Loader

ข้อสงสัยใน "คเณศจตุรถี"

Started by โหราน้อย, July 30, 2009, 15:10:34

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

July 30, 2009, 15:10:34 Last Edit: July 30, 2009, 17:44:32 by โหราน้อย
   วันเวลาทางจันทรคติตามปฏิทินวันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู  ตามที่ได้อ่านในเวปบอร์ด http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=6.0  มีข้อสงสัยว่าในแต่ละปีนั้นจะไม่ตรงกัน  แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าในแต่ละปีนั้นจะตรงกับวันไหนกันแน่  เช่น วันคเณศจตุรถี  ในปฏิทินบอกว่าตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9  ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 10 สิงหาคม 2552  แต่ทางวัดแขกจัดในวันที่ 23 สิงหาคม 2552 (ขึ้น 3 ค่ำเดือน 10  ซึ่งไปตรงกับวันหรตาสิกาตฤติยา ตามปฏิทินวันสำคัญฯ)  และวันคเณศจตุรถีในปีที่แล้วก็เป็นวันที่ 3 กันยายน 2551 (ซึ่งก็ตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 10 )  จึงทำให้เกิดความสับสนว่าจริงๆแล้ว  วันคเณศจตุรถีตรงกับวันที่เท่าไรกันแน่ เพราะถ้าใช้ปฏิทินวันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เป็นหลักเกณฑ์ในการเทียบวันสำคัญของฮินดูก็จะไม่ตรงกันเลย

   รบกวนท่านผู้รู้ช่วยไขข้อข้องใจด้วยครับ 

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

   พลาดการตอบกระทู้นี้ไปครับ ขออภัยท่านโหราน้อยครับ

จริงๆ แล้วถ้าท่านโหราน้อยเปรียบเทียบวันกับปฏิทินที่เราใช้ตามบ้าน มันจะไม่ตรงกันครับ

เพราะปฏิทินตามบ้านจะเป็นปฎิทินแบบสุริยคติครับ แต่ ปฏิทินในกระทู้เป็นแบบจันทรคติครับผม

     ปฏิทินตามบ้านก็มีบอกจันทรคตินะครับท่านกาลิทัส  ว่าขึ้นกี่ค่ำหรือแรมกี่ค่ำแต่ก็ไม่ตรงกับปฏิทินวันสำคัญฯ  เอ๊ะหรือผมยังเข้าใจผิดกับคำว่า จันทรคติ

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

      ปฏิทินสุริยคติ(หรือปฎิทินสากล) เป็นปฎิทินระบบสากล จะใช้การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ในการกำหนดจำนวนปีคือ ๑ ปี ใช้เวลาประมาณ ๓๖๕.๒๕ วัน จึงแบ่งปีออกเป็น ปี อธิกสุรทิน*มี ๓๖๖ วัน และ ปีปกติมี ๓๖๕ วัน โดยทุก ๔ ปีจะมีปีอธิกสุรทิน* ๑ ครั้งโดยประมาณ
      ปฏิทินจันทรคติ ของไทยนั้น จะใช้การโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นเกณฑ์ กำหนดให้ ๑ ปี มี ๑๒ เดือน ในเดือนที่มีเลขคี่คือเดือน ๑, ๓, ๔, ๗, ๙, ๑๑ ให้มี ๒๙ วัน(เรียกว่าเดือนขาด**) และในเดือนคู่คือ ๒, ๔, ๖, ๘, ๑๐, ๑๒ ให้มี ๓๐ วัน (เรียกว่าเดือนเต็ม**) ใน ๑ เดือน จะแบ่งเป็นข้างขึ้น*** ๑๕ วัน และข้างแรม**** ๑๔-๑๕ วัน รวม ๑ ปีปกติจะมี ๓๕๔ วัน ซึ่งทำให้ต่างจากปีทางสุริยคติถึง ๑๑ วัน ดังนั้นจะต้องมีการปรับปฎิทินเป็นระยะ เพื่อที่จะไม่ทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำกัน โดยจะแบ่งประเภทปีออกเป็น ๓ แบบ
   1. ปกติมาส มี ๓๕๔ วัน
   2. อธิกมาส มี ๒๘๔ วัน โดยปีนั้นจะมีเดือน ๘ ซ้ำ ๒ หน
   3. อธิกวาร มี ๓๕๕ วัน โดยในเดือน ๗ จะมีแรม ๑๕ ค่ำ

ทุกๆ ๑๙ ปีจะมีอธิกมาส ประมาณ ๗ ปี และอธิกวาร ประมาณ ๓ ปี(ไม่แน่นอน)





* คือถ้าอยากรู้ว่าปีไหนคือปีอธิกสุรทิน ปีนั้นเดือนกุมภาพันธ์จะมี ๒๙ วันครับ แต่ถ้าใครอยากรู้ล่วงหน้าหรือย้อนหลังว่าปีใดคือปีอธิกสุรทิน ก็ให้เอา ๔ หารด้วยปี ค.ศ. เมื่อหารแล้วลงตัว คือจะได้ปี อธิกสุรทิน คือในปีนั้นเดือนกุมภาพันธ์จะมี ๒๙ วันตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นครับ พอดูถึงตรงนี้ก็นึกถึงตอนสมัยเรียนบัญชีจัง
** ในเดือนขาดจะมีแค่แรม ๑๔ ค่ำ ส่วนในดือนเต็มจะมีแรม ๑๕ ค่ำ
***เรียกว่า ชุณหปักษ์ หรือชุษณปักษ์ หรือศุกลปักษ์ ใช้ตัวย่อว่า ข.
****เรียกว่า กาฬปักษ์นับเป็นปลายเดือนใช้ตัวย่อว่า ร.



ขอขอบคุณท่านสฺวสฺติ มากๆครับ ที่ช่วยไขข้อข้องใจ

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

   แต่กระนั้นก็ยังแอบสงสัยว่า วัดแขกจัดงานคเณศจตุรถีในวันที่ 23 สิงหาคม 2552 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 10  แต่ตามปฏิทินวันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์ฮินดูบอกไว้ว่า  คเณศจตุรถีตรงกับวันแรม 4 ค่ำเดือน 9 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 สิงหาคม 2552  แล้วอีกอย่างปีที่แล้วจัดในวันที่ 3 กันยายน 2552 เป็นวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 10 ตกลงยังไงกันแน่

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

จากที่เคยศึกษามาบ้างนะครับ ว่า วันนี้ที่ทำทำการจัดพิธีการดังกล่าว ก็คือ ส่วนมากจะจัดพิธีในขึ้น* ๔ ค่ำของเดือน ภัทรบท**

ซึ่งส่วนหลักเกณท์อื่นที่จะใช้กำหนด เช่น ลึกงามยามดี วันเวลา หรือความสะดวก การขอจัด สถานที่ หรืออื่นๆ อาจจะเข้ามามีส่วนประกอบหรือเปล่าอันนี้ ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจเช่นกันครับ

และอีกอย่าง ผมก็ไม่มีปฎิทินของพิธีการต่างๆ มาเทียบ กับกฤษ์หรือปฎิทินอ่ะครับ เลยไม่ค่อยทราบแน่ชัดเช่นกัน




*เรียกว่า ชุณหปักษ์ หรือชุษณปักษ์ หรือศุกลปักษ์ ใช้ตัวย่อว่า ข. (เพิ่มเติม ข้างแรม เรียกว่า กาฬปักษ์นับเป็นปลายเดือนใช้ตัวย่อว่า ร. )
**เดือนสิบในปฎิทินจันทรคติ เรียกภัทรบทมาส ภัททปะทะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๒๕-๒๖ คือภัทรปทา หรือภัทรบท

ข้อมูลเพิ่มเติม:-
    เดือนอ้าย (หนึ่ง) เรียก มิคสิรมาส มิคสิระมาส มิคเศียรมาส มฤคศิรมาส มฤคศิรษมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๕ คือ มฤคศิระ มฤคศีรษะ หรือ มิคสิระ
    เดือนยี่ (สอง) เรียกว่าบุษยมาส ปุสสะมาส ปุษยมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๘ คือ บุษยะ ปุสสะ หรือปุษยะ หรือสิธยะ
    เดือนสาม เรียก มาฆะ
    เดือนสี่ เรียก ผัคคุณมาส ผัคคุณะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๑ – ๑๒ คือ ผัคคุณี เรียกเต็ม ๆ ว่า บุรพผลคุณี และอุตรผลคุณี
    เดือนห้า เรียกว่า จิตมาส, จิตตมาส, จิตตะมาส หรือจิตรมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที๑๔ คือ จิตตะ หรือจิตรา
    เดือนหก เรียกว่า วิสาขมาส วิสาขะมาส ไพศาขมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๖ คือ วิศาขา
    เดือนเจ็ด เรียก เชษฐมาส เชฏฐมาส เชฏฐะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๘ คือ เชษฐา, เชฏฐา
    เดือนแปด เรียก อาษาฒมาส หรืออาสาฬหมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ทรี่ ๒๐ – ๒๑ คืออาษาฒะหรืออาสาฬหะ เรียกเต็มอีกแบบหนึ่งว่า บุรพาษาฒและอุตราษาฒ
    เดือนสิบเอ็ด เรียก อัสสยุชะมาส อัสยุชมาส อัศวยุชมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑ คือ อัสสยุชะ อัสวนี หรืออัสวยุช
    เดือนสิบสอง เรียก กิตติกะมาส กัตติกมาส กัตติกามาส หรือ กฤติกามาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๓ กัตติกา กฤตติกา หรือ กฤติกา

   อาจเป็นไปได้ว่าการจัดงานคเณศจตุรถีของวัดแขก  คงจัดตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติคือถือฤกษ์เอาเดือนภัทรบทเป็นหลัก  งั้นเพื่อความสบายใจคงจะบูชาท่านทั้ง 2 วันเลยดีกว่า  ทั้งแรม 4 ค่ำเดือน 9 ตามปฏิทินวันสำคัญฯ  และพร้อมวัดแขกในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 10 
   อย่างไรเสียก็ต้องขอขอบคุณท่าน สฺวสฺติ มากๆนะครับ  ที่ได้นำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับชื่อเดือนของฮินดูมาบอกเล่าเก้าสิบกัน

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

ขอแสดงความคิดเห็นนะคร้า เราก้อ คิดว่า น่าจะเป็นฤกษ์วัน จันทร์ ที่ 10 สิงหาคม มากกว่าค่ะเพราะหลวงพ่อ ที่เรานับถือ ท่านบอกว่า วันที่ 10 สิงหาคม ปีนี้ เป็นวันฤกษ์งามยามดีที่สุดของปีค่ะ และ บางห้างบางร้านค้า ที่รู้จัก เค้า มักจะ นิมนต์พระมาทำบุญบ้านกันด้วยค่ะ ยังไง หนูว่า บูชา ทั้ง 2วันไปเลยสบายใจที่สุดค่ะ ถ้าเราสะดวกนะคร้า^_^ขอให้ทุกท่านมีความสุข สำหรับเดือนแห่ง วันคเนศจตุรถีนะคร้า
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]   "เรา"สามารถเห็นอะไรได้ก้อด้วย"หัวใจ"ของ"เรา"เท่านั้น[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]สิ่งสำคัญ"เรา"ไม่สามารถเห็นได้ด้วย"ดวงตา[HIGHLIGHT=#d7e3bc]"  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

   อิอิสบายใจ  วันนี้ได้บูชาพระองค์ท่านไปแล้วรอบนึง  เดี๋ยวในวันที่ 23 จะบูชาท่านอีกรอบพร้อมกับวัดแขก   

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]