Loader

วันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

Started by กาลิทัส, January 27, 2009, 15:18:30

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

January 27, 2009, 15:18:30 Last Edit: January 28, 2009, 21:53:04 by สัตตเทวบุตร
วันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

สรุปมาจากหนังสือประวัติและหลักธรรมศาสนาพราหมณ์ฮินดู (2529)นะครับ เรื่องวันเป็นปฏิทินตามจันทรคติ ดังนั้นของไทยและอินเดียจึงอาจตรงกันบ้างหรือไม่ตรงกันบ้าง เช็คดูเอาในแต่ละปีนะครับ

*********************************************************************
เดือน 5
(เริ่มต้นศักราช ตามปฏิทินโหราศาสตร์)
วันขึ้น 1 ค่ำ - 9 ค่ำ เดือน 5 นวราตรี

เดือน 6
วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 อกษัตยริติยา
วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 นฤสิงหจตุรทศี
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ไวศาขีปูรณิมา

เดือน 7
วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 คงคาทศมี
วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 นิรชลาเอกทศี
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เชษฐีปูรณิมา

เดือน 8
วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 8 รถยาตรา
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คุรุปูรณิมา หรือ วยาสปูรณิมา

เดือน 9
วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 9 นาคปัญจมี
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ศราวณีปูรณิมา
วันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 คเณศจตุรถี
วันแรม 6 ค่ำ เดือน 9 หลษัษฐี
วันแรม 8 ค่ำ เดือน 9 ศรีกฤษณะชนมาอัฏฐมี
วันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 กุโศตปาฎนีอมาวสยา

เดือน 10
วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 หรตาสิกาตฤติยา
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 มหาลัยปูรณิมา

เดือน 11
วันขึ้น 1 ค่ำ - 9 ค่ำ เดือน 11 นวราตรี
วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 11 วิชยาทศมี
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ศรทปูรณิมา
วันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 อันเตรัส
วันแรม 14 ค่ำ เดือน 11 นรกจตุรทสี
วันแรม 15 ค่ำ เดือน 11 ทีปมาลิกา หรือ ทีวาลี

เดือน 12
วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 อันนกูฏะ
วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12 ยมทวิตีตา หรือ ภราตฤทลตียา
วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 วามนทวาทศี
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ไวกุณฐจตุรทศี

เดือนยี่
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ศารทียปูรณิมาที่สอง หรือ การติกีปูรณิมา
วันขึ้น 6 ค่ำ - วันแรม 6 ค่ำ เดือน 2 พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย

เดือน3
วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 วสันตปัญจมี
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 มาฆีปูรณิมา
วันแรม 14 ค่ำ เดือน 3 ศิวาราตรี

เดือน 4
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 โหลีปูรณิมา
วันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 โหลี หรือ โหลา หรือ ผคุวา
วันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 วันสิ้นปีตามปฏิทินโหราศาสตร์

วันพระของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ได้แก่ วันแรมและขึ้น 8 11 และ 15 ค่ำ

นอกจากนี้ ยังมีวันสงกรานต์ อีก 2 วัน ได้แก่
วันที่ 13 เมษายน เรียก เมษสงกรานติ หรือ สตุสงกรานติ
วันที่ 14 มกราคม เรียก มาฆสงกรานต์

อธิบายวันไล่ไปเลยนะครับ เอาแบบสรุปย่อๆนะครับ

--------------------------------------------------------
นวราตรี
เป็นการบูชาพระอุมาในแต่ละปาง รวม 9 ปาง มีด้วยกัน 2 ช่วงใน 1 ปี คือเดือน 5 และเดือน 11 เริ่มต้นการบูชาจาก 1.ไศลปุตรี 2.พรหมจาริณี 3.จันทรฆัณฎา 4.กูษมาณฑา หรือ ทุรคา 5.สกันทมาตา 6.กาตยายนี 7.กาลราตรี หรือ กาลี 8.มหาเคารี 9.สิทธิทาตรี

อกษัตริติยา
เชื่อว่าหากทำบุญใดในวันนี้ผลบุญนั้นจะคงอยู่ชั่วนิรันดร์ และวันนี้ปางที่ 5 ของพระนารายณ์(ปรศุราม) จะมาปรากฏ

นฤสิงหจตุรทศี
วันปรากฏของพระนารายณ์ปางที่ 3 หรือ นฤสิงห์ มีการประกอบพิธีบูชาพระนารายณ์วันนี้เพื่อพิชิตศัตรู

ไวศาขีปูรณิมา
วันศูนย์กลางของสงกรานต์ เป็นวันที่มีความสำคัญมาก ถือเป็นวันแรกของปีประชาชนทำพิธีบูชาไฟและทำบุญตามประเพณีของตระกูล หากสถานที่แห่งใดมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ต้องจัดการแห่พระพุทธรูปนั้น

คงคาทศมี หรือ คังคาทสหรา
เป็นวันแรกที่แม่น้ำคงคาไหลลงสู่โลกมนุษย์ มีการจัดเล่นกีฬาทางน้ำ เช่น แข่งเรือ ว่ายน้ำ

นิรชลาเอกทศี
วันบูชาพระนารายณ์ โดยการอดอาหารและน้ำ 24 ชั่วโมงงดดื่มน้ำและรับประทานอาหารทั้งสิ้น

เชษฐีปูรณิมา
วันเริ่มจากจตุรมาส วันเริ่มต้นการเข้าพรรษา 4 เดือน สันยาสีต้องอยู่ประจำที่เป็นระยะเวลา 4 เดือน งดการเดินทาง เพราะเป็นฤดูฝนไปมาไม่สะดอก อีกทั้งฤดูนี้มีแมลงต่างๆเกิดขึ้นมาก กลัวเดินเหยียบย่ำสัตว์ให้ตาย จะเป็นบาปติดตัว

วันรถยาตรา
มีการนำรูปปฏิมาพระนารายณ์แห่ในเขตหมู่บ้าน เพื่อให้คนบยูชา เชื่อว่าผู้มีโอกาวสได้บูชาพระรูปนั้นจะมีความสุขความเจริญ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

คุรุปูรณิมา หรือ วยาสปูรณิมา
เป็นวันบูชาครูบาอาจารย์ มหาฤาษีวยาส ได้รับความสำเร็จในการแต่งตำรา เป็นวันเริ่มต้นเขียนตำรา เป็นวันเขียนตำราจบ และเริ่มสอนศิลปวิทยาความรู้ต่างๆแก่ศิษย์ทั้ง 3 วาระ

นาคปัญจมี
วันนี้มีการบูชาพญานาค โดยน้ำนมให้งูและพญานาคกิน เชื่อว่า ถ้างูกินนมของผู้ใด งูจะไม่ทำอันตรายใดๆแก่คนในครอบครัวนั้นๆตลอด 1 ปี และในวันนี้จะมีการแสดงศิลปะทางกายและอาวุธ เช่น มวยปล้ำ ฟันดาบ เป็นต้น

ศราวณีปูรณิมา
เป็นวันสำคัญโดยเฉพาะวรรณะพราหมณ์ รวมถึงวรรณะอื่นๆด้วย มีพิธีกรรม 2 ช่วง ช่วงเช้าพราหมณ์จะไปสู่แม่น้ำสายต่างๆ ทำพิธีทางพระเวทถึงบ่าย โดยต้องอยู่ในน้ำตลอดการอ่านพระเวท อุทิศกุศลแก่บรรพบุรุษทุก ๆ คนในตระกูลของตน ตอนเย็นจะมีศิษยานุศิษย์มาหาพราหมณาจารย์ มีการผูกด้ายข้อมือแก่ศิษย์ ประเพณีสมัยใหม่น้องหรือพี่สาวจะมีการผูด้ายให้แก่พี่หรือน้องชายด้วย

คเณศจตุรถี
เป็นวันบูชาพระคเณศ ผู้บูชาต้องอดอาหารตลอดวันจนกว่าจะทำพิธีเสร็จ

หลษัษฐี
วันบูชาพระสุริยเทพ และพี่ชายพระกฤษณะ ชื่อ พลเทพ อันเป็นอวตารของพญานาค

ศรีกฤษณะชนมาอัฏฐมี
ฉลองวันอุบัติของพระกฤษณะอย่างใหญ่โต ผู้เคร่งครัดจะมีการอดอาหารตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงคืน เมื่อบูชาพระกฤษณะเสร็จในเวลาเที่ยงคืนจึงมารับประทานอาหาร

กุโศตปาฎนีอมาวสยา
พราหมณ์จะใช้ให้ศิษยานุศิษย์ไปเก็บหญ้ากุศะ เพื่อมาใช้ในพิธีต่างๆ ซึ่งปกติการเก็บหญ้ากุศะในวันอื่นๆ จะใช้ได้เพียง 24 ชั่วโมง แต่หญ้ากุศะที่เก็บในวันนี้จะนำมาใช้ประกอบพิธีได้ตลอดปี

หรตาสิกาตฤติยา
วันที่พระศิวะเสด็จมาปรากฏต่อหน้าพระพักตร์ของพระอุมา ขณะที่ทรงบำเพ็ญตบะให้พระศิวะมาแต่งงานกับพระนาง (ขณะนั้นยังไม่ได้แต่งงาน) โดยพระศิวะสัญญาว่าจะแต่งงานกับพระนาง และให้พรว่าสตรีใดบำเพ็ญตบะในวันนี้จะได้สามีที่ดีและที่มีสามีแล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

มหาลัยปูรณิมา
ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำ รวม 16 วัน มีการจัดสักการะดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป โดยการเชิญพราหมณ์หรือสันยาสีมาฉันอาหารที่บ้าน ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดวันให้ตรงกับดิถีที่ตายของบรรพบุรุษ เช่น ตาย 3 ค่ำเดือน 7 ผู้ทำบุญก็เลือกเอาเฉพาะเลข 3 ในระหว่าง 16 วันดังกล่าว

นวราตรี (เดือน 11)
ความพิสดารมีอธิบายเช่นเดียวกับงานนวราตรีในเดือน 5

วิชยาทศมี
วันบูชาพระอุมาเทวี พระนามว่า วิชยาเทวี เป็นวันที่ได้รับชัยชนะสำเร็จเด็ดขาดของพระอุมาในการปราบมหิษาสุระ เชื่อว่าใครบูชาพระนางในวันนี้จะได้ชัยชนะตลอดปี และถือเป็นวันสำคัญของวรรณกษัตริย์ อาวุธทุกประเภทในบ้านเรือนจะต้องนำออกมาให้พราหมณ์เจิมเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน

ศรทปูรณิมา หรือ ศสศษปุรณิมา
ในเวลากลางคืนมีการทำพิธีบูชาพระนารายณ์ สิ่งของที่นำมาบูชาจะเป็นอาหารหรืออื่นใดก็ตาม จะต้องเป็นสีขาวล้วน การภาวนาในวันนี้ ให้ภาวนาในใจว่า วันนี้เป็นวันปราศจากเมฆหมอก ขอให้จิตใจของเราจงแจ่มใส ปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะเถิด วันนี้จะเป็นวันครบรอบจตุรมาส พราหมณ์ พรหมจารี และสันยาสี จะออกเดินทางจาริกสั่งสอนประชาชน

อันเตรัส
วันนี้จะมีการทำพิธีบูชาพระลักษมี พระคเณศ พระกุเวร พระสรัสวตี พระอินทร์ เมื่อผู้ทำพิธีบูชาเสร็จแล้ว ต้องไปซื้อภาชนะหรืออาภรณ์ใหม่ๆ เชื่อว่า การซื้อของในวันนี้เป็นมงคล

นรกจตุรทสี
ในเวลากลางวันทำบูชาพระยายม ด้วยเครื่องสักการะ เวลากลางคืนจุดประทีปถวายพระยายม เชื่อว่าตายไปจะไม่ไปสู่นรก และวันนี้ถือกันว่าเป็นวันเกิดหนุมาน โดยจะมีการไปบูชาที่โบสถ์ที่มีการสถิตพระหรนุมาน ส่วนการบูชาพระยมกระทำกันที่บ้าน

ทีปมาลิกา หรือ ทีปาวลี หรือ ทีวาลี
มีการทำการบูชาเทพเจ้า 5 พระองค์ เหมือนวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 และถือว่าเป็นวันสำคัญของพระลักษมีด้วย การบูชาจะทำในเวลาเย็น โดยการจุดประทีปโคมไฟในบ้านตลอดคืนเพื่อต้องรับพระนาง เชื่อว่า เมื่อบูชาจะได้รับทรัพย์สินเงินทอง เชื้อโรคต่างๆจะถูกทำลายด้วยดวงประทีป วันนี้เป็นวันสำคัญของวรรณะแพศย์

อันนกูฏะ
ผุ้ทำพิธีจะต้องนำอาหาร 56 อย่างไปถวายเทพเจ้าในเทวาลัยทุกแห่งเท่าที่สามารถไปได้

ยมทวิตียา หรือ ภราตฤทลตียา
วันนี้พี่ชายหรือน้องชาย ต้องไปรับประทานอาหารที่บ้านพี่สาวหรือน้องสาว ผู้ชายต้องนำของขวัญไปให้พี่สาวหรือน้องสาว เสร็จแล้วพี่สาวหรือน้องสาวก็เจิมดิลกที่หน้าให้พี่ชายหรือน้องชายด้วย

วามนทวาทศี
วันนี้เป็นวันประสูติของพระวามนะ ซึ่งเป็นปางที่ 5 ของพระนารายณ์ เชื่อว่าการบูชาพระวามนะจะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญารุ่งเรือง

ไวกุณฐจตุรทศี
ทำการบูชาพระนารายณ์ ผู้ทำการบูชาแล้วเชื่อว่า ตายไปจะไปเกิดในโลกไวกุณฐะอยู่ร่วมกับพระนารายณ์ วันนี้มีการบูชาพระนารายณ์และพระศิวะสลับกัน ซึ่งตามปกติจะบูชาพระนารายณ์ด้วยใบกะเพราแดง และบูชาพระศิวะด้วยใบมะตูม แต่วันนี้จะถวายตรงกันข้าม การบูชาพระนารายณ์วันนี้จะได้ผลทางจิตใจ ส่วนการบูชาพระศิวะจะได้ผลทางวัตถุ

ศารทียปูรณิมา หรือ การติกีปูรณิมา
วันนี้เป็นการจัดการบูชาถวายพระนารายณ์ และถวายประทีปแก่เทพเจ้าทั้งหลายในเทวาลัยต่างๆ ทั้งบนฟ้าและในน้ำ

พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย
เป็นการประกอบพิธีบูชาพระศิวะและพระนารายณ์ เป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีเริ่มการเพาะปลูก ส่วนพิธีนี้จะจัดเมื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสิ้น จึงจัดธัญาหารและผลาหารถวายแด่เทพเจ้าเพื่อระลึกถึงพระคุณ

วสันตปัญจมี
วันนี้มีการบูชาพระสรัสวตี เพื่อให้ผู้บูชามีสติปัญญาดี และมีการบูชากามเทพ และพระนารายณ์ในวันนี้ด้วย เดือน 3 ถือเป็นเดือนแห่งหารทำบุญ ประชาชนจะพากันไปแม่น้ำทุกสาย เพื่ออาบน้ำล้างบาป

มาฆีปูรณิมา
วันนี้ผู้นับถือเทพเจ้าองค์ใดก็ตาม จะทำการบูชาเทพเจ้าองค์นั้น ถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญมากด้านการบูชาบุญกุศล

ศิวราตรี
วันนี้จะมีการบูชาพระศิวะตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีการอดอาหารและอดนอนตลอด 24 ชั่วโมง วันนี้เป็นวันปรากฏของพระศิวะและวันอภิเษกสมรสของพระศิวะ เชื่อว่าการบูชาพระศิวะแล้ว จะได้คู่ชีวิตที่ดีและมีความสุขความเจริญ

โหลีปูรณิมา
วันนี้จะมีการนำของสกปรกออกจากบ้านรวมไว้ที่ใดที่หนึ่งแล้วทำการเผา ขณะเผาจะมีการร้องเพลงที่เรียกว่าเพลงโหลี

โหลี หรือ โหลา หรือ ผคุวา
มีการฉลองด้วยการเล่นสาดสีต่างๆ เชื่อว่าเล่นสาดสีกัน เชื้อโรคต่างๆจะหมดสิ้นไป ส่วนมากถือว่าวันนี้เป็นวันตรุษอินเดีย เป็นวันสำคัญของวรรณะศูทร แต่ผู้คนก็ร่วมสนุกกันทุกวรรณะ

วันพระของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
โรงเรียน สถานศึกษา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่สอนคัมภีร์พระเวทต้องหยุดวันพระเดือนละ 6 วัน

นอกจากนี้ ยังมีวันสงกรานต์ อีก 2 วัน ได้แก่
เมษสงกรานติ หรือ สตุสงกรานติ
มีการจัดบูชาถวายพระนารายณ์ ทำบุญด้วยขนมสตุและน้ำ บางแคว้นเช่น แคว้นปัญจาบจะถือว่าเป็นวันปีใหม่ เพราะเป็นเดือนที่เก็บเกี่ยวข้าวสาลีเสร็จ จึงฉลองปีใหม่ด้วยเลย

มาฆสงกรานต์
มีการนำข้าวและถั่วปนกันถวายเทพเจ้า พราหมณ์และสันยาสี เป็นวันที่มีการทำบุญใหญ่เรียกว่า ขีจรี

ที่มา

(1) คุณธาตุศรัทธา
(2) หนังสือประวัติและหลักธรรมศาสนาพราหมณ์ฮินดู (2529)

ขอบคุณครับ   

ขอบคุณมากคร้าฟ เราสามารถเทียบ ปฏิทิน ปีต่อปี ได้ทุกๆ ปี เลย ใช่ป่าวคร้าฟ


เคยได้ยินแต่วันที่เป็นภาษาอินเดีย แต่ก็ไม่รู้ ว่าภาษาไทยวันนั้นๆ เค้าบูชาอะไรกัน


โอเค แล้วคร้าฟทีนี้ ทราบแล้ว ขอบพระคุณมากคร้าฟพี่

รถยาตรา เดิมคือเทศกาลฉลองของวัดชคันนาถ ที่โอริสสา ทำเป็นรุปเคารพ3องค์ คือ พระกฤษณะ พระพลราม และนางสุภัทรา