ชุมชนคนรัก...ฮินดู (HINDUMEETING)

Hindu สนทนา => ชุมชนคนรัก...ฮินดู => Topic started by: หริทาส on March 15, 2010, 19:01:21

Title: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: หริทาส on March 15, 2010, 19:01:21
โอมฺ ศฺรีคุรุภฺโย นมะ||
ขอความนอบน้อมจงมีแด่ครูทั้งหลาย||



ว่าด้วยเรื่องกลัศ

มีหลายคนสงสัยหรือเพิ่งเริ่มสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของ กลัศ(กลศ)หรือบางคนไพล่ไปเรียกว่า "บายศรีแขก"
หม้อน้ำอะไรไม่รู้มีใบมะม่วง มีมะพร้าวๆ เห็นไปพิธีฮินดูที่ไหนก็มีคนตั้งเอาไว้ แถมสมัยนี้หัวใสมีคนทำขายทั่วไปตามร้านขายดอกไม้เครื่องบูชา ก็ยังมึนๆทั้งคนขายคนซื้อว่า ตกลงกลัศนี่คืออะไรกันแน่


วันนี้หลังจากตรวจข้อสอบแล้วพอมีเวลาว่าง ผมก็อยากมาแชร์ความรู้กับทุกๆคน เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า กลัศ เท่าที่สติปัญญาอันน้อยของผมจะมีนะครับ ซึ่งอาจแตกต่างกับสิ่งที่ทุกคนรู้ หรือคงช่วยเสริมเติมเต็มในมิติที่อาจขาดหายไปนะครับ


เท่าที่ค้นคว้ามา

กลัศ(สันสกฤต กลศ)ออกเสียงคล้าย กลัช แปลตามตัวแปลว่า "หม้อน้ำ" ซึ่งมีอีกหลายคำที่แปลว่าหม้อน้ำ
เช่ม  กุมภ์(กุมฺภ ซึ่ง หลายคนเสียงว่า กุมบ๊อม ซึ่งผมว่ามาจาก กุมภํ ตัว ภออกเสียงคล้าย บ เสียงก้อง ทำให้แรกๆก็งงว่าคืออะไรครับ)
ขตะ เป็นต้น

หม้อกลัศถูกนำมาใช้ในพิธีของศาสนาฮินดูมาตั้งแต่ยุคพระเวทแล้ว โดยในสมัยแรก หมายถึง หม้อปูรณกลัศ หรือปูรณฆตะ หมายถึง "หม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์" ซึ่งในยุคพระเวท เรียกว่า โสมกลัศ หรือ จันทรกลัศ
ในยุคพระเวทเชื่อว่า หม้อกลัศ คือหม้อที่บรรจุ น้ำ อมฤต(อมฤต)เป็น แหล่งธารของชีวิต และเป็นตัวแทนแห่งความสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญาหาร เนื่องจาก น้ำเป็นสัญลักษณ์ของความบริบูรณ์ และหม้อน้ำก็ดุจดังครรโภทรของพระแม่ธรณีซึ่งยังให้เกิดพืชผลตามมา

(อ่านรายละเอียดได้ต่อจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Kalasha )

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2F9cb9f88ab90346a618c7489eb965829b.jpg&hash=12bcc744d0d49696ba45440d3ae4ef52a1667cb4) (http://www.upchill.com/image.php?id=9cb9f88ab90346a618c7489eb965829b)
สัญลักษณ์หม้อปูรณฆตะ ที่ใช้ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

ดังนั้นในทางหนึ่งหม้อกลัศจึงเป้นสัญลักษณ์มงคลถึงความอุดมสมบูรณ์
และอีกทางหนึ่ง กลัศ คือการจำลองจักรวาลหรือระบบนิเวศวิทยาที่ประกอบด้วย แผ่นดิน แผ่นน้ำ ต้นไม้พืชพันธ์และชีวิตนานา ซึ่งเป็นภาพของความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งที่ใกล้ชิด


ในสมัยต่อมา กลัศได้ค่อยๆปรับเปลี่ยนความหมาย จากสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ มาสู่การเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าบางพระองค์ในพระเวท

ซึ่งได้เคยสอบถามจากครู คือท่านอาจารย์บัณฑิตลลิตว่า การสถาปนากลัศในพิธีทำเพื่ออะไร

ท่านว่า โดยปกติแล้ว เวลาจะทำพิธีบูชาที่เป็นทางการและครบถ้วนสมบูรณ์

ก่อนการบูชาเทวดาประธาน(ปฺรธานเทวตา)ที่เรากำหนดไว้แล้ว
ต้องบุชาเทวดา ห้าหมวดก่อน

เรียกว่า ปญฺจางฺคปูชา
โดย สถาปนา ปีฐ หรือแท่นนั่งของเทวดา โดยใช้เม็ดข้าวย้อมสีและทำเป็นรูปร่างทางเลขาคณิตต่างๆ สมมุติว่าเป็นที่ประทับตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้ และทำการสถาปนาอัญเชิญเทวดาต่างๆมาสถิตในปีฐนั้น
ปัญจางคเทวตา
ได้แก่
1.พระคเณศ
2.พระแม่เคารี (ใช้หมากพันสายสิญจน์ แทนทั้งสองพระองค์ทั้งพระคเณศและพระเคารี การบูชานี้เรียกว่า คเณศามฺพิกาปูชา)
3.โษฑศมาตฤกา หรือพระแม่ทั้ง 16 พระองค์(รวมทั้งพระเทวเสนา)เช่น สวาหา สวาธา ฯลฯ ใช้ข้าวสารสีแดง-เหลืองทำเป็นตารางและใช้หมากวางไปในจุดต่างๆ
4.ฆฤตสัปตมาตฤกา พระแม่ทั้ง 7 พระองค์ ใช้ฆีเช็ดแผ่นไม้หรือหิน แล้วปูผ้าจากนั้น ใช้กุงกุมจุด เป็นจุดสมมุติว่าเป็นพระแม่องค์หนึ่งๆ ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ โดยมีอักษร "ศฺรีะ" อยู่เบื้องบน พระแม่สัปตมาตฤกา เช่นพระลักษมี พระสรัสวตี กาลี ฯลฯ
5.วรุณเทวตา หรือการบูชาเทวดาวรุณ โดยการ สถาปนากลัศขึ้น

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2F99a6512b759e8400bc175180ffa3e5bd.jpg&hash=685c8c2264a9a9cf9a83d1d3be48543a80afe9e6) (http://www.upchill.com/image.php?id=99a6512b759e8400bc175180ffa3e5bd)
แท่นปัญจางคเทวตาปีฐ(ก่อนการอัญเชิญเทวดามาสถิต) โปรดสังเกตว่า ตารางสีเหลี่ยมสีเหลืองแดงคือปีฐของพระแม่โษฑศมาตฤกา สามเหลี่ยมสีแดงคือที่ประทับพระแม่เคารี สวัสติกะสีเหลืองคือที่ประทับพระคเณศ(หมากจะถูกนำมาวางเมื่ออาวาหัน หรืออัญเชิญแล้ว)และข้าวรูปดอกบัว คือที่ตั้งของกลัศ หรือที่ประทับของเทวดาวรุณ(เข้าใจว่าภาพนี้กลับหัวนะครับ เนื่องจากสามเหลี่ยมของพระแม่เคารีต้องเป็นสามเหลี่ยมคว่ำ เนื่องจากผู้ถ่ายภาพไม่สามารถถ่ายจากด้านในมณฑลพิธีได้จึงถ่ายจากรั้วด้านนอกทำให้ภาพกลับหัว) (ขอบคุณภาพจากสยามคเณศครับ)


ดังนั้นการสถาปนากลัศก่อนการบูชาเทวดา
คือการ สถาปนาและบูชาพระวรุณ
ซึ่งในคัมภีร์พระเวท พระวรุณ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ มหาสมุทรและท้องฟ้า และคอยลงทัณฑ์ผู้กระทำผิด

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2Fdd6e39df068df754b2d83cd53683b7f9.jpg&hash=7a3a0198dfc36fae9636b12be257da50e4131bd3) (http://www.upchill.com/image.php?id=dd6e39df068df754b2d83cd53683b7f9)
พระวรุณ



เมื่อทำบูชาปัญจางคเทวตาบูชาแล้ว จึงทำการบูชาเทพเจ้าที่กำหนดต่อไป


ต่อมากลัศได้ทำหน้าที่อีกประการหนึ่ง คือ เป็น "ตัวแทน"ของเทวดา ต่างๆโดยตรง

เช่นพระคเณศ พระศิวะ พระแม่ต่างๆ โดยพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีจะสวดมนตร์ตามคำภีร์พระเวท และระบุให้กลัศเป็นเทวดาแต่ละองค์
และเมื่อทำการบูชา ก็จะบูชาที่กลัศนั้น เสมือนว่า ได้บูชาเทพเจ้าพระองค์นั้น โดยไม่ต้องใช้ มูรติ หรือเทวรูปก็ได้





ปราชญ์ได้ตีความและอธิบาย ส่วนต่างๆของกลัศให้กลายเป็นส่วนต่างๆหรืออวัยวะของเทพเจ้า เช่น มะพร้าวเป็นส่วนพระเศียร ใบมะม่วงเป็นส่วนของพระพาหา หรือแขน เป็นต้น และได้มีการอธิบายไปถึงเรื่องของจักรต่างๆ รวมทั้งจักรวาลวิทยาที่ปรากฏในกลัศ



(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2F5629360314783b28ad58513b3d403aab.jpg&hash=df1d0d6a4d6b3579bb359e3da9de54237d95be7d) (http://www.upchill.com/image.php?id=5629360314783b28ad58513b3d403aab)
รูปเคารพของพระคเณศปรากฏแบบ กลัศ


(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2F6f9b74034cca160b79c851eb376035a8.jpg&hash=9f2049a840a584422212839fdb23dbd1e6d354c2) (http://www.upchill.com/image.php?id=6f9b74034cca160b79c851eb376035a8)
กลัศสามใบในมณฑลพิธีมหาศิวราตรี บน มณฑลของศักติและโยคินีต่างๆ ใบสีแดงหมายถึงพระแม่มหาลักษมี ใบสีขาวหมายถึงพระแม่มหาสรัสวตี และใบสีดำหมายถึงพระแม่มหากาลี(ภาพจากเวปสยามคเณศครับ)


ดังนั้น โดยสรุป กลัศที่ใช้ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู จึงอาจแบ่งออกได้ตามวิวัฒนาการและความหมาย ดังนี้
1.เป็นสัญลักษณ์ของหม้อปูรณฆตะ หรือ หม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นความหมายที่เก่าแก่ที่สุด และสะท้อนระบบชีววิทยาตามแนวคิดพระเวท
2.เป็นตัวแทนของเทวดา วรุณ ซึ่งเป็นเทวดาในฤคเวท
3.เป็นตัวแทนของเทวดาต่างๆ ตามแต่จะสถาปนา เช่น สัตยนารายณ์ พระเทวี และพระศิวะ
4.ในการตีความของบางท่าน กลัศยังหมายถึงจักรวาลวิทยา หรือจะว่าไปเป็น "มณฑล" แบบหนึ่ง และยังเชื่อมโยงไปเรื่องจักรต่างๆ (อันนี้ผมความรู้น้อยต้องขออภัยที่ไม่ได้ให้รายละเอียด)


กลัศ จึงไม่ใช่ "บายศรี" โดยประการสำคัญ คือ กลัศ ไม่ใช่ "เครื่องบูชา" แต่ตัวกลัศเอง เป็น "วัตถุแห่งการบูชา"
แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงอยู่บ้างในเชิงความคิดเช่น การถือว่าบายศรีเป็นเขาพระสุเมรุ(บายศรีปากชาม)หรือการจำลองระบบจักรวาลวิทยาแบบหนึ่ง แต่บายศรีเป็นคติ "ผี"ในสังคมโบราณ ที่มีเรื่องของ "ขวัญ" และถูกทำให้เกี่ยวข้องกับฮินดูในภายหลัง



กลัศทำยังไง ประกอบพิธียังไง

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2Fe598f3fb2708f3919c74198a9593cf20.jpg&hash=247c9776b02d9525eefe6d121c3bc42267d839f6) (http://www.upchill.com/image.php?id=e598f3fb2708f3919c74198a9593cf20) พราหมณ์กำลังประกอบพิธีสถาปนากลัศ (ภาพในงานมหาศิวราตรี ขอบคุณเวปไซต์สยามคเณศ เจ้าของภาพครับ)



การสถาปนากลัศ มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปในแต่ละสำนัก (เช่นของที่ใส่ วัสดุ การห่อหุ้ม สี ฯลฯ)โดยมีโครงสร้างหลักเหมือนกัน คือประกอบด้วยหม้อ บรรจุน้ำ ใบมะม่วงและมะพร้าว


ผมขอยกตัวอย่างการสถาปนากลัศ เท่าที่ทราบจากครูท่าน มาไว้เป็นความรู้นะครับ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พราหมณ์โดยมากในฝ่ายเหนือ กระทำกัน

ใช้หม้อน้ำ หากเป็นวัสดุที่กำหนดว่ามีค่าและศักดิ์สิทธิ์ เช่น เงิน ทอง ทองเหลือง ทองแดง ปัญจโลหะ ใช้ได้เลยโดยไม่ต้องห่อหุ้ม(แต่ต้องพันด้วยสายสิญจน์แดงที่คอกลัศ) หากเป็นหม้อดินเผาต้องหุ้มด้วยผ้าแดง(ท่านว่า เสมือนการห่อหุ้มพระมูรติด้วยเสื้อผ้า) และมี ฝาด้วยเรียกว่า ปูรวปาตฺร ซึ่งจะรองรับมะพร้างวอีกที หม้อนี้ต้องไม่เคยใช้มาก่อน และควรมีขนาดพอเหมาะ คือราวๆ ปากกว้าง 6-9 นิ้ว ไม่มีหู วางมะพร้าวแล้วสวยงาม มะพร้าวไม่หล่นลงไป หรือมะพร้าวใหญ่กว่ากลัศมาก
ในประเพณีทางภาคเหนือ บนปากกลัศ หากใช้มะพร้าว ต้องหุ้มผ้าแดงที่มะพร้าว เสมือนการห่อหุ้มพระมูรติเช่นกัน มะพร้าวต้องรานเปลือกออกให้หมดจะได้ไม่ใหญ่เกินไป นอกจากมะพร้าวแล้ว ในบางกรณี ที่ปากกลัศอาจเป็น เทวรูปของเทวดาประธาน หรือ ประทีป(ในกรณีการบูชาพระสุริยนารายณ์ ในเทศกาลสังกรานติ)


(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2F268ba7f6ab59c292b707b8f84a99b365.jpg&hash=5efecc1e03bd9f832333c52926742206ccef1bd9) (http://www.upchill.com/image.php?id=268ba7f6ab59c292b707b8f84a99b365)
กลัศที่มีเทวรูปพระศิวะอยู่บนปาก ประดิษฐานอยู่กลางมณฑลที่เรียกว่า ทฺวาทศชฺโยติลิงฺคสรฺวโตภทฺรปีฐ(หรือมณฑลแห่งพระชโยติศิวลึงค์ทั้ง 12) เป็นกลัศของเทวดาประธาน ในงานศิวราตรี


เมื่อจะสถาปนากลัศ พราหมณ์จะสวดมนตร์ในคัมภีร์พระเวท เติมน้ำ
อัญเชิญเทวดาวรุณ และเติมสิ่งต่างๆ คือ  ใบมะม่วง (ยอดที่มีใบ 5หรือ9 ใบโดยไม่ฉีกขาด และรูปร่างสวยงาม) ใส่สัปตมฤติกา(ดินจากที่ต่างๆ 7 ที่เช่นที่เลี้ยงโค(โครส)) สัปตเอาษธิ(สมุนไพร 7 อย่างเช่น ขมิ้น หญ้าฝรั่น ฯลฯ)หมากและพลู คัณธะ หรือเครื่องหอม คือ จันทน์น้ำหอมขมิ้นฯลฯ ดอกไม้ หญ้าแพรก เหรียญเงิน และคล้องมาลัยที่ปากกลัศเมื่อบรรจุสิ่งต่างๆแล้วจะปิดด้วยปูรฺวปาตฺรที่หงายขึ้นวางข้าวสารย้อมสีและทำสัญลักษณ์มงคลเช่นสวัสติกะ จากนั้นวางมะพร้าว(ศรีผลหรือนาฬิยัล)บนปูรวปาตฺร  จุลเจิม คล้องดอกไม้ มาลัย บนยอดวางดอกบัว ทำการบูชาและสถาปนาเทวดาให้สถิตยังส่วนต่างๆโดยการถวายอักษัตในส่วนต่างๆ แล้ว ประดิษฐานในมณฑล หรือถ้าไม่ได้สถาปนาปีฐ ต้องวางบนข้าวสารย้อมสีเสมือนเป้นแท่นนั่ง โดยไม่วางกลัศไว้บนโต๊ะหรือที่บูชาเฉยๆ โดยทุกๆขั้นตอนพราหมณ์จะสวดมนตร์ในพระเวทตลอด

นอกจากทำกลัศเพื่อบูชาแล้ว ยังมีการสถาปนากลัศเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่นอีก เช่น ในพิธีอภิเษกของบางนิกาย ก้ใช้น้ำจากกลัศในการอภิเษกหรือรดสรงเทวรูปด้วย โดยถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในการอภิเษกนักบวชเพื่อเลื่อนฐานะ เช่น เพื่อเป็น สวามี (คล้ายการฮดสรง หรือสถาปนา ครูบา หรือ อาชญา พระสงฆ์ในภาคเหนือและภาคอีสานสมัยก่อน)ใช้รดสรงผู้มีอายุมาก(คล้ายการรดสรงขึ้นพลับพลาของคนแกด่ในภาคใต้)ซึ่งเป็นประเพณีในอินเดียใต้

และในพิธ๊ที่เกี่ยวกับการสถาปนาเทวสถานก็จะมีการสถาปนากลัศ1008 ใบ หรือ108ใบใช้รดสรงเทวรูปประธาน
และการทำศิขรบูชา หรือสถาปนากลัศไว้บนยอดเทวสถาน(ไม่จำเป็นต้องเป็นกลัศจริงๆก็ได้ อาจทำด้วยโลหะ หรือปูนปั้นเป้นรูปกลัศหรือหม้อน้ำ ซึ่งมาจากการสร้างบ้านและเทวสถานของวพราหมณ์ในสมัยโบราณที่ต้องเอาหม้อน้ำไว้บนหลังคาเพื่อกันอัคคีภัยและเป็นสัญลักษณ์บางอย่าง) ทำการรดสรงยอดนั้นเรียกว่า กุมภาภิเษก(ที่บางคนเรียก กุมบอม?)
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2F86c65e746a07e2bab1dd1a3c6c00ac54.jpg&hash=d2be6840af664f1a9c7f46075811b5cbcdc0cd7f) (http://www.upchill.com/image.php?id=86c65e746a07e2bab1dd1a3c6c00ac54)
พิธีสถาปนาหม้อน้ำ 1008ใบ


(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.upchill.com%2Fdirect%2Fde95205579e9e805330027add9c86f38.jpg&hash=26ed6ed78ecd15eb114512567554521656db8edf) (http://www.upchill.com/image.php?id=de95205579e9e805330027add9c86f38)
พิธีกุมภาภิเษกยอดของเทวสถานและทำศิขรปูชา



จะเห็นได้ว่าการสถาปนากลัศในพิธีกรรมมีความยุ่งยากมาก และเมื่อเสร็จพิธี จะถือว่าน้ำในกลัศ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ เมื่อวิสรชัน หรือเชิญเทวดากลับแล้ว จะเปิดและประพรมเป็นสิริมงคล

ได้เรียนถามท่านครูว่า ถ้าเสร็จพิธีแล้วเราจะทำยังไงกับของต่างๆ ท่านว่า สมัยโบราณ ทุกสิ่งในพิธีต้องยกให้พราหมณ์ผู้ประกอบพิธี(รวมทั้งแผ่นดิน หรือที่ดินที่ทำยัญญกรรมด้วย) แต่ปัจจุบันก็ไม่ได้ทำเช่นนั้นแล้ว พวกข้าวต่างๆพราหมณ์จะเอาไปรับประทานของใช้เอาไปใช้ แต่สมัยปัจจุบันไม่สะดวก ประสาทต่างๆก็จะเอาไปจำเริญน้ำ หรือลอยน้ำ


จะเห็นได้ว่าการสถาปนากลัศเป็นเรื่องซับซ้อนยุ่งยาก ถ้าหากประสงค์จะสถาปนากลัศให้ถูกต้อง ก็ควรให้พราหมณ์ผู้ชำนาญในพิธีเป็นผู้สถาปนา และชาวฮินดูเองก็ไม่ได้ทำกลัศสถาปนากันบ่อย มักทำเฉพาะในพิธีและโอกาสสำคัญ เช่น คฤหประเวศ(ขึ้นบ้านใหม่) คเณศจตุรถี สัตยนารายณ์ปูชา นวราตรี เป็นต้น


เว้นแต่ต้องการมีกลัศเพื่อใช้ในลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์มงคล เพื่อความอุดมสมบูรณ์
ในปัจจุบัน มีการทำกลัศในลักษณะสัญลักษณ์มงคลมาก เช่น ทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกันประดับประดาสวยงาม และนำมาวางไว้ในที่มงคลของบ้าน โดยมิได้ถือว่าเป็นวัตถุแห่งการบูชาเช่นเดียวกับเทวรูป และไม่ต้องซีเรียสในเรื่องของพิธีกรรมมากนัก



บทความ โดย หริทาส

ท่านใดจะนำไปเผยแพร่ต่อ โปรดแจ้งด้วยครับ
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: อักษรชนนี on March 15, 2010, 19:15:03
ขอบพระคุณพี่หริทาสมากๆเลยครับสำหรับบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกลัศ

เพราะเรื่องนี้ในความคิดผมเป็นเรื่องที่คลุมเครือมานานพอสมควร

อย่างน้อยๆบทความของพี่หริทาสก็ช่วยทำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกลัศมีความกระจ่างขึ้น

ขอขอบพระคุณด้วยความเคารพในความรู้เป็นอย่างยิ่งเลยครับพี่
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: NAWAT on March 15, 2010, 19:21:21
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2FYahooIM%2F77.gif&hash=475ed43f16b8e0fd945abcddc7f22db3dcfee9b8)  ขอบคุณครับ
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: หริทาส on March 15, 2010, 19:36:07
Quote from: อักษรชนนี on March 15, 2010, 19:15:03
ขอบพระคุณพี่หริทาสมากๆเลยครับสำหรับบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกลัศ

เพราะเรื่องนี้ในความคิดผมเป็นเรื่องที่คลุมเครือมานานพอสมควร

อย่างน้อยๆบทความของพี่หริทาสก็ช่วยทำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกลัศมีความกระจ่างขึ้น

ขอขอบพระคุณด้วยความเคารพในความรู้เป็นอย่างยิ่งเลยครับพี่

มิได้ครับ รับการคารวะสามจอก 5555


พี่พอมีเวลา และเห็นเรื่องนี้เป้นเรื่องที่คนถามมากคนอธิบายน้อย และกลัว จะ "ไหล"ไปไกล

ก็เลยมาเขียนไว้ก่อนครับบ

ถ้ามีโอกาสคงจะเขียนอะไรต่อมิอะไรมาให้อ่านกันอีกครับ
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: อักษรชนนี on March 15, 2010, 19:49:34
งั้นผมขอรอปูเสื่ออ่านความรู้ดีๆจากพี่คนแรกเลยคร๊าบบบ ^_^
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: โอม มหา บารมี เทวา โอม on March 15, 2010, 20:00:15
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆที่นำมาให้

ในใจคิดว่าอยากจะถวายกลัศแด่พระแม่ แต่การทำกลัศแต่ใบพิธียุ่งยากมากเหลือเกิน เลยคิดว่าไม่ทำดีกว่า หากว่าทำไม่เป็นทำสุ่มมี่สุ่มห้าไปจารีตประเพณีจะเสื่อมซะหมด ดังนั้นขอบูชาท่านด้วยกำลังที่เหมาะสมดีกว่า
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: สยมภูวญาณ on March 15, 2010, 23:38:01
ขอบคุณความรู้ดีๆครัฟ
ได้ความรู้ประดับปัญญา
เหมือนได้อาภรณืประดับกายครัฟ
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: Fluorine on March 16, 2010, 08:12:25
ขอบคุณอาจารย์พี่ตุลครับ ^^
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: ศรีมหามารตี on March 17, 2010, 04:01:15
 

    กราบขอบพระคุณพี่ตุล   ขวัญใจพวกเราชาว HM อีกครั้งคะ    สำหรับความรู้ดีๆที่อัดแน่นไปด้วยสาระจริงๆ ...
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: กษิติ on March 18, 2010, 17:12:57
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่นำมามอบให้ครับ
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: แม่หญิงฟองแก้ว on March 19, 2010, 16:22:41
ขอบพระคุณในการนำความรู้ใหม่ๆๆมาให้ได้เข้าใจนะคะ
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: น้อมบูชาพระแม่ทุรคา on March 21, 2010, 13:33:52
อ๋ออย่างนี้นี่เอง  ขอขอบพระคุณสำหรับ

ข้อมูลดีๆ  และรูปภาพสวยๆครับ

ขอบคุณครับ
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: พิษประจิม on April 20, 2010, 14:44:09
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fpic4.nipic.com%2F20090826%2F3255798_084254058217_2.jpg&hash=2f3531070611ebc7564e00e9b9e6682bda37b9df) (http://pic4.nipic.com/20090826/3255798_084254058217_2.jpg)
Title: ตอบ: ว่าด้วยเรื่องของ "กลัศ"
Post by: บุตรมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวี on February 15, 2011, 01:01:35
ขอดันกระทู้ความรู้ดีๆจากท่านผู้รู้จริงนะครับ

ขอขอบพระคุณ  คุณหริทาส  อีกครั้งครับ