Loader

อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "ตัตตวัมอสิ"

Started by Axari, June 16, 2010, 15:20:00

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.


เท่าที่ทราบ ตตฺตวํอสิ (tattvamasi) หมายถึง สูเจ้าคือสิ่งนั้น (Thou art that)
tat   =  that
tvam=  thou
asi   =  art

รบกวนผู้รู้ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลและขยายความด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

อย่างงี้ต้องรออาจารย์ตุล หริทาสอย่างเดียวแล้วละคะ ... เอิ้กๆ

มานั่งรอคำตอบด้วยคนเคยสงสัยเหมือนกัน  เราไม่กล้าตอบเพราะยังไม่ชัวร์



คัมภีร์พระเวทกล่าวว่า ตัตตวัมอสิ  เป็นการปรับเปลี่ยนทิศทาง หรือ ถ่ายทอดพลังงาน

โดยถ้าจะกล่าวโดยรวม สำหรับคำแปลที่ว่า สูเจ้าคือสิ่งนั้น นั่นคือ การผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีระดับของพลังงานต่างกัน เช่น จากพ่อแม่กับลูก จากอาจารย์กับศิษย์ เป็นการทอดทอดพลังงานต่างๆ ให้แก่กัน จนกระทั่งเป็นหนึ่งเดียวกันครับ เช่น

เราบูชาพระเป็นเจ้า เราพยายามทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า

เหมือนกับ ถ้าใครมองว่าพระเป็นเจ้าคือธรรมชาติ ก็จะพยายามทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และเข้าไปอยู่ในสภาวะของธรรมชาติ ฉันใด เมื่อเราเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า เราก็จะเข้าไปอยู่ในดินแดนของพระเป็นเจ้าฉันนั้น

สรุป ตัตตวัมอสิ คือการเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งๆ นั้น โดยที่สิ่งๆ นั้นต้องมีพลังงาน เหนือกว่าครับ

ตอบตามที่เข้าใจเท่านั้นครับ

หากเป็นอย่างที่คุณวิชัยบุตรเข้าใจ
ผมก็ขอเข้าใจต่อว่า.. มันก็คือ
การพยายามเข้าไปรวมเป็นปรมาตมันเดียวกับพระเป็นเจ้านั่นเอง

วิธีการนี้ ผมเข้าใจว่า ยังประยุกต์ใช้กับทางวัชรยานด้วย
เช่น หากเราเหมาะสมที่จะฝึกวัชรธรรมของพระธรรมบาลโพธิสัตว์องค์ใด
เราก็ต้องศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้ ถึงลักษณะนิสัย ท่าทาง กริยาอาการ
ทุกสิ่งทุกอย่างของผู้ที่เราพยายามจะเชื่อมสัญญาณด้วย
ให้ท่านมาเป็นพี่เลี้ยงเรา เรียกว่า "เราคือท่าน ท่านคือเรา"
เชื่อมกระแสกันตลอด เป็นพี่เลี้ยงให้
จนกว่าเราจะเข้มแข็ง และเดินเองได้จริงๆ
และยังมีขั้นตอนอีกมากมาย

แต่ไม่ใช่ว่านึกจะฝึกองค์ไหนก็ตะบี้ตะบันฝึกตามใจฉัน
การฝึกทางวัชรยาน ต้องอาศัยคุรุ หรือ ครู
เป็นผู้พิจารณาให้ก่อน และครูคนนั้น ต้องเป็นสายธรรมของพระโพธิสัตว์องค์นั้นๆ
โดยตรง ไม่ใช่ว่า ใครๆ ก็ฝึกให้ใครได้...จึงเรียกว่า เป็น "นิกายลับ"
และใช้เวลาในการพิจารณาเลือกองค์ที่เหมาะสมแก่ศิษย์
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี กว่าจะเลือกได้..

เท่าที่ผมรู้มา ก็ประมาณนี้
วัชรยาน ก็คือ ความเชื่อเรื่องวิญญาณแบบท้องถิ่น + ฮินดู + มหายาน นั่นเอง
ตามที่ผมเข้าใจนะครับ ดังนั้น จึงมี concept คล้ายๆ กัน

หุหุ อ่านแล้วต้องค่อยคิดเพราะงง อยู่ หุหุ 

แต่ค่อยยังชัวที่ติดตามอ่านกระทู้ ของคุณโอมมาตลอด ดีที่คุณโอมไม่ใช่พวกทรง 555+

ไม่งั้นจะนึกว่าคุณโอม ทรง นะนั่น 55+

ขอขอบพระคุณครับผม สำหรับการขยาย ข้อความให้เข้าใจ ครับผ้ม

ก่อนอื่นเลยต้องขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ทำให้เราได้รับความรู้ดีๆครับ

ขอบคุณ คุณศรีมหามารตีที่แนะนำผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้แก่พวกเรา

ขอบคุณ คุณวิชัยบุตร  ที่เข้ามาตอบแบบตรงประเด็น เข้าใจง่าย คุณเป็นคนที่ตอบได้ดีคนนึงเลย ผมติดตามมาสักพักละ

และสุดท้ายขอบคุณ คุณจิ้งจอกพันหน้า ที่เข้ามาย้ำเพื่อไม่ให้กระทู้นี้ออกนอกประเด็นไป  กับบางคอมเม้นที่ดูไม่ค่อยจะตอบโจทย์กับตัวกระทู้สักเท่า

ไหร่   คือผมคิดว่าอันไหนที่เฉยได้ก็เฉยไปนะครับ  เกรงว่าเดี่ยวมันจะเป็นตัวชี้นำ รวมทั้งนำพาให้เข้ารกเข้าพงไปแบบผิดๆ  อย่างที่คุณจิ้งจอกว่า  พวก

แอบอ้างในพระนามศักสิทธิ์ของพระเป็นเจ้า ไม่ว่าจะศาสนาไหน ลัทธิไหน จะเป็นทั้งฮินดู พุทธ คริสต์ อิสลาม รวมถึงจีนมหายานก็เข้าข่ายเป็นผู้ต้อง

สมควรได้รับผลแห่งบาปกรรมนั้นไปด้วยประการทั้งปวง  ไม่ว่าจะกรณีไหนๆ


หลายท่านที่เห็นผมตอบมาหลายๆกระทู้จะสังเกตว่าผมไม่ชอบหรือไปเชียกับคำว่า ... เจ้า เข้า... ผี ทั้งนี้ผมไม่ขอพูดตรงๆนะครับ เพราะเห็นว่าเป็นกฎ

ของบอด  ซึ่งคำที่ผมละไว้ในฐานที่เข้าใจ คุณจิ้งจอกพันหน้าก็ได้กล่าวไว้แล้วกับคำๆนั้น  รวมถึงผู้ที่แอบอ้างตนว่าสื่อได้ต่างๆนาๆ

พวกนี้มีอาการผิดปกติทางจิตอย่างหนักเข้าขั้นรุนแรง ... และอีกไม่ช้าผลแห่งกรรมนั้นจะย้อนกลับมาตามสนองแน่นอนครับผมเชื่อว่าอย่างนั้น

ไม่แน่นะ ที่หลงๆติดกันอยู่ในมายา ในภาพลวง ในอุปทานทุกวันนี้  อาจจะเป็นเพราะกรรมเก่าที่ได้เคยก่อกันมาก็ได้

ส่งผลให้ในชาตินี้มีความเชื่ออะไรแบบผิดๆ 


ขอโทษนะครับ ที่ผมออกนอกหน้าไปหน่อย  แต่ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านเวปมาสเตอร์จะเข้าใจในเจตนาอันดีของผม

คือผมออกตัวมาแต่แรกแล้ว  ขอบคุณ คุณจิ้งจอกอีกครั้งที่ทำให้ผมทราบอะไรดีๆครับ  กับพวกแฝงตัวเข้ามาในบอร์ดศาสนา 

ขอบคุณครับ...

เอ..ผมยังงงๆ อยู่นะครับ..
ที่ผมตอบนี่ มันเกี่ยวกับการเข้าทรงตรงไหนเหรอครับ

ทางวัชรยาน เขามีลักษณะการฝึกอย่างนี้จริงๆ
มันเป็นการทำจิตเป็นสมาธิ เพ่งจิตนาการ
การพยายามหลอมรวมจิตใจ ของตัวเอง กับ spirit
ที่เรียกว่า ธรรมบาล.. ที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง
ให้การชี้นำ และฟอกจิต ไปสู่ความหลุดพ้น
ตามวิถี และหลักสูตรของเขา

มันอาจมีพื้นฐานบางอย่างคล้ายกับการเชื่อมกระแส
ของการเข้าทรง...แต่มันไม่ใช่การเข้าทรง
พวกที่ทรง โดยทั่วไป เราจะเข้าใจว่า เขาถูกครอบงำ
และครอบครองจิตใจไปเลย

แต่ผู้ที่ฝึกวิชาอย่างนี้..เพียงแต่ทำตัวและปรับบุคลิก
ให้เหมือนกับลักษณะของสิ่งที่ตนกำลังเชื่อมอยู่
ให้ได้มากที่สุดเท่านั้น..

เหมือนกับเรามี idol แล้วพยายามเข้าถึง idol คนนั้น
ให้ได้มากที่สุด ทั้งร่างกายและจิตใจ
เพื่อให้ผสมกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียว ให้สนิทที่สุด
เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำพาสู่ความหลุดพ้น

แต่ผู้ที่จะนำทางนั้น เป็น spirit
ผู้ฝึกต้องทำตัวให้เข้ากับท่านให้ได้เนียนที่สุด
ไม่ได้ให้ท่านมาครอบงำจิตใจ
แต่แน่นอน เมื่อเชื่อมได้แล้ว
ย่อมมีการถ่ายทอดพลังงานได้
เช่นเดียวกับการถ่ายทอดพลังานที่เป็น "คลื่น" นั่นเอง

ไม่เห็นเกี่ยวกับการเข้าทรงตรงไหน
เพราะไม่มีใครมาครอบงำจิตใจใคร
เนื่องจากต้องมี "สติ" พร้อม..และฝึกฝนอย่างเป็นขั้นตอน
ตามที่คุรุ เป็นผู้สอน
ดังนั้น จึงต้องใช้เวลาตั้งหลายปี
กว่าจะฝึกพื้นฐาน และรู้ว่า ใครเหมาระกับการฝึก
ตามแบบฉบับขององค์ใด มีหลักสูตรเป็นขั้นเป็นตอน
ไม่ใช่มั่วๆ ซั่วๆ... มันก็จะกลายเป็นบ้า เข้ารกเข้าพง
หรือเป็นการเข้าทรงไป..ซึ่งผิดเต็มๆ

ทั้งหมด ไม่มีการเข้าทรงแต่ประการใดเลย


แต่ต้องยอมรับว่า พิธีกรรมของวัชรยาน
ย่อมเกี่ยวเนื่องด้วยจิตภาพ วิญญาณ จิต และสมาธิ อยู่เสมอ
เช่นพิธีทิ้งกระจาด ตลอดระยะเวลากระทำพิธี
ก็ต้องกำหนด มันดาลา (มนฑล) จิตภาพต่างๆ
ประกอบกับรหัสมือ หรือ มุทระ และมนตรา มากมาย
มันเป็นเรื่องของพิธีกรรม ความเชื่อ และวิชาของเขา

เท่าที่ผมได้อ่าน การฝึกทางวัชรยาน
เมื่อฝึกถึงระดับหนึ่งแล้ว ย่อมเข้าสู่พุทธเกษตร
หรือ มันดาลา ของพระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์
พระองค์ใด พระองค์หนึ่งได้..
ด้วยอาศัยการประสานใจเป็นหนึ่งเดียวกับท่านโดยสมบูรณ์
แล้วอาจไปบำเพ็ญต่อในโลกหลังความตาย
ตามที่ตนปารถนา หรือซักฟอกอย่างหมดจด
ตั้งแต่ยังมีธาตุขันธ์ในโลกมนุษย์นีก็อาจเป็นได้

ซึ่งผมเข้าใจว่า concept นี้ ก็คล้ายกับของฮินดู
ที่ จขกท. ยกประเด็นขึ้นมาถามน่ะครับ

นั่นคือ การเข้าถึงพระเป็นเจ้า หรือ อะไรก็ตาม
ด้วยความสนิทแนบเน่น เป็นเนื้อเดียวกัน
แต่อาจต่างกันบางอย่าง เช่น ฮินดู ต้องการเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า
มหายาน เชื่อมเพื่อเป็นพี่เลี้ยง ให้สำเร็จคุณวิเศษตามหลักสูตร
หรือให้ไปบำเพ็ญต่อหลังความตาย
หรือบำเพ็ญจนหลุดพ้นตั้งแต่ยังไม่ละสังขาร

ทั้งนี้ ก็มีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน

ผมไม่ได้ออกนอกประเด็นไปไหน
เพียงแต่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ และความคล้ายคลึงเท่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ได้ชี้นำไปในทางที่เสื่อมแต่ประการใด
กรุณาเข้าใจตามนี้นะครับ

ก็ขอให้อ่านอย่างมีวิจารณญาณกันสักหน่อย
สงสัย ผมคงปูพื้นฐานให้น้อยไป
เลยต้องไปคิดกันเอาเอง แล้วคิดว่าผมพยายามชักนำ
ออกนอกลู่นอกทาง หรือพยายามทำให้ไขว้เขว
กลายเป็นบาปเป็นกรรมไปเสียอย่างนั้น..

และถ้าใครจะว่า จะตำหนิใคร ก็กรุณาอ่านให้เข้าใจมากๆ ก่อน
ถ้าคิดว่า ไม่ถูกต้องสมควรอย่างไร
ให้บอกกันได้ ด้วยความสุภาพ
มิเช่นนั้น ผลกรรมนั้น จะตกกับตัวผู้เข้าใจผิดเสียเอง

อีกประการหนึ่งใครเขาจะสื่ออะไรกับใครได้นั้น
ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะพอใจ หรือไม่พอใจ เพราะเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล
บอร์ดนี้ ไม่ได้มีไว้ระบายความไม่พอใจ
ที่มีต่อทัศนะ หรือความเชื่อของคนอื่น...
แต่มีไว้แบ่งปันความรู้ และเสริมสร้างมิตรภาพมากกว่า

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของกระทู้ และขอขอบพระคุณทุกๆท่าน ที่มาร่วมเสนอแนวความคิดครับ

ขอพระเป็นเจ้าประทานพรครับ

       ชอบพระคุณสำหรับข้อมูลดีๆของทุกๆท่านค่ะ

Quote from: Axari on June 16, 2010, 15:20:00

เท่าที่ทราบ ตตฺตวํอสิ (tattvamasi) หมายถึง สูเจ้าคือสิ่งนั้น (Thou art that)
tat   =  that
tvam=  thou
asi   =  art

รบกวนผู้รู้ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลและขยายความด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ




เพิ่งมีโอกาสว่างมาตอบครับ ขออภัยด้วย

โอมฺ สทฺคุรุจรณกมเลภฺโย นมะ
ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระกมลบาทของคุรุผู้เที่ยงแท้ทั้งหลาย

โอมฺ เวทานตคุรุปรมฺปราภฺโย นมะ
ขอความนอบน้อมมีแด่สายสืบทอดคุรุแห่งเวทานตะทั้งหลาย

โอมฺ ศฺรีศํกราจารฺยวรยาย นมะ
ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่านศังกราจารย์ผู้ประเสริฐ


ผมขอตอบตามหลักวิชาการนะครับ

คำว่า โอมฺ ตตฺ ตฺวามสิ หรือ ตตฺ ตวมฺ อสิ
รวมทั้งคำอื่นๆในแบบเดียวกันนี้ เช่น โอม โสหํ หํสา หรือ อหมฺ พฺรหฺมาสฺมิ, หรือ ปฺรชฺญา พฺรหมนฺ ฯลฯ

คำเหล่านี้เป็นประโยคหรือวลีสั้นๆในคัมภีร์หมวดอุปนิษัทครับ
อุปนัษัทเป็นส่วนหนึ่งของพระเวทหรือส่วนท้ายของพระเวท อันแสดงเกี่ยวกับความจริงแท้หรือปรัชญาลึกซึ้ง

วลีเหล่านี้เรียกกันว่า "มหาวากย" หรือ ถ้อยคำอันยิ่งใหญ่
เพราะเป็นถ้อยคำสั้นๆที่แสดงความจริงแท้หรือสัจธรรม อันสูงสุด

ในกรณีคำว่า ตตฺ ตฺวมาสิ
ถอดสนธิเป็น
ตตฺ ตฺวํ อสิ
ตตฺ -นั้น
ตฺวมฺ - ท่าน,เจ้า
อสิ -เป็น อยู่ คือ

แปลว่า "ท่านคือสิ่งนั้น"

ประโยคนี้ปรากฏในฉานโทคโยปนิษัท หรือฉานโทคยอุปนิษัท
ท่านอุททาลกะ กล่าวกับบุตรคือ เศวตเกตุ

ความหมายของประโยคนี้ในทางเวทานตะ ไม่ได้หมายถึงการส่งใจหรือการรวมจิต
แต่เป็นประโยคแสดงสัจธรรม

ที่ยืนยันความหมายทางปรัชญาอไทฺวตเวทานตะ
กล่าวคือ ในทางเวทานตะ มีหลักว่า

ความจริงแท้มีแค่พรหมันเท่านั้น โลกเป็นมายา ชีวาตมันไม่ได้แยกต่างจากพรหมัน
(พฺรหมสตฺยมฺ ชคนฺมิถฺยา ชีโวพรฺหไมวนาประ)

การบอกว่าท่านคือสิ่งนั้นหมายความว่า ตัวเราไม่ได้แยกจากสิ่งสูงสุดหรือสัจธรรมหรือพรหมัน
เพราะโดยหลักการแล้ว การแยกแตกต่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏในมายาเท่านั้น โดยสัจภาวะแล้ว ไม่มีความแตกต่างหรือเภทาเภทะทั้งนั้น
เมอื่ความรู้แจ้งปรากฏตัวเราเองก็คือพรหมัน(นี่เป้นหลักการของท่านศังกราจารย์)

ข้อนี้ต่างจากหลักการของท่านรามานุชะ ที่แยกออกเป็นปรมาตมัน หรืออาตมันใหญ่หรือพระเจ้า กับอาตมันหรือชีวาตมันอันเป็นอาตมันย่อยๆ
อาตมันย่อยๆนี้อยู่ในฐานะส่วนหนึค่งหรือเปรียบประดุจร่างกายของปรมาตมันเท่านั้น


ประมาณนี้ครับ เดี๋ยวผมค่อยมาต่ออีกนะครับ

อ่อ นักบวชและสาธุบางท่านก็มักแนะนำให้ภาวนาเพ่งพินิจความหมายของคำนี้ โดยอาจทำให้เกิดการประจักษ์แจ้งความจริงได้ครับ



ครับผมขอบพระคุณครับผม

คอยข้อมูลเพิ่มเติมครับพี่หริทาส