เทวดานพเคราะห์ และท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 ในคติฮินดูตรงกับคติของไทยเราหรือไม่ครับ (โดยฉะเพราะท้าวมหาราช) และระดับชั้นของเทวดานพเคราะห์ กับท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 อันไหนสูงกว่ากันครับ และของที่จะถวายจะต้องเป็นอาหารมังสะวิรัติหรือเป็นอาหารคาว(หัวหมู เป็ด ไก่) ดังคติของไทยเราครับ
และขอถามเพิ่มเติมว่าเราสามารถถวายอาหารแด่องค์เทพต่างๆ หลังตะวันตกดินไปแล้วได้หรือไม่ครับ ตามหลักฮินดูในคัมภีร์พระเวท ขอบคุณครับผม
ขอคำตอบจากคุณ หริทาส และผู้รู้ด้วยนะครับ
สำหรับเทวดานพเคราะห์ของไทยกับฮินดูตรงกันครับ แต่มีบางองค์ที่พระนามเรียกต่างกัน ประมาณนี้
1.พระอาทิตย์ = สูรยะเทพ
2.พระจันทร์ = จันทรเทพ
3.พระอังคาร = มังกัลเทพ
4.พระพุธ
5.พระพฤหัสบดี
6.พระศุกร์ = ศุกระจาระยะ
7.พระเสาร์ = ศนิเทพ
8.พระราหู
9.พระเกตุ
ส่วนเทพจตุโลกบาลของไทยกับฮินดูต่างกันนะ เท่าที่ผมเคยอ่านหนังสือมาหลายๆเล่ม ของฮินดูจะเป็นแบบนี้
ทิศเหนือ = พระกุเวร (อันนี้ตรง)
ทิศใต้ = พระธรรมราช (พระยม)
ทิศประจิม = พระวรุณ
ทิศบูรพา = พระอินทร์
ทิศอาคเนย์ = พระอัคนี
ทิศอิสาน = พระอิสาน(อาจจะเป็นพระศิวะ)
ทิศหรดี = พระเนรติ
ทิศพายัพ = พระพาย
แต่สำหรับเทวนพเคราะห์กับเทพโลกบาล ผมว่าน่าจะไม่สูงหรือต่ำกว่ากัน เพราะแต่ละพระองค์ก็มีหน้าที่ของพระองค์ต่างกันออกไป
ประมาณนี้ครับ รอผู้รู้มาเพิ่มเติมละกันนะ
มีความรู้ดีครับ