Loader

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และตราประจำหน่วยงานอันเกี่ยวเนื่องกับพระเป็นเจ้าของฮินดู

Started by อินทุศีตาลา, January 09, 2010, 22:36:18

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Quote from: สิรวีย์ on January 13, 2010, 21:18:02
โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลกใช้ตราพระลักษมีสี่กรใช่ไหมคะคุณบาส
โรงเรียนนี้ใช้อักษรย่อ ฉ.ส.
สมัยดิฉันเรียนอยู่มัธยม อยากย้ายไปเรียนที่นี่มาก เพราะอักษรย่อ ฟังคล้าย   ฉันสวย




เป็น พระสุรัสวดี ครับ รูปอาจไม่ชัดครับ เลยทำให้มองผิดไป รู้สึกว่า รร.นี้จะมีเทวลัยของพระองค์ด้วยนะครับ

ตราประจำกรมที่ดิน



รูปราชสีห์   :    เป็นเครื่องหมายกระทรวงมหาดไทย มีความหมายว่ากรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวงมหาดไทย
รูปพิทยาธรดำเนิน   :
มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือดอกบัว มีความหมายไปในทางจัดสรรที่ดิน

รูปมนุษย์มือซ้ายถือเส้นกระแส  : หันหน้าเข้าหากัน มีความหมายไปในทางจดทะเบียนสำหรับทำนิติกรรมสัญญา
หันหน้าเข้าหากัน มีความหมายไปในทางจดทะเบียนสำหรับทำนิติกรรมสัญญา
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

อ้าว ขอบพระคุณคุณบาสค่ะ

เข้าใจผิดมาตั้งนาน แหม ข้อดีของกระทู้นี้นะคะ ทำให้ดิฉันเข้าใจอะไรแจ่มแจ้งขึ้น ไม่ใช่รูปคุณบาสไม่ชัดนะคะ ชัดเจนทีเดียว แต่เป็นเพราะดิฉันเข้าใจอย่างนั้นมาตั้งแต่เดิม ข้าน้อยสมควรตาย

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราของกรมโยธาธิการและผังเมืองค่ะ



เป็นภาพของพระตรีมุรติทั้งสามและพระคเณศค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ชอบตรากรมที่ดินครับ สวยดี ชอบตรงต้นไม้กับดอกบัวครับ(สงสัยผมคงบ้าต้นไม้)

รู้สึกว่ากรมที่ดินเพิ่งผูกตรานี้ขึ้นใหม่นะคะ อันเก่าเป็นอันนี้ค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


น่าจะหมายความว่า คนไทยเริ่มรักต้นไม้มากขึ้น นะคะ
555555
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณค่ะ ต่างจากของกรุงเทพมหานครตรงที่ ของกรุงเทพ ช้างเอราวัณมีเศียรเดียว
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



กระทรวงพาณิชย์ ตราเป็นรูปพระวิษณุกรรมค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เห็นตราพระอินทร์ของสถาบันการพลศึกษาที่คุณสิรวีย์นำมาให้ชมแล้วก็นึกขึ้นได้ว่า มีอีกสถานที่หนึ่งที่ใช้ตราพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเป็นสัญลักษณ์เหมือนกัน ที่นั่นคือ วัดเทวราชกุญชร ที่นำเทพองค์นี้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำวัด

.
ตราสัญลักษณ์ประจำ
วัดเทวราชกุญชร
.
          วัดเทวราชกุญชร หากจะแปลเป็นไทยได้ใจความว่า ช้างพระอินทร์ (เทวราช แปลว่าเทวดาผู้เป็นใหญ่ เทวดาผู้พระราชา หมายถึงพระอินทร์ กุญชร แปลว่า ช้าง) โดยวัดเทวราชกุญชร นามเดิมว่า สมอแครง เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงสถาปนาใหม่ ต่อมาเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (ต้นสกุลมนตรีกุล) พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ จากนั้นกรมพระพิทักษ์เทเวศร (ต้นสกุลกุญชร ณ อยุธยา) พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ากุญชร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า วัดเทวราชกุญชร พระองค์ทรงนำคำว่า เทวราช มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ต่อมาภายหลัง พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์อีก
        ต่อแต่นั้นมาก็ไม่ปรากฏผู้บูรณปฏิสังขรณ์อีก คงเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสบอกบุญเก็บเล็กผสมน้อยจุนที่นั่นค้ำที่นี่เรื่อยมา ท่านรูปใดมีบารมีมากก็ทำได้มาก รูปใดน้อยวาสนาบารมีก็ทำได้น้อย หากว่าท่านรูปใดไร้วาสนาบารมีมาครองวัดก็เท่ากับว่ามาช่วยทำลายหรือมาช่วยรื้อ เทวราชกุญชรซึ่งจะมีคติเหมือนช้างพระอินทร์  โดยช้างพระอินทร์เป็นช้างจำแลงของเทพบุตรนามว่าเอราวัณ  เอราวัณเทพบุตรจะกลายร่างเป็นช้างก็ต่อเมื่อพระอินทร์และเทพสหจร ประสงค์จะเสด็จออกจากเทพวิมานสู่เทพอุทยานเท่านั้น หมายความว่า จะปรากฏเป็นคชาชาติที่มีอานุภาพน่าอัศจรรย์ เพราะเดชแห่งบุญของท่านผู้มีบุญเท่านั้น มิเช่นนั้นแล้ว จะปรากฏแต่เพียงนาม ส่วนเอราวัณนั้นจะปรากฏเป็นเทพบุตรเหมือนเทพบุตรทั้งหลายในเทพนคร
        ช้างพระอินทร์ หรือ เทวราชกุญชร ที่ทรงพระราชทานให้เป็นนามวัดสมอแครงนั้นย่อมมีคติเช่นเดียวกัน   คือเมื่อใดผู้บำรุงรักษามีบุญญาธิการได้สร้างสมมาแต่ปุเรชาติ ย่อมสามารถและมีโอกาสได้พบได้เห็นวัดเทวราชกุญชรนี้สง่างาม ถ้าผู้มีบุญญาธิการน้อยย่อมตกอยู่ในสภาพตรงกันข้าม เหมือนช้างเอราวัณของพระอินทร์จะไม่กลายร่างเป็นช้าง ๓๓ กระพอง ให้เทพเจ้าเหล่าอื่นได้ทรงเป็นอันขาด เพราะเทพเจ้าเหล่าอื่นมีบุญญาธิการไม่คู่ควรกัน
        วัดเทวราชกุญชรนั้นจะสง่างามสมนามพระราชทานต้องอาศัยผู้มีบุญญาธิการ เปรียบเหมือนช้างเอราวัณเทพบุตรจะสง่างามก็ต่อเมื่อพระอินทร์และเทพสหจรทรงประทับเสด็จออกจากเทพวิมานสู่เทพอุทยาน หากวัดเทวราชกุญชรไร้ผู้มีบุญญาธิการก็จะเหมือนเอราวัณเทพบุตรที่พระอินทร์และเทพสหจรมิได้ทรงประทับนั่นเอง ช้างเอราวัณก็จะปรากฏเหมือนเทพบุตรทั้งหลายในเทพนคร
.
กรมศิลปากรเขียนแบบพระอินทร์ประทับบนช้างเอราวัณเป็นสัญลักษณ์วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
[/COLOR][/FONT]
.
ที่มา : www.watdevaraj.com
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0


ไม่รู้ใครจำได้บ้างนะครับ

เป็นรูปพระอินทร์เป่าแตรถือวัชระ(บางคนบอกคือพระมาตุลี สารถีพระอินทร์ ผมว่าไม่ใช่)

จริงๆ ตราศูนย์การกำลังสำรอง เป็นพระมาตุลีครับ ทรงเป่าแตรเหมือนกับการเรียกระดมพล อีกพระหัตถ์ถือโองการแห่งพระอินทร์ครับ เหมือนได้รับพระอำนาจจากพระอินทร์มาสั่งการอีกที

ถือวัชระหน่ะครับ

ตรานี้มีอยู่3ที่ คล้ายๆกัน แต่ไม่เหมือน คือ
-หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ข้างวังสราญรมย์ มีมหาพิชัยมงกุฏ
-ศูนย์ใหญ่ วิภาวดี แบบในรูปครับ
-โรงเรียนการกำลังสำรอง ค่ายธนะรัชต์



กรมยุทธโยธาทหารบก

ด้านหลังเป็นรูปตราของทหารบกเหล่าทหารช่าง มี สมอ พลั่ว และขวาน
ข้างหน้าเป็นรูปพระวิศวกรรม หรือ วิษณุกรรม

.
ตราประจำชุมนุมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
.
ชุมนุมประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(อักษรย่อ ช.ปวศ.)  เป็นองค์กรตัวแทนในการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และวิชาการเชิงสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีของนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยชุมนุมนี้ใช้รูปพระพฤหัสบดีเป็นตราประจำชุมนุม และใช้สีส้มเป็นสีประจำชุมนุม
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
ตราประจำจังหวัดลพบุรี
.


รูปพระนารายณ์ประทับบนพระปรางค์สามยอด หมายถึง การระลึกถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชผู้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๘ และสร้างความเจริญให้กับแผ่นดินลพบุรีนับเอนกอนันต์ ส่วนพระปรางค์สามยอดเป็นโบราณสถาน ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลพบุรี
.
ที่มา : www.lopburi.go.th
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ

คุณสิริวียื ก็เคยอยู่พิษณุโลกเหรอคะ

ดิฉันก็เคยอยู่ค่ะ

แต่อยากเรียนที่จ่านกร้องมากกว่า

เผื่อว่าจะได้เป็นหางเครื่องวงลูกทุ่งบ้าง เหอๆ

จากอีสานบ้านนามาอยู่กรุง จากบ้านทุ่งลุยลายยยยยยยยยยยยยยยยยยย

เชียร์จ่านกร้องเหมือนกันนะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

อิอิ น้องโด่งสนุกใหญ่เลย ....
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ



อูย ของชอบค่ะพี่แนทขา หวังว่าพี่แนทก็จะสนุกไปด้วยกันนะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


วันที่ 28 มีนาคม 2439 เป็นวันเสด็จเถลิงราชครบ 10000 วันของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระราชลัญจกรซึ่งใช้อยู่ในราชการ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม การนี้โปรดเกล้าฯให้หน่วยงานที่ถือตราประจำตำแหน่ง นำดวงตรามาฉลองด้วย โดยพระราชลัญจกรประดิษฐานอยู่บนโต๊ะลายมักรห้าเล็บ ตราตำแหน่งตั้งบนโต๊ะลายคราม

และได้โปรดเกล้าฯให้ปักพัดรองตราตำแหน่งถวายแด่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ที่มาเจริญพระพุทธมนตร์ในงาน
ตราประจำตำแหน่งทั้ง 13 ดวงบนพัดหน้านาง สวยงามและน่าสนใจมาก มีดังนี้ค่ะ

ตราพระราชสีห์ กระทรวงมหาดไทย

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราพระคชสีห์ กระทรวงกลาโหม

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ ตราสามดวงต้นนี้เป็นตราเก่าแก่ที่สุดตราหนึ่งของไทยก็ว่าได้ ปรากฎประทับบนปกกฎหมายฉบับแรกๆของไทย เราเรียกกฎหมายนั้นว่า กฎหมายตราสามดวง

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

กฎหมายตราสามดวง ประทับพระราชสีห์ พระคชสีห์และตราบัวแก้ว

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราพระยมขี่สิงห์ กระทรวงนครบาล

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ กระทรวงวัง

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราสุริยมณฑล กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตรานพมุรธา กระทรวงเกษตรพานิชการ (สะกดตามต้นฉบับ)
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราจันทรมณฑล กระทรวงยุติธรรม

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราพระเพลิงทรงระมาด กระทรวงธรรมการ



ตราพระรามทรงรถ กระทรวงโยธาธิการ



ตราพระพรหมนั่งแท่น กระทรวงมุรธาธร



ตราพระนารายณ์ทรงราหู สภานายกรัฐมนตรี



ตรานารายณ์เกษียรสมุทร กระยุทธนาธิการ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


ตราบัวแก้วอันเป็นเครื่องหมายของกระทรวงการต่างประเทศนั้น
น่าสนใจตรงที่ ไม่ใช่พระเทวี ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นพระลักษมีนะคะ

ตราบัวแก้วซึ่งเก่าที่สุดพบในกฎหมายตราสามดวง ที่รัชกาลที่ 1 ทรงชำระใหม่ในปี 2347
ตราบัวแก้วดวงนั้นเป้นรูปเทพยดาประทับบนดอกบัวพระหัตถ์ขวาทรงดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายทรงวัชระ

หนังสือฉลอง 131 ปีการสถาปนากระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงตราบัวแก้วว่า ตราบัวแก้วที่ถูกต้องตามราชการในอดีตนั้น หัตถ์ขวาและซ้ายต้องถือสองสิ่งนี้เท่านั้น

หนังสือเล่มเดียวกันนี้ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคระอนุกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจัดพิมพ์นั้น ยังวิเคราะห์ว่าตราบัวแก้วนี้อาจเป็นไปได้ว่าช่างผู้ผูกตราในสมัยอยุธยาได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปพระโพธิสัตว์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็ได้ หรืออาจมาจากการรวมกันระหว่างพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีกับวัชระปาณี

ตราที่หน้าพัดซึ่งดิฉันนำมาให้ชมนี้ เผอิญไม่ชัดเท่าไร แต่ถ้าชัดเจนจะพบว่าพระหัตถ์ซ้ายทรงดอกบัว พระหัตถ์ขวาทรงลายกนกเปลว อาจเพี้ยนมาจากวัชระ ดังนั้นจะเห็นว่าลายละเอียดของตราบัวแก้วเริ่มเพี้ยนไปจากเดิมแล้ว

ตราบัวแก้วที่เป็นรูปเทพยาดา ถือดอกบัวทั้งสองพระหัตถ์นั้น เพิ่งมีปรากฎเมื่อสร้างกระทรวงการต่างประเทศบริเวณใกล้โรงพยาบาลสงฆ์ปัจจุบันนี่เองค่ะ เข้าใจว่าใช้เป็นตราประจำกระทรวงในสมัยหลังมากๆ แต่ไม่น่าจะใช่พระศรีนะคะ

ปล.ท่านที่สนใจพัดเหล่านี้และอื่นๆอีกมากมาย ขอเชิญที่หมู่พระมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครค่ะ สวยมากๆแต่บันไดทางขึ้นชันไปหน่อย และบรรยากาศในห้องสลัวลาง ได้อารมณืเหลือเกินค่ะ



   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ในงานพระราชพิธีหมื่นวันนี้ มีพัดตราประจำพระองค์ด้วยค่ะ หนึ่งในนั้นคือของพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระโอรสองค์ที่ 75 ของรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาเลื่อน (นิยะวานน์) รัชกาลที่ 5 ท่านทรงรักมาก ไม่ส่งเรียนเมืองนอกเหมือนพระเชษฐาทั้งหลาย แต่รับสั่งว่าจะเก็บไว้เป็น " ธารพระกร" เสียดายท่านสิ้นพระชนม์อายุแค่ 20 เอง ในวันพระราชสมภพรัชกาลที่ 5 พอดี วันที่ 20 กันยายน 2452 วังท่านยังอยู่ถึงเวลานี้ ตั้งชื่อซอยที่วังตั้งอยู่ว่าอุรุพงศ์ ใกล้แยกอุรุพงศ์นี่เอง

ตราของท่านเป็ฯเทพยดาถือแพนหางมยุรา ฝีพระหัตถ์สมเด็จครูทรงออกแบบ งามน่าประทับใจมากค่ะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตรากระทรวงต่างประเทศ คือผู้ชายหรอครับ

คิดว่าผู้หญิงหน่ะครับ

โอ หลายคนเข้าใจเช่นคุณตรีศังกุนะคะ แต่ในทำเนียบตราตำแหน่ง ซึ่งบันทึกในสมัยรัชกาลที่ 1 บอกว่าเป็น เทพยดาประทับบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายถือวัชระ พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว ค่ะ

ตราบัวแก้วที่ประทับบนกฎหมายตราสามดวง ฉบับ 2347 ค่ะ จะเห็นว่าพระหัตถ์ขวาถือลายกนกเปลว แบบเดียวกับบนพัดรอง น่าจะกลายมาจากวัชระ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตราบัวแก้วนั้น ยังไม่มีผู้ใดชี้ชดว่าเป็นเป็นเทพยดาผู้ชาย หรือเทพยดาผู้หญิง
เพราะก็คงจะคล้ายๆกับพระสุรัสวดี ที่ตำราเดิมเป็นสตรี ต่อมากลายเป็นบุรุษ

ส่วนตราของสถาบันการพลศึกษานั้น ไม่ใช่พระอินทร์ทรงช้างคับ แต่เป็น พระพลบดีทรงช้าง
เป็นเทวดาใหม่ที่ผูกขึ้น ความต่างของพระอินทร์กับพระพลบดีคือพระพลบดีทรงพระขรรค์
ส่วนพระอินทร์ทรงพระแสงขอช้าง

ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ เทพยดานั้นก็คือ พระอิศวร พระนนธิการก็คือ โคนันทิ ในรัชกาลที่ 6
ทรงโปรดให้เขียนตราใหม่ เปลี่ยนชื่อให้ตรงว่า พระมหาเทพทรงพระนนทิการ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ทรงเขียนตามแบบอินเดียเต็มที่

ส่วนตราของชุมนุมประวัติศาสนตร์ฯนั้น ก็คือตราเดียวกันกับตราของครุสภาครับ







เย้ สวัสดีค่ะคุณ Kento ดีใจจังที่มีเพื่อนคุยมากขึ้น

เป็นความรู้ใหม่อีกเช่นกันค่ะ เพื่งทราบว่าตราสถาบันพละศึกษาไม่ใช่พระอินทร์

ส่วนเรื่องตราบัวแก้วนี้ ดิฉันอ้างอิงว่าเป็นเทพยดา ตามหนังสือทำเนียบตราตำแหน่งและพระราชลัญจกร ที่รวบรวมเป็นหนังสือขึ้นมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 และพิมพ์ใหม่โดยสำนักงานคณะอนุกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2544 ค่ะ กับตามหนังสือฉลอง 131 ปีการสถาปนากระทรวงการต่างประเทศ  ซึ่งกระทรวงต่างประเทศพิมพ์ขึ้นค่ะ ในหนังสือทั้งสองบรรยายว่าเป็น เทพยดา ตราประทับและตรากระทรวงสมัยหลังๆก็ทำโน้มใอยงไปทางเทพยดา โยส่วนตัวดิฉันก้ไม่กล้าชี้เฉพาะว่าตรานี้ผู้ชายหรือผู้หญิง แต่คิดเอาเองว่าเพราะชื่อตราบัวแก้ว คนจึงเข้าใจว่าเป็นพระลักษมี ซึ่งเป็นผู้หญิง

ตราคุรุสภานี่สวยมากค่ะ เห็นคุรุสภาลาดพร้าวตรงทางเข้ามีศาลท่านอยู่ แต่ถ้าตาไม่ฝาด เขาติดป้ายว่า พระธาดาพรหม

งงเลยค่ะ

สนุกกับกระทู้นี้มากเลยค่ะ รู้อันที่ยังไม่รู้ เข้าใจถูกอันที่เคยเข้าใจผิด

ขอบพระคุณคุณ Kento นะคะ




   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)