Loader

การบูชาพระศิวลึงค์

Started by กาลิทัส, March 12, 2009, 11:33:59

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

การบูชาพระศิวลึงค์นั้น ก็เช่นเดียวกับบูชาเทพเจ้าอื่นๆครับ คือการบูชาด้วยอุปจาระ(ขั้นตอนและสิ่งต่างๆ) ตามวิธีการครับ แต่ที่พิเศษคือถือว่าพระศิวะ เป็นผู้ทรง "อภิเษกปริยะ" คือทรงชื่นชอบการสรงด้วยสิ่งต่างๆครับ


เราจึงบูชาพระศิวลึงค์ด้วยการสรงสิ่งต่างๆ อันได้แก่
ปัญจามฤต คือ 1.นม 2.โยเกิร์ต 3.เนย 4. น้ำผึ้ง 5.น้ำตาล และทั้ง 5อย่างผสมกัน

จากนั้น สรงด้วยน้ำสะอาด น้ำหอม แต้มด้วย ภัสมะ (ขี้เถ้าศักดิ์สิทธิ์) ผงสินทูร(สีส้ม) กุงกุม(สีแดง) หรือถ้าไม่มี จะใช้กระแจะจันทร์แบบไทยๆก็ได้ครับ แล้ว บุชาด้วย ใบมะตูมซึ่งขาดไม่ได้ในการบุชาครับ ดอกไม้ต่างๆ อาหารผลไม้ หมากพลู ธูป ประทีป การสวดมนตร์และอารตีครับ
แต่หากไม่สามารถจัดหาสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้ครบก็ควรสรงด้วยนมและน้ำสะอาด บูชาใบมะตูมและขี้เถ้าศักสิทธิ์(วิภูติหรือภัสมะ) ถ้าทำบุชาได้ทุกวันยิ่งดี แต่ควรจะได้ทำในทุกวันจันทร์(โสมวาร)ครับ เพราะถือกันว่าเป็นวันของพระศิวะ และ ศิวราตรีของทุกเดือน คือวันแรม 14 ค่ำครับ และไม่ควรปล่อยให้สิ่งสกปรกเน่าบูดคาที่พระองค์ หรือนำสิ่งต่างๆที่ไม่สมควรมาสรง เช่นบางคน บอกให้เอาไวน์บ้าง น้ำแดงบ้างไปรดสรง ซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง) ระหว่างทำบูชาหรือสรงในขั้นตอนต่างๆ ก็ให้สวด "โอม นมะ ศิวาย" (อ่านว่า โอม นะมัช ฉิวายะ หรือ โอม นะมะฮะ ฉิวายะ)ครับ และสามารถสวดมนตร์ต่างๆที่ผมเคยนำมาลงในหนังสือเรื่องวิมุกโตทัยครับ
ศิวลึงค์นั้น เสมอด้วยพระมูรติหรือรูปเคารพของพระศิวะครับ ในเทวสถานที่สำคัญๆหลายๆที่จึงไม่มีเทวรูปของพระศิวะ ศาสนิกชนบูชาที่ศิวลึงค์จึงเท่ากับบูชาพระศิวะครับ ดังนั้นศิวลึงค์จึงไม่ใช่ วัตถุเพื่อการบูชาสิ่งอื่นๆ แต่ตัวศิวลึงค์เองเป็นวัตถุแห่งการบุชาอันสูงสุด เป็นของที่มีสิริมงคลและเป็นของสูง มีบางที่หนังสือบางเล่มเผยแพร่ว่า ให้เอาศิวลึงค์ไปเป็นของบูชาพระแม่ทุรคาบ้างพระแม่กาลีบ้าง จึงเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักการของศาสนาครับ บางคนก้บอกว่า พระศิวลึงค์เป็นของอัปมงคล เท่ากับลบหลู่พระเป็นเจ้า อันนี้แถมมาเพื่อแก้ความเข้าใจผิดครับ

ขยายความ ปัญจมฤต

ปัญจามฤต มาจากคำว่า ปัญจ +อมฤต คือของอันเป้นอมฤต หรือเป็นของอันเทพเจ้าทั้งหลายชอบ มี 5อย่าง
โดยสรงทีละอย่าง ไปจนครบ 5 อย่าง แล้วจึงสรงทั้งหมดที่ผสมกันทั้ง 5 อย่างเป็นอย่างที่ 6 ครับ แต่ในบางพิธีที่ทำแบบย่อๆ อาจสรงเพียง 5 อย่างผสมกันโดยไม่ได้แยกสรงทีละอย่างก็มี สรงแค่ 5 อย่าง โดยไม่มีที่ผสมกันก็มี อันนี้แล้วแต่สภาพการณ์และตำรา ที่มาต่างๆครับ


ในการสรงถวายนั้น บางสำนักบางที่ ก็มีรายละเอียดปลีกย่อย ออกไปอีก เช่น นอกจากสรงด้วยปัญจามฤตแล้ว ยังสรงด้วย สัปตเอาษธ (น้ำสมุนไพร 7 อย่าง มี หญ้าฝรั่นและขมิ้นเป้นต้น)
จันทนสนานมฺ น้ำจากไม้จันทน์
ปัญจคัภย์ (ของจากโคทั้ง 5 )
น้ำเจือทอง
น้ำคงคาฯลฯ
อันนี้จะเรียกว่าการสนานมฺ หรือการอาบสรงด้วยน้ำต่างๆ คืออาบน้ำถวายแด่เทพเจ้านั่นเอง

ที่เรียกว่าการ "อภิเษก"นั้น จริงๆแล้วจะต้องสวดมนตร์ในพระเวทด้วยในระหว่างการสรง แต่บางทีก็เรียกการสนานมฺและการอภิเษกปนๆกันไปโดยหมายถึงการสรงนั่นเอง
การอภิเษกที่สำคัญๆ จะทำหลังจากสนานด้วยสิ่งต่างๆแล้ว โดยจะต้องมีอุปกรณ์เพื่อให้น้ำที่ถวายอภิเษก(จะเป็นนม นมอ้อย หรือน้ำเปล่าก็ได้)ค่อยๆไหลลงช้าๆ ระหว่างนั้นพราหมณ์ผู้รู้เวทจะสวดมนตรืในพระเวทต่างๆ เช่น ถ้าถวายสรงพระศิวลึงค์จะสวด ศรีรุทรมฺ นมกมฺ จมกมฺ ในยชุรเวท ถ้าสรงพระคเณศจะสวด คณปตยาถวรศรีษะ ในฤคเวท สรงพระนารายณ์ก็ ปุรุษสูกตะ เป็นต้น แต่หากไม่มีพราหมณ์ผู้รูเวท ก็ทำเพียงการสนานด้วยประการต่างๆ

แต่ในการสรงบางครั้งก้มีการเลือกเอาโศลกต่างๆ มาประกอบการสวด หรือเลือกบทสวดสันสกฤตที่มีความไพเราะ เป้นต้น มาใช้สวด บางทีจึงเรียกว่า การ สโตราภิเษก แต่ถ้าไม่ทราบโศลกต่างๆ ก็สามารถ สวดมนตร์สั้นของเทพองค์นั้นในการใช้สวดได้ เช่น โอม นมะ ศิวาย เป็นต้น

โศลกขณะถวายสรงศิวลึงค์

สรงนม(ปยสฺนานมฺ)
มธุรํ โคปยะ ปฏปูตํ ปุรสฺกฤตมฺ
สฺนานารถฺ เทวเทเวศ คฤหาณ ปรเมศรวร

สรงโยเกิร์ต (ทธิสฺนานมฺ)
ทุรฺภํทวฺย สุสฺวาธุ ทธิสรฺวปริยมฺปรมฺ
ตุษฏิ ทมฺปารฺวตีนาถ สฺนานาย ปฺรติคฤยตาม

สรงเนยใส (ฆฤตสฺนานมฺ)
ฆฤตํ คาวฺยํ ศุจิรฺสฺนิคฺธํ สุเสวฺยํ ปุษฏิทายกมฺ
คฤหาณ คิริชานาถ จนฺทฺรเศขร

สรงน้ำผึ้ง (มธุสฺนานมฺ)
มธุรํ มฤทุโมหฆฺนํ สฺวรภํค วินาศนมฺ
มหาเทเว ทุมุตฺสฤษฺฏํ ตวสฺนานาย ศํกร

สรงน้ำตาล (ศรฺกสฺนานมฺ)
ตาปศาตึกรี ศีรา มธุรา สฺวาท สํยุตา
สฺนานารฺถ เทวเทเวศ ศรฺกเรยํ ปฺรทียเต

น้ำสะอาด (ศุทฺโธทกสฺนานมฺ)
คํคา โคทาวารี เรว ปโยษฺณี ยมุนา ตถา
สรสฺวตฺยาทิ ตีรฺถานิ สฺนานารฺถํ ปฺรติคฺฤหฺยตาม


เครดิตคนโพส พี่ หริทาส คนเดิมครับ
ขอบคุณครับ
ที่มาจากบอร์ด Hindumeeting เก่าครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ
ช่วยกันเก็บไว้พอดีไปค้นหาเจอเลยเอามาลงใหม่ครับ
ต้องขออภัยที่มาลงเลยวันศิวะราตรีครับ





  ภาพงานมหาศิวราตรีของความคิดเห็นเหนือผมเนี่ย สวยมากเลยนะครับ ^^

[HIGHLIGHT=#fdeada]ที่ จ.เชียงใหม่ ที่วัดเทพมณเฑียรก็สามารถไปร่วมบูชาได้ค่ะ ปุ้มปุ้ยไปสักการะองค์พ่อองค์แม่ทุกอาทิตย์เลย[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#fdeada] [/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#fdeada]ไปแล้วรู้สึกสบายใจมีความสุขมากมายเลยค่ะ ถ้าใครได้มาเชียงใหม่ เค้าแนะนำว่าลองไปดูสักครั้งค่ะ[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ff0000]ปุ้มปุ้ย[/HIGHLIGHT]

ขอบพระคุณ ทั้ง สองท่าน เรยคร้าฟ  คุณพี่กาลิืท้ส แระ คุณพี่หริทาส คร้าฟ


ติดตามผลงาน นะคร้าฟ ท่านพี่ทั้งสอง ...

Quote from: กาลิทัส on March 12, 2009, 11:33:59

โศลกขณะถวายสรงศิวลึงค์

สรงนม(ปยสฺนานมฺ)
มธุรํ โคปยะ ปฏปูตํ ปุรสฺกฤตมฺ
สฺนานารถฺ เทวเทเวศ คฤหาณ ปรเมศรวร

สรงโยเกิร์ต (ทธิสฺนานมฺ)
ทุรฺภํทวฺย สุสฺวาธุ ทธิสรฺวปริยมฺปรมฺ
ตุษฏิ ทมฺปารฺวตีนาถ สฺนานาย ปฺรติคฤยตาม

สรงเนยใส (ฆฤตสฺนานมฺ)
ฆฤตํ คาวฺยํ ศุจิรฺสฺนิคฺธํ สุเสวฺยํ ปุษฏิทายกมฺ
คฤหาณ คิริชานาถ จนฺทฺรเศขร

สรงน้ำผึ้ง (มธุสฺนานมฺ)
มธุรํ มฤทุโมหฆฺนํ สฺวรภํค วินาศนมฺ
มหาเทเว ทุมุตฺสฤษฺฏํ ตวสฺนานาย ศํกร

สรงน้ำตาล (ศรฺกสฺนานมฺ)
ตาปศาตึกรี ศีรา มธุรา สฺวาท สํยุตา
สฺนานารฺถ เทวเทเวศ ศรฺกเรยํ ปฺรทียเต

น้ำสะอาด (ศุทฺโธทกสฺนานมฺ)
คํคา โคทาวารี เรว ปโยษฺณี ยมุนา ตถา
สรสฺวตฺยาทิ ตีรฺถานิ สฺนานารฺถํ ปฺรติคฺฤหฺยตาม


เครดิตคนโพส พี่ หริทาส คนเดิมครับ
ขอบคุณครับ
ที่มาจากบอร์ด Hindumeeting เก่าครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ
ช่วยกันเก็บไว้พอดีไปค้นหาเจอเลยเอามาลงใหม่ครับ
ต้องขออภัยที่มาลงเลยวันศิวะราตรีครับ


พอมีตัวจุด  เเล้วน้องเสืออ่านไม่  ใครก็ได้ค่ะ  สอนวิธีอ่านหน่อยเจ้าคะ
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

เท่าที่เคยทราบมา ถ้ามีวงกลมด้านบน ให้อ่าน -ัง เช่น พุทธํ พุทธัง
ถ้าเป็นจุดด้านล่าง หมายถึงเป็นตัวสะกด ไม่อ่านออกเสียง

ผิดถูกประการใด รบกวนผู้รู้ช่วยแก้ไขด้วยนะคะ

ขอบคุณคราบเป็นประโยชน์มากๆเลยอะ
แต่ผมยังมะมีศิวลึงค์เลยอะ อิอิอิ
รอต่อไปสักวันจะหามาบูชาให้ได้เลย