Loader

บายศรี ศิลปะความงามอันทรงค่า

Started by chaicharna, June 22, 2010, 13:39:38

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

กราบสวัสดีพี่ ๆ น้อง ๆ ชาวฮินดูมิทติ้ง กันทุกคนนะครับ บังเอิญเมื่อวันก่อนได้อ่านกระทู้นึงของพี่น้อง ๆ ของเราในเว็บนี้ได้ถามถึงความหมายของบายศรีกันมานะครับ ก็เห็นพี่ๆ หลาย ๆ ท่านได้แบ่งปันข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ กันมากมายสำหรับเรื่องของบายศรี กระผมก็เลยขออณุญาติได้ทำการรวบรวมข้อมูลของบายศรีที่พวกเราชาวไทยได้ให้ความสำคัญกันมากตั้งแต่สมัยอดีตจนปัจจุบันครับ และใช้ในงานพิธีต่าง  ๆ โดยเฉพาะพี่น้อง ๆ ในเว็บแห่งนี้ก็ได้ใช้เพื่อการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เราต่างคนต่างนับถือกันนะครับ และเพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากจะได้ความหมายของเรื่องบายศรีกันนะครับ กระผมก็หวังว่าบทความเรื่องบายศรีบทนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่พี่ ๆ น้อง ๆ ของเรากันทุกคนนะครับ ขอบพระคุณอย่างสูง

บายศรี
   บายศรีเป็นสิ่งมีค่าสำหรับชาวไทยตั้งแต่โบราณจนมาถึงบัดนี้ นับตั้งแต่แรกเกิดจบเติบใหญ่เราจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่าง ๆ ซึ่งต้องมี    บายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้น ๆ
      บายศรี เป็นคำเขมร แปลว่าข้าวสุก
      บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่าจับ สัมผัส จับต้อง
      ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสฤต ตรงกับคำภาษายาลีว่า สิริ แปลว่ามิ่งขวัญ

   รวมความคำว่าบายศรีแปลว่าข้าวขวัญ หรือสิ่งที่นำให้สัมผัสกับความดีงามตามความหมายของชาวอีสาน กระผมก็ขอให้คำจำกัดความของบายศรีว่า บายศรีคือภาชนะที่ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษเพื่อสำหรับใส่อาหารคาวหวานในพิธีสังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่าง ๆ ทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎร

บายศรีของหลวง (กรมศิลปากร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร "ขัตติยราชประเพณีโบราณที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระราชกุมาร" หน้า 18 – 19) หรือของพระมหากษัตริย์
   บายศรีของหลวงมี 3 ชนิด คือ
   1.บายศรีสำรับเล็ก มีชั้นแก้ว 3 ชั้นกับพานทาอง 3 ชั้น และพานเงินซ้อนกัน 3 ชั้นเป็นขนาดเล็กตั้งบายศรีแก้วไว้กลาง บายศรีทองอยู่ทางขวา บายศรีเงินอยู่ทางซ้ายของผู้รับขวัญ (เจ้าของขวัญ) สำหรับทำขวัญในงานเล็กน้อย

บายศรีสำรับเล็ก ภาพพระราชทาน 30 มิถุนายน 2520 ภาพขยายเฉพาะเครื่องสังเวยบนชั้นบายศรี จะมีโตกเล็ก ๆ ใส่ขนมที่มีชื่อเป็นมงคลและขนมอย่างโบราณ

2.บายศรีสำหรับใหญ่ มีลักษณะเหมือนกันแต่ขนาดใหญ่ สำหรับทำขวัญสมโภชในการอย่างใหญ่ มีชุดละ 5 ต้น

เป็นภาพพระราชทาน ใช้ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร และพระราชพิธีที่สำคัญอื่น ๆ การตั้งเครื่องบายศรีสำรับใหญ่พร้อมเครื่องจุนเจิม มีน้ำมันจัน แป้งกระแจะอย่างละ 1 ชุด มะพร้าวอ่อน 3 ผล ชุดละผล พลู 7 ใบ แว่นเทียนชุดละ 3 ปักบนพานทอง พานแก้ว และพานเงิน ภายในบรรจุข้าวสารเต็มพานไม้ขนาบบายศรีใช้ไม้ชัยพฤกษ์หรือไม่ไผ่ศรีสุข

3.บายศรีตองลองทองขาว  คือบายศรีใหญ่เป็นแต่เหลี่ยมแป้นไม้ของชั้นและแกนไม้ เป็นทองขาวเท่านั้น บายศรีนี้ดูเหมือนจะเป็น 7 ชั้น มีคู้หนึ่งจะใช้อย่างไรบอกไม่ถูกใช้เติมกับบายศรีสำรับใหญ่ก็มีแต่ตั้งไว้ต่างหากไม่เข้ากัน ดังในรูปที่นำมาประกอบให้ดู

เป็นภาพพระราชทาน ใช้ในพระราชพิธีสมโภชช้าง ประกอบกับบายศรีสำรับเล็ก
 
(ภาพและข้อมูลบางส่วนจากหนังสือชุดมรดกไทย เล่มที่ 3 งานใบตอง เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี โดย อ.มณีรัตน์ จันทนะผะลิน) กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ณ โอกาศนี้ด้วยครับ
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา


การใช้บายศรีที่มักจะใช้ในการจัดพระราชพิธีของหลวง มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
   ขัตติยราชประเพณีโบราณที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระราชกุมาร (เสถียรโกเศศ การศึกษาศิลป-ประเพณี หน้า 268-269)
   การพระราชพิธีต่าง ๆ วึ่งเป็นขัตติยราชประเพณีแต่โบราณ มีแบบอย่างสำหรับธรรมเนียมบ้านเมืองสืบต่อมาทุกแผ่นดิน นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีอันเนื่องด้วยพระราชโอรส ธิดา และนัดดาของพระเจ้าแผ่นดินนั้น นับแต่แรกประสูติเป็นลำดับจนเจริญมายุเติบใหญ่มีความสามารถถวายตัวเข้ารับราชการในแผ่นดินได้ มีพิธีและพระราชพิธีที่จัดให้มีขึ้นเป็นเกียรติยศสำหรับตนเองหลายพิธีด้วยกัน เช่น
-พระราชพิธีสมโภชเดือน และขึ้นพระอู่ จัดทำเมื่อแรกประสูติ
-พระราชพิธีลงสรงสนามรับพระปรมาภิไธยเมื่อพระชนมายุครบ 9 พรรษา
-พระราชพิธีโสกันต์หรือเกศากันต์สำหรับพระองค์ชายเมื่อพระชนมายุครบ 13 พรรษา และพระองค์หญิงเมื่ออายุครบ 11 พรรษาเป็นต้น ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าได้กล่าวถึงพระราชพิธีอันเป็นประเพณีการสมโภชพระราชกุมารไว้ดังนี้
ประเพณีการสมโภชพระราชกุมารครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชโอรส และพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงศรีอยุธยานั้น มีประเพณีที่ได้สมโภชสิบครั้ง คือ
   1.เมื่อประสูติแล้ว 3 วัน โปรดสมโภชครั้งหนึ่ง
   2.เมื่อประสูติได้ 1 เดือน โปรดสมโภชขึ้นพระอู่ครั้งหนึ่ง
   3.เมื่อพระชันษาราว 7 เดือน 8 เดือน 9 เดือน คือเมื่อพระทนต์ขึ้นโปรดให้สมโภชครั้งหนึ่ง
   4.พระชันษาล่วงขวบหนึ่งแล้ว เมื่อพระกุมารนั้นทรงพระดำเนินได้โปรดให้สมโภชครั้งหนึ่ง
   5.เมื่อพระชันษาล่วง 3 ขวบแล้วพระราชกุมารลงสรงน้ำได้ โปรดสมโภชครั้งหนึ่ง
   6.เมื่อพระชันษาได้ 9,10 หรือ11 ขวบ ให้ทำพระราชพิธีโสกันต์โปรดให้สมโภชครั้งหนึ่ง
   7.เมื่อพระชันษาได้ 13 ขวบ ถ้าเป็นพระโอรสทรงผนวชสามเณร ถ้าเป็นพระราชธิดา ทรงผนวชชี โปรดให้สมโภชอีกครั้งหนึ่ง
   8.เมื่อพระชันษาได้ 16, 17, 18 หรือ 19 ทำพิธีวิวาหมงคล โปรดให้สมโภชอีกครั้งหนึ่ง
   9.เมื่อพระชันษาได้ 21 ถ้าเป็นพระราชกุมาร ทรงผนวชเป็นภิกษุโปรดให้สมโภชครั้งหนึ่ง
   10.เมื่อพระชันษาได้ 25 ทำพิธีเบญจาภิเษก คือพิธีเบญจเพสโปรดให้สมโภชอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีพระราชประสงค์ให้จัดอยู่สองพิธีคือพิธีโสกันต์และพิธีลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย


ภาพพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกุธภัณฑ์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2523


พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 ทรงโปรดเกล้าฯให้เบิกบายศรีสำรับใหญ่ สำหรับภาพนี้ ยังห่อบายศรีอยู่ในขณะทำพิธีเวียนเทียน 3 รอบ


ภาพนี้เป็นภาพเปิดห่อบายศรีหรือผ้าห่อพระขวัญเมื่อเวียนเทียนได้ครบ 3 รอบแล้วนำห่อพระขวัญมาถวายที่พระอู่แล้วเวียนเทียนต่ออีก 2 รอบรวมเป็น 5 รอบ
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

ภาพบายศรีของหลวง (สำรับใหญ่) ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๒ (ที่มาของภาพจาก : คลังภาพสำนักพระราชวัง)
.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดีดีค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

นี่คือภาพรูปแบบของบายศรีที่ถูกจัดขึ้นโดยหลวง หรือบายศรีเพื่อใช้โดยพระมหากษัตริย์และพระบรมฯ


บายศรีสมโภชพระพุทธรูป เครื่องสังเวยประกอบด้วยบายศรีต้น 7 ชั้น มีไม่ไผ่ศรีสุกพันด้วยผ้าขาวขนาบข้างยอดบายศรีประดับด้วยพุ่มดอกไม้ ตามชั้นบายศรีตกแต่งด้วยดอกไม้ทุกชั้น และมีบายศรีปากชามอีก 2 ชามเป็นบริวาร นอกนั้นจะมีดอกไม้ธูปเทียน ขนม ผลไม้มงคล


พระราชพิธีสมโภชช้าง พระราชพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ "พังขจร" ณ พระราชวังสวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2520 โปรดสังเกตการตั้งเครื่องสังเวยบายศรีสำรับเล็ก มีบายศรีแก้ว บายศรีเงินและบายศรีทอง 3 ชั้น พร้อมเครื่องจุนเจิมครบชุด และมีบายศรีตองรองทองขาว 5 ชั้น 1คู่

นี่คือภาพบายศรีที่เป็นของหลวงนะครับส่วนสำหรับบายศรีที่เป็นราษฎรก็เดี่ยวติดตามต่อไปได้นะครับจะขอเตรียมข้อมูลอีกนิดหน่อนยะครับ (ถ้าข้อมูลบางส่วนที่นำลงไปมีบ้อผิดพลาดอย่างไรก็ขอให้ พี่ ๆ หลาย ๆ ท่านได้ช่วยกันแก้ไขด้วยนะครับขอบพระคุณหลาย ๆ ท่านนะครับที่เข้ามาอ่านกระผมก็หวังว่าคงจะเป็นข้อมูลได้ไม่มากก็น้อยนะครับกราบขอบพระคุณอย่างสูง

กระผมก็ขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ที่ประสาทวิชาในทุก ๆ ขแนงนะครับ รวมถึงครูบายศรีของผมที่เคยสั่งสอบอบรมอาจจะเป็นช่วงสั้น ๆ แต่ก็ทำให้ผมพอมีความรู้เรื่องงานใบตองได้พอสมควรครับ
   ข้าฯ ขอประณตน้อมสักการ      บูรพคณาจารย์
ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา         
   ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา          อบรมจริยา
แก่ข้าฯ ในการปัจจุบัน
   ข้าฯ ขอเคารพอภิวันท์           ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
   ขอเดชกตเวทิตา               อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
   ศึกษาสำเร็จทุกประการ         อายุยืนนาน
อยู๋ในศีลธรรมอันดี
   ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี          ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

บายศรีที่ใช้ในพิธีของราษฎร
   บายศรีของราษฎรมีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โดยปกติใช้ใบตองตานีมาพับและเย็บเป็นแบบต่าง ๆ บางครั้งหาใบตองได้ยากช่างทำบายศรีไม่ค่อยจะมีเวลา หมดทำขวัญจึงได้คิดดัดแปลงใช้ไม้มาแกะสลักฉลุลดลายเป็นบายศรีถาวรคิดค่าเช่าในราคาถูก ๆ มาในปัจจุบันนี้มีผู้คิดทำบายศรีกระดาษสีเขียวใบตอง บายศรีกระดาษเงิน บายศรีกระดาษทอง และบายศรีผ้า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการหาช่างทำบายศรียาก และไม่ค่อยมีเวลาในการประดิษฐ์เช่นในปัจจุบัน แต่ถ้าว่าความเหมาะสมและสวยงามแล้วบายศรีตองตานียังคงสวยงามกว่าและใส่อาหาร-ขนม-ผลไม้ได้ดีกว่าวัสดุอื่น ๆ
ประเภทของงานบายศรีแบ่งตามขนาดดังนี้
1.บายศรีปากชาม เป็นบายศรีขนาดเล็กใช้ชามขนาดย่อม ๆ ใบงาม ๆ เช่นชามเบญจรงค์ ถ้าหาชามที่สวยไม่ได้ก็ใช้ด้นกล้วยตัดเป็นท่อน ๆ แทนชาม เมื่อเสร็จพิธีก็นำไปเจริญหรือทิ้งไปเลย บายศรีปากชามนี้มีตั้งแต่ 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น และ 9 ชั้น ตามแต่ขนาดของภาชนะและขนาดของพิธีตามฐานะของครอบครัว หรือขนาดของโรงพิธี ซึ่งเป็นของหมู่คณะเช่นพิธีบวงสรวง สังเวย บูชาครู เทพยาดา อารักษ์ทั่ว ๆ ไป
บายศรีปากชามหน้าช้าง

บายศรีปากชามหน้านาค

2.บายศรีขนาดใหญ่ เป็นบายศรีขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานพิธีสำคัญเช่น บายศรีทูลพระขวัญของชาวเชียงใหม่ได้ทำมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2469 ชาวเหนือได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดทำบายศรีทูลพระขวัญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เป็นต้น บายศรีทูลพระขวัญจะถูกแบ่งเป็นลำดับชั้นดังนี้
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

บายศรีต้น 9 ชั้น สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ




เป็นพิธีบายศรีทูลพระขวัญที่เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการพ่อค้า และประชาชนได้ร่วมใจกันจัดถวายเมื่อครั้งเสด็จประพาสเหนือ

บายศรีต้น 7 ชั้น สำหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และพระราชอาคันตุกะชั้นประธานาธิบดี


พระราชทานเลี้ยงขันโตกบายศรีพระราชทานแด่มกุฏราชกุมารแห่งอีหร่าน ณ พระตำหนักภูพิงค์เชียงใหม่ บายศรีต้น 7 ชั้นประดับดอกไม้ทุกชั้น บายศรีผูกข้อพระกรมีกาบบายศรี 5 กาบ

บายศรีต้น 5 ชั้น สำหรับเจ้านายที่ทรงกรมหรือเสนาบดี
บายศรีต้น 3 ชั้น ใช้ในพิธีสมรสของชั้นหลานเจ้าฟ้าฝ่ายเหนือ
ส่วนบายศรีชั้นเดียว หรือบายศรีใหญ่ที่ใส่ขันน้ำพานรองใบเดียว ใช้ในพิธีของราษฎรทั่วไป
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

บายศรีทูลพระขวัญฯ

พิธีบายศรีทูลพระขวัญ ซึ่งเจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนร่วมใจกันจัดถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 ที่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่

บายศรีทูลพระขวัญฯ
[/B]
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

บายศรีขนาดใหญ่นี้แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1.บายศรีตันหรือบายศรีตั้ง หรือบายศรีชั้น ใช้ต้นกล้วยเป็นแกน ต่อมามีการคิดทำแกนให้ถาวรและมั่นคงยิ่งขึ้นจึงใช้ไม่เนื้อแข็งเกลากลึงเป็นต้น เป็น 3-5-7 และ9 ชั้น ดังนี้

2.บายศรีใหญ่ เป็นบายศรีที่มีขนาดใหญ่กว่าบายศรีปากชามแต่จัดทำใส่ภาชนะที่ใหญ่ขึ้น เช่น พาน โตก หรือตะลุ่ม เช่นบายศรีอีสาน หรือบายศรีเชียงใหม่ การใส่พานนี้จะใส่พานใบเดียวหรือหลายใบตั้งซ้อนกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของพิธีนั้น ๆ

บายศรีใช้ในงานพิธีต่าง ๆ  ของราษฎรมีดังนี้

1.ทำขวัญแรกเกิด เมื่อแรกเกิดได้ 3-5 หรือ7 วัน บิดามารดาบุพการีจะทำบายศรีรับขวัญแสดงความยินดี และทั้งปัดเป่ารังควาน เสนียดจัญไรต่าง ๆ มิให้มาแผ้วพาล เพื่อทารกจะได้เติบโตเร็ววันด้วยสุขภาพที่สมบูรณ์ทำพิธีเฉพาะในครอบครัว
2.ทำขวัญเดือน เมื่ออายุครบเดือน มักจะเป็นพิธีที่ขยายวงกว้างออกไปสู่วงศ์ญาติพี่น้องบรรดาญาติจะมาแสดงความยินดีและให้ของขวัญให้พรกันในโอกาสนี้
3.ทำขวัญตัดจุก-โกนจุก เมื่อเด็กจะย่างเข้าสู่วันรุ่น เด็กหญิงอาจจะอายุ 11-12-13 ขวบ เด็กชายนับอายุ 13-14-15 ขวบ จะเลือกอายุใดก็ได้แล้วแต่บิดามารดาจะเห็นสมควรและพร้อมจะทำพิธีให้พิธีในครั้งนี้ก็นับว่ามีความสำคัญมากทีเดียว เพราะเป็นโอกาสที่เด็กคนนั้นจะได้สำนึกถึงภาวะ หน้าที่ และความประพฤติที่ตนจะต้องเปลี่ยนแปลงเมื่อพ้นวันเด็กไปแล้ว ดังคำเตือน และคำอวยพรของญาติพี่น้องที่มาในพิธีสู่ขวัญครั้งนี้
4.ทำขวัญบวชเณร-บวชนาค เพื่อให้เกิดเนื้อนาบุญแก่บิดามารดาคำขวัญที่หมอขวัญเรียกขวัญนั้นจะทำการทบทวนหน้าที่และความรักผูกพันที่บิดามารดามีต่อบุตรเพียงไร เพื่อให้บุตรเกิดความซาบซิ้งและมีความตั้งใจแน่วแน่ในการที่จะพากเพียรเรียนธรรมะปฏิบัติสมณะกิจให้เที่ยงตรงสมดังเจตนารมณ์ของบิดามารดา
5.ทำขวัญบ่าวสาว เนื่องด้วยแต่งงาน ภาคอีสานเรียกพิธีนี้ว่า สู่ขวัญกินดอง ภาคเหนือเรียกว่าพิธีมัดมือ เป็นการรวมชีวิตของชายหญิงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผูกชีวิตจิตใจไว้ด้วยกัน และฟังโอวาทการคลองเรือนจากบทเรียกขวัญที่หมอขวัญเป็นผู้พร่ำสอนพรรณนาอย่างถี่ถ้วน ตลอดจนบรรดาญาติมิตรผู้ใหญ่ทุกคนก็อวยชัยให้พร ให้ข้อคิดคำสอนขณะประจงผูกข้อมูลบ่าวสาวนั้นด้วย
6.สู่ขวัญ และสู่ขวัญส่งขวัญ
  สู่ขวัญรับขวัญ ทำในงานเลี้ยงต้อนรับผู้มารับตำแน่งใหม่ เมื่อกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน กลับจากไปรบข้าศึกศัตรู กลับจากการไปศึกษาหาความรู้จากแดนไกลยินดีที่ได้เลื่อนขั้นเลื่อนยศ กลับจากไปท่องเที่ยวทางไกล หรือกลับจากไปค้าขายต่างถิ่น เพื่อเป็นการเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวด้วย
  สู่ขวัญส่งขวัญ สำหรับผู้ที่จากไปไกลหรือจากไปนาน ไม่ว่าจะไปสู้รบสนามรบ ศึกษาเล่าเรียนรับราชการต่างถิ่น  จึงทำพิธีสู่ขวัญเพื่อให้เป็นการส่งขวัญให้ไปอยู่กับตัวด้วย นั่นคือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนจะทำอะไรให้รู้สึกสำนึกชั่วดีตลอดเวลาไม่ให้หลงมัวเมาไปในทางที่ผิดนั่นเอง
7.ทำขวัญเมื่อเจ็บป่วย เพื่อให้ขวัญอยู่กับตัวและหายเร็วขึ้นเป็นการให้กำลังใจ โดยเฉพาะรายที่เจ็บป่วยเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ต้องทำพิธีเชิญขวัญหรือตักขวัญ ณ ที่เกิดเหตุใส่ภาชนะกลับมาใส่ในชามบายศรี เมื่อเรียกขวัญเสร็จแล้วเอาด้ายขวัญบายศรีผูกให้กลับผู้ป่วยหมายความว่าได้ผูกขวัญไว้กับตัวแล้ว
8.ทำขวัญเมื่อหายป่วย  เป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องมาแสดงความยินดีและให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ทั้งยังเป็นการขอบคุณเทวดาทั้งปวงโดยทำบายศรีสังเวยเทวดา และทำกระทงเซ่นผีนำไปวางในที่อันสมควร
9.สังเวยพระภูมิเจ้าที่  ในพิธีตั้งศาลพระภูมิ หรือสังเวยประจำปีก็จะต้องมีบายศรีเป็นจำนวนคู่ 1 คู่ หรือ 2 คู่ แล้วแต่พิธีใหญ่หรือเล็ก ถ้าพิธีเล็กก็สามารถตั้งชามเดียวได้
10.ทำขวัญเรือน เมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้ว จัดบ้านเรือเรียบร้อยดี เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขต้องทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ คือทำขวัญเรือน ซึ่งต้องมีบายศรีสังเวยผีบ้านผีเรือน พระภูมิเจ้าที่ ฯลฯ
11.พิธีไหว้ครูดนตรี โขน ละคร ขับร้อง ฟ้อนรำ ในการทำพิธีบูชาครูประจำปี หรือการบูชาก่อนที่จะมีการแสดงครั้งสำคัญนั้น ต้องมีการตั้งเครื่องสังเวยบายศรี อัญเชิญบรรดาครูทั้งหลายมาอวยชัยให้พร เริ่มจากปฐมบรมครูคือ สมเด็จพระบรมศาสดา มารดาบิดา คู่สวดอุปัชฌาย์ ครูอาจารย์ที่ให้สรรพวิชาหาเลี้ยงตนจนถึงทุกวันนี้ ท้ามมหาพรหมบรมมหาเทวราช ผู้สร้างมนุษย์โลก พระอิศวรจอมเทวาวราฤทธิ์ ผู้ครองสกลพิภพ พระนารายณ์ พระอินทร์ พระขันธกุมาร พระพิฆเณศร์ พระปรปคนธัพ พระปัญจสังขร พ่อแก่ พระพิราพ พระวิศวะกรรม เสริท ฯลฯ โดยปกติต้องมีบายศรีปากชาม 9 ชั้น 3 คู่ วางเป็นคู่ ๆ ที่ตั้งเครื่องสังเวย 3 สำรับ จะลดจำนวนหรือจำทำบายศรีใหญ่ขึ้นก็ขึ้นอยู่กับโรงพิธี
12.พิธีบวงสรวงสังเวยเทวาอารักข์เป็นกรณีย์พิเศษ  ก่อนจะลงมือทำงานสำคัญ หรือเมื่อได้รับโชคลาภเป็นมิ่งมงคล ฯลฯ ก็หาฤกษ์งามยามดีตั้งพิธีบวงสรวงสังเวยเทวาอารักข์ทั้งหลายเป็นการขอความเมตตาให้ช่วยอำนวยประโยชน์ให้สำเร็จในกิจการทั้งปวง หรือเพื่อแสดงความขอบคุณที่เทวาอาลักข์ได้ดลบันดาลลาภยศสรรเสริญ ซึ่งต้องมีบายศรีเป็นส่วนสำคัญในเครื่องสังเวยนั้น ด้วยถ้าเทพที่อัญเชิญมานั้นสูงศักดิ์ถึงขั้นพรหม ควรใช้บายศรีปากชาม 9 ชั้นขึ้นไป ถ้าสามารถจัดทำได้ก็ทำบายศรีใหญ่ 9 ชั้น หรือ16 ชั้นก็จะเป็นการดียิ่งนัก ถ้าเป็นภูตผีทั่ว ๆ ไปก็ใช้กระทงเซ่นผีซึ่งทำง่าย ๆ ตามควรแก่ฐานะ
13.ทำขวัญช้าง ทำขวัญกระบือ
  ทำขวัญช้าง ก่อนจะเข้าป่าคล้องช้างต้องทำพิธีเซ่นสังเวยให้เทวดาผีบ้านผีเรือนอวยชัยให้พรตามประสงค์เป็นการเอาฤกดิ์ดีบำรุงขวัญก่อน พอเข้าป่าลึกก่อนจะลงมือคล้องช้างก็เซ่นสรวงผีป่าเทวาอารักษ์ให้ช่วยพบช้าง และคล้องช้างได้ดดยง่าย เมื่อได้ช้างกลับมาบ้านก็ทำขวัญช้างเพื่อให้ได้เลี้ยงเชื่อง ไม่หนีเข้าป่า ให้กินอาหารที่จัดให้เพื่อจะได้สมบูรณ์แข็งแรง รู้ภาษามนุษย์ที่สั่งสอนและใช้งาน ตลอดจนให้ช้างเกิดความจงรักภักดีต่อเจ้าของ และควานช้าง
  ทำขวัญกระบือ การทำขวัญกระบือนั้น มักจะทำตอนที่แม่กระบือออกลูกใหม่ ๆ ในคำขวัญว่าไว้เพื่อให้ลูกกระบือรอดมีลักษณะดี จะได้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำงานให้กับผู้เป็นเจ้าของเพื่อจะให้ได้ข้าวเต็มนา ปลาเต็มหนอง มีเงินมีทองเพิ่มขึ้น อีกทั้งให้แม่กระบือแข็งแรงเร็ว ๆ จะได้ช่วยทำงานได้นั่นเอง
14.ทำขวัญนา ทำพิธีบายศรีสังเวยเมื่อข้าวเริ่มออกรวงเพื่อกล่าวคำสรรเสริญเยินยอแม่โพสพให้ช่วยบำรุงรักษาต้นข้าวรวงข้าวให้งามสมบูรณ์มีน้ำท่าบริบูรณ์ อ้อนวอนพระพิรุณให้บันดาลฝนตกพอเพียงต่อฤดูกาล
15.ทำขวีญข้าว กระทำเมื่อขนข้าวมาใส่เต็มยุ้งฉางแล้ว ป็นการเชิญขวัญแม่โพสพให้มาอยู่ในยุ้งฉางไม่ให้หลงเที่ยวไปที่อื่น ๆ ให้ซื้อได้ง่ายถ้าจะขายก็ให้ได้ราคา ช่วยให้เจ้าของเจิญศรีสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผลทุก ๆ ประการ บายศรีที่ใหญ่ที่สุดจำทำเป็นบายศรีต้น 5 ชั้น อย่างงดงามพร้อมเครื่องสังเวยอื่น ๆ ครบ เพราะเป็นการอัญเชิญเทพยดาทุกสถานมาสถิต ตั้งแต่นางอัปสรทุกชั้นฟ้า จอมเทวามัฆวาน ตลอดจนพระพรหม นางพระธรณื พระคงคา ท้าวนาคิน เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าทุ่งเจ้าท่าฯลฯ
16.ทำขวัญเนื่องในงานฉลองพระพุทธรูป เมื่อได้พระพุทธรูปมาใหม่ ดังเช่นชาวอีสานเมื่อมีผู้นำพระพุทธรูปไปทอดกฐินหรือถวายเป็นพระประธานต้องช่วยกันทำบายศรีใหญ่ใส่โตกทองเหลืองหรือโตกสานแล้วแต่จะหาได้บ้างก็ทำใหญ่โตหลายชั้นตามศรัทธา ตามคำขวัญว่าเพื่อวิงวอนขอพรพระพุทธานุภาพจากพระพุทธรูปนั้นให้ช่วยคุ้มกันผองภัยอย่าให้มาแผ้วพานหมู่ชาวบ้านให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป ทั้งยังทำขวัญให้กับผู้นำพระประธานไปถวายนั้นให้เดินทางด้วยความสวัสดีมีโชคชัย และเจริญรุ่งเรื่องยิ่ง ๆ ขึ้นไป
(แหล่งข้อมูลจาก หนังสือชุดมรดกไทย เล่มที่ 3 งานใบตอง โดย อ.มณีรัตน์ จันทนะผะลิน หน้า 147-152.)
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

สำหรับคราวหน้าจะนำเรื่องของรูปแบบบายศรีปากชาม ว่าแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร วิธีการนับชั้นว่าจะนับกันอย่างไร รวมถึงรูปแบบของบ่ายศรีที่มีขนาดใหญ่ ว่ามีรูปแบบยังไงมีลักษณะแบบไหน อย่างไรก็อย่าพึ่งเบื่อนะครับ กระผมจะหาข้อมูลดี ๆ นำมาเสนออีกครับ
มองหามุมในความชอบของตัวเราเอง แต่ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นศิลปและวัฒนธรรม ของตัวเรา

ขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้ดีๆ แล้วก็ขอปูเสื่อรอตอนต่อไปอยู่นะครับ ^_^
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

Quote from: อักษรชนนี on July 16, 2010, 16:06:07
ขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้ดีๆ แล้วก็ขอปูเสื่อรอตอนต่อไปอยู่นะครับ ^_^

พี่คิวนั่งด้วยคน
คุณความดี....มิได้ขึ้นอยู่กับสายตาใคร

เกิดขึ้นย่อมมีดับไปเป็นธรรมดาดั่งพุทธองค์ทรงตรัส

   งานฝีมือไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

ขอบพระคุณท่านเจ้าของกะทู้นะคะ จะรอ

ติดตามชมตอนต่อไปค่ะ อยากเห็นรูปบายศรีสวยๆ

ขอบพระคุณค่ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ