Loader

สงสัย ใครก็ได้ช่วยตอบที

Started by มาตาศรี มารีอัมมัน, February 14, 2011, 17:01:04

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

นี่คือพระนาราย ที่อยู่ในวัดพระนารายที่มีโบสถ์เป็นทองกำแพงหลายชั้น ใช่ไหม

(เขาว่ากันว่าไม่เคยมีใครได้เข้าไปเลย นอกจากพรามณ์ คนธรรมดาได้เข้าไปถึงกำแพงชั้นที่เท่าไรไม่รู้ จำไม่ได้ซะแล้ว- -)




ถ้าผมจำไม่ผิดพระนารายณ์องค์นี้ มีพระนามว่า พระรังคนาถสวามี  วัดที่ประดิษฐานชื่อวัด ศรีรังคัมครับ
ตำนานเล่าว่า เมื่อรบทศกัณฑ์ชนะแล้ว พิเภก ทูลขอเทวรูปพระนารายณ์มาบูชา พระรามจึงประทานพระรังคนาถใส่บุษบกทองให้
พอมาถึงพิเภกแบกไป ยังไม่ถึงลังกาก็แวะที่อินเดียใต้ ปรากฏว่าบุษบกไม่เขยื้อน จำต้องประดิษฐานไว้ที่นั้น โดยเทวรูปจะหันไปทางลังกา พิเภกก็มองจากลังกามายังเทวรูปนี้เสมอๆ(ชาวใต้ถึงกับเชื่อว่า พอไปทำกำแพงปิดมุมที่พระรังคนาถมองไปยังลังกา ทำให้ลังกาวุ่นวายอย่างที่เห็น)


นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในหมู่ ชาวไวษณวนิกาย สายพระอาจารย์รามานุชะหรือศรีสัมประทายะ ว่า พระรังคนาถมิใช่เทวรูปธรรมดาๆ แต่เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าเอง เนื่องจากพระเป็นเจ้าทรงมีพระกรุณามาก จึงทรงลงมาเป็นเทวรูปสำคัญๆในเทวสถานต่างๆ วัดนี้จึงถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก

 
  ขออนุญาติเข้ามาเพิ่มเติมอะไรเล็กน้อย นิดๆหน่อยๆนะค่ะ

  ตามที่ท่านอาจารย์หริทาสกล่าวนั้นละคะ  ว่าหลังจากเสร็จศึกลงกาแล้ว ทศกัณฑ์สิ้นชีพไป  พระรามก็อภิเษกให้พิเภกกลับไปครองกรุงลงกา
  โดยประทานเทวรูปให้ไปสักการะแทนองค์  พิเภกจึงนำเทวรูปทูนเหนือเศียรเหาะไปยังกรุงลงกา

  ระหว่างทางผ่านแม่น้ำเกาเวริ  จึงแวะลงพักผ่อนและชำระร่างกาย ด้วยว่าแม่น้ำนี้เป็นแม่น้ำศักสิทธิ์ของอินเดียใต้เทียบเท่ากับแม่น้ำคงคาในอินเดียเหนือเลยทีเดียว

พิเภกวางรูปปฎิมา ณ ริมฝั่งแม่น้ำ  แต่เมื่ออาบน้ำเสร็จ  จะอัญเชิญเทวรูปเดินทางต่อ  กลับยกไม่ขึ้น  สุดท้ายจึงต้องยอมตามพระทัย ให้ประทับอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเกาเวรินั้น

  พิเภกก็ต้องกลับลงกาไปมือเปล่า  แต่ก็สัญญาว่าจะกลับมาถวายสักการะรูปพระนารายณ์ทุกปี ซึ่งในปัจจุบันนี้ คนท้องถิ่นก็ยังเชื่อกันว่าพิเภกก็ยังกลับมาอยู่จนบัดนี้

ต่อมาบริเวณโดยรอบที่พระนารายณ์สถิตอยู่เกิดเป็นป่าทึบเข้าปกคลุมนานหลายร้อยปี    จนเมื่อพวกโจฬะเข้ามาถึงและพบรูปปฎิมานี้จึงได้สร้างเทวสถานขึ้นเป็นเทวาลัยศรีรังคนาถ

  ว่ากันว่าไฮไล้ของเทวสถานแห่งนี้คือ หลังคาของเทวาลัยประธาน (ศรีรังคนาถวิมานะ )  ที่บุด้วยทองคำ  จะมองเห็นได้เมื่อปืนขึ้นไปดูบนจุดชมวิวด้านบนเทวาลัยเวณุโคปาลในบริเวณกำแพงชั้นสี่

 





 
  ว่ากันต่อเรื่องกำแพงหลายชั้นที่คุณ มาตาศรีมารีอัมมันถามถึงนะค่ะ ....


   ตัวเมืองศรีรังคามนี้มีกำแพง  ( ภาษาทมิฬเรียก ปราการ Prakara ) ล้อมถึงเจ็ดชั้นด้วยกัน

   - วงกำแพงชั้นที่ 7-5

   กำแพงชั้นนอกสูงสุด 7 เมตร  กว้าง 2  เมตร   และมีขนาดกว้างยาว 945*775 เมตร 

   แต่ปัจจุบันนี้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดคือชั้นที่ 7 เข้ามาจนถึงแนวกำแพงชั้นที่ 4  กลายเป็นบ้านของพราหมณ์ ตลาด ร้านค้า  เทวาลัยน้อยใหญ่
   โรงเก็บรถะของเทวาลัยศรีรังคนาถ   ตลอดจนที่พักแรมสำหรับผู้แสวงบุญ   ประมาณกันว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ในเขตกำแพงนี้หลายหมื่นคน

    หากมองจากภาพถ่ายทางอากาศ  หรือภาพถ่ายดาวเทียม เช่น Google Earth ก็จะเห็นว่าบ้านเรือนในแต่ละชั้น จะตั้งหันหลังเข้าหากำแพงเดิม
    แล้วหันหน้าเข้าหากันเป็นชั้นๆตามแนวถนน

     เทวาลัยแห่งนี้มีโคปุรัมอยู่ 21 แห่ง  ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 14-17  ยกเว้น  ราชาโคปุรัม หรือโคปุรัมอันเป็นทางเข้าหลักทางทิศใต้ 

    มีเกร็ดของคนทมิฬเล่าว่า  แต่เดิมโคปุรัมใหญ่มีการบูรณะสร้างเสริมเป็นโคปุรัม 13 ชั้นที่สูงถึง72 เมตร  เมื่อปี พศ.2530/1987  หรือเมื่อ20กว่าปีมานี้เอง

    ทว่า  โคปุรัมที่สูงที่สุดในรัฐทมิฬนาฑูปัจจุบัน  กลับดูเหมือนจะไปบดบังสายพระเนตรของพระนารายณ์ที่เฝ้ามองเกาะลังกาอยู่   นับแต่นั้นมา  เกาะลังกาจึงเกิดความวุ่นวาย   จากการรบพุ่งระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวทมิฬและรัฐบาล ของชาวสิงหลมาโดยตลอดจนบัดนี้ 

   ส่วนวงกำแพงชั้นที่ 4  ประกอบด้วย 

    - เทวาลัยเวณุโคปาล
   
    - เทวาลัยศรีรังคนาชายาลักษมี

    - มณฑปพันเสา

    -  มณฑปม้าศึก

    - พิพิธภัณฑ์

   
      วงกำแพงชั้นที่สาม  ประกอบด้วย

     - ครุฑมณทป


       วงกำแพงชั้นที่ 2 และชั้นในสุด  ( อนุญาติให้เข้าได้เฉพาะฮินดู )
   
        ถัดจากนี้เข้าไปคือเทวสถานของพระนารายณ์  หรือวิมานศรีรังคนาถ   ในกำแพงชั้นที่2 และชั้นในสุด   ภายในประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์บรรมทสินธุ์ ขนาดยาว 4.5 เมตร  เป็นประธาน   ซึ่งห้ามิให้ คนนอก หรือ Non-hindu เข้า  แต่ถึงแม้จะไม่สามารถเข้าไปชมภายในได้  ก็มีภาพเทวรูปพระนารายณ์  อัดใส่กรอบแขวนไว้ให้ดูอยู่ภายนอก

    ในเขตเทวสถานชั้นยังยังมีสถานที่บูชาเทพเจ้าอีกหลายองค์  ในที่นี้รวมถึงพิเภกด้วยนะค่ะ 


   รอบนี้เอาข้อมูลกันไปแค่นี้ก่อนนะค่ะ  พอดียุ่งๆ  ถ้ามีเวลาจะมาลงรายละเอียดให้  ปัจจุบันนี้พบว่ามีวัดหลายแห่งสร้างเลียนแบบเทวาลัยศรีรังคนาถ ตามรูปข้างล่างที่ยกมาคะ


















































   


 

  มณทปบุด้วยทองคำ  และรูปพิเภก  อัญเชิญพระรังคนาถ
























แล้วของจริงเขาไม่ให้ถ่ายรูปหรือพี่ศรีมารตี (ถ้าพี่มีรูปองค์จริงเอามาแบ่งกันมั่งได้เปล่าเอ่ย อยากดู)