Loader

"พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" : หนึ่งในพิธีพราหมณ์ของราชอาณาจักรไทย

Started by อักษรชนนี, May 14, 2011, 07:59:30

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก HinduMeeting ทุกท่าน

         ตามที่หลายท่านทราบกันดีว่าขณะนี้ทางเว็บของเราได้เปิด forum ใหม่ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของไทยและอินเดีย อันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ฉะนั้นเพื่อเป็นการเริ่มต้น forum นี้อย่างเป็นทางการ ผมนายอักษรชนนี จึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีพราหมณ์ของไทยซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาฝากให้เพื่อนสมาชิกได้ร่วมกันศึกษาครับ

         สำหรับพิธีพราหมณ์ของไทยพิธีแรก ที่ผมใคร่ขอนำมาเสนอในโอกาสนี้่ ก็คือ พิีธีแรกนา หรือที่เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า "พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" ซึ่งเพื่อนสมาชิกหลายท่านที่ได้รับชมการถ่ายทอดสดของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเช้าวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ก็คงจะได้เห็นพระราชพิธีนี้มาแล้ว โดยในกระทู้นี้ผมก็จะขอนำทุกท่านร่วมเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมา ตลอดจนเรื่องราวของพระราชพิธีนี้กันให้มากขึ้นอีกครั้งครับ

*********************************


         พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น

         ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ ๓ วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

        สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ ๓ ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงโปรดกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

         ความมุ่งหมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดมีพระราชพิธีนี้ขึ้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า"การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาแต่โบราณ เช่น ในเมืองจีนสี่พันปีล่วงมาแล้วพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงลงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิจไม่มีเวลาว่างเว้น ด้วยการซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่น และความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่างเหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตนตามปกติก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือ น้ำฝนน้ำท่า มากไปน้อยไปด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นอันตรายไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิและมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกำลังจึงต้องหาทางที่จะแก้ไขและทางที่จะอุดหนุนและที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจโดยอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้างให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สิ้นสุด"

         ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของพิธีแรกนาอยู่ที่จะทำให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรเพื่อชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา แม้จะเป็นความจำเป็นสำหรับบ้านเมืองในสมัยโบราณอย่างไรถึงปัจจุบันนี้คงเป็นอยู่อย่างนั้น เพราะการเกษตรซึ่งมีการทำนาเป็นหลักนั้นเป็นสิ่งสำคัญแก่ชีวิตความเป็นอยู่และการเศรษฐกิจของประเทศทุกสมัย ส่วนพิธีกรรมนอกเหนือจากการทำให้เป็นตัวอย่างตามที่ทรงจำแนกไว้ ๓ อย่าง โดย ๒ อย่างแรกที่ว่า "อาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง" นั้น ทรงหมายถึงพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ที่กระทำ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ว่า "บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง" นั้น ทรงหมายถึง พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์


         พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น

          การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณี ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วก็ว่างเว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟู พระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่ และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบันด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขปัจจุบันทรงมี พระราชกระแสให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด

          เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาในระยะแรกนั้นพระยาแรกนา ได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวโดยตำแหน่ง สำหรับเทพีทั้งสี่พิจารณาคัดเลือกจากภริยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายหลังพระยาแรกนา ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยตำแหน่ง ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทองและคู่หาบเงินนั้น ได้ทำการพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป



พระยาแรกนา ประจำปี ๒๕๕๔ : นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


          พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ข้าวนั้นถือว่าเป็นอาหารหลักของประชาชนในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือบุพพัณณะ หรือบุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่น ๆ ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรืออปรัณชาติ หมายถึง พืชจำพวกถั่วงา เป็นต้น ถ้าเรียกควบทั้งสองอย่างก็เรียกว่า บุพพัณณปรัณณชาติ ที่หมายถึงพืชที่เป็นอาหารทุกชนิด บุพพัณณปรัณณชาติที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้นเป็นข้าวเปลือกมีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่างๆ รวม ๔๐ อย่างแต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาวกับเผือกมันต่างๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนาบรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านใน พระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการจะบรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้

         อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธี พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้เป็นวันเกษตรกรประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็น สิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา



ที่มาของข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (www.moac.go.th)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔
ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร


            วันศุกร์ที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เวลา ๐๗.๓๐ น. นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่พระยาแรกนาพร้อมด้วยเทพีคู่หาบทั้ง ๔ ได้แก่ น.ส.เดือนเพ็ญ ใจคง เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงานกรม หม่อนไหม และ น.ส.สรชนก วงศ์พรหม นายช่างโยธาชำนาญงาน กรมประมง ทำหน้าที่เทพีคู่หาบทอง ส่วน น.ส.ศิริลักษณ์ สมสกุล นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ กรมชลประทาน และ น.ส.เจษฎาภรณ์ สถาปัตยานนท์ นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำหน้าที่เทพีคู่หาบเงิน ขึ้นรถยนต์หลวงที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูสวัสดิโสภา ถนนสนามไชยไปยังมณฑลพิธีสนามหลวง เมื่อเดินทางมาถึงจึงได้ตั้งกระบวนแห่อิสริยยศ แล้วเดินกระบวนแห่อิสริยยศไปส่งที่โรงพิธีพราหมณ์



รถยนต์หลวงของพระยาแรกนาเดินทางมาถึงมณฑลพิธีท้องสนามหลวง



พระยาแรกนา ประจำปี ๒๕๕๔ : นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์









กระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนาและเทพีคู่หาบทอง-เงิน ไปยังโรงพิธีพราหมณ์

        เมื่อถึงโรงพิธีพราหมณ์แล้ว พระยาแรกนาจุดธูปเทียนถวายสักการะเทวรูปสำคัญ และตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกายไว้พร้อม เมื่อพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบได้ผ้านุ่งได้แล้ว ก็จะใช้ผ้านุ่งผืนนั้นนุ่งทับผ้านุ่งเดิมอีกชั้นหนึ่ง โดยนุ่งอย่างบ่าวขุนเตรียมออกแรกนา





โรงพิธีพราหมณ์



ภายในโรงพิธีพราหมณ์







เบญจาที่ประดิษฐานเทวรูปสำคัญภายในโรงพิธีพราหมณ์ ของพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
โดยประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร พระอุึมา พระคเณศ พระพรหม พระนารายณ์ พระลักษมี และพระมเหศวรี
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

          ครั้นเวลาประมาณ ๐๘.๓๐ น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มาถึงยังพลับพลาที่ประทับบริเวณมณฑลพิธีสนามหลวงเพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เมื่อประทับในพลับพลาพิธีแล้ว นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่พระยาแรกนา จะได้ยาตราพร้อมเทพีคู่หาบออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์นำผ่านพลับพลา หน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละออกธุลีพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา





พระยาแรกนาและเทพีคู่หาบตั้งขบวนเพื่อเข้าสู่ลานแรกนา
         เจ้าพนักงานจูงพระโคเข้าสู่ลานแรกนา และนำเข้าเทียมแอก (โดยในปีนี้พระโคแรกนา ชื่อ พระโคฟ้า และ พระโคใส) เพื่อเตรียมเริ่มการแรกนา





เจ้าพนักงานจูงพระโคเข้าสู่ลานแรกนา



"พระโคฟ้า" พระโคแรกนาประจำปี ๒๕๕๔



"พระโคใส" พระโคแรกนาประจำปี ๒๕๕๔
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

         พระยาแรกนาเจิมพระโคและไถแล้ว จึงเริ่มการไถดะไปโดยรี ๓ รอบ เพื่อพลิกดินให้เป็นก้อน ไถโดยขวาง ๓ รอบ เพื่อย่อยดินให้ละเอียดพร้อมหว่านเมล็ดธัญพืช พนักงานประโคมฆ้องชัยเครื่องดุริยางค์แล้วไถกลบอีก ๓ รอบ เพื่อกลบเมล็ดธัญพืชลงในดิน

        เสร็จแล้วพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพีคู่หาบกลับไปยัง โรงพิธีพราหมณ์ พราหมณ์เสี่ยงทายของกิน ๗ สิ่ง ตั้งเลี้ยงพระโค โดยในปีนี้พระโคกินหญ้า พยากรณ์ว่าน้ำท่าจะบริบูรณ์พอควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร อุดมสมบูรณ์ดี พระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่าการคมนาคมสะดวก การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

        ส่วนผลการเสี่ยงทายผ้านุ่ง ปีนี้พระยาแรกนาเสี่ยงทายได้ผ้านุ่ง ๕ คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี

        จากนั้นจึงเป็นการเบิกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาต่างๆ ตัวแทนสถาบันเกษตรกรดีเด่น สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติสาขาต่างๆ และผู้รับรางวัลสมทบ เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ หลังจากนั้นจึงได้แห่พระยาแรกนา เป็นกระบวนอิสริยยศออกจากโรงพิธีพราหมณ์พระยาแรกนากราบถวายบังคม แล้วเข้ากระบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงพร้อมด้วยเทพีไปรอเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ที่แปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

       เมื่อรถยนต์หลวงของพระยาแรกนาและเทพีคู่หาบออกจากท้องสนาม หลวงแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร , พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา จึงเสด็จพระราชดำเนินออกจากพลับพลาที่ประทับเพื่อประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังแปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์



คันไถที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ



ราชบัณฑิตเชิญพระเต้าเทวบิฐพรมน้ำรอบลานแรกนา



พระครูญาณสยมภูร์เชิญเทวรูปพระพลเทพและพระโคอุสุภราชนำหน้าพระโคและพระยาแรกนา



ประกอบพิธีแรกนา



เทพีคู่หาบทอง และเทพีคู่หาบเงิน
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

             ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธี และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินออกจากมณฑลพิธีท้องสนามหลวงแล้ว ประชาชนที่อยู่โดยรอบลานแรกนา ก็ได้วิ่งกรูกันไปเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่พระยาแรกนาโปรยไว้ขณะที่ประกอบพิธี เพื่อความเป็นสิริมงคล และเกษตรกรบางคนก็นำไปโปรยต่อในที่นาของตนเอง ส่วนทางด้านโรงพิธีพราหมณ์ หลังเสร็จพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว คณะพราหมณ์ได้อัญเชิญเทวรูปสำคัญที่ประดิษฐานอยู่ในเบญจา กลับสู่เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์
.









พราหมณ์อัญเชิญเทวรูปพระเป็นเจ้ากลับสู่เืทวสถานโบสถ์พราหมณ์โดยรถยนต์หลวง


หมายเหตุ : ในค่ำคืนก่อนวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้น ณ โรงพิธีพราหมณ์ ท้องสนามหลวง พระราชครูวามเทพมุนีและคณะพราหมณ์ประกอบพิธีบูชาพระเป็นเจ้าภายในโรงพิธี  ก่อนที่จะเริ่มพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในวันรุ่งขึ้น
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

         สำหรับเรื่องราวของพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่ผมตั้งใจนำมาเสนอแก่เพื่อนสมาชิก HinduMeeting ก็หมดลงแต่เพียงเท่านี้นะครับ สำหรับตอนต่อไปจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรนั้น ก็ขอให้ร่วมติดตามกันต่อไปครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีมากค่ะสำหรับภาพสวยงามและหาชมได้ยากเช่นนี้
รวมถึงสาระที่หลายคนยังไม่ทราบหรือมองข้ามไปด้วยค่ะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม และแสดงความคิดเห็นนะครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0


ภาพบรรยากาศในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

วันพุธที่ ๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

          ในปีนี้ นายศุภชัย บานพับทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา (แทนปลัดกระทรวงที่เป็นสุภาพสตรี) พร้อมด้วยเทพีคู่หาบทอง ได้แก่ ๑. นางสาวสิริลักษณ์ สมสกุล ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ กองการเงินและบัญชี กรมชลประทาน ๒. นางสาวเจษฎาภรณ์ สถาปัตยานนท์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ สำนักพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และเทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ ๑. นางสาวสุมาลี จำเริญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นิติการปฏิบัติการ กรมปศุสัตว์ ๒. นางสาวสุวิสาข์ เกตุอินทร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักวิชาการการเกษตรปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและจัดการสินคาเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร




นายศุภชัย บานพับทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา



เทพีคู่หาบทองและเงิน




หาบและกระบุงบรรจุเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกสำหรับหว่านลงในลานแรกนา





แอกและคันไถที่ใช้ในพระราชพิธี
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

 


พระยาแรกนาสวมลอมพอก เตรียมเข้าในกระบวนอิสริยยศพระยาแรกนา เพื่อยาตราเข้าสู่มณฑลพิธี



ลอมพอก





กระบวนอิสริยยศพระยาแรกนา





พระยาแรกนา



เทพีคู่หาบทอง



เทพีคู่หาบเงิน
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

สำหรับผลการเสี่ยงทายในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ได้แก่
.


พระยาแรกนาเสี่ยงทายผ้าสำหรับนุ่ง ได้ ๖ คืบ

พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่




ส่วนการเสี่ยงทายพระโคกินเลี้ยงปี พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ (ได้แก่ พระโคฟ้า และพระโคใส) พระโคกินหญ้า

พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควรธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0


ปรกติผมจะเป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านเท่าไร แต่ที่นี่มีสาระความรู้ภาพประกอบมีแรงจูงใจ ชอบมากครับทำให้ยิ่งอยากศึกษาคนคว้าเก็บเล็กผสมน้อย

จากที่มีผู้แจ้งมาว่าไม่สามารถรับชมภาพในกระทู้นี้ได้

ตอนนี้ผมได้ดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0