Loader

ขอถามเรื่องศิวะลึงค์ ครับ

Started by ingjeng, July 18, 2011, 10:48:01

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

ไม่แน่ใจว่า จะประดิษฐานศิวะลึงค์ไว้กลางแจ้งได้หรือไม่

ในความรู้สึกส่วนตัวผมแล้วว่าไม่สมควรครับเพราะว่าศิวะลึงค์ คือเป็นรูปที่ปรากฎแทนองค์พ่อและองค์แม่(คือส่วนที่เป็นโยนี)ครับ
ควรจะจัดหาที่ให้เหมาะสมอย่างสมพระเกียรด้วยครับพร้อมทั้งหันทิศให้ถูกต้องตามหลักทางศาสนาดว้ยนะครับ

กลางแจ้งได้แต่ต้องมีวิหารครอบมั้งครับ


ศิวลึงค์ อ่ะเป็นตัวแทนแห่งพระศิวะนะ ไม่ใช่พระแม่ ใครไม่รู้ก็อย่าตอบมั่วดีกว่าทำให้คนอื่นเข้าใจผิด จะบาปด้วย ไม่ได้บุึญ  ตั้งกลางแจ้งได้ไหม เสาชิงช้าเทพมณเฑียรก่อนหน้านี้ก็ตั้ง กลางแจ้ง ต้องถามว่าหันทิศไหน แล้วอยู่ใกล้กะสิ่งก่อสร้างอะไรบ้าง เช่นห้องน้ำ ห้าม ตั้งใกล้กัน ทิศที่หัน คือ เหนือกับตะวันออก เท่านั้น ถ้า มีศาลหรือหิ้งบูชาอยู่กลางแจ้งก็ตั้งไว้ได้ แต่เป็นหิ้งเทพนะไม่ใช่เอาไปตั้งกะพระภูมิ อันนี้ก็ไม่ไหว ควรหาที่ เหมาะสมอัีนควร ตั้งไว้จะดีกว่า ตั้งรวมกับหิ้งเทพ ในบ้านก็ได้ เพราะถ้ากลางแจ้ง ต้องโล่ง จริงๆ ไม่มีอะไรมาคล่อม หรือว่า หมิ่นเม่ ต่อการ ถูกข้ามหรือว่าใกล้สิ่งปลูกสร้าง อวมงคล

เอิ่ม จะบอกว่า ศิวลึงค์เป็นตัวแทนของพ่อ(พระสดาศิวะเทพ)

และ แม่(พระแม่เจ้าปราวตีอุมาเทวี) นั้น ถูกต้องแล้วครับ

เพราะส่วนที่เป็นแท่งคือพระศิวะนั่นก็คือลึงค์ ส่วนฐานที่รองรับ

ก็คือพระแม่อุมาที่เรียกกันว่าโยนีครับ ส่วนที่ท่านหริหระบอกว่า

เป็นตัวแทนแห่งพระศิวะก็ถูกครับ แต่ไม่ถูกเสียทีเดียวครับ

เพราะว่าเป็นตัวแทนของพระแม่ด้วยครับขออภัยที่ล่วงเกิน



ขอบคุณครับสำหรับการช่วยหาคำตอบที่ถูกต้องครับ และผมต้องรบกวนผู้รู้ ช่วยกันตอบด้วยครับ
จะได้ไม่เข้าใจกัน ผิดผิดครับ ...ขอบคุณ

ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำของทุกท่านครับ

Om Namah Siva Mrytunjay Mahadavay Namo Stute.

ขออนุญาติตอบนะครับ

ไม่ผิดทั้งคู่ เพราะส่วนมากเวลาเรากล่าวถึงศิวลึงค์ มักจะเรียกรวมกับฐานโยนีด้วยเสมอ จนบางครั้งเข้าใจกันว่าทั้งหมดเรียกว่าศิวลึงค์



ตามรูปจะเห็นได้ว่า ศิวลึงค์ ที่เป็นตัวแทนของพระศิวะ คือแท่งกลมๆ ที่ตั้งอยู่ตรงกลาง
ส่วนโยนี ที่เป็นตัวแทนของพระปารวตี นั้นเป็นฐานที่ใช้รองรับศิวลึงค์ นั่นเองครับ

ศิวลึงค์สามารถประดิษฐานไว้ได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม จะให้ได้จากตามวัดต่างๆ ทั้งในอินเดียและเมืองไทย

บางแห่งถูกประดิษฐานภายในโบสถ์,ปราสาท หรือ วิหาร อย่างเมืองไทยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์



บางแห่งถูกประดิษฐานภายนอกโบสถ์ แต่มีการสร้างวิหารเล็กๆ ครอบไว้ อย่างที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี



บางแห่งถูกประดิษฐานไว้กลางแจ้ง อย่างที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์



และการประดิษฐานนั้นมักจะหันหน้าพระศิวลึงค์ (รวมทั้งฐานโยนี) ไปทางทิศเหนือ และต้องมั่นใจว่า บริเวณที่ประดิษฐานนั้นสะอาด และไม่มีสถานที่อันไม่เป็นมงคลตั้งอยู่ เช่น ห้องน้ำ, ถังขยะ นะครับ

โอม....นะมัช.....ศิวาย............ผมบูชาเช้าเย็นทั้งดอกไม้แลน้ำปัญจอัมฤทธิ์เป็นบางโอกาส

ผมก่อศิวลึงค์ด้วยดิน ส่วนความเหมาะสมอยู่ที่ใจของคุณเอง

ดูสิเมื่ออยู่กลางแจ้ง
เมื่อลมพัดมาโดนศิวลึค์ที่เราก่อขึ้นนั้นก็เกิดอนิสงค์แก่ตัวเองและพระพาย
ฝนตก แดดออก แสงจันทร์ อนิสงค์มหาศาลเท่าไร