์ท่านไม่ได้เสด็จเยือนต่างประเทศเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว)

โดยรายพระนามและนาม ประเทศ วันที่และโอกาสที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชสมิตราภรณ์ มีดังนี้

-สมเด็จพระเจ้าซยิด ปุตรา อิบนิ อัล-มาร์ฮุม ซยิด ฮัสซัม จามา ลุลลีล ยังดี เปอร์ตวน อะกงแห่งมาเลเซีย - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2505 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธ์มลายาอย่างเป็นทางการ

-ดร. ไฮน์ริช ลุบเก ประธานาธิบดีแห่งเยอรมัน - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 - เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-พลเอกเน วิน ประธานสภาปฏิวัติแห่งพม่า - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2505 - เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระเจ้าปอลที่ 1 แห่งเฮล์ลีนส์ พระมหากษัตริย์แห่งกรีซ - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์แห่งลาว - 22 มีนาคม พ.ศ. 2506 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ

-ฟรานซ์ โยนาส ประธานาธิบดีแห่งออสเตรีย - 17 มกราคม พ.ศ. 2510 -เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-เฟอร์ดินันด์ อี มากอส ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ - 15 มกราคม พ.ศ. 2511 - เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระราชธิบดีอัลมูตาวัคคิล อัลลาลาฮ์ สุลต่าน อิสกานดา อัล-ฮัจ อิบนิ อัล-มาฮุม สุลต่านอิสไมล์แห่งมาเลเซีย - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2528 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนดระ พีระ พีกรัม ชาห เดว สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนปาล - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-พลเอก โมฮัมหมัด เซีย อุล ฮัก ประธานาธิบดีแห่งปากีสถาน - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2530 - เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปน - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระราชาธิบดี อัชลัน ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น - 21 กันยายน พ.ศ. 2534 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

-สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่านซาลาฮุดดิน อับดุล อาซิซ ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย - 24 มีนาคม พ.ศ. 2543 - เสด็จฯเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์

-สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์

-สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสวีเดน - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์

-สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์

-สมเด็จพระราชาธิบดี สุลตาน มีซาน ไซนัล อาบิดีน สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย - 9 มีนาคม พ.ศ. 2552 - เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์


ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ทีนี้มาถึงตราหน่วยงานราชการต่างๆกันบ้าง ที่มีการนำภาพพระเป็นเจ้ารวมทั้งเทพต่างๆมาใช้เป็นตราประจำหน่วยงาน เช่น

พระคเณศ ปรากฏเป็นตราประจำหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นต้น


.
.
ตราประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
.
.
ตราประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร
.
.
ตราประจำกรมศิลปากร
.
.
นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังทรงนำพระคเณศมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำวรรณคดีสโมสรที่พระองค์ทรงก่อตั้งขึ้นด้วย
.
.
ตราประจำวรรณคดีสโมสร
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พระพิรุณทรงนาค ปรากฏเป็นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
.
.
ตราประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
.
.
ตราประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พระรามทรงรถ ปรากฏเป็นตราประจำกระทรวงคมนาคม
.
.
ตราประจำกระทรวงคมนาคม
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ปรากฏเป็นตราประจำกรุงเทพมหานคร
.
.
ตราประจำกรุงเทพมหานคร
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พระนารายณ์กวนเกษียรสมุทร ปรากฏเป็นตราประจำกระทรวงอุตสาหกรรม
.
.
ตราประจำกระทรวงอุตสาหกรรม
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0


คุรุสภา เป็นรุปพระพฤหัสบดี หรือ คุรุเทพ

กรมราชทัณฑ์ เป็นรูปเทวดาทรงสิงห์
เข้าใจว่าเป็นพระยมนะคะ

แอ๊ รุปไม่ขึ้นอ่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ใช่ภาพนี้หรือเปล่าครับคุณสิรวีย์

WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

Quote from: สิรวีย์ on January 10, 2010, 18:41:38
กรมราชทัณฑ์ เป็นรูปเทวดาทรงสิงห์
เข้าใจว่าเป็นพระยมนะคะ

แอ๊ รุปไม่ขึ้นอ่ะ

พระยมขี่ควายหน่ะครับ

เทวดาถือขรรค์ทรงสิงห์ เดาไม่ออกจริงๆ
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่กรุงเทพ พระเสื้อเมือง ก็ถืออาวุธแบบนี้เหมือนกัน

ส่วนราชสีห์ หมายถึง พลเรือน กระทรวงมหาดไทย

เย้ ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีค่ะ  นอกจากความรู้เรื่องเทพจะน้อยแล้ว ความรู้เรื่องอัพโหลดยังน้อยตาม 55555555

พระยมอินเดียทรงกระบือใช่แล้วค่ะ แต่เดาว่าเมื่อถูกนำมาใช้เป็นตราหน่วยงานและเครื่องประดับเกียรติ จะมีรูปควายอยู่ด้วยเห็นจะไม่งาม

ดิฉันสันนิษฐานเองว่าตราพระยมทรงสิงห์ของกรมราชทัณฑ์คงจะนำมาจากตราประจำตัวของเจ้าพระยายมราช ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์สำหรับเสนาบดีกรมพระนครบาล ซึ่งด้านหนึ่งต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความด้วย การตัดสินคดีนี้จำเป็นอยู่เองที่ต้องมีความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง พระยมนั้นทรงได้รับการยกย่องว่าทรงยุติธรรมเที่ยงตรง น้อยคนจะขัดขืนกฎที่ทรงวางไว้ และไม่ทรงโอนเอียงเข้าข้างใคร ดังนั้นจึงมีการตั้งตำแหน่ง เจ้าพระยายมราช ขึ้น ตามมลคลนามนั้น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดฯให้สร้างดาราตราพระยมทรงสิงห์ขึ้นเพื่อพระราชทานเจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี)ทำด้วยทองคำเป็นรูปกลมกลีบบัว เป็นรูปพระยมทรงสิงห์อยู่ในวงกรอบเพชร 
สำหรับประดับยศ กลัดบนอกเสื้อ และปรากฎพระราชทานให้เสนาบดีตำแหน่งนี้อีกหลายคน จนพ้นสมัยบรรดาศักดิ์

ตราพระยมทรงสิงห์จึงกลายเป็นตราประจำกรมราชทัณฑ์ไป

ถ้าดิฉันจำไม่ผิด บนหน้าบันพระระเบียงรอบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีตราพระยมทรงสิงห์ประจำกรมพระนครบาลอยู่ด้วย รวมกับตราประจำกรมกอง ประทรวงต่างๆในสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ

สำหรับดาราดวงนี้ ปัจจุบันยังมีจัดแสดงอยู่ ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียบกษาปณ์ พระบรมมหาราชวัง

เกร็ดที่น่าสนใจเมือถึงตรงนี้ก็คือ พระยมทางอินเดียทรงกระบือ แต่เพื่อให้เหมาะสมไทยเราจึงสร้างให้ท่านทรงสิงห์ค่ะ

ดังนี้นี่เองดิฉันจึงเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสนุกด้วยการนำเสนอและจำกัดความดวงตรา ชื่อตำแหน่งต่างๆที่ใช้กันอยู่ อันมีที่มาจากพระเป็นเจ้า เพราะเป็นเรื่องน่ารู้ น่าสนใจ ประเทืองปัญญาและเป็ฯเกร็ดอันสนุก แต่ ณ เวลานี้ผู้คนลืมเลือน กลายเป็นตราที่น้อยคนจะแปลความหมายออก หรือแปลความหมายผิด นั่นเอง
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

อุ๊ยตาย ลืมโพสรูป



ดาราตราพระยมทรงสิงห์ ประจำตำแหน่งพระยายมราช เสนาบดีกรมพระนครบาล
จัดแสดง ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกษาปณ์ พระบรมมหาราชวัง

ขอเชิญทุกท่านเข้าชมศาลาฯแห่งนี้นะคะ ตั้งอยู่ ณ พระคลังมหาสมบัติ บริเวณทางเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก่อนถึงประตูพิมานไชยศรี
เต็มไปด้วยทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน อาทิ เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศเจ้านาย พระชฎากลับ พระแสงสำคัญ เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (ชุดเดิม) ข้าวของเครื่องใช้ในพระราชพิธีบรมราชภิเษกฯ
รับรองไม่ผิดหวัง และได้รับความรู้มากมาย

ปล. ไปพร้อมกันเยอะๆขอมัคคุเทศน์ได้ด้วยนะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ชอบกระทู้นี้จริงๆ ครับ แฮ่ๆๆๆๆๆ

ได้ความรู้ดี แม้ผมเองยังไม่เคยใส่ใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้เท่าไหร่เลยครับ

ผมชอบไปที่นี่เหมือนกันครับ ค่าเข้าก็ถูกแสนถูกเมื่อเทียบกับความรู้และความตระการตาในสิ่งที่ได้เห็น 

ขอเป็นอีกเสียงที่ช่วยสนับสนุนว่าเพื่อนๆพี่ๆต้องลองเข้าไปชมดูครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบคุณครับกับความรู้ที่แบ่งปันให้
โอม ทัต ปูรูชยา วิดมาเฮ วักรา ทุนดายา ดีมาฮี ทะโน ทันติ ปราโชดายะ 

อันดับต่อไปคือ กรมสัสดีค่ะ

ใช้ตราพระสรัสวดีเป็นเครื่องหมาย

กรมพระสุรัสวดี " หรือ " กรมสุรัสวดี " จัดตั้งขึ้นรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๒ พ.ศ.๒๐๓๔-๒๐๓๕ กรมพระสุรัสวดีมีหน้าที่ จัดส่งเจ้าหน้าที่สัสดีไปประจำ ณ หัวเมืองต่าง ๆ เพื่อจ่ายเลข (สักตัวเลขที่ท้องแขนชายไทย) ขึ้นทะเบียบคนเป็น "ไพร่" ดังนั้น "กรมสุรัสวดี" จึงเป็นกรมใหญ่ ซึ่งมีฐานะคล้ายกระทรวง ควบคุมบัญชีไพร่พลทั่วประเทศ มีผู้บังคับบัญชากรมคือ " พระสุรัสวดี " ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ กำกับเจ้าขุนมูลนายทุกกรมกอง ทั้งฝ่ายกลาโหมและฝ่ายมหาดไทย ให้ต้องส่งบัญชียอดจำนวน " ไพร่ " ในสังกัดพร้อมเลขทะเบียน ประจำตัวไพร่ให้ " กรมสุรัสวดี " ควบคุมในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบเกณฑ์ไพร่พลเพื่อจัดกองทัพ เมื่อต้องการกำลังพลเข้าทำศึกสงคราม[/COLOR][/FONT]

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๕) ได้ปรับปรุงกิจการทหารเป็นแบบอย่างยุโรป ได้จัดตั้งกระทรวงกลาโหม และกระทรวง มหาดไทยขึ้น พร้อมได้ยกกรมสุรัสวดี ไปขึ้นกับกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ และต่อมา พ.ศ.๒๔๔๑ ได้เปลี่ยนชื่อจาก "กรมสุรัสวดี"  เป็นกรมสัสดี[/FONT](จาก[sassadee.ruksadindan.com]




พระสุรัสวดี เป็นรูปเทวดานั่งบนฐานสูง มีผ้าทิพย์ห้อยหน้า พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวาถือสารบัญชีไพร่พล มีพระนามว่า "พระสุรัสวดี" ปัจจุบันรูปประติมากรรมของ " พระสุรัสวดี " แกะสลักจากไม้ไม้โดยช่างหลวงสมัยกรุงธนบุรี ยังคงเก็บรักษาไว้ที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

]ความน่าสนใจก็คือ พระสรัสวดีตามคตินี้ ไม่ใช่เทวีนะคะ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากอีกเรื่องหนึ่ง
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ส่วนพระสรัสวดีของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพระเทวีซึ่งเรารู้จักพระองค์กันดี และคณะอักษรฯก็ให้ความสำคัญกับพระองค์ท่านในฐานะ วาจเทวี ในพระเวทค่อนข้างมากค่ะ

หารูปไม่เจออ่ะ ใครมีบ้างไหมคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

Quote from: สิรวีย์ on January 11, 2010, 15:20:28
ส่วนพระสรัสวดีของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพระเทวีซึ่งเรารู้จักพระองค์กันดี และคณะอักษรฯก็ให้ความสำคัญกับพระองค์ท่านในฐานะ วาจเทวี ในพระเวทค่อนข้างมากค่ะ

หารูปไม่เจออ่ะ ใครมีบ้างไหมคะ

มีแต่ภาพตราสมาคมนิสิตเก่า คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่ใช้ภาพพระสรัสวดีเป็นสัญลักษณ์เหมือนกันน่ะครับ (น่าจะพอใช้ได้เนอะ ^_^)
.


ภาพพระสรัสวดีที่ปรากฏกลางตราสมาคมฯ
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีนะคะ (ดูเหมือนจะมีแค่เราในกระทู้นี้จริงๆ กลายเป็นจดหมายวิชาการโต้ตอบกันไปซะงั้น แต่ดิฉันก็ชอบมากค่ะ)

รูปพระสรัสวดีของอักษรฯนี่งามตรึงใจจริงๆ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

คำว่า สุรัสวสดี เพี้ยนมาเป็น สัสดี

ทหารที่ทำงานสัสดี อยู่เหล่าทหารสารบรรณ โลโก้เหล่าเป็นรูปหนังสือ กระบี่และขนนกไขว้กัน

เท่าที่ทราบ กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ยังใช้พระพระสุรัสวดีอยู่นะคะ



http://www.sadsadee.com/index1.htm

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ผมหมายถึงโลโก้ของทหารสารบรรณ ทำเปนรูปหนังสือและมีกระบี่ขนนกไขว้กัน

ส่วนโลโก้ของกรมสัสดี เป็นรูปตามนั้นคับ

อ้อ เข้าใจแล้วค่ะ

ขอบพระคุณคุณตรีศังกุที่ให้ความกระจ่างค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ส่วนอันนี้ ตราพระอุเทนทราธิราชนั่งแท่นดีดพิณ
ปัจจุบันเป็นตราของกรมสรรพากรค่ะ




ดิฉันเดาเอาว่าคงเป็นเทวดาที่เราผูกพระนามขึ้นเอง
หรือท่านผู้รู้ท่านใดมีข้อมูลอื่นไหมคะ
มีเทพอินเดียที่พระนามใกล้เคียงกันนี้บ้างไหม
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราพระรามทรงรถของกระทรวงคมนาคมค่ะ



แต่เดิม ตราพระรามทรงรถ เป็นตราใหญ่ของ กระทรวงโยธาธิการ ซึ่งเดิมใช้ตราอินทรทรงช้าง แต่มีขนาดโตไป จึงโปรดให้เปลี่ยนเป็น ตราพระรามทรงรถ ให้เข้ากับเรื่องตรวจถนนหรือสร้างเมือง ครั้นเลิกกระทรวงโยธาธิการ มารวมกันกับราชการส่วนอื่น ตั้งกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม ขึ้น ในรัชกาลที่ 7เมื่อ พ.ศ.2468 ตราดวงนี้จึงตกมาเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ครั้นเมื่อปรับปรุง กระทรวงนี้ขึ้นใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเศรษฐการ ตราพระรามทรงรถยังใช้เป็นตราตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ภายหลัง เมื่อ พ.ศ. 2484 ยุบกระทรวง
เศรษฐการ แยกเป็นกระทรวงการเศรษฐกิจ และกระทรวงคมนาคม ตราพระรามทรงรถ จึงตกมาเป็นตราของกระทรวงคมนาคม จนบัดนี้ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี วันที่ 3 ตุลาคม 2484
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบคุณน้องสิรวีย์และท่านอักษรชนนีค่ะ ที่ได้นำความรู้ดี ๆ มาแบ่งปันกัน ชื่นชมนะคะสำหรับกระทู้นี้ น่าสนใจน่าศึกษาดีค่ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ





โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลกใช้ตราพระลักษมีสี่กรใช่ไหมคะคุณบาส
โรงเรียนนี้ใช้อักษรย่อ ฉ.ส.
สมัยดิฉันเรียนอยู่มัธยม อยากย้ายไปเรียนที่นี่มาก เพราะอักษรย่อ ฟังคล้าย   ฉันสวย

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

โรงเรียนคู่ขวัญกับโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีคือโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ใช้ตราพระนารายณืเหยียบโลกค่ะ พ้องกับความหมาย พิษณุโลก

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)