Loader

ถามเรื่อการสวดมนต์กับการนั้งสมาธิหน่อย ครับ

Started by ubaragi, July 21, 2009, 18:59:48

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

อยากทราบอะครับเพราะมีคนบอกให้ทำการปฏิบัติและสวดมนต์เลยอยากรู้ว่าต้องสวดมนต์บทไรมั้งใครรู้บอกที่น่ะครับ

หรือไม่ก้ขอบทสวดมนต์เลยก้ดีน่ะครับที่จำเป้นต้องสวด

และการนั้งสมาธิอะครับผมยั้งไม่ได้เลยอะใครมีวิธีแนะนำมั้งอะครับ (นั้งที่ไรใจไม่เคยสงบเลย)

แนะนำที่น่ะครับ

เป็นคำถามที่กว้างมากมายครับ

ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่าแนวการปฏิบัติของคุณต้องการปฏิบัติไปตามแนวพุทธศาสนา หรือ ฮินดูครับ

การสวดมนต์ถ้าเป็นแบบพุทธก็สามารถหาหนังสือสวดมนต์ทั่วไปสวดได้เลยครับ แต่ถ้าเป็นแนวทางในศาสนาฮินดู

สามารถหากระทู้บทสวดบูชาเทพต่างๆ ซึ่งถือเป็นบทบูชาทั่วไปครับได้ในส่วนของกระทู้ เทวะปรารถนา ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ได้เลยครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=16.msg27#msg27

ซึ่งจริงๆ แล้วทางพุทธศาสนาเชื่อกันว่า การสวดมนต์นั้นถือเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง จากการทำสมาธิ 40 วิธีครับ ถ้านั่งสมาธิไม่ได้จริงๆ การสวดมนต์ก็ถือเป็นสมาธิปฎิบัติอย่างหนึ่งได้ครับ แต่หลักการสวดมนต์มีทั้งสิ้น 5 แบบครับ

สวดมนต์แบบดอกบัว คือ การสวดออกเสียง ชัดเจน
สวดมนต์แบบวัชระ คือ การสวดไม่ออกเสียงไม่ออกเสียง แต่จะมีการกระดกปลายลิ้นนิดหน่อย
สวดมนต์แบบสมาธิ คือ เพ่งให้เห็นตัวอักษร ร่ายในใจตามตัวอักษร ((อันนี้ต้องไม่มองหนังสือนะครับ แต่เป็นตัวอักษรด้วยสมาธิครับ))
สวดมนต์แบบอุบัติ คือ เพ่งตัวอักษรให้เกิดเสียงก้องกังวาน เหมือนเสียงสังฆ์ ไม่ขาดระยะ
สวดมนต์แบบแสงสว่าง เวลาร่ายต้องให้มีแสงสว่างพุ่งจากปาก

แต่ต้องตั้งใจสวด ดูมนต์หรือบทสวดทุกตัวอักษร แบบวรรคต่อวรรค ไม่ใช่ท่องแบบนกแก้วนกขุนทองนะครับ


[HIGHLIGHT=#9bbb59]การทำสมาธิตามแนวพระพุทธศาสนา [/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#9bbb59]เนื่องจากผมเองปฎิบัติกรรมฐานตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนาอยู่ครับ[/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#9bbb59]หัวข้ออานาปานสติ 16 ผมคัดลอกมาจากเว็บบอร์ดเก่าอารตี ซึ่งโพสไว้โดยคุณปุ๋ยครับ[/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#9bbb59]เพื่อนที่สนใจลองปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไปครับ[/HIGHLIGHT]
เอาแบบพุทธก่อน มีการทำสมาธิ 40 วิธี แล้วแต่จริตของผู้ปฏิบัติครับ ที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปจะเป้นอาณาปาณสติครับ
ซึ่งอาณาปาณสตินี้แบ่งได้เป็น 16 ขั้นครับ

อานาปานสติทั้ง 16 ขั้น คือ

1. เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกยาว
2. เมื่อหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกสั้น
3. กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจเข้า-ออก
4. ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
5. กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า-ออก
6. กำหนดรู้สุข หายใจเข้า-ออก
7. กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า-ออก
8. ทำจิตตสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
9. กำหนดรู้จิต หายใจเข้า-ออก
10. ทำจิตใจให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-ออก
11. ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-ออก
12. ทำจิตให้คลาย หายใจเข้า-ออก
13. ตามเห็นอนิจจัง-ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-ออก
14. ตามเห็นวิราคะ-ความจางคลาย (คลายติด) หายใจเข้า-ออก
15. ตามเห็นนิโรธ-ความดับโดยไม่เหลือ (ดับสนิท) หายใจเข้า-ออก
16. ตามเห็นปฏินิสสัคคะ-ความสลัดคืน (ปล่อยวาง)หายใจเข้า-ออก

ในอานาปานสติทั้ง 16 ขั้นนี้ แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ

หมวดที่ 1 ตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 4 ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ 2 ตั้งแต่ขั้นที่ 5 ถึงขั้นที่ 8 ว่าด้วยการกำหนดเวทนา เป็น เวททานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ 3 ตั้งแต่ขั้นที่ 9 ถึงขั้นที่ 12 ว่าด้วยการกำหนดจิต เป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ 4 ตั้งแต่ขั้นที่ 13 ถึงขั้นที่ 16 ว่าด้วยการกำหนดธรรมที่ปรากฏในจิต เป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน 4 ก็ปรากฎอยู่ในอานาปานสติสูตรนี้เอง ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึง 4 นั้น เรามักปฏิบัติอานาปานสติกันโดยทั่วไป แต่บางท่านอาจยังไม่ทราบชัดว่า เรากำลังปฏิบัติในขั้นใดของขั้นทั้ง 4 นี้

  ขั้นที่ 1 เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ หมายความว่าในการกำหนดลมหายใจของมนุษย์โดยทั่วไปนั้น ถ้าหายใจปกติแล้วมนุษย์เราจะหายใจเข้า-ออกยาว เพราะฉะนั้น ในการกำหนดขั้นแรกจึงเป็นการกำหนดตามปกติของมนุษย์เรา เมื่อเรานั่งสมาธิลมหายใจเข้า-ออกยาว เป็นปกติของจิต เพราะฉะนั้น การกำหนดนี้จึงเป็นการกำหนดขั้นแรก เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว เราก็กำหนดรู้ถ้าผู้ใดกำหนดได้ในขั้นที่หายใจเข้า-ออกยาว ซึ่งเป็นการหายใจตามปกติของมนุษย์เรานี้ กำหนดได้โดยมิพลั้งเผลอ ทั้งหายใจเข้า-ออกแล้ว แสดงว่าผู้นั้นได้สำเร็จในขั้นที่ 1 คือ การกำหนดลมหายใจเข้า-ออกยาว

  ขั้นที่ 2 เมื่อลมหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ว่าเรากำลังหายใจเข้า-ออกสั้น ลมหายใจเข้า-ออกสั้น เป็นลมที่ผิดปกติ เช่น เมื่อโกรธจัด เศร้าใจ ตกใจ ลมหายใจจะเข้า-ออกสั้น ถ้าเมื่อใดลมหายใจเข้า-ออกสั้น เราก็รู้ว่าลมหายใจเข้า-ออกสั้น คือสามารถจะติดตามลม แม้ในขณะที่ตกใจ เสียใจ กลัว เป็นต้น ก็สามารถกำหนดได้ แม้จะสั้นก็กำหนดได้ การกำหนดได้อย่างนี้ เรียกว่าสำเร็จในขั้นที่ 2 คือ เมื่อลมหายใจเข้า-ออกสั้น ก็กำหนดรู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกสั้น

  ขั้นที่ 3 ตั้งใจกำหนดว่า เราจะรู้กายทั้งปวง หายใจเข้า-ออก บาลีใช้คำว่าสพฺพกายปฏิ สํเวที แปลว่า รู้เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง คำว่า กายทั้งปวง ในที่นี้คือลมหายใจนั่นเอง พระพุทธเจ้าตรัสเรียกลมหายใจว่า " กาย " ทั้งนี้ก็เพราะว่า ตราบใดที่มนุษย์เรายังมีลมหายใจเข้า-ออกอยู่ หรือสัตว์ทั้งหลายยังมีลมหายใจเข้า-ออกอยู่ ก็แสดงว่า ยังมีกายปกติอยู่ ถ้าเมื่อใดลมหายใจขาดแล้ว เมื่อนั้นชีวิตสังขารก็ขาดไปด้วย เพราะฉะนั้น กายก็คือลมหายใจ

ลมหายใจก็เป็นกาย แต่ก็เป็นกายภายใน ดังที่กล่าวไว้ในสติปัฏฐานสูตรว่า " กาเยน กายานุปสฺสี วิหรติ มีปกติตามรู้กายในกายอยู่ " การกำหนดกายในกาย แม้กำหนดลมหายใจก็ถือว่าเป็นการกำหนดกาย

คำว่า " รู้กายทั้งปวง " ในที่นี้ หมายความว่า " รู้ลมหายใจที่ผ่านจุดทั้ง 3 ในร่างกายของเรานี้ " คือผ่านมาถึงรูจมูกเราก็รู้ มาถึงท่ามกลางอกเราก็รู้ มาถึงท้องเราก็รู้ รู้ลมทุกกระบวนการที่ผ่านมาในร่างกายของเรา การรู้ลมทุกส่วนอย่างละเอียดอย่างนี้ทุกระยะ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ตลอดกาลไปอย่างนี้ เรียกว่าสำเร็จในขั้นที่ 3 คือ ขั้นกำหนดรู้กายทั้งปวง ได้แก่ รู้ลมหายใจทุกกระบวนการนั่นเอง

บางคนเมื่อลมหายใจละเอียดเข้า ไม่อาจจะกำหนดได้ว่าขณะนี้ เราหายใจเข้าหรือหายใจออก นี้แสดงว่า สติยังไม่เพียงพอจึงไม่อาจจะได้สมาธิที่แนบแน่นได้ จะต้องกำหนดให้ได้ทุกขณะจิตทั้งเข้าและออก แม้ลมละเอียดก็รู้ได้ว่าตนหายใจเข้าหรือหายใจออก แม้ลมจะดับแล้ว แต่ก็ยังมีสติรู้อยู่
บางท่านตกใจมาก เมื่อกำหนดว่าขณะนี้ตัวเองไม่มีลมหายใจเสียแล้ว เพราะไม่อาจจะกำหนดสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งที่ลมผ่านมาได้ก็ตกใจ บางคนถึงกับลุกขึ้น เลิกทำสมาธิ บางคนตกใจคิดว่าตัวเองจะตายเสียแล้ว เพราะลมหายใจละเอียดมาก ถ้าใครทำสมาธิถึงขั้นนี้ แสดงว่าสมาธินั้นดีมากแล้ว แต่ถ้าสติยังไม่เพียงพอ ก็ไม่จะทำจิตให้แนบแน่นได้ เพราะเหตุนี้ อาจารย์กรรมฐานจึงสอนเราว่า ในขณะที่ลมหายใจสงบระงับไปนั้น ก็อย่าตกใจ แต่ในขณะนี้เรายังมีลมหายใจ เรายังไม่ตาย เป็นเพียงลมหายใจละเอียดเท่านั้น เราจึงรู้สึกเหมือนกับว่าไม่มีลมหายใจ แท้ที่จริงแล้ว คนที่ไม่หายใจนั้นได้แก่คน 7 จำพวก ที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค คือ

1. เด็กที่อยู่ในท้องแม่
2. คนดำน้ำ
3. อสัญญีสัตว์
4. ผู้เข้าฌาน 4
5. คนตาย
6. พวกที่อยู่ในรูปภพและอรูปภพ
7. ท่านผู้เข้านิโรธสมาบัติ

ในที่นี้ พระอรรถกถาจารย์สอนผู้ตกใจเท่านั้นว่า " อย่ากลัวเลย คนที่ไม่มีลมหายใจนั้นไม่ใช่คนอย่างเรา คนอย่างเรานี้ยังไม่ได้ตาย แต่จิตมันสงบระงับยิ่งเท่านั้น อย่าได้ตกใจ " ใครที่ทำลมให้ละเอียดหรือดับลมได้หมด ขั้นนี้เป็นขั้นสูงของสมาธิในพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นขั้นที่ 4 ของการเจริญอานาปานสติ

ท่านทั้งหลาย ลองพิจารณาดูเถิดว่า อานาปานสติ 16 ขั้นนี้ ขนาดถึงขั้นฌานแล้วยังเป็นเพียงขั้นที่ 4 ของการเจริญเท่านั้นและขั้นสูงกว่านี้ก็ยังมีอีก คำสอนในพระพุทธศาสนาไม่ใช่มีอยู่เพียงขั้นฌานเท่านั้น พระพุทธศาสนานั้นยังสูงกว่าคำสอนของศาสนาอื่นใดในโลก เพราะสอนถึงขั้นวิปัสสนา

  ขั้นที่ 5 กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า-ออก คือผู้ที่ฌานนั้นจะต้องได้ปีติ และได้ความสุข คนได้ฌาน ย่อมได้ปีติและความสุขอย่างยิ่ง ขั้นที่ 5 นี้ พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดรู้ปีติที่เกิดขึ้น ให้มีสติรับรู้ทุกขณะหายใจเข้าและหายใจออก ตั้งแต่ปีติเป็นต้นไปนี้เป็นลักษณะของเวทนา เมื่อผ่านขั้นที่ 5 ไปแล้ว ก็ยกจิตขึ้นสู่ขั้นที่ 6 ต่อไป

  ขั้นที่ 6 กำหนดรู้ความสุข หายใจเข้า-ออก ความสุขที่เกิดจากฌานนี้ ท่านกล่าวว่า ความสุขชนิดนี้ไม่ใช่ความสุขทางกายแต่เป็นนิรามิสสุข เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบ บาลีท่านใช้คำว่า " อติมธุรํ " คือความสุขที่เลิศยิ่ง ไม่มีความสุขใดในโลกที่จะเทียบความสุขนี้ได้ เมื่อความสุขจิตอย่างยิ่งเกิดขึ้น ก็ว่าเป็นตัวความสุข หายใจเข้า-หายใจออก ไม่มีสติพลั้งเผลอ แล้วผู้ปฏิบัตินั้นก็ขยับจิตสูงขึ้นไปตามลำดับถึงขั้น 7

  ขั้นที่ 7 กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า-หายใจออก คำว่า " สังขาร " คือการปรุงแต่ง ในที่นี้ สังขาร หมายถึง ปีติและความสุขนั่นเอง อันเป็นสภาพที่ปรุงแต่งจิตให้มีความเบิกบาน ให้มีความสุข ผู้เจริญอานาปานสติในขั้นที่ 7 นี้ จะกำหนดรู้ทั้งปีติและสุข อันเป็นตัวจิตตสังขารซึ่งปรุงแต่งจิตหายใจเข้าและหายใจออก รู้อยู่ทุกขณะ แล้วขยับจิตของตนให้สูงขึ้นไปอีกถึงขั้นที่ 8

  ขั้นที่ 8 ทำจิตตสังขารให้สงบระงับ หายใจเข้า-หายใจออก ทำไมจึงต้องทำให้สงบระงับ จิตตสังขารคืออะไร จิตตสังขารก็คือปีติและสุขนั่นเอง ทำไมของดีแท้ๆจึงต้องทำให้สงบระงับเสีย ให้ดับเสีย ก็เพราะเหตุที่ว่า ทั้งปีติ ทั้งสุขนั้น ยังใกล้ต่อราคะ ยังใกล้ต่อสิ่งที่ทำให้เกิดตัณหา ผู้ที่ปฏิบัติสูงขึ้นไป จะสงบระงับปีติและสุขเสีย เมื่อสามารถระงับปีติและสุขได้ หายใจเข้า-หายใจออก ก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ แสดงว่าสำเร็จถึงขั้นที่ 8 อันเป็นขั้นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อรู้สึกว่าจิตคล่องแคล่วแล้ว ก็ขยับจิตของตนขึ้นไปสู่ขั้นที่ 9

  ขั้นที่ 9 กำหนดรู้จิตของตน หายใจเข้า-หายใจออก คือเมื่อจิตโกรธก็รู้ว่าโกรธ จิตโลภก็รู้ว่าโลภ จิตหลงก็รู้ว่าหลง จิตมั่นคงก็รู้ว่ามั่นคง จิตได้ฌานก็รู้ว่าจิตได้ฌาน จิตเสื่อมจากฌานก็รู้ว่าเสื่อมจากฌาน ในที่นี้กำหนดรู้จิตทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก

เพราะฉะนั้น ผู้ที่บำเพ็ญขั้นสูงขึ้นมา ถ้าความโกรธเกิดขึ้นจะปะทะความโกรธได้ด้วยกำลังของสติ ในขั้นนี้เอง เมื่อความอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น ก็กำหนดรู้ว่าตัวเองว่ากำลังอยากได้หายใจเข้า-ออก แล้วบรรเทาความอยากได้นั้นเสีย เพราะมีสติเป็นพลังอยู่ หรือเมื่อเกิดความโกรธเกิดขึ้น เพราะความไม่พอใจต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ก็รู้และยับยั้งความโกรธนั้นเสียได้ หรือแม้แต่ยับยั้งไม่ได้ก็รู้ว่านี้คือจิตโกรธ นี่คือจิตโลภ นี้คือจิตหลง หรือจิตได้สมาธิก็รู้ว่า นี้คือจิตได้ฌาน นี้คือจิตตั้งมั่น เป็นการกำหนดรู้จิต 16 อย่าง ๘ คู่ หมายความว่า กำหนดรู้กระบวนจิตในขณะหายใจเข้า-ออก ผู้นั้นถือว่าสำเร็จในขั้นที่ 9

แม้แต่เราเองซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ถ้าในขณะใดจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน หายใจเข้า หายใจออก จิตกำลังท้อแท้ ก็รู้ว่าจิตกำลังท้อแท้ หายใจเข้า-ออก ก็เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาอันเป็นขั้นที่ 9 ผู้ใดชำนาญในข้อนี้แสดงว่าสำเร็จในขั้นที่ 9 ของอานาปาน

  ขั้นที่ 10 ทำจิตให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-หายใจออก ขั้นนี้เป็นการเอาพลังจิตมาใช้ คือ จิตที่เข้าถึงขั้นได้ฌาน ได้อำนาจฌานแล้ว ผู้ที่ถึงขั้นที่ 10-11-12 เป็นการนำพลังจิตในระดับต่างๆมาใช้ กล่าวคือ ในขั้นที่ 10 ทำจิตให้เกิดความปราโมทย์ หายใจเข้า-หายใจออก หมายความว่า ผู้ที่เจริญอานาปานสติถึงขั้นสามารถทำจิตของตนให้เบิกบาน ปราโมทย์ หรือทำอย่างไรก็ได้เพราะมีอำนาจจิตเสียแล้ว ก็บังคับจิตของตนให้ปราโมทย์ ให้เบิกบานได้หายใจเข้า-หายใจออก เกิดความสุขอันเกิดจากความปราโมทย์ เมื่อชำนาญแล้ว ก็ผ่านจากขั้นนี้เข้าสู่ขั้นที่ 11

  ขั้นที่ 11 ทำจิตของตนให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-หายใจออก เป็นการสร้างความสามารถของจิตที่เกิดฌานขึ้นมาอีก อันเป็นการบังคับจิตให้ตั้งมั่นได้ทันทีทันใด จิตตั้งมั่นแล้ว หายใจเข้า-หายใจออกก็รู้

  ขั้นที่ 12 ทำจิตให้คลาย หายใจเข้า-หายใจออก ทำไมเมื่อจิตมีพลังดีแล้ว จึงต้องให้มันคลายเสีย ก็เพราะว่าถ้ายังยึดมั่นแม้แต่ในขั้นฌาน ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นานาประการ เพราะฉะนั้นจะต้องทำให้คลายจากความย

  ขั้นที่ 13   ตามเห็นอนิจจัง-ความไม่เที่ยง   หายใจเข้า-หายใจออก   จากขั้นที่ 13 เป็นต้นไป   ขึ้นสู่วิปัสสนาล้วนๆเป็นตัวปัญญาแท้ๆ    เป็นการทำลายกิเลสโดยตรง   ในขั้นที่ 13  พระพุทธองค์จึงสอนให้ตามกำหนดโดยใช้คำว่า " อนุปสฺสี-ตามกำหนด "  คือ  ตามกำหนดอนิจจัง   ความไม่เที่ยง   หายใจเข้า-หายใจออก   คือให้เห็นว่า   จิตนี้ก็ไม่เที่ยง   สุขนี้ก็ไม่เที่ยง   เวทนาก็ไม่เที่ยง   ฌานที่เราได้นี้ก็ไม่เที่ยง    เมื่อสิ่งใดไม่เที่ยง   สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์   สิ่งใดเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่ตัวตน   การตามเห็นความไม่เที่ยงในที่นี้   หมายถึงเห็นพระไตรลักษณ์   เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์ในขณะที่หายใจเข้า-หายใจออกอยู่อย่างนั้นก็ชื่อว่าเจริญวิปัสสนาโดยตรง    ผู้ใดแม้จะนั่งเฉยๆ   แต่กำหนดความไม่เที่ยง  หายใจเข้า-หายใจออกอยู่   ก็ชื่อว่าเจริญอานาปานสติขั้นที่ 13
ในขณะที่จิตไม่ตั้งมั่น   คือแม้จิตปกติ   เมื่อใดเจริญถึงความไม่เที่ยง   หายใจเข้า-หายใจออก  ก็สามารถสำเร็จในขั้นนี้ได้   บางคนอาจจะค้านว่า "ทำไม   เพียงเจริญอนิจจตาเท่านั้น   ก็เป็นเหตุเจริญไตรลักษณ์ด้วย"   ข้อนี้  ขอตอบว่า  " อันอนิจจตา   ความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนานั้น   มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นทุกข์   และความเป็นอนัตตาได้อย่างชัดเจน   เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  " ยทนิจฺจํ   สิ่งใดไม่เที่ยง  ตํ  ทุกฺขํ  สิ่งนั้นเป็นทุกข์  ยํ  ทุกฺขํ  สิ่งใดเป็นทุกข์  ตํ อนตฺตา  สิ่งนั้นไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตน "
เพราะฉะนั้น   ผู้ใดเห็นความไม่เที่ยง   คือ  อนิจจัง  หายใจเข้า-หายใจออก   ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระไตรลักษณ์ด้วย   ใครแม้จะไม่ได้ฌานถ้าเจริญอยู่ในขั้นนี้   ก็ชื่อว่าเจริญวิปัสสนาหรือเจริญอานาปานสติในขั้นที่ 13

  ขั้นที่ 14  ตามเห็นวิราคะ   หายใจเข้า-หายใจออก  คือ  การเห็นวิราคะ   ความจางคลายหายใจเข้า-หายใจออก   จางคลายในเรื่องอะไร  วิราคะในเรื่องอะไร  คือ  ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงเพราะสิ่งทั้งปวงนั้น  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา   แล้วก็คลายความยึดมั่น   คลายจิตออกจากความถือมั่นในสิ่งเหล่านั้นว่า  เป็นเรา  เป็นของๆเรา   เป็นตัวเป็นตน   คือให้เห็นสิ่งทั้งหลายว่า  เนตํมม  สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา   เนโสหมสฺมิ  เราไม่เป็นนั่น   น  เมโสอตฺตา  นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา  แล้วก็คลายความยึดมั่นถือมั่นเพราะเห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์   เป็นอนัตตา   ในสิ่งทั้งปวง   ผู้ใดคลายความยึดมั่น  คลายกำหนัด  เป็นวิราคะ   หายใจเข้า-ออก  ชื่อว่าสำเร็จในขั้นที่ 14

  ขั้นที่ 15  ตามเห็นนิโรธ-ความดับโดยไม่เหลือ   หายใจเข้า-ออก   ดับอะไร   คือดับความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง  ในสังขารในจิต   ในเวทนา  ในกาย  ในทุกสิ่งทุกอย่าง   เพราะสิ่งทั้งปวงที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นนั้น  ล้วนเป็นทุกข์   ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  " สพฺเพ  ธมฺมา  นาลํ  อภินิเวสาย  สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น "   เพราะมันไม่เที่ยง  เป็นทุกข์   และไม่ใช่ของๆเรา  เมื่อผู้ใดพิจารณาตามเห็นความดับ  หายใจเข้า-ออก  อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้   ผู้นั้นชื่อว่า  สำเร็จในขั้นที่ 15

  ขั้นที่ 16  ตามเห็นปฏินิสสัคคะ-ความสลัดคืน   หายใจเข้า-ออก   สลัดคืนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงสลัดคืนมันเสีย   อย่างร่างกายและจิตใจเรานี้   เป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมัน   ร่างกายนี้มาจาก  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ   ก็สลัดคืนให้เข้าสู่ธรรมชาติเดิม   คือ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  อันไม่ใช่ของๆเรา  ซึ่งสมมติว่าเป็นของๆเรา   สลัดคืนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง   ในเราในของๆเรา   ผู้ใดกำหนดพิจารณาความสลัดคืน   หายใจเข้า-หายใจออกอยู่เป็นนิตย์   จนเกิดความชำนาญแล้ว   สลัดคืนคือละกิเลสทุกชนิดได้หมด    ผู้นั้นชื่อว่าสำเร็จอานาปานสติขั้นที่ 16


  [HIGHLIGHT=#b2a2c7]เด๋วพรุ่งนี้ผมจะเอาการทำสมาธิในแบบฮินดูมาฝากนะครับ[/HIGHLIGHT]

วันนี้ไม่ไหว อินเตอร์เน็ตที่บ้านเน่ามากมาย

เยอะมากมาย อ่านจนงงเลย ขอบคุณครับอุตสานั้งพิมพ์มาให้

อันที่ผมคัดลอกมา ((ไม่ได้พิมพ์หรอกครับ)) เป็นหลักอาณาปาณสติครับ ตามทฤษฎี

แต่ถ้าเป็นหลักการปฏิบัติตามแนวทางของผมเอง

คือ ช่วงแรกของคนเรานะครับ จิตไม่นิ่งเป็นเรื่องธรรมดาครับ ให้ตั้งหรือกำหนดจิตว่า วันนี้จะนั่งให้ได้สิบนาที และทำให้ได้ครับ

จิตจะวอกแวกบ้างก็ปล่อยมันครับ แต่เมื่อวอกแวกแล้วให้พยายามดึงกลับมาให้ได้ ทุกครั้งไป คือกำหนดรู้ว่าตอนนี้ว่ามันไม่นิ่งแล้วนะ

แล้วลองคิดทบทวนว่าจิตไม่นิ่งไปกี่ครั้ง ทำไปเรื่อยๆ ด้วยระยะเวลาเท่าเดิม แล้วคุณจะรู้ว่านานเข้า มันจะเริ่มนิ่ง ((วัดจากจิตเราวอกแวกน้อยลง))

จากนั้นค่อยๆ เพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ ครับ

ด้านบนนี้ถือเป็นหลักปฏิบัติของผมครับ ง่ายกว่า อาณาปาณสติที่ต้องอ่านยาวๆ แหะๆๆ  

ถ้าจะให้ดี หาคนเก่งๆ ที่เรานับถือเป็นครูได้ร่วมนั่งสมาธิกับท่าน ให้ท่านช่วยจดจิตครับ

ถ้าเป็นหลักฮินดูง่ายสุด คือ กำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก โดยคำนึงถึงพระเจ้าหนึ่งพระองค์ เป็นองค์ไหนก็ได้ครับ

แล้วสวดระลึกถึงพระนามพระองค์นั้นอยู่ตลอดครับ ((ถ้าจำไม่ผิดเค้าเรียกว่า ภักติโยคะ หรือป่าว เด๋วผมไปค้นให้อีกทีครับ))

     การฝึกสมาธิ แบบองการโอม
      โอมการายะ นมะ
   [Omkakaya Namah]
             โอมการัม พินทุสัมยุกตัม นิตยัม ธยายันติ โยคินา กามะทัม โมกษะทัม ไจวะ โอมการายะ นะโม นะมะ
                 คำแปล : อักขระโอม อันศักดิ์สิทธิ์ นี้ เป็นเครื่อง ยังความปราถนาทุกอย่างให้สำเร็จ สามารถทำลายพันธนาการแห่งเครื่องผูกรัดทั้งหลาย และชี้นำปรีชาญานแก่เหล่าโยคีนักบวช ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะ อักขระโอม อัน ศักดิ์สิทธิ์นี้
                วิธีประกอบสมาธิ โดยจัดหาเรื่องหมาย โอม ที่เป็น ภาพวาด หรือ ทำด้วยโลหะสีทอง มาประดิษฐานบนโต๊ะเตี้ย ๆ จุดเทียนหรือตะเกียงน้ำมัน 2 ข้าง ของเครื่องหมายโอม จนแน่ใจว่าจำอักขระโอมได้ เมื่อหลับตาแล้วยังเห็นเครื่องหมายโอมนั้นสว่างอยู่ ภาวนามนต์ บทนี้ 3 ครั้ง กำหนดจิตให้เห็นความจริงของทุกสรรพสิ่ง  ที่ก่อเกิด  ดำรงอยู่ และเสื่อมสลายไป จนจิตสงบแล้วจึงคงสภาวะนั้นไว้สัพักนึง  แล้วจึงถอนสมาถิด้วย ศานติ มนตรา
[Shanti Mantra]
โอม ศานติ อันตะริกษัม ศานติ ปฤถิวี ศานติ
อาปาศะ ศานติ โอสะธะยะษะ ศานติ
วนัสสะปัตตะยะษะ ศานติ วิศศะเวเทวะ ศานติ
พรหมมะ ศานติ สะระวะ ศานติ
ศานติ เรวะ ศานติ
โอม ศานติ ศานติ ศานติ
คำแปล: ขอความสงบสุขจงมีแก่บรรยากาศ ผืนดิน ผืนน้ำ พืชพรรณธัญญาหารท้งหลาย สรรพชีวิตในป่าทั้งหลาย
ขอความสงบสุขจงมีแก่พรหม เหล่าเทวะ และทุกๆสิ่ง ขอให้มีแต่ความสุข และความสงบสุขเท่านั้น
วิธีใช้: สวดเป็นมนต์บทสุดท้ายในการประกอบพิธีบูชาองค์เทพ ในการทำสมาธิ และการถือศีล สวดเพื่อปรับสภาพจิตใจจากการที่ได้พบเห็นสิ่งที่ทำให้เกิดความโกรธ ความเศร้าสลด หรือความตกใจ สวดเพื่อช่วยเหลือคนและสัตว์ ให้บรรเทาความเจ็บปวด หรือความทุกข์ยากทั้งหลาย สวดเพื่อบรรเทาผลของอำนาจลี้ลับ คุณไสยมนต์ดำ ทั้งที่มีต่อตนเองและผู้อื่น สวดเพื่อปรับแก้อาถรรพณ์ในสถานที่ต่างๆ และสวดเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ
ขอพรอันดีจงบังเกิดแด่ตัวท่าน
โอม กัน คะณะปัตตะเย นะมะฮา
by อ.กันต์ปางคเณศ ศรีอริยเมตตา
    *ขอพรอันดี จงบังเกิดแด่ท่าน*
[โอม กัน คะณะ ปัตตะเย นะโม นะมะฮา]
   by.อ.กันต์ปางคเณศ ศรีอริยเมตตา      

อ.กันต์ครับ

อ.ลอกข้อความมาจากหนังสือคู่มือบูชาเทพ ของอาจารย์กิตติ วัฒนะมหาตม์ โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุคส์ทุกกระเบียดนิ้ว
กรุณาให้ credit กับเจ้าของบทความด้วยครับ

ที่มาจากความรู้ด้านบนนะครับ
credit by ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสุดแห่งชาติ
         อ.กิตติ วัฒนะมหาตม์
คู่มือบูชาเทพ:กรุงเทพ:สร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด,2549
     117 หน้า
1.เทพปกรณัม. I ชื่อเรื่อง.
292.13
ISBN 974-341-283-2
*ขอพรอันดี จงบังเกิดแด่ท่าน*
   โอม กัน คะณะ ปัตตะเย นะโม นะมะฮา
  by อ.กันต์ปางคเณศ ศรีอริยเมตตา
    *ขอพรอันดี จงบังเกิดแด่ท่าน*
[โอม กัน คะณะ ปัตตะเย นะโม นะมะฮา]
   by.อ.กันต์ปางคเณศ ศรีอริยเมตตา      

ขอบคุณ อ.กันต์ ครับ ที่ลงแหล่งที่มา และแหล่งอ้างอิง เพื่อความถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งให้เกียรติ์ท่านเจ้าของบทความครับ

ขอบคุณ คุณหมอ ฟลูออรีน ครับ ที่ช่วยกันดูแลเว็บบอร์ดครับผม

ขอบคุณค่ะ ยาวมาก

จนมึนเลย 
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

नमस्ते!

นั่งสมาธิต้องใช้เวลานิด...นะฮับ...
แชร์จากประสบการณ์นะฮับ..เนื่องจากเราก็ไม่เคยนั่งสมาธิเลย เต็มที่ก็สวดมนต์บ้าง แต่เมื่อสองสามปีก่อนตักบาตร แล้วพระท่านทักให้เราสวดมนต์ นั่งสมาธิ ต้องทำให้ได้ (แล้วช่วงนั้น เราก็รู้สึกแย่ๆๆ เหมือนกัน) ก็เลยลองนั่งดู ปรากฎว่า มันฟุ้งซ่านมากเลย แต่ก็พยายามนั่งทุกวัน นั่งไปเรื่อยๆๆ แล้วก็จะสงบขึ้นเองนะ เราใช้เวลาเป็นปีกว่าจะรู้สึกว่านั่งสมาธิได้ แล้วก็เห็นส่วนมากก็จะเจอปัญหาเดียวกัน คือ นั่งครั้งแรกๆๆ จะฟุ้งซ่านแยะ ก็พยายามหน่อยนะฮับ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น สู้สู้ เลือกจริตที่ถูกกับตัวเอง.. ทำวันละนิดวันละหน่อย.. แล้วจะรู้สึกดีขึ้นฮับ


धन्यवाद।

ส่วนของน้ำที่ทำสมาธิก็จะเปิดเพลงบูชาพระแม่ไปด้วยนะคะ
น้ำว่าช่วยได้เหมือนกันนะคะจิตใจเราก็ไปจดจ่ออยู่กับเพลงสวด
ทำให้เกิดสมาธิได้เหมือนกันนะคะ
เหมือนเรากำหนดจิตไว้กับลมหายใจเข้าออกนะคะ
โอมเจมาตากาลี