Loader

พระทัตตะเตรยะ (พระตรีมูรติ)

Started by ลองภูมิ, February 08, 2009, 20:29:21

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

ใช่องค์นี้หรื่อเปล่าครับ รบกวน สอบถามผู้รู้ด้วยครับ





ฤๅษีทุรวาส ปรากฎเรื่องตั้งแต่อวตารของพระวิษณุปางที่2คือ"กูรมาวตาร" พระอินทร์ถูกฤๅษีทุรวาสสาปให้ต่อไปเทวดารบแพ้อสูร เลยต้องทำพิธีกวนน้ำอมฤต 

แล้วเรื่องฤๅษีทุรวาสมียาวถึง"กฤษณาวตาร"
นางกุนตีดูแลฤๅษีทุรวาสอย่างดี ท่านเลยให้พรว่าถ้าอยากมีลูกกับเทพองค์ไหนสามารถเชิญมาได้......ฤๅษีตนนี้มีอายุยืน มาถึงปางที่6-7ก็ไม่แปลกอะไร

แต่คิดว่าฤๅษีทุรวาสที่เป็นฤๅษีปากจัด ไม่ได้เกิดจากนางอนะสูยาแน่ๆ เพราะเรื่องนางอนะสูยาปรากฎตั้งแต่พระปรศุราม(ปางที่6)และต่อมาถึงปางที่7

ฤๅษีสมัยก่อนชื่อเหมือนๆกันก็มี ฤๅษีเคาตมะ(โคตมะ) ฤๅษีนารท(ในชาดก) ฤๅษีภารทวาชะ  ฯลฯ

ฤๅษี"ทุรวาส"ที่เกิดจากนางอนะสูยา อาจไม่ใช่องค์ที่ปากจัดๆอย่างที่ปรากฎในตำนานกวนเกษียรสมุทร และเรื่องศกุนตลา.......รึเปล่า???

ขอตอบท่านเจ้าของกระทู้ก่อนครับ ภาพที่นำมาให้ชม

เป็นภาพของพระตรีมูรติ ถูกต้องแล้วครับ ผมคิดว่าผู้สร้างคงนำแบบ หรือสร้างแบบจากองค์จริงที่เซ็นทรัลเวิลด์ครับ

ส่วนว่านางอนสูยา เป็นใคร คำตอบก็คือเป็นมารดาแห่งพระตรีมูรติครับแต่ว่า

เท่าที่ผมผูกเรื่องราว ถ้านางอนสูยา เป็นผู้ให้กำเนิดเทพทั้งสาม พระนามแห่ง 3 เทพที่กำเนิดจากนางอนสูยาคือ

วิษณุ นามว่า ทัตตะ
ศิวะ นามว่า ทุรวาสะ
พรหม นามว่า โสมะ

คราวนี้จะพูดถึงแต่เฉพาะนางอนสูยาก็คงไม่ได้ครับ เพราะถูกกล่าวถึงจริงๆ อย่างที่คุณ plawan22 กล่าวครับ คือเริ่มตั้งแต่ภาคปรศุราม (ปางที่ 6) ไปจนถึง รามาวตาร (ปางที่ 8) ครับ แต่ถ้านับกันถึงฤาษีอัตริแล้วฤาษีตนนี้เป็นหนึ่งใน สัปตฤษี ซึ่งถือกำเนิดจากพระพรหม เป็นฤาษียุคแรกๆ มีอยู่ทั้งหมด 7 ตนครับ และตามกำเนิด ฤาษีทุรวาสะ เป็นบุตรแห่งฤาษีอัตริ และฤาษีอัตริมีบุตรเพียงสามองค์ที่ถือกำเนิดจากนางอนสูยาครับ

ดังนั้นผมสรุปตรงนี้ครับว่า ทุรวาสะ หรือ ฤาษีทุรวาส เป็นบุตรที่เกิดจากฤาษีอัตริ และนางอนสูยาครับ

อ้างอิง :

http://en.wikipedia.org/wiki/Atri



แต่ผมคิดว่าใช่นะครับ เพราะว่าฤาษีทุรวาสที่เกิดแต่นางอนสูยา ตามประวัตินั้น เป็นองค์เดียวกับองค์ที่สาปพระอินทร์ แล้วก็ไม่ยอมใคร คือองค์นี้แหละครับ แหะๆๆ

อ้างอิง :

http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://archives.chennaionline.com/columns/LifeHistory/images/Durvasa-01.jpg&imgrefurl=http://archives.chennaionline.com/columns/LifeHistory/history29.asp&usg=__Fy3y_Fg8UfokuVr9OM6FWFl8nL4=&h=200&w=150&sz=9&hl=th&start=4&um=1&tbnid=P6JzPCCatgTbAM:&tbnh=104&tbnw=78&prev=/images%3Fq%3DDurvasa%26hl%3Dth%26sa%3DN%26um%3D1

Quote from: กาลิทัส on November 25, 2009, 16:51:02
แต่ผมคิดว่าใช่นะครับ เพราะว่าฤาษีทุรวาสที่เกิดแต่นางอนสูยา ตามประวัตินั้น เป็นองค์เดียวกับองค์ที่สาปพระอินทร์ แล้วก็ไม่ยอมใคร คือองค์นี้แหละครับ แหะๆๆ

อ้างอิง :

http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://archives.chennaionline.com/columns/LifeHistory/images/Durvasa-01.jpg&imgrefurl=http://archives.chennaionline.com/columns/LifeHistory/history29.asp&usg=__Fy3y_Fg8UfokuVr9OM6FWFl8nL4=&h=200&w=150&sz=9&hl=th&start=4&um=1&tbnid=P6JzPCCatgTbAM:&tbnh=104&tbnw=78&prev=/images%3Fq%3DDurvasa%26hl%3Dth%26sa%3DN%26um%3D1

......

ปางที่8คือกฤษณาวตารครับ(ในเรื่องมหาภารตะ มีอ้างถึงพระราม-นางสีดา) รามาวตารคือปางที่7 เพราะในรามายณะ พระรามเคยพบปรศุราม(ปรศุราม แกอยู่มาถึงปางที่8)

งั้นฤๅษีทุรวาสคืออวตารพระศิวะ ที่ในช่วงอวตารปางที่6หรือปางปรศุราม???
เพราะอรชุนองค์ที่ปรศุรามฆ่าตาย เรียนกับฤๅษี"ทัตตเตรยะ"
ในลิลิตนารายณ์สิบปาง ปางที่6บรรยายว่า
....แถลงเรื่องประวัติ แห่งกษัตริย์ทรงยศ ปรากฎนามอรชุน สุนทรราชฦๅชัย จอมไหหัยชนบท โอรสกฤตะวีรยะ พระจึงมีฉายา การตะวีรยะ คราเมื่อพระยังเยาว์ เอาใจใส่พากเพียร  เรียนศิลปวิทยา ณ อาศรมสำนัก ที่พักพระมุนี มีนามทัตตะไตรย ผู้บุตร์ไท้อัตรี...

แล้วฤๅษีอัตริและนางอนะสูยา ปรากฏในรามายณะ
ในลิลิตฯบรรยายว่า
....ชวนเทวีสีดา อีกอนุชาคู่ใจ ไปเสียจากกุฎี จรลีดั้นดง ตรงไปยังกุฏิ แห่งอัตริมหา พราหมณ์ประชาบดี ไหว้โยคีองค์ขลัง ทั้งอนะสูยา ผู้โสภามหิษี มุนีและชายา เปรมปรีดาไม่น้อย กล่าวถ้อยคำสั่งสอน อีกอวยพรศรีสวัสดิ์ สามกษัตริย์ลาจร เข้าดงดอนเดินไป.....

.......

ฤๅษีทุรวาสที่ด่าเก่งๆหรือขี้โมโห มีตั้งแต่ปางที่2 และปรากฎในเรื่องศกุนตลา และปรากฎในเรื่องมหาภารตะในช่วงอวตารปางที่7

แต่ฤๅษีอัตริกับนางอนะสูยา ปรากฎตั้งแต่เรื่องปรศุราม ท้าวอรชุนฝึกวิชากับฤๅษีทัตตะไตรย และพระรามพระลักษมณ์นางสีดาเคยพบฤๅษีอัตริและนางอนะสูยา

...

ถ้าฤๅษีทุรวาสที่เป๋นอวตารพระศิวะองค์เดียวกับที่แช่งพระอินทร์จริงๆ แสดงว่าเรื่องนางอนะสูยาให้กำเนิดบุตรชาย3คน1ในนั้นชื่อทุรวาส ต้องเป็นเหตุการณ์ก่อนอวตารปางที่8จะเกิดขึ้น

คิดว่าเกิดก่อนครับ เพราะจริงๆ แล้ว ฤาษีทุรวาสนั้นเกิดก่อนการกวนเกษียรสมุทรเสียอีกครับ

ใน พรหมนันทะปุราณะ ก็ระบุเอาไว้ครับ ว่าก่อนที่นางอนสูยาจะให้กำเนิดบุตรทั้งสามนั้น พระศิวะทรงพิโรธพระพรหม(ตรงนี้ไม่ชัวร์ว่าพระอะไร) อยู่ครับ

จนกระทั่งพระแม่ปารวตีทรงเข้ามาอธิบายสิ่งต่างๆ ให้พระองค์ผ่อนลง และด้วยแรงแห่งความพิโรธนั้นเองครับ ที่ทำให้กำเนิดทุรวาสะ ครับ ดังนั้น ฤาษีทุรวาสที่เป็นอวตานหนึ่งของพระศิวะ จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้มีไม่ทนทานต่อสิ่งใด และ โกรธง่ายครับ เนื่องจากเกิดจากแรงโทสะแห่งศิวะมหาเทพครับ และด้วยความโกรธ จึงชอบสาป ((แหะๆๆ))

ส่วนสกุลตรานั้น เรื่องราวนี้ถูกแต่งขึ้นโดยท่าน กาลิทาส ครับ ((จริงๆท่านชื่อเดียวกะ USermane ผมนี่แหละ ภาษาอังกฤษเขียนว่า kalitas ถ้าออกเสียงจริงๆ ก็คือ กาลิทาสะ แต่เอาแบบทันสมัย เลยกลายเป็น กาลิทัส อิๆๆ))

ลองอ่านดูในนี้นะครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Durvasa

ค่อนข้างละเอียดครับ เกี่ยวกับกำเนิดของทุรวาส และอื่นๆ ครับ รวมไปถึงเรื่องนางสกุนตลาด้วยครับ

จริงๆ แล้วปุราณะต่างๆ มันเชื่อมกันไปหมด จับแยกเป็นปุราณะไม่ได้ครับ ไม่ง้านมันปะติดปะต่อยากมากมาย

เกี่ยวกับช่วงเวลาที่ซ้ำซ้อน

แค่เรื่องทุรวาสเรื่องเดียวรู้สึกจะมีสี่หรือห้าปุราณะครับที่ต้องเอามาเชื่อมกัน ลองอ่านปัทมาปุราณะ แล้วมาอ่านวิษณุปุราณะ ยังมึนๆ เหมือนกันครับ

ผมมะได้ลบหลู่นะครับ

แต่ผมเคยศึกษาข้อมูลเทพหรือฤๅษีต่างๆในปุราณะต่างๆ แล้วลองเทียบเหตุการณ์ เทียบกาลเวลา ผมจับต้นชนปลายไม่ถูกจริงๆ

แต่ผมงงที่ว่า เรื่องนางอนะสูยากับบุตร3คน เป็นเหตุการณ์ช่วงไหน อวตารพระวิษณุปางที่เท่าไร????

เอาอย่างงี้ครับ

จริงๆ เลยชื่อของพระอนสูยา นี่ถ้าเอาตามปุราณะจริงๆ จะเห็นว่าจะปรากฎนามนี้ครั้งแรกตั้งแต่พระวิษณุในภาคของ "กูรมาวตาร" คือภาคที่พระองค์อวตานมาเป็นเต่าครับ ระบุเพียงแค่ว่าเป็นคู่ครองของอัตริฤาษี เพียงแต่ว่าปุราณะไม่ได้เอ่ยครับว่า ว่าตรีมูรตินั้นเกิดขึ้นมาช่วงไหนครับ แต่ถ้าเอากันจริงๆ ฤาษีทุรวาสต้องเกิดก่อนการกวนเกษียรสมุทรครับ

อันนี้ผมเสริมในมิติทางประวัติศาสตร์ อีกอย่างแล้วกันนะครับ

คือเรื่องพระทัตตะ หรือพระทัตตาเตรยะ นั้น ที่จริงแล้วนักวิชาการสันนิษฐานว่า
เป็นคติที่มีเฉพาะถิ่นเท่านั้นนะครับ โดยแตกแขนงอ้างมาจากปุราณะบางเล่ม แล้วมาขยายความต่อ หรือในทางกลับกัน คือเอาตำนานท้องถิ่นเข้าไปผนวกกับปุราณะ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติในอินเดียครับ

ซึ่งมีการสันนิษฐานกันว่า พระทัตตาเตรยะ เป็นบุคคลที่อาจมีอยู่จริง และเป็นนักบวชสำคัญในนิกาย อไทฺวตเวทาตะของท่านศังกราจารย์
ที่มาเผยแพร่ลัทธินี้ในแคว้นมหาราษฏร์ ซึ้งสันนิษฐานว่า ท่านอาจเป็นนักบวชนามว่า ท่านสวามี นรสิงห สรัสวตี เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้รจนาคัมภีร์
"อวธูตคีตา " เป็นคัมภีร์ปรัชญาลึกซึ่ง แสดงทัศนะแบบอไทฺวตเวทานตะอย่างชัดเจน

เรื่องราวของพระทัตตะ หรือท่านสวามี นรสิงห สรัสวตี ปรากฏในคัมภีร์พื้นบ้านชื่อ คุรุจริต แปลว่า เรื่องราวของคุรุหรือหมายถึงท่านคุรุทัตตาเตรยะครับ
ในเวลาต่อมาได้มีการสืบลำดับวงศ์ทางศาสนาที่เรียกว่า คุรุปรัมปรา และมีการตั้ง ปีฐ หรือตำแหน่ง หรือสำนักทางศาสนาขึ้น เรียกว่า ทัตตะปีฐ สืบต่อๆกันลงมา ศิษยานุศิษย์รุ่นหลังได้ถือว่าท่านเป็นพระเป็นเจ้าทั้งสามพระองค์อวตารสอนสั่งลัทธิอไทฺวตะให้เข้มแข็งขึ้นอีก
ดังนั้นคนในแคว้นมหาราษฏร์ จึงถือว่าท่านทัตตะ ดำรงอยู่ในสองสถานะ คือ พระตรีมูรติที่อวตารมาในรูปเดียวกัน และเป็น คุรุที่สำคัญครับ

แต่คตินี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าไหร่ในอินเดียและนอกอินเดีย

จึงมีความพยายามที่จะโปรโมทท่านคุรุทัตตะ ผ่านสื่อต่างๆ เช่นภาพยนตร์ ดังที่เข้ามาฉายในเมืองไทย มีการอ้างอิงถึงปุราณะต่างๆ และการสร้างวัดใหม่ๆของท่าน ผมยังเคยเห็นโบสถ์ท่านที่ใหม่ๆจำนวนมากมายในแคว้นมหาราษฏร์ครับ

ต้องไม่ลืมนะครับว่า ปุราณะในอินเดีย ไม่ได้เขียนจบในวันเดียว ต่างเขียนกันมาเรื่อยๆ เติมสีใส่เนยกันไป ขัดกันเองบ้าง ทำเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างบ้าง กรณีเรื่องของพระทัตตะ เป็นตัวอย่างที่ดีของการแสดงให้เห็นว่า มีการต่อเติมเสริมความปุราณะให้เข้ากับเรื่องราวของชาวบ้าน หรือเอาส่วนเ็ล็กๆในปุราณะมาช่วยให้นิทานชาวบ้านน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

ตรีมูรติตามทฤษฎีของศาสนาฮินดู คือ พระเป็นเจ้าหนึ่งเดียว(อีศวร หรือ สคุณพรหมัน) ปรากฏออกมาทำหน้าที่ในสามลักษณะ คือ สฤษฏิ์ ธำรง และประลัย ได้แก่พระเป็นเจ้าทั้งสามองค์คือ พระพรหมา วิษณุ มเหศวรศิวะ นั่นเอง โดยไม่ต้องเอามารวมกันเป็นองค์เดียว

[HIGHLIGHT=#f4f4f4]เล่าเรื่องพระทัตตะเตรยะต่อ ค้างตั้งแต่ปีที่แล้ว ต่อไปเป็นตอน  [/HIGHLIGHT]


[HIGHLIGHT=#f4f4f4]ตามพระมรกันเทยะปุราณะ[/HIGHLIGHT]



เรื่องมีอยู่ว่า ณ แคว้น ปรติสสถาน ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งพระนามว่า พราหมณ์เกาศิก เขาเป็นโรคเรื้อนเกี่ยวเนื่องจากกรรมเก่าของเขา นางสุมติ ผู้เป็นสาวกพรหมจารินของเขา นางได้ปฏิบัติรับใช้สามีเหมือนดั่งเทพเจ้าตามขนบประเพณี นางรับใช้ต่อสามีทุกอย่าง เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อทำให้สามีมีความสุขและพอใจ ด้วยการอาบน้ำชำระร่างกายสามีอย่างไม่รังเกียจต่อโรคเรื้อน ล้างเท้าสามี สวมใส่เสื้อผ้าและป้อนอาหารต่อสามี นางได้ทำความสะอาดบาดแผลและล้างร่างกายสามีทุกวันด้วยความเคารพสูงสุด นางได้บีบนวดแขนขาของสามีและพูดจาด้วยความเคารพและสงสาร นางได้สวดมนตร์เพื่อให้สามีของนางได้หายจากโรคร้ายนี้เสมอ

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่านางจะปรนนิบัติรับใช้ต่อสามีด้วยความเคารพบูชาอย่างยิ่งใหญ่ สามีของนางก็ยังโกรธ และใช้ถ้อยคำอันหยาบคายด่าว่าภรรยาเสมอและเป็นประจำ แต่กระนั้น นางผู้เป็นภรรยาซึ่งเคารพสามีดั่งเทพเจ้าและไม่เคยโต้ตอบหรือรังเกียจชังสามี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม

ในราตรีหนึ่ง พราหมณ์สามีผู้ป่วยไข้ได้มีคำสั่งให้ภรรยาของเขานำตัวเขาไปยังครอบครัวของหญิงงามเมืองนางหนึ่ง เมื่อเห็นว่าสามีของนางเจ็บป่วย แต่ด้วยความรัก นางสุมติ นางผู้เกิดในตระกูลผู้ดีสูงส่ง ได้ร้องไห้อยู่สักครู่ใหญ่ ต่อมานางได้ตัดสินใจช่วยให้สามีของนางสมความมุ่งหมายและนำพราหมณ์เกาศิก แบกขึ้นหลังของนาง ออกเดินทางในราตรีที่มืดมิด ทั้งที่ฝนตกฟ้าผ่าอย่างหนัก แต่ก็ไม่ได้ทำให้นางย่อท้อแต่อย่างใด ขณะที่นางแบกพราหมณ์เกาศิกเดินผ่าน อาศมแห่ง ฤษี มันทวะ ขณะนั้นฤษีมันทวะกำลังทำสมาธิอย่างลึกซึ้ง ความมืดทำให้เท้าของสามีไปแตะถูกท่านฤษีโดยไม่รู้ตัว  แต่ใจนางขณะนั้นได้แต่คิดว่า เราคงถูกโจรป่าดักปล้นเป็นแน่แท้

ฝ่ายฤษีที่นั่งบำเพ็ญพรตก็เกิดความโกรธขึ้น ด้วยว่าถูกลบหลู่ ในขณะที่กำลังบำเพ็ญตบะ ก็ได้ร้องสาปแช่งออกไปว่า “ใครบังอาจใช้เท้าแตะข้า มันผู้นั้น ต้องตายในตอนรุ่งอรุณ”

เมื่อนางได้ยินคำสาปแช่งของท่านฤษี ก็ตกใจเป็นอย่างมาก ด้วยใจว่ารักและเคารพสามีดั่งเทพเจ้าตลอดชีวิตของนาง นางจึงได้ยกแขนขึ้นแล้วชี้ไปที่บนท้องฟ้า แล้วประกาศว่า “ถ้าการได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นจะทำให้สามีของข้าตาย ก็ขอให้พระอาทิตย์อย่าได้บังเกิดแสงพระอาทิตย์อีกต่อไปเลย “นางได้พูดครั้งแล้วครั้งเล่า “พระอาทิตย์จะไม่ขึ้นมาอีก”

ด้วยความรักและศรัทธาต่อสามีสูงสุดของนางสุมติ ร้อนไปถึงพระบิดาพระพรหม พระองค์จึงมีรับสั่งให้เหล่าเทวะทั้งหลายได้เข้ามาฟัง เพื่อรับสั่งว่า จงไปหานางอันสุยะ นางผู้เป็นภรรยาฤษีอัตริ พระมารดาแห่งทัตตะเตรยะ  นางผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตา นางจะเชื่อใจในนางภรรยาผู้ซื่อสัตย์แห่งพราหมณ์เกาศิก และนางจะช่วยให้โลกได้รับความผาสุกจากแสงอาทิตย์

ด้วยคำบัญชาของพระพรหม เหล่าเทวะทั้งหลายได้เดินทางมายังอาศมของนางอันสุยะ นางผู้เป็นพราหมณ์อันบริสุทธิ์ และได้แจ้งข่าวของการมา เมื่อนางได้ฟังแล้วพิจารณา นางได้กล่าวว่า “โอ่ เทวะทั้งหลาย นางผู้เป็นภรรยาผู้เทิดทูนสามีดั่งเทพเจ้าของตน นางทำไปด้วยเพราะรัก ข้าจะไปช่วยนางให้หลุดพ้นจากคำสาปนี้เอง”

นางพราหมณ์อันสุยะได้ออกเดินทางเพื่อไปหาพรมหมณ์เกาศิกและนางภรรยาผู้ซื่อสัตย์ของเขา

ครั้งมาถึง นางสุมติได้ต้อนรับนางพราหมณ์ด้วยความปิติยินดีในการเยือนของนางในครั้งนี้ และถวายผลไม้ ดอกไม้ต่อนางพราหมณี

นางพรมหมณีอันสุยะได้กล่าวขึ้นว่า “โอ่ นางผู้มีจิตใจดีงามซื่อสัตย์ คนทั้งหลายได้รับผลบุญจากการที่ได้ประกอบพิธีกรรมบวงสรวงต่างๆ การอุทิศให้ทาน การทำสมาธิกรรมฐาน ครั้งหนึ่งแห่งบุญทั้งหลายนี้ ได้ตกไปสู่ยังผู้หญิงซึ่งได้เชื่อฟังคำสั่งสอนของสามีของพวกนาง ไม่มีสิ่งใดที่แตกต่างจากการรักษาซึ่งวินัย หรือพิธีกรรมบูชาไฟ การอุทิศทานอาหารในงานพิธีศพต่อบรรพบุรุษ สำหรับผู้หญิงทั้งหลาย โอ่นางผู้มีจิตใจงดงาม ความซื่อสัตย์และการเชื่อฟังคำสั่งสามีของนาง นำมาซึ่งความยิ่งใหญ่แห่งพรของเทพเจ้า”

เมื่อนางพราหมณีพูดจบ นางผู้เป็นภรรยาของพราหมณ์เกาศิกได้ตอบว่า

“ข้าแต่พระมารดาอันสุยะ พระองค์ได้เพิ่มพูนความสัตย์ซื่อและความบริสุทธิ์ของข้าพเจ้าให้มากขึ้น พระนางนำพรอันยิ่งใหญ่มาสู่ยังข้าพเจ้าและสามี โดยการแสดงธรรมศาสนาของพระองค์ ขอให้โปรดช่วยเหลือข้า ว่าข้าจะทำอย่างไรต่อไปดี”

นางอันสุยะได้กล่าวว่า “โอ่ นางผู้มีชื่อเสียง พระพรหม และเทวะทั้งหลาย กำลังวิตกกังวลด้วยการขาดพระอาทิตย์และแสงสว่างของพระองค์เอง เทวะทั้งหลาย ต้องการให้มีการเป็นไปอย่างเดิม แห่งกลางวันและกลางคืน พิธีกรรมบูชาและการกระทำที่ดี จะต้องดำเนินต่อไปดังเดิม เทวะทั้งหลายขอร้องต่อนางเพื่อให้เป็นไปตามธรรมชาติแห่งกลางวันและกลางคืนดั่งที่เคยเป็นก่อนที่นางจะได้กล่าวคำทั้งหลายออกมา”

“โอ่ นางพราหมณี ตามคำที่ท่านได้กล่าว พระอาทิตย์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ด้วยเหตุนี้ การขาดกลางวัน จึงไม่มีการประกอบพิธีบวงสรวงทางศาสนาทั้งหมดขึ้น ดังนั้น บรรดาบรรพบุรุษและพวกเทวะทั้งหลายจะไม่ได้รับความเจริญรุ่งเรื่องสิ่งใดเลย เพราะว่าปวงชนทั้งหลายไม่ได้ประกอบพิธีสวดมนต์และประกอบพิธีทานของพวกเขาต่อเทพเจ้า เว้นแต่การกระทำในระหว่างเทวะและมนุษย์ชาติจะจัดตั้งใหม่ โลกจะสูญสิ้นอันเกิดจากสาเหตุความแห้งแล้ง ดังนั้น นางผู้ยิ่งใหญ่ ขอนางได้ช่วยเหลือโลกนี้ ขออนุญาตให้โลกนี้ได้รับแสงสว่างดั่งเดิมด้วยเถิด”

นางภรรยาพราหมณ์เกาศิกได้ตอบว่า “แล้วสามีของข้าพเจ้าเล่าจะเป็นอย่างไร คำสาปของท่านฤษี มันทวะยะจะฆ่าเขาในทันที ที่พระอาทิตย์ขึ้น”

นางพราหมณีอันสุยะได้กล่าวว่า”อย่าปล่อยให้ดวงจิตต้องหม่นหมองเป็นทุกข์เลย โอ่นางผู้เจริญแล้ว ข้าจะมอบผลบุญและสวดมนต์ต่างๆเพื่อนำชีวิตของนางให้กลับมา ข้าให้คำสาบานในนามของเทพเจ้า ขอได้โปรดคืนพระอาทิตย์กลับมาด้วย”

“ตัตตะสุต TATASTU “ขอให้เป็นตามที่ขอมา” นางภริยาพรมหณ์เกาศิกให้พร

นางทั้งสองได้เรียกพระอาทิตย์ ด้วยการสวดมนต์ เพื่อให้รับหน้าที่เป็นผู้นำแห่งสุริยคติ เมื่อพระอาทิตย์ได้เริ่มจับขอบฟ้าขึ้นช้าๆทางเขาพระสุเมรุ พราหมณ์เกาศิกได้ขาดใจลง นางสุมติผู้เป็นภรรยาได้ร้องไห้อย่างหนัก

นางพราหมณีอันสุยะได้ปลอบโยนนางสุมติว่า นางได้เก็บรักษาดวงวิญญาณของสามีแล้ว แล้วนางพราหมณีอันสุยะก็เริ่มประกอบพีธีกรรมทันที นางพรหมณีอันสุยะได้สวดมนต์ของนางและพรมน้ำมนต์ทางศาสนาลงที่ใบหน้าของพรหมณ์เกาศิก โดยพูดว่า ขอให้พรหมณ์ผู้นี้เป็นอิสระจากความเจ็บป่วยด้วยเถิด

ด้วยอำนาจของนางพรหมณีอันสุยะ พรหมณ์เกาศิกได้ฟื้นคืนร่างขึ้นมาใหม่ เขามีความสงบเสงี่ยม ใบหน้าเปลี่ยนเป็นคนหนุ่ม โรคร้ายที่เป็นอยู่ก็หายไปหมดสิ้น ความสุขของนางผู้เป็นภรรยาของพรหมณ์เกาศิกได้กลับคืนมาอีกครั้ง

ในเวลาต่อมา พระพรหม พระวิษณุเทพ พระศิวะเทพ และเหล่าเทวะทั้งหลายได้เสด็จลงมาสู่นางพรหมณีอันสุยะ และมีรับสั่งว่า

“โอ่ นางผู้มีจิตใจเมตตา นางได้นำเอาดวงวิญญาณของพรหมณ์เกาศิก ให้กลับฟื้นคืนมีชีวิตและทำให้นางผู้เป็นภรรยาของเขามีความสุขได้อยู่ร่วมกับสามีดั่งเดิม นางทำให้ระบบสุริยะจักรวาลกลับสู่ปกติให้ชีวิตต่อมนุษย์โลก นางได้รักษาซึ่งอาณาจักรโบราณทั้งหมดเอาไว้ ดั้งนั้นด้วยผลบุญนี้ขอให้นางปรารถนาอยากจะได้อะไร พวกเราจะประทานพรให้นั้นให้ต่อนางอันสุยะ”

นางพรหมณีอันสุยะได้กราบทูลขอว่า “ข้าแต่เทวะทั้ง3 โลก พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ถ้าพระองค์ทรงโปรดด้วยหม่อมฉัน ที่จะทรงประทานพรอันยิ่งใหญ่ให้แล้ว ก็ขอให้พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เทวะทั้ง 3 พระองค์จึงถือกำเนิดมาเป็นพระโอรสของหม่อมฉันและสามีอัตริ ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงสุด โดยการที่ได้รับใช้ปรณนิบัติพระองค์ทั้ง 3 ที่ทรงถือกำเนิดเป็นพระราชโอรสของเราทั้งสองด้วยเถิด”

เทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ทรงได้รับคำขอนี้และทรงให้พรแก่นางโดยตรัสขึ้นว่า “ ตัตสตุ ขอให้พรนี้แก่นาง

จงเป็นตามนั้นเถิด”    ....................


จบอีกตอนหนึ่งแล้ว  ต่อไปจะไปยังเรื่องราวของภาคอวตวร แห่งพระสัทคุรุ ทัตตะเตรยะ ซึ่งมีทั้งหมด 16 ภาคอวตาร  .....

ขอบคุณที่นำเรื่องมาลงต่อนะคร๊าบบบ  รอมานานแล้วเหมือนกัน อิอิอิ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ภาคอวตาร แห่งพระสัทคุรุ ทัตตะเตรยะ

INCARNATION OF SADGURU DATTATREYA

จากความสัตย์จริงที่ไม่มีวันรู้จบหรือเทวะ ,พลังอำนาจเสียงแห่งพระองค์ “โอม” และแสงสว่างแห่งความรู้ความฉลาดที่ปรากฏขึ้น อำนาจแห่งการสร้างแห่งพระองค์ ที่เรียกว่า พระมายา ( MAYA) สร้างการไร้รูปร่าง ไร้พระนาม เพื่อการให้กำเนิดพระนามและรูปร่างที่จะเห็นและเข้าใจได้ ดังนั้น อันความสัตย์ที่ทรงแบ่งภาคมาเป็นพระพรหม       (พระผู้สร้าง) พระวิษณุเทพ (พระผู้อนุรักษ์) และพระศิวะ (พระผู้ทำลายล้าง) คำว่า “โอม” “”หมายถึง พระวิษณุ   ,  “” หมายถึงพระพรหม  , “” คือพระศิวะเทพ อันความสัตย์ที่ไร้รูปร่างได้แปลงภาคเป็นเทวะทั้งสามพระองค์ สามหัวข้อแห่งพระพลังการสร้าง อันมี 3 ลักษณ์ ห้อมล้อมทั้ง 3 พระองค์  3 พระลักษณะ  มีชื่อเรียกกันว่า
1.    พระสัตตะวะ (SATTVA ) เที่ยงตรง ,พระวิษณุเทพ
2.    พระราชัส  (RAJAS) ความโลภ โกรธ หลง ,พระพรหม
3.    พระตัมส์ (TAMAS) การอยู่ นิ่งเฉย , พระศิวะ
สาระที่สำคัญก็คือ เทพเจ้าที่ทรงเป็นพระองค์เดียว ทรงมีซึ่งความสัตย์ ทรงเป็นธรรมชาติแห่งความมั่นคงที่แท้จริง , ความรู้ความฉลาด , ความเมตตา ที่แท้จริงด้วยพระนามและรูปร่าง ความสัตย์ที่ทรงได้ปรากฏใน 3 รูปลักษณะ

ภาคอวตารครั้งแรกของพระองค์ก็คือ พระโยคีราช (YOGIRRAJA)

เพื่อการสร้างโลกให้ดำเนินและปรากฏอยู่นานเท่านาน พระพรหมทรงสร้างพระโอรสขึ้นมา 7 พระองค์จากดวงจิตของพระองค์ (MANASA-PUTRAS) ในระหว่างพระราชโอรสทั้งหมด ท่านฤษีอัตริ (ATRI) ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ท่านฤษีได้สมรสกับนาง อันสุยะ (ANSUYA) ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระฤษีกรรทัม (KARDAMA) เพื่อที่จะทรงให้กำเนิดพระราชบุตรแห่งสวรรค์ขึ้นมา  ,   ท่านฤษีอัตริ พร้อมด้วยภรรยาจึงได้ประกอบพิธีบวงสรวงขึ้น ณ เทือกเขา ริกษะ (RISKSHA) ซึ่งอยู่ในภูเขาหิมาลัย ด้วยการกระทำสมาธิอย่างยาวนาน จนเป็นที่พอพระทัยของเทพเจ้า เทพเจ้าจึงทรง อวตารลงมาเป็นบุตรบุญธรรมของฤษีอัตริ ในพระนามว่า พระราชโยคี (กษัตริย์แห่งโยคี) ซึ่งนับได้ว่าทรงเป็นภาคอวตารครั้งแรกแห่งเทพเจ้าของทั้งสามพระองค์ โดยทรงมีรูปลักษณ์งามและบริสุทธิ์เหมือนดั่งผลึกแก้วใส   
(พยายามนึกภาพเอานะครับตามจินตนาการ) จบการอวตารครั้งแรก ต่อไปจะพบกับการอวตารครั้งที่ สอง

ภาคอวตารที่ 2 ของพระทัตตะเตรยะ ซึ่งรู้จักกันในนามพระนามว่า “พระอัตริ-วรัท”
เรื่องราวมีอยู่ว่า หลังจากพระฤษีอัตริได้ทำสมาธิอยู่นานหลายสิบปี ในภาคอวตารครั้งแรกของเทพเจ้าเป็นพระราชโยคี  ความร้อนที่เผาไหม้เกรียม ได้ปรากฏออกมาจากศรีษะของท่านฤษีอัตริ เนื่องจากพลังแห่งการประกอบสมาธิกรรมฐาน จึงทำให้เกิดควันร้อนแผ่กระจายไปทั่วโลกทั้งหลาย  ด้วยเหตุแห่งนี้ เหล่าเทวะแห่งสวรรค์ จึงได้ไปขอความช่วยเหลือจาก เทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือพระพรหม พระวิษณุเทพ พระศิวะเทพ
เมื่อเทพเจ้าทั้งสามจึงทรงเสด็จไปปรกฏตาหน้าท่านฤษีอัตริ และให้พรแก่ฤษี โดยทรงแสดงความรู้แห่ง 3 ใน 1 แห่งเทวะทั้งสามของศาสนา ฤษีอัตริได้กราบไหว้บูชาพระองค์ พระองค์จึงทรงสมมุติรูปร่างอันอัศจรรย์ บังเกิดรวมกันเป็นหนึ่งองค์ โดยมีรูปร่างเดียวกัน และมี 3 เศียร 6 กร พระกรของพระองค์ทรงถือลูกประคำ ที่พระหัตถ์ขวาล่าง ทางด้านพระหัตถ์ซ้ายล่าง ทรงถือหม้อน้ำ กมันทลุ (KAMANDARU) ส่วนพระหัตถ์กลางขวา ทรงถือ บัณเฑาะ (DAMARU) ทางด้านพระหัตถ์กลางซ้ายทรงถือ ตรีศูล ในพระหัตถ์ขวามือบนทรงถือ จักรสุทรศัน  (SUNDARSHANA CHAKRA) และทรงยังถือตะบอง หอยสังข์ (ปัญจชัญ PANCHASANYA) เพื่อทรงจะได้ปกป้องแด่เหล่าบริวาลผู้นับถือทั้งหลาย เพื่อไว้ทำลายล้างความชั่วร้ายและความโง่เขลาเบาปัญญา

ในการอวตารมาครั้งนี้  “อัตริ- วรัท”แห่งพระทัตตะเตรยะ ได้กล่าวถึงการมาและให้พรแก่ท่านฤษีอัตริให้พบความสุข  ท่านฤษีอัตริและภรรยา ได้กราบบูชาต่อพระทัตตะเตรยะ แล้วฤษีอัตริได้กล่าวเสมือนดังกับพระบุตรของท่านเอง

เทพอวตารทรงยินดีและทรงได้แปลงองค์อีกครั้ง เป็นพระกุมารน้อย ในลักษณะเปลือยกายแห่งความสัตย์    ( เรื่องนี้เกิดขึ้นในวันศุกร์ และวันนั้น ดวงดาว มฤคเศรษะ (MRIGASHEERSHA) ได้ขึ้นเป็นประธานอยู่บนท้องฟ้า ในวันนั้นเป็นวันข้างแรมแห่งเดือนการติก (KARTIKA) 

ยังไม่จบนะครับ ตอนต่อไปจะเป็นภาคที่ 3 แห่งองค์พระทัตตะเตรยะ

พระทัตตะเตรยะ ( DATTATREYA)
ท่านอัตริ ได้ถวายการกราบไหว้บูชาต่อ พระอัตริ-วรัท เพื่อให้พระองค์ทรงโปรด พร้อมด้วยภรรยาของท่าน เพื่อที่จะได้รับพระโอรสที่มีรูปร่างสง่างามเหมือนกับพระองค์ พระอัตริ-วรัท ทรงให้คำมั่นสัญญาต่อท่านฤษีอัตริว่า จะไม่มีผู้ใดเหมือนพระองค์ได้อีกต่อไปแล้ว พระองค์ทรงอวตารลงมาด้วยพระองค์เองมาเป็นพระราชโอราชของพวกเขา เมื่อทรงมีรับสั่งดังนี้ พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ โดยแปลงองค์เป็นทารกน้อยในร่างเปลือยเปล่า ( พระทิคัมพร ) พระกุมารทรงมีแสงสุกสว่างเป็นรัศมีดั่งแสงไพริน ทรงมีพระพักตร์กลมโตดั่งพระจันทร์ เต็มดวง มี 4 พระกร ภาคอวตารนี้ทรงแปลงเป็นพระทัตตะเตรยะที่แท้จริง นับว่าเป็นภาคอวตารที่ 3 แห่งเทวะทั้ง 3 พระองค์ เรื่องนี้กำเนิดเกิดขึ้นในข้างแรม เมื่อดวงดาวพระเคราะห์มฤคเศรษะมีอำนาจสุกสว่างตรงกับวันศุกร์ ในช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น และยังเป็นการเกี่ยวโยงไปตามคำขอของท่านฤษีทุรวาส ( DURVAASA) ซึ่งขอให้เทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์อวตารมาในรูปร่างเดียวกัน  ซึ่งกาลหนึ่ง พระรุทร (RUDRA) เป็นส่วนหนึ่งแห่งพระศิวะ , พระจันทร์ ( CHANDRA) ภาคหนึ่งแห่งพระพรหม และพระทันตะ(DATTA) ภาคหนึ่งแห่งพระวิษณุเทพ

กาลาคนิศมัน (KAALAAGNI SHAMANA)
ภาคอวตารที่ 4 แห่งพระทัตตะเตรยะ ก็คือ พระ “กาลาคนิ ศมัน” เทพเจ้าทรงได้อวตารอีกครั้งในระหว่างเดือน มารกศีรษะ (MARGASHEERSHA) เดือน ธันวาคม ในวันเพ็ญ ตรงกับวันพุธ เมื่อดาวพระเคราะห์ โรหินี (ROHINI) สุกสว่างแจ่มใส เมื่อท่านฤษีอัตริแลเห็นปรากฏการณ์แห่งรัศมีความสัตย์ ที่กำเนิดพระทัตตะเตรยะ ท่านฤษีอัตริมีความต้องการที่จะได้รับพระองค์ไว้เป็นพระราชโอรสของท่าน ด้วยเหตุนี้ ท่านฤษีอัตริจึงได้เริ่มประกอบสมาธิสำรวมขึ้น ด้วยการก่อกองเพลิงเพื่อบูชา   กองเพลิงแห่งโยคะได้พุ่งพวยออกมาจากมวยผมของศีรษะของท่านฤษีอัตริ และทำให้เกิดไฟเผาไหม้ไปทั่วโลก เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ พระทัตตะเตรยะจึงได้อวตารลงมาเป็น พระกาลานิศมัน (พระผู้ทำลายเปลวไฟให้เยือกเย็น)

โยคี-ญาณ วัลลัภ (YOGI-JANA-VALLABHA)
อวตารภาคที่ 5 เพื่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นต่อเปลวไฟแห่งโยคะแห่งโยคะกรรมฐานไม่ใช่ของท่านฤษีอัตริเพียงผู้เดียว แต่รวมถึงเหล่าฤษี นักพรต ดาบสทั้งหลายผู้เกี่ยวข้องที่ผูกพันต่อพระองค์ และต่อโลกทั้งหลายด้วยการทำสมาธิกรรมฐานสวดมนต์ถวายพระองค์ ด้วยว่าพระองค์นั้นทรงโปรดด้วยการสวดมนต์บูชาของพวกเขาทั้งหลาย เทพเจ้าได้ทรงปรากฏองค์เป็นโยคีหนุ่มรูปงาม มีพระนามว่า พระ”โยคี-ญาณ-วัลลัภ” และทรงได้ประทานความผาสุกที่ยิ่งใหญ่ต่อฤษีและเหล่าเทพทั้งหลาย
พระองค์ทรงเสด็จมาในลักษณะท่าทางที่แตกต่างกัน พระองค์จะทรงอยู่กลางเบื้องลึกแห่งกรรมฐาน ในขณะเดียวกันพระองค์จะทรงให้คำแนะนำพวกสาวกและบริวารถึงพระวินัยคำสั่งสอนที่จะได้เข้าถึงความสำเร็จความสำนึกแห่งตนเองที่แท้จริง ในช่วงเวลาอื่น พระองค์จะเป็นผู้มอบคำดำรัสที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาแห่งความสัตย์จริงที่สูงสุด พระองค์ทรงสั่งสอนเกี่ยวกับระยะเวลาแห่งโลกนี้ ซึ่งเปรียบเหมือนป่าทึบอันกว้างใหญ่ อันความรู้สึกอลหม่านของพวกเขานั้น เหมือนกับความสับสนแห่งถนนอันคับแคบของป่านั่นเอง คนเห็นแก่ตัวจะต้องผูกมัดติดอยู่กับสิ่งของ เปรียบได้เหมือนราชสีห์ซึ่งจำเป็นต้องรักษาชีวิตให้รอดในป่าใหญ่  ความโกรธเหมือนดั่งอสรพิษและความหลงใหลเหมือนการติดหล่ม ซึ่งผู้คนผู้เห็นแก่ตนตกอยู่ การที่จะให้หลุดพ้นจากป่าทึบนี้ เขาจะต้องรู้จักการกราบไหว้บูชาเทพเจ้าอย่างแท้จริงโดยมีคุรุและพระธรรมเป็นผู้ให้คำสอน

สาธุค่ะ พี่ตี๋ หลังจากรอมา สามปี สี่ชาติ หายอารมณ์ค้างนิดนึง มาต่ออีกนะคะ  จะรออ่านอีกค่ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


Quote from: แต่ก็มิได้นำพา on November 26, 2009, 11:05:33
ผมมะได้ลบหลู่นะครับ

แต่ผมเคยศึกษาข้อมูลเทพหรือฤๅษีต่างๆในปุราณะต่างๆ แล้วลองเทียบเหตุการณ์ เทียบกาลเวลา ผมจับต้นชนปลายไม่ถูกจริงๆ

แต่ผมงงที่ว่า เรื่องนางอนะสูยากับบุตร3คน เป็นเหตุการณ์ช่วงไหน อวตารพระวิษณุปางที่เท่าไร????

อื่ม เห็นด้วยคร้าฟ เห็นด้วย งง ไปหมด  สงสัยต้องให้ คนรู้มาช่วยตอบ 555+

พระ ลีลา วิศวัมภร ( LEELA VISHVAMBHAARA)
ในระหว่างเดือน ปุษยะ ( PUSHAYA สิงหาคม ) ในช่วงวันเพ็ญ ศุทธะ ( SHUDDHA) ตรงกับวันพุธ ในตอนเช้าตรู่   พระทัตตะเตรยะ ทรงแบ่งภาคมาอีกพระองค์หนึ่ง ขึ้นอยู่กับรัศมีแห่งพระองค์ บรรดาสาวกบริบาลเป็นจำนวนมากพากันมาเข้าเฝ้าหมอบการบอยู่รอบพระองค์ พระทัตตะเตรยะในภาค อวธูต ( AVADHUTA ) ปรารถนาที่จะทรงอยู่เพียงลำพังเพียงพระองค์เดียวและอยู่ห่างไกลจากเหล่าสาวกทั้งหมด ดังนั้นเพื่อทดสอบถึงความเป็นจริงใจต่อการตั้งหมั่นเคารพบูชาของสาวก พระองค์ทรงได้กระโจนลงในทะเลสาบที่อยู่ข้างๆหายองค์จากไป ภายหลังพวกสาวกต่างเฝ้ารอคอยการเสด็จกลับมาแห่งเทพเจ้า สาวกบางคนต่างอดทนรอคอยไม่ไหวต้องหนีจากริมฝั่งทะเลสาบนี้กลับคืนสู่ยังชีวิตแห่งโลกตามเดิม แต่ก็มีบางคนที่ตั้งมั่นรอคอยการเสด็จกลับของเทพเจ้าด้วยความอดทนรอยคอยอยู่นานหลายปี เพื่อจะทอสอบพวกที่อยู่ต่อไปอีก พระทัตตะเตรยะ ทรงพยายามทำให้พวกเขาทั้งหลายนี้เกิดความสับสน โดยทรงใช้พระมายาของพระองค์ เนรมิตหญิงงามนางหนึ่งขึ้นมาในรูปร่างเปลือยล่อนจ้อน ขึ้นมาจากทะเลสาบ โดยพระองค์ได้เสด็จขึ้นมาพร้อมด้วยกัน ทรงดำเนินเคียงคู่กับหญิงงามนางนี้ พวกบริวาลสาวกต่างจ้องมองดูอย่างไม่กระพริบตา พระองค์ทรงนำนางมายังต้นไม้ใหญ่ และให้นางนั่งตักของพระองค์ สาวกที่แท้จริงไม่หลงในพระมายานี้  ไม่หลงต่อการกระทำครั้งนี้ ต่างเข้าใจดีถึงพระมายาของเทพเจ้าแห่งจักรวาล

มหามายา พระแม่แห่งจักรวาล ทรงแปลงร่างของหญิงสาวนางนี้ ความสัตย์และพลังอำนาจทั้งสองนี้คือสิ่งเปลือยเปล่า วิญญาณ จะได้รับซึ่งความว่างเปล่าเท่านั้นโดยได้รับผลแห่งตันหา ความหวาดกลัวและความโกรธ ภาคอวตารนี้เองของพระทัตตเตรยะ แสดงถึงความเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่และพลังอำนาจของพระองค์ที่เรียกว่า พระลีลา ในภาคนี้จึงรู้จักกันคือ พระลีลา วิศวัมภร       ( LEELA ) เป็นภาคอวตารที่ 6 แห่งพระองค์

สิทธะราช ( SIDDHARAJA )
พระนามแห่งภาคอวตารที่ ของพระทัตตะเตรยะ ที่รู้จักกันดีอีกพระนามคือ พระสิทธะราช ( กษัตริย์แห่งพวกสิทธะหรือที่แปลว่า สิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ ) เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลา มาฆมัส ศุทธะ ( MAAGHAMASH SUHDDHA ) วันเพ็ญเดือนกุมภาพันธ์ ตรงกับวันพฤหัสบดี ภาคอวตารนี้เป็นภาคที่น่าสนใจมาก เมื่อพระทัตตะเตรยะ ทรงแปลงภาคมาในรูปแห่งพวก สิทธะ ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อทรงทดสอบพวกโยคีที่เทือกเขาหิมาลัย และเพื่อที่จะนำเหล่าฤษีทั้งหลายให้หวนกลับคืนสู่เส้นทางที่ถูกต้อง โดนทรงท่องเที่ยวอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยนี้ พระองค์ทรงได้เข้ารวมพวกสิทธะ  ทรงประกอบพิธีกรรม-โยคะ ณ พัทรกศรัม ( BADARIKASHRAMA ) อันเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา ในเทอกเขาหิมาลัย พระทัตตะ ทรงประทับนั่งอยู่ในระหว่างพวกสิทธะ และ ณ ที่นี้ทรงได้ตรัสสนทนากับพวกสิทธะมีใจความว่า



พวกสิทธะ ได้ทูลถามว่า  " พระองค์ทรงเป็นผู้ใด? "
พระทัตตะ ตรัสว่า    " ข้าก็เป็นตัวข้าเองที่หาผู้ใดเปรียบเทียบไม่ได้  "
สิทธะ               " แล้วพระอาศมของพระองค์คืออะไรอยู่ที่ไหนเล่า? "
พระทัตตะ          " ข้าไม่จำเป็นต้องมีอาศรม ข้าอยู่เพียงลำพังองค์เดียว "
สิทธะ               " งั้นก็ดี ลักษณะท่าทีและกิริยาของท่านคืออะไรกัน? "
พระทัตตะ          " ข้านั้นอยู่เหนือโยคะและกริยาทั้งหมด "
สิทธะ                " โอ่...  ดังนั้นแล้ว ใครกันเล่าที่ทรงเป็นพระอาจารย์ของท่าน? "
พระทัตตะ           " ข้านั้นเป็นบรมของครูทั้งหมด "
สิทธะ          " พระองค์ทรงยึดถือ มุทรา MUDRA ท่าแสดงแห่งโยคะ อะไรอยู่? "
พระทัตตะ        " นิรัญญัน มุทระ  ( NIRANJANA MUDRA ) ( ไม่แสดงคุณสมบัติ ) "
สิทธะ                " แล้วท่านทรงเห็นว่ามันเป็นอะไรกันเล่า ? "
พระทัตตะ            " ข้าเห็นตัวข้าเองอยู่ทุกหนแห่ง  "
สิทธะ             "  แล้วเป้าหมายของท่านนั้นคือสิ่งใดกันเล่า?  "
พระทัตตะ             " เป้าหมายของข้าก็คือการได้เห็นตัวเองที่ยิ่งใหญ่ นำทางโดยไม่มีการพึ่งพาสมาธิกรรมฐาน " (สิ่งนี้คือการนำทางที่แท้จริง)
สิทธะ             " วิถีทางของท่านนั้นเล่าคืออะไรกัน? "
พระทัตตะ         " วิถีทางของข้าก็คือ การไม่เปิดเผยตนต่อผู้อื่น "



เมื่อการโต้เถียงนี้เกิดขึ้น บรรดาเทวะแห่งสวรรค์ทั้งหลายที่ได้ท่องเที่ยวเหาะผ่านมาทางนี้ ได้หล่นลงสู่พื้นโลกต่อเบื้องพระบาทแห่งพระทัตตะเตรยะ โดยที่ไม่รู้ถึงอำนาจที่อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างของเทพเจ้า ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตหลงเข้าใจผิด พวกโยคีทั้งหลายต่างพากันคิดว่า มันเกิดขึ้นเนื่องจากพลังอำนาจแห่งพวกตนนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ พระทัตตะเตรยะ จึงทรงได้ท้าทายพวกฤษีทั้งหลายให้เข้ามาแข่งขัน โดยส่งสิ่งที่มีชีวิตแห่งสวรรค์มาเพื่อทำการทดสอบซึ่งพลังอำนาจของพวกเขา

และในที่สุดก็ไม่สามารถที่จะได้รับชัยชนะได้  พระทัตตะเตรยะจึงได้แสดงพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ โดยการเอ่ยคำเพียง 2-3 คำเท่านั้น ......"ขอทรงพระเจริญ"..... เพียงเท่านี้ บรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายก็ฟื้นพลังและมีอำนาจและกลับไปอยู่สวรรค์ตามเดิม  เหล่าสิทธะทั้งหลายได้เห็นดังนั้น ก็ได้ก้มกราบพระบาทของพระองค์และทูลขอให้พระทัตตเตรยะ ทรงรับพวกตนไว้เป็นบริวาลสาวกของพระองค์  พระทัตตเตรยะจึงทรงรับพวกสิทธะเป็นบริวาลสาวกของพระองค์


ญาณสาคร ( JNANA – SAGARA )
ภาคอวตารที่ 8 ของพระทัตตะเตรยะ   พระญาณ-สาคร หรือพระมหาสมุทรแห่งความฉลาด ด้วยลักษณะนี้แห่งเทพเจ้า ทรงได้แสดงปาฏิหาริย์ ขึ้นในระหว่างข้างขึ้น 10 ค่ำ ในเดือนผาลคุณ ในช่วงเวลาที่ดวงดาวปุนระวะสุ (PUNARVASU) ในยามรุ่งอรุณ ด้วยรูปร่างที่ทรงแสดงให้ปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน บุคคลธรรมดาจะไม่สามารถแปลความหมายที่แท้จริงแห่งอวตารนี้ได้ นี้ก็คือเหตุผลที่ว่าการที่พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ต่อคนทั้งหลายในรูปร่างที่เข้าใจได้อย่างแท้จริง พระองค์ทรงปรากฏองค์ในรูปมหาสมุทรแห่งความฉลาดและทรงแสดงความรู้ที่แท้จริงของพระองค์เอง

วิศวันภร อวะธุตะ ( VISHVAMBHARA AVADHUTA )

เรื่องนี้เกิดขึ้นในวันพฤหัสบดี เมื่อดาวจิตร ขึ้นในวันเพ็ญแห่งเดือน จิตร (CHAITRA) ในภาคอวตารที่ 9 คือพระ วิศวันภร อวะธุตะ ในภาคอวตารนี้ พระองค์ทรงแสดงความเร้นลับของรากแห่งคำว่า "ธรัม" (DRAAM) ต่อบริวาลสาวกของพระองค์ พวกสิทธะและทรงสั่งสอนพวกเขาทั้งหลายเกี่ยวกับสาระสำคัญอันเป็นรากฐานของพระองค์ ในการไร้รูปและไร้พระนาม พระองค์ทรงแสดงพระองค์เองเพื่อสั่งสอนความลับแห่งการทำสมาธิ และพระอำนาจฤทธิแห่งมนตร์ของพระองค์ โดยทรงให้คำย่อความเกี่ยวกับมนตร์ " โอม ทรัม, โอม คุรุ ทัตตายะ นะมะหะ ( OM DRAAM , OM GURU DATTAAYA NAMAHA ) ต่อเหล่าบริวาลทั้งหลาย แล้วพระองค์ทรงให้พรแห่งความสุขต่อบริวาลและทรงหายร่างไป

โอ...........  นี่ไง  มาแล้วคร้าฟ เรื่องที่รอคอย...ขอบพระคุณมากคร้าฟ


มายามุกตะ อะวะธุตะ ( MAYAMUKTA AVADHUTA)


ภาคอวตารที่ 10 เกิดขึ้นในระหว่างเดือน วิศาขา (VAISHAKAA) ในวันขึ้น 14 ค่ำ ตรงกับวันพุธ เมื่อดวงดาว สวาติ ขึ้น พระทัตตะเตรยะ ทรงแบ่งภาคเป็นนักพรต พิขาจาร(ขอทาน)  ทาถูองค์ด้วยขี้เถ้าจากเชิงตะกอน พระองค์ทรงเสด็จมาในรูปมนุษย์ธรรมดามี 2 พระกร ทรงถือตะบองในมือขวา และทรงถือหม้อขอทานในมือซ้าย โดยมีสุนัขสีดำตัวหนึ่งติดตามไปด้วย
                ทรงเสด็จไปยังอาศมของนักพรตท่านหนึ่งมีนามว่า พราหมณ์ ศีละ (SHEELA) และทรงนั่งประทับตรงหน้านักพรตโดยมีใบไม้เป็นจานภาชนะไว้ใส่อาหาร ในวันนั้น พราหมณ์ศีละ กำลังประกอบพิธีกรรมบูชาต่อบรรพบุรุษของเขา เขาได้เชื้อเชิญเหล่านักพรตที่มีตำแหน่งสูงๆมาเป็นจำนวนมากมาย และพร้อมที่จะให้การต้อนรับเลี้ยงอาหาร แต่ในงานนี้เหล่านักพรตทั้งหลายต้องตะลึงเมื่อเห็นว่าคนที่จะได้รับการต้อนรับนั้นเป็นขอทานตำต้อยมานั่งร่วมอาหารที่จัดไว้สำหรับนักพรตที่เชิญมา และได้มีการกล่าวว่าติเตียนว่า "ใครก็ตามผู้ไม่มีความรู้ดีในพระเวททั้งหลายแล้ว ไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาวงนั่งอยู่ ณ ที่นี้ได้

          พระทัตตะเตรยะ(ในร่างขอทาน) ทรงหัวเราะและมีรับสั่งถาม สุนัขของพระองค์ ให้ท่องสวดพระเวททั้งหลายออกมา มันได้ปฏิบัติตามทุกประการ เหล่านักพรตต่างตกใจเป็นอย่างมาก และเข้าในทันทีว่าเป็นพระมายาของเทพเจ้า จึงต่างพากันก้มลงกราบพระบาทของพระองค์ เรื่องนี้เป็นการแสดงให้รู้ถึงพระมายาในลักษณะอวตารเป็น "พระมายามุกตะ อะวะธุตะ "

พระมายายุกตะ อะวะธุตะ (MAYAYUKTA AVADHUTA)

ในวันข้างขึ้น 13 ค่ำแห่งเดือน ชเยศถะ (JYESHTHA) ภาคอวตารที่ 11 ของพระทัตตะเตรยะ ได้ถือกำเนิดขึ้น พระคุรุทรงได้เดินทางเข้าไปสู่ใจกลางป่าใหญ่ เหล่านักบวช ทุศีล และนักพรตที่มาพร้อมพระ
อาจารย์ของเตรยะ เขา ได้แสดงความเคารพต่อ พระทัตตะเตรยะ , ในครั้งนี้ทรงอวตารลงมาในรูปของงูเห่า และต่อมาทรงแปลงองค์เป็นเสือและสัตว์ร้ายในรูปแบบต่างๆเพื่อทดสอบความตั้งมั่นแน่วแน่ของเหล่านักพรต โดยเหล่านักพรตทั้งหลายต่างยืนอยู่อย่างสงบรับการทดสอบด้วยความเคารพ
              จนในที่สุด พระองค์ทรงทดสอบเป็นครั้งสุดท้าย โดยที่พระองค์ทรงได้แปลงเป็นชายหนุ่มรูปงามและทรงสร้างหญิงสาวสวยรูปหนึ่งอยู่ตรงหน้า และให้นางผู้นี้มานั่งบนตักของพระองค์ เพื่อเพิ่มความสับสนให้เกิดขึ้นแก่พวกนักพรตอีก ทั้งสององค์ได้เริ่มรับประทานอาหารและดื่มสุรา แสดงบทรักให้เหล่านักพรตได้เห็น ยิ่งเพิ่มความสับสนให้เกิดขึ้น นักพรตทั้งหลายส่วนใหญ่เดินหนีจากที่นั้น แต่มีอยู่ไม่กี่คนที่ยังคงเฝ้าเคารพด้วยความตั้งมั่นและด้วยเข้าใจใน พระโยคะมายานี้ของพระทัตตะเตรยะนั่นเอง

อาทิ คุรุ ( AADIGURU)

ภาคอวตารที่ 12 คือ ภาคพระอาทิ- คุรุ การอวตารครั้งนี้เกิดในวันเพ็ญ เดือน อาศาทะ (AASHAADA) ในครั้งก่อน ได้เกิดสงคารมต่อสู้รบกันระหว่างเทพกับอสูร ซึ่งในครั้งนี้พวกเทพได้เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ดั้งนั้นพวกเทพโดยการนำของพระอินทร์ (อีกแล้วครับท่าน) ได้มาขอความช่วยเหลือต่อพระทัตตเตรยะ เป็นเหตุให้พระองค์จึงทรงแบ่งภาคมาในรูปแห่งพระ อาทิคุรุ   เป็นภาคแรกที่เริ่มในรูปแห่งการปกป้องคุ้มครอง พระองค์ทรงเป็นพระผู้นำพวกเทพและทรงให้พร เทพทั้งหลายให้ได้รับชัยชนะ
ในภาคอวตารนี้ พระอาทิคุรุ พระองค์ทรงได้สั่งสอน ปรัชญาที่สุงสุดต่อกษัตริย์อัลรกะ ~(ALARKA) ซึ่งเป็นพระผู้เป็นพระโอรสของพระนาง มทาลัส (MADAALASA) เกี่ยวกับแผนพิจารณาพระคัมภีร์ มรกันเทยะ ปุราณ (MARANDEYA PURANA)ในวันเพ็ญเดือนอาศาท (อยู่ในระหว่างเดือน กรกฎาคม- สิงหาคม) ซึ่งพระคัมภีร์นี้รู้จักกันดีในนามว่า พระคุรุปุราณะ ทั่วโลกทั้งหมด, บรรดาสานุศิษย์ได้เคารพบูชาต่อพระคุรุในวันนั้นและพระอาจารย์จะรับศิษย์ใหม่ในวันนี้เช่นกัน

ศิวะรูป (SIVARUPA)

ภาคอวตารที่ 13 แห่งพระทัตตเตรยะ ก็คือพระศิวะรูป พระองค์ทรงแบ่งภาคที่ไม่มีวรรณะ ในรูปร่างที่ไม่สะสวยและทรงอวตารประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีผลเป็นเมล็ด ในวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน ศราวัน (SHRAAVANA) ในกาลครั้งนั้น มีพรมหมณ์ท่านหนึ่งมีนามว่า บิงคล (PINGALA) ได้ทูลถามพระองค์ว่า "พระองค์ทรงอยู่ในเพศพรตและอาศรมเช่นใด?" พระศิวะรูปทรงตรัสตอบว่า "ตามปกติทั่วไป อาศรมทั้งหลายมีอยู่ 4 ชนิด   

1. อยู่อย่างคนเดียว   
2. อยู่รวมเป็นครอบครัว
3. อยู่อย่างสันโดษและ
4.อยู่อย่างนักพรต .............แต่ว่าข้านั้นอยู่เหนือขึ้นไปอีกคืออยู่ในอาศรมที่ 5
"อาศรมที่ 5 คืออะไรกันเล่า?
"บุคคลผู้ที่ไม่ผูกติดกับเวลา ไม่ผูกติดกับผู้คนและไม่ติดพันธ์กับของทั้งหมดโดยปราศจากศัตรูแล้ว เขาผู้นั้นถือว่าอยู่ในจำพวกอาศรมที่ 5
เมื่อทรงตรัสเช่นนั้นแล้ว พระศิวะรูป ทัตตะเตรยะ ทรงประทานพรต่างๆต่อพราหมณ์บิงคล ด้วย
ทรงให้แสงสว่างและทรงหายร่างจากไป

เทวะ เทวศวร (DEVA DEVESHVARA)

ภาคอวตารที่ 14 คือ พระเทวะ เทเวศวร เรื่องนี้เกิดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน ภาทรบัท(BHAADRAPADA) ในภาคอวตารนี้ พระพรหม พระผู้สร้าง ทรงเสด็จเข้าเฝ้าพระทัตตะเตรยะ และทูลถามพระองค์ขอทรงให้พรในการสร้างโลกทั้งหมดด้วยแสงสว่างแห่งเทพเจ้าจนกระทั้งดวงวิญญาณทั้งหลาย ไม่อาจได้รับความทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด ภาคอวตารครั้งนี้ ทรงเสด็จมาเพื่อทรงสั่งสอนพระอาจารย์ทั้งหลายให้ได้รับซึ่งแสงสว่าง พระทัตตะเตรยะทรงให้สัญญาต่อพระพรหมว่า พระองค์ทรงจะให้แสงสว่างต่อดวงวิญญาณทั้งหลาย

พระ อะวะธุตะ ทัตตะ ทิคัมพร (AVADHUTA DATTA DIGAMBARA)

ภาคอวตารที่ 15 เกิดขึ้นในวันเพ็ญ เดือน อัศวิช (ASHVIJA) ภาคอวตารนี้มีนามว่า พระอะวะธุตะ ทัตตะ ทิคัมพร เรื่องนี้เกิดขึ้นในระหว่างพิจารณาพระคัมภีร์ ภัควะตัม ( BHAGAVATAM ) ซึ่งเป็นการถกกันระหว่าง พระกฤษณะและพระอุทธวะ

พระกฤษณะทรงอธิบายว่า  กษัตริย์ ยะทู (YADU) ทรงได้พบกับพระอวะธุตะ ทัตตะทิคัมพร และพระองค์ทรงสั่งสอนกษัตริย์ยะทูอันเกี่ยวกับพระคุรุ 24 องค์พระองค์ อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภาคอวตารของพระทัตตะเตรยะ ที่ทรงเสด็จไปประทานพรยิ่งใหญ่แก่ นักบวช ประหลัท(PRAHALADA) เกี่ยวกับเนื่องกับความรู้แห่งความสัตย์

พระ กมล โลจนะ (KAMALA LOCHANA)


ภาคอวตารที่ 16 (ภาคสุดท้ายแล้วครับ) ของพระทัตตเตรยะ เกิดขึ้นในวันขึ้น 12 ค่ำเมื่อดวงดาวพระเคราะห์ เรวะติ (REVATI) สุกสว่างในวันพุธตอนใกล้รุ้งเช้า เพราะสายรัศมีแห่งพระเนตร ดอกบัวของพระองค์ พระองค์จึงทรงได้รับสมญานามว่า พระกมลโลจนะ ภาคนี้เป็นภาคเต็มแห่งสวรรค์ อันเป็นที่รวมแห่งความผาสุก เต็มไปด้วยความสัตย์ ในภาคนี้พระองค์ทรงพรรณนาถึงความเร้นลับแห่งพระธรรมต่อสาวกทั้งหลาย ด้วยพระพลังอำนาจแห่งเทพเจ้าที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมค้ำจุนต่อคนทั้งหลาย ต่อครอบครัว และต่อจักรวาลด้วยความรู้ทั้งหมดที่เรียกว่า พระธรรม การยึดมั่นในพระธรรมและสิ่งที่เหลืออยู่ทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งดีงามจะบังเกิดต่อตัวท่าน นี้คือสาระสำคัญแห่งการสั่งสอน ในภาคอวตารที่ 16 นี้ของพระทัตตะเตรยะ
            พระทัตตะเตรยะ ทรงประกาศว่า   "ดังเช่นข้าได้มอบหมายให้ตัวข้าเองและได้กลายมาเป็นพระกุมารแห่งฤษี อัตริ กับนางอันสุยะ ในทำนองเดียวกัน ข้าได้ให้ตัวข้าต่อผู้เครารพบูชาทั้งหมดนี้ ผู้ใดมอบตัวเองในการบูชาต่อข้า ในคำอย่างอื่นๆต่อคนทั้งหลายนั้น ผู้ที่ได้กลายเป็นบุตรของข้า ข้าก็จะกลายเป็นบุตรของเขาเช่นกัน "

               เรื่องนี้ได้พิสูจน์ความเป็นจริงหลายประการ สำหรับผู้ที่เคารพบูชาที่จริงใจ พระทัตตะเตรยะจะทรงปรากฏองค์ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้พบกับความสุขสันติ ที่ควรจดจำเอาไว้มี 16 อวตาร และน้อมถวายความเคารพต่อพระองค์ในทุกๆวัน ด้วยมนตร์ 16 ข้อ ดังนี้


1.    โอมฺ ทรัม โยคิราชายะ นะมะหะ

2.    โอมฺ ทรัม อัตริวรทายะ นะมะหะ

3.    โอมฺ ทรัม ทตาเตรยายะ นะมะหะ

4.    โอมฺ ทรัม กาลาคนิศัมนายะ นะมะหะ

5.    โอมฺ ทรัม โยคิชัน วัลลภายะ นะมะหะ

6.    โอมฺ ทรัม ลีละ วิศวัมภรายะ นะมะหะ

7.    โอมฺ ทรัม สิทธะ-ระชายะ นะมะหะ


8.    โอมฺ ทรัม ญาณ-สาครายะ นะมะหะ

9.    โอมฺ ทรัม วิศวัมภร อะวะธุตายะ นะมะหะ

10.  โอมฺ ทรัม มายา-มุกตาวธุตายะ นะมะหะ

11.   โอมฺ ทรัม มายา-ยุกตาวธุตายะ นะมะหะ

12.   โอมฺ ทรัม อาทิครุเว นะมะหะ

13.   โอมฺ ทรัม ศิวะ-รูปายะ นะมะหะ

14.   โอมฺ ทรัม เทวะ เทเวศวรายะ นะมะหะ

15.   โอมฺ ทรัม ทิคัมภรา-อธุตายะ นะมะหะ

16.   โอมฺ ทรัม กมล โลกนายะ นะมะหะ


ขอบพระคุณมากคร้าฟสำหรับ ข้อมูลความรุ้ แน่นตึ้ก เรย เดว ค่อยๆ อ่าน นะคร้าฟ
เป็นกำลังใจให้ตลอดทุกเช้าค่ำคร้าฟผ้ม ......

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


พรที่เทพประทานจะไม่มีวันเสื่อม  เว้นแต่ผู้นั้น จะเสื่อมไปจากพรเอง

Quote from: ลองภูมิ on September 15, 2009, 23:55:13
ชักห่างไปนาน เดี๋ยวต้องหาเวลามาลงให้อ่านต่อซะแล้ว  


พี่ครับผมมานั่งคอย นะครับผม ขอบคุณครับผม



อิชั้นขออนุญาติ  นำภาพองค์อวตารขององค์คุรุทัตเตรย่า 16 องค์มาเสริมให้พี่ตี๋ ลองภูมินะค่ะ  แต่รูปอาจไม่ค่อยชัด

ท่านอื่นจะได้ดูภาพประกอบไปด้วย  ไล่ตามลำดับเลยนะค่ะ







อ้าวว.....

ฟ้าเพิ่งจะไปขอท่านเรื่องความรักมา อย่างงี้ก็แห้วอ่ะดิ ....เห้อ มีใครช่วยให้คำแนะนำได้บ้างมั้ยคะ ว่ามีเทพองค์ใดที่พอจะให้พรในเรื่องของความรัก ความสมหวังได้บ้าง อ่านแล้วอย่าเพิ่งคิดว่ามันเรื่องไร้สาระนะคะ เพราะฟ้ามีความเชื่อว่าถ้าดวงชะตาเราดี อยู่ในศิลธรรม เราสามารถที่จะช่วยให้คนที่เป็นคู่เรานั้นดีขึ้นด้วยได้เช่นกัน

Quote from: ฟ้าใส on June 14, 2010, 21:48:55
อ้าวว.....

ฟ้าเพิ่งจะไปขอท่านเรื่องความรักมา อย่างงี้ก็แห้วอ่ะดิ ....เห้อ มีใครช่วยให้คำแนะนำได้บ้างมั้ยคะ ว่ามีเทพองค์ใดที่พอจะให้พรในเรื่องของความรัก ความสมหวังได้บ้าง อ่านแล้วอย่าเพิ่งคิดว่ามันเรื่องไร้สาระนะคะ เพราะฟ้ามีความเชื่อว่าถ้าดวงชะตาเราดี อยู่ในศิลธรรม เราสามารถที่จะช่วยให้คนที่เป็นคู่เรานั้นดีขึ้นด้วยได้เช่นกัน


ความรัก เป็นเหมือนพรหมลิขิต ถึงเวลาก็มีมาถ้ามีกรรมสัมพันธ์ และก็จะจากเมือถึงเวลาอันสมควร มิต้องไปขอร้อง ขอพรจากผู้ใดหรอก รู้ว่าเหงา ใครก็เป็นทั้งโลก อยากไขว้คว้า หารักที่สมหวัง แต่จะมีกี่รายที่เป็นเช่นนั้น สุดท้ายก็จากกันแบบไม่เหลือเยื้อใย มีรักก็มีทุกข์ มีพบก็มีจาก แต่ผู้คนก็ยังวิ่งหาความรักกันมากมาย ......อนิจจัง หนอ