Loader

ผู้หญิงสามารถเป็นพราหมณ์ได้หรือป่าวค่ะ

Started by Baitoeysky, February 09, 2014, 09:23:00

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

คืออยากจะทราบว่าผู้หญิงสามารถประกอบพีธีแบบพราหมณ์ได้หรือป่าวค่ะ
หรือแค่มีไว้สำหรับผู้ชายเท่านั้นค่ะ


พราหมณ์  คำว่าพราหมณ์หมายถึง ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพระพรหม พระเวท และอาตมา ในคัมภีร์ธรรมศาสตร์บอกไว้าว่า ผู้ที่มีลักษณะ ๑๑ ประการ ผู้ที่กำหนดผู้นั้นย่อมเป็นพราหมณ์ ได้แก่
             ศมะ หมายถึงสุภาพที่ภายในจิตใจไม่มีความยุ่งยากหรือปั่นป่วนด้วยกามโกรธ โลภ หลง แต่ประการใด เป็นธรรมชาติของเขาเช่นนั้นตั้งแต่วัยเด็กมา
             ทมะ  หมายถึง  สภาพที่จิตใจได้รับการระงับไว้แล้ว สำนึกในเมตตา และมีสติอยู่เสมอ
             ตบะ  หมายถึง ฝักใฝ่แต่ในความประพฤติที่จะหาความรู้ ความจริง
             เศาจะ  หมายถึง การทำตนเองให้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ
             สันโดษ  หมายถึง สภาพที่พอใจ หรือมีความสุขอยู่แล้วในทางสันติ
            กษมา  หมายถึง ความอดกลั้น หรือความอดโทษ ถือเอาความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง
             สรลตา  ความซื่อตรงโดยนิสัย พูดตรงและทำตรง
             ชญาณะ   ความรู้ ความเห็น ความชอบ ความถูกต้อง หรือความวิเวก
             ทยา   ความมีเมตตากรุณาต่อชีวะทั้งหลาย
             อาสติกตา  ความเห็นอันสุจริต
             สัตยะ  จริง หรือ ความจริง หรือ ความเห็นอันสุจริต กล่าวคือ ควรแสดงความซื่อสัตย์ต่อกัน จนเป็นที่ไว้วางใจกันและเชื่อใจกันได้ โดยไม่คิดคดทรยศต่อกันอีกต่อไป

ข้อปฏิบัติในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู มีทั้งที่เป็นส่วนเฉพาะและส่วนรวมต้องประพฤติปฏิบัติตามกฎประเพณีที่ทำไว้สำหรับวรรณะของตนนั้น แบ่งออกเป็น ๔ หมวด คือ ๑.กฎสำหรับวรรณะ ที่เกี่ยวกับการแต่งงาน อาหารการกิน อาชีพ และเคหสถานที่อยู่ ๒.พิธีประจำวัน ชาวฮินดูต้องทำพิธีกรรมประจำบ้านที่ขาดไม่ได้ การทำพิธีต้องอาศัยพราหมณ์ นักบวชเป็นผู้ทำเรียกว่า พิธีสังสการ เป็นพิธีประจำบ้านมี ๑๒ ประการ ได้แก่
ขั้นที่ ๑ ครรภาธาน เป็นพิธีที่จัดขึ้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ถัดจากวันวิวาห์
ขั้นที่ ๒ ปุงสวัน เป็นพิธีปฏิบัติต่อเด็กในครรภ์ที่เข้าใจว่าเป็นเพศชาย
ขั้นที่ ๓ สีมันโตนยัน เป็นพิธีแยกผมหญิงมีครรภ์ เมื่อครรภ์ได้ ๔,๖ หรือ ๘ เดือน
ขั้นที่ ๔ ชาตกรรม พิธีคลอดบุตร
ขั้นที่ ๕ นามกรรม พิธีตั้งชื่อเด็ก ในวันที่ ๑๒ หรือ ๑๔ ถัดจากวันคลอด
ขั้นที่ ๖ นิษกรมณ์ พิธีนำเด็กออกไปดูแสงอาทิตย์ยามเช้า เมื่ออายุได้ ๔ เดือน
ขั้นที่ ๗ อันนปราศัน พิธีป้อนข้าวเด็กเมื่ออายุได้ ๕ เดือน หรือ ๖ เดือน
ขั้นที่ ๘ จูฑากรรม พิธีโกนผมไว้จุก เมื่ออายุได้ ๓ ขวบ
ขั้นที่ ๙ เกศานตกรม พิธีตัดผม ถ้าเป็นวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ ๑๖ ปี ถ้าวรรณะกษัตริย์ตัดเมื่ออายุ ๒๒ ปี ถ้าวรรณะแพศย์ตัดเมื่ออายุ ๒๔ ปี
ขั้นที่๑๐ อุปนัยน์ พิธีเริ่มการศึกษาเพื่อเป็นพราหมณ์โดยคล้องด้ายยัชโญปวีต
ขั้นที่๑๑ สมาวรรตน์ พิธีกลับบ้าน ปฏิบัติเมื่อสำเร็จการศึกษาจากสำนักครูแล้ว
ขั้นที่๑๒ วิวาหะ พิธีแต่งงาน


พิธีทั้ง ๑๒ ประการนี้ ถ้าเป็นหญิงห้ามทำพิธีอุปนัยน์อย่างเดียว นอกนั้นทำได้หมดและห้ามสวดคัมภีร์พระเวท เพราะเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนเฉพาะผู้ชายและคนบางวรรณะเท่านั้นในปัจจุบัน พวกพราหมณ์ได้ลดพิธีปฏิบัติเหลือเพียง ๔ อย่าง คือ พิธีนามกรรม, อันนปราศัน, อุปนัยน์ และ วิวาหะ

ขอบคุณค่ะ ได้รับความรู้ที่ยังไม่ได้รู้อีกมากค่ะ ^^

ผู้หญิงสามารถประกอบพิธีบูชาตามปกติทั่วไปได้ครับแต่ท่านไม่สามารถบวชพราหมณ์ได้

ขอบคุณพี่ๆทุกคนมากนะค่ะ ที่ให้คำแนะนำค่ะ ^^