Loader

ศรีมัทภควัทคีตา - श्रीमद् भगवद् गीता

Started by กาลปุตรา, April 12, 2010, 09:39:22

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

ศรีมัทภควัทคีตา
(श्रीमद्भगवद्गीता - Shrimad Bhagavad Gita)
หรือ

ภควัทคีตา
(भगवद् गीता - Bhagavad Gita)
ท่วงทำนองลีลาแห่งพระผู้เป็นเจ้า

กฤษณไทวปายนวยาส (कृष्ण द्वैपायन व्यास - Krishna Dvaipayana Vyasa)
หรือ มหาฤษีวยาส (व्यास - Vyasa) ผู้รจนา
กาลปุตรา (कालपुत्त्रा - Karaputra) แปล (ฉบับ Online ธรรมทาน)

***ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า หรือ หาผลประโยชน์ โดยเด็ดขาด***
        ศรีมัทภควัทคีตาหรือภควัทคีตานั้น เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญอันแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ บรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ - Bhisma Parva) อันเป็นบทสนทนาตอบโต้ปัญหาอภิธรรมระหว่าง อรชุน (Arjuna - अर्जुन) เจ้าชายองค์ที่ 3 ของตระกูลปาณฑวะ (ปาณฑพ) กับพระกฤษณะ (Krishna - कृष्ण)
        ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาการเริ่มต้นการทำสงครามแย่งชิงความชอบธรรมเหนือแผ่นดินหัสตินาปุระ ณ ทุ่งกุรุเกษตร เมื่อกองทัพฝ่ายปาณฑวะของอรชุนเคลื่อนพลมาประจันหน้ากับกองทัพฝ่ายโกรวะ (เการพ - कौरव - [HIGHLIGHT=#ffffff][HIGHLIGHT=#fac08f][HIGHLIGHT=#fbd5b5]Kaurava[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]) ขององค์ทุรโยธน์ซึ่งถือได้ว่าเป็นพี่น้องร่วมวงศ์ (จันทรวงศ์) เดียวกัน
        ณ เวลานั้นเองอรชุนเกิดความท้อใจไม่ทำสงคราม เนื่องจากต้องมาทำสงครามสังหารเหล่าคณาญาติของตน จึงไม่มีจิตใจที่จะทำการต่อสู้ในสงครามครั้งนี้จนถึงกระทั้งยอมวางอาวุธในมือลงและพร้อมยอมโดนฝ่ายเการพสังหารโดยจะไม่ยอมตอบโต้
        ความทดท้อใจในครั้งนี้ของอรชุนผู้ทนงตนว่ามีฝีมือเก่งกาจในการทำสงครามและมีภูมิปัญญาทางพระเวทดีเยี่ยม ต้องถึงกับหันไปขอคำปรึกษากับพระกฤษณะผู้มาทำหน้าที่เป็นสารถี เกี่ยวกับเรื่องทางโลกและทางธรรมที่ตนนั้นไม่สามารถแยกแยะออกจากกันได้ในเวลาที่ต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง
        พระกฤษณะจึงได้ไขปริศนาทำลายความเข้าใจผิดๆ ทางความรู้ในพระเวทของอรชุนให้สิ้นไป ถ้อยความการสนทนาตอบโต้ระหว่างพระกฤษณะกับอรชุนนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นยอดแห่งพระเวทและอุปนิษัทเลยก็ว่าได้ เพื่อให้เข้าในในแก่นแท้ของธรรมว่าเป็นเช่นไร
        การสนทนาตอบโต้ระหว่างอรชุนกับพระกฤษณะนี้ ก็เปรียบเหมือนจิตใจของมนุษย์เราซึ่งมีทั้งความดีความชั่วรวมอยู่ในร่างเดียวกัน บางครั้งคนเรานั้นจำต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เรานั้นก็มักจะตัดสินใจไม่ได้ระหว่างเส้นแบ่งดีและชั่ว เพราะต้องยอมรับว่าโลกเรานั้นเป็นทวิธรรม ไม่มีอะเลวเลวไปทุกเรื่องและไม่มีอะไรดีไปทุกเรื่อง ดีและเลวนั้นจะผสมอยู่ในร่างเดียวกัน จนทำให้เกิดความทุกข์ ดั่งมีคน 2 คนที่ถกเถียงอยู่ในร่างเดียวกัน เพียงแต่เราจะเลือกดีหรือชั่วนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุดได้อย่างไรเท่านั้นเอง
        จิตทั้ง 2 นั้นจะต่างยกเหตุยกผลมาโต้แย้งกันอยู่เสมอ ตรงนี้เองจึงทำให้เกิดทุกข์ เพราะ เรื่องใดที่แก้ได้ตัดสินใจได้ย่อมไม่เป็นทุกข์ เรื่องใดที่รู้แล้วยอมรับแล้วว่าแก้ไม่ได้จริงๆ ก็จะไม่ทุกข์ แต่ถ้าเรื่องใดนั้นยังอยู่ตรงที่จะแก้ได้หรือแก้ไม่ได้นั่นสิที่ทำให้เราเกิดความทุกข์
        เฉกเช่นดั่งอรชุนผู้คิดว่าตนนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉานในทางพระเวท หรือตัวของท่านทั้งหลายเองที่คิดว่าข้ารู้ ข้าเก่ง แต่พอเข้าสู่ช่วงเวลาที่คับขันจริงกลับนำความรู้ที่คิดว่าตนเข้าใจดีแล้วมาใช้ไม่ได้อย่างถูกต้อง นั่นเป็นเพราะจิตของเขาไม่รู้จริง ไม่มีพุทธิปัญญาไชชอนให้กระจ่าง
        พระกฤษณะจึงเปรียบได้ดั่งพุทธิปัญญา ที่มาทำลายความรู้ที่ผิดๆ ในพระเวทของอรชุนทิ้งเสีย แล้วสถาปนาความรู้ที่จริงแท้ อันเป็นหัวใจแก่นแท้ของพระเวทแก่อรชุนเสียใหม่ เมื่ออรชุนเกิดแสงสว่างดวงใหม่ที่บริสุทธิ์ในปัญญาแล้ว เขาจึงได้กลับมาหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้อีกครั้งด้วยปัญญาและกองทัพแห่งธรรม จนในที่สุดก็ได้ชัยชนะกลับมาอย่างสมบูรณ์ทั้งทางกายและใจ
        นี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อมหากาพย์มหาภารตะ ในสมัยเริ่มแรกที่มีชื่อเรื่องว่า "ชัย - जय" แล้วต่อมาจึงถูกเปลี่ยนชื่อมหากาพย์ไปเป็น "ภารตะ - भारत" แล้วมาเป็น "มหาภารตะ - महभारत" ตราบเท่าทุกวันนี้
        ดังนั้นบทสนทนานี้จึงเป็นดั่งตัวอย่างในการใช้เลือก ณ ช่วงเวลาที่เรานั้นต้องเลือกตัดสินใจอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งในการประกอบกรรมทำหน้าที่ของมนุษย์อย่างถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องหวังผลตอบแทนทางโลกวัตถุ เมื่อเราคิดตรองแล้วว่าสิ่งที่เรากระทำนั้นเราได้กระทำดีที่สุดแล้ว เราก็จะไม่ต้องมานั่งทุกข์กับผลที่เรานั้นจะได้รับจากการกระทำนั้นๆ
        ในทรรศนะของผมเอง ผมมักจะเรียก "คัมภีร์ภควัทคีตา" นี้ว่า "คัมภีร์แห่งลีลาการทำหน้าที่ของมนุษย์" 
คัมภีร์ภควัทคีตานี้เดิมผมไม่เคยรู้จักมาก่อน แล้วมาช่วง 20 กว่าปีที่แล้ว ในวันที่ผมท้อแท้ ผมได้เดินไปหาหนังสือธรรมะอ่านที่ร้านขายหนังสือประจำของผม
        ขณะนั้นเองได้มีคุณป้าเจ้าของร้านแพร่พิทยาเดินมาพูดคุยกับผมว่า "อายุยังน้อยสนใจธรรมะแล้วหรือ?" ผมเลยตอบไปว่า "ผมไม่รู้จะไปพึ่งอะไร ตอนนี้ทุกข์มากเลยอยากหาหนังสือธรรมะสักเล่มอ่าน"
        คุณป้าเจ้าของแพร่พิทยาท่านก็ได้กรุณาเดินไปหยิบหนังสือเก่าๆ เล่มหนึ่งมาให้ผม หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า "ศรีมัทภควัทคีตา เพลงแห่งชีวิต" แปลโดยท่านศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร แล้วคุณป้าก็กล่าวอีกว่า
        "เอาไปอ่านซะหนังสือเล่มนี้ป้าให้ มันจะช่วยเธอได้ อ่านจนกว่ามันจะเป็นเพลงนะ เมื่อเธอสามารถอ่านจนเป็นเพลงของเธอเองได้แล้วเธอจะเข้าใจมัน"
        มาวันนี้ผมไม่เคยสงสัยอีกเลย ทำไมเขาจึงเรียกคัมภีร์นี้ว่า "คีตา" อันหมายถึง บทเพลง หรือ ลำนำ เพราะแรกเริ่มเดิมทีอ่านอย่างไรมันก็เป็นคำๆ ตามตัวหนังสือ แต่พออ่านไปเรื่อยๆ หลายสิบรอบ ก็รู้สึกว่าทำไมจิตเราไม่อ่านตามตัวอักษรในกระดาษนั้นอีก มันเกิดเป็นเพลงใหม่ที่เป็นเพลงของเราไปเองโดยอัตโนมัติโดยไม่สะดุด
        ดังนั้นผมจึงอยากบอกผู้ที่สนใจอ่าน "ศรีมัทภควัทคีตา" ว่า คุณจงอ่านไป จนกว่าตัวหนังสือนั้นจะกลายเป็นเพลงเฉพาะตัวของคุณ แล้ววันนั้นคุณจะได้โลดเล่นเข้าร่วมทำสงครามมหาภารตะ ณ ทุ่งกุรุเกษตรในเวลานั้นอย่างสมบูรณ์ แล้วกลับออกมาในชีวิตจริงอย่างผู้มีชัย
        วันนี้ขอส่งต่อเนื้อเพลงแห่งพระศรีภควานของผม ให้ท่านผู้ที่สนใจได้ศึกษากัน เพื่อให้ท่านไปใส่ทำนองเพลงของท่านกันเอาเอง แล้วให้กลายบทเพลงของท่านเฉพาะตนในเวลาต่อไป ณ แต่บัดนี้
        ***ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตและคิดตามด้วยว่า พระนามของพระกฤษณะที่อรชุนกล่าวมาแต่ละขณะนั้น จะมักแตกต่างกัน นั่นเพราะผู้รจนานั้นพยายามสื่อแฝงลงไปให้ตีความ ยิ่งท่านตีความพระนามนั้นได้มากเท่าไร ท่านก็ยิ่งจะสามารถเข้าใจวลีนั้น มากเท่านั้น นี่เองจึงเป็นจุดที่พระคเณศต้องหยุดพักเขียนเพื่อตีความให้เข้าใจก่อนอยู่ตลอดเวลาที่ทรงเขียน***
(ที่ใดมีธรรม ที่นั่นย่อมมีชัย สัจจะมีหนึ่งเดียว แต่หนทางเข้าสู่นั้นมีหลากหลาย)
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

भगवद् गीता १
ภควัท คีตา 1
प्रथमोऽध्यायः अर्जुनविषादयोग
ปรถโมอัธยายะ อรชุนวิษาทโยค (ความท้อถอยของอรชุน)

श्रीपरमात्मने नमः โอม ศรีปรมาตมเน นมะ
अथ श्रीमद्भगवद्गीता อถ ศรีมัทภควัทคีตา
प्रथमोऽध्यायः ปรถโม 'ธยายะ

धृतराष्ट्र उवाच
धर्मक्षेत्रे कुरुक्षेत्रे समवेता युयुत्सवः ।
मामकाः पाण्डवाश्चैव किमकुर्वत संजय  ॥१-१॥


ราชาธฤตราษฏร์ ตรัสถามว่า

            ณ สถานที่แห่งความชอบธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ (ธรรมเกษตร) ซึ่งมีนามว่าทุ่งกุรุเกษตร ต่างฝ่ายต่างมาชุมนุมกันด้วยกระหายใคร่ที่จะทำสงครามกัน ทั้งฝ่ายของเราและฝ่ายของพวกปาณฑวะนั้น กองทัพของทั้งสองฝ่ายกำลังดำเนินไปเช่นไรหรือสัญชัย

संजय उवाच
दृष्ट्वा तु पाण्डवानीकं व्यूढं दुर्योधनस्तदा ।
आचार्यमुपसंगम्य राजा वचनमब्रवीत्  ॥१-२॥


สัญชัย กราบทูลว่า

            เมื่อได้เห็นกองทัพของฝ่ายปาณฑวะ ซึ่งกำลังจัดขบวนแปรทัพเป็นทิวแถว ในเวลานั้นองค์ทุรโยธน์จึงเข้าพบกับโทรณาจารย์ แล้วตรัสดังต่อไปนี้

पश्यैतां पाण्डुपुत्राणामाचार्य महतीं चमूम् ।
व्यूढां द्रुपदपुत्रेण तव शिष्येण धीमता ॥१-३॥


        โปรดพิจารณาดูกองทัพอันยิ่งใหญ่ของพวกปาณฑุบุตรสิท่านอาจารย์ของข้า พวกมันช่างจัดกระบวนพยุหะได้อย่างเยี่ยมยอดด้วยฝีมือบุตรของทรุบท (ธฤษฏทยุมัน) ผู้เป็นศิษย์อันชาญฉลาดของท่าน

अत्र शूरा महेष्वासा भीमार्जुनसमा युधि ।
युयुधानो विराटश्च द्रुपदश्च महारथः ॥१-४॥

            ในที่นั้นมีนักรบผู้เก่งกาจ และนักแม่นธนูผู้เป็นเลิศ อันมีชั้นเชิงฝีมือในการรบทัดเทียมกับภีมะและอรชุนอยู่อย่างมากมาย อาทิเช่น ยุยุธาน วิราฏ ทุรบทผู้มหารถ


धृष्टकेतुश्चेकितानः काशिराजश्च वीर्यवान् ।
पुरुजित्कुन्तिभोजश्च शैब्यश्च नरपुङ्गवः ॥१-५॥

        ยิ่งไปกว่านั้นยังมีนักรบผู้ยิ่งใหญ่และทรงพลังอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย อาทิเช่น ธฤษฏเกตุ เจกิตาน กาศีราช ปุรุชิต กุนติโภช และไศพยะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจอมคนทั้งนั้น
युधामन्युश्च विक्रान्त उत्तमौजाश्च वीर्यवान् ।
सौभद्रो द्रौपदेयाश्च सर्व एव महारथाः  ॥१-६॥
            อีกทั้งยังจะมียุธามันยุผู้เยี่ยมยอด อุตตโมชาผู้ทรงพลังอำนาจ โอรสของสุภัทราและเหล่าโอรสของนางโทรปทีทั้งห้า แน่นอน! ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักรบชั้นยอดทั้งนั้น

अस्माकं तु विशिष्टा ये तान्निबोध द्विजोत्तम ।
नायका मम सैन्यस्य संज्ञार्थं तान्ब्रवीमि ते  ॥१-७॥

            โปรดทราบเถิดผู้เป็นเลิศในหมู่พราหมณ์ ว่า ฝ่ายของเรานั้นมีใครบ้างที่เป็นผู้คุมกองทัพอันเปี่ยมไปด้วยพลังอำนาจ ร่วมอยู่ในการนำทัพของข้าบ้าง

भवान्भीष्मश्च कर्णश्च कृपश्च समितिंजयः ।
अश्वत्थामा विकर्णश्च सौमदत्तिस्तथैव च  ॥१-८॥

        มีผู้เป็นเลิศอย่างองค์ภีษมะ กรรณะ กฤปะ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้มีชัยเสมอมาในทุกยุทธภูมิ อีกทั้งยังมีอัศวัตถามา วิกรรณและโอรสของโสมทัตต์ (ภูริศรวัส) ร่วมอยู่ในกองทัพของเราด้วยเช่นกัน

अन्ये च बहवः शूरा मदर्थे त्यक्तजीविताः ।
नानाशस्त्रप्रहरणाः सर्वे युद्धविशारदाः  ॥१-९॥
            อีกทั้งยังมีวีรบุรุษผู้กล้าหาญอีกมากมายเหลือคณานับที่พร้อมยอมสละชีพเพื่อข้า ทั้งหมดต่างก็เพรียบพร้อมไปด้วยศัสตราวุธนานาชนิด และก็ยังล้วนแต่เป็นผู้ช่ำชองศาสตร์แห่งการยุทธด้วยกันทั้งสิ้น

अपर्याप्तं तदस्माकं बलं भीष्माभिरक्षितम् ।
पर्याप्तं त्विदमेतेषां बलं भीमाभिरक्षितम्  ॥१-१०॥

            รี้พลพลของฝ่ายเรานั้นมีมหาศาลเกินกว่าจะนับได้ โดยมีพระอัยกา (ปู่) ภีษมะคอยบัญชาการพิทักษ์พวกเราเป็นอย่างดี แต่ทั้งหมดนี้ รี้พลของพวกมันที่มีภีมะคอยระวังพิทักษ์อยู่นั้นมีจำนวนเบาบางกว่าฝ่ายเรานัก

अयनेषु च सर्वेषु यथाभागमवस्थिताः ।
भीष्ममेवाभिरक्षन्तु भवन्तः सर्व एव हि  ॥१-११॥
        ท่านผู้คุมกองทัพอยู่ในจุดยุทธศาสตร์แนวรบทั้งหมด พวกท่านทั้งหลายก็ควรที่จะให้ความสนับสนุนกำลังรบแด่องค์ภีษมะอย่างเต็มกำลังศึกด้วยเฉกเช่นกัน

तस्य संजनयन्हर्षं कुरुवृद्धः पितामहः ।
सिंहनादं विनद्योच्चैः शङ्खं दध्मौ प्रतापवान्  ॥१-१२॥
            จากนั้นองค์ภีษมะผู้เป็นบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์กุรุ และมีศักดิ์เป็นพระอัยกาแห่งปวงนักรบ ได้ทรงบันลือสังข์ของพระองค์ด้วยพระสุรเสียงที่ดังประดุจสิงห์โตคำราม อันยังความปิติสุขให้แก่องค์ทุรโยธน์เป็นยิ่งนัก

ततः शङ्खाश्च भेर्यश्च पणवानकगोमुखाः ।
सहसैवाभ्यहन्यन्त स शब्दस्तुमुलोऽभवत्  ॥१-१३॥

            หลังจากนั้นเสียงสังข์ กลองเภรี บัณเฑาะว์ กลองศึก แตรเขาสัตว์ ก็ลั่นขับขานประสานเสียงขึ้นพร้อมกันในทันที จนทำให้เกิดเสียงประสานอึกทึกกึกก้องไปทั่วทั้งสมรภูมิ

ततः श्वेतैर्हयैर्युक्ते महति स्यन्दने स्थितौ ।
माधवः पाण्डवश्चैव दिव्यौ शङ्खौ प्रदध्मतुः  ॥१-१४॥

            หลังจากนั้นฝ่ายองค์มาธวะและอรชุน ผู้ประทับอยู่บนรถศึกอันยิ่งใหญ่เทียมด้วยอาชาสีขาวนวล ก็ทรงเริ่มบันลือสังข์ทิพย์ส่งเสียงดังสนั่นขานรับในทันที

पाञ्चजन्यं हृषीकेशो देवदत्तं धनञ्जयः ।
पौण्ड्रं दध्मौ महाशङ्खं भीमकर्मा वृकोदरः  ॥१-१५॥

            องค์หฤษีเกศทรงบันลือปาญจชันยะสังข์ องค์ธนัญชัยเป่าเทวทัตตะสังข์ องค์ภีมะผู้กินจุและมีพลังอันยิ่งใหญ่ก็เป่าโปณฑระมหาสังข์

अनन्तविजयं राजा कुन्तीपुत्रो युधिष्ठिरः ।
नकुलः सहदेवश्च सुघोषमणिपुष्पकौ  ॥१-१६॥
            ราชายุธิษฐิระโอรสโตแห่งพระนางกุนตี ทรงบันลืออนันตวิชัยสังข์ ส่วนองค์นกุลกับสหเทพก็เป่าสังข์สุโฆษและมณีบุษบกอย่างพร้อมเพรียงในเวลาเดียวกัน

काश्यश्च परमेष्वासः शिखण्डी च महारथः ।
धृष्टद्युम्नो विराटश्च सात्यकिश्चापराजितः  ॥१-१७॥

             ราชาแห่งแคว้นกาศีผู้เป็นเลิศในศิลปะการยิงธนูผู้ยิ่งใหญ่ ศิขัณฑีผู้มหารถ ธฤษฏทยุมัน วิราฏ สาตยกิผู้ไม่เคยปราชัยให้แก่ผู้ใดมาก่อน

द्रुपदो द्रौपदेयाश्च सर्वशः पृथिवीपते ।
सौभद्रश्च महाबाहुः शङ्खान्दध्मुः पृथक्पृथक्  ॥१-१८॥
            ราชาทรุบท เหล่าโอรสของนางโทราปทีทั้งห้าก็ดี ยอดนักรบผู้เก่งกาจโอรสของพระนางสุภัทราก็ดี โอ้ภูวเรศ! ทั้งหมดต่างก็ยกสังข์ของตนขึ้นเป่าตามลำดับ จนเกิดเสียงกึกก้องกังวานไปทั่วทั้งสมรภูมิ

स घोषो धार्तराष्ट्राणां हृदयानि व्यदारयत् ।
नभश्च पृथिवीं चैव तुमुलो व्यनुनादयन्  ॥१-१९॥
            เสียงอันดังสนั่นเลื่อนลั่นกึกก้องไปทั่วท้องนภากาศและพื้นปฐพีที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้ส่วนลึกในหัวใจของเหล่าโอรสแห่งราชาธฤตราษฏร์ ถึงกับต้องไหวระรัว

अथ व्यवस्थितान्दृष्ट्वा धार्तराष्ट्रान्कपिध्वजः ।
प्रवृत्ते शस्त्रसंपाते धनुरुद्यम्य पाण्डवः  ॥१-२०॥
हृषीकेशं तदा वाक्यमिदमाह महीपते ।
            องค์ปาณฑวะผู้ประทับอยู่บนราชรถซึ่งประดับด้วยกบี่ธวัช (ธงรูปหนุมาน) พร้อมด้วยคันธนูซึ่งกำลังจะหยิบขึ้นมาเพื่อถูกยิงออกไป ในขณะนั้นเอง ทรงมองไปที่เหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์ ซึ่งขับราชรถเคลื่อนเรียงรายกันเป็นทิวแถว แล้วหันไปตรัสกับองค์หฤษีเกศ ด้วยวาจาดังต่อไปนี้แล มหิบดี

अर्जुन उवाच
सेनयोरुभयोर्मध्ये रथं स्थापय मेऽच्युत  ॥१-२१॥
อรชุน ตรัสว่า
            โอ้อัจยุต! เธอจงโปรดเคลื่อนราชรถของข้าพเจ้าไปท่ามกลางกองทัพทั้งสองด้วยเทอญ.

यावदेतान्निरिक्षेऽहं योद्‌धुकामानवस्थितान् ।
कैर्मया सह योद्धव्यमस्मिन् रणसमुद्यमे  ॥१-२२॥

            เพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้มองเห็นผู้ปรารถนาจะสู้รบใน ณ ที่นี้ว่ามีใครกันบ้างที่ข้าพเจ้าจะต้องเข้าสัประยุทธ์ด้วยในมหาสงครามอันยิ่งใหญ่ซึ่งกำลังจะอุบัติขึ้นในเวลาอันใกล้นี้
योत्स्यमानानवेक्षेऽहं य एतेऽत्र समागताः ।
धार्तराष्ट्रस्य दुर्बुद्धेर्युद्धे प्रियचिकीर्षवः  ॥१-२३॥

            ให้ข้าพเจ้าจะได้เห็นอย่างถนัดว่าบุคคลผู้มาอยู่รวมกัน ณ ที่นี้ เพื่อการสู้รบโดยปรารถนาที่จะทำให้ โอรสของราชาธฤตราษฏร์ผู้มีจิตใจอันงอกงามไปด้วยเมล็ดพันธุ์แห่งความชั่วร้ายนั้นได้รับความพึงพอใจ

संजय उवाच
एवमुक्तो हृषीकेशो गुडाकेशेन भारत ।
सेनयोरुभयोर्मध्ये स्थापयित्वा रथोत्तमम्  ॥१-२४॥

สัญชัย ทูลต่อไป ว่า
            ข้าแต่ผู้สืบวงศ์ภารตะ เมื่อทรงได้ยินคำที่องค์คุฑาเกศตรัสเช่นนั้นแล้ว องค์หฤษีเกศจึงทรงเคลื่อนราชรถไปอยู่ ณ ท่ามกลางระหว่างกองทัพของทั้งสองฝ่ายด้วยลีลาอันงดงาม

भीष्मद्रोणप्रमुखतः सर्वेषां च महीक्षिताम् ।
उवाच पार्थ पश्यैतान्समवेतान्कुरूनिति  ॥१-२५॥

        เมื่อภาพขององค์ภีษมะ โทรณาจารย์ และเหล่ากษัตริย์ทั้งหลายปรากฏอยู่เบื้องหน้า แล้วจึงตรัสขึ้นว่า โอ้ปารถ! เธอจงดูเหล่าสมาชิกแห่งวงศ์กุรุที่มาชุมนุมกันอยู่ ณ ที่นี้เถิด

तत्रापश्यत्स्थितान्पार्थः पितॄनथ पितामहान् ।
आचार्यान्मातुलान्भ्रातॄन्पुत्रान्पौत्रान्सखींस्तथा 
श्वशुरान्सुहृदश्चैव सेनयोरुभयोरपि ॥१-२६॥

            ณ ที่นั้นองค์ปารถทอดพระเนตรภายในกองทัพของทั้งสองฝ่าย ทรงเห็นผู้ที่เปรียบประดุจบิดา พระอัยกา อาจารย์ พระปิตุลา (ลุง) พระเชษฐา (พี่) พระอนุชา (น้อง) พระโอรสพระราชนัดดา (ลูกหลาน) พระสหาย รวมทั้งพระสัสสุระ (พ่อตา) และบรรดาผู้ปรารถนาดีอื่นๆ ปรากฏอยู่ในกองทัพของทั้งสองฝ่าย
तान्समीक्ष्य स कौन्तेयः सर्वान्बन्धूनवस्थितान् 
कृपया परयाविष्टो विषीदन्निदमब्रवीत् ॥१-२७॥
            เมื่อองค์กุนเตยะทรงเห็นเพื่อนพ้องและบรรดาญาติพี่น้องทั้งหมดที่มารวมกันเพื่อจะทำมหาสงครามในครั้งนี้แล้ว พระองค์ทรงรันทดสังเวชพระทัยด้วยความเมตตาสงสาร จึงตรัสด้วยความสลดทดท้อว่า

अर्जुन उवाच
दृष्ट्वेमं स्वजनं कृष्ण युयुत्सुं समुपस्थितम्  ॥१-२८॥

อรชุน ตรัสว่า
            โอ้กฤษณะ! เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นสหายและญาติๆ ทั้งหมดมาปรากฏอยู่ตรงหน้า โดยต่างก็กระหายจะสร้างชื่อเสียงเกียรติยศ อันจะได้มาจากการทำศึกในครั้งนี้


सीदन्ति मम गात्राणि मुखं च परिशुष्यति ।
वेपथुश्च शरीरे मे रोमहर्षश्च जायते  ॥१-२९॥

            ทำให้แขนขาของข้าพเจ้านั้นสั่นเกร็ง ริมฝีปากเริ่มแห้งผาก ทั่วทั้งร่างกายรู้สึกสั่นหวิว ขนลุกชูชัน ร้อนผ่าวอย่างบอกไม่ถูก

गाण्डीवं स्रंसते हस्तात्त्वक्चैव परिदह्यते ।
न च शक्नोम्यवस्थातुं भ्रमतीव च मे मनः  ॥१-३०॥

            ธนูคาณฑีวะก็ลื่นหลุดไปจากมือของข้าพเจ้า ผิวหนังก็ร้อนหนาวราวกับเป็นไข้ บัดนี้ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยืนอยู่ใน ณ ที่นี่ต่อไปได้อีก เพราะส่วนลึกในหัวใจของข้าพเจ้านั้นว้าวุ่นจนไม่มีสติไม่มีสมาธิที่จะคิดอะไรได้อีกต่อไปแล้ว

निमित्तानि च पश्यामि विपरीतानि केशव ।
न च श्रेयोऽनुपश्यामि हत्वा स्वजनमाहवे  ॥१-३१॥

            เกศวะ! ข้าพเจ้าได้เห็นลางร้ายอันวิปริตอับโชคได้ปรากฏขึ้นอยู่เบื้องหน้า แล้วข้าพเจ้าก็มองไม่เห็นประโยชน์อะไรเลย จากการที่ต้องสังหารบรรดาญาติมิตรของข้าพเจ้าในสมรภูมิแห่งนี้

न काङ्क्षे विजयं कृष्ण न च राज्यं सुखानि च ।
किं नो राज्येन गोविन्द किं भोगैर्जीवितेन वा  ॥१-३२॥

            กฤษณะผู้เป็นที่รัก ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาชัยชนะ ราชอาณาจักร หรือ ความสุขที่จะได้รับหลังจากการทำสงครามครั้งอีกแล้ว ราชสมบัติจะยังมีประโยชน์อันใดกับข้าพเจ้าอีกเล่าโควินทะ อันความสุขสำราญด้วยโภคทรัพย์และชีวิตของข้าพเจ้า ก็ไม่ต้องการอีกแล้ว
येषामर्थे काङ्क्षितं नो राज्यं भोगाः सुखानि च ।
त इमेऽवस्थिता युद्धे प्राणांस्त्यक्त्वा धनानि च  ॥१-३३॥

            แล้วข้าพเจ้าจะต้องการราชสมบัติ โภคทรัพย์และความสุขเหล่านั้นไปเพื่อใครอีกเล่า ในเมื่อพวกเขาเหล่านั้นได้มายืนเรียงรายรวมกันอยู่ในยุทธภูมิแห่งนี้แล้ว พวกเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะยอมสละชีวิตและทรัพย์สมบัติของพวกเขาแล้วในเวลานี้

आचार्याः पितरः पुत्रास्तथैव च पितामहाः ।
मातुलाः श्वशुराः पौत्राः श्यालाः संबन्धिनस्तथा  ॥१-३४॥

            เมื่ออาจารย์ พระบิดา โอรส ตลอดจนพระอัยกา พระปิตุลา พระสัสสุระ เชษฐาภรรดา นัดดา และเหล่าสังคญาติของเรา
एतान्न हन्तुमिच्छामि घ्नतोऽपि मधुसूदन ।
अपि त्रैलोक्यराज्यस्य हेतोः किं नु महीकृते  ॥१-३५॥

            พวกเขาเหล่านี้พร้อมที่จะสละทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วเหตุไฉนใยข้าพเจ้ายังจะต้องปรารถนาที่จะเข่นฆ่าพวกเขาเหล่านั้นอีกด้วยเล่า แม้พวกเขาอยากจะปลิดชีวิตของข้าพเจ้าในเวลานี้ก็ตามที
            มธุสูทนะ! ข้าพเจ้ามิได้มารบกับพวกเขาเหล่านี้เพื่อที่จะหวังการได้เสวยราชสมบัติไปทั้งสามโลก แล้วนับประสาอะไรกับโลกอีกนี้เล่า

निहत्य धार्तराष्ट्रान्नः का प्रीतिः स्याज्जनार्दन ।
पापमेवाश्रयेदस्मान्हत्वैतानाततायिनः  ॥१-३६॥

            โอ้ชนารทนะ ข้าพเจ้าจะได้รับความสุขอันใดเล่า จากการสังหารเหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์ กลับจะต้องเป็นว่าข้าพเจ้านั้นต้องสะสมบาปจากการกระทำในครั้งนี้เพิ่มขึ้น แม้ข้าพเจ้านั้นจะต้องสังหารผู้บุกรุกเอาชีวิตของข้าพเจ้าเหล่านี้ก็ตาม

तस्मान्नार्हा वयं हन्तुं धार्तराष्ट्रान्स्वबान्धवान् ।
स्वजनं हि कथं हत्वा सुखिनः स्याम माधव  ॥१-३७॥
            ฉะนั้นจึงเป็นการไม่สมควรเลยที่ข้าพเจ้าจะสังหารเหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์และผู้ที่ข้าพเจ้ารู้จัก เพราะว่าเมื่อข้าพเจ้าได้สังหารเขาเหล่านั้นแล้ว ภายในจิตใจของข้าพเจ้าจะพบกับความสุขได้เช่นไรอีกเล่า...มาธวะ

यद्यप्येते न पश्यन्ति लोभोपहतचेतसः ।
कुलक्षयकृतं दोषं मित्रद्रोहे च पातकम्  ॥१-३८॥

             ถึงแม้ว่าภายในหัวใจของบุคคลเหล่านี้จะถูกครอบงำไปด้วยความโลภ จนให้ดวงตามืดบอดไม่เห็นโทษในการทำลายครอบครัวของตนเอง หรือ การทะเลาะวิวาทมุ่งร้ายต่อเพื่อน
कथं न ज्ञेयमस्माभिः पापादस्मान्निवर्तितुम् ।
कुलक्षयकृतं दोषं प्रपश्यद्भिर्जनार्दन  ॥१-३९॥
            แล้วเหตุไฉนข้าพเจ้าผู้ซึ่งเล็งเห็นแล้วในโทษแห่งการทำลายครอบครัวอันเป็นบาป จะไม่พึงงดเว้นการก่อบาปเช่นที่เล็งเห็นนี้อีกเล่า ชนารทนะ

कुलक्षये प्रणश्यन्ति कुलधर्माः सनातनाः ।
धर्मे नष्टे कुलं कृत्स्नमधर्मोऽभिभवत्युत  ॥१-४०॥

            ด้วยการทำลายซึ่งวงศ์ตระกูล ประเพณีอันดีงามของครอบครัวที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาย่อมพลอยถูกทำลายตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อประเพณีอันดีงามถูกทำลายลงเช่นนี้ ก็จะนำมาซึ่งความเลวทรามและการเสื่อมในศาสนา ขึ้นในครอบครัวด้วยเช่นกัน

अधर्माभिभवात्कृष्ण प्रदुष्यन्ति कुलस्त्रियः ।
स्त्रीषु दुष्टासु वार्ष्णेय जायते वर्णसंकरः  ॥१-४१॥

            กฤษณะ! เมื่ออธรรมนั้นมีอำนาจเฟื่องฟูขึ้น สตรีที่ดีงามภายในครอบครัวก็จะถูกทำให้เสื่อมลง จากความเสื่อมลงของกุลสตรี โอ้วารษเณยะ มันย่อมนำมาซึ่งวรรณสังกร

संकरो नरकायैव कुलघ्नानां कुलस्य च ।
पतन्ति पितरो ह्येषां लुप्तपिण्डोदकक्रियाः  ॥१-४२॥

            แน่นอนทีเดียว ลูกหลานอันเป็นที่พึงประสงค์จะเป็นสาเหตุให้ครอบครัวนั้นเหมือนกับตกนรกทั้งครอบครัว รวมทั้งผู้ที่ทำลายประเพณีอันดีงามนี้ด้วย และบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วของครอบครัวที่วิบัติเช่นนี้ก็จะตกต่ำลง เพราะเกิดการหยุดชะงักในการทำบุญอุทิศอาหารและน้ำให้แด่พวกท่าน ตามไปด้วย

दोषैरेतैः कुलघ्नानां वर्णसंकरकारकैः ।
उत्साद्यन्ते जातिधर्माः कुलधर्माश्च शाश्वताः  ॥१-४३॥

            โดยเหตุจากการกระทำชั่วของผู้ที่ทำลายประเพณีอันดีงามของครอบครัว จึงทำให้เกิดวรรณสังกรขึ้น โครงสร้างในหน้าที่ทางสังคมเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของครอบครัวทั้งหลายทั้งปวงย่อมสูญสลายตามไป
उत्सन्नकुलधर्माणां मनुष्याणां जनार्दन ।
नरकेऽनियतं वासो भवतीत्यनुशुश्रुम  ॥१-४४॥

            โอ้ชนารทนะ ข้าพเจ้าได้ยินมาจากปรัมปราว่า ผู้ที่ทำลายประเพณีอันดีงามของครอบครัวที่สืบต่อกันมายาวนานให้เสื่อมลง เขาผู้นั้นต้องตกลงไปสู่ขุมนรกอย่างแน่นอน

अहो बत महत्पापं कर्तुं व्यवसिता वयम् ।
यद्राज्यसुखलोभेन हन्तुं स्वजनमुद्यताः  ॥१-४५॥

            อนิจจามันช่างน่าขบขันอะไรเช่นนี้ ที่ข้าพเจ้ากำลังจะประกอบบาปอันใหญ่หลวง ด้วยเพียงแรงผลักดันจากความละโมบในการจะแสวงหาความสุขทางโลกอันยิ่งใหญ่ที่จะพึงได้รับ ข้าพเจ้าจึงเกิดความคิดที่จะสังหารสังคญาติของข้าพเจ้าเอง

यदि मामप्रतीकारमशस्त्रं शस्त्रपाणयः ।
धार्तराष्ट्रा रणे हन्युस्तन्मे क्षेमतरं भवेत्  ॥१-४६॥

            หากจะเป็นความสุขเสียกว่าถ้าเหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์ผู้ถืออาวุธอยู่ในมือจะมาสังหารข้าพเจ้าผู้ปราศจากอาวุธในเวลานี้ ข้าพเจ้าจะไม่ขอตอบโต้ต่อสู้เลยในสงครามครั้งนี้

संजय उवाच
एवमुक्त्वार्जुनः संख्ये रथोपस्थ उपाविशत् ।
विसृज्य सशरं चापं शोकसंविग्नमानसः  ॥१-४७॥

สัญชัย ทูลเล่าต่อไปว่า
          หลังจากที่องค์อรชุนได้ตรัสในสมรภูมิดังนี้แล้ว องค์อรชุนก็ทรงวางคันธนูและลูกศรลงข้างๆ แล้วประทับลงบนพื้นราชรถ ด้วยดวงจิตอันท่วมท้นเปี่ยมไปด้วยความโศกเศร้าทุกข์ทรมาน

ॐ तत्सदिति श्रीमद्भगवद्गीतासूपनिषत्सु ब्रह्मविद्यायां योगशास्त्रे
โอม ตัตสทิติ ศรีมัทภควัทคีตาสูปนิษัตสุ พรหมวิทยายาม โยคศาสเตร
श्रीकृष्णार्जुनसंवादेऽर्जुनविषादयोगो नाम प्रथमोऽध्यायः ॥ १ ॥
ศรีกฤษณารชุนสัมวาเท'ชุนวิษาทโยโค นาม ปรถโม 'ธยายะ [ 1 ]

อธิบายศัพท์อัธยายที่ 1
          01. มหารถ หมายถึง นักรบบนรถศึกที่ยิ่งใหญ่ เป็นผู้รอบรู้ในเชิงยุทธศาสตร์ และนักรบที่สามารถต่อสู้กับทหารฝ่ายตรงข้ามได้ถึง 11,000 คน
          02. มาธวะ หมายถึง พระวิษณุผู้เป็นสวามีของพระลักษมีเทวีแห่งโชคลาภ ในที่นี้จะหมายถึงพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารที่ 8 ของพระวิษณุ
          03. หฤษีเกศ หมายถึง พระกฤษณะ โดยแปลว่า ผู้ควบคุมกำกับประสาทสัมผัส หรือ ผู้อยู่เหนืออินทรีย์   
          04. ธนัญชัย แปลว่า ผู้ชนะความร่ำรวย ในที่นี้หมายถึงอรชุน เพราะเมื่อครั้งราชายุธิษฐิระจัดพิธีราชสูยะ เพื่อประกาศพระองค์เป็นเจ้ามหาจักพรรดิแห่งนครอินทรปรัสถ์ อรชุนเป็นแม่ทัพที่ไปปราบหัวเมืองต่างๆ ให้ยอมสวามิภักดิ์ และได้เครื่องราชบรรณาการกลับมาถวายราชายุธิษฐิระมากที่สุด จึงได้ฉายานี้มา
          05. ปาณฑวะ แปลว่า โอรสของราชาปาณฑุ ซึ่งในที่นี้หมายถึง อรชุน
          06. มหีบดี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในที่นี้หมายถึงราชาธฤตราษฏร์ผู้ตาบอด ซึ่งกำลังฟังสัญชัยผู้เป็นสารถีเล่าเรื่องเหตุการณ์สงครามบนทุ่งกุรุเกษตรให้ฟังอยู่ในราชวังของนครหัสตินาปุระ
          07. อัจยุต แปลว่า ผู้ไม่มีความผิดพลาด ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระกฤษณะ
          08. คุฑาเกศ แปลว่า ผู้อยู่เหนือการหลับไหล, ผู้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา, ผู้ขจัดอวิชชา, ผู้ครองโลก ซึ่งหมายถึงอรชุน
   
          09. ปารถ แปลว่า
บุตรของนางปฤถา และชื่อปฤถานั้นก็คือพระนามเดิมของพระนางกุนตี ดังนั้นบุตรของนางปฤถาจึงหมายถึงอรชุน
          10. กุนเตยะ แปลว่า โอรสของพระนางกุนตี หมายถึง อรชุน
          11. เกศวะ แปลว่า ผู้สังหารอสูรเกศี หรือ ผู้อยู่เหนือมูลเหตุของโลก ซึ่งหมายถึง พระกฤษณะ
          12. โควินทะ แปลว่า ผู้ที่แพร่อยู่ในทุกสรรพสิ่งในจักรวาล หรือ ผู้ให้กำเนิดสกลจักรวาล หมายถึง พระกฤษณะ
          13. มธุสูทนะ แปลว่า ผู้สังหารอสูรมธุ, ผู้ขัดเกลาหรือทำลาย ความรู้ความเข้าใจในการศึกษาพระเวทที่ผิดจุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวท (มธุ = น้ำผึ้ง แต่รากศัพท์จะหมายถึง ความสุขทางจิตใจที่ได้รับจากการศึกษาพระเวท และ สูทนะ = สังหาร หรือ ทำลาย) ซึ่งหมายถึง พระกฤษณะ เพราะพระกฤษณะนั้นต่อจากนี้จะทรงมาเป็นผู้ทำลายความเข้าใจในพระเวทแบบผิดๆ ของอรชุนให้มลายไป เพื่อให้อรชุนเข้าใจจุดมุ่งหมายและวิถีทางอันเป็นแก่นแท้ของพระเวททั้งในด้านทฤษฏีและด้านปฏิบัติ
          14. ชนารทนะ แปลว่า ผู้สังหารอสูรชนะ, ผู้ค้ำจุนมวลชีวิต หมายถึง พระกฤษณะ

          15. วารษเณยะ แปลว่า ผู้สืบเชื้อสายจากวงศ์วฤษณี หมายถึง พระกฤษณะ
          16. วรรณะสังกร หมายถึง การเสื่อมวรรณะทางสังคมของชาวฮินดู, การที่ลูกหลานอันไม่ถึงประสงค์จะกำเนิดขึ้น, การให้กำเนิดบุตรที่เป็นจัณฑาล
          โดยสังคมของชาวฮินดูนั้นจะมีการแบ่งวรรณะตามชาติกำเนิด หรือ ตามหน้าที่ทางสังคมออกเป็น 4 วรรณะ ตามลำดับจากสูงไปหาต่ำ คือ วรรณะพรหมิน หรือ พรามหณ์ ซึ่งถือเป็นวรรณะที่สูงสุดมีหน้าที่ศึกษาพระเวทเพื่อมุ่งหลุดพ้นและเผยแพร่ศาสนา, วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองบริหารประเทศ และคอยให้ความคุ้มครองประชาชนของตน, วรรณะไวศยะ มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำการฝีมือ ค้าขายแรกเปลี่ยน และวรรณะศูทร มีหน้าที่เป็นพวกกรรมกรใช้แรงงาน คอยรับใช้วรรณะที่สูงกว่า เพื่อรักษาชาติพันธุ์ของชาวอารยันให้บริสุทธิ์ และการทำหน้าที่ทางสังคมให้คงอยู่
          โดยถ้าชายที่มีวรรณะสูงกว่าได้ภรรยาเป็นคนว
[/SIZ
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

คุณพี่ "กาลปุตรา" ชังน่ารักจัง เก่งอีกต่างหาก ดิฉันจะติดตามผลงานของ คุณพี่นะค่ะ ขอบคุณมากๆนะ

ค่ะ  ดิฉันติดตามอ่านผลงานของคุณมาตลอดค่ะ "จะรออ่านนะค่ะ
"



โอม ศรีกฤษฺณาย นมะ!!
ศฺรีมทฺภควทฺคีตามฺ วิชยเต!
สตฺยสตาตนธรฺม กี ชย!!

ขอความนอบน้อมมีแด่องค์พระกฤษณะ!!
ขอพระศรีมัทภควัทคีตา จงมีชัย!!
ขอพระศาสนาสนาตนธรรม(ฮินดู) จงมีชัย!!


ขอสาธุการกับการแปลคีตาในครั้งนี้ของท่านกาลปุตราครับ

ที่ใดมีธรรม ที่นั่นมีชัย!

เลิศคะพี่ออส   หนูขออนุโมทนาบุญด้วย..... อิอิ


สาธุๆ คัฟ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ขอบพระคุณ คุณกาลปุตรา สำหรับสาระความรู้ดีๆที่นำมามอบให้อย่างสม่ำเสมอ

ปล.ผมปักหมุดกระทู้ให้เรียบร้อยแล้วนะครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

[HIGHLIGHT=#ffff00]เลิศคร่ะ[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]  [/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffff00]สวย รวย เก่ง หุ่นดี มีสมอง[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffff00]  [/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#ffff00]สาธุ ... ที่ใดมีธรรม ที่นั่นมีชัย!...[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#d7e3bc]ปีใหม่ไทย ...ยินดีที่[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#d7e3bc] HM ทำให้ "รู้จักที่ บุคคล ที่ควรให้และรับอย่างสมดุล" @ให้เกียรติเพื่อนสมาชิกที่จิตผ่องใสบริสุทธิ์เสมอกัน @ให้เกียรติ webmasters ที่หลายท่านมองข้ามความเหน็ดเหนื่อย และการไม่ปริปากร้องขอสิ่งใดแม้เกียรติแห่งตนนอกจาก "ความสงบ" ตาม "หลักสากลของกติกาแห่งบอร์ด" และ@ HM พื้นที่เล็กๆ ให้ฝึก "สำรวมกาย วาจา ใจ ในวงแคบแต่ยิ่งใหญ่" การเกิดขึ้นของสิ่งใด นอกจาก "ความซาบซึ้งแต่ไร้ตรรกะ" และ "ขัดกับจุดยืนข้างต้น" คงไม่ได้ทำให้ "การหยุดแล้วมอง HM ที่ดูอบอุ่นแต่ไม่มั่นคง" เป็นหนทางปลีกวิเวก คุณูปการของ HM ด้านอื่น บ้าน/แหล่งระบาย/แสดงอำนาจ/ความรู้แท้ แล้วบังเกิดให้ "ซาบซึ้ง..แต่ไร้ตรรกะ" ที่น่าเคารพ "การปฏิเสธที่จะโต้แย้งใดๆ" คงเป็นหนทางเดียวที่จะรักษาจุดยืน และ "ให้" เกียรติแก่ HM ที่ไม่สามารถประกาศตนได้ว่า กินอิ่ม นอนหลับ เราคือผู้มอบวิญญาณแก่องค์เทพ/องค์เทพอยู่กับ HM เยี่ยงการร้องขอ/เรียกร้องอย่างปุถุชนทั่วไป   ที่กล่าวมาอาจ "เข้าไม่ถึง"...คำว่า "ให้" จึงยังไม่มีในมโนสำนึก แต่จะแย่เข้าไปอีกหาก "ซาบซึ้ง/แปลความหมายผิด" ก็คงต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ เป็นเรื่องปัจเจกจริงๆ คนเราปรับเปลี่ยนยาก..... เห้อออ แค่คำว่า "ให้" ด้วยความเคารพ [/HIGHLIGHT]



สาธุ สาธุ สาธุ ขอบพระคุณมากครับพี่ออส

भगवद् गीता २
द्वितीयोऽध्यायः सांख्ययोग
ทวิตีโยอัธยายะ สางขยะโยค (หลักแห่งการวิเคราะห์จำแนก)

श्रीपरमात्मने नमः โอม ศรีปรมาตมเน นมะ
अथ द्वितीयोऽध्यायः อถ ทวิตีโย' ธยายะ
संजय उवाच
तं तथा कृपयाविष्टमश्रुपूर्णाकुलेक्षणम् ।
विषीदन्तमिदं वाक्यमुवाच मधुसूदनः ॥२- १॥
สัญชัย กราบทูลว่า
            เมื่อได้เห็นท้าวเธอผู้มีพระเนตรอันคลั่งคลอไปด้วยอัสสุชล ซึ่งเกิดจากหฤทัยอันเศร้าสลด ระคนกับทรงความเกิดความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นเป็นสุข แล้วองค์มธุสูทนะจึงได้ตรัสขึ้นกับองค์อรชุนดังนี้

श्रीभगवानुवाच
कुतस्त्वा कश्मलमिदं विषमे समुपस्थितम् ।
अनार्यजुष्टमस्वर्ग्यमकीर्तिकरमर्जुन ॥२- २॥

ศรีภควาน ตรัสท้วงว่า
            อะไรทำให้เธอดูอ่อนแอไปเช่นนี้เล่าอรชุนผู้เป็นที่รักแห่งเรา มลทินเช่นนี้เกิดขึ้นกับเธอได้อย่างไรในเวลาภาวะฉุกเฉินเฉกเช่นนี้ ความคิดเช่นนี้ไม่เหมาะสถิตอยู่กับเธอผู้รู้ซึ้งในคุณค่าแห่งชีวิต เพราะความคิดของเธอเช่นนี้นั้นมันจะไม่นำเธอไปสู่โลกอันสูงส่ง แต่มันกลับจะนำมาซึ่งความเสียชื่อเสียงแก่เธอด้วยซ้ำไป


क्लैब्यं मा स्म गमः पार्थ नैतत्त्वय्युपपद्यते ।
क्षुद्रं हृदयदौर्बल्यं त्यक्त्वोत्तिष्ठ परन्तप ॥२- ३॥

            โอ้ปารถเอ๋ย! เธอนั้นจงอย่ายอมจำนนให้กับการไร้ความสามารถทางความคิดที่น่าอับอายของเธอจนไม่เป็นตัวของตัวเองเฉกเช่นนี้อีกเลย เธอจงสลัดทิ้งซึ่งละอองธุลีแห่งความอ่อนแอภายในดวงจิตอันเล็กน้อยของเธอนี้ออกไปให้สิ้นเถิด แล้วจงลุกขึ้นมาอีกครั้งเถอะปรันตปะ
अर्जुन उवाच
कथं भीष्ममहं संख्ये द्रोणं च मधुसूदन ।
इषुभिः प्रति योत्स्यामि पूजार्हावरिसूदन ॥२- ४॥

อรชุน ตรัสตอบว่า
            โอ้มธุสูทนะ! ข้าพเจ้าจะทำสงครามโต้ตอบด้วยลูกศรกับองค์ภีษมะและโทรณาจารย์ ผู้สมควรแด่การเคารพนบนอบบูชา กระนั้นหรือ?...อริสูทนะ

गुरूनहत्वा हि महानुभावान् श्रेयो भोक्तुं भैक्ष्यमपीह लोके ।
हत्वार्थकामांस्तु गुरूनिहैव भुञ्जीय भोगान् रुधिरप्रदिग्धान् ॥२- ५॥

            แม้นว่าจะต้องอยู่ในโลกนี้ด้วยการขอทานเขากิน ก็ยังดีกว่าการที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยการเสพกินดวงวิญญาณของครูผู้มีพระคุณ ถึงแม้ว่าพวกท่านยังจะมีความพึงพอใจในทางโลกวัตถุ แต่พวกท่านนั้นก็ยังเป็นผู้ที่ข้าพเจ้าควรเคารพสักการะ หากข้าพเจ้าจะต้องสังหารครู ย่อมเท่ากับว่าความสุขของข้าพเจ้าที่จะได้รับนั้น มันจะต้องแปดเปื้อนระคนไปด้วยโลหิต

न चैतद्विद्मः कतरन्नो गरीयो यद्वा जयेम यदि वा नो जयेयुः ।
यानेव हत्वा न जिजीविषाम- स्तेऽवस्थिताः प्रमुखे धार्तराष्ट्राः ॥२- ६॥
            ข้าพเจ้าไม่รู้เลยว่าสิ่งไหนจะดีกว่ากัน ระหว่างการชนะพวกเขา กับการที่พวกเขาชนะเรา หากข้าพเจ้าจำต้องสังหารเหล่าโอรสของราชาธฤตราษฏร์ ข้าพเจ้าก็ไม่ปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่เช่นกัน บัดนี้พวกเขาได้มายืนปรากฏต่อหน้าข้าพเจ้าแล้วในสมรภูมิแห่งนี้
कार्पण्यदोषोपहतस्वभावः पृच्छामि त्वां धर्मसम्मूढचेताः ।
यच्छ्रेयः स्यान्निश्चितं ब्रूहि तन्मे शिष्यस्तेऽहं शाधि मां त्वां प्रपन्नम् ॥२- ७॥

            ขณะนี้ข้าพเจ้ารู้สึกสับสนเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของข้าพเจ้ายิ่งนัก อีกทั้งยังสูญเสียความสงบภายในจิตใจด้วยความอ่อนแอเพียงเล็กน้อย ในภาวะเช่นนี้ข้าพเจ้าไม่รู้จะหันหน้าไปปรึกษาใคร ขอท่านจงได้โปรดชี้แนะแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ว่าอะไรคือสิ่งอันสมควรและดีที่สุดในภาวะเช่นนี้
            บัดนี้ข้าพเจ้าขอนอบน้อมด้วยกายและจิตวิญญาณที่ศิโรราบแด่ท่าน ขอท่านจงโปรดชี้แนะหนทางอันสว่างนี้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ.
न हि प्रपश्यामि ममापनुद्याद् यच्छोकमुच्छोषणमिन्द्रियाणाम् ।
अवाप्य भूमावसपत्नमृद्धं राज्यं सुराणामपि चाधिपत्यम् ॥२- ८॥
             ข้าพเจ้ามองหาไม่เห็นหนทางใดเลย ที่จะขจัดความทุกข์โศกอันทำให้ประสาทรับรู้ทั้งปวงของข้าพเจ้านั้นเหือดแห้งลงได้ แม้ข้าพเจ้าจะได้รับชัยชนะทั้งราชสมบัติและราชอาณาจักรอันไร้คู่แข่งในโลกนี้ พร้อมทั้งอำนาจความเป็นใหญ่สูงสุดประดุจเหล่าเทวดาบนสรวงสวรรค์ก็ตาม
संजय उवाच
एवमुक्त्वा हृषीकेशं गुडाकेशः परन्तपः ।
न योत्स्य इति गोविन्दमुक्त्वा तूष्णीं बभूव ह ॥२- ९॥

สัญชัย จึงทูลต่อไปว่า
            หลังจากที่ตรัสเช่นนั้นแล้ว องค์คุฑาเกศผู้เคยทำให้เหล่าศัตรูต้องหวาดกลัวก็ได้ทูลแด่องค์หฤษีเกศว่า "ข้าฯ แต่โควินทะ ข้าพเจ้าจะไม่ทำการรบอีกต่อแล้ว" และมีทรงพระอาการอาการนิ่งเงียบไป

तमुवाच हृषीकेशः प्रहसन्निव भारत ।
सेनयोरुभयोर्मध्ये विषीदन्तमिदं वचः ॥२- १०॥

            โอ้ผู้สืบวงศ์ภารตะ! ทันใดนั้นองค์หฤษีเกศก็ทรงแย้มพระโอษฐ์ แล้วตรัสแก่องค์อรชุนผู้มีดวงจิตอันเต็มเปี่ยมไปด้วยความเศร้าโศกในท่ามกลางระหว่างกองทัพของทั้งสองฝ่าย ด้วยมธุรสวาจาดังต่อไปนี้

श्रीभगवानुवाच
अशोच्यानन्वशोचस्त्वं प्रज्ञावादांश्च भाषसे ।
गतासूनगतासूंश्च नानुशोचन्ति पण्डिताः ॥२- ११॥

ศรีภควาน ตรัสสอนว่า
            ขณะที่เธอนั้นกล่าวออกมาด้วยวาจาที่ฟังดูหลักแหลมประดุจผู้มีการศึกษาสูง แต่เธอนั้นกลับมานั่งเศร้าโศกในสิ่งที่ไม่ควรค่าแก่การโศกเศร้า นั่นก็เพราะเธอไม่ได้เข้าใจความหมายอันลึกซึ้งในสิ่งที่เธอนั้นได้กล่าวออกมา ผู้มีปัญญาความรู้อันกระจ่างแล้วนั้นเขาย่อมจะไม่มานั่งเศร้าโศกกับสิ่งที่มีชีวิตอยู่ หรือ สิ่งที่ตายไปแล้ว
न त्वेवाहं जातु नासं न त्वं नेमे जनाधिपाः ।
न चैव न भविष्यामः सर्वे वयमतः परम् ॥२- १२॥

            ทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้น ไม่มีขณะใดเลยที่ตัวเรา ตัวเธอ หรือ พวกกษัตริย์เหล่านั้นจะไม่มีชีวิตอยู่ และเป็นที่แน่นอนว่าในอนาคตพวกเราทั้งปวงก็จะยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไป

देहिनोऽस्मिन्यथा देहे कौमारं यौवनं जरा ।
तथा देहान्तरप्राप्तिर्धीरस्तत्र न मुह्यति ॥२- १३॥
            ดังเช่นดวงวิญญาณซึ่งอาศัยอยู่ในร่างวัตถุ โดยเริ่มเดินทางผ่านร่างกายในวัยเด็ก แล้วค่อยๆ เคลื่อนมาสู่การเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็เคลื่อนต่อไปเข้าสู่วัยอันชราในร่างที่เหี่ยวย่น ฉันใดก็ฉันนั้น ดวงวิญญาณก็จะเคลื่อนออกจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่งเมื่อร่างเก่านั้นทรุดโทรมมากและตายไป ผู้ที่มีสติปัญญาจะไม่มัวมาหลงสับสนต่อการเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรเช่นนี้

मात्रास्पर्शास्तु कौन्तेय शीतोष्णसुखदुःखदाः ।
आगमापायिनोऽनित्यास्तांस्तितिक्षस्व भारत ॥२- १४॥
            โอ้กุนเตยะ! การปรากฏและไม่ปรากฏทางประสาทสัมผัสของอินทรีย์และวิษัย อันไม่ถาวรยังให้เกิดความสุขและทุกข์ตามภาวะแห่งกาลเวลานั้นๆ เปรียบเสมือนการปรากฏและไม่ปรากฏของอากาศที่ร้อนและหนาว อันเกิดกับประสาทสัมผัส ซึ่งถ่ายเทไปมาไม่แน่นอน
            โอ้ภารตะ! เธอต้องเรียนรู้ต้องเข้าใจมัน และอดทนอดกลั้นต่อสิ่งอันตกกระทบเหล่านี้โดยไม่หวั่นไหว

यं हि न व्यथयन्त्येते पुरुषं पुरुषर्षभ ।
समदुःखसुखं धीरं सोऽमृतत्वाय कल्पते ॥२- १५॥
            โอ้ผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์! ผู้ไม่หวั่นไหว ไม่ยินดียินร้ายในความสุขแลความทุกข์ มีความมั่นคงสม่ำเสมอในทั้งสองสิ่งนี้ เขาผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีสิทธิ์ถึงซึ่งความหลุดพ้นในความเป็นอมตะอย่างแน่นอน
नासतो विद्यते भावो नाभावो विद्यते सतः ।
उभयोरपि दृष्टोऽन्तस्त्वनयोस्तत्त्वदर्शिभिः ॥२- १६॥

            ผู้พบแล้วซึ่งสัจธรรมเขาย่อมสรุปได้ว่า สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงอันถูกสมมติขึ้น (ร่างกาย) จะไม่จิรังยั่งยืน แต่สำหรับสิ่งอันเป็นอมตะ (จิตวิญญาณ) นั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่นักปราชญ์สรุปเช่นนี้ก็เพราะเขาได้ประจักษ์แล้วในธรรมชาติของทั้งสองสิ่งนี้อย่างถ่องแท้

अविनाशि तु तद्विद्धि येन सर्वमिदं ततम् ।
विनाशमव्ययस्यास्य न कश्चित्कर्तुमर्हति ॥२- १७॥

             เธอพึงทราบไว้ด้วยว่าสิ่งที่แผ่ไปทั่วร่างกายนั้นจะไม่มีความพินาศ จะไม่มีผู้ใดที่จะทำลายดวงวิญญาณอันไม่มีวันเสื่อมสลายนี้ลงได้

अन्तवन्त इमे देहा नित्यस्योक्ताः शरीरिणः ।
अनाशिनोऽप्रमेयस्य तस्माद्युध्यस्व भारत ॥२- १८॥

            วิญญาณซึ่งอาศัยอยู่ในร่างนั้นจะไม่มีวันถูกทำลายลง ประมาณไม่ได้และเป็นอมตะ ส่วนร่างที่วิญญาณอาศัยอยู่นั้น จะต้องสิ้นต้องเสื่อมสลายลงอย่างแน่นอน ฉะนั้นจงสู้เถอะผู้สืบวงศ์ภารตะ
य एनं वेत्ति हन्तारं यश्चैनं मन्यते हतम् ।
उभौ तौ न विजानीतो नायं हन्ति न हन्यते ॥२- १९॥
            ผู้ที่คิดว่าวิญญาณซึ่งอาศัยร่างนั้นเป็นผู้ฆ่า และคิดว่าวิญญาณซึ่งอาศัยร่างนั้นเป็นผู้ถูกฆ่า ผู้ที่มีทรรศนะความคิดทั้งสองอย่างนี้ถือว่าเป็นผู้ที่ไม่รู้จริง เพราะดวงวิญญาณนี้ไม่ได้เป็นทั้งผู้ฆ่า หรือ ผู้ถูกฆ่า

न जायते म्रियते वा कदाचि- न्नायं भूत्वा भविता वा न भूयः ।
अजो नित्यः शाश्वतोऽयं पुराणो न हन्यते हन्यमाने शरीरे ॥२- २०॥

            ดวงวิญญาณนั้นไม่เคยเกิดหรือตายไม่ว่าจะในเวลาใด ไม่เคยอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ดวงวิญญาณนั้นไม่เคยเกิด เป็นอมตะคงไปอยู่ชั่วนิรันดร และเป็นสิ่งอันเก่าแก่ที่สุด ฉะนั้นดวงวิญญาณจะไม่ถูกใครสังหาร เมื่อร่างกายอันเป็นวัตถุนั้นถูกฆ่า

वेदाविनाशिनं नित्यं य एनमजमव्ययम् ।
कथं स पुरुषः पार्थ कं घातयति हन्ति कम् ॥२- २१॥

            ปารถเอ๋ย ผู้ที่รับรู้แล้วว่า ดวงวิญญาณนั้นไม่มีวันถูกทำลายลงได้ มีความเป็นอมตะ ไม่มีการเกิด และไม่มีการเปลี่ยนแปลง เขาจะถูกสังหารหรือเป็นต้นเหตุแห่งการสังหารใครได้อย่างไรเล่า

वासांसि जीर्णानि यथा विहाय नवानि गृह्णाति नरोऽपराणि ।
तथा शरीराणि विहाय जीर्णान्यन्यानि संयाति नवानि देही ॥२- २२॥

            อุปมาเหมือนดั่งการที่คนเราที่ถอดหรือทิ้งเครื่องนุ่งห่มอันเก่าเสีย เพื่อไปสวมชุดใหม่ฉันใด ดวงวิญญาณก็ละทิ้งร่างกายอันเก่าและชำรุดนั้นไป แล้วเข้าไปอาศัยในร่างกายอันใหม่ฉันนั้น
नैनं छिन्दन्ति शस्त्राणि नैनं दहति पावकः ।
न चैनं क्लेदयन्त्यापो न शोषयति मारुतः ॥२- २३॥

            อันดวงวิญญาณนั้นจะไม่ถูกอาวุธใดๆ ตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ ได้  ไฟไม่สามารถแผดเผาให้พินาศลงได้ น้ำก็ไม่สามารถทำให้ที่จะทำให้ดวงวิญญาณนั้นเปียกละลายได้ หรือแม้กระทั่งลมก็ไม่สามารถพัดให้ระเหยแห้งลงได้เช่นกัน
अच्छेद्योऽयमदाह्योऽयमक्लेद्योऽशोष्य एव च ।
नित्यः सर्वगतः स्थाणुरचलोऽयं सनातनः ॥२- २४॥
            ปัจเจกวิญญาณนี้ย่อมไม่วันแตกสลาย ไม่ละลาย ไม่ถูกเผาไหม้ และไม่ถูกทำให้แห้งเหือด มีความเป็นอมตะ ปรากฏอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่หวั่นไหวเคลื่อนไป และจะเป็นเหมือนเดิมอยู่ตลอดตราบนิตย์นิรันดร์
अव्यक्तोऽयमचिन्त्योऽयमविकार्योऽयमुच्यते ।
तस्मादेवं विदित्वैनं नानुशोचितुमर्हसि ॥२- २५॥
             ผู้รู้แจ้งแล้วกล่าวไว้ว่า  ดวงวิญญาณนั้นไม่มีความปรากฏ มองไม่เห็น ไม่เปลี่ยนรูป ไม่อาจคิดนึกไปเองได้ ฉะนั้นเมื่อทราบเช่นนี้แล้ว เธอก็ไม่ควรที่จะมานั่งเศร้าโศกกับร่างวัตถุนี้อีกต่อไป

अथ चैनं नित्यजातं नित्यं वा मन्यसे मृतम् ।
तथापि त्वं महाबाहो नैनं शोचितुमर्हसि ॥२- २६॥

            อย่างไรก็ดี ถ้าหากเธอคิดว่าดวงวิญญาณซึ่งเป็นลักษณะอาการของการมีชีวิตนั้น จะต้องเกิดและต้องดับอยู่เสมอชั่วนิรันดร์ กระนั้นแล้วเธอก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องมานั่งโศกเศร้าอีกเช่นกัน มหาพาหุเอ๋ย
जातस्य हि ध्रुवो मृत्युर्ध्रुवं जन्म मृतस्य च ।
तस्मादपरिहार्येऽर्थे न त्वं शोचितुमर्हसि ॥२- २७॥
            เพราะเป็นที่แน่นอนว่าสรรพชีวิตที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นจะต้องตายสลายไป และหลังจากที่ตายไปแล้วก็จะวนกลับมาถือกำเนิดใหม่อีกครั้งเป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่อยไป ฉะนั้นเธอจึงไม่ควรมาเสียใจในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นนี้ แล้วจงปฏิบัติตามหน้าที่อันพึงควรของเธอเถิด

अव्यक्तादीनि भूतानि व्यक्तमध्यानि भारत ।
अव्यक्तनिधनान्येव तत्र का परिदेवना ॥२- २८॥

            อันสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น เป็นสิ่งอันไม่ปรากฏในเบื้องต้น ปรากฏเพียงแต่ในช่วงกลาง และจะไม่ปรากฏอีกครั้งเมื่อถูกทำลายลงในเบื้องปลาย ดังนั้นเธอจึงไม่จำเป็นที่จะมาคร่ำครวญเสียใจในเรื่องนี้อีก ภารต!

आश्चर्यवत्पश्यति कश्चिदेन- माश्चर्यवद्वदति तथैव चान्यः ।
आश्चर्यवच्चैनमन्यः शृणोति श्रुत्वाप्येनं वेद न चैव कश्चित् ॥२- २९॥

            บางคนอาจจะมองว่าวิญญาณนั้นเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ บางคนนั้นอธิบายว่าดวงวิญญาณเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งนัก และบางคนก็ได้ยินเกี่ยวกับดวงวิญญาณว่าเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ขณะที่อีกหลายคนแม้ครั้นเขานั้นจะได้ยินมาแล้วเกี่ยวกับเรื่องของดวงวิญญาณ พวกเขาเหล่านั้นก็ยังไม่มีใครสักคนที่สามารถเข้าใจมันได้เลย

देही नित्यमवध्योऽयं देहे सर्वस्य भारत ।
तस्मात्सर्वाणि भूतानि न त्वं शोचितुमर्हसि ॥२- ३०॥

            โอ้ผู้สืบวงศ์ภารตะเอ๋ย! อันดวงวิญญาณที่สถิตพำนักอยู่ ณ ในร่ายกายของคนเรานี้นั้นจะไม่มีวันถูกสังหารลงได้ ฉะนั้นเธอจึงมิควรมีดวงจิตอันเศร้าหมองกับชีวิตของผู้อื่นอีก

स्वधर्ममपि चावेक्ष्य न विकम्पितुमर्हसि ।
धर्म्याद्धि युद्धाच्छ्रेयोऽन्यत्क्षत्रियस्य न विद्यते ॥२- ३१॥

            คราวนี้เมื่อหันกลับมาพิจารณาหน้าที่ของเธอ ซึ่งดำรงอยู่ในฐานะกษัตริย์ เธอก็ทราบดีว่าไม่มีหน้าที่อื่นใดจะดีไปกว่าการได้ต่อสู้เพื่อปกป้องคุณธรรมความถูกต้อง ดังนั้นเธอจึงไม่ควรที่จะลังเลใจในหน้าที่ของเธอ
यदृच्छया चोपपन्नं स्वर्गद्वारमपावृतम् ।
सुखिनः क्षत्रियाः पार्थ लभन्ते युद्धमीदृशम् ॥२- ३२॥

            ปารถ! กษัตริย์ผู้มีความสุขก็คือ กษัตริย์ที่ได้กระทำการต่อสู้เมื่อโอกาสนั้นได้เอื้ออำนวยให้ โดยที่เขานั้นไม่ต้องไปเสาะแสวงหาเช่นนี้ ซึ่งนับว่า เปรียบเสมือนกับเป็นการเปิดประตูสู่สวรรค์ให้แก่ตัวเขาเอง
अथ चेत्त्वमिमं धर्म्यं संग्रामं न करिष्यसि ।
ततः स्वधर्मं कीर्तिं च हित्वा पापमवाप्स्यसि ॥२- ३३॥

            อย่างไรก็ดี หากว่าเธอนั้นจะไม่กระทำสงครามเพื่อพิทักษ์ความเป็นธรรมเช่นนี้แล้ว เธอก็จะต้องได้รับตราบาปติดตัวของเธอไปในฐานะของผู้ที่ไม่รับผิดชอบ ผู้ที่ละเลยต่อหน้าที่อย่างแน่นอน แล้วสิ่งนี้จะนำมาซึ่งการเสียชื่อเสียงเกียรติยศของเธอในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน ในฐานะที่เธอนั้นกำเนิดมาเป็นชายชาตินักรบ

अकीर्तिं चापि भूतानि कथयिष्यन्ति तेऽव्ययाम् ।
सम्भावितस्य चाकीर्तिर्मरणादतिरिच्यते ॥२- ३४॥

            ผู้คนต่างๆ จะประณามถึงเรื่องการเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศของเธอในครั้งนี้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด สำหรับบุคคลผู้เคยได้รับการยอมรับเคารพนับถือจากปวงมนุษย์นั้น การดำรงชีวิตอยู่อย่างไร้เกียรติศักดิ์ศรีเช่นนี้นั้น มันเลวร้ายและทรมานยิ่งกว่าความตายเสียอีก
भयाद्रणादुपरतं मंस्यन्ते त्वां महारथाः ।
येषां च त्वं बहुमतो भूत्वा यास्यसि लाघवम् ॥२- ३५॥

            เหล่าบรรดานักรบผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายที่เคยกล่าวสรรเสริญยกย่อง นับถือในชื่อเสียงเกียรติคุณความกล้าหาญของเธอ ที่เธอสั่งสมมา พวกเขาก็จะคิดว่าที่เธอนั้นหนีออกจากสนามรบไปก็เพราะว่าเธอนั้นรักตัวกลัวตาย พวกเขาเหล่านั้นจะมองว่าเธอนั้นเป็นผู้ที่ไร้ศักดิ์ศรี ไม่สมกับการเกิดเป็นผู้ชายชาตินักรบ

अवाच्यवादांश्च बहून्वदिष्यन्ति तवाहिताः ।
निन्दन्तस्तव सामर्थ्यं ततो दुःखतरं नु किम् ॥२- ३६॥

            ส่วนผู้ที่เป็นศัตรูของเธอ แน่นอนว่าพวกเขาต่างก็จะปรามาสดูถูกเธอนั้นด้วยวาจาอันเหยียดหยาม และพวกเขายังจะสบประมาทในความสามารถของเธออย่างแน่นอน แล้วมันจะมีอะไรเล่าที่จะทำให้เธอต้องเจ็บปวดรวดร้าวไปได้มากกว่านี้อีกเล่า
हतो वा प्राप्स्यसि स्वर्गं जित्वा वा भोक्ष्यसे महीम् ।
तस्मादुत्तिष्ठ कौन्तेय युद्धाय कृतनिश्चयः ॥२- ३७॥

            หากเธอถูกสังหารตายในท่ามกลางสนามรบ ประตูสวรรค์นั้นก็จะถูกเปิดออกเพื่อรอรับเธอ หรือในมุมกลับกันหากเธอนั้นได้รับชัยชนะในสงคราม เธอก็จะได้เสวยสุขและเธอก็สมหวังได้ครองอาณาจักรบนโลกแห่งนี้โดยสมบูรณ์ ฉะนั้นเธอจงลุกขึ้นมาเพื่อต่อสู้ด้วยความมั่นใจเถิด กุนเตยะ!

सुखदुःखे समे कृत्वा लाभालाभौ जयाजयौ ।
ततो युद्धाय युज्यस्व नैवं पापमवाप्स्यसि ॥२- ३८॥
            เธอจงปฏิบัติตามหน้าที่วิถีทางแห่งนักรบนั้นเถิด โดยเธอนั้นไม่ต้องมาคำนึงถึงความสุขหรือความทุกข์  ไม่ต้องคิดในเรื่องลาภหรือเสื่อมลาภ ไม่ต้องมาสนใจว่าจะชนะหรือพ่ายแพ้ ที่เธอนั้นจะได้รับจากการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ของเธออีกต่อไป ฉะนั้นจงเตรียมพร้อมเพื่อการรบในครั้งนี้เถิด เพราะถ้าหากเธอได้กระทำหน้าที่ของเธอเช่นนี้แล้ว เธอย่อมจะเป็นผู้ที่ปราศจากผลแห่งบาปทั้งปวง

एषा तेऽभिहिता सांख्ये बुद्धिर्योगे त्विमां शृणु ।
बुद्ध्या युक्तो यया पार्थ कर्मबन्धं प्रहास्यसि ॥२- ३९॥

            ถ้อยความที่เราได้อธิบายความรู้นี้แก่เธอนั้นเป็นไปในแง่ของสางขยะ คราวนี้เธอจงสดับฟังในสิ่งที่เราจะได้อธิบายแก่เธอต่อในแง่ของโยคะ
            โอ้ปารถ! เมื่อเธอประกอบหน้าที่ของเธอด้วยความรู้และความเข้าใจเฉกเช่นนี้แล้ว เธอก็จะปฏิบัติภาระหน้าที่ของเธอได้อย่างเป็นอิสระปราศจากบ่วงพันธนาการแห่งกรรมทั้งหลายทั้งปวง


नेहाभिक्रमनाशोऽस्ति प्रत्यवायो न विद्यते ।
स्वल्पमप्यस्य धर्मस्य त्रायते महतो भयात् ॥२- ४०॥
            ความพยายามเช่นนี้จะไม่ทำให้เธอนั้นสูญเสียประโยชน์ใดๆ เลยทั้งในเบื้องต้น หรือถูกลดประโยชน์ลงในเบื้องปลาย ความเจริญบนวิถีทางเช่นนี้แม้มันจะดูมีค่าเพียงน้อยนิด แต่มันก็พลังที่จะสามารถปกป้องเธอจากภัย (ความกลัว) ที่มีอันตรายมากที่สุดได้

व्यवसायात्मिका बुद्धिरेकेह कुरुनन्दन ।
बहुशाखा ह्यनन्ताश्च बुद्धयोऽव्यवसायिनाम् ॥२- ४१॥
            กุรุนันทนะ เอ๋ย! บุคคลผู้ก้าวเดินอยู่บนวิถีมรรคาแห่งพุทธิสายนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมมีเป้าหมายปลายทางที่แน่วแน่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่พุทธิของผู้ที่รวนเรไม่แน่วแน่มั่นคงนั้น เขาจะแตกแยกจุดมุ่งหมายของเขาออกเป็นหลากหลายสาขามากมายจนไม่จบสิ้น

यामिमां पुष्पितां वाचं प्रवदन्त्यविपश्चितः ।
वेदवादरताः पार्थ नान्यदस्तीति वादिनः ॥२- ४२॥
            บุคคลผู้ด้อยปัญญามักชอบอวดอ้างตน ชอบกล่าวถ้อยความอันเลิศหรูด้วยอักขระ อันเป็นสำนวนโวหารที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ที่แนะนำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่างๆ ที่พวกเขานั้นจะได้รับว่า ไม่มีอะไรที่จะสูงส่งไปกว่านี้อีกแล้ว

कामात्मानः स्वर्गपरा जन्मकर्मफलप्रदाम् ।
क्रियाविशेषबहुलां भोगैश्वर्यगतिं प्रति ॥२- ४३॥
            ในหัวใจเขานั้นเพียงต้องการแค่กาม แล้วยึดเอาสวรรค์นั้นตามทรรศนะของเขาว่าเป็นยอด เพื่อให้ตนนั้นได้รับผลบุญที่ทำไว้แล้ว เพื่อไปถือกำเนิดในตระกูลที่ดีและมีอำนาจวาสนา
            การประกอบพิธีกรรมอันหรูหราในรูปแบบต่างๆ ของพวกเขานั้นก็เช่นเดียวกัน มันเป็นเพียงแค่เพื่อการตอบสนองความสุขทางประสาทสัมผัสของพวกเขา เป็นไปเพื่อที่เขานั้นจะได้รับเครื่องอุปโภคบริโภค และความมั่นคงในอนาคตที่พวกเขาคาดหวังไว้เท่านั้น


भोगैश्वर्यप्रसक्तानां तयापहृतचेतसाम् ।
व्यवसायात्मिका बुद्धिः समाधौ न विधीयते ॥२- ४४॥
            ในหัวใจของพวกเขา ผู้ซึ่งยึดติดอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสและความมั่งคั่งในทางวัตถุ ผู้ที่สับสนในใจนั้นจะมักติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ความมั่นใจอันแน่วแน่ในการที่พวกเขาจะบำเพ็ญเพียรอุทิศตนเสียสละโดยแท้จริงนั้นย่อมไม่บังเกิดขึ้นกับพวกเขาอย่างแน่นอน


त्रैगुण्यविषया वेदा निस्त्रैगुण्यो भवार्जुन ।
निर्द्वन्द्वो नित्यसत्त्वस्थो निर्योगक्षेम आत्मवान् ॥२- ४५॥
            อันคัมภีร์พระเวทส่วนใหญ่มักจะกล่าวถึงเรื่องคุณทั้งสามระดับของประกฤติอันเป็นธรรมชาติวัตถุ (สัตตวะ รชะ ตมะ) อรชุนเธอจงอยู่เหนือคุณทั้งสามระดับนี้เถอะ จงเป็นอิสระจากทวันทวธรรมเถิด

            เธอจงตั้งมั่นในสัตตวะอยู่เป็นนิตย์ จงเป็นอิสระอยู่เหนือความวิตกกังวลในความปรารถนาและความปลอดภัยทั้งปวง แล้วจงเป็นผู้ตั้งมั่นในความเป็นตัวของตัวเองเถิด

यावानर्थ उदपाने सर्वतः संप्लुतोदके ।
तावान्सर्वेषु वेदेषु ब्राह्मणस्य विजानतः ॥२- ४६॥

          ประโยชน์ทั้งหลายที่ได้จากบ่อน้ำเล็กๆ นั่นก็เพราะที่บ่อน้ำนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำอันใสสะอาดที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้ในทันที
          ในทำนองเดียวกัน ประโยชน์ในคัมภีร์พระเวทก็สามารถให้การตอบสนองได้สำหรับพราหมณ์ผู้รู้แจ้งถึงจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของพรหมันอันสูงสุดเฉกเช่นเดียวกัน
कर्मण्येवाधिकारस्ते मा फलेषु कदाचन ।
मा कर्मफलहेतुर्भूर्मा ते सङ्गोऽस्त्वकर्मणि ॥२- ४७॥
            เธอมีสิทธิในการปฏิบัติหน้าที่ดังที่ได้ถูกกำหนดไว้ แต่เธอไม่มีสิทธิ์ในผลของการกระทำนั้น จงอย่าคิดว่าตัวเธอเองเป็นแหล่งกำเนิดของผลงานที่เธอนั้นได้กระทำลงไป และจงอย่ายึดติดกับการไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ของเธอ ที่เธอนั้นพึงต้องกระทำอีกเลย

योगस्थः कुरु कर्माणि सङ्गं त्यक्त्वा धनंजय ।
सिद्ध्यसिद्ध्योः समो भूत्वा समत्वं योग उच्यते ॥२- ४८॥

            ธนัญชัย! เธอจงปฏิบัติหน้าที่ของเธอด้วยความแน่วแน่ เธอจงสลัดทิ้งซึ่งการยึดติดในความสำเร็จหรือความล้มเหลวทั้งมวล ความสงบมั่นคงในอารมณ์ของเธอเช่นนี้แหละที่เรียกว่า "โยคะ"

दूरेण ह्यवरं कर्म बुद्धियोगाद्धनंजय ।
बुद्धौ शरणमन्विच्छ कृपणाः फलहेतवः ॥२- ४९॥

            ธนัญชัย! เธอจงละทิ้งการกระทำอันน่ารังเกียจไปให้ไกล โดยการปฏิบัตหน้าที่ด้วยความเข้าใจอันถ่องแท้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และด้วยจิตสำนึกเช่นนี้เธอจงแสวงหาที่พึ่งแห่งปัญญาเถิด (สัจธรรม, ความจริงแท้ หรือ การยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า)
            อันผู้ใดที่ปรารถนาจะหาความสุขจากผลงานที่ตนนั้นได้กระทำลงไปแล้วนั้น เขาผู้นั้นย่อมกลายเป็นคนโลภผู้น่าสงสารยิ่ง
[/FONT][/SIZE][/COLOR][/SIZE]

बुद्धियुक्तो जहातीह उभे सुकृतदुष्कृते ।
तस्माद्योगाय युज्यस्व योगः कर्मसु कौशलम् ॥२- ५०॥
            บุคคลผู้ปฏิบัติตนด้วยปัญญาอันรู้แจ้งแล้วนั้น เขาย่อมจะหลุดพ้นจากผลแห่งกรรมทั้งดีและชั่วได้ ฉะนั้นเธอเองก็จงปฏิบัติภารกิจของเธอด้วยหลักแห่งโยคะนี้ ซึ่งเป็นเสมือนศาสตร์และศิลป์อันประเสริฐของการกระทำทั้งปวงเถิด

[/FONT][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/SIZE]
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

แวะเข้ามาติดตามอ่านผลงานของ คุณพี่ "กาลปุตรา"อีกแล้วค่ะ ขอบคุณนะค่ะ ถึงเหนื่อยสัก

หน่อย แต่ดิฉัน ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ


ขอขอบคุณมากๆนะค่ะ

ขอบคุณครับพี่ออส ที่มอบสิ่งดีๆ ให้แก่ชาว HM มาตลอดครับ

ขอขอบพระคุณ คุณกาลปุตรา มากครับที่นำ ภควัทคีตา มาเผยแพร่ให้ได้อ่านได้ศึกษา
หากแปลเป็นเสร็จเรียบร้อยและตีพิมพ์เป็นเล่มแล้ว ผมยินดีที่จะสะสมผลงานของคุณกาลปุตราอีกเล่มครับ
เพราะเล่มแรกที่ผมได้อ่าน "ยันต์คุ้มดวงชะตา พลัง 108 มหาเทพ-เทวี" ผมก็ประทับใจกับงานเขียนนี้มากครับ
อ่านเข้าใจง่ายและมีรายละเอียดที่ครบดีครับ (แต่บางหน้าอาจมีการพิมพ์ตกหล่นเพราะมีเวลาในการเขียนและตีพิมพ์ค่อนข้างน้อย~2weeks) ซึ่งทำให้ผมเข้าใจถึงความเป็นมาของศาสนาพรามหณ์-ฮินดูและองค์เทพฯ

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ผมสงสัยและอยากถามคุณกาลปุตราครับ ผมจะขอทะยอยถามในภายหลังนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

เหอะๆ ช่ายแร้วครับผม ถามใครไม่ได้ถามพี่ออส ของเรานี่แระครับผม ผมเองก็ไปกวนพี่ออส เค้าบ่อยๆน่ะ เหอะๆ ...



ขอบคุณมากเลยค่ะ  คุณพี่ขา  จำได้คุณพี่เคยบอกว่าน้องเสือ  อ่านจนเป็นเพลงเเล้วยัง  อิอิ  งั้นขอลองฟังหน่อย

เเละเเล้ว  ก็ทำให้อยากกลับไปอ่านซ้ำๆอีก  ให้หลายๆรอบ  คุณพี่ทำให้น้องเสือจอมขี้เกียจอยากหยิบมาอ่าน
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

คุณกาลปุตรา ครับ วันนี้ผมมารออ่านตอนต่อไปของ"ภควัทคีตา"
ขอเป็นกำลังใจให้ผู้แปลครับ

pvsnak-Jo.

कर्मजं बुद्धियुक्ता हि फलं त्यक्त्वा मनीषिणः ।
जन्मबन्धविनिर्मुक्ताः पदं गच्छन्त्यनामयम् ॥२- ५१॥

            ด้วยการธำรงอยู่ในพุทธิปัญญา นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่นั้นได้ทำให้ตัวเองได้รับอิสรภาพอยู่เหนือผลแห่งกรรมทั้งปวง ซึ่งเท่ากับเขานั้นได้รับอิสระจากวัฏจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด และจะบรรลุถึงการลอยอยู่เหนือความทุกข์ทั้งมวลได้ (การกลับคืนสู่ภูมิของพระผู้เป็นเจ้า)

यदा ते मोहकलिलं बुद्धिर्व्यतितरिष्यति ।
तदा गन्तासि निर्वेदं श्रोतव्यस्य श्रुतस्य च ॥२- ५२॥

            เมื่อสติปัญญาของเธอนั้นได้ก้าวข้ามออกมาจากป่าอันรกชัดและมืดทึบแห่งโมหะแล้ว เธอเองก็จะสิ้นความสงสัยในสิ่งที่ได้สดับฟังมาแล้วทั้งหมด และจะสิ้นสงสัยในสิ่งที่เธอนั้นจะได้ฟังต่อไป


श्रुतिविप्रतिपन्ना ते यदा स्थास्यति निश्चला ।
समाधावचला बुद्धिस्तदा योगमवाप्स्यसि ॥२- ५३॥

            เมื่อปัญญาของเธอไม่ถูกรบกวนให้ฟั่นเฟือนจากสำนวนโวหารในคัมภีร์พระเวทที่เคยได้สดับมาแล้ว และเมื่อใดที่จิตใจของเธอนั้นเกิดความสงบตั้งมั่นอยู่ในสมาธิเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนที่แท้จริง เมื่อนั้นเธอย่อมได้บรรลุผลแห่งความรู้แจ้งในตนเอง

अर्जुन उवाच
स्थितप्रज्ञस्य का भाषा समाधिस्थस्य केशव ।
स्थितधीः किं प्रभाषेत किमासीत व्रजेत किम् ॥२- ५४॥
อรชุน ตรัสว่า
            ผู้มีปัญญาอันตั้งมั่นดีแล้วในสมาธินั้น เขาจะมีอาการเช่นไร? เขาจะพูดอย่างไร? เขาจะแสดงออกมาเช่นไร? เขาจะนั่ง เขาจะเดิน เขาจะกินอยู่แบบใดเล่า เกศวะ

श्रीभगवानुवाच
प्रजहाति यदा कामान्सर्वान्पार्थ मनोगतान् ।
आत्मन्येवात्मना तुष्टः स्थितप्रज्ञस्तदोच्यते ॥२- ५५॥

ศรีภควาน ตรัสว่า
            ดูก่อนเถิดปารถ! เมื่อบุคคลผู้ละสิ้นแล้วซึ่งความปรารถนานานัปการที่มีสถิตอยู่ในใจอันเกิดจากการคาดคะเนนั้นลงเสียได้ และเมื่อเขามีจิตที่บริสุทธิ์ขึ้น เขานั้นย่อมจะประสบแต่ความพึงพอใจในตนเองเท่านั้น กล่าวได้ว่าบุคคลผู้นี้แล เป็นผู้ตั้งมั่นสถิตอยู่ในพุทธิปัญญา



दुःखेष्वनुद्विग्नमनाः सुखेषु विगतस्पृहः ।
वीतरागभयक्रोधः स्थितधीर्मुनिरुच्यते ॥२- ५६॥

            ผู้มีจิตใจที่ไม่ถูกรบกวนให้เดือดร้อนท่ามกลางความทุกข์ หรือไม่มีความปิติทะเยอทะยานเมื่อได้รับความสุข และเป็นอิสระจาก ราคะ ภัยและโกรธา เขาผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ผู้มีจิตใจอันมั่นคงที่แท้จริง


यः सर्वत्रानभिस्नेहस्तत्तत्प्राप्य शुभाशुभम् ।
नाभिनन्दति न द्वेष्टि तस्य प्रज्ञा प्रतिष्ठिता ॥२- ५७॥

            ในโลกแห่งวัตถุ ผู้ซึ่งไม่เสน่หากับสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ชั่วที่ตนเองนั้นจะได้รับ อีกทั้งไม่ยินดีหรือไม่เสียใจ ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความแน่วแน่มั่นคงในความรู้อันสมบูรณ์

यदा संहरते चायं कूर्मोऽङ्गानीव सर्वशः ।
इन्द्रियाणीन्द्रियार्थेभ्यस्तस्य प्रज्ञा प्रतिष्ठिता ॥२- ५८॥

            ผู้ที่สามารถดึงประสาทสัมผัสของตนเองนั้นให้กลับมาได้จากอารมณ์ตกกระทบภายนอกนั้น ก็เปรียบเสมือนเต่าที่สามารถหดเก็บแขนขาทั้งหมดเข้ามาไว้ในกระดองของมัน เขาผู้นั่นย่อมเป็นผู้ที่มีปัญญาตั้งมั่นอันสมบูรณ์แล

विषया विनिवर्तन्ते निराहारस्य देहिनः ।
रसवर्जं रसोऽप्यस्य परं दृष्ट्वा निवर्तते ॥२- ५९॥

            ดวงวิญญาณที่สถิตอยู่ในร่างอาจถูกควบคุมจากความสุขทางประสาทสัมผัส แม้รสแห่งอารมณ์ตกกระทบภายนอกยังคงอยู่
            การควบคุมและหยุดการกระทำเช่นนี้ได้นั้น ก็มาจากการที่เขานั้นได้มาประสบพบกับมธุรสที่เป็นเลิศกว่า อันทำให้เขานั้นมีความมั่นคงเกิดขึ้นได้ในดวงจิต


यततो ह्यपि कौन्तेय पुरुषस्य विपश्चितः ।
इन्द्रियाणि प्रमाथीनि हरन्ति प्रसभं मनः ॥२- ६०॥

            กุนเตยะ! ประสาทสัมผัสนั้นมันช่างส่งผลกระทบอันรุนแรงและรวดเร็วนัก จนสามารถรบกวนและสามารถบังคับนำพาให้จิตใจนั้นเตลิดเปิดเปิงไปได้ง่าย แม้มนุษย์ผู้นั้นจะมีจิตอันรู้จักแยกแยะและกำลังพยายามควบคุมมันก็อาจถูกมันพาให้เคลื่อนออกไปได้


तानि सर्वाणि संयम्य युक्त आसीत मत्परः ।
वशे हि यस्येन्द्रियाणि तस्य प्रज्ञा प्रतिष्ठिता ॥२- ६१॥

            บุคคลผู้สามารถข่มประสาทสัมผัสของตนเองนั้นได้ โดยรักษามันให้อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสมบูรณ์และตั้งมั่นอยู่ในปัญญาแห่งตน เขาผู้นั่นย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เห็นเรา และเป็นผู้ที่มีปัญญาอันแน่วแน่มั่นคง

ध्यायतो विषयान्पुंसः सङ्गस्तेषूपजायते ।
सङ्गात्संजायते कामः कामात्क्रोधोऽभिजायते ॥२- ६२॥
            ในขณะที่จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์ของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตย่อมเกิดอารมณ์ยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เมื่อเกิดการยึดติดจิตก็เริ่มพัฒนาตัวเริ่มเกิดการปรุงแต่งจนก่อตัวเป็นกามราคะ เมื่อกามก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในจิต ความโกรธนั้นย่อมติดตามมาเป็นเงา

क्रोधाद्भवति संमोहः संमोहात्स्मृतिविभ्रमः ।
स्मृतिभ्रंशाद्बुद्धिनाशो बुद्धिनाशात्प्रणश्यति ॥२- ६३॥

            จากโกรธ โมหะก็จะถือกำเนิดขึ้น แล้วปรับเปลี่ยนเป็นความหลงอันจะทำให้เกิดความสับสนจนลืมซึ่งสติ เมื่อเกิดความสับสนลืมสติพุทธิแห่งปัญญาย่อมจะสูญเสียไป และเมื่อเสื่อมในพุทธิปัญญาไป เขาก็จะตกต่ำลงสู่ก้นเหวแห่งความพินาศอีกครั้ง


रागद्वेषवियुक्तैस्तु विषयानिन्द्रियैश्चरन् ।
आत्मवश्यैर्विधेयात्मा प्रसादमधिगच्छति ॥२- ६४॥

            ส่วนผู้ที่เป็นอิสระแล้วจากการยึดติดอันปราศจากรักและรังเกียจ เขาจะสามารถควบคุมประสาทสัมผัสของตัวเองได้ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เขาย่อมได้รับมาซึ่งความเป็นสันโดษ


प्रसादे सर्वदुःखानां हानिरस्योपजायते ।
प्रसन्नचेतसो ह्याशु बुद्धिः पर्यवतिष्ठते ॥२- ६५॥

            เมื่อมีความพึงพอใจในสิ่งที่ตนพึงมีพึงเป็นอยู่แล้ว (สันโดษ) ความทุกข์ทางวัตถุทั้งปวงย่อมสูญสิ้นไป ในห้วงที่จิตนั้นเกิดความสันโดษเช่นนี้ ในไม่ช้าพุทธิแห่งปัญญาของเขาย่อมปรากฏขึ้นและจะสถิตอยู่อย่างมั่นคง


नास्ति बुद्धिरयुक्तस्य न चायुक्तस्य भावना ।
न चाभावयतः शान्तिरशान्तस्य कुतः सुखम् ॥२- ६६॥

            ผู้ที่ไม่มีจิตอันตั้งมั่นในความเป็นจริงแห่งเรา ย่อมไม่มีทั้งปัญญาและจิตใจอันมั่นคง เมื่อขาดสองสิ่งนี้แล้ว เขาย่อมหาซึ่งความสงบไม่ได้ เมื่อปราศจากความสงบเช่นนี้แล้วความสุขจะมีแก่เขาได้อย่างไรเล่า


इन्द्रियाणां हि चरतां यन्मनोऽनु विधीयते ।
तदस्य हरति प्रज्ञां वायुर्नावमिवाम्भसि ॥२- ६७॥
            เพราะประสาทสัมผัสเพียงน้อยนิดที่เตลิดไปตามกระแสลมแห่งวาระจิต มันย่อมสามารถพัดพาเอาพุทธิปัญญาของเขาผู้นั้นให้ล่องลอยเตลิดตามไปด้วย เฉกเช่นดั่งเรือที่ล่องลอยอยู่ในกระแสน้ำแล้วถูกลมพัดพาให้เคลื่อนคล้อยไปตามกระแสนั่นเอง


तस्माद्यस्य महाबाहो निगृहीतानि सर्वशः ।
इन्द्रियाणीन्द्रियार्थेभ्यस्तस्य प्रज्ञा प्रतिष्ठिता ॥२- ६८॥

            ฉะนั้น มหาพาหุเอ๋ย! ผู้ซึ่งสามารถข่มประสาทสัมผัสจากอารมณ์รับรู้ทั้งภายในและภายนอกทั้งหลายได้ เขาผู้นั้นจึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีพุทธิปัญญามั่นคงและแน่นอน


या निशा सर्वभूतानां तस्यां जागर्ति संयमी ।
यस्यां जाग्रति भूतानि सा निशा पश्यतो मुनेः ॥२- ६९॥

            ราตรีของมวลชีวิตนั้นเป็นเวลาตื่นของผู้ควบคุมตนเองได้ และเวลาตื่นของมวลชีวิตก็จะเป็นราตรีของมุนี (นักปราชญ์) ผู้ประจักษ์แจ้งในการพิจารณาใคร่ครวญตัวเอง


आपूर्यमाणमचलप्रतिष्ठं समुद्रमापः प्रविशन्ति यद्वत् ।
तद्वत्कामा यं प्रविशन्ति सर्वे स शान्तिमाप्नोति न कामकामी ॥२- ७०॥

            ผู้ไม่หวั่นไหวต่อความใคร่ความปรารถนา อันหลั่งไหลอย่างไม่หยุดยั้งและเชี่ยวกราก ก็เปรียบเสมือนดั่งสายน้ำในมหานทีที่ได้มุ่งหน้าไหลลงสู่ห้วงมหาสมุทรอันเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำ แต่มหาสมุทรนั้นกลับยังคงสงบนิ่งไม่หวั่นไหวต่อกระแสน้ำอันเชี่ยวนั้น
            นั่นเอง ผู้ที่ไม่หวั่นไหวเช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นผู้ที่ควรค่าแก่การได้รับซึ่งศานติ (ความสงบ) ส่วนผู้ที่ยังคงหวั่นไหวหลงใคร่ปรารถนาเพื่อสิ่งที่สนองความต้องการเหล่านี้ เขาผู้นั้นย่อมไม่มีทางจะพบกับศานติอย่างแน่นอน



विहाय कामान्यः सर्वान् पुमांश्चरति निःस्पृहः ।
निर्ममो निरहंकारः स शान्तिमधिगच्छति ॥२- ७१॥

            บุคคลผู้สลัดทิ้งแล้วซึ่งความต้องการทางวัตถุเพื่อการตอบสนองทางประสาทสัมผัสลงเสียได้ เขาย่อมไม่มีความใคร่ปรารถนาในสิ่งใด เขาได้ละทิ้งแล้วซึ่งมมังการและเขาย่อมปราศจากซึ่งความอหังการ บุคคลเช่นนี้ย่อมสามารถที่จะได้รับความสงบอย่างแท้จริง

एषा ब्राह्मी स्थितिः पार्थ नैनां प्राप्य विमुह्यति ।
स्थित्वास्यामन्तकालेऽपि ब्रह्मनिर्वाणमृच्छति ॥२- ७२॥

            นี่คือวิถีแห่งชีวิต อันเป็นธรรมชาติทิพย์ในพรหม ผู้ที่บรรลุในศานติแล้วเขาย่อมไม่มามัวงมงายและสับสน หากบุคคลสถิตในศานติได้เช่นนี้ แม้ในช่วงภาวะเวลาแห่งความตาย บุคคลผู้นั้นย่อมจะบรรลุถึงนิรวาณอันเป็นอาณาจักรทิพย์แห่งพระผู้เป็นเจ้าได้

ॐ तत्सदिति श्रीमद्भगवद्गीतासूपनिषत्सु ब्रह्मविद्यायां योगशास्त्रे
โอม ตัตสทิติ ศรีมัทภควัทคีตาสูปนิษัตสุ พรหมวิทยายาม โยคศาสเตร
श्रीकृष्णार्जुनसंवादे सांख्ययोगो नाम द्वितीयोऽध्यायः ॥ २ ॥
ศรีกฤษณารชุนสัมวาเท สางขยโยโค นาม ทวิตีโย' ธยายะ [2]

อธิบายศัพท์อัธยายที่ 2

            01. ศรีภควาน หมายถึง ผู้มีบุคลิกภาพอันประเสริฐสุดแห่งพระผู้เป็นเจ้า, พระเจ้าผู้ทรงอำนาจอันดีงาม ในที่นี้หมายถึง พระกฤษณะ
            02. ปรันตปะ แปลว่า ผู้กำราบศัตรู, ผู้ย่ำยีศัตรู ในที่นี้หมายถึงอรชุน
            03. อริสูทนะ แปลว่า ผู้สังหารศัตรู, ผู้ทำลายข้าศึก, ผู้ทำลายซึ่งปัญหา, ผู้กำจัดความคับข้องใจ ในที่นี้หมายถึง พระกฤษณะ
            04. อินทรีย์ คือ ส่วนของร่างกายที่มีหน้าที่รับประสาทสัมผัส มี 2 ชนิดได้แก่อินทรีย์ฝ่ายรู้ กับ อินทรีย์ฝ่ายกระทำ

- อินทรีย์ฝ่ายรู้ (ชญาเนนทรีย์ หรือ พุทธีนทรีย์) มี 5 อย่างคือ หู, ตา, จมูก, ลิ้น และ ผิวกาย
- อินทรีย์ฝ่ายกระทำ (กรรเมนทรีย์) มี 5 อย่างคือ อวัยวะที่ใช้พูด, มือ, เท้า, อวัยวะขับถ่าย และ อวัยวะสืบพันธุ์
            05. วิษัย คือ อาการรับรู้ของประสาทสัมผัสที่ได้รับจากอินทรีย์ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

            06. มหาพาหุ แปลว่า นักรบผู้ยิ่งใหญ่, ผู้มีฝีมืออันเป็นเอก, ขุนศึกผู้เยี่ยมยอด ในที่นี้หมายถึง อรชุน
            07. สางขยะ หมายถึง หลักว่าด้วยการวิเคราะห์ศึกษาหรือหลักทฤษฏี
            08.ยคะ หมายถึง การปฏิบัติภาระหน้าที่โดยไม่หวังผลตอบแทนทางวัตถุ, หลักปฏิบัติ, ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับร่างกาย, การบำเพ็ญเพียร, กระแสสัมพันธ์, การรวม, สนธิ, การไหลร่วม
            09. กรรม หมายถึง การกระทำ, หน้าที่อันพึงต้องปฏิบัติ, กิจการงาน, สิ่งอันเกิดจากการกระทำ, การกระทำทุกอย่างของสิ่งมีชีวิต
            10. กุรุนันทนะ แปลว่า ผู้เป็นที่รักแห่งวงศ์กุรุ, ผู้ที่ยังความยินดีให้แก่ชาวกุรุ
            11. พุทธิ หมายถึง ปัญญา, ความรู้, ความเข้าใจอันถ่องแท้
            12. กาม หมายถึง การสนองตอบความสุขทางประสาทสัมผัส, ความใคร่, ความปรารถนา

            13. ประกฤติ หมายถึง มูลเดิม, รากเหง้า, ความเป็นไปตามธรรมชาติ, กฏเกณฑ์, ลักษณะ, ที่เกิด
            อันเป็นมายาเป็นอำนาจพิเศษในการสร้างรูปและนาม เป็นธรรมชาติอันบันดาลให้เกิดการสร้างสรรค์และมูลฐานของสรรพสิ่งในโลก เป็นสิ่งแรกและเป็นประธานของสกลจักรวาล เป็นต้นตอของสิ่งทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนจนไม่อาจรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยการอนุมานจากผลิตผลของมันอย่างเดียวประกฤตินั้นเป็นสิ่งเที่ยงแท้ประกฤติแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
            ประกฤติระดับล่างซึ่งมีองค์ประกอบอยู่ 8 อย่าง อันได้แก่ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ, อากาศ, มนัส (ใจ หรือ ความคิดที่แสดงออกมาทางจิตสำนึก), พุทธิ และอหังการ
            ประกฤติระดับสูงซึ่งก็คือชีวาตมัน หรือ อาตมัน (จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แยกมาจากปรมาตมัน)
            ประกฤติเป็นสิ่งไร้รู้ แต่สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากประกฤติจะมีความแปรเปลี่ยนไปไม่เที่ยง โดยประกฤติจะก่อให้เกิดคุณ 3 ชนิด (ไตรคุณ) อันปรากฏ คือ
            - สัตตวะ หรือ สัตวะ หมายถึง อารมณ์อันสงบ, ความจริงแท้, ความดีงาม, ความบริสุทธิ์, การสร้างสรรค์, ความเฉลียวฉลาด, การมีสัจจะ, ความซื่อตรง, ความกล้าหาญ, ความขยันหมั่นเพียร, การรุ้จักอดกลั้น, การข่มอารมณ์, ความหนักแน่นมั่นคง, ความแข็งแกร่ง, ความสุขุมเยือกเย็น, ความเมตตากรุณา, อุเบกขา, ความไม่อาฆาตมาดร้าย, ความผ่องใสเบิกบาน, ความเป็นธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่ง, ฯลฯ
            - รชะ หรือ รชัส หมายถึง อารมณ์อันถูกกระตุ้น, การเคลื่อนไหว, การรักษา, การกระวนกระวาย, ตัณหาภายในใจ, ความรักใคร่ผูกพัน, การไม่มั่นคงของจิต, ราคจริต, ความโลภ, ความเบียดเบียน, ความอิจฉาริษยา, ความกำหนัดยินดี, ความเกลียดชัง, การยกตนข่มท่าน, กามารมณ์, ความหวั่นไหวของจิต, ความฟุ้งซ่าน, การใช้เล่ห์เพทุบายเพื่อมุ่งเอาชนะ, การช่วยเหลือเกื้อกูลเฉพาะมิตร, การยึดติดในอำนาจ, การยึดติดในสิ่งที่ปรารถนา, ความตะกละตะกลาม, ธรรมชาติอันถูกปรุงแต่งให้เกินจริง, ฯลฯ
            - ตมะ หรือ ตมัส หมายถึง อารมณ์อันหดหู่, ความกลัว, ความเฉื่อยชา, ความถดถอย, การคงสภาพหยุดนิ่ง, ความมืดมน, ความโง่เขลา, ความหลงอวิชชา, ความรู้สึกอันสับสน, ความท้อแท้สิ้นหวัง, ความลุ่มหลงมัวเมา, ความเศร้า, ความอ่อนแอ, ความโหดเหี้ยมอำมหิต, ความหยิ่งยโส, ความลำเอียง, การง่วงหลับ, ความใจแคบ, ความไม่ละอายต่อบาป, ความหิวกระหาย, ความไม่เชื่อในหลักธรรม, ความประมาท, ความชรา, ความไม่รู้, ธรรมชาติอันถูกทำให้ต่ำ หรือ เลวลง, ฯลฯ
            14. ทวันทธรรม หมายถึง สภาพธรรมอันเป็นคู่กัน บ้างก็เรียกว่า "ทวิธรรม" เช่น สุขกับทุกข์, ดีกับเลว, มียศกับเสื่อมยศ, มีลาภกับเสื่อมลาภ และ ฯลฯ
            15. โมหะ หมายถึง ความหลงติดอยู่ในอวิชชา, ความโง่เขลา, ความหลงในตัวเอง, ความเห็นแก่ตัว
            16. ราคะ หมายถึง ความใคร่, การยึดติด, การยินดีในโลกวัตถุ, ความกำหนัด   
            17. โกรธ หมายถึง ความขุ่นมัวของจิต, เคือง, โมโห
            18. สันโดษ หมายถึง ความรู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนมีและที่ตนนั้นเป็นอยู่, การรู้จักความพอเพียงตามฐานะของตน
            19. มมังการ หมายถึง ความคิดไปเองว่าตนนั้นเป็นเจ้าของ, การสำคัญว่าเป็นของเรา
            20. อหังการ หมายถึง การรับรู้ถึงการมีอยู่ของปัจเจกบุคคล, ความคิดที่ยึดมั่นถือมั่นในตนเอง, ความทะนงในตน, การถือตัวเย่อหยิ่ง

            21. นิรวาณ หมายถึง บรมสุข, การอันตรธาน, การงดเว้น, การเลิก, การสละ, การอดกลั้น, การรวม, ความดับแล้วซึ่งกิเลสและกองทุกข์


[/SIZE]
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

ขอบคุณครับ
รีบๆนำมาลงต่อนะครับ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ต้องขออภัยที่ช่วงนี้แปลช้าหน่อยนะครับ เนื่องจากงานในช่วงนี้ของผมค่อนข้างเยอะสักหน่อยเลยไม่ค่อยมีเวลาแปลเท่าใดนัก

อดใจรอสักนิดนะครับ แล้วจะทะยอยแปลให้ครับ จะให้อร่อยต้องใจเย็นๆ ... อิอิ
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

รอ เอ๋ย รอคอย รออีกหน่อย ก็ต้องรอ รออีกนิด ใจจะรอ รอรสอร่อย  ฮือ...ก็จำต้องรอ


มาส่งเสียงมาส่งแรงเชียร์ครับพี่ออส

สวัสดีครับ คุณกาลปุตรา และชาว HM ทุกๆท่าน

รออ่านผลงานแปลของคุณกาลปุตราอยู่นะครับ จะติดตามตอนต่อไปเรื่อยๆครับ
เป็นกำลังใจให้ครับ

ขอสอบถามคุณกาลปุตราเพื่อเป็นความรู้ด้วยครับและผมก็สงสัยมานานแล้วครับว่า

(1) ในรูปขององค์พ่อนารายณ์ปางเปิดโลกนั้นหากจะลำดับพระพักร์ของพระองค์ท่านจาก
พระกรฝั่งซ้าย (L) และ
พระกรฝั่งขวา (R) ของพระองค์ท่าน ไม่ทราบว่ามีองค์เทพ
พระองค์ใดบ้างครับ


L = พระนารายณ์, พระกฤษณะ, พระหนุมาน, .......


R =
พระนารายณ์, พระศิวะ, พระราม, พระพิฆเนศวร, .......

(2) ผมมีชื่อภาษาไทยว่า สุนทร แปลว่า ดี,งาม,ไพเราะ หากเป็นภาษาฮินดู(ฮินดี)แล้วผมควรมีชื่อว่าอะไรครับช่วยหาคำในภาษาฮินดีของชื่อผมด้วยครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ด้วยจิตเคารพ
pvsnak-jo

มารอตอนต่อๆไป และให้กำลังใจครับ

Quote from: pvsnak on May 14, 2010, 23:44:56
สวัสดีครับ คุณกาลปุตรา และชาว HM ทุกๆท่าน

รออ่านผลงานแปลของคุณกาลปุตราอยู่นะครับ จะติดตามตอนต่อไปเรื่อยๆครับ
เป็นกำลังใจให้ครับ

ขอสอบถามคุณกาลปุตราเพื่อเป็นความรู้ด้วยครับและผมก็สงสัยมานานแล้วครับว่า

(1) ในรูปขององค์พ่อนารายณ์ปางเปิดโลกนั้นหากจะลำดับพระพักร์ของพระองค์ท่านจาก
พระกรฝั่งซ้าย (L) และ
พระกรฝั่งขวา (R) ของพระองค์ท่าน ไม่ทราบว่ามีองค์เทพ
พระองค์ใดบ้างครับ


L = พระนารายณ์, พระกฤษณะ, พระหนุมาน, .......


R =
พระนารายณ์, พระศิวะ, พระราม, พระพิฆเนศวร, .......



มารอคำตอบด้วยคนครับผม

ขอบคุณมากครับ เพิ่งเคยอ่านเช่นกัน

ศรี คุรุภโย นมะ


ในยุคนี้จะมีอะไรดีเท่า ศรี ภควัทคีตา
ขอบพระคุณ คุณกาลปุตรา ที่นำมาให้ผู้อ่านทั้งหลายได้ศึกษา วาจา และ ลีลา แห่งพระเจ้า


Quote from: pvsnak on May 14, 2010, 23:44:56
สวัสดีครับ คุณกาลปุตรา และชาว HM ทุกๆท่าน

รออ่านผลงานแปลของคุณกาลปุตราอยู่นะครับ จะติดตามตอนต่อไปเรื่อยๆครับ
เป็นกำลังใจให้ครับ

ขอสอบถามคุณกาลปุตราเพื่อเป็นความรู้ด้วยครับและผมก็สงสัยมานานแล้วครับว่า

(1) ในรูปขององค์พ่อนารายณ์ปางเปิดโลกนั้นหากจะลำดับพระพักร์ของพระองค์ท่านจาก
พระกรฝั่งซ้าย (L) และ
พระกรฝั่งขวา (R) ของพระองค์ท่าน ไม่ทราบว่ามีองค์เทพ
พระองค์ใดบ้างครับ


L = พระนารายณ์, พระกฤษณะ, พระหนุมาน, .......


R =
พระนารายณ์, พระศิวะ, พระราม, พระพิฆเนศวร, .......

(2) ผมมีชื่อภาษาไทยว่า สุนทร แปลว่า ดี,งาม,ไพเราะ หากเป็นภาษาฮินดู(ฮินดี)แล้วผมควรมีชื่อว่าอะไรครับช่วยหาคำในภาษาฮินดีของชื่อผมด้วยครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ด้วยจิตเคารพ
pvsnak-jo


พอดีแวะมาเห็น ขออนุญาต ตอบนะครับ ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยครับ ผมไม่แน่ใจว่า ฮินดี ในที่นี้หมายถึง ภาษาที่คนอินเดียพูดๆทั่วไป หรือ ภาษาสันสฤกต ที่ใช้ในทางศาสนาอ่ะครับ แต่ผมเดาว่าน่าจะ Hindi sanskrit นะครับ

Hindi sanskita อันนี้ตรงตัวนะครับ

สุทร = सुन्दर ( สุนฺ-ดะ-ระ ) แปลว่าความงาม ดีงาม ไพเราะ

คำอื่นๆที่แปลว่า ความดี ดีงาม สวยงาม ไพเราะ เหมือนกัน เช่น

      परमत सुन्दर     ( ปรมตฺ สุนฺทร ) แปลว่า งามยิ่ง งามล้ำ ประเสรฐยิ่ง
        शुभ            ( สุภะ )    ความสุข สวัสดี  ดีงาม
      शम्भव         (ศัมภวะ)  ที่รวมแห่งความดี ดีงาม งามแล้ว
       शंकर           (ศันกร หรือ ศังกร)  ผู้งามจากความดี ผู้งดงาม

                                    

                                    
गुरु ब्रह्मा गुरु विष्णु गुरु देवो महेश्वरः
गुरु साक्षात पर-ब्रह्मा तत्स्मै श्री गुरवे नमः