Loader

เทวรูปหลวง

Started by อินทุศีตาลา, December 29, 2009, 12:02:15

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

อันเนื่องมาด้วย เวลา 15.35 น.วานนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออก ณ วังศุโขทัย พร้อมด้วยพระวรชายา ทรงเจิมเทวรูปที่จะเชิญมาในพระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย

จึงอยากเรียนถามท่านผู้รู้ดังนี้ค่ะ

1. เทวรูปทั้งนั้น มีประวัติเป็นมาอย่างไรคะ สังเกตว่าเทวรูปพระอิศวร พระอุมา พระคเณศ และพระนารายณ์จะเป็นรุ่นอายุและศิลปะคล้ายๆกัน แต่พระพรหมจะต่างออกไป

2. ตามปรกติแล้ว เทวรูปทั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่ใดคะ
3. เมื่อทรงเจิมแล้ว เชิญไปประดิษฐานไว้ที่ใด เพราะทราบว่าแต่ละวันของพระราชพิธี รถหลวงจะเชิญออกไปในแต่ละวัน
4. นอกจากนี้ เคยเห็นโรงพิธีพราหมณ์ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกจาขวัญด้วย เทวรูปที่ประดิษฐานที่นั่นเป็นเทวรูปองค์ใดบ้าง และมาจากที่ใด

ขอบพระคุณทุกท่านมากค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขออนุญาติตอบเท่าที่พอทราบมานะครับ.....

เรื่องเทวรูปหลวงที่อัญเชิญมาในพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวายนั้น ถือเป็นเทวรูปส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งปกติจะประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และเป็นธรรมเนียมว่า ในวันก่อนที่จะประกอบพิธีช้าหงส์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม พระราชทานออกมาให้เข้าร่วมในพระราชพิธี โดยในสมัยโบราณจะมีขบวนแห่เทวรูปหลวงไปส่งยังเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ โดยริ้วกระบวนใหญ่ (ซึ่งเทวรูปหลวงจะประดิษฐานอยู่ในเสลี่ยงโถง) แต่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนให้เหมาะสมตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยในวันที่ประกอบพิธีช้าหงส์แต่ละวันนั้น ทางเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะอัญเชิญเทวรูปหลวงมาส่งยังเทวสถานด้วยรถยนต์พระประเทียบ

สำหรับที่มาของเทวรูปหลวงชุดนี้ (ได้แก่ เทวรูปพระอิศวร พระอุมา พระคเณศ และพระนารายณ์) ไม่ปรากฏหลักฐานที่บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่ามีที่มาอย่างไร มีเพียงเกร็ดตอนหนึ่งในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงกล่าวถึงเทวรูปพระคเณศที่เชิญมาในพระราชพิธีตรียัมปวายว่า

".....เทวรูปซึ่งสำหรับส่งไปแห่นี้มีเรื่องราวที่จะต้องเล่าอยู่หน่อยหนึ่ง คือรูปมหาวิฆเนศวรนั้น เป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ยังทรงพระเยาว์ ด้วยถือกันว่าถ้าบูชาพระมหาวิฆเนศวรแล้วทำให้จำเริญสวัสดิมงคล ...........ครั้นเมื่อข้าพเจ้า (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) อายุได้ ๙ ขวบ ทรงคิดชื่อกรมให้เป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ เวลาแห่เทวรูปเช่นนี้จึงรับสั่งว่าไหนๆก็เอาชื่อเอาเสียงท่านมาชื่อแล้ว จะให้พระองค์นี้ไปสำหรับบูชาเหมือนอย่างที่พระองค์ท่านได้เคยทรงบูชามาแต่ก่อน จึงพระราชทานน้ำสังข์ทรงเจิมแล้วมอบพระองค์นั้นพระราชทาน เอาพระองค์อื่นไปขึ้นหงส์ตลอดรัชกาล ครั้นมาถึงแผ่นดินปัจจุบันนี้ (หมายถึงรัชกาลที่ ๕) ข้าพเจ้าจึงได้นำบุษบกเล็กๆบุทองคำตั้งเทวรูปนั้นไว้แล้ว จึ่งได้ใช้บุษบกทองคำนั้นตั้งบนพานทองสองชั้นอีกทีหนึ่ง สำหรับเชิญไปขึ้นหงส์ เทวรูปมหาพิฆเนศวร ก็เปลี่ยนเอาองค์ที่ได้พระราชทานนั้นไปขึ้นหงส์ตามเดิม....."

ส่วนเทวรูปพระพรหมนั้นเป็นเทวรูปที่สร้างขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ เพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ

แต่เดิมพิธีช้าหงส์นั้นมีเพียงสองวัน คือพิธีช้าหงส์ส่งพระอิศวรในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนยี่ และ พิธีช้าหงส์ส่งพระนารายณ์ในวันแรม ๕ ค่ำเดือนยี่ ต่อมาในรัชกาลปัจจุบันเมื่อคณะพราหมณ์จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จึงเกิดมีพิธีช้าหงส์ส่งพระพรหมเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ วัน ในวันแรม ๓ ค่ำ เดือนยี่

ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (หรือผู้แทนพระองค์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์) ทรงพระสุหร่ายและเจิมเทวรูปหลวงเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะอัญเชิญเทวรูปหลวงทั้งหมดไปประดิษฐานยังพระบรมมหาราชวัง จนถึงวันที่ประกอบพิธีช้าหงส์ในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่จึงจะอัญเชิญเทวรูปแต่ละองค์มาเข้าร่วมในพิธี กล่าวคือ ในวันแรม ๑ ค่ำ เจ้าหน้าที่จะอัญเชิญเทวรูปพระอิศวร พระอุมา และพระคเณศมาส่ง ในวันแรม ๓ ค่ำ อัญเชิญเทวรูปพระพรหมมาส่ง และในวันแรม ๕ ค่ำ อัญเชิญเทวรูปพระนารายณ์มาส่ง

และวันแรม ๖ ค่ำ (อันเป็นวันสุดท้ายของช่วงพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย) หลังจากคณะพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชและเจิมเทวรูปหลวงเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังก็จะอัญเชิญเทวรูปหลวงทั้งหมดกลับไปประดิษฐานยังพระบรมมหาราชวังตามเดิม (ส่วนจะประดิษฐานไว้ยังพระที่นั่งองค์ใดในพระบรมมหาราชวังนั้น ขออนุญาติติดไว้ก่อนนะครับ ไว้จะไปเรียนถามท่านผู้ใหญ่ให้อีกทีครับผม)

ส่วนเรื่องเทวรูปที่ประดิษฐานอยู่ ณ โรงพิธีพราหมณ์ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่ท้องสนามหลวงนั้น เป็นเทวรูปที่อัญเชิญมาจากเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ ประกอบด้วยเทวรูปพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระอุมา และพระคเณศ นอกจากนี้ยังมีเทวรูปของพระพลเทพ และโคอุศุภราชประดิษฐานร่วมอยู่ภายในโรงพิธีพราหมณ์ด้วยครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0



(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมเทวรูปพระเป็นเจ้า
เพื่อพระราชทานให้อัญเชิญมาร่วมในพระราชพิธีตรียัมปวายและพระราชพิธีตรีปวาย)



(ในระยะหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการเจิมเทวรูปพระเป็นเจ้า)
.


(รถยนต์พระประเทียบที่ใช้อัญเชิญเทวรูปหลวงจากพระบรมมหาราชวัง
มาส่งยังเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ในพิธีช้าหงส์แต่ละวัน)
[/B][/SIZE]
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบคุณครับที่นำความรู้มาให้
โอม ทัต ปูรูชยา วิดมาเฮ วักรา ทุนดายา ดีมาฮี ทะโน ทันติ ปราโชดายะ 

โอ้ ขอบพระคุณค่ะ นึกไว้ไม่มีผิดว่าเทวรูปพระพิฆเณศนี่ต้องเป็นองค์ที่รัชกาลที่ 2 พระราชทานให้พระราชโอรสและตกทอดมาสู่พระราชนัดดาคือรัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 ทรงเล่าด้วยใช่ไหมคะว่า เทวรูปพระคเณศเนี่ย ท่านทรงถือว่าถ้าบูชาต่อๆกันจะขลังมาก (เอ๊ะ....หรือเราคิดไปเอง ท่านไม่ได้ทรงเล่า)

โบสถ์พราหมณ์เคยหล่อรูปพระตรีมุรติทองคำถวายพระเจ้าอยู่หัวด้วยใช่ไหมคะ งามมากเชียว

ดิฉํนเคยมีโอกาสได้เห็นเทวรูปเหล่านี้นอกพิธี สังกตว่าไม่ได้สวมสายยัชโญปวีต เลยสงสัยว่า คล้องเฉพาะในพิธีกรรมใช่หรือไม่ พิธีแรกหน้าคล้องไหม และเทวรูปของเราเองจำเป็นหรือไม่ว่าต้องคล้อง และเราคล้องถวายท่านเองได้หรือไม่ ถ้าได้ สายนั้นควรทำจากอะไรคะ

ขอประทานโทษที่ปัญหาเยอะเหลือเกินค่ะ อยากรู้จริงๆ อดไม่ได้
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

Quote from: สิรวีย์ on December 29, 2009, 16:39:25
โอ้ ขอบพระคุณค่ะ นึกไว้ไม่มีผิดว่าเทวรูปพระพิฆเณศนี่ต้องเป็นองค์ที่รัชกาลที่ 2 พระราชทานให้พระราชโอรสและตกทอดมาสู่พระราชนัดดาคือรัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 ทรงเล่าด้วยใช่ไหมคะว่า เทวรูปพระคเณศเนี่ย ท่านทรงถือว่าถ้าบูชาต่อๆกันจะขลังมาก (เอ๊ะ....หรือเราคิดไปเอง ท่านไม่ได้ทรงเล่า)


ใช่ครับ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงท่านทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในบทพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน ความตอนหนึ่งว่า

".....รูปมหาวิฆเนศวรนั้น เป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ยังทรงพระเยาว์ ด้วยถือกันว่าถ้าบูชาพระมหาวิฆเนศวรแล้วทำให้จำเริญสวัสดิมงคล แต่ผู้ได้รับไปบูชานั้น ถ้าไม่ได้รับจากผู้ที่เคยปฏิบัติบูชามาแต่ก่อน เอาไปไว้มักจะมีไข้ได้เจ็บต่างๆ จึงต้องมอบต่อๆกันไป....."

Quote from: สิรวีย์ on December 29, 2009, 16:39:25

ดิฉํนเคยมีโอกาสได้เห็นเทวรูปเหล่านี้นอกพิธี สังกตว่าไม่ได้สวมสายยัชโญปวีต เลยสงสัยว่า คล้องเฉพาะในพิธีกรรมใช่หรือไม่ พิธีแรกหน้าคล้องไหม


ส่วนเรื่องสายยัชโญปวีตหรือสายมงคลพราหมณ์ที่เห็นว่าคล้องอยู่ที่องค์เทวรูปหลวงนั้น พระราชครูพราหมณ์จะถวายในวันที่ประกอบพิธีช้าหงส์ ซึ่งจะถวายหลังจากเชิญเทวรูปพระเป็นเจ้าขึ้นประดิษฐานบนภัทรบิฐทอดขลังแล้ว (โดยก่อนหน้านี้จะมีการสรงน้ำถวายด้วยกลศ สังข์ และถ้วยทองคำ) สำหรับสายยัชโญปวีตนี้ทำจากสายสิญจน์สีขาว ๖ สาย จะคล้องถวายที่เทวรูปจนกระทั่งเทวรูปนี้กลับเข้าไปประดิษฐานยังพระบรมมหาราชวัง
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

Quote from: สิรวีย์ on December 29, 2009, 16:39:25

โบสถ์พราหมณ์เคยหล่อรูปพระตรีมุรติทองคำถวายพระเจ้าอยู่หัวด้วยใช่ไหมคะ งามมากเชียว


คณะพราหมณ์แห่งเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ เคยสร้างเทวรูปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทั้งสิ้น ๓ ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่หนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ สร้างเทวรูปพระพรหม (เนื้อนวโลหะ) ถวายในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ

ครั้งที่สอง ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ สร้างเทวรูปพระคเณศ (เนื้อนวโลหะ) ถวายในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา

ครั้งที่สาม ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ สร้างเทวรูปพระตรีมูรติ (เนื้อทองคำ) ถวายในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗๕ พรรษา


ภาพเทวรูปพระพรหมที่สร้างถวายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖
.
.
ภาพเทวรูปพระคเณศที่สร้างถวายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙
.
.
ภาพเทวรูปพระตรีมูรติที่สร้างถวายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลครับผม

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

ขอบพระคุณข้อมูลค่ะ
คุณอักษรชนนีเนี่ย ปราชญ์แท้ๆ ขอบูชาด้วยใจเลื่อมใสค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ จ้า
[HIGHLIGHT=#ffffff]บ้านคนจะเเต่งหิ้งพระสวยยังไงก้อยังเป็นบ้านคน จะให้บ้านคนเป็นวัดคงเป็นไปไม่ได้[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffffff]จงอยู่ในความพอดี ไม่เยอะไป ไม่น้อยไป กลาง ๆ พอดี ๆ อะ เเล้วจะมีความสุขกะสิ่งที่ทำ[/HIGHLIGHT]

Quote from: สิรวีย์ on December 30, 2009, 12:06:11
ขอบพระคุณข้อมูลค่ะ
คุณอักษรชนนีเนี่ย ปราชญ์แท้ๆ ขอบูชาด้วยใจเลื่อมใสค่ะ

มิบังอาจหรอกครับคุณสิรวีย์ พอดีเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมกำลังศึกษาและเก็บข้อมูลอยู่พอดี

จึงทำให้นำข้อมูล(เท่าที่ทราบ)มาแบ่งปันกันได้น่ะครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

แหม ยิ่งถ่อมตัวยิ่งแสดงวิสัยปราชญ์ออกมาได้อย่างชัดแจ้งเลยนะคะเนี่ย

ดิฉันมีโอกาสได้เข้าไปในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวังอยู่บ้าง ซึ่งกลางพระที่นั่งมีพระวิมานไม้แกะแบบจีนประดิษฐานพระสยามเทวาธิราชตั้งอยู่

วิมานไม้นี้มีสามมุขค่ะ มุขกลางประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช ท่านที่เข้าไปด้วยกรุณาเล่าว่าอีกสองมุขด้านข้างประดิษฐานเทวรูปไว้ แต่เวลานั้นดิฉันไม่ได้เห็นใกล้นัก เพราะพระวิมานนี้อยู่ค่อนข้างสูง (และดิฉันไม่เคยยืนตัวตรงในพระที่นั่งองค์นี้เลย) ประกอบกับมีม้าหมู่บูชาอยู่ด้านหน้าด้วย ซึ่งใหญ่มาก แถมเมื่อเข้าไปยังลาดพระสุจหนี่ไว้หน้าม้าหมู่อยู่เสมอ จึงได้เห็นไกลๆ พอมองเห็นพระสยามเทวาธิราชค่อนข้างชัด และเห็นว่าเทวรูปทั้งนั้นองค์เล็กๆสีดำๆ แต่ไม่ทราบว่าเป็นใครบ้าง

มาอ่านหนังสือทีหลังได้ทราบว่า หน้าพระสยามเทวาธิราชตั้งเทวรูปพระสรัสวดี มุขตะวันออกตั้งรูปพระอิศวรและพระอุมา ส่วนมุขตะวันตกตั้งรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ

แม้เมื่อทราบข้อมูลแล้ว และมีโอกาสเข้าไปอีก ก็ยังไม่สามารถเห็นได้ถนัด ด้วยเหตุผลตามที่แจ้งไว้ตอนต้น

เป็นไปได้ไหมคะว่าเทวรูปทั้งนั้นคือเทวรูปที่มาร่วมพระราชพิธีฯ และหากเป็นเช่นนั้นจริง เทวรูปพระสรัสวดีไม่มา ส่วนเทวรูปพระพิฆเณศวร ไม่ได้อยู่ที่นี่

เป็ฯไปได้ไหมคะว่าเทวรูปพระพิฆเณศวรไม่ได้อยู่ในวังหลวง แต่มีปรกติประดิษฐานที่อื่น จะเชิญมาเมื่อถึงพระราชพิธีฯ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เทวรุปที่เชิญเข้าพระราชพิธีตรียมัปวาย ตรีปวาย เป็นคนละชุดกับที่ประดิษฐานที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณครับ
ชุดที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณนั้น พระอิศวรองค์ใหญ่มาก ประมาณหน้าตัด 5 นิ้วขึ้นไป ส่วนพระสรัสสวดี ขนาดประมาณ 3 นิ้ว
เทวรูปอื่นๆ ล้วนมีขนาดใหญ่กว่าที่เชิญไปในพระราชพิธีทั้งสิ้น นี่ตอบตามตาที่เหนนะครับ ส่วนรูปภาพ ลองค้นดูในหลังสือต่างๆ
อาจจะเจอครับ

หอที่เก็บรักษาพระพุทธรูป เทวรุป วัตถุอันควรเคารพในพระบรมมหาราชวังนั้น กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณครับ
จุดสำคัญ ก็เช่น หอพระสุลาลัยพิมาน หอแก้วพระภูมิ พระที่นั่งราชกรัณยสภา ฯลฯ

ส่วนเทวรูปหลวงในพระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปวายนั้น คงต้องถามผู้เกี่ยวข้องคงจะได้ทราบครับ


January 03, 2010, 05:41:56 #13 Last Edit: January 03, 2010, 05:52:55 by Ratha C
[HIGHLIGHT=#e5b9b7]ในงานตรียัมปวาย ในวันกล่อมหงษ์ วันที่ 1 ม.ค.2553 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าไปนั่งข้างหน้า เลยได้ชมเทวรูปหลวง คือ พระคเนศ พระอิศวร และ พระแม่อุมา อย่างใกล้ชิด(องค์เล็กๆประมาณนิ้วก้อยค่ะ)ท่านราชครูฯ ได้ สรงค์น้ำเทวรูป และ นำน้ำมนต์ในการสรงค์เทวรูป มาประพรม เทวรูป(สำหรับผู้ที่นำเทวรูปไปเบิกเนตรทางด้านนอกด้วยค่ะ) และ ประพรมน้ำมนต์ให้กับประชาชน ที่ได้เข้าไปร่วมงานด้วยเพื่อความเป็นสิริมงคล และได้เห็นพิธีกล่อมหงษ์ เป็นพิธีที่โบราณมากๆค่ะ เป็นบุญตา มากๆ และ ต้องขอบคุณน้องคิว(อักษรชนนี)ที่นอกจะสละเวลา จากการถ่ายภาพ มานั่ง ตอบคำถามให้ความรู้แถมเอาสมุดไปจดขั้นตอนอีกด้วยแอบหยิบมาอ่านเพื่อความเข้าใจนะคร้า คงไม่ว่ากัน อิๆ  สำหรับผู้ที่ เข้าโบสถ์ไม่ได้เพราะผู้ร่วมงานมาก ก้อ สามารถชมจาก จอมอร์นิเตอร์ ด้านหน้าโบสถ์ได้ค่ะ ^_^ปล.ควรสวมเสื้อสีขาว และ แต่ง กายสุภาพ นะคร้า[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]   "เรา"สามารถเห็นอะไรได้ก้อด้วย"หัวใจ"ของ"เรา"เท่านั้น[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]สิ่งสำคัญ"เรา"ไม่สามารถเห็นได้ด้วย"ดวงตา[HIGHLIGHT=#d7e3bc]"  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

ขอบพระคุณ คุณ Kento ค่ะ

อันที่จริงก็สงัสยอยู่เหมือนกันว่าบนพระที่นั่งไพศาลนั้น พระนารายณ์ทรงครุฑอยู่

ส่วนเรื่องขนาดนี้ ดิฉันเรียนตามตรงว่ากะไม่เป็นเลยค่ะ เรื่องตรรกะนี่สมองใช้ไม่ได้เลย เสื้อตัวเองก็ซื้อผิดไซต์บ่อยๆ เลยไม่รู้ว่าเทวรูปเหล่านี้ขนาดเท่ากัน เล็กกว่า หรือใหญ่กว่าอย่างไร

มีใครทราบไหมคะว่าเทวรูปหลวงนี้เวลาเชิญใส่พานมา ในพานใส่อะไรไว้
เห็นเวลาจะเชิญเทวรูปลงสรงน้ำ พระครูต้องใช้ไม้ 'งัด' (ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดี)
ที่กรุงเทพจัดแล้ว ที่นครจัดด้วย พิธีทั้งสองแห่งเหมือนหรือต่างกันอย่างไรไหมคะ
ทราบว่าที่นครฯมีแห่นางกระดาน ของพระนครก็เห็ฯนางกระดานตั้งอยู่ (แต่เข้าใจว่าไม่ได้แห่ หรืออาจจะแห่กันไม่เอิกเกริก)

คุณล้อต๊อกเคยเฃ้าว่าสมัยท่านเด็กๆเห็นเขาแห่กัน และวันนั้นอากาศจะหนาวเป็นช่วงสุดท้ายเสมอๆ

ปรกติเห็นพระราชครูอัษฎาจารย์เข้ามาร่วมพิธีเสมอๆ ปีนี้ท่านมาไหมคะ ดิฉันไม่เห็นเลย (อันนี้อยากรู้เองค่ะ)

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

Quote from: สิรวีย์ on January 03, 2010, 13:19:58

มีใครทราบไหมคะว่าเทวรูปหลวงนี้เวลาเชิญใส่พานมา ในพานใส่อะไรไว้
เห็นเวลาจะเชิญเทวรูปลงสรงน้ำ พระครูต้องใช้ไม้ 'งัด' (ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดี)


พานที่ใช้ประดิษฐานเทวรูปหลวงนั้นเป็นพานทองคำครับ โดยที่พานเทวรูปแต่ละองค์นั้นจะมีการตกแต่งด้วยดอกบานไม่รู้โรย(ส่วนใหญ่ที่สังเกตมักจะเป็นดอกสีม่วง)

ส่วนตอนที่อัญเชิญเทวรูปลงสรงน้ำนั้น โดยเฉพาะหมู่เทวรูปพระอิศวร พระอุมาและพระคเณศที่ประดิษฐานร่วมกันในบุษบกไม้ พระครูพราหมณ์จะใช้ดินสอไม้ (ที่เห็นในวันงานนะครับเป็นดินสอไม้) ช่วยพระราชครูพราหมณ์ในการชี้และช่วยแซะที่ฐานเทวรูป เนื่องจากหมู่เทวรูปพระอิศวร พระอุมาและพระคเณศนั้น ที่พื้นด้านในบุษบกจะมีการยาด้วยวัสดุคล้ายๆขี้ผึ้ง เพื่อช่วยให้ฐานองค์พระติดกับพื้นด้านในของบุษบก ซึ่งจะช่วยให้เทวรูปไม่ตกหล่นหรือเคลื่อนที่ไปมาขณะที่อัญเชิญจากพระบรมมหาราชวังมาส่งและอัญเชิญเข้าในพิธี

Quote from: สิรวีย์ on January 03, 2010, 13:19:58

ที่กรุงเทพจัดแล้ว ที่นครจัดด้วย พิธีทั้งสองแห่งเหมือนหรือต่างกันอย่างไรไหมคะ
ทราบว่าที่นครฯมีแห่นางกระดาน ของพระนครก็เห็ฯนางกระดานตั้งอยู่ (แต่เข้าใจว่าไม่ได้แห่ หรืออาจจะแห่กันไม่เอิกเกริก)

คุณล้อต๊อกเคยเฃ้าว่าสมัยท่านเด็กๆเห็นเขาแห่กัน และวันนั้นอากาศจะหนาวเป็นช่วงสุดท้ายเสมอๆ


ที่โบสถ์พราหมณ์ นครศรีธรรมราชเดี๋ยวนี้ไม่มีการจัดพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวายแล้ว คงเหลือแต่ประเพณีแห่นางดาน (หรือนางกระดาน)เท่านั้น

โดยที่นครศรีธรรมราชเท่าที่ผมเคยชมภาพและข่าว ค่อนข้างมีการจัดขบวนแห่ที่เอิกเกริก มีขบวนเสลี่ยงแห่ ประกอบเเสงสีเสียง (เพราะทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้จัดประเพณีแห่นางดานนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดด้วย)

แต่ในขณะที่โบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพ การแห่นางดานจะกระทำกันเป็นพิธีภายใน ประมาณตี ๓ หรือตี ๔ โดยใช้พราหมณ์และเจ้าหน้าที่แบกนางกระดานออกมาลงในหลุมด้านข้างสถานพระอิศวร ไม่มีการแห่อะไรใหญ่โตเหมือนกับที่ทำกันที่นครศรีธรรมราชครับ

ส่วนเรื่องความเชื่อที่ว่า เมื่อเชิญนางกระดานลงหลุมแล้วอากาศก็จะเริ่มหนาวเย็นนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงท่านก็ได้เคยกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ในบทพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า

" .....การซึ่งคนพอใจพูดกันชุมๆว่ากระดานลงหลุมๆเป็นเครื่องสำหรับทำให้หนาว หรือเขตของความหนาวอย่างไรก็ไม่เข้าใจชัด เห็นแต่ร้องกันว่ากระดานลงหลุมแล้วหนาวนัก บางทีก็พูดดังโก๋ๆไม่รู้ความหมายเอาเหตุการณ์อันใด  คือในเดือนยี่หนาวจัดแล้วมีคนบ่นขึ้นว่าหนาว มักจะมีผู้ใหญ่ๆว่านี่ยัง กระดานลงหลุมเดือนสามจะหนาวยิ่งกว่านี้ พูดเป็นจริงเป็นจังไปไม่รู้ว่ากระดานอะไรลงหลุมในเดือนสาม แต่ที่มีกระดานลงหลุมอยู่เรื่องหนึ่งในพิธีนั้นลงเสียก่อนคำที่ว่านั้นแล้ว....."


Quote from: สิรวีย์ on January 03, 2010, 13:19:58

ปรกติเห็นพระราชครูอัษฎาจารย์เข้ามาร่วมพิธีเสมอๆ ปีนี้ท่านมาไหมคะ ดิฉันไม่เห็นเลย (อันนี้อยากรู้เองค่ะ)


ปีนี้ท่าน"พระมหาราชครูอัษฏาจารย์ (ละเอียด รัตนพราหมณ์)"มาร่วมพิธีผูกพรตในวันแรกของพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ครับ

แต่วันหลังๆท่านไม่ได้มาร่วมอีก เนื่องจากว่าอายุของท่านมากแล้ว ไปไหนมาไหนคงไม่สะดวก เพราะเมื่อวันงานผูกพรตนั้นท่านก็ต้องนั่งรถเข็นเข้ามาร่วมในพิธีแล้วครับ
(เอาไว้ผมจะนำภาพมาให้ชมเร็วๆนี้หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีทั้งหมดแล้ว โดยจะประมวลภาพตั้งแต่วันแรกของงานจนถึงวันโกนจุกซึ่งเป็นวันสุดท้ายของพระราชพิธีมาให้ชมกันนะครับ)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีนะคะ
ที่แท้ก็ขี้ผึ้งนี่เอง

เป็นห่วงพระราชครูอัษฎาจารย์ค่ะ เคยกราบท่าน สัมภาษณ์ท่านเมื่อนานมาแล้ว ท่านกรุณาดิฉันมาก

นางกระดานของเทวสถานงดงามมากเลยนะคะ

และคุณอักษรชนนีก็ไม่เคยทำให้ดิฉันผิดหวังเช่นเคยค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบพระคุณสำหรับ ความรู้มากมาย ที่นำมาเผยแพร่ สู่กัน คร้าฟ

รออยู่เช่นเคยค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยคัฟ
ขอร่วมรอด้วยคนนะคัฟ