Loader

วิษณุบาท

Started by อินทุศีตาลา, January 28, 2010, 11:52:13

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

January 28, 2010, 11:52:13 Last Edit: January 28, 2010, 12:06:39 by สิรวีย์
ดิฉํนกำลังจะต้องเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์ค่ะ โดยหนึ่งในสถานที่ที่จะไปชมนั้นมีพระพุทธบาทศิลาที่อำเภอบัวเชดรวมอยู่ด้วย
พระพุทธบาทรอยนี้เพิ่งพบไม่นานนี้เอง ความน่าสนใจ (สำหรับดิฉัน) ก็คือลายที่สลักอยู่ในรอยพระบาท ซึ่งแบ่งเป็นช่อง ปรกติจะเป็นลายมงคลร้อยแปดประการ ทว่าที่นี่เป็นลายสิงสาราสัตว์ตั้งแต่ ผีเสื้อ แมงมุม ไปจนถึงช้างม้าวัวควาย ทำให้เกิดข้อสงสัยโยงไปถึงเรื่องที่อยากรู้มานานแล้ว อยากจะรบกวนขอความเห้ฯจากท่านผู้รู้ ดังนี่ค่ะ

1. ลายสัตว์ในรอยพระพุทธบาทเช่นนี้ ไม่เคยมีที่ไหนเลยในโลกใช่ไหมคะ
2. เป็นไปได้ไหมว่าอาจเป็นรอยวิษณุบาท
3. วิษณุบาทมีที่ไหนบ้างคะ มีตำนานอย่างไร มีรูปร่างอย่างไรให้แยกแยะว่านี้คือพระวิษณุบาท หากมรูปจะขอบพระคุณมากค่ะ โดยเฉพาะรูปของประติมากรรม
4.ชาวฮินดูมีความเชื่อ และการปฏิบัติบูชาเช่นไรต่อพระวิษณุบาท
5.นอกจากพระวิษณุบาทแล้ว มีรอยพระบาทของใครอีกไหมคะ ยอมรับว่าเห็นรูปสัตว์เยอะๆแล้วนึกถึงพระนามปศุบดี ของพระศิวะค่ะ แต่ไม่ทราบว่าท่านมีรอยพระบาทเป็นรูปเคารพด้วยหรือไม่

ไม่ได้ลบหลู่รอยพระพุทธบาทรอยนี้เลยนะคะ เพียงแต่สงสัยในแง่ของประติมาณวิทยาเฉยๆ

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ และขออภัยที่ช่างถามเหลือเกิน

รูปรอยพระบาทที่อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบคุณมากนะครับและขออนุโมทนากับคำถามดีดีเช่นนี้ครับ  คุณสิรวีย์ อยากรู้เหมือนกัน ท่านผู้รู้กรุณาด้วยนะครับ

เจมส์ซิโน
เจมส์ซิโน 

เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธบาทที่บัวเชดนั้น ท่านอ.ศรีศักร วัลลิโภดม ได้เคยแสดงทัศนะไว้ในจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์ ฉบับที่ ๖๘ ปีที่ ๑๒ เดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๐ เอาไว้ความตอนหนึ่งว่า

" ส่วนรอยพระพุทธบาทที่บัวเชดนั้น เมื่อดูจากลวดลายที่สลักลงไปแล้วยิ่งเห็นว่ามีอายุเก่าแก่ไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อย่างแน่นอน อาจจะเก่ากว่าพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ขึ้นไปด้วยซ้ำ แต่ก็คงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ แน่
นั่นก็คือยังอยู่ในแนวคิดพระเจ้าเลียบโลกแบบลังกานั่นเอง

เพราะสิ่งที่สามารถบอกอายุได้ชัดเจนในเรื่องรูปแบบทางศิลปะอยู่ที่ลายบัวคว่ำบัวหงาย โดยรอบของรอยพระพุทธบาทนั้นเป็นบัวแบบลพบุรีหรือแบบขอมเมืองพระนครก็ได้ ตรงกลางรอยพระพุทธบาทมีรูปบัวในลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์จักรวาล ๒ วง ตรงกลางพระบาทเป็นวงใหญ่กับตรงรอบส้นพระบาทเป็นวงเล็ก เป็นลักษณะบัวที่พบทั้งในศิลปะแบบสุโขทัยและอยุธยา

แต่ความแตกต่างของรอยพระพุทธบาทนี้กับบรรดาพระพุทธบาทอื่นๆ ไม่ว่าเป็นรุ่นลพบุรี สุโขทัย หรืออยุธยา แม้แต่ล้านช้างและเขมรก็คือ สัญลักษณ์ที่เป็นมงคล ๑๐๘ ประการ เป็นสัญลักษณ์ที่เปรียบเทียบไม่ได้กับสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลในที่ไหนๆ เลย ซึ่งธรรมดาแล้วมงคล ๑๐๘ ประการของพระพุทธบาทคือสิ่งที่ทำให้เห็นจักรวาลทางพุทธที่แตกต่างไปจากคติของศาสนาฮินดูในด้านภพภูมิ เพราะจะแสดงลำดับชื่อให้แลเห็นความเป็นไตรภูมิที่ประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ค่อนข้างชัดเจน รอยพระพุทธบาทของทางพุกามและสุโขทัยแลเห็นภาพสัญลักษณ์ในรูปต่างๆ ที่ไม่มีรูปคนและเทพเป็นตัวแทน แต่ทางลพบุรีและอยุธยามักมีรูปเทพแสดงภพภูมิต่างลำดับชั้น

แต่รอยสัญลักษณ์ของพระบาทบัวเชดกลับเป็นรูปสัตว์และพันธุ์ไม้พันธุ์พืชนานาชนิดที่อยู่ในตำแหน่งที่สับสน กำหนดลำดับชั้นของภพภูมิไม่ได้เลย โดยเฉพาะสัตว์นั้นมีนับแต่สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน ทาก กิ้งกือ ตะขาบ แมงป่อง หอย ปู ปลา และสัตว์อากาศ เช่น นก แมลง ดูแล้วเหมือนยกบรรดาสัตว์และพืชพันธุ์ทั้งหลายในป่ามาแสดงไว้ ฉะนั้นนับเป็นระบบสัญลักษณ์เฉพาะตัวที่สื่อกันเฉพาะคนในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันในท้องถิ่นหนึ่งๆ เท่านั้น บุคคลที่เป็นคนนอกคงไม่สามารถถอดรหัสความหมายได้

ซึ่งในที่นี้ทำให้ข้าพเจ้าต้องคิดเลยเถิดไปถึงความเป็นภาษาของสัญลักษณ์ในแต่ละช่องที่ทำให้ภาพมงคล ๑๐๘ ประการของพระพุทธบาทแห่งนี้เป็นภาษาในจารึกที่ผู้คนในท้องถิ่นใช้สื่อกันเอง ดังนั้นถ้านำมาติดต่อเป็นบันทึกก็คงได้ความหมายที่ต้องการจะสื่อก็ได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทนี้ แม้ว่าจะมีกรอบโดยรอบเป็นบัวคว่ำบัวหงายตามประเพณีทางอารยธรรมอินเดียก็ตาม ที่เป็นพุทธหรือฮินดูก็ตาม แต่ลายสัญลักษณ์ที่เป็นสัตว์ พืช แมลง และอื่นๆ นั้นสะท้อนให้เห็นถึงระบบความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ใช้สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งในธรรมชาติอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์ในเรื่องความเชื่อ อีกทั้งล้วนเป็นรูปสัญลักษณ์ของคนอยู่ป่ามากกว่าอยู่ในเมือง เมื่อมาถึงตรงนี้แล้วก็ต้องมาหยุดอยู่ที่คำถามที่ว่า แล้วคนที่มาทำพิธีกรรมกราบไหว้รอยพระพุทธบาทนี้คือใคร คนเมืองหรือคนเผ่า ก็คงไม่ใช่คนเผ่าไท เผ่าลาว และเผ่าเขมร แล้วเป็นใคร ถ้าจะเดาคนเผ่าเหล่านี้ก็น่าจะเป็นคนในเผ่าพันธุ์มอญ-เขมร ที่ทางลาวเรียก ข่า ทางเหนือเรียก ลัวะ อะไรทำนองนั้น แต่ในเขตอีสานใต้นี้กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องคงน่าจะเป็นพวกกูย พวกเยอ ที่น่าจะเคลื่อนย้ายเข้ามาแต่โบราณแล้ว แต่คนเหล่านี้ไม่ได้เลี้ยงช้างจึงไม่เรียกว่าส่วย หากมีอาชีพทำการเพาะปลูกและเก็บของป่า

เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีงานวิจัยท้องถิ่นที่ผ่านตาข้าพเจ้ามาว่า กูยพวกหนึ่งที่มีอาชีพทำการเพาะปลูกนั้นเวลาทอผ้าได้ทำลายผ้าให้มีลายตะขาบรวมอยู่ในบรรดาลายต่างๆ ทั้งหลาย หรือคนกูยที่ไม่ได้เลี้ยงช้างที่บ้านตรึมในเขตจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ มีการบูชาตะกวดเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ บางทีบรรดาสัตว์ ต้นไม้ และแมลงที่ปรากฏอยู่ในรอยพระพุทธบาทก็น่าจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ที่สืบเนื่องมาแต่ความเชื่อดั้งเดิมก็ได้

ยังมีอีกแนวทางหนึ่งในการทำความเข้าใจกับรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ก็คือ น่าจะเป็นอาการแรกเริ่มของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องของหลักธรรมคำสอนทางปรัชญา หากเน้นในด้านพิธีกรรมเป็นสำคัญ โดยใช้สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สมบูรณ์ในตัวเอง ดังเช่นในงานวิจัยเรื่องคนกะเหรี่ยงในเขตจังหวัดราชบุรีของอาจารย์ สุรินทร์ เหลือลมัย ระบุว่า คนกะเหรี่ยงเปลี่ยนเสาหลักบ้านให้เป็นเสาหงส์เมื่อเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา เลยทำให้เสาหงส์กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัดไป ชาวกะเหรี่ยงเรียนรู้พุทธศาสนาผ่านพระธุดงค์ที่เข้าไปช่วยรักษาคนด้วยน้ำมันที่เป็นพุทธมนต์ ก็เลยเอาน้ำมันนั้นไปกราบไหว้บูชาเรียกว่า หลวงพ่อน้ำมัน

โขดหินอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทแห่งนี้น่าจะเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนในท้องถิ่นนี้มาก่อน และใช้ในการเดินทางเข้ามาประกอบพิธีกรรมตามฤดูกาลเพื่อความอุดมสมบูรณ์ นับเป็นที่ชุมนุมของคนหลายกลุ่มเหล่าทั้งใกล้และไกล ต่อเมื่อรับนับถือพระพุทธศาสนาก็เปลี่ยนให้เป็นรอยพระพุทธบาท โดยอาศัยกรอบบัวคว่ำบัวหงาย การกำหนดดอกบัวให้เป็นสัญลักษณ์จักรวาลและกรอบแสดงสัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ ประการเป็นตัวบ่งชี้ เมื่อมากราบไหว้ประกอบพิธีกรรมกันตามฤดูกาลก็มีการนำเอากิ่งไม้หรือต้นไม้ขนาดเล็กมาค้ำไว้โดยรอบโขดหิน เพื่อแสดงการค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน และเพื่อต่ออายุของตนเองเช่นเดียวกันกับคนเหนือเอาไม้ไปค้ำต้นโพต้นไม้ใหญ่ในวัด ปัจจุบันร่องรอยของซากกิ่งไม้ ลำต้นที่แห้งๆ จึงถูกนำมาค้ำรอยพระพุทธบาทที่เป็นเพิงหินไว้ "



ที่มาของบทความและสามารถตามไปอ่านได้ทั้งหมดที่ : http://www.lek-prapai.org/web%20lek-prapai/news/newsletter68.1.htm
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ที่ต้องนำข้อความของนักวิชาการมาลงไว้ ก็เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและทำความเข้าใจได้ไม่มากก็น้อยเกี่ยวกับเรื่องรอยพระพุทธบาทแห่งนี้

ส่วนเรื่องวิษณุบาทนั้น คงต้องรอผู้รู้ท่านอื่นๆมาช่วยอธิบายกันต่อไปนะคร๊าบบบ (เพราะผมเองก็ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เอาเสียเลยจริงๆ ^_^)

จะมีก็แต่ภาพวาดของวิษณุบาทที่พอจะหาได้จากในเน็ตครับ



ที่มาของภาพจากเว็ป : www.reflexologyinstitute.com
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

January 28, 2010, 13:22:14 #4 Last Edit: January 28, 2010, 13:25:51 by sacred avatar
ค่ะ เท่าที่เห็นก็หน้าจะเป็นพระบาทของพระพุทธเจ้าค่ะ หรือ พุทธบาท ค่ะ เพราะ ศิลป์ ในเรื่องพระบาทพระพุทธเจ้า มีหลายแบบ และ ที่เห็นว่ามีสัตว์ ใช่ว่าไม่มีนะ ที่จริงก็มีค่ะ และ ดูแล้ว ก็มีสัญลักษณ์ที่น่าจะเป็นศิลปะ รูปแบบ ของพระพุทธบาทค่ะ







ส่วนวิษณุบาท หน้าจะเป็นแบบนี้มากกว่าค่ะ และ ส่วนใหญ่ พระบาทของเทพเจ้า เท่าที่เห็น จะเป็น สาย ไวษณพ ซะมากกว่าค่ะ หรือ อาจเป็นไปได้ที่พระนารายณ์ ท่านอวตาร มาในโลกมนุษย์ตามความเชื่อค่ะ เพราะเท่าที่เห็น จะมีพระบาทของวิษณุ พระบาทพระแม่ลักษมี  พระบาทพระนางราทา พระบาทพระราม และ ก็มีอีกในสายพระนารายณ์ค่ะ เพราะเท่าที่ดิฉันมี บูชาไว้ที่ห้องบูชา ก็มี วิษณุบาท พระบาทพระลักษมี และ พระบาทของพระราม ค่ะ และ เชื่อการว่า การบูชาต่อหน้าวิษณุบาท และ พระบาทพระลักษมี เปรียบเสมือน ท่านมายื่น อยู่ต่อหน้าเราค่ะ ในการบูชา




ส่วนนี่รูปแบบ คือ วิษณุบาท ที่ห้องบูชา ค่ะ

[HIGHLIGHT=#ffffff]
ภควาน จักรวาลชนนี
[/HIGHLIGHT]

เพราะ..สังคม ประเมิณค่า ที่จนรวย คนจึงสร้าง..เปลือกสวย ไว้สวมใส่

หากสังคม..วัดค่า ที่ภายใน  คนจะสร้าง..จิตใจ ที่ '' ใฝ่ดี''





January 28, 2010, 13:37:50 #5 Last Edit: January 28, 2010, 13:40:54 by สิรวีย์
โอ ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีและคุณ sacred avatar มากๆๆๆๆๆๆๆๆเลยค่ะ ตื้นตันจริงๆ
เพิ่งทราบว่ามีพระบาทของพระลักษมีด้วย อยากเห็นจังค่ะ เผื่อเก็บไว้บูชา

บทความของอาจารย์ศรีศักรที่คุณอักษรชนนีกรุณานำมาให้นี้ ดิฉันเคยอ่านแล้วแล้วสนใจมาก อาจารย์พูดถึงลัทธิการบูชาธรรมชาติซึ่งเชื่อมโยงการเริ่มต้นของศาสนาพราหมณ์ฮินดูด้วยเช่นกัน นั่นยิ่งทำให้อยากรู้เรื่องรอยพระบาทในศาสนาพราหมณ์มากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในแง่ของประติมาณวิทยา คติ และความนิยม เป็นไปได้ไหมคะว่าคตินี้มีอิทธิพลต่อการสร้างพระพุทธบาทในสมัยต่อๆมา ประกอบกับคติการบูชารอยพระบาทของเทพเจ้านี้ ในบ้านเรายังพูดถึงกันน้อยมาก จะเป็ฯประโยชน์ยิ่งถ้าผู้รู้กรุณามาอธิบาย

การเดินทางไปครั้งนี้ อาจารย์ศรีศักรจะไปพบดิฉันที่พระบาทบัวเชดด้วยค่ะ นับเป็นโชคสองชั้น จริงๆ โดยส่วนตัวดิฉันชอบพระบาทรอยนี้ค่ะ เพราะงามเป็นเอกลักษณ์ และยังบริสุทธิ์อยู่มาก ด้วยการปรุงแต่งยังไปไม่ถึง

สำหรับประเด็นเรื่องรูปสัตว์ในรอยพระพุทธบาทที่คุณsacred avatar กรุณาเล่าให้ฟังนี้ ก็น่าสนใจค่ะ และเป็นเหตุให้ดิฉันตั้งกระทู้นี้ขึ้น รูปสัตว์ในรอยพระพุทธบาทซึ่งพบมากในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์นั้น มักเป็นส่วนหนึ่งของมงคลทั้งร้อยแปดประการ ซึ่งเป็นสัตว์มงคล อาทิ พญาช้าง หงส์ พญานกต่างๆ สิงห์ เป็นต้น (ตามรูปที่คุณsacred avatar กรุณาลงไว้อย่างงดงามนั่นเลยค่ะ) โดยช่างจะทำช่องๆๆๆๆทั่วทั้งรอยพระบาท แต่ละช่องมีของมงคลช่องละหนึ่งสิ่ง นอกจากสัตว์แล้ว ยังมีภูเขา แม่น้ำ สิ่งของ เทพเจ้า บุคคล อยู่ด้วย

แต่พระบาทบัวเชดมีแต่สัวต์ทุกๆช่องเลยค่ะ ตั้งแต่ช้าง ม้า วัว ควาย จนถึงสัตว์ที่เราไม่ใคร่สนใจ เช่น แมงมุม ผีเสื้อ เป็นต้น ซึ่งอาจารย์ศรีศักรก็กรุณาอธิบายแนวคิดว่าทำไมจึงเป็นสัตว์พวกนี้ไปแล้ว ว่าอาจเป็นสัญลักษณ์ของ Totem หรือรูปสัตว์มงคลที่คนในท้องถิ่นนับถือ

แต่ความต่างของลายนี้เอง ทำให้พระบาทบัวเชดน่าสนใจค่ะ และก็โยงไปถึงเรื่องรอยพระบาทในศาสนาพราหมณ์ฮินดู หรือลัทธิอื่นด้วย ดิฉันก็เพิ่งทราบจากคุณ sacred avatar ว่ามีรอยพระบาทพระลักษมีด้วย อยากเห็นเป็นบุญตาสักครั้งค่ะ จะได้เก็บไว้บูชาด้วย
คงต้องขอความกรุณาทุกท่าน
ปล. คุณอักษรชนนีขา ดิฉันไปเที่ยวหอสมุดท่าพระมาเมื่อวาน ได้หนังสือดีดีมาเพียบเลย นึกถึงคุณอยู่พอดี
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


.
ภาพวิษณุบาทที่ Harihara Kshetra ประเทศอินเดีย

ที่มาของภาพ : www.harekrsna.com
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ค่ะ นี่คือรูปแบบพระบาทพระลักษมีนะค่ะ แต่ต้องขอโทษ คุณเจ้าของกระทู้ด้วยที่ไม่สามารถ นำพระบาทพระลักษมี ที่ ห้องบูชาที่บ้านมาให้ชมได้ เนื่องด้วย ที่บ้านทำการบูชาพระมารดาลักษมีเป็นใหญ่ ของบางอย่างจึงถูกสั่งทำมาโดยเฉพาะในสิ่งที่เกี่ยวพันธ์กับพระลักษมี แต่ ถ้าให้อธิบายได้ ก็เป็นฐาน สลักลาบบัว แกะรอยพระบาทเท้าพระบาทจริงค่ะ ต้องขอโทษไว้ ณ.ที่นี้นะค่ะ เพราะเพื่อเป็นความ................ด้วยค่ะ อิอิ ไง ดูแบบ ลักษณะที่ดิฉันนำมาให้ชมนะค่ะ



แต่ขอเอาโครงต้นแบบที่ออกแบบไว้ก่อนสั่งทำมาให้ชมแทนนะค่ะคงไม่ว่ากันนะค่ะ( หมายเหตุ แบบนี้เป็น โครงร่างแรกก่อนถูกสั่งให้ช่างไปแก้)


[HIGHLIGHT=#ffffff]
ภควาน จักรวาลชนนี
[/HIGHLIGHT]

เพราะ..สังคม ประเมิณค่า ที่จนรวย คนจึงสร้าง..เปลือกสวย ไว้สวมใส่

หากสังคม..วัดค่า ที่ภายใน  คนจะสร้าง..จิตใจ ที่ '' ใฝ่ดี''





ถ้าพูดถึงวิษณุบาทนะครับ รู้สึกว่าจะถูกพบหลายที่ครับ

นอกจากจะเป็นพระบาทแล้ว ยังมีการพบรอยพระหัตถ์ด้วย และยังมีพระบาทพระวิษณุภาคอวตานต่างๆ ด้วยครับ

1. หริทฺวาร - ถ้าแปลตามตรงก็คือประตู หรือทางไปสู่พระวิษณุเจ้า เท่าที่ทราบเป็นพระบาทข้างซ้ายของพระวิษณุครับ และเป็นหนึ่งสถานที่สำคัญสำหรับนักแสวงบุญครับ

2. เมืองเมกกะ - เมืองนี้รู้สึกว่าจะเป็นรอยพระบาทข้างซ้ายของพระวิษณุภาค วามาณะ ครับ

3. เมืองพทฺรีนาถ

4. เมืองวารณสี - เป็นรอยพระบาทของพระรามครับ

5. ราเมศวรา - เป็นสถานที่ใกล้เคียงกับ 1 ใน 10 จโยติลิงค์ ของพระศิวะครับ เป็นรอยพระบาทของพระรามตามตำนานพระรามไปบูชาศิวลึงค์พระศิวะที่นี่ครับ

มีที่อื่นๆ อีกหลายที่ครับ โดยเฉพาะรอยพระบาทพระกฤษณะ ครับ จำไม่ค่อยได้ ((จำได้แค่นี้ด้วยสมองอันน้อยนิด)) แฮ่ๆๆ

ใช่ค่ะ ที่ คุณ กาลิทัส พูดค่ะ มีพระหัตถ์ ด้วยค่ะ

[HIGHLIGHT=#ffffff]
ภควาน จักรวาลชนนี
[/HIGHLIGHT]

เพราะ..สังคม ประเมิณค่า ที่จนรวย คนจึงสร้าง..เปลือกสวย ไว้สวมใส่

หากสังคม..วัดค่า ที่ภายใน  คนจะสร้าง..จิตใจ ที่ '' ใฝ่ดี''





  ดิชั้นก็มีเหมือนกันคะ  แบบของคุณมีนภาพแรก  แต่เป็นคริสตันใส    ดิชั้นเรียกว่า หริกีไปรกี   ไม่แน่ใจว่าจะสะกดถูกหรือเปล่านะค่ะ

สำหรับวิษณุบาท


ได้ความรู้เพิ่มมาอีก
ขอบพระคุณทุกๆท่านค่ะ

โอ ขอบพระคุณทุกท่านอย่างที่สุดเลยค่ะ
ดูรูปไป ขนลุกไป
ยกมือไหว้ด้วยใจศรัทธา ตื่นเต้นจริงๆค่ะ

เท่าที่ได้ชมภาพมานี้ แปลว่าพระวิษณุบาท พระลักษมีบาท ล้วนมีรูปลักษณ์คล้ายรอยเท้ามนุษย์ แต่มีสัญลักษณืศัดิ์สิทธิ์ปรากฎอยู่ภายในใช่ไหมคะ

ดีใจจังค่ะที่มีบุญได้เห็น

และดิฉันก็เป็นข้าพระบาทผู้ภักดีต่อพระลักษมีเช่นเดียวกับคุณ sacred avatar  ด้วยค่ะ เพียงแต่ยังไม่ได้มีบุญครอบคครองข้าวของอันเนื่องด้วยพระองค์เช่นคุณเท่านั้นเอง
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบคุณความรู้ดีๆครับ
โอม ทัต ปูรูชยา วิดมาเฮ วักรา ทุนดายา ดีมาฮี ทะโน ทันติ ปราโชดายะ 

อ่ะ ได้ ความรู้ เพิ่ม เติม ค้าฟ ตอนแรก นึกว่า มีแต่ รอยพระพุทธบาท ซะอีก


มีรอย วิษณุบาท ด้วย และ ยัง รอยหัตถ์  ด้วย ขอบคุณ ผู้ เผยแพร่ความรู้ คร้าฟ

คุณมีน คร้าฟ  อยากชมๆ  รอยบาท พระแม่ มหาลักษมี จาง คร้าฟ

January 29, 2010, 10:04:11 #15 Last Edit: January 29, 2010, 10:07:31 by ramadas

วัดวิษณุบาท เมืองพุทธคยา ครับ  (ภาพจาก www.liveindia.com/ganga/patna.html)
[HIGHLIGHT=#ffffff]ชนใดหวังข้ามอุปสรรค  พึงพำนักพิคเนศนาถา
สำเร็จสมดังจินดา พระองค์พาข้ามพิฆะจัญไร
[/HIGHLIGHT]