Loader

บรรยากาศงานนวราตรี บูชาพระแม่ศรีอุมาเทวี ณ วัดวิษณุ-ฮินดูธรรมสภา ประจำปี ๒๕๕๒

Started by อักษรชนนี, September 21, 2009, 16:40:08

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

เปลี่ยนบรรยากาศมาชมภาพงานนวราตรี บูชาพระแม่ศรีอุมาเทวี ของทางวัดวิษณุ ซึ่งเป็นธรรมเนียมการบูชาเนื่องในเทศกาลนวราตรีตามแบบฉบับของอินเดียเหนือกันบ้างนะครับ โดยพิธีบูชาของทางวัดวิษณุร่วมกับสมาคมฮินดูธรรมสภาที่จัดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๒ นี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๘ กันยายน ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ น. - ๒๒.๐๐ น. โดยในวันที่ ๒๖ ทางวัดจะประกอบพิธีบูชากันตลอดทั้งวันทั้งคืนจนกระทั่งรุ่งเช้า และจะอัญเชิญเทวรูปปทั้งหมดแห่จากวัดวิษณุ กรุงเทพฯ ไปประกอบพิธีเชิญเทวรูปที่ปั้นขึ้นบูชาตลอดเทศกาลนวราตรีลงลอยในทะเลที่จังหวัดชลบุรี

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาขอเชิญรับมภาพบรรยากาศในงานได้เลยครับ
.
.
.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

หลังจากที่ผมได้นำเสนอภาพบรรยากาศการเตรียมงานเทศกาลนวราตรีของทางวิษณุไปในกระทู้ [t=769] ซึ่งในกระทู้นี้ก็จะได้เห็นภาพบรรยากาศที่สมบูรณ์แบบของการตกแต่งสถานที่และเทวรูปที่เสร็จสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็น หากแต่ในวันนี้จนถึงวันที่ ๒๕ ก.ย. ทางวัดจะยังไม่มีการเปิดผ้าที่ปิดตาเทวรูปเจ้าแม่ทั้งสามออก โดยจะเปิดออกในวันที่ ๒๖ (อันนี้ข้อมมูลที่สอบถามพราหมณ์ที่นั่งประจำอยู่ในประรำพิธีนะครับ)

โดยประรำพิธีในงานนวราตรีของวัดวิษณุมีการตกแต่งด้วยดอกไม้งดงาม เน้นสีดอกไม้ในโทนสีฟ้า บนเพดานของประรำพิธีจะตกแต่งด้วยผืนผ้าหลากสีสันครับ

.
.

.
.
.
.
.
.
(การตกแต่งประรำสำหรับประกอบพิธีบูชาในเทศกาลนวราตรีภายในวัดวิษณุ)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ทางวัดได้จัดสร้างเทวรูปพระเป็นเจ้าสำคัญขึ้น ๕ องค์ ได้แก่ พระคเณศ พระแม่ทุรคา พระแม่ลักษมี พระแม่สร้สวตี และพระขันธกุมาร โดยเทวรูปทั้งหมดสร้างจากวัสดุธรรมชาติเป็นหลัก และตกแต่งด้วยกระดาษสีและพัสตราภรณ์ที่งดงามตามฝีมือของประติมากรชาวอินเดีย
.
.
.
(ภาพเทวรูปพระเป็นเจ้าทั้งในการประกอบพิธีบูชาในเทศกาลนวราตรี)
.
.
.
(ตรีศักติ อันได้แก่ พระแม่ทุรคา พระแม่ลักษมี และพระแม่สรัสวตี
ซึ่งทั้งหมดถูกปิดตาไว้ด้วยผ้าขาวที่จะถูกเปิดออกในพิธีบูชาวันที่ ๒๖)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

เทวรูปแต่ละองค์ที่ทางวัดได้สร้างขึ้นสำหรับบูชานี้ ถือว่ามีความงดงามและถูกต้องตามเทวลักษณะ โดยแต่ละองค์ก็จะมีเทพพาหนะประจำอยู่ด้วย ได้แก่ สิงโตของพระแม่ทุรคา นกฮูกของพระแม่ลักษมี หงส์ของพระแม่สรัสวตี หนูขององค์พระคเณศ และนกยูงของพระขันธกุมาร
.
.
.
พระแม่ทุรคา ปางปราบมหิษาสูร (หรือปาง มหิงสาสุมรรษทินี)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
พระแม่ลักษมี
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
พระแม่สรัสวตี
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
พระคเณศ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
พระขันธกุมาร
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

บรรยากาศโดยรวมของสถานที่จัดพิธีบูชาเนื่องในเทศกาลนวราตรี ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๒ ของวัดวิษณุครับ
.
.
.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
.
ขอเรียนเชิญทุกท่านแวะไปสักการะพระเป็นเจ้าและร่วมในเทศกาลนวราตรีของวัดวิษณุได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ ๒๗ กันยายนนะครับ
และในวันที่ ๒๘ จะมีขบวนแห่อัญเชิญเทวรูปทั้งหมดไปลอยทะเลที่จังหวัดชลบุรีครับ
.
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

เพิ่งไปค้นเจอบทความเกี่ยวกับเทศกาลนวราตรีของวัดวิษณุที่เคยลงเผยแพร่ในวารสารเมืองโบราณ โดยคุณวิชญดา ทองแดง  จึงขออนุญานำมาลงประกอบในกระทู้นี้นะครับ เพราะผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

หมายเหตุ : บทความนี้ลงตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารเมืองโบราณ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ ฉะนั้นวันที่ปรากฏในบทความนี้จึงเป็นวันที่ของเมื่อปีที่แล้ว เพื่อกันความสับสนจึงขอเรียนชี้แจงไว้แต่เนิ่นๆครับ (แต่รายละเอียดและข้อมูลยังสามารถนำมาใช้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีการจัดพิธีบูชาเนื่อง
ในเทศกาลนวราตรีของวัดวิษณุได้อยู่เช่นเดิมครับ)


.
.
นวราตรี – ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ

เรื่อง: วิชญดา ทองแดง
ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์
.

* * * * * * * * * * *

.
[HIGHLIGHT=#00b0f0](เทวรูปพระแม่ทุรคา (ปางหนึ่งของพระอุมา) ในงานนวราตรี วัดวิษณุ)[/HIGHLIGHT]
.


ตามปฏิทินฮินดูในรอบปีมีเทศกาลงานสำคัญต่างๆ เริ่มจากขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ไปจนถึงแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ อยู่ ๓๖ งาน หากงานที่ชาวฮินดูในสยามประเทศเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกว้างขวางคืองานนวราตรี

งานนวราตรีจัดขึ้นปีละสองครั้ง คือในช่วงปีใหม่ (ขึ้น ๑ – ๙ ค่ำ เดือนห้า ) และในช่วงกลางปี (ขึ้น ๑ -๙ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด) เรียกว่า สรัททิยะนวราตรี (Shardiya Navaratri) ความเชื่อเก่าแก่ของชาวอินเดียนั้นถือกันว่าในหนึ่งปีประกอบไปด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว ฤดูกาลที่ผลัดเปลี่ยนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจมนุษย์ จึงเกิดการบวงสรวงเทพเจ้าผู้คุ้มครองเพื่อขอพลังแห่งชีวิต

ฮินดูในแดนไทย

ร่องรอยการนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูในดินแดนไทยนั้น ว่ากันว่าเก่าแก่มาแต่ครั้งพระโสณะและพระอุตตระเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิราวพุทธศตวรรษที่ ๓ มีคณะพราหมณ์ติดตามมาด้วย จารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึงพราหมณ์ในสมัยนั้นเช่นกัน ต่อเนื่องมาในสมัยอยุธยา พราหมณ์มีบทบาทสำคัญในราชสำนักสืบมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีกรมพิธีพราหมณ์ประกอบพิธีสำคัญแห่งแผ่นดิน ซึ่งต่อมาถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ ๗ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีพราหมณ์ประกอบพิธีราชสำนัก โดยมีพระครูวามเทพมุนีเป็นหัวหน้าพราหมณ์แห่งศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

หากแต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ที่คลี่คลายมาเป็นศาสนาฮินดูนั้น๑ ไม่ได้มีอยู่จำเพาะพราหมณ์ในราชสำนัก มีเรื่องเล่ากันมาว่า พ่อค้าประชาชนและคนทั่วไปที่นับถือศาสนาฮินดูกลุ่มแรกๆ เข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนไทยหลายร้อยปีแล้ว และคงเป็นกลุ่มที่นับถือเทพสตรีเป็นหลัก ด้วยเคยมีเรื่องเล่าถึงศาลไม้ใต้ต้นสะเดาอันเป็นที่ประทับของพระศรีมารีอัมมัน หรือพระอุมาเทวี ตั้งอยู่กลางไร่อ้อยที่กลายมาเป็นบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ต่อมากลุ่มพ่อค้าชาวฮินดูเห็นชอบให้ย้ายมาสร้างวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขก สีลม ในสมัยรัชกาลที่ ๕

ศรัทธาวัดแขกสีลมในระยะแรกมีชาวอินเดียมาจากหลายถิ่นหลายภาค กลุ่มใหญ่คือชาวทมิฬจากอินเดียใต้ เมื่อชาวภารตะมีจำนวนมากขึ้น กลุ่มชนทางเหนือโดยเฉพาะจากอุตตรประเทศจึงได้แยกไปตั้งสมาคมฮินดูธรรมสภา) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ และริเริ่มสร้างวัดวิษณุ ยานนาวาในปี พ.ศ. ๒๔๖๓

ปัจจุบันองค์กรพราหมณ์ - ฮินดูสำคัญในเมืองไทย มีอยู่ด้วยกัน ๓ แห่ง คือ สํานักพราหมณ์พระราชครู (เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า) สมาคมฮินดูสมาช (วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้า) และสมาคมฮินดูธรรมสภา (วัดวิษณุ ยานนาวา) โดยมีวัดพระศรีอุมาเทวี หรือวัดแขกสีลมขึ้นอยู่กับสมาคมฮินดูธรรมสภา
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

นวราตรี: พลังอำนาจแห่งอิสตรี


[HIGHLIGHT=#ffffff].[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#00b0f0]เทวรูปทั้งห้าบนปะรำพิธี ได้แก่ พระแม่ทุรคา (องค์กลาง) พระลักษมี (ซ้ายใน) พระสรัสวดี (ขวาใน) [/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#00b0f0]พระคเณศ (ซ้ายนอก) และพระขันทกุมาร (ขวานอก)[/HIGHLIGHT]


เทพเจ้าในศาสนาฮินดูมีอยู่เกินคณานับ คัมภีร์ปุราณะต่างฉบับอธิบายความเป็นมาและความสัมพันธ์แตกต่างกัน ส่งผลให้มีลัทธินิกายต่างๆ มายมายตามเทพเจ้าที่นับถือ นิกายใหญ่ๆ ได้แก่ไวษณพนิกาย บูชาพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นหลัก ไศวะนิกาย บูชาพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นมหาเทพ และนิกายศักติ ซึ่งยึดถือศักติ คือพระอุมา-ชายาพระศิวะ และเทพนารีทั้งปวงเป็นสรณะ

ณ แดนภารตะ การจัดงานนวราตรีมีหลายรูปแบบ กอปรด้วยรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันตามภูมิสถาน๒ บางแห่งรู้จักกันในชื่อเทศกาลดูเซร่า (Dussehra-ทศหรา?) หลายพื้นที่ในอินเดียภาคเหนือมักถือเทศกาลนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองวาระยิ่งใหญ่ที่พระรามได้ชัยชนะจากการปราบทศกัณฐ์ จึงมีการทำหุ่นขนาดใหญ่ของทศกัณฐ์พร้อมกุมภกรรณ (Kumbhakarna) น้องชาย และเมฆนาถ (Meghnadh - รณพักตร์หรืออินทรชิตในพากย์ไทย) ขึ้นมา ก่อนเผาไฟในวันที่สิบของเทศกาล เรียกชื่องานช่วงนี้ว่า “ทศหรา”๓ หรือวัน (พระราม) ชนะทศกัณฐ์ ส่วนทางภาคใต้ซึ่งเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์ ไม่มีประเพณีดังกล่าว เพราะเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์เฉลิมฉลองสิ่งอื่นแทน เช่นเทศกาลปงกัลของสังคมชาวนา หรือทุรคาบูชา เทศกาลเฉลิมฉลองการปราบมหิษาสูรของพระแม่ทุรคา ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยแห่งการเฉลิมฉลองต่างไปตามแต่ละถิ่น

หลายแห่งในรัฐทมิฬนาฑู อินเดียใต้กำหนดจัดงานนวราตรีเก้าวันเก้าคืน โดยแบ่งเป็นการบูชาเทพนารีสามองค์ คือ พระลักษมี พระสรัสวดี และพระอุมาเทวี องค์ละสามคืนไล่เรียงกันไป

อิทธิพลของเทศกาลนวราตรีที่ส่งมายังแดนไทย ถือเป็นช่วงที่พระแม่อุมาและขบวนเทพจะเสด็จมาสู่พื้นพิภพเพื่อประทานพรแก่ชาวโลก จึงมีการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีเก้าปางในเก้าคืน คือ

คืนแรก ปางไศลปุตรี ธิดาของหิมพาน ราชาแห่งภูเขา

คืนที่สอง ปางพรหมจาริณี พระแม่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และอยู่เป็นโสด

คืนที่สาม ปางจันทรฆัณฎา ทรงปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง

คืนที่สี่ ปางกูษามาณฑา ทรงปราบอสูร ด้วยอาวุธ (บ้างว่าเป็นปางทุรคา)

คืนที่ห้า ปางสกันทมาตา ทรงเลี้ยงพระขันทกุมาร โอรสผู้เกิดจากพระศิวะ

คืนที่หก ปางกาตยานี ทรงปราบอสูร (บ้างว่าทรงปราบมหิษาสูร)

คืนที่เจ็ด ปางกาลราตรี หรือกาลี ทรงเสวยเลือดอสูร

คืนที่แปด ปางมหาเคารี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์

คืนที่เก้า ปางสิทธิธาตรี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ

ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม ในช่วงนวราตรีเดือนสิบเอ็ดนั้นนอกจากงานบูชาในแต่ละคืนแล้ว สิ่งที่หลายคนรอคอย คือขบวนแห่เทพเจ้าในคืนที่สุดท้าย ขบวนแห่จะเริ่มเคลื่อนไปตามท้องถนนตั้งแต่ราวหนึ่งทุ่ม โดยมีพราหมณ์ประทับทรงพระแม่อุมาทูนหม้อกลศัม บรรจุทราย น้ำ เหรียญ และเครื่องบูชา นำขบวนแห่ออกไปยังท้องถนนในย่านใกล้เคียงเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้บูชาและเทพเจ้ารับของเซ่นไหว้จากโต๊ะบูชา

นอกจากนี้ยังมีร่างทรงเจ้าแม่กาลี ขันทกุมาร และขบวนราชรถ เมื่อร่างทรงแห่ผ่าน ผู้ศรัทธาจะทุ่มมะพร้าวลงพื้น บ้างว่าเพื่อชำระล้างให้พื้นธรณีเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ บ้างก็ว่ามะพร้าวนี้แทนหัวกะโหลกที่นำมาเซ่นสังเวยพระแม่


WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

เทศกาลนวราตรี – บูชาพระแม่ศรีอุมาเทวี ที่วัดวิษณุ


.
.
[HIGHLIGHT=#00b0f0]พิธีวันแรกของงานนวราตรี ณ วัดวิษณุ ยานนาวา เริ่มด้วยการบูชาพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ [/HIGHLIGHT]
.
.

ณ วัดวิษณุ ยานนาวา๔ ปี ๒๕๕๑ งานเทศกาลนวราตรี เพื่อบูชาองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ กันยายน - ๙ ตุลาคม เปิดให้ผู้ศรัทธาสักการะเทวรูปพระแม่และเทพเจ้าองค์อื่นๆได้ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๒๑.๓๐ น. เพื่อขอพรนำสิริมงคลมาสู่ตนและครอบครัวโดยไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา

ในเทศกาลนี้เน้นการรักษาศีล ทำกายใจให้บริสุทธิ์ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม ช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับเทศกาลถือศีลกินเจของชาวจีน จึงมีคนไทยเชื้อสายจีนมาร่วมงานด้วย

นายกฤษณะ ดั้ท อุปะเดีย นายกสมาคมฮินดูธรรมสภา – วัดวิษณุ ผู้เป็นแม่งานหลักในการเตรียมงานและจัดงานนี้ เล่าว่า เดิมวัดวิษณุมีพิธีนวราตรีมาเนิ่นนานแล้ว แต่ไม่ได้เป็นงานใหญ่ ด้วยใช้งบประมาณจัดงานแต่ละปีอยู่ในราว ๔ – ๕ หมื่นบาท จนเมื่อตนได้เข้ามาเป็นนายกฯ เมื่อราว ๓ – ๔ ปีก่อน จึงริเริ่มจัดงานนวราตรีให้ยิ่งใหญ่ขึ้น มีค่าใช้จ่ายอยู่ร่วมหก - เจ็ดหลัก ซึ่งล้วนแต่ได้รับบริจาคจากพ่อค้าและคหบดีชาวฮินดูเป็นส่วนใหญ่ ปีที่ผ่านๆ มาได้นำเทวรูปที่ปั้นจากอินเดียมาเป็นประธานในงาน แต่ในปีนี้นับเป็นครั้งแรกในดินแดนไทยที่มีการนำช่างฝีมือจากเมืองกัลกัตตาพร้อมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ไม้ไผ่ ฟาง ดิน ฯลฯ ที่มีน้ำหนักร่วม ๕๐๐ กิโลกรัมมาจากประเทศอินเดียตั้งแต่ราวกลางเดือนกันยายน เพื่อปั้นและประดับตกแต่งเทวรูปพระแม่ทุรคา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี พระคเณศ และพระขันทกุมาร ขึ้นประดิษฐานบนแท่นบูชาในปะรำพิธี โดยมีพระแม่ทุรคาเป็นเทวรูปประธาน
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

.
.
[HIGHLIGHT=#00b0f0]ต่อจากการบูชาพระคเณศ คือพิธีกลัศสถาปนา อัญเชิญเทพเจ้าทั้งปวงมาสถิตตลอดพิธี [/HIGHLIGHT]
.
พิธีบูชาในแต่ละวันจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๐ น. - ๒๑.๓๐ น. ในวันแรกจะเริ่มด้วยพิธีบูชาคณปติ (บูชาพระคเณศ) กลัศสถาปนา อัญเชิญเทพเจ้าต่างๆ มาร่วมงาน มีหม้อกลัศ ตั้งอยู่บริเวณหน้าเทวรูปของเทพทั้ง ๕ พระองค์ไปตลอดงาน ส่วนในวันต่อๆ ไปก็จะบูชาพระแม่ศรีมหาอุมาเทวีในปางต่างๆ ภาคค่ำมีการสวดและร้องเพลงสรรเสริญพระแม่โดยนักร้องจากอุตตรประเทศ ผู้กำลังโด่งดัง และในคืนวันที่ ๗ ตุลาคม จะร้องสวดภชัน (Bhajan) สรรเสริญเทพเจ้าตลอดคืนไปจนฟ้าสาง
.

.
.
[HIGHLIGHT=#00b0f0]พิธีบูชาประจำวันตลอดเก้าวันเริ่มตั้งแต่ราวสิบโมงเช้าถึงสามทุ่มครึ่ง ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา ของผู้มาร่วมงาน [/HIGHLIGHT]
.
วันที่ ๘ ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่เก้าของงาน ตอนสายมีพิธีบูชาไฟ ในศาลาโหมกูณฑ์ ข้างมหามณเฑียร
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ทุรคาบูชา

ชาวฮินดูเชื่อว่า การบูชาพระแม่ทุรคา –ปางหนึ่งของพระแม่อุมา- อย่างสม่ำเสมอ พระองค์จะประทานพรด้านความกล้าหาญ ชนะศัตรูรอบทิศ รวมถึงดลให้มีบริวารมาก มีความยุติธรรม ตลอดจนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด เป็นเทศกาลทุรคาบูชา ประเพณีอันเก่าแก่แห่งการนับถือเพศหญิงเป็นใหญ่ ถือเป็นวันบูชาพระอุมาเทวี ในปางทุรคาผู้ได้รับชัยชนะจากการปราบมหิษาสูร เชื่อว่าใครบูชาพระองค์ในวันนี้จะได้ชัยชนะตลอดปี แต่เดิมมาจึงเป็นที่นิยมบูชากันมากในหมู่นักรบและกษัตริย์

ประวัติความเป็นมาของพระแม่ทุรคานั้นมีความพิสดารแตกต่างกัน บางแห่งถึงขนาดมีชื่อเรียกต่างไป คัมภีร์วามนปุราณะกล่าวว่า อสูรตนหนึ่งนามว่า มหิษาสูร มีฤทธิ์มากจนไม่มีเทพยดาองค์ใดปราบลงได้ พระวิษณุจึงขอให้เทพทั้งหลายเปล่งแสงจากความโกรธ จนเกิดร่างนางกาตยานีมีสามเนตร สิบแปดกร มีพลังมหาศาล บรรดาเทพทั้งปวงต่างมอบศาสตราวุธให้เพื่อปราบอสูรร้ายตนนี้ นางกาตยานีทรงขี่สิงห์เข้าต่อสู้ด้วยอาวุธต่างๆ จนปราบมหิษาสูรลงได้สำเร็จ

.
.
.
[HIGHLIGHT=#00b0f0]ภาคเช้าในวันที่เก้าของงาน พิธีบูชาไฟในศาลาโหมกูณฑ์ มีขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล [/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffffff].[/HIGHLIGHT]
.
หลายสถานที่ทุรคาบูชาผนวกรวมหรืออยู่ในช่วงเดียวกับนวราตรี

ในรัฐเบงกอลตะวันตก อันมีกัลกัตตาเป็นเมืองหลวง เทศกาลทุรคาบูชาหรือดูเซร่าจัดขึ้นอย่างคึกคักเป็นประจำทุกปี มีการปั้นเทวรูปพระแม่ทุรคาตกแต่งประดับประดาอย่างงดงามตามจินตนาการขึ้นมานับหมื่นองค์ พิธีบูชาและภาคฉลองรื่นเริงจัดอย่างยิ่งใหญ่ราวสี่วันสี่คืน ก่อนอัญเชิญพระองค์ไปลอยทะเลส่งเสด็จสู่สวรรค์ในวันสุดท้าย ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นต้นแบบของงานทุรคาบูชาแห่งวัดวิษณุ

WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ลอยทะเล : ส่งเสด็จสู่สวรรค์ที่เกาะลอย

.
[HIGHLIGHT=#00b0f0]วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ขบวนอัญเชิญพระแม่เคลื่อนจากวัดวิษณุในตอนสาย แห่ไปยังวัดแขกสีลม ก่อนเคลื่อนต่อไปยังเกาะลอย [/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#00b0f0]อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี[/HIGHLIGHT]
.
หลังจากการบูชาตลอดเทศกาลนวราตรีผ่านพ้น จนเข้าสู่วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ( ๙ ตุลาคม ๒๕๕๑) วัดวิษณุได้อัญเชิญเทวรูปทั้งหมดขึ้นรถแห่ไปตามท้องถนนจนถึงหน้าวัดแขก สีลม เพื่อให้ศรัทธาวัดทั้งสองได้บูชาร่วมกัน จากนั้นเคลื่อนขบวนต่อไปเพื่อทำพิธีอัญเชิญพระแม่และเทพเจ้าทั้งหลายลอยทะเลกลับสู่สรวงสวรรค์ ณ บริเวณน่านน้ำหน้าเกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ขบวนรถบัสสาม-สี่คันแบ่งแยกชาย-หญิง ติดตามรถแห่เทพเจ้า ต่อด้วยรถยนต์ส่วนตัวอีกจำนวนหนึ่ง จอดลงที่ลานเกาะลอย ในมุมหนึ่งมีผู้ศรัทธาอัญเชิญเทวรูปเทพนารีต่างๆ มาเฝ้ารอต้อนรับ เรือโดยสารข้ามเกาะที่สั่งเตรียมไว้แปรสภาพเป็นศรัทธนาวาบรรทุกเทพเจ้าและมวลมนุษย์โลกมุ่งหน้าสู่ท้องทะเลกว้างไม่หวั่นสายฝนโปรยปราย

เทวรูปเทพเจ้าผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์มาหลายวันถูกยกลอยลงสู่พื้นน้ำเบื้องหน้าอย่างปรีดิ์เปรมที่ได้ส่งพระองค์กลับคืนสู่สวรรค์ ดิน ฟาง ไม้ไผ่ที่ประกอบขึ้นเป็นศูนย์รวมศรัทธา คงแปรสภาพย่อยสลายพร้อมเครื่องบูชาทั้งหลายที่ถูกปล่อยลอยไปในไม่ช้า ...สูงสุดคืนสู่สามัญคือหนทางของทุกสรรพสิ่ง หากแต่ช่วงเวลาเดียวกันนี้ในปีนี้ เทพเจ้าผู้เมตตามนุษย์โลกจะเสด็จกลับมาเยือนอีกครั้ง
.
.
ศรัทธาชนร่วมส่งพระแม่ทุรคาและเทพเจ้าทั้งปวงกลับคืนสู่สวรรคาลัย ผ่านห้วงสมุทร ณ ที่ซึ่งสรรพสิ่งกลับคืนสู่สามัญ
.
.
หมายเหตุ

ดูปฏิทินเทศกาลฮินดูประจำปีและรายละเอียดอื่นๆ ได้ที่ http://hinduism.about.com/od/festivalsholidays/a/hindu_calendar.htm

ขอบคุณ

คุณกฤษณะ ดั้ท อุปะเดีย ผศ.ดร.บำรุง คำเอก คุณศรัณย์ ทองปาน และคุณประเวช ตันตราภิรมย์

เชิงอรรถ

๑ ประวัติความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู มีผู้ศึกษาไว้มากมาย อาจดูได้จาก ประวัติและหลักธรรม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ฉบับ องค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
(กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา, ๒๕๒๕) พิมพ์เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในความอุปถัมภ์ของกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๒๕ หรือ บำรุง คำเอก, อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น : รายงานการวิจัย (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๕๐) ฯลฯ

๒ ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.festivalsofindia.in

๓ สัมภาษณ์ ผศ.ดร.บำรุง คำเอก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑.

๔ วัดวิษณุ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๕๐ ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ แต่มักเรียกกันว่า วัดวิษณุ ยานนาวา

๕ สัมภาษณ์, ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑

๖ ดูเพิ่มเติมได้ใน อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, ตรีมูรติ (กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ), ๒๕๕๑.
.
.
.
นาย"อักษรชนนี"ขอขอบพระคุณผู้เขียนบทความคุณวิชญดา ทองแดง
และภาพประกอบบทความโดย คุณประเวช ตันตราภิรมย์
ตลอดจน สำนักพิมพ์เมืองโบราณ ที่ได้เผยแพร่บทความดีๆเช่นนี้ด้วยนะครับ  
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พี่คิวคะ  เห็นเค้าลอยพระแม่ลงน้ำ แล้วเค้าเก็บขึ้นมามั้ยคะ เวลาเสร็จพิธี

ดูๆ ภาพแล้วรู้สึกยังไงไม่รู้  แต่ก็เข้าใจนะคะ ว่ามันเป็นพิธี
[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

น้องว่าจะไปถวายผ้า ให้พระแม่องค์นี้อยู่...

ซื้อผ้ามาแต่ไม่รู้จะถวายที่ไหนก็กะว่าที่นี้แหละ...

ปีที่แล้วก็ถวาย (ไม่เห็นห่มให้เยยย) Y_Y

สงสัยจังค่ะ  ทำไมจึงต้องใช้ผ้าปิดตาพระองค์ท่านด้วยอ่ะค่ะ??? สัยสัยจังหนิ๊ 
ความดีไม่ต้องทำให้ใครเห็น
ไม่ต้องบอกประกาศให้ใครรู้
นั่นสิน๊ะคือความดีที่แท้จริง

ตอบพี่กิม

เค้าไม่เก็บครับ ลอยไปเลย เป็นประเพณีของเค้า

[HIGHLIGHT=#ffff00]มนุษย์จงประพฤติตัวให้แตกต่างจากพราหมณ์ พิธีกรรมบางอย่างควรขึ้นอยู่กับพราหมณ์ส่วนเราซึ่งเป็นมนุษย์ ควรปฎิบัติตัวให้เหมาะสม มีขอบเขตและไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของพราหมณ์ [/HIGHLIGHT]

เราก็อยากทราบเหมือนกันค่ะ
ว่าทำไมต้องใช้ผ้าปิดตาพระแม่ด้วยค่ะ
รอคำตอบด้วยคนค่ะ
โอมเจมาตากาลี

อันนี้ขอตอบเท่าที่ทราบจากการสอบถามขอความรู้จากผู้รู้หลายๆท่านมาอีกทีนะครับ

เรื่องที่ว่าทำไมต้องปิดตาพระแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระแม่ทุรคานั้น บางท่านก็ให้เหตุผลว่า เนื่องจากตามตำนานพระแม่ในปางนี้หลังจากทรงมีชัยชนะจากการปราบอสูรแล้ว อารมณ์ของพระองค์ก็ยังคงมีความรุนแรงและดุร้ายอยู่ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปิดตาพระองค์เพื่อให้อารมณ์ของพระองค์สงบและเย็นลง แล้วจึงค่อยเปิดตาออกเพื่อประกอบพิธีบูชาได้ครับ

ส่วนบางท่านก็ให้เหตุผลอีกอย่างว่า ที่ต้องปิดตาเทวรูปไว้ก่อนนั้น เนื่องจากเทวรูปยังไม่ได้ประกอบพิธีสถาปนา ปราณประติษฐาที่สมบูรณ์ ฉะนั้นจึงเอาผ้าปิดพระเนตรไว้ก่อน รอจนเมื่อประกอบพิธีสถาปนา ปราณประติษฐาที่สมบูรณ์แล้วจึงเปิดตาออกทำพิธีบูชาได้ครับ

ส่วนเหตุผลอื่นๆคงต้องรอผู้รู้ท่านอื่นๆมาช่วยกันไขข้องกันอีกครั้งครับ

สำหรับผมก็ทีเท่านี้ขอรับกระผม อิอิอิอิ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบคุนเจ๊าค่ะสำหรับความรู้
ความดีไม่ต้องทำให้ใครเห็น
ไม่ต้องบอกประกาศให้ใครรู้
นั่นสิน๊ะคือความดีที่แท้จริง

สงสัยเหมือนกันค่ะว่าถ้าเอาพระแม่ลอยน้ำแล้วไม่เก็บขึ้นมาแสดงว่าต้องสร้างองค์ใหม่ทุกปีใช่หรือเปล่า
เพราะไปวัดวิษณุวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมาเห็นกำลังปั้นรูปหุ่นแต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร

Quote from: nhoy on September 22, 2009, 12:36:43
สงสัยเหมือนกันค่ะว่าถ้าเอาพระแม่ลอยน้ำแล้วไม่เก็บขึ้นมาแสดงว่าต้องสร้างองค์ใหม่ทุกปีใช่หรือเปล่า
เพราะไปวัดวิษณุวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมาเห็นกำลังปั้นรูปหุ่นแต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร

ใช่ครับ สร้างใหม่ทุกปี ไม่มีการเก็บของเดิมขึ้นมาบูชาใหม่ครับ

ส่วนที่คุณเห็นว่าช่างกำลังขึ้นหุ่นอะไรนั้น ก็คือเทวรูปที่ใช้บูชาในงานนวราตรีทั้งห้าองค์นี่แหล่ะครับ

แต่การปั้นเทวรูปสำหรับบูชาของที่นี้ก็จะยังคงใช้ปางและรูปลักษณ์เหมือนกันทุกปีครับ

จึงอาจทำให้บางท่านเข้าใจว่าทางวัดใช้ของเดิมจากเมื่อปีที่แล้วหรือเปล่า ซึ่งในความเป็นจริงก็คือของที่สร้างขึ้นมาใหม่ครับ

WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

นำภาพของเมื่อปีที่แล้วมาเทียบให้ดูกับของปีนี้ด้วยครับ จะสังเกตว่าลักษณะและรายละเอียดของเทวรูปนั้นคล้ายกันกับของปีนี้มากๆ

.
เทวรูปในงานนวราตรีปี ๒๕๕๑
.
.
.
เทวรูปในงานนวราตรีปี ๒๕๕๒
.
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

เอาไว้ถ้าทางวัดนำผ้าที่ปิดตาเทวรูปพระแม่ทั้งสามออกเมื่อไหร่ ผมจะนำภาพมาให้ชมกันอีกครั้ง

จะได้ชื่นชมและสัมผัสความงามของเทวรูปกันได้อย่างเต็มที่ครับผม
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

อันนี้ถามเพื่อนมา แหะๆๆ ใช้ให้เป็นประโยชน์

** เค้าบอกว่าปกติ เค้าจะลอยมูรติของเทพเจ้าลงในแม่น้ำคงคา ซึ่งถือว่าเป็นแม่น้ำที่ชาวฮินดูเชื่อว่าไหลลงมาจากสวรรค์ ซึ่งถือว่าใน 1 ปี พระเป็นเจ้าจะลงมายังพื้นพิภพ เพื่อโปรดมนุษย์ปีละ 1 ครั้งครับ และเมื่อเราบูชาเสร็จแล้ว เราก็ควรจะส่งพระองค์กลับสู่สวรรค์โดยส่งไปกับน้ำซึ่งจะนำพาพระองค์กลับคืนสู่สวรรค์ครับ **

** อีกความเชื่อ เชื่อกันว่า ผู้คนมากมาย มาขอโน่นขอนี่มากมาย นำความทุกข์ใจทั้งหลาย มาวิงวอนต่อมูรติของเทพเจ้า เช่น ลูกไม่สบาย ขอให้หายไวๆ หรือ ตอนนี้อัดคัดขัดสน อยากมีเงินมีทองใช้ จึงเชื่อว่ามูรติทั้งหลายแบกรับความทุกร้อนของมนุษย์ไว้ เมื่อเสร็จบูชานำมูรติของพระองค์ไปลอยน้ำ เหมือนกับการชำระล้างทุกโศก ขจัดทุกข์ทั้งหลายของผู้บูชาให้หมดไป ลอยความทุกข์ของมนุษย์ทั้งหลายไปกับน้ำ เหลือไว้แต่เพียงความสุขความเจริญแก่มนุษย์ผู้บูชาครับ **

** อีกความเชื่อ อาจมองในแง่วิชาการนิดนึง คือ เค้าเชื่อว่า ทุกอย่าง มีจุดกำเนิดและแตกดับหรือสูญสลายครับ เมื่อบูชาเสร็จก็จะส่งดินคืนดิน น้ำคืนน้ำ ธรรมชาติคืนสู่ธรรมชาติครับ ดังนั้นสิ่งที่นำมาปั้นเป็นมูรติจึงใช้วัสดุธรรมชาติทั้งหมดครับ **

ขอบคุณค้า สำหรับคำตอบ  แต่ก็นะ ไม่มีการเก็บ

แล้ววัสดุที่ใช้ทำนี่ย่อยสลายตามธรรมชาติใช่มั้ยคะ

[HIGHLIGHT=#92d050]เมตตามหานิยม อยู่ที่...คุณธรรม[/HIGHLIGHT]

ภาพสวยงามมากๆค่ะ เห็นแล้วก็เสียดายเนอะ
สวยๆทุกองค์เลย
กราบขอบพระคุณที่นำสิ่งดีๆมาให้ชมค่ะ

น่าน สิ แต่ละองค์ ปั้นได้งดงาม เหมือนมีชีวิต...แล้วอย่างนี้ถ้าคนไม่รู้เก็บไปบูชา จะเป็นไรมั้ยค่ะ
...ถามไปงั้น...เพื่อจะไปเก็บ..อิอิ