Loader

อยากได้รูปพระแม่กาลีทรงสุนัข (หมาไน)

Started by matakali, October 07, 2009, 10:57:39

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

เรียนพี่ๆ HM ทุกท่าน ญ อยากได้รูปพระแม่กาลีที่ทรงสุนัข (หมาไน)อ่ะค่ะ อยากได้มานานแล้ว แต่ไม่รู้จะหาจากที่ไหน ท่านใดมี กรุณาด้วยนะคะ ขอบกระคุณค่ะ

อยากเห็นรูปพระแม่กาลีที่ทรงเหยียบบนพระพิฆเนศเหมือนกันใครมีเอามาให้ชมด้วย
No [HIGHLIGHT=#ffffff]one [/HIGHLIGHT]is PERFECT

สงสัยว่าต้องไปดูอีกกระทู้นะ เพราะว่าแนทลงภาพไม่เปนอ่า
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


คุณเทวาเหนือเกล้าคะ ญ ไปดูในแกลลอรี่มาแล้ว ไม่พบภาพทรงสุนัข(หมาไน) อ่ะค่ะ พอดีอยากจะวาดรูปท่านไว้บูชาที่บ้าน ลักษณะที่เป็นองค์พระแม่กาลี สีกร ประทับนั่งบนสุนัข(หมาไน)อ่ะค่ะ คล้ายๆ พระแม่กาลราตรีที่ทรงลา อ๊ะ แต่พระพักตร์เป็นพระแม่กาลีที่เห็นทั่วๆกันอ่ะค่ะ ท่านใดมีความรู้หรือมีรูปภาพ กรุณาโพสต์ให้ดูด้วยค่ะ เพื่อเป็นแบบในการสั่งวาด สาธุ สาธุ สาธุ

ขออภัยนะครับ ภาพพระกาลีทรงเหยียบพระพิฆเนศ ผมไม่เคยเห็นจริง อ้างอิงมาจากคัมภีร์ใดครับ

หรือสร้างขึ้นจากจินตนาการ หรือผมศึกษามาน้อยเกินไป  

ส่วนพระแม่กาลีทรงหมาไนนี่ผมไม่แน่ใจนัก แต่ที่แน่ๆ สุนัขนี่เป็นสหายคู่พระทัยของพระไภรวะครับ

เคยเห็นแต่พระแม่กาลีอุ้มพระเคนช ค่ะ
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

ท่านกาลิทัสเจ้าขา พระไภรวะ นี่ พระพิราพใช่ป่ะคะ แหว่ว แล้วทำไมที่ฝันถึงทรงเป็นพระแม่รูปกายสีม่วงดำ ลิ้นยาวถึงอก อกยาวถึงเอว นุ่งห่มหนังเสือ มีสี่กร ถือ ดาบ หัวมนุษย์ กระถางไฟ(เรียกถูกป่ะเนี่ย) กับถาดรองเลือดอ่ะ ทรงสุนัขตาสีแดง ดูดุร้าย  ญ อ่ะ เลยอยากได้เป็นรูปท่านไว้บูชา ไม่ทราบว่าเป็นพระแม่ปางค์ใด หากท่านผู้รู้ท่านใดทราบ กรุณาด้วยค่ะ

ภาพด้านล่างเป็นพระกาลาไภรวะครับ ((พระพิราพนั่นแหละครับ))555+


แจ่มแจ้ง แดงแจ๋ ขอบพระคุณค่ะท่านกาลิทัสเจ้าขา ฮือ ฮือ ตามหากันมาเสียเป็นปี ที่แท้ก็เส้นผมบังภูเขาที่เอง ถึงว่า พระพักตร์ดูคุ้นๆๆๆๆๆ (คิดเหมือน ญ ป่ะคะ) ขอบพระคุณค่า ได้แบบไปวาดแล้ว สาธุค่ะคุณกาลิทัส 

ดูแตกต่างกับพระพิราพของไทยมากมายเลยนะครับ

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

พระพิราพท่านมีความสำคัญอย่างไรคะ
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

เคียงข้างเข้าสนามรบและกัดกินอสูร ดังภาพที่จะโพสต์ให้ดูในกระทู้ถัดไป(หนูโพสต์รูปใส่กระทู้ของคนอื่นมิเป็นค่ะ ยอมรับว่าหนูโง่ค่ะ) ในส่วนของประวัติขององค์พระพิราพ จะนำมาเสนอ บัดเดี๊ยวนี้ค่ะ  (แต่อาจจะเป็นฉบับย่อนะคะ)

พระกาลาไภรวะหรือไภรวะ หรือ พระพิราพ

            คือ เทพอสูรผู้เป็นบรมครูสูงสุดแห่งนาฏศิลป์ บรมครูผู้ประทานโชคลาภความสุข ความเจริญ ความร่มเย็นเป็นสุข และอำนาจ แห่งมหาเสน่ห์เมตตาชั้นสูงสุด
            คือ พระอิศวรอวตารภาคดุ           
            คือ เทพเจ้าผู้ประทานชีวิตและความตาย
            คือ เทพเจ้าแห่งพลังอำนาจการลบล้างคุณไสยมนต์ดำ ป้องกันกันและปราบปรามภูตผีปีศาจ และอาถรรพณ์ร้ายทุกชนิด
            ในวงการโขนละครนับถือพระพิราพยักษ์เป็นครูนาฏศิลป์ โดยมีตำนานเล่าว่าพระพิราพ เป็นคนที่ท่าร่ายรำนาฏศิลปะขึ้น แล้วสอนมนุษย์ให้เรียนรู้
            พระไภราวะหรือไภรพ หรือไภราพ เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ ซึ่งนับถือว่าเป็น นาฏราช คือ ผู้ให้กำเนิดนาฏศิลป์แก่มนุษย์ แล้วยังถือกันว่าพระไภราพนี้เองเป็นต้นกำเนิดแห่งท่ารำ “วิจิตรตาณฑวะ” ซึ่งเป็นท่ารำที่วิจิตรพิสดารหนึ่งใน ๑๐๘ ท่า ของพระศิวะ พระไภราวะ เป็นที่นับถือเคารพบูชาและเกรงกลัวยิ่งในหมู่นาฏศิลปินอินเดีย แถบลุ่มน้ำคงคา โอริสา มหานที และจันทรภาค โดยเฉพาะที่เมืองพาราณสี เชื่อว่าการบูชาเทวรูปนี้ตามบ้านจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ขจัดเสนียดและประทานพรให้ด้วย
            สอดคล้องกับที่ ไมเคิล ไรท์ ระบุว่าชาวเมืองพาราณสีมีรูปเคารพที่ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า
“กาศีลิงคพิราปฺปา” มีลักษณะเป็นเสาหลักมียอดเป็นหัวยักษ์ผู้คนนิยมเซ่นสังเวยด้วยเนื้อดิบและเหล้า “เป็นตำรวจ แทนองค์พระอิศวรวิศวนารถผู้เป็นประธานในพาราณสี, คอยฟาดฟันผู้บังอาจกระทำความชั่วในเมืองนั้น”
            ส่วนในประเทศเนปาล พระไภราพ หรือกาโลไภราพ เป็นเทพเจ้าที่มีผู้นับถือและเกรงกลัวมาก ด้วยว่าเป็นเพทแห่งสงครามและความตาย ขณะเดียวกันก็เป็นเทพผู้ประทานพรและขจัดโรคภัยไข้เจ็บด้วยเช่นกัน
            ความเชื่อด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทยส่วนหนึ่งคงได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโดยผ่านมาทางชวาและขอม แล้วไทยคงจะรับจากขอมอีกทอดหนึ่ง ดังเช่นความเชื่อในการบูชาพระไภราวะหรือพระพิราพนี้ ซึ่งปรับประยุกต์เข้ากันได้กับความเชื่อเดิมของคนไทยที่นับถือผี และเซ่นสรวงสังเวยด้วยเนื้อดิบ และเหล้าอยู่แล้วได้อย่างแนบสนิท
            การร่ายรำของพระศิวะนาฏราชนั้นเป็นการสร้างสรรค์และการทำลายอยู่ในตัว รูปพระศิวะปางนาฏราชในทางปฏิมานวิทยามักจะทำเป็นรูปทรงเหยียบอสูรไว้ด้วยพระบาทขวาหมายถึงการทำลายความชั่ว พระบาทซ้ายยกขึ้นทำท่ารำงดงามเป็นการสร้างสรรค์ศิลป์ รอบๆ เป็นวงเปลวเพลิงหมายถึงการหมุนเวียนของจักรวาล การบูชาเทพเจ้าฝ่ายนาฏศิลป์ปางดุร้ายก็คงเข้าในคตินี้เช่นกัน

ความชาญฉลาดของโบราณจารย์ไทยประการหนึ่งคือการสามารถประยุกต์และผนวกเอาความเชื่อพระพิราพในรูปแบบเทพเจ้า และตัวโขน เข้าไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแนบเนียน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า หน้าพาทย์หรือท่ารำองค์พระพิราพ เป็นหน้าพาทย์ชั้นสูงสุด เป็นหน้าพาทย์เฉพาะองค์พระพิราพในฐานะเทพเจ้า ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะใช้กับการแสดงอื่นๆ หากไม่มีการแสดงย่อมเกิดการสูญหายได้ด้วยว่าไม่มีผู้สืบทอด
            ประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้โบราณจารย์จึงได้นำมาบรรจุไว้ในการแสดงโขนตอนพระรามเข้าสวนพิราพ ซึ่งมีนามพ้องกับ พระไภราพหรือพิราพ ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระอิศวรนั่นเอง โดยท่ารำและเพลงที่แสดงถึงภาวะความเป็นเทพเจ้านั้น จะปรากฏในตอนออกท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ที่ศิลปินผู้รับบทจะต้องถือกำก้านใบมะยมด้วยมือซ้ายและถือหอกด้วยมือขวานั่นเอง เป็นการแสดงเบิกโรงต้นเรื่องที่มีความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อสิ้นกระบวนรำจึงเป็นการดำเนินเรื่องตามบทบาทของ     พิราพอสูรในเรื่องรามเกียรติ์ต่อไป
            ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพระพิราพนั้นแท้จริงแล้วคือปางดุร้ายปางหนึ่งของพระอิศวรเป็นเจ้า ทำนองเดียวกับเจ้าแม่กาลี หรือ ทุรคา ซึ่งเป็นปางดุร้ายของพระอุมานั่นเอง            ทั้งนี้คติในการนับถือพระพิราพว่าเป็นบรมครูนั้นสืบเนื่องประเพณีการนับถือพระไภราวะของชาวอินเดียและเนปาล โดยพระไภราวะนั้นคือภาคหนึ่งของพระอิศวรที่แสดงรูปกายออกมาเป็นยักษ์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์
            ตามคติตำนานแต่โบราณกล่าวว่า พระไภราวะนี้มีฤทธิ์ในการปราบภูตผีปีศาจ ในสมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาดคร่าชีวิตผู้คนทั้งหลาย ขาดที่พึ่งจึงได้ระลึกถึงพระไภราวะผู้ประทานชีวิตและความตายอันเป็นภาคมหาปราบภาคหนึ่งของพระศิวะเจ้า เมื่อคนทั้งหลายต่างพากันบูชาพระไภราวะแล้ว โรคร้ายทั้งหลายทั้งปวงก็หายไป บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุขขึ้นมาอีกครั้ง             ดังนั้นการนับถือพระไภราวะนี้จึงมีคติที่นับถือกันว่าผู้ใดก็ตามที่นับถือบูชาแล้ว ผู้นั้นจะปราศจากภยันอันตราย อาถรรพณ์ร้ายทั้งปวง ทั้งยังช่วยให้เกิดสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย
            คติการนับถือพระไภราวะนี้เข้ามาในไทยพร้อมกับวิชานาฏศิลป์ คำว่าพระพิราพนั้นก็มาจากคำว่า “ไภราวะหรือไภรวะ”แล้วภายหลังเพี้ยนมาเป็น “พระไภราพ” จนที่สุดก็กลายมาเป็นคำว่า “พระพิราพ” ในคติของชาวนาฏศิลป์ที่นับถือพระพิราพนั้นก็เนื่องจากเชื่อถือกันว่า             พระพิราพนี้เป็นบรมครูทางฝ่ายยักษ์ผู้สูงสุดและยังถือว่าพระพิราพนี้เป็นผู้ประทานโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม อุดมด้วยทรัพย์สมบัติ ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์จะเป็นเมตตามหานิยมแก่คนทั้งหลาย บังเกิดความเจริญสูงสุดในชีวิตทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องการงาน การเงิน และจะมีความร่มเย็นเป็นสุขห่างไกลจากโชคร้ายภยันอันตรายทั้งหลายอย่างน่าอัศจรรย์             แม้ว่าจะต้องประสบเคราะห์หามยามร้ายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี หากมีพระพิราพบูชามีบารมีแห่งพระองค์คุ้มหัวคุ้มเกล้าแล้วไซร์ ย่อมปลอดภัย ผ่อนหนักเป็นเบา แคล้วคลาดไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้นว่าบ้านใดมีผู้ป่วยเรื้อรังมานานหรือญาติมิตรทั้งหลายเจ็บป่วยขาดที่พึ่ง เกรงว่าจะรักษามิได้ ก็ให้ระลึกถึงคุณบรมครูพระพิราพ จุดธูปเทียนสักการะ ตั้งจิตอธิฐานถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า และคุณบรมครูอสูรเทพพระพิราพเอาเถิดจะเกิดผลดีเป็นแน่แท้ อำนาจแรงครูจะช่วยปัดเป่าโรคร้ายเสนียดจัญไร เคราะห์ร้าย ทั้งหลายให้พินาศไปเอง แม้ว่าจะประสงค์ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประสงค์เงินทองมิให้ขาดมือ ปรารถนาอยากมีโชคมีลาภ ก็ให้จุดธูปเทียนบูชาพระองค์แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้พระองค์โปรดประทานพรอันสิ่งเป็นมงคล ก็จะสมหวังในกาลทุกเมื่อแลฯ

อนึ่งเรื่องเกี่ยวกับพระพิราพนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศีรษะโขนก็ดี การสร้างพระพิราพเต็มองค์ในรูปแบบวัตถุมงคลก็ดี หรือแม้กระทั่งการร่ายรำท่ารำพระพิราพหรือการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์พิราพก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นความศักดิ์สิทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้นสำหรับการรำท่ารำพิราพเต็มองค์นั้น ครั้งหนึ่งเกือบสูญหายไปจากวงการนาฏศิลป์ ในราวปี พ.ศ.๒๕๐๔ ได้จัดให้มีการถ่ายทอดท่ารำขึ้นที่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการสืบสานตำนานท่ารำพระพิราพเต็มองค์และคติความเชื่อความนับถือพระพิราพมิให้สูญหายไปจากวงการนาฏศิลป์ของไทยเราสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

การไหว้ครูและครอบครู

            การใหว้ครู และครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี ประเพณีการไหว้ครูมีมาแต่โบราณ คนไทยเป็นคนที่มีกตัญญูอย่างแรงกล้า และได้รับการอบรมต่อ ๆ กันมาให้เป็นผู้มีกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การที่จะกระทำ กิจการใดๆ ก็ต้องได้รับคำแนะนำจากครู แม้แต่การเลียนแบบหรือลักจำเขามาก็ ต้องเคารพผู้ให้กำเนิด หรือประดิษฐ์สิ่งนั้น             ในการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ ต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการเรียนศิลปการดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ พิธีไหว้ครูที่ปฏิบัติกันเคร่งครัด ได้แก่ พิธีไหว้ครูอาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ และ นาฏศิลป์             ถือกันว่าเพลงหน้าพาทย์ ดนตรีบางเพลงและท่ารำบางท่า เป็นเพลงและท่ารำที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้ายังไม่ได้ทำพิธีไหว้ครู และพิธีครอบเสียก่อนแล้ว บรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายก็ไม่กล้าสอนกล้าหัดให้ศิษย์ ด้วยเชื่อกันว่าจะเกิดผลร้ายแก่ครูผู้สอน และแก่ศิษย์เองด้วย ถ้าเกิดอุบัติเหตุใดๆ ขึ้นก็จะกล่าวกันว่า "ครูแรง" เหตุนี้โรงเรียนนาฏศิลปของกรมศิลปากรจึงได้กำหนดงานพิธีไหว้ครูและพิธีครอบขึ้นเป็นประจำปีละครั้งในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูในตอนต้นภาคเรียนแรกแต่ละปีการศึกษา ทำนองเดียวกับโรงเรียนต่างๆ เพียงแต่มีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์เพิ่มจากไหว้ครูธรรมดา และมีพิธีครอบประกอบด้วย เพื่อครู ศิษย์ และนักเรียนจะได้เริ่มสอนเริ่มเรียนกันไปอย่างเรียบร้อย และสบายใจ

ความเชื่อ
            การจัดพิธีไหว้ครูนั้น มักจัดวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก ๑ วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครู
            ตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน ๙ เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน
            พิธีไหว้ครู หมายถึง การสำรวมใจรำลึกถึงพระคุณของบรมครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ และพร้อมใจกันเปล่งเสียงวาจาด้วยความเคารพตามครูผู้กระทำพิธีขณะอ่านโองการ
            พิธีครอบครู เป็นพิธีที่นิยมกันมาช้านาน หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (เพื่อรับเป็นศิษย์) และครูจะคอยควบคุมรักษาคอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์             พิธีครอบครูนั้นนับว่าเป็นการทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจว่าครูจะคุ้มครองรักษา ครูจะช่วยเหลือแม้จะรำผิดพลาดไปบ้าง จะทำให้ผู้เรียนไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้ทำพิธีครอบครูแล้ว ครูคงให้อภัยในความผิดพลาด             อีกประการหนึ่งพิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์ ก่อนจะรำผู้ศึกษาต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำได้
....................................................


สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


สาธุค่ะ คุณเทวาเหนือเกล้า ขอบคุณที่ได้กรุณานำประวัติ พ่อพิราพมานำเสนออีกครั้ง ส่วนตัว ญ นับถือทั้งสายศิลป์และฮินดูเจ้าค่ะ บูชาทั้งพระพิราพและพระแม่ อีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกๆพระองค์ คุณกาลิทัสคะ ถ้า ญ. ได้ช่างวาดรูปตามที่ได้บอกไว้แล้ว จะส่งรูปไปให้ดูนะคะ  ว่าแล้ววันนี้เก็บดอกชบาแดงไปถวายทั้งสองพระองค์ดีกว่า เหอ เหอ ลาครึ่งวันซะดีไม๊เนี่ยะ กลับไปไหว้พระ 555555

ขอบคุณ คุณเทวาเหนือเกล้าค่ะ  ที่นำประวัติและความสำคัญของท่านมาแบ่งปันกัน

[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

แล้วอีกองค์
ที่อยุ่คุ่กับพระกาลไภรวะอะคัฟ
ที่ชื่อว่า
พระเศวตรไภรวะ
ที่มีพระฉวีเป็นสีขาวอะคัฟ
ท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไรอะคัฟ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

รอฟังด้วยคนค่ะ
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

ง่ะจารีบหาให้นะคะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ













นำรูปพระไภรวะ ( Sri Bhairawa )  ในแบบศิลปะอินเดียใต้มาให้ชมกันคับ


ขอบคุณมากๆ ค่ะ  รูปที่ 2 นี่เค้าถวายใบอะไรคะเนี่ย

[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]







พระไภรวะ (Sri Bhairawa) ในแบบศิลปะอินเดียเหนือ




รูปพระไภรวะที่อยู่ในรูปของเจ้าแม่ทุรคา ซึ่งชาวอินเดียทางตอนเหนือเชื่อว่าพระไภรวะนี้ช่วยเจ้าแม่ทุรคาออกรบด้วย
และมีหนุมาน ซึ่งเป็นทหารเอกของพระรามก็ร่วมออกรบด้วยเช่นกัน

พระไภรวะนั้นเป็นอสูรที่เกิดจากพลังความโกรธของพระศิวะ เป็นพลังที่แสดงออกถึงด้านความดุร้ายของพระศิวะ ที่จริงแล้วไม่ใช่
เป็นองค์พระศิวะส่ะทีเดียวแต่เป็นการแบ่งจิตออกมาจากพลังความโกรธ ความดุร้าย ของพระศิวะจึงทำให้เกิดอสูรตนนึงขึ้นมา

ส่วนเจ้าแม่กาลีขี่สุนัขนี่ไม่น่าจะมี แต่เจ้าแม่กาลีในปางขี่ลาซึ่งรูปร่างอาจจะคล้ายๆกับสุนัขคนที่ดูรูปแล้วคิดว่าขี่สุนัข(หรือป่าวไม่รู้นะ)
ก็อาจจะเป็นได้


เป็นเจ้าแม่ปางหนึ่งในนวทุรคา(เจ้าแม่ทุรคา9ปาง)เป็นรูปวาดของอินเดียเหนือ
เป็นปางที่ 7 ชื่อว่า กาลราตรี (เการี)

ขอบคุณค่ะ คุณshakthi_avataram   สำหรับรูปภาพ

พระแม่กาลีทรงลา นี่น่ากลัวนะคะ
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

หนูกิมมี่จ๋า อย่าหวาดกลัวพระแม่เลยจ้า พระองค์ทรงมีอำนาจและทรงน่าเกรงขามสำหรับสิ่งที่ชั่วร้ายเท่านั้น เห็นไหมคะ ทรงประทานพรและทรงห้ามผู้ศรัทธาทุกคนว่าอย่ากลัวท่านอ่ะ สาธุ ขอพระแม่จงเจริญ ขอบคุณทุกท่านที่ได้นำภาพสวยๆมาให้ชมค่ะ ขอบคุณจากใจจริงๆ

จริงตามที่ ญ.บอกค่ะ แม่สวยและใจดีเสมอสำหรับลูก ๆ

อ่ะจ้าๆๆๆ กิมยังรักและนับถือท่านค่ะ

ท่านมีเมตตาแก่ลูกๆ ทุกคนอยู่แล้วค่ะ
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]