Loader

ข้อสังเกตุจากวัดแขก

Started by ramadas, October 28, 2009, 21:46:52

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

วันนี้ได้ไปไหว้พระที่วัดแขกมาครับ รู้สึกว่าอยากจะชาร์ตแบตให้กับตัวเองนิดหน่อย แวะไปหลังเลิกงาน ได้มีโอกาสนั่งในวัดนานกว่า 2 ชั่วโมง รู้สึกดีมากขึ้นจริงๆ ในระหว่างนั้นก็ได้สังเกตุสิ่งต่างๆรอบตัวที่เกิดขึ้นได้หลายอย่างครับ

- ในการบูชาพระเป็นเจ้านั้น พราหมณ์จะวางกำยานบนถ่านไม้ที่ติดไฟ (แบบถ่านหุงข้าว) ไม่ใช้การจุดไฟที่กำยาน

- อาหารที่ถวายพระเป็นเจ้าวันนี้เป็นโรตี องค์ละ 2 แผ่น ก็เลยนึกเอาเล่นๆว่าถ้าเราเอาข้าวหุงสุกถวายบ้างก็น่าจะได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นขนมหวานเสมอไปมั้ง 

- อาหารที่ถวายจะวางบนใบตองเสมอ และต้องปิดไว้จนกว่าจะถึงเวลาถวาย การถวายนั้น พราหมณ์ จะเริ่มจากถวายกำยาน ถวายไฟ ถวายอาหารโดยการพรมน้ำบนอาหาร แล้วถวายกล้วยโดยการพรมน้ำและโยนดอกกุหลาบอีก 1 ดอกถวาย จบท้ายด้วยการถวายไฟอีกครั้ง

- วันนี้เป็นวันพุธ  ที่ซุ้มพระประจำวันมีของดำ(ขนมเปียกปูน)หนึ่งพานถวายพระราหูด้วย

- ที่บนหน้าบันเทวาลัยด้านใน เหนือประตูคูหาพระศรีอุมาเทวี ประดิษฐานรูปปั้นพระลักษมี ปางคชลักษมีที่มีช้าง 2 ตัว ขนาบข้าง ก็เลยสงสัยว่าทำไมถึงเป็นพระลักษมีครับ

- ตอนพราหมณ์เริ่มบูชาพระคะเนช พราหมณ์ยกมือ 2 ข้างเคาะด้านข้างศรีษะหลายครั้ง ทำไมอะครับ

- เวลาคนอินเดียจะรับการเจิมหน้าผาก เขาจะเอามือข้างนึงจับท้ายทอยไว้ด้วย

- ขณะเดินประทักษิณ เห็นรถแห่คันใหญ่จอดในโรงด้านหลัง แล้วคันอื่นๆละครับ (อีก 4 คันมั้ง) ไว้ที่ไหนหรอ

- รอบอาคารเทวาลัย มีเทวรูปหินดำขนาดเล็กประดิษฐานเป็นระยะ รอบทิศ คงไม่ใช่เพื่อความสวยงาม แต่คงมีคติอะไรบางอย่างมั้งครับ


ก็แค่สงสัยตามประสาคนอยากรู้อะครับ
[HIGHLIGHT=#ffffff]ชนใดหวังข้ามอุปสรรค  พึงพำนักพิคเนศนาถา
สำเร็จสมดังจินดา พระองค์พาข้ามพิฆะจัญไร
[/HIGHLIGHT]

อยากรู้เหมือนกันคับ

รอฟังคำตอบคับ
คุณความดี....มิได้ขึ้นอยู่กับสายตาใคร

เกิดขึ้นย่อมมีดับไปเป็นธรรมดาดั่งพุทธองค์ทรงตรัส

รอฟังคำตอบเช้นกันค่ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


เท่าที่ทราบมา การวางเทวรูป ไม่ว่า บน โคปุระ บนโบสถ์ หรือ ข้างโบสถ์ ส่วนใหญ่องค์ๆนั้นจะหันไปทางทิศเดียวกัน

เพื่อแก้เคล็ด แก้ดวงวัด อะไรบางอย่าง โดยเฉพาะพระลักษมี ชาวอินเดียจะให้ความสำคัญมากเพราะเชื่อว่าหาก สถานที่ที่แห่งนั้นไม่มีพระลักษมีอยู่ถือว่า ไม่มีความมงคล ไม่มีปัจจัยและเงินทอง แต่หากบางที่(ที่ทุรกันดานจริงๆ)ไม่มีพระลักษมี เวลาสวดมนตร์เขาก็จะสวดคำว่า"ศรี"ขึ้นก่อนหลังคำว่าโอม

เช่น โอม ศรี กาเนศายะ .... เพราะ คำว่าศรี เป็นชื่อแรกของพระลักษมี เราสวดชื่อท่าน ก่อน เท่ากับเราให้เกีตรติท่าน

สวดการถวายอาหาร หรืออารตี ต่างๆ แต่ละวัดจะปฎบัติไม่เหมือนกันมากแล้วแต่บางที่

.....ขอบคุณที่ให้ร่วมแชร์ความรู้นะครับ....

มารอฟังผู้รู้มาให้คำตอบเหมือนกันค่ะ

[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

ขออนุญาตตอบเท่าที่พอทราบมานะครับ (ผิดถูกอย่างไร ท่านผู้รู้ท่านอื่นๆเพิ่มเติมหรือแนะนำได้นะครับ ^_^)

๑.เรื่องคชลักษมีนั้น เท่าที่ผมเคยอ่านและศึกษาแนวคิดทางโบราณคดีมา นักวิชาการได้เสนอแนวคิดที่ว่า ภาพคชลักษมีเป็นสัญลักษณ์อันเป็นมงคลที่แทนความอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นเป็นเครื่องเสริมบารมีและเกียรติยศของกษัตริย์ในสมัยโบราณ ดังที่ปรากฏอยู่ในหน้าบันของบราสาทหินขอมสมัยก่อน เช่น ปราสาทบันทายสรี ในประเทศกัมพูชา หรือแม้แต่ไทยเองยังนำภาพมงคลนี้มาสร้างเป็นหนึ่งในเครื่องราชชูปโภคของกษัตริย์ในสมัยทวราวดี เรียกว่าถาดพระคชลักษมี โดยนำภาพพระคชลักษมีมาเป็นสัญลักษณ์ แวดล้อมด้วยภาพเครื่องราชูปโภคอันเป็นมงคลต่างๆที่บ่งบอกถึงสถานะความเป็นกษัตริย์โดยสลักเป็นภาพบนแผ่นหิน  ความเชื่อเรื่องคชลักษมีเหล่านี้จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทางวัดแขกนำภาพนี้มาใช้เปนส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมภายในเทวลัยประธานก็เป็นได้ครับ หากใช้แนวคิดว่าพระคชลักษมีคือสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความเป็นมงคล ก็ไม่น่าแปลกที่จะเลือกภาพพระคชลักษมีมาประดิษฐานไว้บริเวณหน้าบันของคูหาที่ประดิษฐานเทวรูปพระแม่ศรีมหามารีอัมมัน ซึ่งเป็นเทวรูปประธานของศาสนสถานแห่งนี้

๒.เรื่องที่จอดราชรถคันเล็กๆของพระเป็นเจ้าองค์อื่นๆอีก ๔ คันนั้น เท่าที่เคยถามเพื่อนๆที่รู้ ก็ทำให้ทราบว่า ราชรถเหล่านั้นปกติจะจอดอยู่ที่โรงรถบริเวณชานเมืองครับ เมื่อถึงคืนก่อนวันแห่ก็จะใช้รถเครนเคลื่อนย้ายมาไว้ที่บริเวณหน้าวัดเพื่อตกแต่งเตรียมสำหรับใช้ในขบวนแห่ครับ หลังเสร็จงานในคืนนั้นก็จะนำกลับไปไว้ที่โรงรถตามเดิม เพราะที่ในวัดแขกมีไม่พอที่จะจอดราชรถได้ทั้งหมด (เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปตอนเคลื่อนย้ายราชรถกลับ แต่ถ้าใครอยู่จนเสร็จงานก็น่าจะได้เห็นกันบ้าง)

๓.เรื่องเทวรูปหินดำรอบเทวาลัยประธาน  เท่าที่ผมเคยอ่านงานที่มีผู้ศึกษาเกี่วกับสถาปัตยกรรมวัดพระศรีมหาอุมาเทวีนั้น เขาได้ให้ข้อสังเกตว่า การนำเทวรูปต่างๆมาประดับรอบเทวลัยประธาน  โดยเทวาลัยประธานหากเป็นของพระเป็นเจ้าองค์ใด ก็มักจะนำเทวรูปในภาคต่างๆของพระเป็นเจ้าองค์นั้นมาประดิษฐานโดยรอบ ฉะนั้นเมื่อเราเดินรอบเทวาลัยประธานวัดแขก สีลมจะพบเทวรูปของพระแม่ศักติองค์ต่างๆ ดังคติความเชื่อของเทวสถานแห่งที่นี้เป็นศาสนสถานของศักตินิกาย และยังพบเทวรูปหินดำของพระคเณศและพระขันธกุมารในปางต่างๆที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณมุกที่ยื่นออกมาสองข้างของเทวลัยประธาน(ในส่วนที่ประดิษฐานเทวรูปของพระเป็นเจ้าองค์นั้นๆ)  หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือที่เทวาลัยหรือหอพระศิวลึงค์ของวัด ก็จะเห็นเทวรูปหินดำภาคหรือปางต่างๆของพระศิวะ ทั้งกระทักษิณามูรติ หรือแม้กระทั่งในปางlingobhavamurti (ลิงโคทภวมูรติ?) เป็นต้น อยู่รายรอบผนังด้านนอกของหอพระศิวลึงค์ทั้งทางด้านตะวันตก ด้านเหนือ และด้านใต้ (ยกเว้นทางด้านตะวันออกที่เป็นประตูของหอประศิวลึงค์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระทักษิณามูรติ จะต้องตั้งให้หันหน้าไปทานทิศใต้เสมอ เนื่องจากเป็นความเชื่อของทางอินเดียใต้โดนเฉพาะ ส่วนคติทางเทววิทยาคงต้องรอผู้รู้ทางนี้มาช่วยอธิบายนะครับ สำหรับผมคงนำข้อสังเกตทางสถาปัตยกรรมมานำเสนอเท่านั้น
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

น่ารักจริงๆเลยค่ะ น้องคิว  ขอบคุณนะคะ ที่มาให้ความกระจ่าง

ขอพระผู้เป็นเจ้าอวยพรน้องคิวด้วยเถอะ

(ขอให้พักร้อนอย่างมีความสุขนะจ้ะ)
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


ที่เคาะตรงขมับเป็นการทำความเคารพต่อองค์พระคเนศครับ ถ้าจำไม่ผิดบางคนจะมีการดึงหูพร้อมกับย่อเข่าด้วยท่าจะดูตลกๆ  เมื่อก่อนจะเห็นบ่อยที่วัดแต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแล้ว .

นานาจิตตัง บาลี ว่า ต่างคนต่างความคิด

เป็นการทำเคารพมีหลายสาเหตุไปถามคนแขกก็ว่าไม่เหมือนกัน

บางคนว่า ดึงหู จะได้ยาวเหมือนท่าน เคาะศรีษะ ทำให้ฉลาด ย่อต้วเหยาะๆ จะได้ดูน่ารัก ท่านจะได้เอ็นดูเรา

แตฮาวันว่า เหมือนคนที่เวลาไหว้พระพุทธรูป ทำไมไหว้เสร็จต้องเอามือลูบหัวนั้นแหละ

ความคิดฮาวันนะ

Quote from: Vek Kali Amman on October 31, 2009, 17:17:05
ที่เคาะตรงขมับเป็นการทำความเคารพต่อองค์พระคเนศครับ ถ้าจำไม่ผิดบางคนจะมีการดึงหูพร้อมกับย่อเข่าด้วยท่าจะดูตลกๆ  เมื่อก่อนจะเห็นบ่อยที่วัดแต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแล้ว .

นำภาพมาช่วยเสริมครับ เผื่อบางท่านที่ยังไม่เคยเห็นจะได้นึกภาพตามออก
(เครดิตภาพจาก สารคดีชุด มหัศจรรย์สุวรรณภูมิ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)


.
ภาพการเอามือไขว้กันแล้วดึงที่ติ่งหูทั้งสองข้าง
.
.
.
ภาพการเอามือไขว้กันแล้วเคาะที่หน้าผากหรือขมับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้มากมาย
[HIGHLIGHT=#ffffff]ชนใดหวังข้ามอุปสรรค  พึงพำนักพิคเนศนาถา
สำเร็จสมดังจินดา พระองค์พาข้ามพิฆะจัญไร
[/HIGHLIGHT]

November 02, 2009, 13:28:30 #11 Last Edit: November 02, 2009, 13:30:39 by หริทาส
แอบมาเติมครับ


การไหว้พระคเณศที่มีการไขว้มือดึงหู และเคาะที่ศีรษะ เป็นท่าไหว้ที่ปแพร่หลายในอินเดียทางภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ครับ
แป็นท่าไหว้เฉพาะพระคเณศเท่านั้น

เรียกว่า "โถปปุกรณัม" ครับ

การดึงหูนั้น เป็นสัญลักษณ์ของการขออภัย หรือการสำนึกความผิด
(ก็เหมือนที่บางคนมักจะโดนท่านภรรยาดึงนั่นแหละครับ)
ซึ่งชาวอินเดียบางคน ก็จะดึงเวลาสวดมนตร์กับเทพองค์อื่นๆ ก็มี (เพื่อสำนึกผิด)
หรือดึงเวลาจะไปง้อผู้หญิง

ส่วนการเคาะศีรษะนั้น มีการอธิบายว่า เพื่อปลุก จักระ หนึ่งในศรีศษะ ที่เชื่อกันว่า เป็นที่ๆพระคเณศประทับอยู่ในร่างกาย เพื่อให้พลังนั้นตื่นขึ้นครับ

นอกจากนี้ยังมีการอธิบายว่า การแสดงท่าโถปปุกรณัม ทำให้พระคเณศขบขัน และทรงพระสรวลแล้วจักระ จะออกมาจากพระโอษฐ์ครับ

อันนี้ก็ว่าตามที่อ่านมานะครับ

อ่อ  ใครอยากรู้เรื่องพระคเณศมากขึ้น ก็อย่าลืมไปร่วมงานสัมนา เรื่องพระคเณศที่ภาควิชาปรัชญาเค้าจัดนะครับ วันที่ 26 นี้ ดูรายละเอียด ให้บอร์ดข่าวประชาสัมพันธ์นะครับ

อิอิ แอบโฆษณาเลย 5555

แอบมาแถมอีกเรื่องนึง

ที่เวลาชาวอินเดีย เข้าไปเจิแล้วจะนิยมเอามือนึงประคองท้ายทอยไว้

อันนี้เป้นธรรมเนียมที่น่ารักและ เกี่ยวกับเรื่องความสุภาพครับ

โดยปกติ เวลาชาวอินเดียรับของจากพราหมณ์หรือผู้ใหญ่ เค้าจะใช้มือขวาเท่านั้น เพราะมือซ้ายไม่สุภาพ (มือซ้ายไว้ล้างก้น)
โดยเพื่อให้สุภาพขึ้นไปอีก เค้าจะเอามือซ้ายประคองมือขวา  ไม่ว่าจะส่งของหรือรับของมา

จริงๆเมื่อก่อนบ้านเราทำกันแบบนี้แหละครับ ผมยังเห้นผู้ใหญ่ตามต่างจังหวัดยังทำอยู่ เดี๋ยวนี้ลืมกันไปหมดแล้ว

ดังนั้น เมื่อเขาเอา ศีรษะไปให้พราหมณ์เจิม จึงต้องประคองศีรษะไว้ เช่นเดียวกับเวลารับของอ่ะครับ
เป็นการแสดงออกด้วยความสุภาพและความเคารพครับ

ขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันกันนะครับพี่หริทาส  

ปล. แล้วพบกันที่งานวันที่ ๒๖ คร๊าบบบบพี่
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

- วันนี้เป็นวันพุธ  ที่ซุ้มพระประจำวันมีของดำ(ขนมเปียกปูน)หนึ่งพานถวายพระราหูด้วย
ราหู คือ พุธกลางคืน แล้วถวายของดำเป็นความเชื่อคนไทยครับ