Loader

ย้อนความเป็นไทยกับศิลปลายไทย

Started by phorn456, May 03, 2010, 16:28:14

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

ย้อนความเป็นไทยกับศิลปลายไทย


ชุดที่๑






















ขอร่วมสนุกด้วยนะคะ คุณ Phorn456
ในฐานะที่เราต่างก็คอเดียวกัน

อันแรกขอแนะนำ สุดยอดแห่งลายรดน้ำของไทยค่ะ ตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย ได้รับการขนานนามว่าลายรดน้ำบนตู้นี้งามหาที่ใดเปรียบมิได้ กนกเปลวเพลิงที่พลุ่งเหมือนหมู่เพลิงโหม สิงสาราสัตว์ที่ดุจดังมีชีวิตและลายละเอียดที่สุดยอดของการผูกลาย

ในด้านสุนทรียศาสตร์ว่ากันว่านี่คือศิลปะโรโกโกของสยามค่ะ คือลายละเอียดมากจนไม่มีที่ว่าง





   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

อันที่สองคือ พระพุทธรูปที่ได้รับการยอมรับว่างามที่สุดองค์หนึ่งของไทย

พระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ด้วยความลงตัวของเส้นนอกของพระพุธรูปที่ล้อมรัอบด้วยเรือนแก้ว (ซึ่งสร้างคนละสมัยกัน)

เรือนแก้วสลักจากไม้ชิ้นนี้มีลวดลายแบบอยุธยาตอนต้นค่อนมาตอนกลางที่ละเอียดงดงามหาที่เปรียบไม่ได้เลยค่ะ



คำถามคือ พระพุทธชินราชที่วัดเบญจฯนั้น รัชกาลที่ 5 ดปรดให้พระประสิทธิปฏิมาหล่อจำลองแบบมาจากพิษณุโลก แต่พระทั้งสององค์นี้ต่างกันอยู่สามจุด ตรงไหนบ้าง ใครตอบได้มีรางวัลค่ะ


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


Quote from: สิรวีย์ on May 03, 2010, 16:50:17
อันที่สองคือ พระพุทธรูปที่ได้รับการยอมรับว่างามที่สุดองค์หนึ่งของไทย

พระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ด้วยความลงตัวของเส้นนอกของพระพุธรูปที่ล้อมรัอบด้วยเรือนแก้ว (ซึ่งสร้างคนละสมัยกัน)

เรือนแก้วสลักจากไม้ชิ้นนี้มีลวดลายแบบอยุธยาตอนต้นค่อนมาตอนกลางที่ละเอียดงดงามหาที่เปรียบไม่ได้เลยค่ะ



คำถามคือ พระพุทธชินราชที่วัดเบญจฯนั้น รัชกาลที่ 5 ดปรดให้พระประสิทธิปฏิมาหล่อจำลองแบบมาจากพิษณุโลก แต่พระทั้งสององค์นี้ต่างกันอยู่สามจุด ตรงไหนบ้าง ใครตอบได้มีรางวัลค่ะ




จากที่เคยไปสักการะองค์พระทั้งสองแห่งมาแล้ว ยังไงก็ขออนุญาตลองเดาดูนะครับ เหอๆๆ

๑. ที่พระนลาฏของพระพุทธชินราชที่วัดเบญจฯไม่มีอุณาโลม

๒. ด้านหน้าฐานของพระพุทธชินราชที่วัดเบญจฯมีตราพระเกี้ยวประดิษฐานอยู่ด้วย

๓. ที่สองข้างฐานขององค์พระพุทธชินราช วัดเบญจฯ นอกจากจะมีประติมากรรมรูปยักษ์แบกซุ้มเรือนแก้วแล้ว ยังมีสิงห์ตั้งไว้ที่ทั้งสองข้างของฐานองค์พระด้วย
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

อยากได้ของรางวัลแต่ตอบไม่ได้ครับ  

ผมก็ไม่ใช่คนรู้เรื่องศิลปะเท่าไรนัก

อย่างนี้ต้องหาข้อมูลแล้วครับ



แต่ชื่นชมศิลปะไทยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


ชอบที่สุดเลย

ทราบแล้วครับ ตามที่คุณ  อักษรชนนี   บอกทุกประการเลยครับ 


ส่วนตัวผมว่าองค์จริงงดงามที่สุดครับ


เเค่เห็นก็หิวเเล้ว

  แอบกิน
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้

สวัสดีครับชาว HM ทุกๆท่าน

ขอตอบคำถามของคุณ phorn456 ดังนี้ครับ

หากดูจากรูปของพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์แล้วผมพบจุดที่แตกต่างอยู่ 3 จุดคือ

1. ผ้าเบี่ยง  องค์ที่ 1 มีผ้าเบี่ยง แต่องค์ที่ 2 นั้นไม่มีผ้าเบียง (ผ้าเบียง = ผ้าที่คลุมองค์พระเฉียงจากไหลซ้ายลงมาที่เอวด้าขวา หากใช้คำศัพท์ไม่ถูกก็ขออภัยด้วยครับ)

2. หน้าผาก  องค์ที่ 1 ที่ตรงกลางหน้าผากมีเหมือน จุด หรือ พระเนตร อยู่แต่องค์ที่ 2 นั้นไม่มีหน้าผากเรียบปรกติ

3. ปลายเท้าซ้ายและเข่าขวาพร้อมทั้งท่อนขาขวา  องค์ที่ 1 นั้นปลายเท้าซ้ายกับเข่าขวาในตำแหน่งที่นิ้วทั้ง 4 เรียงชิดและชี้ลง บริเวณนี้จะหล่อองค์พระไม่เต็มจะสังเกตได้ว่ามีเงาเกิดขึ้นที่บริเวณนี้ แต่องค์ที่ 2 นั้นในตำแหน่งที่นิ้วทั้ง 4 เรียงชิดและชี้ลง บริเวณนี้จะหล่อองค์พระเต็มจะสังเกตได้ว่าไม่มีเงาเกิดขึ้นที่บริเวณนี้

ทั้งหมดนี้ผมตอบจากการสั่งเกตจากรูปภาพเท่านั้นครับ ผิดพลาดประการใดก็ขอคำแนะนำด้วยครับ

pvsnak-(jo)

ขอบพระคุณคุณอักษรชนนีและคุณ pvsnak ค่ะ ที่กรุณาร่วมสนุกด้วยกัน (ในกระทู้ของคนอื่น - ขอประทานโทษคุณ phorn456 ด้วยนะคะที่มาทำเลอะเทอะในนี้)

ขออนุญาตเฉลยนะคะ (นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เคยเม้าท์ในบอร์ดนี้เรื่องการจำลองนะคะ ไม่ทราบว่าเป็นพระราชนิยมหรือช่างทำเองกันแน่)

1. อุณาโลมระหว่างพระขนงค่ะ ที่พิษณุโลกมี แต่ที่กรุงเทพไม่มี

2. เรือนแก้ว ต่างกันสองจุดค่ะ คือ
           2.1. วัสดุ ที่กรุงเทพเป็นสำริดเช่นเดียวกับองคืพระ เพราะสร้างพร้อมกัน แต่ที่พิษณุโลกองคืพระทำจากสำริด เรือนแก้วทำจากไม้
                  แกะสลักลงรักปิดทองค่ะ เรือนแก้วนี้สมเด็จพระชัยราชาทรงสร้างถวายเมื่อเสด็จไปนมัสการ เป็นลายพุดตายใบเทศในซุ้มแบบที่เรียกในภาษาช่างว่า ซุ้มขนนก ทีบริเวณใกล้กับพระพาหา (ไหล่) ขององค์พระสลักเป็นลายมกรคายลายพันธุ์พฤกษาอย่างเทศ งามละเอียดมากค่ะ
           2.2. ฐานเรือนแก้ว ที่กรุงเทพเป็นสิงห์แบกค่ะ สิงห์นี้เป็นสิงห์แบบนครวัดซึ่งถ่ายแบบมาบันไดทางขึ้นพระอุโบสถวัดพระแก้ว
                  สิงห์แบบเดียวกันนี้ยังหล่อปูนแล้วตั้งไว้ด้านหลังพระอุโบสถด้วยค่ะ ส่วนที่พิษณุโลกเป็นพญายักษ์สองตนคือ
                  อาฬวกยักษ์ ซึ่งฤทธิ์อยู่ที่ผ้าโพกศรีษะ จึงเอามือจับศรีษะไว้อยู่ด้านขวาขององคืพระ และ
                  ท้าวเวสสุวรรณ ผู้มีฤทธิ์ที่ตะบอง จึงเอามือกุมตะบองไว้ อยู่ทางด้านซ้าย

3. พระบาทและฐานบัวขององค์พระ ที่พิษณุโลกช่างจะแกะให้เห็นร่องลึกลายละเอียด ส่วนที่กรุงเทพจะหล่อจนตันไปหมด

พระพุทธชินราชนี้แต่แรกเป็นเพียงพระปางมารวัชยดุจเดียวกับ 'น้องทั้งสอง' ของพระองค์ คือ พระชินสีห์และพระศาสดา แต่มาหล่อเรือนแก้วเต้มทีหลังจึงเพิ่ม Perspective ให้เราเห็นเส้นนอกของพระชัดเจนขึ้น ขับให้ดูงามหมดจด ทั้งองคืพระพุทธรูปมีแต่เส้นโค้งอ่อนช้อย ยกเว้นจุดเดียวที่เป็นเส้นเกือบตรงคือบริเวณฐานบัวติดกับพระบาทและพระเพลา คือโค้งน้อยมากจนเกือบตรงแต่ไม่ตรง แต่ฐานบัวทั้งชุดก็ยังโค้งแอ่นอยู่ เพราะช่างต้องการให้พระดูหนักแน่น ในขระที่พระประสิทธิปฏิมาปั้นจำลองมาที่กรุงเทพให้เป็นเส้นตรง แม้แต่ฐานก็ตรงแหน่ว ตันและทึบทำให้พระชินราชองค์นี้ดู หนาหนักกว่าต้นแบบ

ดิฉันมีพระชินราชองค์เล็กๆรอมอบให้คุณทั้งสอง เป็นมิตรพลีที่ได้ร่วมสนุกกันค่ะ เมื่อใดพบกันจะนำไปมอบให้

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบคุณนะค่ะ พี่สิรวีย์ ที่มาช่วยสร้างสีสันที่ดี และเป็นความรู้ ถ้าเราเอา ฉากด้านหลังของพระพุทธชินราช ไปไว้เป็นฉากด้านหลังของพระพุทธชินราชวัดเบญจ คงจะดูไม่ออกว่าเป็นองค์ไหน