Loader

ช่วยอธิบายให้เข้าใจที

Started by lnw_Deva_Purana, October 22, 2010, 00:06:08

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

   รบกวนท่านผู้รู้ทุกท่านช่วยอธิบายถึงคำเหล่านี้ที ว่าหมายถึงอะไรเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
  Stotram
  Stuti
  Pooja
  Sooktam
  Ashtakam
  Sloka
  Dyhanam
ขอบคุณครับ

เดี๋ยวว่างๆ จะมาตอบนะครับ


Stuti น่าจะ สดุดี สรรเสริญ

Pooja น่าจะ บูชา บทบูชาทั่วไป

Sloka น่าจะเปน บทสวดประเภทโศลก เปนกาพย์ กลอน ของอินเดีย

ผมก็ไม่ทราบสิครับ รอด้วยคน ^^
แม้นภูเขาจะสูงเสียดฟ้า ก็เตี้ยกว่าผืนหญ้าที่คลุมมัน

หวังพี่ๆใจดี  จะมาช่วยอธิบายครับ

รอๆๆๆ ได้แต่นั่งรอครับ

ธยานัมน่าจะหมายถึงการทำสมาธิรำลึกถึงพระเป็นเจ้า จะคล้ายๆกับจาปา แต่คนละอย่างกัน


Quote from: lnw_Deva_Purana on October 22, 2010, 00:06:08
   รบกวนท่านผู้รู้ทุกท่านช่วยอธิบายถึงคำเหล่านี้ที ว่าหมายถึงอะไรเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
  Stotram
  Stuti
  Pooja
  Sooktam
  Ashtakam
  Sloka
  Dyhanam
ขอบคุณครับ

Stotram  คือ สฺโตตฺรมฺ  หมายถึงบทสวดมนตร์สรรเสริญ สโตตร เป็นบทสวดประเภทฉันท์ มีฉันทลักษณ์แบบต่างๆ ซึ่งคณาจารย์เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น นับว่า ในบรรดาบทสวดสรรเสริญสโตร เป็นชนิดที่มีความแพร่หลายมาก ใช้สวดทั่วๆไป แต่ไม่ได้ใช้ในระหว่างการประกอบพิธี มีบ้างที่อาจใช้สวดท้ายพิธี นอกจากเป้นบทสรรเสริญแล้วอาจเป็นบทที่เป็นคติสอนใจก็ได้
  Stuti  สตุติ หรือ บทสดุดี เป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ สตุติ มีความหมายว่า สดุดี ซึ่งหมายถึงการสรรเสริญนั่นเอง
  Pooja  ปูชา ถ้าหมายถึง การกระทำ ก็คือการบูชา หรือการปรนนิบัติพระเป็นเจ้าด้วยอุปจาระหรือขั้นตอนต่างๆ แต่ถ้าเป็นบทสวด ก็มักเป็นประเภท มานสปูชา หรือการบูชาด้วยใจ ซึ่งในบทสวดจะบรรยายการบุชาด้วยขั้นตอนต่างๆ ให้เราจินตนาการว่าเราได้บูชาเทพเจ้าพระองค์นั้น
  Sooktam  สูกตมฺ หรือ สูกตะ หมายถึงบทสวดในคัมภีร์พระเวท ในคัมภีร์พระเวท จะแบ่งออกเป็น เล่มๆเรียกว่า มณฺฑล (ฤคเวทมี 10 มณฑล) ในแต่ละมณฑล จะแบ่งเป็นบท แต่ละบทเรียกว่า สูกตะ เช่น บทสวดถึงพระลักษมี เรียก ศรีสูกฺตะ บทถึงพระปรมาตมันหรือพระวิษณุใช้ปุรุษสูกตะ เป็นต้น ในแต่ละสูกตะ จะประกอบด้วย มนฺตฺร (มันตระ) การสวดสูกตะ จะมีข้อกำหนดที่เคร่งครัดในการออกเสียง สุงต่ำ และทำนอง เรียกว่า เวทสวระ ซึ่งต้องเล่าเรียนเอาจากครู เรียกวิธีนี้ว่าคุรุปรัมปรา
  Ashtakam  อษฺฏกมฺ แปลว่า แปดบท ได้แก่ สโตตฺรต่างๆ ที่มีการกำหนด ฉันทลักษณ์และในหนึ่งชิ้นจะมีจำนวนคำประพันธ์ทั้งสิ้นแปดบท
  Sloka  โศลก หมายถึง ชนิดของคำประพันธ์(ฉันท์)ประเภทหนึ่งที่ใช้ในการแต่ง รามายณะ แต่ภายหลัง มักเลือนความหมาย ใช้เรียก คำประพันธ์ทั่วๆไป
  Dyhanam  ธฺยานมฺ ธยาน หมายถึง การเพ่งจิตหรือทำสมาธิ ในคำประพันธ์หมายถึง คำประพันธ์สั้นๆ ที่ใช้ท่องสวดเพื่อให้เกิดจินตนาการหรือเพ่งจิตยังเทวดาที่เราจะทำการบูชาหรือสวดมนตร์ถึง ดังนั้นธยานมักจะเป้นคำประพันธ์ที่บ่งบอกรายละเอียดของเทพองค์นั้นๆ

Guru มาเองเลยเจ้าค่ะ

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ที่ให้ความรู้ดีๆ
[HIGHLIGHT=#ffffff]พึงระลึกไว้เสมอว่า [/HIGHLIGHT]' ความบังเอิญ" มันไม่มีในโลก เพราะทุกอย่างล้วนถูกกำหนดแล้ว ด้วย "พรหมลิขิต" :
Credit ",,Cz Holic