Loader

“กถกฬิ” หนึ่งในการแสดงเก่าแก่ของดินแดนภารตะ

Started by อักษรชนนี, December 20, 2011, 00:21:20

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

         หลังจากได้รู้จักกับการแสดงของอินเดียที่ชื่อว่า "ภารตนาฏยัม" ในกระทู้ http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=4243.0 ซึ่งเรียบเรียงโดย ดร.วรเดช มีแสงรุทรกุล และนำมาโพสโดย คุณโอมกาลีโอม ไปแล้ว ในกระทู้นี้ผมจะขอนำเสนอการแสดงของอินเดียอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน นั่นก็คือ "กถกฬิ" ซึ่งได้เรียบเรียงมาจากวิทยานิพนธ์เรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างละครไทยและละครภารตะ" ของศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร หากเพื่อนสมาชิกพร้อมแล้ว ขอเชิญไปทำความรู้จักกับ "กถกฬิ" ได้เลยครับ

*********************

         กถกฬิ เป็นหนึ่งในการแสดงที่งดงามด้วยศิลปะการร่ายรำแบบเก่าแก่ ดินแดนที่มีการแสดงกถกฬินี้ ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณทางตอนใต้ของคาบสมุทรข่าน บริเวณแคว้นเกรฬ และดินแดนใกล้เคียงของอินเดีย โดยคำว่า "กถกฬิ" หมายถึง การเล่นเรื่องนิยาย มาจากการสมาสของคำสองคำ คือ "กถ" เป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า นิยาย และ "กฬิ" เป็นคำในภาษามลยาลัม แปลว่า การเล่น ซึ่งเรื่องที่นิยมนำมาใช้ในการแสดงกถกฬิ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในรามายณะ , มหาภารตะ และเรื่องสำคัญๆในคัมภีร์ปุราณะ

         การแสดง "กถกฬิ" ได้รับความนิยมจากคนทุกชนชั้นทั่วประเทศอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบดินแดนอินเดียทางตอนใต้ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกกถกฬิจะแสดงแต่เฉพาะในเทวสถาน หรือในราชสำนักเท่านั้น จนกระทั่งต่อมาได้รับอนุญาตให้แสดงนอกเทวสถาน เพื่อให้คนในชนชั้นอื่นๆได้มีโอกาสรับชมอย่างทั่วถึง


         สำหรับตัวละครสำคัญที่ปรากฏในการแสดงกถกฬิ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ จำพวก คือ

         ๑. สัตตวิก เป็นตัวละครที่เป็นเทพเจ้าผู้มีคุณธรรม เช่น พระนารายณ์ พระอินทร์ เป็นต้น
         ๒. รัชสิก เป็นตัวละครวีรบุรุษที่เป็นมนุษย์ เช่น พระราม พระลักษณ์ เป็นต้น
         ๓. ตมสิก เป็นตัวละครที่ชั่วร้าย เช่น ทศกัณฐ์ เป็นต้น

         นอกจากนี้ยังมีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญไม่มากนัก เช่น ฤษี เสนา และผู้หญิง เรียกว่า "มินนิกุ"

.

.
พระราม
.

.
พระลักษณ์
.

.
ทศกัณฐ์
.

.
สำมนักขา
.

.
สีดา
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

          โดยตัวละครต่างๆของการแสดงกถกฬิ จะมีการแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งแต่เดิมตัวละครจะสวมหน้ากาก แต่ด้วยข้อจำกัดของหน้ากากที่ทำให้ตัวละครไม่สามารถสื่ออารมณ์บนใบหน้าได้ดีเท่าที่ควร ในเวลาต่อมาจึงยกเลิกและใช้วิธีการตกแต่งใบหน้าแทน ซึ่งการแต่งหน้าในการแสดงกถกฬินี้ ถือว่ามีความสลับซับซ้อนและมีขั้นตอนมากมาย ในการแต่งหน้าตัวละครในบางตัวจึงใช้เวลานานนับครึ่งค่อนวัน ฉะนั้นในบางครั้งตัวละครถึงขนาดต้องนอนให้ช่างแต่งหน้า และหลับไปเพราะใช้เวลาในการแต่งนานมาก ลักษณะของการแต่งหน้าของกถกฬิ โดยทั่วไปจะใช้แป้งข้าว ที่เรียกว่า จุตตี มาผสมกับน้ำ แล้วปั้นให้ติดเป็นขอบนูนตามวงหน้า ด้านหน้าครึ่งวง ขอบแป้งขาวจะทำให้ส่วนอื่นๆของใบหน้าเห็นได้เด่นชัด เขียนคิ้วและขอบตาสีดำให้ดูยาวกว่าที่เป็นจริง ส่วนปากก็จะทาด้วยสีแดงสด

          การแต่งหน้าตัวละครประเภทเทพเจ้า หรือกษัตริย์ พวกพระเอกที่เป็นมนุษย์ก็จะแต่งหน้าและแต่งการเหมือนเทวดา เว้นแต่พวกเทวดาจะเพิ่มลักษณะที่กำหนดไว้เป็นขององค์นั้นๆ โดยตัวละครที่เป็นกษัตริย์จะสวมมงกุฏที่มีรัศมีอยู่ด้านหลัง และประดับบ่าด้วยอินทรธนู ส่วนตัวละครประเภทอสูรหรือตัวร้าย จะสวมมงกุฎที่มีรัศมีใหญ่โตกว่าตัวละครประเภทอื่นๆ สีที่ใช้ในการแต่งหน้าก็จะเป็นสีแดงสด มีขอบแป้งข้าวอยู่กลางหน้าอีกชั้นหนึ่ง คล้ายกับหนวดโค้งขั้นไประหว่างคิ้วกับตาและข้างจมูก ทาสีแดงที่หน้าผากและปลายจมูก เอาแป้งข้าวปั้นกลมติดไว้แห่งละลูก และหากต้องการให้ดูดุร้ายมากยิ่งขึ้น ก็จะปั้นก้อนแป้งนำไปติดที่ปลายจมูกให้ใหญ่มากยิ่งขึ้น และทำรูปเขี้ยวติดไว้ที่ข้างนอกปาก เอาหนวดสีแดงไปติดแทนขอบหน้าด้านล่าง เป็นต้น
.

.

.
ลักษณะการแต่งหน้าของพระรามและพระลักษณ์
.

.
ลักษณะการแต่งหน้าของสุครีพ
.

.
ลักษณะการแต่งหน้าของหนุมาน
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

          สำหรับการแต่งกายของตัวละคร ส่วนใหญ่จะสวมเสื้อสีต่างๆตามความเหมาะสมกับลักษณะของตัวละคร ที่หน้าอกจะมีเครื่องประดับแบนๆปิดทอง และประดับอีกชั้นหนึ่งด้วยสร้อยคอหลายสาย มีผ้าหอยบ่าทำนองพวงมาลัย ผ้านุ่งมีขอบสีต่างๆหลายชั้น โดยจะนุ่งให้มีลักษณะบานเป็นวงกลมรอบตัวละคร นอกจากตัวละครเด่นๆแล้ว ยังมีตัวละครที่มีบทบาทไม่มาก เช่น ฤษี เสนา และผู้หญิง ซึ่งตัวละครเหล่านี้จะแต่งหน้าธรรมดา มีลักษณะโดยทั่วไปเหมือนมนุษย์ เรียกว่า มินนิกุ

( หมายเหตุ : หากสังเกตการแต่งกายของตัวละครในการแสดงกถกฬิให้ดีแล้ว ก็จะพบว่ามีการผสมผสานการแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตกมาไม่น้อย ดังเห็นได้จากการนุ่งผ้าที่บานคล้ายกับกระโปรงสุ่มไก่้ของชาวตะวันตก หรือลักษณะการสวมผ้าโพกศรีษะ (หรือหมวก) ของตัวละครที่เป็นผู้หญิง ก็คล้ายกับหมวกของสตรีชาวตะวันตก เป็นต้น )
.

.
ลัีกษณะการแต่งกายของพระลักษณ์
.

.
ลักษณะการแต่งกายของพระรามและนางสีดา
.

.
ลักษณะการแต่งกายของหนุมาน
.

.
ลักษณะการแต่งกายของสุครีพ
.

.
ลักษณะการแต่งกายของตัวละครผู้หญิง
.
          เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงกถกฬิ ได้แก่ กลอง ซึ่งใช้กลอง ๒ ประเภท คือ กลองเจนได มีลักษณะเป็นกลองสองหน้า มีสายแขวนไว้รอบคอ เวลาตีจะมีเสียงดังมาก และกลองมัททลัม มีลักษณะเป็นกลองยาวที่ตีได้ทั้งสองหน้า หน้าหนึ่งใช้มือตี ส่วนอีกหน้าใช้ไม้ตี นอกจากนี้ยังมี ฆ้องและฉิ่งที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดงกถกฬิด้วย
.

.
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงกถกฬิ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

          ภาพการแสดงกถกฬิ ในงานมหกรรมรามายณะนานาชาติ เิฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ แสดงโดยคณะนักแสดงกลามัณฑลัม รามัน คุตตี กถกฬิ นำโดยศิลปินกถกฬิชื่อดังของอินเดีย นายกลามัณฑลัม รามัน คุตตี กถกฬิ ผู้จบการศึกษาและร่วมงานแสดงกับมหาวิทยาลัยศิลปะกลามัณฑลัมแห่งเมืองเกรฬ ทั้งในอินเดียและในต่างประเทศ มีประสบการณ์การแสดงในต่างประเทศทั่วโลก แสดงรามายณะในตอน "พิธียกศรและอภิเษกสมรสพระรามกับนางสีัดา"
.

.

.

.

.
การแสดงกถกฬิ เรื่องรามายณะ ตอน พิธียกศรและอภิเษกสมรสพระรามกับนางสีดา
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

          ภาพการแสดงกถกฬิ ในงานมหกรรมรามายณะนานาชาติ เิฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ แสดงโดยคณะนักแสดงจากสถาบันศิลปะบาสการ์ส อันเป็นสถาบันสอนศิลปะการแสดงที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๕ และถือเป็นสถาบันสอนนาฏศิลป์อินเดียชั้นนำในสิงค์โปร์ คณะนักแสดงกถกฬิ ของสถาบันแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๕ ประกอบด้วยนักแสดงหลักที่ได้รับการศึกษาและฝึกฝนนาฏศิลป์จากประเทศอินเดีย และเป็นคณะนักแสดงกถกฬิเพียงคณะเดียวที่ตั้งอยู่นอกประเทศอินเดีย แสดงรามายณะในตอน ""นางสำมนักขาหึง"
.

.

.

.

.

.
การแสดงกถกฬิ เรื่องรามายณะ ตอน นางสำมนักขาหึง
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

            ภาพการแสดงกถกฬิ ในงานมหกรรมรามายณะนานาชาติ เิฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ แสดงโดยคณะนักแสดงกลามัณฑลัม รามัน คุตตี กถกฬิ จากประเทศอินเดีย แสดงรามายณะในตอน "นกสดายุและหนุมานถวายตัว"
.

.

.

.

.

.
การแสดงกถกฬิ เรื่องรามายณะ ตอน นกสดายุและหนุมานถวายตัว
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

หมายเ้หตุ : ขอขอบพระคุณที่มาของเอกสารอ้างอิง ซึ่งนายอักษรชนนีได้นำมาใช้ในการเรียบเรียงบทความเรื่อง " "กถกฬิ" หนึ่งในการแสดงเก่าแก่ของดินแดนภารตะ " อันประกอบด้วย

- นิยะดา สาริกภูติ. " ความสัมพันธ์ระหว่างละครไทยและละครภารตะ " วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๔.

- สูจิบัตร
งานมหกรรมรามายณะนานาชาติ เิฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๕ - ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

นายอักษรชนนีขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0



Quote from: shaya on April 09, 2012, 22:18:23
ทำไมจะต้องใส่เล็บโลหะ ด้วยล่ะคะ

เหตุผลที่ต้องใส่เล็บนี่ไม่แน่ทราบนะครับ ต้องรอผู้มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์มาอธิบาย

แต่ถ้าลองสังเกตุการแสดงของไทยเรา ในสมัยอยุธยา ก็มีการใส่เล็บ ด้วยนะครับ

ส่วนตัวเชื่อว่า เราน่าจะได้รับอิทธิพล มาจากอินเดีย

ปล. ขออภัยที่นอกเรื่อง และหากผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยเป็นอย่างสูง
อีโวโฮสติ้ง ถ้าคุณต้องการHostingคุณภาพ โปรดนึกถึงเราอีโวโฮสติ้ง