Loader

การพกพาศิวลึงค์

Started by mahavate, December 28, 2009, 21:34:08

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

สวัสดีทุกท่านครับผม

วันนี้รบกวนสอบถามเกี่ยวกับสถานที่บูชาศิวลึงค์ขนาดที่พอจะพกพาได้นะครับ ว่าจะพอหาได้ที่ไหน

แล้วก็จะรบกวนขอความเห็นเกี่ยวกับการพกพาศิวลึงค์ ว่าควรไว้ที่ส่วนไหนของร่างกาย (เช่น ห้อยคอ คาดเอว ฯลฯ) นะครับ


ขอบคุณมากครับผม

สงสัยต้องสังทำอ่ะครับวัดราชนัด อาจจะมีนะ ถ้าใส่ผมว่าห้อยคอเลย หรือถ้าหนักก็พกใส่กระเป๋าสะพาย หรือเป้ แต่อย่าใส่กระเป๋ากางเกงนะครับ

ทูนหัวก็ได้ อิอิอิอิอิ เคยเห็นผู้ช่วยท่านอาจารย์สมศักดิ์ เอาตรีศูลของพระแม่อันเล็กมาทูนบนหัวเหมือนกับปิ่นปักผมเลยสวยไปอีกแบบ
วงการมายา ไม่ใช่สนามเด็กเล่น แต่เป็นสมรภูมิรบ และ การผูกสัมพันธ์ไมตรี ทั้งจริงและจอมปลอม

มายา ความหมายของมันช่างลึบลับเหลือเกิน

วงการมายาไม่ใช่ของเล่นทั่วไป เข้าแล้วออกยาก ระวังเอาไว้

Quote from: mahavate on December 28, 2009, 21:34:08
สวัสดีทุกท่านครับผม

วันนี้รบกวนสอบถามเกี่ยวกับสถานที่บูชาศิวลึงค์ขนาดที่พอจะพกพาได้นะครับ ว่าจะพอหาได้ที่ไหน

แล้วก็จะรบกวนขอความเห็นเกี่ยวกับการพกพาศิวลึงค์ ว่าควรไว้ที่ส่วนไหนของร่างกาย (เช่น ห้อยคอ คาดเอว ฯลฯ) นะครับ


ขอบคุณมากครับผม

ถ้ากรณีนี้ ผมแนะนำ"ปลัดขิก"ดีกว่าครับ

ศิวลึงค์ ไม่มีใครเขาเอาติดร่างกายหรอก กระเป๋ากางเกงก็ไม่มี เอามาห้อยคอ คาดเอว ก็เปนการใช้ผิดวัตถุประสงค์

ถ้าต้องการห้อยคอ คาดเอว แนะนำปลัดขิกนั่นแหละ

ปกติศิวลึงค์เขาเอาไว้บูชาที่บ้านหน่ะครับ

...

ป.ล.
ค.ห.ข้างบนเป็นมุกนะครับ อย่าเอามาทูนหัว หรือสวมคอเลยครับ

ป.ล.2
ผมแนะนำให้ถามพราหมณ์ที่โบสถ์พราหมณ์ หรือที่โบสถ์เทพมณเฑียร หรือไม่ก้อวัดแขก ถามเลยว่าห้อยคอ คาดเอว ได้หรือไม่
จะได้คำแนะนำที่ถูกต้องครับ

เออ...ขอโทษนะครับ ไม่แน่ใจจริงๆว่า ศิวะลึงค์กับปลัดขิกเนี่ย เหมือนกันเหรอครับ

ไม่เหมือนหรอกครับ

ปลักขิด มันมีไว้ห้อย ไว้โชว์ ให้คุณด้านเมตตามหานิยม

ส่วนศิวลึงค์ เป็นสิ่งแทนองค์พระศิวะ ต้องจัดหาที่วาง สรงน้ำ หาดอกไม้มาบูชา

ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำครับผม แต่ผมคิดว่าน่าจะพกพาได้นะครับ


ขออนุญาตยกบทความนี้มานะครับ


ในหนังสือ “เทวนิยาย” ของ ส. พลายน้อย ได้บันทึกเอาไว้ว่า นักวิชาการระดับปราชญ์ของอินเดีย แบ่งศิวลึงค์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ “จลลึงค์” (ศิวลึงค์ที่เคลื่อนย้ายได้) กับ “อจลลึงค์” (ศิวลึงค์ที่เคลื่อนย้ายไม่ได้)

“อจลลึงค์” มักเป็นศิวลึงค์ขนาดใหญ่ ทำด้วยหินหรือศิลาแลง จึงมีความแข็งแรงมั่นคง ยากต่อการเคลื่อนย้าย ขณะที่ “จลลึงค์” จะเป็นศิวลึงค์ขนาดเล็กประเภทวัตถุบูชา สามารถนำติดตัวพกพาไปไหนมาไหนได้

ไม่เพียงเท่านั้น ปราชญ์อินเดียยังจัดแบ่ง “จลลึงค์” ออกเป็น 6 ประเภทย่อยๆ ตามวัสดุที่นำมาทำศิวลึงค์ ดังนี้…

“มลินมยลึงค์” ทำด้วยดิน เอาไปเผาหรือไม่ก็ได้ แต่มีข้อกำหนดตายตัวว่าต้องใช้ดินขาว รวบรวมจากยอดเขาหรือริมฝั่งแม่น้ำ เอามาผสมกับนม เนย ฆี แป้งที่ทำจากข้าวบาร์เลย์หรือข้าวสาลี เปลือกต้นน้ำนม ไม้จันทน์บดเป็นผงและปรอท ปั้นเป็นรูปร่างตามต้องการ เก็บไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน ค่อยนำมาใช้ ว่ากันว่าศิวลึงค์ประเภทนี้สามารถป้องกันเวทมนตร์ได้

“โลหะปะลึงค์” ชื่อก็บอกชัดเจนว่าทำด้วยโลหะ หลักๆ ก็มักทำจากโลหะ 8 ชนิดคือ ทอง เงิน ทองแดง เหล็ก ตะกั่ว ดีบุก โลหะที่ทำระฆัง (ทองแดง 3 ส่วน ดีบุก 1 ส่วน) และทองเหลือง

“รัตนปะลึงค์” ทำหรือแกะสลักจากหินรัตนชาติ เช่น มุก กัลปังหา เพชรตาแมว แก้วผลึก บุษราคัม มรกต และ นิล

“ทารุปะลึงค์” ทำด้วยไม้ ชนิดที่ดีเป็นพิเศษคือไม้ขนุน ที่ถูกโฉลกรองลงมา ได้แก่ ไม้สมี กรรณิการ์ โพธิ์ อุทุมพร (มะเดื่อ) เอาเปลือกออกใช้แต่เนื้อไม้ นอกจากนั้นบางพื้นที่ได้เพิ่มไม้จันทน์ สาละ มะตูม และพุทธ เอาไว้ด้วย

“ไศลปะลึงค์” ทำจากหิน แต่ต้องมีขนาดเล็ก พกติดตัวได้

พกพาได้ครับ

แต่ไม่ได้เอาใส่กระเป๋ากางเกง หรือห้อยคอ

ปกติผมก็ เคยพกพาเอาติดตัวตลอด เป็นศิวลึงค์ ขนาดใหญ่กว่า หัว แม่มือหน่อย ได้ มาจากแม่ถ้วย นางโชว์


ก็ อยู่ ในหมวดของ ศิวลึงค์ ที่เคลื่อนย้ายได้ อั่น แหระ คร้าฟ ......   อันนิ่ เป็นความเห็นส่วนตัว นะคร้าฟ
...