Loader

ร่วมกันหาข้อมูลเหตุแห่งการเสียงาของพระพิฆเนศ

Started by สฺวสฺติ, February 25, 2009, 11:36:34

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

     เนื่องจากเราท่านทั้งหลายๆ ก็คงทราบสาเหตุแห่งการเสียงาของพระพิฆเนศ กันแล้วทั้งสิ้น สิ่งในตำนานจะกล่าวกันไว้ 3-4 ตำนานด้วยกัน ซึ่งตำนานๆ หลักที่เราท่านทั้งหลาย รู้กันอยู่แล้วว่า เป็นตำนานที่เกิดจากขวาน องค์พระฤษีปรศุราม (อวตารแห่งวิษณุเจ้า ซึ่งอวตารไปทำภาระกิจโดยปกติ ซึ่งอาวุธที่ใช้คือขวานที่ได้จากองค์พระศิวะเจ้า) ซึ่งตอนที่พระฤษีท่านจะเข้าเฝ้า พระศิวะ ณ เข้าไกรลาส ซึ่งพระพิฆเนศ ทรงเป็นผู้อยู่ในขณะนั้น ซึ่งไม่ยอมให้องค์ฤษีท่านเข้าเฝ้า จึงทำให้พระฤษีโมโหเป็นที่สุด จึงขว้างขวานนั้นใส่พระพิฆเนศ ซึ่งองค์พระพิฆเนศก็ทราบอยู่แล้วว่า ขวานนั้นเป็นอาวุธของพระบิดา การที่จะทำลายลงเสียซึ่งอาวุธพระบิดา ก็หาสมควรไม่ จึงใช้งาของตนรับขวาน ที่ขวางมา จึงทำให้งาของท่านหักไป
     ซึ่งในตำนานหลายๆ ตำนานท่านทั้งหลายก็คงทราบกันแล้ว แต่ที่ผมยกเหตุนี้ขึ้นมา อยากจะให้ท่านกูรูทั้งหลายชี้แจ้ง เพื่อในหลายๆ ท่านสมาชิกอาจจะยังไม่ทราบ และหลายๆ ท่านคงจะเคยสังเกตุมาจาก องค์พระพิฆเนศ องค์บุชา และรูปบูชาต่างๆ ทั้งของอินเดีย ของไทย และหลายๆ ประเทศที่นับถือ องค์ท่าน
     ซึ่งจะมีความแตกต่างกันที่ ข้างของการเสียงา บ้างก็ข้างซ้าย บ้างก็ข้างขวา ซึ่งผมเคยคุยกับอาจารย์ที่กรมศิลป อยู่เหมือนกัน  แต่ก็ลืมไปแล้วว่า ท่านกล่าวไว้ว่าอย่างไร ครับ   
     และอยากให้ท่านกูรูทั้งทราบมาช่วยตอบ ก็เพื่อนทิ้งข้อมูลไว้ให้ ท่านสมาชิกทั้งหลายได้ทราบกัน รวมถึงตัวผมด้วย ขอบคุณล่วงหน้าครับ

   ข้อสงสัยที่ว่าทำไมงาพระคเณศ บางครั้งเห็นว่าหักข้างขวา
บางครั้ง หักข้างซ้าย ผมเคยสงสัยนะคับ เลยเคยถามพี่ท่านนึง
นานมากแล้วนะคับ พี่เค้าบอกว่า ภาพลักษณ์ที่ปรากฏแตกต่างกันนั้น
เกิดจากอิทธิพลความเชื่อระหว่างอินเดียเหนือ และ อินเดียใต้อ่ะคับ
แต่ก็จำไม่ได้แล้วว่า หักข้างไหน เป็นอิทธิพลจากที่ใด
นี่แชร์ความรู้จากที่เคยได้ยินมานะคับ ผืดถูกประการใดขออภัย
ด้วยนะค้าบบบบ ใครเคยได้ยินมายังงัย มาเล่าสู่กันฟังนะคับ
จะได้แลกเปลี่ยนความรู้กันคับ

ผมขอแจมด้วยคนครับ สำหรับการเสียงาข้างซ้ายหรือข้างขวานั้น

ในคัมภีร์ทางศาสนาฮินดู (คัมภีร์ปกรณ์) ได้กล่าวถึงเฉพาะลักษณะขององค์พระพิฆเนศไว้ทั้งสิ้น 15 ปุราณะ แต่ไม่มีปุราณะใดที่ที่สรุปว่าแท้ที่จริงแล้วพระเคนชนั้นได้เสียงาข้างไดไป

ส่วนประติมากรรมทางอินเดีย (เพื่อนๆ ลองไปเดินดูที่พาหุรัดก็ได้ครับ) บางทีพระเคนชมีงาครบสองงาเลย บางทีก็หักซ้ายบ้าง หักขวาบ้าง ตามหลักการที่พระองค์มีนามว่าเอกทนต์ แต่ไม่รู้แน่ชัดว่าข้างไหนหัก แต่สุดท้ายเทวรูปก็เป็นเพียงเครื่องสมมุติแทนพระองค์นั้นๆ เท่านั้นเองครับ ดู อัฐวินายัก สิครับ เป็นหินที่รูปร่างคล้ายพระเคนช ไม่เห็นงวงไม่เห็นงาด้วยซ้ำ ยังได้รับการเคารพกราบไหว้ จากคนทั่วโลกครับ  

แต่สำหรับไทยเรา ระบุครับว่าพระเคนชต้องงาหักข้างซ้าย เนื่องจากบทพระราชนิพนธ์เรืองพระเคนศเสียงาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่หกครับ ตามนี้ครับ

ยอมหัวคอยอยู่หร้อ รอบรับ
ปรศุรามขว้างฉับ ฉาดต้อง
งาซ้ายมลายยับ เยินย่อย
ขวานร่อนกระด่อนก้อง กึกก้องโรงธาร

และอีกตอบหนึ่งครับ

“งาซ้ายหักสะบั้น ลงทันมี เสียงดังอึงมี่ สามโลกโลกา”



ดังนั้นประติมากรรมของไทยส่วนมากพระเคนชจะงาหักข้างซ้ายครับ แต่ที่บ้านผมเป็นประติมากรรมไทยทั้งคู่

องค์หนึ่งงาหักข้างขวา อีกองค์งาหักข้างซ้าย พอดีครับ สมดุลย์  



ฝากไว้แค่นี้ครับ

เอ! จะหักข้างไหนดีหว่า คนนี้ก็หักข้างนี้ คนนั้นก็หักข้างนั้น  หักสองข้างเลยดีกว่า  พ่อคเนศจ้ามาช่วยบอกลูกๆที่เถอะคับ จะได้หายสงสัยกันซักที

พี่กาลิทัสนี่อารมณ์ขันนะคะ
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]