ชุมชนคนรัก...ฮินดู (HINDUMEETING)

Hindu สนทนา => ชุมชนคนรัก...ฮินดู => Topic started by: ubaragi on July 21, 2009, 18:59:48

Title: ถามเรื่อการสวดมนต์กับการนั้งสมาธิหน่อย ครับ
Post by: ubaragi on July 21, 2009, 18:59:48
อยากทราบอะครับเพราะมีคนบอกให้ทำการปฏิบัติและสวดมนต์เลยอยากรู้ว่าต้องสวดมนต์บทไรมั้งใครรู้บอกที่น่ะครับ

หรือไม่ก้ขอบทสวดมนต์เลยก้ดีน่ะครับที่จำเป้นต้องสวด

และการนั้งสมาธิอะครับผมยั้งไม่ได้เลยอะใครมีวิธีแนะนำมั้งอะครับ (นั้งที่ไรใจไม่เคยสงบเลย)

แนะนำที่น่ะครับ
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนต์กะการนั้งสมาธิหน่อย ครับ
Post by: กาลิทัส on July 22, 2009, 10:05:40
เป็นคำถามที่กว้างมากมายครับ

ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่าแนวการปฏิบัติของคุณต้องการปฏิบัติไปตามแนวพุทธศาสนา หรือ ฮินดูครับ

การสวดมนต์ถ้าเป็นแบบพุทธก็สามารถหาหนังสือสวดมนต์ทั่วไปสวดได้เลยครับ แต่ถ้าเป็นแนวทางในศาสนาฮินดู

สามารถหากระทู้บทสวดบูชาเทพต่างๆ ซึ่งถือเป็นบทบูชาทั่วไปครับได้ในส่วนของกระทู้ เทวะปรารถนา ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ได้เลยครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=16.msg27#msg27 (http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=16.msg27#msg27)

ซึ่งจริงๆ แล้วทางพุทธศาสนาเชื่อกันว่า การสวดมนต์นั้นถือเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง จากการทำสมาธิ 40 วิธีครับ ถ้านั่งสมาธิไม่ได้จริงๆ การสวดมนต์ก็ถือเป็นสมาธิปฎิบัติอย่างหนึ่งได้ครับ แต่หลักการสวดมนต์มีทั้งสิ้น 5 แบบครับ

สวดมนต์แบบดอกบัว คือ การสวดออกเสียง ชัดเจน
สวดมนต์แบบวัชระ คือ การสวดไม่ออกเสียงไม่ออกเสียง แต่จะมีการกระดกปลายลิ้นนิดหน่อย
สวดมนต์แบบสมาธิ คือ เพ่งให้เห็นตัวอักษร ร่ายในใจตามตัวอักษร ((อันนี้ต้องไม่มองหนังสือนะครับ แต่เป็นตัวอักษรด้วยสมาธิครับ))
สวดมนต์แบบอุบัติ คือ เพ่งตัวอักษรให้เกิดเสียงก้องกังวาน เหมือนเสียงสังฆ์ ไม่ขาดระยะ
สวดมนต์แบบแสงสว่าง เวลาร่ายต้องให้มีแสงสว่างพุ่งจากปาก

แต่ต้องตั้งใจสวด ดูมนต์หรือบทสวดทุกตัวอักษร แบบวรรคต่อวรรค ไม่ใช่ท่องแบบนกแก้วนกขุนทองนะครับ


[HIGHLIGHT=#9bbb59]การทำสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา [/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#9bbb59]เนื่องจากผมเองปฎิบัติกรรมฐานตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนาอยู่ครับ[/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#9bbb59]หัวข้ออานาปานสติ 16 ผมคัดลอกมาจากเว็บบอร์ดเก่าอารตี ซึ่งโพสไว้โดยคุณปุ๋ยครับ[/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#9bbb59]เพื่อนที่สนใจลองปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไปครับ[/HIGHLIGHT]
เอาแบบพุทธก่อน มีการทำสมาธิ 40 วิธี แล้วแต่จริตของผู้ปฏิบัติครับ ที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปจะเป้นอาณาปาณสติครับ
ซึ่งอาณาปาณสตินี้แบ่งได้เป็น 16 ขั้นครับ

อานาปานสติทั้ง 16 ขั้น คือ

1. เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกยาว
2. เมื่อหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกสั้น
3. กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจเข้า-ออก
4. ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
5. กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า-ออก
6. กำหนดรู้สุข หายใจเข้า-ออก
7. กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า-ออก
8. ทำจิตตสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
9. กำหนดรู้จิต หายใจเข้า-ออก
10. ทำจิตใจให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-ออก
11. ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-ออก
12. ทำจิตให้คลาย หายใจเข้า-ออก
13. ตามเห็นอนิจจัง-ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-ออก
14. ตามเห็นวิราคะ-ความจางคลาย (คลายติด) หายใจเข้า-ออก
15. ตามเห็นนิโรธ-ความดับโดยไม่เหลือ (ดับสนิท) หายใจเข้า-ออก
16. ตามเห็นปฏินิสสัคคะ-ความสลัดคืน (ปล่อยวาง)หายใจเข้า-ออก

ในอานาปานสติทั้ง 16 ขั้นนี้ แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ

หมวดที่ 1 ตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 4 ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ 2 ตั้งแต่ขั้นที่ 5 ถึงขั้นที่ 8 ว่าด้วยการกำหนดเวทนา เป็น เวททานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ 3 ตั้งแต่ขั้นที่ 9 ถึงขั้นที่ 12 ว่าด้วยการกำหนดจิต เป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ 4 ตั้งแต่ขั้นที่ 13 ถึงขั้นที่ 16 ว่าด้วยการกำหนดธรรมที่ปรากฏในจิต เป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน 4 ก็ปรากฎอยู่ในอานาปานสติสูตรนี้เอง ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึง 4 นั้น เรามักปฏิบัติอานาปานสติกันโดยทั่วไป แต่บางท่านอาจยังไม่ทราบชัดว่า เรากำลังปฏิบัติในขั้นใดของขั้นทั้ง 4 นี้

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 1 เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ หมายความว่าในการกำหนดลมหายใจของมนุษย์โดยทั่วไปนั้น ถ้าหายใจปกติแล้วมนุษย์เราจะหายใจเข้า-ออกยาว เพราะฉะนั้น ในการกำหนดขั้นแรกจึงเป็นการกำหนดตามปกติของมนุษย์เรา เมื่อเรานั่งสมาธิลมหายใจเข้า-ออกยาว เป็นปกติของจิต เพราะฉะนั้น การกำหนดนี้จึงเป็นการกำหนดขั้นแรก เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว เราก็กำหนดรู้ถ้าผู้ใดกำหนดได้ในขั้นที่หายใจเข้า-ออกยาว ซึ่งเป็นการหายใจตามปกติของมนุษย์เรานี้ กำหนดได้โดยมิพลั้งเผลอ ทั้งหายใจเข้า-ออกแล้ว แสดงว่าผู้นั้นได้สำเร็จในขั้นที่ 1 คือ การกำหนดลมหายใจเข้า-ออกยาว

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 2 เมื่อลมหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ว่าเรากำลังหายใจเข้า-ออกสั้น ลมหายใจเข้า-ออกสั้น เป็นลมที่ผิดปกติ เช่น เมื่อโกรธจัด เศร้าใจ ตกใจ ลมหายใจจะเข้า-ออกสั้น ถ้าเมื่อใดลมหายใจเข้า-ออกสั้น เราก็รู้ว่าลมหายใจเข้า-ออกสั้น คือสามารถจะติดตามลม แม้ในขณะที่ตกใจ เสียใจ กลัว เป็นต้น ก็สามารถกำหนดได้ แม้จะสั้นก็กำหนดได้ การกำหนดได้อย่างนี้ เรียกว่าสำเร็จในขั้นที่ 2 คือ เมื่อลมหายใจเข้า-ออกสั้น ก็กำหนดรู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกสั้น

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 3 ตั้งใจกำหนดว่า เราจะรู้กายทั้งปวง หายใจเข้า-ออก บาลีใช้คำว่าสพฺพกายปฏิ สํเวที แปลว่า รู้เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง คำว่า กายทั้งปวง ในที่นี้คือลมหายใจนั่นเอง พระพุทธเจ้าตรัสเรียกลมหายใจว่า " กาย " ทั้งนี้ก็เพราะว่า ตราบใดที่มนุษย์เรายังมีลมหายใจเข้า-ออกอยู่ หรือสัตว์ทั้งหลายยังมีลมหายใจเข้า-ออกอยู่ ก็แสดงว่า ยังมีกายปกติอยู่ ถ้าเมื่อใดลมหายใจขาดแล้ว เมื่อนั้นชีวิตสังขารก็ขาดไปด้วย เพราะฉะนั้น กายก็คือลมหายใจ

ลมหายใจก็เป็นกาย แต่ก็เป็นกายภายใน ดังที่กล่าวไว้ในสติปัฏฐานสูตรว่า " กาเยน กายานุปสฺสี วิหรติ มีปกติตามรู้กายในกายอยู่ " การกำหนดกายในกาย แม้กำหนดลมหายใจก็ถือว่าเป็นการกำหนดกาย

คำว่า " รู้กายทั้งปวง " ในที่นี้ หมายความว่า " รู้ลมหายใจที่ผ่านจุดทั้ง 3 ในร่างกายของเรานี้ " คือผ่านมาถึงรูจมูกเราก็รู้ มาถึงท่ามกลางอกเราก็รู้ มาถึงท้องเราก็รู้ รู้ลมทุกกระบวนการที่ผ่านมาในร่างกายของเรา การรู้ลมทุกส่วนอย่างละเอียดอย่างนี้ทุกระยะ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ตลอดกาลไปอย่างนี้ เรียกว่าสำเร็จในขั้นที่ 3 คือ ขั้นกำหนดรู้กายทั้งปวง ได้แก่ รู้ลมหายใจทุกกระบวนการนั่นเอง

บางคนเมื่อลมหายใจละเอียดเข้า ไม่อาจจะกำหนดได้ว่าขณะนี้ เราหายใจเข้าหรือหายใจออก นี้แสดงว่า สติยังไม่เพียงพอจึงไม่อาจจะได้สมาธิที่แนบแน่นได้ จะต้องกำหนดให้ได้ทุกขณะจิตทั้งเข้าและออก แม้ลมละเอียดก็รู้ได้ว่าตนหายใจเข้าหรือหายใจออก แม้ลมจะดับแล้ว แต่ก็ยังมีสติรู้อยู่
บางท่านตกใจมาก เมื่อกำหนดว่าขณะนี้ตัวเองไม่มีลมหายใจเสียแล้ว เพราะไม่อาจจะกำหนดสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งที่ลมผ่านมาได้ก็ตกใจ บางคนถึงกับลุกขึ้น เลิกทำสมาธิ บางคนตกใจคิดว่าตัวเองจะตายเสียแล้ว เพราะลมหายใจละเอียดมาก ถ้าใครทำสมาธิถึงขั้นนี้ แสดงว่าสมาธินั้นดีมากแล้ว แต่ถ้าสติยังไม่เพียงพอ ก็ไม่จะทำจิตให้แนบแน่นได้ เพราะเหตุนี้ อาจารย์กรรมฐานจึงสอนเราว่า ในขณะที่ลมหายใจสงบระงับไปนั้น ก็อย่าตกใจ แต่ในขณะนี้เรายังมีลมหายใจ เรายังไม่ตาย เป็นเพียงลมหายใจละเอียดเท่านั้น เราจึงรู้สึกเหมือนกับว่าไม่มีลมหายใจ แท้ที่จริงแล้ว คนที่ไม่หายใจนั้นได้แก่คน 7 จำพวก ที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค คือ

1. เด็กที่อยู่ในท้องแม่
2. คนดำน้ำ
3. อสัญญีสัตว์
4. ผู้เข้าฌาน 4
5. คนตาย
6. พวกที่อยู่ในรูปภพและอรูปภพ
7. ท่านผู้เข้านิโรธสมาบัติ

ในที่นี้ พระอรรถกถาจารย์สอนผู้ตกใจเท่านั้นว่า " อย่ากลัวเลย คนที่ไม่มีลมหายใจนั้นไม่ใช่คนอย่างเรา คนอย่างเรานี้ยังไม่ได้ตาย แต่จิตมันสงบระงับยิ่งเท่านั้น อย่าได้ตกใจ " ใครที่ทำลมให้ละเอียดหรือดับลมได้หมด ขั้นนี้เป็นขั้นสูงของสมาธิในพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นขั้นที่ 4 ของการเจริญอานาปานสติ

ท่านทั้งหลาย ลองพิจารณาดูเถิดว่า อานาปานสติ 16 ขั้นนี้ ขนาดถึงขั้นฌานแล้วยังเป็นเพียงขั้นที่ 4 ของการเจริญเท่านั้นและขั้นสูงกว่านี้ก็ยังมีอีก คำสอนในพระพุทธศาสนาไม่ใช่มีอยู่เพียงขั้นฌานเท่านั้น พระพุทธศาสนานั้นยังสูงกว่าคำสอนของศาสนาอื่นใดในโลก เพราะสอนถึงขั้นวิปัสสนา

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 5 กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า-ออก คือผู้ที่ฌานนั้นจะต้องได้ปีติ และได้ความสุข คนได้ฌาน ย่อมได้ปีติและความสุขอย่างยิ่ง ขั้นที่ 5 นี้ พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดรู้ปีติที่เกิดขึ้น ให้มีสติรับรู้ทุกขณะหายใจเข้าและหายใจออก ตั้งแต่ปีติเป็นต้นไปนี้เป็นลักษณะของเวทนา เมื่อผ่านขั้นที่ 5 ไปแล้ว ก็ยกจิตขึ้นสู่ขั้นที่ 6 ต่อไป

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 6 กำหนดรู้ความสุข หายใจเข้า-ออก ความสุขที่เกิดจากฌานนี้ ท่านกล่าวว่า ความสุขชนิดนี้ไม่ใช่ความสุขทางกายแต่เป็นนิรามิสสุข เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบ บาลีท่านใช้คำว่า " อติมธุรํ " คือความสุขที่เลิศยิ่ง ไม่มีความสุขใดในโลกที่จะเทียบความสุขนี้ได้ เมื่อความสุขจิตอย่างยิ่งเกิดขึ้น ก็ว่าเป็นตัวความสุข หายใจเข้า-หายใจออก ไม่มีสติพลั้งเผลอ แล้วผู้ปฏิบัตินั้นก็ขยับจิตสูงขึ้นไปตามลำดับถึงขั้น 7

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 7 กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า-หายใจออก คำว่า " สังขาร " คือการปรุงแต่ง ในที่นี้ สังขาร หมายถึง ปีติและความสุขนั่นเอง อันเป็นสภาพที่ปรุงแต่งจิตให้มีความเบิกบาน ให้มีความสุข ผู้เจริญอานาปานสติในขั้นที่ 7 นี้ จะกำหนดรู้ทั้งปีติและสุข อันเป็นตัวจิตตสังขารซึ่งปรุงแต่งจิตหายใจเข้าและหายใจออก รู้อยู่ทุกขณะ แล้วขยับจิตของตนให้สูงขึ้นไปอีกถึงขั้นที่ 8

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 8 ทำจิตตสังขารให้สงบระงับ หายใจเข้า-หายใจออก ทำไมจึงต้องทำให้สงบระงับ จิตตสังขารคืออะไร จิตตสังขารก็คือปีติและสุขนั่นเอง ทำไมของดีแท้ๆจึงต้องทำให้สงบระงับเสีย ให้ดับเสีย ก็เพราะเหตุที่ว่า ทั้งปีติ ทั้งสุขนั้น ยังใกล้ต่อราคะ ยังใกล้ต่อสิ่งที่ทำให้เกิดตัณหา ผู้ที่ปฏิบัติสูงขึ้นไป จะสงบระงับปีติและสุขเสีย เมื่อสามารถระงับปีติและสุขได้ หายใจเข้า-หายใจออก ก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ แสดงว่าสำเร็จถึงขั้นที่ 8 อันเป็นขั้นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อรู้สึกว่าจิตคล่องแคล่วแล้ว ก็ขยับจิตของตนขึ้นไปสู่ขั้นที่ 9

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 9 กำหนดรู้จิตของตน หายใจเข้า-หายใจออก คือเมื่อจิตโกรธก็รู้ว่าโกรธ จิตโลภก็รู้ว่าโลภ จิตหลงก็รู้ว่าหลง จิตมั่นคงก็รู้ว่ามั่นคง จิตได้ฌานก็รู้ว่าจิตได้ฌาน จิตเสื่อมจากฌานก็รู้ว่าเสื่อมจากฌาน ในที่นี้กำหนดรู้จิตทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก

เพราะฉะนั้น ผู้ที่บำเพ็ญขั้นสูงขึ้นมา ถ้าความโกรธเกิดขึ้นจะปะทะความโกรธได้ด้วยกำลังของสติ ในขั้นนี้เอง เมื่อความอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น ก็กำหนดรู้ว่าตัวเองว่ากำลังอยากได้หายใจเข้า-ออก แล้วบรรเทาความอยากได้นั้นเสีย เพราะมีสติเป็นพลังอยู่ หรือเมื่อเกิดความโกรธเกิดขึ้น เพราะความไม่พอใจต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ก็รู้และยับยั้งความโกรธนั้นเสียได้ หรือแม้แต่ยับยั้งไม่ได้ก็รู้ว่านี้คือจิตโกรธ นี่คือจิตโลภ นี้คือจิตหลง หรือจิตได้สมาธิก็รู้ว่า นี้คือจิตได้ฌาน นี้คือจิตตั้งมั่น เป็นการกำหนดรู้จิต 16 อย่าง ๘ คู่ หมายความว่า กำหนดรู้กระบวนจิตในขณะหายใจเข้า-ออก ผู้นั้นถือว่าสำเร็จในขั้นที่ 9

แม้แต่เราเองซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ถ้าในขณะใดจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน หายใจเข้า หายใจออก จิตกำลังท้อแท้ ก็รู้ว่าจิตกำลังท้อแท้ หายใจเข้า-ออก ก็เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาอันเป็นขั้นที่ 9 ผู้ใดชำนาญในข้อนี้แสดงว่าสำเร็จในขั้นที่ 9 ของอานาปาน

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 10 ทำจิตให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-หายใจออก ขั้นนี้เป็นการเอาพลังจิตมาใช้ คือ จิตที่เข้าถึงขั้นได้ฌาน ได้อำนาจฌานแล้ว ผู้ที่ถึงขั้นที่ 10-11-12 เป็นการนำพลังจิตในระดับต่างๆมาใช้ กล่าวคือ ในขั้นที่ 10 ทำจิตให้เกิดความปราโมทย์ หายใจเข้า-หายใจออก หมายความว่า ผู้ที่เจริญอานาปานสติถึงขั้นสามารถทำจิตของตนให้เบิกบาน ปราโมทย์ หรือทำอย่างไรก็ได้เพราะมีอำนาจจิตเสียแล้ว ก็บังคับจิตของตนให้ปราโมทย์ ให้เบิกบานได้หายใจเข้า-หายใจออก เกิดความสุขอันเกิดจากความปราโมทย์ เมื่อชำนาญแล้ว ก็ผ่านจากขั้นนี้เข้าสู่ขั้นที่ 11

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 11 ทำจิตของตนให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-หายใจออก เป็นการสร้างความสามารถของจิตที่เกิดฌานขึ้นมาอีก อันเป็นการบังคับจิตให้ตั้งมั่นได้ทันทีทันใด จิตตั้งมั่นแล้ว หายใจเข้า-หายใจออกก็รู้

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 12 ทำจิตให้คลาย หายใจเข้า-หายใจออก ทำไมเมื่อจิตมีพลังดีแล้ว จึงต้องให้มันคลายเสีย ก็เพราะว่าถ้ายังยึดมั่นแม้แต่ในขั้นฌาน ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นานาประการ เพราะฉะนั้นจะต้องทำให้คลายจากความย
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: กาลิทัส on July 22, 2009, 15:02:52
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 13   ตามเห็นอนิจจัง-ความไม่เที่ยง   หายใจเข้า-หายใจออก   จากขั้นที่ 13 เป็นต้นไป   ขึ้นสู่วิปัสสนาล้วนๆเป็นตัวปัญญาแท้ๆ    เป็นการทำลายกิเลสโดยตรง   ในขั้นที่ 13  พระพุทธองค์จึงสอนให้ตามกำหนดโดยใช้คำว่า " อนุปสฺสี-ตามกำหนด "  คือ  ตามกำหนดอนิจจัง   ความไม่เที่ยง   หายใจเข้า-หายใจออก   คือให้เห็นว่า   จิตนี้ก็ไม่เที่ยง   สุขนี้ก็ไม่เที่ยง   เวทนาก็ไม่เที่ยง   ฌานที่เราได้นี้ก็ไม่เที่ยง    เมื่อสิ่งใดไม่เที่ยง   สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์   สิ่งใดเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่ตัวตน   การตามเห็นความไม่เที่ยงในที่นี้   หมายถึงเห็นพระไตรลักษณ์   เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์ในขณะที่หายใจเข้า-หายใจออกอยู่อย่างนั้นก็ชื่อว่าเจริญวิปัสสนาโดยตรง    ผู้ใดแม้จะนั่งเฉยๆ   แต่กำหนดความไม่เที่ยง  หายใจเข้า-หายใจออกอยู่   ก็ชื่อว่าเจริญอานาปานสติขั้นที่ 13
ในขณะที่จิตไม่ตั้งมั่น   คือแม้จิตปกติ   เมื่อใดเจริญถึงความไม่เที่ยง   หายใจเข้า-หายใจออก  ก็สามารถสำเร็จในขั้นนี้ได้   บางคนอาจจะค้านว่า "ทำไม   เพียงเจริญอนิจจตาเท่านั้น   ก็เป็นเหตุเจริญไตรลักษณ์ด้วย"   ข้อนี้  ขอตอบว่า  " อันอนิจจตา   ความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนานั้น   มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นทุกข์   และความเป็นอนัตตาได้อย่างชัดเจน   เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  " ยทนิจฺจํ   สิ่งใดไม่เที่ยง  ตํ  ทุกฺขํ  สิ่งนั้นเป็นทุกข์  ยํ  ทุกฺขํ  สิ่งใดเป็นทุกข์  ตํ อนตฺตา  สิ่งนั้นไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตน "
เพราะฉะนั้น   ผู้ใดเห็นความไม่เที่ยง   คือ  อนิจจัง  หายใจเข้า-หายใจออก   ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระไตรลักษณ์ด้วย   ใครแม้จะไม่ได้ฌานถ้าเจริญอยู่ในขั้นนี้   ก็ชื่อว่าเจริญวิปัสสนาหรือเจริญอานาปานสติในขั้นที่ 13

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 14  ตามเห็นวิราคะ   หายใจเข้า-หายใจออก  คือ  การเห็นวิราคะ   ความจางคลายหายใจเข้า-หายใจออก   จางคลายในเรื่องอะไร  วิราคะในเรื่องอะไร  คือ  ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงเพราะสิ่งทั้งปวงนั้น  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา   แล้วก็คลายความยึดมั่น   คลายจิตออกจากความถือมั่นในสิ่งเหล่านั้นว่า  เป็นเรา  เป็นของๆเรา   เป็นตัวเป็นตน   คือให้เห็นสิ่งทั้งหลายว่า  เนตํมม  สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา   เนโสหมสฺมิ  เราไม่เป็นนั่น   น  เมโสอตฺตา  นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา  แล้วก็คลายความยึดมั่นถือมั่นเพราะเห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์   เป็นอนัตตา   ในสิ่งทั้งปวง   ผู้ใดคลายความยึดมั่น  คลายกำหนัด  เป็นวิราคะ   หายใจเข้า-ออก  ชื่อว่าสำเร็จในขั้นที่ 14

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 15  ตามเห็นนิโรธ-ความดับโดยไม่เหลือ   หายใจเข้า-ออก   ดับอะไร   คือดับความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง  ในสังขารในจิต   ในเวทนา  ในกาย  ในทุกสิ่งทุกอย่าง   เพราะสิ่งทั้งปวงที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นนั้น  ล้วนเป็นทุกข์   ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  " สพฺเพ  ธมฺมา  นาลํ  อภินิเวสาย  สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น "   เพราะมันไม่เที่ยง  เป็นทุกข์   และไม่ใช่ของๆเรา  เมื่อผู้ใดพิจารณาตามเห็นความดับ  หายใจเข้า-ออก  อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้   ผู้นั้นชื่อว่า  สำเร็จในขั้นที่ 15

(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb012.gif&hash=cee80d1525563967400e5748600e117d5ef7217c)  ขั้นที่ 16  ตามเห็นปฏินิสสัคคะ-ความสลัดคืน   หายใจเข้า-ออก   สลัดคืนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงสลัดคืนมันเสีย   อย่างร่างกายและจิตใจเรานี้   เป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมัน   ร่างกายนี้มาจาก  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ   ก็สลัดคืนให้เข้าสู่ธรรมชาติเดิม   คือ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  อันไม่ใช่ของๆเรา  ซึ่งสมมติว่าเป็นของๆเรา   สลัดคืนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง   ในเราในของๆเรา   ผู้ใดกำหนดพิจารณาความสลัดคืน   หายใจเข้า-หายใจออกอยู่เป็นนิตย์   จนเกิดความชำนาญแล้ว   สลัดคืนคือละกิเลสทุกชนิดได้หมด    ผู้นั้นชื่อว่าสำเร็จอานาปานสติขั้นที่ 16

Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: กาลิทัส on July 22, 2009, 15:40:15
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2Fhm%2Fb022.gif&hash=3c6943a00b472c963795b11da4474498e7fcd295)  [HIGHLIGHT=#b2a2c7]เด๋วพรุ่งนี้ผมจะเอาการทำสมาธิในแบบฮินดูมาฝากนะครับ[/HIGHLIGHT]

วันนี้ไม่ไหว อินเตอร์เน็ตที่บ้านเน่ามากมาย
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: ubaragi on July 24, 2009, 11:35:35
เยอะมากมาย อ่านจนงงเลย ขอบคุณครับอุตสานั้งพิมพ์มาให้
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: กาลิทัส on July 24, 2009, 12:42:07
อันที่ผมคัดลอกมา ((ไม่ได้พิมพ์หรอกครับ)) เป็นหลักอาณาปาณสติครับ ตามทฤษฎี

แต่ถ้าเป็นหลักการปฏิบัติตามแนวทางของผมเอง

คือ ช่วงแรกของคนเรานะครับ จิตไม่นิ่งเป็นเรื่องธรรมดาครับ ให้ตั้งหรือกำหนดจิตว่า วันนี้จะนั่งให้ได้สิบนาที และทำให้ได้ครับ

จิตจะวอกแวกบ้างก็ปล่อยมันครับ แต่เมื่อวอกแวกแล้วให้พยายามดึงกลับมาให้ได้ ทุกครั้งไป คือกำหนดรู้ว่าตอนนี้ว่ามันไม่นิ่งแล้วนะ

แล้วลองคิดทบทวนว่าจิตไม่นิ่งไปกี่ครั้ง ทำไปเรื่อยๆ ด้วยระยะเวลาเท่าเดิม แล้วคุณจะรู้ว่านานเข้า มันจะเริ่มนิ่ง ((วัดจากจิตเราวอกแวกน้อยลง))

จากนั้นค่อยๆ เพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ ครับ

ด้านบนนี้ถือเป็นหลักปฏิบัติของผมครับ ง่ายกว่า อาณาปาณสติที่ต้องอ่านยาวๆ แหะๆๆ (https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2FYahooIM%2F19.gif&hash=06acf30279d98710577a13322d946b9956a17c12) 

ถ้าจะให้ดี หาคนเก่งๆ ที่เรานับถือเป็นครูได้ร่วมนั่งสมาธิกับท่าน ให้ท่านช่วยจดจิตครับ

ถ้าเป็นหลักฮินดูง่ายสุด คือ กำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก โดยคำนึงถึงพระเจ้าหนึ่งพระองค์ เป็นองค์ไหนก็ได้ครับ

แล้วสวดระลึกถึงพระนามพระองค์นั้นอยู่ตลอดครับ ((ถ้าจำไม่ผิดเค้าเรียกว่า ภักติโยคะ หรือป่าว เด๋วผมไปค้นให้อีกทีครับ))
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: อ.กันต์ปางคเณศ ศรีอริยเมตตา on July 30, 2009, 04:11:45
     การฝึกสมาธิ แบบองการโอม
      โอมการายะ นมะ
   [Omkakaya Namah]
             โอมการัม พินทุสัมยุกตัม นิตยัม ธยายันติ โยคินา กามะทัม โมกษะทัม ไจวะ โอมการายะ นะโม นะมะ
                 คำแปล : อักขระโอม อันศักดิ์สิทธิ์ นี้ เป็นเครื่อง ยังความปราถนาทุกอย่างให้สำเร็จ สามารถทำลายพันธนาการแห่งเครื่องผูกรัดทั้งหลาย และชี้นำปรีชาญานแก่เหล่าโยคีนักบวช ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะ อักขระโอม อัน ศักดิ์สิทธิ์นี้
                วิธีประกอบสมาธิ โดยจัดหาเรื่องหมาย โอม ที่เป็น ภาพวาด หรือ ทำด้วยโลหะสีทอง มาประดิษฐานบนโต๊ะเตี้ย ๆ จุดเทียนหรือตะเกียงน้ำมัน 2 ข้าง ของเครื่องหมายโอม จนแน่ใจว่าจำอักขระโอมได้ เมื่อหลับตาแล้วยังเห็นเครื่องหมายโอมนั้นสว่างอยู่ ภาวนามนต์ บทนี้ 3 ครั้ง กำหนดจิตให้เห็นความจริงของทุกสรรพสิ่ง  ที่ก่อเกิด  ดำรงอยู่ และเสื่อมสลายไป จนจิตสงบแล้วจึงคงสภาวะนั้นไว้สัพักนึง  แล้วจึงถอนสมาถิด้วย ศานติ มนตรา
[Shanti Mantra]
โอม ศานติ อันตะริกษัม ศานติ ปฤถิวี ศานติ
อาปาศะ ศานติ โอสะธะยะษะ ศานติ
วนัสสะปัตตะยะษะ ศานติ วิศศะเวเทวะ ศานติ
พรหมมะ ศานติ สะระวะ ศานติ
ศานติ เรวะ ศานติ
โอม ศานติ ศานติ ศานติ
คำแปล: ขอความสงบสุขจงมีแก่บรรยากาศ ผืนดิน ผืนน้ำ พืชพรรณธัญญาหารท้งหลาย สรรพชีวิตในป่าทั้งหลาย
ขอความสงบสุขจงมีแก่พรหม เหล่าเทวะ และทุกๆสิ่ง ขอให้มีแต่ความสุข และความสงบสุขเท่านั้น
วิธีใช้: สวดเป็นมนต์บทสุดท้ายในการประกอบพิธีบูชาองค์เทพ ในการทำสมาธิ และการถือศีล สวดเพื่อปรับสภาพจิตใจจากการที่ได้พบเห็นสิ่งที่ทำให้เกิดความโกรธ ความเศร้าสลด หรือความตกใจ สวดเพื่อช่วยเหลือคนและสัตว์ ให้บรรเทาความเจ็บปวด หรือความทุกข์ยากทั้งหลาย สวดเพื่อบรรเทาผลของอำนาจลี้ลับ คุณไสยมนต์ดำ ทั้งที่มีต่อตนเองและผู้อื่น สวดเพื่อปรับแก้อาถรรพณ์ในสถานที่ต่างๆ และสวดเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ
ขอพรอันดีจงบังเกิดแด่ตัวท่าน
โอม กัน คะณะปัตตะเย นะมะฮา
by อ.กันต์ปางคเณศ ศรีอริยเมตตา
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: Fluorine on July 30, 2009, 09:00:58
อ.กันต์ครับ

อ.ลอกข้อความมาจากหนังสือคู่มือบูชาเทพ ของอาจารย์กิตติ วัฒนะมหาตม์ โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุคส์ทุกกระเบียดนิ้ว
กรุณาให้ credit กับเจ้าของบทความด้วยครับ
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: อ.กันต์ปางคเณศ ศรีอริยเมตตา on July 30, 2009, 16:27:35
ที่มาจากความรู้ด้านบนนะครับ
credit by ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสุดแห่งชาติ
         อ.กิตติ วัฒนะมหาตม์
คู่มือบูชาเทพ:กรุงเทพ:สร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด,2549
     117 หน้า
1.เทพปกรณัม. I ชื่อเรื่อง.
292.13
ISBN 974-341-283-2
*ขอพรอันดี จงบังเกิดแด่ท่าน*
   โอม กัน คะณะ ปัตตะเย นะโม นะมะฮา
  by อ.กันต์ปางคเณศ ศรีอริยเมตตา
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: กาลิทัส on July 31, 2009, 08:49:48
ขอบคุณ อ.กันต์ ครับ ที่ลงแหล่งที่มา และแหล่งอ้างอิง เพื่อความถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งให้เกียรติ์ท่านเจ้าของบทความครับ

ขอบคุณ คุณหมอ ฟลูออรีน ครับ ที่ช่วยกันดูแลเว็บบอร์ดครับผม
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: Kimnei on September 07, 2009, 04:56:03
ขอบคุณค่ะ ยาวมาก

จนมึนเลย(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2FYahooIM%2F66.gif&hash=4ff734dd16e5f5ce8950475175c3144f90f84c60) 
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนกะการนั้สมาธิหน่อย ครับ
Post by: Phrom Pala on September 14, 2009, 11:17:09
नमस्ते!

นั่งสมาธิต้องใช้เวลานิด...นะฮับ...
แชร์จากประสบการณ์นะฮับ..เนื่องจากเราก็ไม่เคยนั่งสมาธิเลย เต็มที่ก็สวดมนต์บ้าง แต่เมื่อสองสามปีก่อนตักบาตร แล้วพระท่านทักให้เราสวดมนต์ นั่งสมาธิ ต้องทำให้ได้ (แล้วช่วงนั้น เราก็รู้สึกแย่ๆๆ เหมือนกัน) ก็เลยลองนั่งดู ปรากฎว่า มันฟุ้งซ่านมากเลย แต่ก็พยายามนั่งทุกวัน นั่งไปเรื่อยๆๆ แล้วก็จะสงบขึ้นเองนะ เราใช้เวลาเป็นปีกว่าจะรู้สึกว่านั่งสมาธิได้ แล้วก็เห็นส่วนมากก็จะเจอปัญหาเดียวกัน คือ นั่งครั้งแรกๆๆ จะฟุ้งซ่านแยะ ก็พยายามหน่อยนะฮับ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น สู้สู้ เลือกจริตที่ถูกกับตัวเอง.. ทำวันละนิดวันละหน่อย.. แล้วจะรู้สึกดีขึ้นฮับ
(https://forum.hindumeeting.com/proxy.php?request=http%3A%2F%2Fwww.hindumeeting.com%2Fforum%2Frichedit%2Fsmileys%2FYahooIM%2F1.gif&hash=604d253c5b5a7294fa2a4594b0e90e9ffc0f65b4)

धन्यवाद।
Title: ตอบ: ถามเรื่อการสวดมนต์กับการนั้งสมาธิหน่อย ครับ
Post by: พระแม่กาลีเหนือเกล้า on September 22, 2009, 10:51:14
ส่วนของน้ำที่ทำสมาธิก็จะเปิดเพลงบูชาพระแม่ไปด้วยนะคะ
น้ำว่าช่วยได้เหมือนกันนะคะจิตใจเราก็ไปจดจ่ออยู่กับเพลงสวด
ทำให้เกิดสมาธิได้เหมือนกันนะคะ
เหมือนเรากำหนดจิตไว้กับลมหายใจเข้าออกนะคะ