ชุมชนคนรัก...ฮินดู (HINDUMEETING)

Hindu สนทนา => ชุมชนคนรัก...ฮินดู => Topic started by: retro_minute on June 09, 2012, 15:59:52

Title: ตกลงที่เข้าใจว่าวันเพ็ญเดือนสิบสองเป็นวันบูชาพระแม่คงคานี่ เข้าใจผิดมาแต่เด็กตอนครูสอ
Post by: retro_minute on June 09, 2012, 15:59:52

- ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗  เป็นวันแรกที่น้ำจากพรหมโลกไหลลงมาสู่โลกนี้  ที่ต้นของแม่น้ำคงคาคือ น้ำจากเศียรพระศิวะไหลลงสู่ภูเขาหิมาลัย แล้วลงสู่แม่น้ำคงคา ชาวบ้านที่อยู่ใกล้แม่น้ำคงคาจะจัดเล่นกีฬาในน้ำ
***ตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม 2555



- ไวกุณฐจตุรทศี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  เป็นวันบูชาพระนารายณ์ ผู้ที่ทำการบูชา ตายแล้วจะไปเกิดในโลกไวกุณฐะ  มีการบูชาพระนารายณ์กับพระศิวะสลับกันไป การบูชาพระนารายณ์จะได้ผลทางจิตใจ ส่วนการบูชาพระศิวะจะได้ผลทางวัตถุ

- ศารทัยปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  เป็นการบูชาพระนารายณ์ และถวายประทีปแก่เทพเจ้าทั้งหลายในเทวาลัยต่าง ๆ  บนท้องฟ้าและในน้ำ  ถือว่าเมื่อถวายประทีปแล้วจะได้รับแสงสว่างในภายใน ดวงประทีปจะนำวิญญาณของผู้ถวาย เมื่อตายไปสู่สุคติ

*** ไวกุณฐจุตทศี และ ศารทัยปูรณิมา ตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555
ซึ่งเป็นวันเพ็ญเดือนสิบสอง อย่างที่ไทยเรามีเพลงร้องกัน
"วันเพ็ญเดือนสิบสองน้ำคะนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริงวันลอยกระทง"
และสอนว่าเป็นการขอขมาและบูชาพระแม่คงคา ไม่ใช่การบูชาพระนารายณ์หรือพระศิวะ

สับสน -_____-''ll  ใครทราบข้อเท็จจริง ช่วยตอบทีค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
Title: ตอบ: ตกลงที่เข้าใจว่าวันเพ็ญเดือนสิบสองเป็นวันบูชาพระแม่คงคานี่ เข้าใจผิดมาแต่เด็กตอนคร
Post by: pitihom on June 11, 2012, 09:07:42
ผมว่าไม่ผิดหลอกครับ ประเทศไทย เขาเอา ขึ้น 15 คำเดือน 12 ซึ้งเป็นฤดู น้ำ นอง  น่ะครับเป็นช้วงที่น้ำกำลังเต็มตลิ่ง เหมาะแก่ ารทำพิธี บูชาและขอขมาพระแม่คงคา นั้นก็ไม่ผิค ครับ แต่ละ ที แต่ละประเทศ ก็ทำแตกต่างกัน ไปตาม สะดวก แล้วอีกอย่างเราเป็นคนไทย น่ะคัรบ เราก็ควรอนุรักษ ประเพณี ไทยไว้ ส่วนคนฮินดูเขาบูชาพระแม่คงคาก็ต่างจากเรา ของเรามีลอยกระธง อะ ครับ แต่เขาเป็นการบูชาเทพเจ้า
Title: ตอบ: ตกลงที่เข้าใจว่าวันเพ็ญเดือนสิบสองเป็นวันบูชาพระแม่คงคานี่ เข้าใจผิดมาแต่เด็กตอนคร
Post by: sweetmodaka on June 11, 2012, 11:57:04
เคยเห็นที่อินเดียเค้าลอยกะลาที่อารตี เวลาบูชาพระแม่คงคา คนไทยลอยกระทง รอผู้รู้มาตอบที
Title: ตอบ: ตกลงที่เข้าใจว่าวันเพ็ญเดือนสิบสองเป็นวันบูชาพระแม่คงคานี่ เข้าใจผิดมาแต่เด็กตอนคร
Post by: retro_minute on June 11, 2012, 21:43:03
ทราบเพียงแต่ว่า การขอขมาหรือบูชาพระแม่คงคานั้น สามารถกระทำได้ทุกวัน ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องเมื่อไหร่ ฤกษ์ไหน ก็เหมือนเราขอขมาหรือบูชาองค์เทพที่เรานับถืออะค่ะ เราก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องดูฤกษ์ก่อนบูชาถูกต้องมั้ยคะ? ทุกอย่างอยู่ที่ใจ ที่นำคำถามมาถาม ก็เพราะอยากได้ความกระจ่างใส ในพิธีการของทางฮินดูเท่านั้น มิได้คิดว่าจะต้องบัญญัติสิ่งใหม่และทำลายสิ่งเก่าอะไร เพียงแค่อยากทราบในความถูกต้อง ประดับสมองประดับความรู้ทางฮินดูค่ะ หากหัวข้อกระทู้หรือข้อความในกระทู้ อาจใช้คำพูดหรือภาษาไม่ถูกต้อง หรือก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ดิฉันโง่เขลาเบาปัญญาเองจึงมาถาม หากมิได้โง่เขลาเบาปัญญาคงไม่มาถามเป็นแน่ ขอบพระคุณค่ะ



**ที่เคยขอขมา+บูชาพระแม่คงคาอะนะคะ คือตอนนั้นยังไม่เจอเรื่องวันพิธีที่เอามาถามในหัวข้อกระทู้นี้ ก็กระทำในวันลอยกระทงของไทยนี่แหล่ะ เราเอาถาดไปใบนึง ในนั้นใส่ตะเกียงอารตีไว้ตรงกลาง มีโถกำยาน ดอกไม้ ผลไม้ แล้วก็ไปยืนตรงคลองแถวๆหมู่้บ้าน จุดกำยานและตะเกียง ยกถาดขึ้น กล่าวขอขมาและสวดบูชาพระแม่คงคา จากนั้นก็ลอยดอกไม้และผลไม้ไป เก็บผลไม้ไว้บางส่วนด้วยนิดหน่อย แล้วยกถาดวน 3รอบเป็นการอารตี

คือไม่ได้บอกว่านี่คือการบูชาที่ถูกต้อง ไม่บอกให้ทำตาม แค่เล่าให้ฟังว่าเราทำแบบนี้และสบายใจที่ทำค่ะ แฮปปี้~
ใครบูชาพระแม่คงคากันอย่างไรบ้าง แชร์กันบ้างนะคะ

อย่าลืมหัวข้อกระทุ้นะคะ ยังสงสัยอยู่ ><!!