Loader

อยากทราบประวัติ

Started by suchitra, July 09, 2009, 15:23:10

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

อยากทราบประวัติของพระพิฆเนศ และพระแม่ลักษมี  และขอวิธีบูชาท่านด้วยนะคะ  ใครมีรบกวนตอบด้วย หรือส่งมาที่ ogqs@ogawaasia.co.th

July 09, 2009, 22:53:24 #1 Last Edit: July 09, 2009, 23:04:31 by white rose.
พระนางลักษมี...
คำบูชาพระลักษมี
***โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะ มะ ฮา....
เพื่อขอความร่ำรวย มั่งคั่ง และโชคดี มีโชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา...




    
พระนางลักษมี
เทพเทวีแห่งโชคลาภ

   อันกำเนิดของ พระนางลักษมี ตำนานมีอยู่ว่า นานมาแล้ว คราวหนึ่งบ้านเมืองเกิด
ภัยพิบัติด้วยแผ่นดินที่เคยอุดมสมบูรณ์นั้นเกิดความแห้งแล้งแสงแดดที่สาดส่องมาใน
ยามกลางวันนั้น ให้ความร้อนกับโลกประหนึ่งมีดวงอาทิตย์ถึง 10 ดวง ผู้คนในโลก
ไม่สามารถออกจากบ้านไปทำมาหากินตามปกติได้เลย ตกเวลาค่ำก็หนาวเย็น จน
ต้องก่อกองไฟผิงเพื่อให้อุ่นพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งหลายขาดแคลนเพราะไม่สามารถ
ทำการกสิกรรมได้ บรรดาชาวนาชาวสวนทั้งหลายจึงพากันมารวมตัวในยามค่ำ เพื่อ
สวดมนต์อ้อนวอนถึงพระวิษณุเทพแต่เวลานั้นเป็นช่วงจังหวะที่องค์พระวิษณุเทพบรร
ทมอยู่เหนือพญาอนันตนาคราชในเกษียรสมุทรไม่ได้ยินคำอ้อนวอนของผู้คนในโลก
  พระลักษมีได้ยินคำสวดนั้น แต่ไม่กล้าปลุกพระสวามีให้ตื่นจากบรรทมนางจึงตักสิน
ใจอวตารภาคหนึ่งไปเป็นพระแม่โพสพ(ธัญลักษมี) เพื่อช่วยมนุษย์ ด้วยการนำน้ำ
จากมหาสังข์เป็นหยาดฝนโปรยปรายมายังพื้นโลก เนรมิตให้ต้นข้าว และพืชพันธุ์
ทั้งหลายเจริญงอกงามไก้ผลสมบูรณ์ จนเมื่อพระวิษณุเทพตื่นจากพระบรรทม และ
ทราบความที่พระนางลักษมีกราบทูลจึงได้ประทานพรให้กับพระชายา และทรงมีเทว
โองการให้ถือ นกแสก หรือนกฮูก ไว้เป็นตัวแทนของพระนางลักษมีในโลกมนุษย์
ตั้งแต่นั้นมา เมื่อปีไหนที่ชาวเกษตรกรได้พืชผลดี ก็จะมีพิธีบวงสรวงพระลักษมีเป็น
การใหญ่

ปางที่หนึ่ง อติลักษมี
 
- ปางนี้คือพระแม่ลักษมีปางที่เป็นประธาน พระแม่จะประทาน
พรแห่ง
ความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน ความรัก แก่ผู้สวดขอพรจากท่านพระแม่จะ
ประทับนังบนดอก บัวและ อยู่ในท่าประทานพร ท่านจะถือธงไชยไว้ในมือ
ซ้ายด้านบน
ลองสังเกตดูปางนี้ มี สี่พระ กรเืท่านั้น


ปางที่สอง ดานญ่าลักษมี

-ปางนี้มีถึงแปดพระกร เป็นพระแม่ที่ประทานพรแก่พืชไร่ หรือ อีกพระนามก็คือ
พระแม่โพสพนั่นเอง เกษตรกรชาวนา ชาวไร่ สามารถขอพรให้
ปลูกพืชได้
ผลดีทั้งปี


ปางที่สาม อิชวาญ่าลักษมี

ปางนี้่พระแม่จะประทานพรให้คุณมีจิตใจกล้าหาญ คิดการใด
ก็สำเร็จ ปางนี้มีสี่พระกรเท่านั้น และ พระแม่ทรงถือดอกบัวทั้งมือซ้าย
และ ขวาด้านบนสอง มือที่เหลือ ด้านล่าง อยู่ในท่าประทานพรเช่นเคย


ปางที่สี่ กาจาลักษมี

ปางนี้พระแม่จะประทับเคียงข้าง ช้างสองเชือก ที่ขนาบซ้าย
ขวา และ ปางนี้พระแม่จะประทาน โชคลาภและความร่ำรวยทางการเงินให้สาวกของท่าน

ปางที่ห้า สันตานาลักษมี


ปางนี้พระแม่จะประทานทายาทให้แก่ผู้สวดขอพร สังเกตุ
ง่าย ๆ คือ พระแม่จะมีเด็กชายนั้่งอยู่บนตักด้านซ้ายเสมอ ๆ



ปางที่หก วิจายาลักษมี


ปางนี้พระแม่จะประทานชัยชนะทั้งปวงแก่ผู้สวดขอพร ปางนี้จะมีถึง
แปดพระกรทรงอาวุธด้วย อันได้แก่ มีด หอยสังข์ เป็นต้นประมาณว่าปางนี้เป็นปางบู๊นิด ๆ ของพระแม่ผู้แสนงาม และมีีความอารีย์เป็นที่หนึ่ง


ปางที่เจ็ด วิทยาลักษมี

ปางนี้พระแม่จะประทานความสำเร็จทางการศึกษาหาความ
รู้ ปางนี้พระแม่มี แปดพระกรเช่นกัน


ปางที่แปด ดาน่าลักษมี


ปางนี้สำคัญมาก เพราะ พระแม่จะประทานเงินทอง พรอัน
สำคัญที่เรา ๆ ท่านต่างต้องการ ลักษณะของปางนี้คือ พระแม่จะมีถึง
8
พระกร จะทรง อาวุธ ได้ แก่จักร หอยสังข์ และ อื่น ๆ แต่ สองมือ ซ้าย
ขวาด้านล่างอยู่ในท่าประทาน พรที่ไม่ธรรมดาเพราะว่ามีเหรียญเงิน
และ ทองไหลพรั่งพรูออกมาจากมือทั้งสองข้าง ของพระแม่




บทสวดอัญเชิญและบูชาพระแม่ศรีลักษมีมหาเทวี (พระแม่ลักษมี)

***โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะมะ ฮา ...  3 จบ
***โอม พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระลักษมี อิตถีเทวะ เมตตัญจะ มหาลาโภ...




   

   
  ในสมัยพระเวท ซึ่งเป็นยุคเก่าแก่มาแต่โบราณ อ้างว่า พระลักษมีนั้นคือเทพธิดา
พระองค์หนึ่งในสมัยนั้นทรงเป็นเทวีแห่งความร่ำรวยทรัพย์สินเป็นอันมากจนเทวดา
พระองค์อื่นอิจฉา จึงได้ทำการปล้นและแย่งชิง สมบัติของนางไปหมดสิ้น จนนางต้อง
ไปพึ่งพระวิษณุเทพ พระลักษมีทรงเป็นอัครมเหสีต้องอวตารติดตามไปเป็นคู่ครองทุก
ชาติไป ดังนั้นเมื่อพระวิษณุเทพทรงอวตารเป็นปลา พระลักษมีเป็นนางปลา,วราหะ
(หมูป่า) พระราม - สีดา , พระกฤษณะ - รุกมินี ,สิทธัตถะ - ยโสธารา เป็นต้น 
ด้วยเหตุนี้ พระลักษมี จึงได้ชื่อว่า มีความซื่อตรง จงรักภักดี ทั้งรักและเทิดทูนในพระ
สวามี แต่เพียงผู้เดียว

  การบูชาพระลักษมีอาจจะแตกต่าง กันไปในแต่ละพื้นที่ ในบางแคว้นของอินเดีย
นิยมเอาสมุดบัญชีมาวางไว้หน้าหิ้งบูชาพระลักษมีพร้อมกับจุดประทีป โปรยด้วยดอก
ไม้  และเชิญพราหมณ์มาประกอบพิธีสวดอ้อนวอนขอพรพระลักษมีให้อำนวยความ
เจริญก้าวหน้าแก่กิจการให้การค้าให้เจริญรุ่งเรืองจากนั้นก็เอานิ้วจิ้มหญ้าฝรั่นสีแดง
เจิมหน้าแรก  ของหนังสือหรือบัญชีทุกเล่ม  นอกจากนั้นยังมีการจารึกอักษรมงคล
ไว้ที่ฝาบ้าน ว่า "นมัสการแด่พระคเณศและพระแม่ลักษมี ได้โปรดช่วยเรา  ขอให้
เงินทองไหลมาเทมาจนล้นกำปั่นของเราด้วยเถิด "  พระแม่ลักษมี มิได้นิยมเฉพาะแต่
ผู้ทำการค้าเท่านั้น  แต่ยังเป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกรด้วย  ดังนั้นพระแม่โพสพของอิน
เดียนั้นคือ พระแม่ลักษมี อวตาร  ซึ่งความเชื่อนี้ผิดแตกต่างไปจากคนไทย

   รูปเคารพทางศิลปะที่ค้นพบจนถึงปัจจุบันพระนางลักษมี ประทับยืนบนดอกบัวและถือดอกบัว อาภรณ์ดั่งกษัตริย์สวมมงกุฏหรือรูปเคารพที่พระนางประทับนั่งบน
ดอกบัวพระวรกายสีทองทรงถือดอกบัวไว้ บางรูปเคารพที่พบพระนางลักษมี มี ๘ กรทรงถือดอกบัวคันธนู คทา ลูกธนู ลูกล้อ หอยสังข์ ลูกบดไม้ และประตัก

ดอกไม้บูชาพระแม่ลักษมี

ในการประกอบพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงบูชาพระลักษมี  ไม่จำเป็นจะต้องประกอบ   พิธีกรรมใหญ่ที่ทำกันเป็นเทศกาลดังกล่าวชาวบ้านชาวเมืองทั่วไก้สามารถบูชา
ขอพรขอความร่ำรวยมีโชคมีลาภจากพระแม่ด้วยการจัดพิธีเล็ก ๆ ที่บ้าน โดยจัดเตรียมหาของอันเป็นเอกลักษณ์ของพระแม่มาประกอบในพิธีบวงสรวงบูชาเป็นต้นว่า  เรื่องของดอกไม้นั้นควรจะเตรียมดอกบัวและดอกดาวเรืองเพื่อเป็นไม้หอมที่บูชาพระแม่นอกจากนั้นควรจะมี ข้าวตอกสักกระทงหนึ่งหรือใส่พานเล็ก ๆ อีกพานหนึ่งไว้สำหรับโปรยพร้อมกันกับดอกไม้ใส่รูปเคารพพระแม่
                                          นอกจากนั้นชาวฮินดูโบราณยังมีความเชื่อที่ว่าการใช้เบี้ยมาประกอบพิธีบูชาแล้วนำเก็บไปไว้ในลิ้นชักเก็บเงินทองหรือนำไปติดตัวก็สามารเป็น          สิริมงคลทำให้มีโชคลาภ มีความสำเร็จมั่งคั่งร่ำรวยได้เช่นกันพระแม่ลักษมีนั้นจุติมาจากกลางดอกบัวหรือดอกบัวสีแดงท่ามกลางน้ำ  (การกวนเกษียรสมุทร)   ดังนั้นหากคุณสามารถหาดอกบัวสีแดงมาประกอบในการบูชาก็จะถือว่าเป็นการดีอย่างยิ่งแต่ถ้าหากว่าไม่สามารถหาดอกบัวสีแดงได้ก็ควรจะหาดอกบัวสีชมพูสดเข็มหรือสีม่วงที่ใกล้เคียงสีแดงมาบูชาพระแม่                   
         


ช่วงเวลาในการบูชา

ในสมัยโบราณนั้นชาวฮินดูนิยมประกอบพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงบูชาพระแม่ลักษมีในช่วงต่างๆของทุก ๆ ปี ดังนี้ช่วงเดือนยี่ เดือน 5 เดือน 10 เดือน 11 และเดือน 12ในแต่ละช่วงที่จะทำการบวงสรวงบูชาพระแม่นั้นจะต้องทำการบวงสรวงในวันพฤหัสบดีที่เป็นวันข้างขึ้นมิใช่ข้างแรม แต่ถ้าคุณไม่สามารถจะทำการบวงสรวงพระแม่ได้ 5 ครั้ง ใน 1 ปี ก็สามารถเลือกช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นประจำทุกปีก็ทำได้...

แวะชมที่ลิ๊งค์ข้างล่างนี้ได้ค่ะ...

กุหลาบขาว...


http://www.maameu.ath.cx/forum/index.php?topic=6577.msg13043#msg13043
ตราปมีลมหายใจ  ย่อมมีเวลาสมาธิ

ขอเสริมนะครับ พระนามทั้ง8ของพระแม่ลักษมี ตามที่ผมได้เคยศึกษามา  อาจเขียนไม่เหมือนกันกับข้างบน  แต่ก็ใกล้เคียงตามรูปศัทพ์เดิม
1 อธิลักษมี
2 ธัญญลักษมี
3 ไดรยลักษมี
4 คชาลักษมี
5 สันธนลักษมี
6 วิชยลักษมี
7 วิทยาลักษมี
8 ธนลักษมี
[HIGHLIGHT=#000000]*****จยันตี มังคลา กาลี  ภัทรกาลี กปาลิณี*****  [/HIGHLIGHT]