Loader

กระบะนมัสการ

Started by สยมภูวญาณ, June 14, 2010, 21:08:15

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

อยากทราบอ่ะครับ
เรื่องเกี่ยวกับกระบะนมัสการที่ใช้ในพิธีหลวง
ว่ามีข้อแตกต่างในการใช้อย่างไร
และมีที่มาจากอะไร
และจำนวนเทียนและธูปที่ใช้นั้นมีความหมายอย่างไรครับ
อยากรู้จริงๆครับ
รบกวนด้วยครับ

            เครื่องนมัสการของหลวง เป็นการจัดเครื่องบูชาสำหรับใช้นมัสการบูชาในพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีต่างๆ โดยตามแบบแผนที่มีมาแต่โบราณนั้นการจัดเครื่องบูชาของไทย มักใช้สิ่งสำคัญ ๔ อย่างประกอบ คือ ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ เครื่องนมัสการของหลวงที่ใช้ในปัจจุบันนั้นมีทั้งสิ้น ๑๒ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะ ข้อกำหนดในการใช้ และผู้ใช้ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

๑. เครื่องนมัสการทองใหญ่ :ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระบรมวงศ์ ทรงจุดเวลาบูชาพระพุทธปฏิมา ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๒. เครื่องนมัสการพานทองสองชั้น : ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระบรมวงศ์ ทรงจุดเวลาบูชาพระพุทธปฏิมา ในการบำเพ็ญพระราชกุศลภายในพระบรมมหาราชวัง

๓. เครื่องนมัสการทองคำลงยาราชาวดี : ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ ทรงจุด เวลาบูชาพระพุทธปฏิมา พระบรมศพ พระศพ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ ฯลฯ ภายในพระบรมมหาราชวัง

๔. เครื่องนมัสการทองคำลงยาราชาวดีรอง  : ใช้สำหรับสมเด็จพระบรมราชินี ทรงจุดเวลาบูชาพระพุทธปฏิมา พระบรมศพ พระศพ พระบรมอัฐิ พระอัฐิ ฯลฯ ภายในพระบรมมหาราชวัง

๕. เครื่องนมัสการทองทิศ : ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ ทรงจุดเวลาบูชาพระพุทธปฏิมา ในการบำเพ็ญพระราชกุศล ทั้งภายในหรือนอกพระราชฐาน

๖. เครื่องนมัสการทองทิศ(เครื่องแก้ว) : ใช้สำหรับพระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า ทรงจุดเวลาบูชาพระพุทธปฏิมา ในการบำเพ็ญพระกุศล ทั้งภายในหรือภายนอกพระราชฐาน

๗. เครื่องนมัสการกระบะถม : ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงจุดเวลาบูชาพระพุทธปฏิมา ในการบำเพ็ญพระราชกุศล ทั้งภายในหรือภายนอกพระราชฐาน

๘. เครื่องนมัสการกระบะมุก : ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงจุดเมื่อเวลาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล , เวลามีพระพิธีธรรม พระศพพระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าลงมาถึงพระศพพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า , เวลามีพระพิธีธรรม ศพสมเด็จพระราชาคณะ ศพพระราชาคณะ , เวลามีพระพิธีธรรม ศพข้าราชการ ที่อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ และเครื่องนมัสการกระบะมุกนี้ สามัญชนยังสามารถใช้จุดนมัสการบูชาในพิธีต่างๆได้ เช่น พระยาแรกนาจุดบูชาเทวรูปภายในโรงพิธีพราหมณ์ ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

๙. เครื่องทรงธรรมสำรับใหญ่ : ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงจุดเวลาทรงสดับพระธรรมเทศนา

๑๐.เครื่องทองน้อย : สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ ทรงจุดเวลาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทางศาสนาหรือทางโบราณราชประเพณี , เวลาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระบรมศพ พระบรมอัฐิ พระศพ และพระอัฐิ , เวลาทรงสักการะ พระบรมราชานุสรณ์ พระราชานุสรณ์ ฯลฯ นอกจากนี้สามัญชนยังสามารถใช้สำหรับจุดนมัสการบูชาในพิธีต่างๆได้ตามความเหมาะสม

๑๑.เครื่องนมัสการบูชายิ่ง : ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงจุดเวลาทรงสดับพระธรรมเทศนามหาชาติ

๑๒.เครื่องนมัสการท้ายที่นั่ง : ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงจุด เวลาบูชาพระพุทธปฏิมากร ฯลฯ ทั้งภายในหรือภายนอกเขตกรุงเทพมหานคร

.
.
ที่มา : www.kingdom-siam.org
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

สำหรับรายละเอียดเรื่องการจัด เครื่องประกอบในเครื่องนมัสการแต่ละประเภท แนะนำให้ท่านเจ้าของกระทู้เข้าไปศึกษาตามลิงค์ที่ผมนำมาให้นี้นะครับ เพราะมีผู้รู้จากเว็ปต่างๆได้ให้ความรู้ รวมถึงความหมายไว้เป็นอย่างดีครับ (ทั้งยังมีภาพประกอบที่หาชมได้อยากด้วยครับ)

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/05/K6661397/K6661397.html
.
(หมายเหตุ : ลิงค์นี้ให้ความรู้เรื่องการจัดเครื่องนมัสการแบบต่างๆ เกร็ดความรู้ต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องนมัสการ รวมทั้งภาพประกอบที่หาชมได้ยากครับ)

คิดว่าจากลิงค์ดังกล่าวน่าจะตอบคำถามในประเด็นที่คุณเจ้าของกระทู้สนใจได้ไม่มากก็น้อยครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีเป็นอย่างสูงครับ
ที่เอื้อเฟื้อความรู้มาในโอกาสนี้
พระคุณนี้จะไม่ลืมเลือนเลยครับ
ขอบคุณบ้านหลังนี้ครับที่เป็นศูนย์รวมบุคคลเก่งๆและรอบรู้ไว้มากมาย
ขอบคุณจากใจครับ

ภาพตัวอย่างเครื่องนมัสการที่ใช้ในพระราชพิธีของไทยในปัจจุบัน :
.
.
เครื่องนมัสการทองใหญ่
.
.
เครื่องนมัสการพานทองสองชั้น
.
.
เครื่องนมัสการทองลงยาราชาวดีรอง
.
.
เครื่องนมัสการทองลงยาราชาวดี
.
.
เครื่องนมัสการทองทิศ
.
.
เครื่องนมัสการเครื่องแก้ว
.
.
เครื่องนมัสการทองน้อย
.
.
เครื่องนมัสการกระบะถม
.
.
เครื่องนมัสการกระบะมุก
.
.
เครื่องนมัสการท้ายที่นั่ง
.
.
ที่มาของภาพ : http://www.kingdom-siam.org
[/SIZE]
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

            ข้อสังเกตในการทอดเครื่องนมัสการ : หากต้องการนมัสการบูชาสิ่งใด ให้ทอดเครื่องนมัสการหันหน้าไปทางสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น

            ในพระราชพิธีเก็บพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เจ้าหน้าที่จะทอดเครื่องทองน้อย ๒ สำรับ สำรับแรกหันหน้าเข้าทางพระอัฐิ สำหรับให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารทรงจุดถวายสักการะพระอัฐิ อีกสำรับหันไปทางพระสงฆ์ที่มาสดับปกรณ์พระอัฐิ เพื่อให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารทรงจุดสำหรับพระอัฐิบูชาพระสงฆ์
.
.
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงจุดเครื่องทองน้อยสักการะพระอัฐิ
และที่ด้านข้างจะเห็นเครื่องทองน้อยอีกหนึ่งสำรับ สำหรับจุดให้พระอัฐิบูชาพระสงฆ์ที่มาสดับปกรณ์
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

            การสังเกตว่าด้านใดคือด้านหน้าของเครื่องนมัสการนั้น สำหรับเครื่องนมัสการประเภทเครื่องนมัสการทองใหญ่ เครื่องนมัสการทองทิศ เครื่องนมัสการพานทองสองชั้น เครื่องนมัสการทองลงยาราชาวดี เครื่องนมัสการกระบะถม ฯลฯ ให้สังเกตว่า แถวแรกของเครื่องนมัสการจะเป็นพานพุ่มดอกไม้ แถวที่สองเป็นพานพุ่มข้าวตอก แถวที่สามจะเป็นเชิงเทียน และแถวสุดท้ายคือแถวที่สี่ เป็นเชิงธูปไม้ระกำ  ในกรณีเครื่องนมัสการกระบะมุก แถวแรกจะเป็นพานพุ่มดอกไม้ แถวที่สองเป็นเชิงเทียนและเชิงธูปไม้ระกำ และในกรณีของเครื่องทองน้อย แถวแรกเป็นกรวยเชิงวางพุ่มดอกไม้ และแถวที่สอง เป็นเชิงเทียนและเชิงธูปไม้ระกำ (ดังนั้นเมื่อทอดเครื่องนมัสการบูชาสิ่งใด ก็จะหันแถวแรกที่เป็นพานพุ่มดอกไม้ ซึ่งถือเป็นด้านหน้าของเครื่องนมัสการไปยังสิ่งนั้น)
.
.
.
เครื่องนมัสการพานทองสองชั้น สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดสักการะพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ภายในพระบรมมหาราชวัง
(สังเกตการทอดเครื่องนมัสการในภาพจะเห็นว่า จะหันแถวแรกที่ตั้งพานพุ่มดอกไม้ ตามด้วยพานพุ่มข้าวตอก
เชิงเทียน และเชิงธูป ไปยังพระพุทธรูปอันประดิษฐานอยู่บนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตร)
.
.
.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเครื่องทองน้อย และเครื่องราชสักการะ (เครื่องนมัสการทองลงยาราชาวดี)
สำหรับสักการะพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
(สังเกตการทอดเครื่องนมัสการในภาพจะเห็นว่า จะหันแถวแรกที่ตั้งพานพุ่มดอกไม้
ตามด้วยพานพุ่มข้าวตอก เชิงเทียน และเชิงธูป ไปยังที่ประดิษฐานพระศพ)
.
.
.
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงจุดเครื่องนมัสการกระบะมุก
สำหรับบูชาพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
(สังเกตการทอดเครื่องนมัสการในภาพจะเห็นว่า จะหันแถวแรกที่ตั้งพานพุ่มดอกไม้
ตามด้วยเชิงเทียนและเชิงธูป ไปยังพระพิธีธรรมที่สวดพระอภิธรรมพระศพ)
[/SIZE][/COLOR][/B]
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

           สำหรับเรื่องที่มาของเครื่องนมัสการบูชาของไทยนั้น มีผู้รู้หลายท่านได้เสนอไว้หลากหลายที่มา หนึ่งในนั้นคือคำอธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่อง "อธิบายเรื่องเครื่องบูชา" ดังมีความตอนหนึ่งที่ผมขออนุญาตยกมา ดังนี้
.


.
ที่มา : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ, อธิบายเรื่องเครื่องบูชา. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๓.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

เพิ่มเติมภาพตัวอย่างเครื่องนมัสการประเภทต่างๆ จากสมุดบันทึก "สิริราชภัณฑ์" รายได้ก่อตั้งเงินทุนเผยแพร่กฎหมาย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จัดพิมพ์โดย ศูนย์กฎหมายเพื่อประชาชน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ ๑, พฤศจิกายน ๒๕๓๙, รองศาสตราจารย์ ธงทอง จันทรางศุ บรรณาธิการ
.
.
เครื่องทรงธรรมสำรับใหญ่
.
.
เครื่องนมัสการพานทองสองชั้น
.
.
เครื่องนมัสการทองลงยาราชาวดีรอง
.
.
เครื่องทองน้อย
.
.
เครื่องทองน้อยทองคำลงยา
.
.
เครื่องทองน้อยทองคำลงยา บนพานทองคำสลักลาย
.
.
เครื่องทองน้อยเครื่องห้า
.
.
เครดิตภาพโดย : คุณวศินสุข
[/SIZE][/COLOR]
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

June 15, 2010, 14:19:34 #9 Last Edit: June 16, 2010, 20:39:15 by สิรวีย์
คอยกระทู้นี้มานานมากแล้วค่ะ นึกว่าจะไม่ได้เห็นเสียแล้ว

เครื่องนมัสการที่จัดลงกระบะ หรือทอดเหนือม้าที่เห็นเหล่านี้ ดิฉันเห็นว่าเป็นร่องรอยอันน่าสนใจของประเพณีการบูชาของคนไทยค่ะ

ถ้าสังเกตให้ดีดีจะเห็นว่าเครื่องนมัสการของหลวงนั้น โดยปรกติจะจัดใส่ลงในภาชนะเช่นกระบะหรือพาน และทอดบนม้าแยกต่างหากจากสิ่งสักการะ น่าจะแสดงให้เห็ฯประเพณีการจัดเครื่องสักการะสมัยโบราณได้ดี

ในช่วงรัชกาลที่ 3 พระราชนิยมในเรื่องจีนคาบเกี่ยวเอาเครื่องนมัสการไปรวมอยู่ด้วย ดังพระราชนิยมเรื่องโต๊ะหมู่บูชาที่ต่อมาจัดกระบวนเป็นหมู่ 5, 7, 9 อย่างที่เราเห็นกันอยู่ปัจจุบัน ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลนั้น และขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนแทบทุกวัดหรือสักการะสถานต้องมีตั้งไว้ ที่น่าเสียดายคือ หลายครั้งที่โต๊ะหมู่บดบัง 'ของดี' ไปอย่างน่าเสียดาย โต๊ะหมู่บูชานี้ได้ยกเอากระบะใส่เครื่องนมัสการออกแล้วสั้งเครื่องนมัสการรายล้อมไว้ตามชั้นต่างๆ และลดจำนวนเครื่องนมัสการเหล่านั้นลง และในที่สุดก็ใช้โต๊ะที่สูงที่สุดเป็นที่ประดิษฐานสิ่งสักการะ ดังในปัจจุบัน

นอกจากวัดสำคัญๆเราจึงจะได้เห็นเบญจา ซึ่งเป็นแท่นวางเครื่องสักการะอย่างเก่าตั้งไว้ เช่น พระอุโบสถวัดพระแก้วและวัดโพธิ์ เป็นต้น

การทอดเครื่องนมัสการนั้น ตามปรกติเจ้าพนักงานจะทอดเหนือพรหมทอดที่ ด้านหน้าเครื่องนมัสการลาดพระสุจหนี่ (ในกรณีเจ้าฟ้าขึ้นไป) แล้วทอดพระแท่นทรงกราบเหนือพระสุจหนีด้านหน้าเครื่องนมัสการ และในกรณีผู้แทนพระองค์เสด็จฯมาปฏิบัติพระกรณ๊ยกิจแทนพระองค์ จะทอดเครื่องนมัสการตามพระราชอิสริยยศ หรือยศของผู้แทนพระองค์ไว้ทางด้านซ้ายของเครื่องนมัสการสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่คลุมพระสุจหนี่ลงบนพระแท่นทรงกราบ

เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จฯหรือเดินทางมาถึงบริเวณพิธี จะทรงจุดหรือจุดเครื่องนมัสการสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก่อน แล้วจึงกลับไปทรงจุดหรือจุดเครื่องนมัสการที่ทอดไว้สำหรับพระองค์หรือสำหรับตน

โดยปรกติแล้วผู้แทนพระองค์ในพิธีสำคัญจนถึงทอดเครื่องนมัสการนี้ มักเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ นานๆครั้งจึงจะเป็นพระอนุวงศ์หรือองคมนตรี ซึ่งจะทราบกันดีว่าหากได้รับพระมหากรุณานี้แล้ว จักไม่กราบลงบนแท่นกราบ



ภาพการทอดเครื่องนมัสการกระบะมุก สำหรับองคมนตรี  บูชาพระเสรฐฏมุนี พระประธานในศาลาการเปรียญ วัดสุทัศน์เทพวราราม
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เครื่องนัมสการทองทิศเครื่องแก้ว สำหรับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงนมัสการพระพุทธรูป

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ชมภาพเครื่องนมัสการในรัชกาลปัจจุบันไปแล้ว คราวนี้ลองชมภาพเครื่องนมัสการในสมัยรัชกาลที่ ๖-๗ กันบ้างนะครับ
.
.
เครื่องนมัสการทองทิศ พร้อมพระแท่นทรงกราบ
.
.
เครื่องทองน้อยเครื่องห้า
.
.
เครื่องทองน้อย
.
.
เครื่องนมัสการกระบะมุก
.
.
เครื่องนมัสการกระบะถม
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

กราบขอบพระคุณคุณอักษรชนนีและคุณสิรวีย์อีกครั้งนะครับ
ที่มาให้ข้อมูลความรู้อย่างมากมาย
งั้นแสดงว่าเครื่องนมัสการที่บุคคลธรรมดาสามัญสามารถใช้ได้
และไม่ผิดธรรมเนียมเห็นจะเป็นเครื่องนมัสการกระบะมุกและเครื่องทองน้อยใช่มั้ยครับ
รบกวนขอความเห็นด้วยครับคุณพี่ทั้งสอง จักเป้นพระคุณยิ่งและวานฝากเป็นธุระด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ

June 15, 2010, 17:55:04 #13 Last Edit: June 17, 2010, 19:51:00 by สิรวีย์
ใช่ค่ะ คุณสยมภูวญาณ อันที่จริงแล้วการจัดเครื่องบูชาในเคหะสถานของสามัญชนนั้น ในสมัยโบราณไม่มี เพราะคนไทยไม่นิยมนำสิ่งสักการะมาไว้ในบ้านเรือน นักวิชาการสันนิษฐานกันว่า การจัดสถานที่สักการะในบ้านเพิ่งมีช่วงหลังๆ ไม่กี่ปีมานี้เอง บางท่านฟันธงว่าเป็ฯช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วนซ้ำ อันนี้ไม่ยืนยันนะคะ

ทว่าการจัดเครื่องนมัสการใส่กระบะ อาจจะมีมาก่อนหน้านั้น เช่นเมื่อจะเข้าไปบำเพ็ญกุศลในวัดวาอาราม ก็อาจนำกระบะใส่เครื่องนมัสการไปจุดบูชา ใส่กระบะก็เพื่อให้ขนย้ายสะดวก

เครื่องนมัสการที่ปัจจุบันสามัญชนสามารถใช้ได้ก็คือ เครื่องนมัสการกระบะมุกและเครื่องทองน้อยเครื่องสาม ส่วนเครื่องทองน้อยเครื่องห้านั้น เป็นของสำหรับกษัตริย์ค่ะ และที่ในปัจจุบันเห็นมีคนละลาบละล้วงมากก็คือการใช้ผ้าสุจหนี่ หรือผ้าเทียมสุจหนี เป็นเครื่องปูลาด หรือใช้ทำสิ่งของต่างๆเช่น หมอน ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง ด้วยสุจหนี่เป็นของสำหรับเจ้าฟ้าขึ้นไปเท่านั้นค่ะ ทำนองเดียวกับกรวยดอกไม้ซึ่งถ้ามอบให้สามัญชนจะไม่เปิดกรวย ต่อเมื่อใช้ถวายเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปจึงจะเปิดกรวยดอกไม้ก่อนถวาย

พุ่มข้าวตอกนั้น สามัญชนไม่นิยมใช้กัน แม้ไม่มีกฎห้าม แต่เพราะความลำบากในการจัดทำ พุ่มข้าวตอกนี้ ถ้าเป็นทางเหนือบางครั้งใช้พุ่มสีผึ้งแทนก็มี
มีเกร็ดเล่าว่า พุ่มข้าวตอกที่ทำเป็นวงซ้อนสี่ชั้นอย่างที่ใช้กันอยู่นี้ ผู้ที่คิดทำและทำชำนาญมากคือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระสนมในรัชกาลที่ 4 แม้เมื่อเสด็จมาประทับอยู่กับพระโอรสที่วังท่าพระแล้ว ก็ยังทรงประดิษฐ์พุ่มสีผึ้ง พุ่มข้าวตอกขายเพื่อเลี้ยงพระชนม์ด้วย นัยว่าทรงพระปรีชางานนี้มาก
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ตามที่คุณสิรวีย์บอกไว้เลยครับ สามัญชนอย่างเราๆ มีสิทธิ์ใช้เครื่องนมัสการได้เพียงเครื่องนมัสการกระบะมุก และเครื่องทองน้อย ส่วนเครื่องนมัสการประเภทอื่นๆ เป็นสิ่งที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้นครับ

แต่ทั้งนี้ เครื่องนมัสการกระบะมุกและเครื่องทองน้อย ตามประเพณีนิยม มักนำมาใช้ในพิธีการที่สำคัญๆ ไม่นิยมใช้กันตามปกติในชีวิตประจำวันทั่วๆไปครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ภาพตัวอย่างการใช้เครื่องนมัสการกระบะมุกและเครื่องทองน้อยสำหรับสามัญชน (ที่ไม่ใช่พระบรมวงศานุวงศ์) ในพิธีต่างๆ
.
.
พระสงฆ์ (ผู้เป็นประธานในพิธี) จุดเครื่องนมัสการกระบะมุกบูชาพระรัตนตรัยในพิธีบำเพ็ญกุศล ๕๑ ปี แห่งชาตกาล
อุทิศถวายพระครูประดิษฐ์คุณวงศ์ หรือหลวงพ่อจรัญ มหาลาโภ อดีตเจ้าอาวาสวัดประดิษฐาราม จ.ปราจีนบุรี
ณ ห้องโถงคณะ ๖ วัดเทพธิดารามวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ
.
.
จุดเครื่องทองน้อยบูชาที่หน้าภาพหลวงพ่อพระครูประดิษฐ์คุณวงศ์
.
.
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่พระยาแรกนา จุดเครื่องนมัสการกระบะมุกบูชาเทวรูป
ภายในโรงพิธีพราหมณ์ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
.
.
ผู้แทนฝ่ายฆราวาสจุดเครื่องทองน้อยบูชาที่หน้าโกศอัฐิและภาพของพระวิบูลย์ธรรมาภรณ์
อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบุรณสิริมาตยาราม กรุงเทพฯ
ในพิธีบำเพ็ญกุศลครบรอบวันมรณภาพ ๕๐ วัน ของพระเดชพระคุณพระวิบูลย์ธรรมาภรณ์
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

June 15, 2010, 23:20:50 #16 Last Edit: June 17, 2010, 19:51:37 by สิรวีย์
ขออนุญาตเพิ่มเติมนะคะว่า สามัญชนจะสามารถใช้ได้เพียงเครื่องนมัสการกระบะมุก แต่อาจจะไม่สมควรหากจะใช้ในบ้านเรือนในวาระปรกติ นั่นเพราะในสมัยก่อนนั้นถือกันยิ่งนักเรื่องฐานานุศักดิ์ของข้าวของเครื่องใช้ซึ่งต้องให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล เครื่องมุกเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่จัดว่าเป็นของค่อนข้างมีราคา จึงปรากฎว่าเป็นเครื่องปผระกอบยศของทั้งพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์และขุนนางผู้ใหญ่ จึงไม่นิยมใช้กันทั่วไป ต่อเมื่อมีบุญวาสนาได้ทำงานใหญ่ (คือมีบารมีระดับหนึ่งแล้ว) จึงจะใช้ได้ เครื่องมุกจึงตะขิดตะขวงด้วยปนะการฉะนี้

หากเราจะยักเยื้องด้วยฐานานุศักดิ์ของสิ่งของแล้ว หาพานน้อย 4 เชิง 5 มาจัดเรียงลงในกระบะไม้   งดงามตามแต่บารมีจะสรรหามาได้ (เช่นเดียวกับกะบะเลอค่าของสมาชิกบ้านเราท่านหนึ่ง) ใช้ในนมัสการในวาระต่างๆ ก็มิผิดนักค่ะ

ส่วนเครื่องทองน้อยนั้น เวลาไปไหนๆเห็นเขาตั้งขนาดจำลองไว้ตามบ้านเรือน อาคารสถานที่มากมาย แต่ไม่ได้จุด ก็ตามแต่ความนิยมค่ะ

ปล.เครื่องทรงธรรมสำรับใหญ่นั้น เชิงเทียนเคียงเป็นเครื่องทองที่สั่งทำจากฟาแบร์เชค่ะ งามหยดย้อยจริงๆ บางครั้งเครื่องประกอบเครื่องนมัสการเหล่านี้ก็ใช้ข้าวของที่แปลกออกไปจากแบบ ทำจากหินมีค่าบ้าง เช่น หินโมรา หยก เป็ฯต้น ส่วนมากมักสั่งจากฟาแบร์เช ตามแต่พระราชนิยมค่ะ สมัยนี้เห็นน้อยแล้วค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

กราบเรียนเพิ่มเติมครับสำหรับกระบุมุกที่เราใช้กันและเหมาะสำหรับสามัญชนเพราะเนื่องจากกระบะมุกเป็นศิลปที่ถูกนำเข้ามาจากชาวจีน แต่เกิดจากการปรับเปลี่ยนคิดค้นจากชาวไทยเพราะสืบเนื่องจากเมื่อสมัยในรัชกาลที่ 3 ชาวจีนได้มีสัมพันธุ์เรื่องการค้าขายกับชาวไทยเป็นอย่างมากก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งวัฒนธรรมอันดีของทั้งสองประประเทศ ทำให้เกิดเครื่องใช้ไม้สอยเกี่ยวกับการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มามาย อันดังเกิดโต๊ะหมู่บูชาซึ่งได้แนวความคิดจากชาวจีนซึ่งทำแท่นสำหรับบูชาพระพุทธเจ้า และเทพเจ้าต่าง ๆ ทำให้ชาวไทยได้ทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเกิดโต๊ะหมู่บูชาขึ้นในสมัยนั้น ดังจะเห็นโต๊ธหมู่บูชาชุดแรกที่วัดพระเชตุพนฯ (หรือวัดโพธิ์) และที่วัดสุทันน์เทพวราราม ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน กลับมาที่กระบะมุกกันต่อ เพราะเนื่องจากชาวไทยเรามีความรู้เรื่องศิลปะที่อ้อนช้อยประจวบกับความคิดสร้างสรรค์ก็ทำให้เกิดเครื่องโต๊ะบูชาที่ประดิษฐ์จากเปลือกหอย หรือที่เราเรียกว่ามุก จากเดิมที่เห็นเครื่องเรือนต่าง ๆ ของชาวจีนซึ่งถูกซื้อหรือสั่งมาจากเมืองจีน ชาวไทยที่เป็นเหล่าบรรดาข้าราชการในไทยก็เกิดแนวความคิดที่อยากจะทำเครื่องบูชาที่ทำจากเปลือกหอยและนำเข้าจากจีน ก็ได้ทำการส่งกระบะไม้ย่อมุมตามแบบฉบับของไทย ส่งไปทางเรือขนส่งสินค้าที่กลับไปยังประเทศจีน พร้อมตัวแบบลวดลายไทยในลักษณะต่าง ๆ ไปให้ที่เมืองจีนทำการผลิดเพื่อกลับมายังประเทศสยาม แต่ด้วยเหตุศิลปความถนัดของแต่ละชนชาติก็มีความถนัดแตกต่างกันไปทำให้กระบะมุก หรือเครืองบูชาอื่น ๆ ที่ครั้งนั้นสยามประเทศส่งไปให้ที่จีนผลิตนั้น (รวมถึงเครื่องลายคลามจีนแต่เขียนลวดลายไทยด้วย) ได้ถูกส่งกลับมายังประเทศไทยมีหน้าตาตลกหน้าขบขัน เช่นลายเทพพนมที่สวยงามกับกลับมาด้วยหน้าตาเหสมือนเทพเจ้าจีนอย่างสิ้นเชิง หรือลวดลายไทยต่าง ๆ ก็ดูผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง (แต่กลับหารู้ไม่ว่าเครื่องบูชาของใช้ข้าวของต่าง ๆ เหล่านี้กลับมีราคาสูงลิบในปัจจุบัน) จึงทำให้สำนักพระราชวังต้องทำการส่งช่างไทยในสำนักพระราชวังไปยังจีนและเหล่าช่างชาวบ้านที่เป็นระดับอาจารย์ ไปทำการศึกษาวิธีกระบวนการทำงานศิลปของชาวจีน เพื่อกลับมาสืบสานรูปแบบความเป็นไทยจึงทำให้เครื่องมุกของจีนได้กลายมาเป็นของไทยที่มีความสวยงามในปัจจุบัน และกลายเป็นเครื่องบูชาที่ประชาชนหรือชาวบ้านอย่างเรา ๆ สามารถหาซื้อมาเป็นเจ้าของได้ยังในปัจจุบัน...ครับ สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้กระผมได้ทำการศึกษาไว้นานมากเมื่อสมัยทำวิทยานิพนธ์ ถ้าข้อมูลบางช่วงตอนผิดพลาดไปบ้างก็ขออภัยนะที่นี้ด้วยครับ
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

http://i868.photobucket.com/albums/ab250/chaicharna/location65.jpg  สำหรับภาพที่นำมาประกอบเป็นโต๊ะหมู่บูชาไทยที่จัดเป็นรูปแบบจีน ต้องขอบคุณภาพจากทางเว็บด้วยนะครับ(ต้องขออภัยที่จำชื่อเว็บไม่ได้) สังเกตว่าเครื่องบูชาต่าง ๆ ทั้งหมดทั้งเครื่องเคลือบ ลายผ้าปักล้วนแล้วเป็นลวดลายไทยที่ดูแปลกตาหน้าตาตลก เพราะเป็นงานช่างจีนเป็นผู้ผลิตให้ แต่รูปแบบเป็นลวดลายจากประเทศไทยที่ถูกส่งไปยังเมืองจีนครับ
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

June 17, 2010, 19:49:52 #19 Last Edit: June 17, 2010, 20:00:29 by สิรวีย์
สัวสดีค่ะคุณ Chaicharna ยินดีเหลือเกินที่ได้อ่านกระทู้จากคุณค่ะ เพราะปรกติเรื่องพวกนี้มีคนเข้ามาสนทนากันน้อยเหลือเกิน

คุณ Chaichana น่าจะหมายถึงเฉพาะกระบะมุกใช่ไหมคะที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 3 เพราะเข้าใจว่าเครื่องมุกนี้คนไทยนิยมทำกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังเราเห็ฯบานประตูมุกบานงามๆอยู่ตามวัดสำคัญทั่วประเทศ แต่กระบะมุกที่ใช้สำหรับเครื่องนมัสการนี้ยังไม่พบที่เก่าแก่ไปกว่าต้นรัตนโกสินทร์เลย

ขออนุญาตเพิ่มเติมว่า ณ เวลานี้ เครื่องนมัสการอย่างจีนยังตั้งบูชาพระสยามเทวาธิราชในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และบูชาพระป้ายในพระทั่นั่งเวหาสจำรูญอยู่ด้วยค่ะ

มีอันหนึ่งนึกขึ้นมาได้ อาจจะเกี่ยวข้องกับเครื่องนมัสการหรือไม่ก็ได้ คือถ้าใครเข้าไปในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สังเกตดีดีจะเห็ฯว่าที่เบญจาหน้าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรทรงเครื่องอยู่ด้านละ 3 องค์ และที่เบญจาชั้นลดจากพระทั้ง 3นั้น มีจงกลอยู่ด้านละชิ้น จงกลนี้เป็นรูปนาค ตรงกลางลำตัวมีวชิระอยู่ ทำจากสำริด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้หล่อถวายเป็ฯพุทธบูชา  เมื่อมีพระราชพิธีสำคัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือผู้แทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเป็ฯประธาน เมื่อทรงจุดเครื่องนมัสการบูชาพระแก้วมรกตแล้ว จะเสด็จฯด้านหน้าเบญจาทั้งสอง เจ้าพนักงานถวายเทียนสีผึ่ง ด้านละ 2 เล่ม ทรงรับแล้วทรงต่อเทียนจากโคมไฟฟ้าที่เจ้าพนักงานเชิญอยู่ แล้วจึงทรงปักลงบนจงกล เป็นประเพณ๊ว่าจงกลนี้เฉพาะกษัตริย์หรือผู้แทนพระองคืเท่านั้นที่จะปักเทียนได้ เจ้าพนักงานจึงมิได้ปักเทียนรอไว้เช่นเดียวกับที่อื่นๆ

ไม่มีรูปนะคะ ถ้านึกไม่ออกต้องเดินทางไปดุที่วัดพระแก้วค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

กระทู้นี้เยี่ยมจริงๆ อยากให้ตั้งเป็นกระทู้พิเศษเลยครับ

ขอบคุณทุกความรู้ที่ทุกท่านกรุณามาช่วยให้ความรู้ไขความกระจ่าง
ประดุจเปลวเทียนอันสว่างที่ขจัดอวิชชาให้หมดไป
ขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ

Quote from: สิรวีย์ on June 17, 2010, 19:49:52
สัวสดีค่ะคุณ Chaicharna ยินดีเหลือเกินที่ได้อ่านกระทู้จากคุณค่ะ เพราะปรกติเรื่องพวกนี้มีคนเข้ามาสนทนากันน้อยเหลือเกิน

คุณ Chaichana น่าจะหมายถึงเฉพาะกระบะมุกใช่ไหมคะที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 3 เพราะเข้าใจว่าเครื่องมุกนี้คนไทยนิยมทำกันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังเราเห็ฯบานประตูมุกบานงามๆอยู่ตามวัดสำคัญทั่วประเทศ แต่กระบะมุกที่ใช้สำหรับเครื่องนมัสการนี้ยังไม่พบที่เก่าแก่ไปกว่าต้นรัตนโกสินทร์เลย

ขออนุญาตเพิ่มเติมว่า ณ เวลานี้ เครื่องนมัสการอย่างจีนยังตั้งบูชาพระสยามเทวาธิราชในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และบูชาพระป้ายในพระทั่นั่งเวหาสจำรูญอยู่ด้วยค่ะ

มีอันหนึ่งนึกขึ้นมาได้ อาจจะเกี่ยวข้องกับเครื่องนมัสการหรือไม่ก็ได้ คือถ้าใครเข้าไปในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สังเกตดีดีจะเห็ฯว่าที่เบญจาหน้าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรทรงเครื่องอยู่ด้านละ 3 องค์ และที่เบญจาชั้นลดจากพระทั้ง 3นั้น มีจงกลอยู่ด้านละชิ้น จงกลนี้เป็นรูปนาค ตรงกลางลำตัวมีวชิระอยู่ ทำจากสำริด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้หล่อถวายเป็ฯพุทธบูชา  เมื่อมีพระราชพิธีสำคัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือผู้แทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเป็ฯประธาน เมื่อทรงจุดเครื่องนมัสการบูชาพระแก้วมรกตแล้ว จะเสด็จฯด้านหน้าเบญจาทั้งสอง เจ้าพนักงานถวายเทียนสีผึ่ง ด้านละ 2 เล่ม ทรงรับแล้วทรงต่อเทียนจากโคมไฟฟ้าที่เจ้าพนักงานเชิญอยู่ แล้วจึงทรงปักลงบนจงกล เป็นประเพณ๊ว่าจงกลนี้เฉพาะกษัตริย์หรือผู้แทนพระองคืเท่านั้นที่จะปักเทียนได้ เจ้าพนักงานจึงมิได้ปักเทียนรอไว้เช่นเดียวกับที่อื่นๆ

ไม่มีรูปนะคะ ถ้านึกไม่ออกต้องเดินทางไปดุที่วัดพระแก้วค่ะ

ครับใช่ที่กล่าวมาเป็นกระบะมุกครับขอบคุณคุร สิรวีย์นะครับ ที่ช่วยมาต่อยอดเรื่องของกระผมอันที่จริงความรู้เท่าหางอึ่งครับ บังเอิญมากกว่าที่ได้เข้ามาศึกษาบ้างประปรายก็พอมีข้อมูลติดตัวมาบ้างยินดีที่จะรับคำติชมครับ




ทั้งสองภาพเป็นภาพการจัดเครื่องโต๊ะหมู่ไทยแบบจีนของพระที่นั่งที่ใดบ้างผมเองก็จำไม่ได้นะครับ เพราะเนื่องจากก็ยังไม่มีโอกาศได้ไปชมของจริงสักทีครับ เลยเอามาฝากเพื่อน ๆ ชมกัน
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

จากภาพด้านบนต้องขอบอกว่างดงามมากนะครับโดยเฉพาะผ้าปักลายมังกรสวยงามจับใจครับ ก็เลยนำภาพจิตกรรมฝาผนังการจัดโต๊ะมาฝากอีกหนึ่งภาพซึ่งเป็นภาพการเขียนฝาผนังที่วัด ราชโอรส ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 เป็นภาพการตั้งเครื่องแบบจีนครับ

มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

Quote from: chaicharna on June 17, 2010, 21:44:36

ครับใช่ที่กล่าวมาเป็นกระบะมุกครับขอบคุณคุร สิรวีย์นะครับ ที่ช่วยมาต่อยอดเรื่องของกระผมอันที่จริงความรู้เท่าหางอึ่งครับ บังเอิญมากกว่าที่ได้เข้ามาศึกษาบ้างประปรายก็พอมีข้อมูลติดตัวมาบ้างยินดีที่จะรับคำติชมครับ




ทั้งสองภาพเป็นภาพการจัดเครื่องโต๊ะหมู่ไทยแบบจีนของพระที่นั่งที่ใดบ้างผมเองก็จำไม่ได้นะครับ เพราะเนื่องจากก็ยังไม่มีโอกาศได้ไปชมของจริงสักทีครับ เลยเอามาฝากเพื่อน ๆ ชมกัน

ถ้าจำไม่ผิด ภาพเเรกน่าจะเป็นภาพห้องเจว็ด ภายในพระจุฑาธุชราชสถาน เกาะสีชัง

ส่วนภาพที่สองเป็นพระวิมานพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ภายในระบรมมหาราชวังครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

Quote from: อักษรชนนี on June 17, 2010, 21:57:41
Quote from: chaicharna on June 17, 2010, 21:44:36

ครับใช่ที่กล่าวมาเป็นกระบะมุกครับขอบคุณคุร สิรวีย์นะครับ ที่ช่วยมาต่อยอดเรื่องของกระผมอันที่จริงความรู้เท่าหางอึ่งครับ บังเอิญมากกว่าที่ได้เข้ามาศึกษาบ้างประปรายก็พอมีข้อมูลติดตัวมาบ้างยินดีที่จะรับคำติชมครับ




ทั้งสองภาพเป็นภาพการจัดเครื่องโต๊ะหมู่ไทยแบบจีนของพระที่นั่งที่ใดบ้างผมเองก็จำไม่ได้นะครับ เพราะเนื่องจากก็ยังไม่มีโอกาศได้ไปชมของจริงสักทีครับ เลยเอามาฝากเพื่อน ๆ ชมกัน

ถ้าจำไม่ผิด ภาพเเรกน่าจะเป็นภาพห้องเจว็ด ภายในพระจุฑาธุชราชสถาน เกาะสีชัง

ส่วนภาพที่สองเป็นพระวิมานพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ภายในระบรมมหาราชวังครับ



พี่เองก็ไม่แน่ใจนะครับ

แต่จำได้ลางๆว่า เครื่องบูชาแบบจีนรูปบน อยู่ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ ครับ

ถ้าผิดขออภัยครับ

ผมเองก็ก่ำกึ่งๆเหมือนกันครับ สงสัยต้องผู้รู้มาช่วยยืนยัน ^_^
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอนำภาพเครื่องโต๊ะบูชาแบบจีน ที่เป็นพระราชนิยมในช่วงรัชกาล 5 มาให้ชมเพิ่มเติมครับ เป็นภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือ "เครื่องถ้วยวัดโพธิ์" ครับ มีประวัติและเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชนิยมเกี่ยวกับการจัดเครื่องบูชาแบบจีนในช่วงนั้น ไว้จะทยอยนำมาลงครับ













[HIGHLIGHT=#ffffff]ชนใดหวังข้ามอุปสรรค  พึงพำนักพิคเนศนาถา
สำเร็จสมดังจินดา พระองค์พาข้ามพิฆะจัญไร
[/HIGHLIGHT]




ได้เช็คข้อมูลจากหนังสือมาแล้ว พบว่าภาพแรก เป็นภาพโต๊ะบูชาแบบจีนที่ห้องสีเขียว พระที่นั่งวิมานเมฆ ดังที่พี่หริทาสกล่าวไว้ครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

[HIGHLIGHT=#000000]มีประโยชน์มากมายเลยค่ะ อ่านแล้วทำให้เราฉลาดขี้น ขอบคุณ ทุกๆกระทู้นะคร้า ^^[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]   "เรา"สามารถเห็นอะไรได้ก้อด้วย"หัวใจ"ของ"เรา"เท่านั้น[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]สิ่งสำคัญ"เรา"ไม่สามารถเห็นได้ด้วย"ดวงตา[HIGHLIGHT=#d7e3bc]"  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

เพิ่งค้นเจอภาพอีกชุด เลยขออนุญาตนำมาเพิ่มเติมในคำอธิบายของคุณสิรวีย์ครับ
.
Quote from: สิรวีย์ on June 17, 2010, 19:49:52

มีอันหนึ่งนึกขึ้นมาได้ อาจจะเกี่ยวข้องกับเครื่องนมัสการหรือไม่ก็ได้ คือถ้าใครเข้าไปในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สังเกตดีดีจะเห็ฯว่าที่เบญจาหน้าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรทรงเครื่องอยู่ด้านละ 3 องค์ และที่เบญจาชั้นลดจากพระทั้ง 3นั้น มีจงกลอยู่ด้านละชิ้น จงกลนี้เป็นรูปนาค ตรงกลางลำตัวมีวชิระอยู่ ทำจากสำริด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้หล่อถวายเป็ฯพุทธบูชา  เมื่อมีพระราชพิธีสำคัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือผู้แทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเป็ฯประธาน เมื่อทรงจุดเครื่องนมัสการบูชาพระแก้วมรกตแล้ว จะเสด็จฯด้านหน้าเบญจาทั้งสอง เจ้าพนักงานถวายเทียนสีผึ่ง ด้านละ 2 เล่ม ทรงรับแล้วทรงต่อเทียนจากโคมไฟฟ้าที่เจ้าพนักงานเชิญอยู่ แล้วจึงทรงปักลงบนจงกล เป็นประเพณ๊ว่าจงกลนี้เฉพาะกษัตริย์หรือผู้แทนพระองคืเท่านั้นที่จะปักเทียนได้ เจ้าพนักงานจึงมิได้ปักเทียนรอไว้เช่นเดียวกับที่อื่นๆ

ไม่มีรูปนะคะ ถ้านึกไม่ออกต้องเดินทางไปดุที่วัดพระแก้วค่ะ


.
ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปักเทียนนมัสการลงบนจงกลเทียน
หน้าพระพุทธรูปฉลองพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
.
.
.
ได้เช็คข้อมูลจากหนังสือมาแล้ว พบว่าภาพแรก เป็นภาพโต๊ะบูชาแบบจีนที่ห้องสีเขียว พระที่นั่งวิมานเมฆ ดังที่พี่หริทาสกล่าวไว้ครับ
[/quote]



พร้อมกันนี้ขอเพิ่มเติมภาพโต๊ะบูชาแบบจีนในห้องสีเขียว ซึ่งอยู่บริเวณชั้นสาม ของพระที่นั่งวิมานเมฆด้วยครับ
.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0