Loader

เทพองค์นี้ชื่ออะไรคะ หัวเป็นม้า ถือพิณ

Started by พิษประจิม, May 02, 2010, 17:51:08

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.


ต๊ายยย ... มีขอบคุณคะด้วย  แรงอะ 5555



ดูไปดูมาหน้าตาคล้ายพระฮายากรีวาเลยอะ  แต่มีถือพิณด้วยนี่สิ งง เลย


เทพอัศวินหรือป่าวก็ไม่รู้นะครับ


ท่า่นฤษีนารัทมุนี เคยโดนสาปให้มีหน้าเป็นลิง
แล้วจะเคยโดนสาปให้มีหน้าเป็นม้าด้วยหรือเปล่าครับ (แค่สงสัยนะครับ จริงๆๆๆๆแล้วไม่รู้ครับ)
  ผมก้ออยากรู้ครับ....รอท่านผู้รู้นะครับ......
 


ตอนแรกผมก้อคิดว่าเป็นท้าวทักษะ พี่ชายนารัทมุนีนะ ที่โดนสาปอ่ะ แต่ไม่มั่นใจตำนาน รอผู้รู้คับ

May 03, 2010, 15:08:19 #5 Last Edit: May 03, 2010, 19:34:25 by บุตรมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวี
จะเป็นพระอัศวินหรือเปล่าครับ  พอดีมีรูปจากเว็ปเดียวกันกับที่ผมเคยโพสถาม 
และเห็นว่ามีเทพที่มีลักษณะเดียวกันเลยนำมาให้ชมกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลครับ

จากภาพมุมบนด้านซ้ายมีเทพที่มีเศียรเป็นม้าและถือพิณอยู่ครับ
 

พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง
   โททนต์เสน่คงสำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวายมลายสิ้นทั้งอินทรีย์   สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด   ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน


ภาพนี้เป็นพระกลฺกิ ครับ หนึ่งในสิบมหาอวตานแห่งพระวิษณุเทพครับ

ส่วนเรื่องเทพอัศวิน ถ้าผมจำไม่ผิดเป็นเทพเจ้าแฝดครับที่มีพระเศียรเป็นม้าเช่นเดียวกันครับ

และเทพอัศวินมิได้ทรงถือพิณครับ จำได้ว่าท่านหนึ่งเป็นผู้ชำนาญเรื่องแพทย์ อีกท่านหนึ่งนี่จำไม่ได้จริงๆ ขอโทษนะครับ

เป็นบิดาของพี่น้องปาณฑพ ที่เป็นแฝดคู่หนึ่งคือ นกุลและสหเทพครับผม

แต่ผมสงสัยอะคัฟ
ถ้าเป็นพระกัลกิ ทำไมที่หน้าผากไม่เป็นวิษณูบาทอะคัฟ
ทำไมเป็นตรีปุณทร
แล้วถือพิณทำไมอะคัฟ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ในนี้  ก็มีเทพองคืปรากดอยุ๋ด้วยอะคัฟ

http://www.youtube.com/v/3NtFlt17I2g&feature=related
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

ทราบว่าพระกัลกี ถือดาบเป็นอาวุธ

!!!!!?????

ดิฉันขอถอนตัวจากกระทู้นี้ค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ครับ เป็นคำถามที่น่าสนใจมากครับ สำหรับเรื่องตรีปุณฑรที่ปรากฎอยู่ครับ nai 3

อ่าว
ยังไม่มีใครมาตอบหลอคัฟ
ยังอยากทราบอยู่นะ
คุคุ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

เรียน คุณ nai 3 ครับ รบกวนใช้อักขระไทยที่ถูกต้องด้วยครับ

ผมได้ทำการ Search ข้อมูลไปเรื่อยๆ ปรากฎว่าผมไปพบภาพต้นฉบับครับ สรุปว่าใต้ภาพเขียนว่าเป็น "พระฮายากรีวา กัลกิ"

แต่เนื่องจากตามที่คุณ nai 3  ได้กล่าถึงเรื่องตรีปุณฑรและเรื่องพิณ ทำให้ผมนั่ง search ไปเรื่อยๆ

ไปพบว่า ตำนานเทพกรีกจะมีฝาแฝดคู่หนึ่ง คือ เทพอพอลโล และ อาร์เทมิส เป็นบุตรแห่งฮีลิออส (สุริยะเทพ)

โดยทั้งคู่ คือ เทพอพอลโล เป็นเทพแห่งแสงสว่าง และ การดนตรี ในมือยังถือพิณอีกด้วย

ส่วนอาร์ทีมีส พี่สาวฝาแฝด เป็นเทพแห่งดวงจันทร์ครับ

...

พอมาเทียบกับตำนานฮินดู

เทพอัศวิน ทรงเป็นแฝด และเป็นบุตรแห่งสุริยเทพ
เทพอัศวิน องค์หนึ่งเป็นเทพแห่ง การส่องสว่าง เหมือนพระอาทิตย์ขึ้น
ส่วนอีกองค์ เป็นเทพแห่ง ความมืด เหมือนพระอาทิตย์ตก

ดังนั้นตามความคิดผม คิดว่า ถ้าไม่ใช่ พระกัลกิ ก็น่าจะเป็นพระอัศวิน ตามที่บุตรมาเตศวรีศรีมหาอุมาเทวีกล่าวมาแต่ต้นครับ

ปล. เป็นการวิเคราะห์นะครับ



ขอบคุณที่ตักเตือนครับ
ผมเหมือนเคยเห็นภาพที่ศิลปินนิยมวาดให้พระอัศวินแฝดมีร่างเดียวกัน

ผมทราบมาว่าเทพแฝดคู่นี้  มีพระนามไม่เหมือนกัน คือองค์พี่คือพระอัศวินกับองค์น้องคือพระเรวันต์

ไม่ทราบว่าถูกฤป่าวครับ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

เข้ามาหาความรู้ครับผม ขอบพระคุณทุกความคิดเห็นครับ



เจอ เอามาลงค์ประกอบคับ

ใครทราบบอกหน่อย

ขอบคุณคับ

น่าสนใจครับ สำหรับหระทู้นี้
ผมไม่เคยทราบมาก่อนเลยครับ

ขอรอคำตอบจากท่านผู้รู้ครับ



โห เริศ คำตอบที่หลายๆท่านรอคอยครับผม ขอบพระคุณมากครับผม                                           

ขอบคุณมากครับ  แต่ผมไม่เคยได้ยินชื่อเทพองนี้เลย  สังเกตว่าฮินดูมีเทพหัวเป็นสัตว์เยอะนะครับ

แล้วเทพที่หัวเปนสัตว์ กับที่เป็นพาหนะ เหมือนกันไหมครับ

หรือว่า พอแปลงจากสัตว์ก็ร่างเปนคนเหมือนเดิม  หัวก็ยังเปนคน

งง อะครับ

แล้วพาหนะนี่ท่าน  มีหลายรูปแบบไหมครับ ผมเห็นบางองท่านทรงขี่หลายอย่างเช่นพระพิคเณศเปนต้น  มีรูปแบบอะไรตายตัวไหมอะครับ

กำ ขอโทษที่ถามเยอะ แต่ผมเพิ่งหันมาศึกษา เลยอาจ งง ไปบ้าง

เห็นมาเยอะ หลายรูปแบบอะครับ เทพฮินดู

ขออนุญาตตอบละกันนะค่ะ    แต่จะเป็นไปแบบคร่าวๆ   ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่าถ้าจะมาสืบค้นข้อมูลในเรื่องของเทพพาหนะนี่ว่ากันสามวันไม่จบจริงๆ    เพราะในส่วนของรายละเอียดมีระบุไว้ค่อนข้างมาก

ย้ำอีกนิดว่าตอบตามเท่าที่ทราบ เท่าที่รู้จริงๆ  เพราะคิดว่าข้อความของอิชั้นก็อาจจะพอเป็นประโยชน์ได้บ้าง  ไม่มากก็น้อย   ถ้าตรงไหนไม่ถูกต้องหรือบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงหรือตำราที่อ้างอิงมาอย่างไร   ก็รบกวนท่านผู้รู้ได้โปรดมาชี้แจงแถลงไขด้วยเจ้าคะ....
















จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร  ตลอดจนภาพวาดภาพเขียนต่างๆ  ที่แสดงผ่านตำนานเทพนิยาย หรือเทพปกรณัม  ( Mythology ) หรือแม้แต่ในส่วนของเรื่องเล่าหรือมุขปาฐะ ( Oral literature )    ต่างก็กล่าวถึงความสัมพันธ์และความใกล้ชิดระหว่างสัตว์พาหนะกับเหล่าบรรดาองค์เทพและองค์มหาเทวีในคติฮินดูไว้เสียมากมาย  ซึ่งถ้าจะว่ากันจริงๆก็มีปรากฏมาตั้งแต่ยุคอริยกะ ( บรรพบุรุษของชาวอารยันดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในประเทศอิหร่าน ) และนี่ก็เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าศาสนานี้เป็นระบบพหุเทวนิยม ( Polytheism )   กล่าวคือ...นับถือบูชาเทพหลายองค์  รวมถึงมีลัทธิบูชาสัตว์พาหนะด้วย  ( Totem )





หรือแม้แต่ประติมากรรมรูปเคราพ   ตลอดจนภาพสลักภาพนูนสูงของเหล่าเทพเจ้าในชั้นเดิมของศาสนาพราหมณ์   ไล่มาเรื่อยถึงยุคพระเวท และฮินดูอุปนิษัท    ก็ขาดเสียไม่ได้ซึ่งเหล่าเทพพาหนะ   




































เหล่าบรรดาภาพวาดโบราณทั้งหลายที่องค์เทพทรงประทับร่วมกันกับสัตว์พาหนะ  ก็มีให้พบเห็นกันได้อยู่บ่อยครั้งไป   จะต่างกันหน่อยก็ตรงที่พระองค์นั้นจะทรงแสดงลักษณะอากัปกิริยาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น  อาทิ เช่นทรงประทับนั่งบ้าง   ยืนบ้าง  หรือแม้แต่ทรงบรรทมเอกเขนกบ้างก็มีให้เห็นกัน





























โดยส่วนตัวแล้วอิชั้นมีโอกาสได้อ่านคัมภีร์อุปนิษัทซึ่งในนั้นก็ได้มีการบรรยาย  รวมถึงได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเหล่าบรรดาสัตว์ทั้งหลาย  อาทิเช่น  ม้า  รวมทั้งโคกระบือไว้ด้วยคะ    อีกทั้งในครุฑปุราณะก็ได้มีการกล่าวถึงวิถีชีวิตของปลาและเต่าไว้ด้วยเช่นกัน  ทั้งยังพบหลักฐานอะไรอีกมากมายหลายอย่างเกี่ยวกับลัทธิการบูชาปลาและเต่า ก่อนที่จะมาถูกจับผนวกรวมเข้ากับทฤษฎีนารายณ์อวตาร

น่าแปลกนะค่ะว่าทั้งๆที่หนังสือเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นคัมภีร์ทางศาสนา  แต่กลับมีการกล่าวถึงสัตว์ต่างๆไว้มากมายเช่นกัน   ถ้าหันกลับมามองกันในแง่ของคติชนวิทยา ( Folklore ) แล้วจะพบว่าไม่แปลกเลยคะที่ขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรมตลอดจนวัฒนธรรมความเชื่อจะปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ทางศาสนา

เหล่าบรรดาคณาจารย์ตลอดจนนักวิชาการหลายท่านได้ลงความเห็นว่า   สาเหตุที่มีการกล่าวถึงการปศุสัตว์ไว้ในพระคัมภีร์เช่นนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาคะ  เพราะส่วนใหญ่ก็มักจะมีสอดแทรกไว้ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของทุกๆลัทธิศาสนาต่างๆทั่วโลกอยู่แล้ว

ปกรณัมปรัมปราทั้งหลายถูกบันทึกลงในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์    ด้วยวิธีการใช้ตัวหนังสือทั้งในแง่ของโศลก  กาพย์กลอน ตลอดจน โคลง ฉันท์  ผ่านงานกวีนิพนธ์เยอะแยะมากมายคะ

เหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงถึงวิถีชีวิต  ตลอดจนภูมิปัญญาโบราณที่มักจะเกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรม  การปศุสัตว์ 
โดยเราจะสามารถพบเห็นเทพที่มีศีรษะเป็นสัตว์พื้นเมืองหรือสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเหล่าบรรดาผู้คนในสมัยนั้นสะเป็นส่วนใหญ่  ทั้งที่อยู่ในรูปของบุคลาธิษฐาน  ตัวอย่างเช่นพระมาติรูกี  ที่มีศีรษะเป็นเสือทั้งด้านหน้าและหลัง   มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์เก่าแก่ของอินเดียตอนใต้  ที่รัฐเกรละ  คะ





















वाहन   คำว่า วาหน  หรือที่ในภาษาไทยออกเสียงว่าพาหนะ  มักมีความหมายถึงการขนส่ง  หรือการบรรทุกไป

ตามตำนานว่ากันว่าเวลาที่องค์เทพจะเสด็จไปไหนมาไหนก็มักจะมีสัตว์พาหนะคอยนำทางไปด้วยเสมอ   เช่นเสด็จไปทรงงาน  หรือไปเพื่อปฎิบัติภารกิจบางอย่างเป็นต้น

ทั้งนี้เหล่าบรรดาเทพหนะมิได้มีหน้าที่แค่การขนส่งอย่าวเดียว  แต่ยังสะท้อนถึงอัตลักษณ์ตลอดจนบุคลิกภาพขององค์เทพนั้นๆที่ทรงเป็นอยู่ด้วย...







เช่น   พระโคนันทิพาหนะของพระศิวะ    เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงซึ่งกำลังอำนาจความเข้มแข็ง ตลอดจนความแข็งแกร่งและพละกำลังที่มากมายมหาศาล  ทั้งนี้ครอบคลุมไปถึงความแข็งแกร่งแห่งความบุรุษเพศด้วย









































หงษ์หรือบางครั้งถูกแทนด้วยนกยูง  พาหนะของพระแม่สรัสวตี   เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงซึ่งสติปัญญาตลอดจนความบริสุทธิ์









นกยูง    พาหนะของพระขันธกุมาร  แสดงถึงซึ่งความซื่อสัตย์จงรักภักดี  ตลอดจนความสง่างามแลดูน่าเกรงขามตามแบบของชาตินักรบ



































ครุฑ  พาหนะของพระนารายณ์  แสดงถึงซึ่งพละกำลังตลอดจนความสามารถมากมายมหาศาลคะ

























นกฮูก สัญลักษณ์ของพระธัญลักษมี   เนื่องจากสังคมชาวนาและในแถบเบงกอลให้ความเคราพนับถือพระศรีลักษมีในปางนี้มาก

จากนัยทั้งหลายที่แอบแฝงมากับพาหนะของพระแม่ที่เป็นนกฮูก  ว่ากันว่าในการทำนานั้นมีศัตรูตัวฉกรรณ์คือพวกหนูนา  แต่นกฮูกจะออกมาหากินหนูในตอนกลางคืน  และเมื่อครั้งที่พระนารายณ์ประทานนกฮูกให้แก่พระธัญลักษมียังแสดงถึงช่วงเวลากลางคืนที่พระแม่จะเสด็จออกมาด้วย






เดี๋ยวมาต่อนะค่ะ ....



พาหนะ เป็นหนึ่งในการแสดงภาวะของพระเป็นเจ้า
ตัวอย่าง พาหนะของพระคเณศ คือ หนู ที่เป็นสัตว์เล็ก แต่ก็สามารถรับใช้พระเป็นเจ้าได้
มองในมุมนี้ เปรียบเหมือนกับคนที่ต่ำต้อยเพียงใด ก็บูชารับใช้พระคเณศได้