Loader

ธนบัตรไทยในอดีต

Started by phorn456, April 29, 2010, 22:22:02

Previous topic - Next topic

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.



ธนบัตรไทยในอดีต

กระทู้นี้หากทางเวปมาสเตอร์มิเห็นสมควรลบได้เลยนะค่ะ
[/COLOR]






























































หาดูยากจริงๆ  เพิ่งเคยเห็นนะคะเนี่ย

ขอบคุณคะ  คุณฝน
เสียหายไม่ว่า  แต่เสียหน้าไม่ได้


เห็นด้วยกับน้องเสือ เรยครัีบผม หุหุ

หาดูยากมาก ไปหามาจากไหนเนี้ยะ สุขาวดี นับถือ

แต่สุขาวดี เกิดทัน ใช้แบงค์ 10 นะ อิอิอิอิอิ แล้วก็เกิดทัน ใช้ เหรียญบาท ใหญ่ๆ อ่ะ

ขอบคุณเจ้าของกระทู้จ๊ะ

สวยงามครับคุณ ไม่ลบครับผม

แถมจะติดหมุดให้ด้วย  "รักพ่อครับ"

ขอบพระคุณสำหรับกระทู้ดีดีที่ทำให้นึกถึงอะไรหลายๆอย่าง

นึกถึงอดีต

นึกถึงความยากลำบากให้การหาธนบัตรแต่ละใบมาเป้ฯของเราเอง (อิอิ)

และนึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงพระเจริญ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ขอบคุณนะค่ะพี่เวปมาสเตอร์ที่ไม่ลบกระทู้นี้ แถมมีโบนัสให้อีก แต่ดิฉันก็ดีใจนะค่ะ ที่เอา เงินๆๆๆๆๆๆ มามอบให้พี่ๆ เพื่อนๆ เก็บใส่กระเป๋าตังได้เลบค่ะ รวยแล้วเรา



     แบบที่ 1

    เป็นธนบัตรที่ พิมพ์ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จึงเรียกว่า ธนบัตรหน้าเดียว มี ๗ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ที่บริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด (THOMAS DE LA RUE & COMPANY LIMITED) ประเทศอังกฤษ เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๔๕ ในรัชกาล
ที่ ๕ จนถึงรัชกาลที่ ๖



















April 30, 2010, 22:47:10 #8 Last Edit: April 30, 2010, 22:51:51 by phorn456
  แบบที่2

เป็นธนบัตรที่พิมพ์ทั้งสองด้าน ด้านหน้าเป็นภาพลายเฟื่องประกอบรัศมี ๑๒ แฉก ด้านหลังเป็นภาพพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงเรียกกันว่า ธนบัตร
แบบไถนา ธนบัตรแบบ ๒ มี ๒ รุ่น ๖ ชนิดราคา ได้แก่  ๑ บาท ๕  บาท ๑๐  บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท  และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ที่ บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลที่ ๗


ธนบัตรแบบ ๒  รุ่นหนึ่ง พิมพ์ข้อความว่า "สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" ที่ด้านหน้าของธนบัตรทุกชนิดราคา



   ธนบัตรแบบ ๒ รุ่นสอง เปลี่ยนข้อความเป็น "ธนบัตร์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย"



















แบบที่3 

เป็นธนบัตรแบบแรกที่เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยเป็นภาพ ประธานบนด้านหน้า โดยมีภาพอันแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีและสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนทัศนียภาพต่าง ๆ เป็นภาพประกอบ ส่วนด้านหลังเป็นภาพวัดพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และมีการพิมพ์ข้อความแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรเป็นครั้งแรก มี ๔ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท  ๑๐ บาท  และ ๒๐ บาท พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  เริ่มทยอยออกใช้ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๗ ในรัชกาลที่ ๗ จนถึงรัชกาลที่ ๘ 

       รุ่นหนึ่ง (พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ ๗)












รุ่นสอง (พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ ๘)







[/I][/U][/COLOR]

April 30, 2010, 23:19:40 #10 Last Edit: April 30, 2010, 23:36:21 by phorn456

ธนบัตรแบบ ๔ (กรมแผนที่)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ขยายตัวมายังทวีปเอเชียจนกลายเป็นสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยญี่ปุ่นได้ยกกองทัพเข้ามาในประเทศไทยเพื่ออาศัยเป็นฐานทัพในการสู้รบและ ยึดครองประเทศข้างเคียงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศคู่สงคราม ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะจำยอมต้องทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น  และ ถูกยื่นข้อเสนอให้จัดตั้งธนาคารกลางโดยให้มีที่ปรึกษาและหัวหน้าหน่วยงาน


ต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น  ดังนั้น เพื่อรักษาอิสรภาพและเสถียรภาพทางการเงินของประเทศมิให้ญี่ปุ่นเข้ามามี อำนาจควบคุมระบบการเงินของไทย  รัฐบาลในขณะนั้นจึงเร่งจัดตั้ง ธนาคารกลางอย่างรีบด่วน โดยสภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นทำหน้าที่รับมอบการออกธนบัตรจากกระทรวง การคลัง และประกอบธุรกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลาง


จากการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ทำให้การสั่งพิมพ์ธนบัตรจากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ ไม่สามารถกระทำได้  รัฐบาลไทยจึงขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นช่วยพิมพ์ ธนบัตรให้ (ธนบัตรแบบ ๕)  แต่เมื่อสงครามทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลเห็นว่าสถานการณ์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจนัก ถึงแม้จะได้สั่งพิมพ์ธนบัตรจากประเทศญี่ปุ่นแล้วก็ตาม หากญี่ปุ่นไม่สามารถขนส่งธนบัตรมาได้  ก็จะทำให้ประเทศไทยขาด แคลนธนบัตรอย่างยิ่ง รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เอง โดยใช้วัตถุดิบที่พึงหาได้ภายในประเทศ และมอบหมายให้ กรมแผนที่ทหารบก กรมอุทกศาสตร์ และโรงพิมพ์ของเอกชนบางแห่ง เป็นผู้จัดพิมพ์ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากพนักงานของธนาคารแห่ง ประเทศไทย แม้ว่าธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นใช้เองนี้จะมีคุณภาพต่ำ แต่ก็สามารถช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนธนบัตรได้ตลอดช่วงสงคราม ธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นใช้เองในช่วงสงคราม ได้แก่ ธนบัตรแบบ ๔ (กรมแผนที่)  ธนบัตรแบบ ๖ ธนบัตรแบบ ๗ และธนบัตรแบบพิเศษ



ทหารญี่ปุ่นขณะเดินทัพไปยังมลายู


โรงงานกระดาษ จังหวัดกาญจนบุรี


การลงนามกติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างไทย-ญี่ปุ่น




















           ธนบัตรแบบ ๔ ซึ่งพิมพ์จากกรมแผนที่ทหารบก มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ ที่พิมพ์จากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด
แต่ ได้พิมพ์คำว่า "กรมแผนที่" ไว้ที่ขอบล่างของธนบัตรทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษไทย จังหวัดกาญจนบุรี
มี ๔ ชนิดราคา ได้แก่  ๑ บาท  ๑๐ บาท  ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕


ธนบัตรแบบ ๕


      ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน โดยมีลายเฟื่อง อุโบสถและวิหารวัดภูมินทร์
พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิต วนาราม ประตูซุ้มยอดมงกุฎวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม และพระที่นั่งจักรี
มหาปราสาทกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นภาพประกอบของแต่ละชนิดราคา ส่วนด้านหลังเป็นภาพพระบรมมหาราชวัง ด้านวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มี ๗ ชนิดราคา
ได้แก่ ๕๐ สตางค์  ๑ บาท  ๕ บาท  ๑๐ บาท  ๒๐ บาท  ๑๐๐ บาท  และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ที่โรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง ประเทศญี่ปุ่น เริ่มทยอยออกใช้เมื่อ
พุทธศักราช ๒๔๘๕
[/I][/B][/COLOR]

























แบบที่6
พิมพ์ที่ กรมแผนที่ทหารบกและกรมอุทกศาสตร์ มี ๒ ชนิดราคา ได้แก่ ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท โดยชนิดราคา ๒๐ บาท มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ ซึ่งพิมพ์จากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  ส่วนชนิดราคา ๑๐๐ บาท มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ ซึ่งพิมพ์จากกรมแผนที่ทหารบก ใช้กระดาษที่ผลิตจากโรงงานกระดาษไทย จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘






ธนบัตรแบบพิเศษ

พิมพ์ที่ กรมแผนที่ทหารบกและกรมอุทกศาสตร์ มี ๒ ชนิดราคา ได้แก่ ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท โดยชนิดราคา ๒๐ บาท มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ ซึ่งพิมพ์จากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  ส่วนชนิดราคา ๑๐๐ บาท มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ ซึ่งพิมพ์จากกรมแผนที่ทหารบก ใช้กระดาษที่ผลิตจากโรงงานกระดาษไทย จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘




พิมพ์ที่ประเทศอินโดนิเซีย ออกใช้ พ.ศ. ๒๔๘๖






พิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก ออกใช้ พ.ศ. ๒๔๘๘




พิมพ์ที่ประเทศอังกฤษ ออกใช้ พ.ศ. ๒๔๘๙

[img http://]


พิมพ์ที่ประเทศอังกฤษ ออกใช้ พ.ศ. ๒๔๘๙



[/COLOR]
[/COLOR]
พิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก ออกใช้ พ.ศ. ๒๔๘๖


มาเก็บเงินใส่กระเป๋าครับผม หุหุหุ

ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับผม มีข้อมูลมาอัพเดท บ่อยๆ ดีจังเป้นกำลังใจให้ครับผม

ธนบัตรแบบ ๗
พิมพ์ที่โรงพิมพ์เอกชนหลายแห่งที่มีผลงานอยู่ในระดับมาตรฐานขณะนั้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการพิมพ์อย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากพิมพ์ขึ้นใช้ในช่วงปลายสงครามซึ่งกระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่ อย่างจำกัด คุณภาพและสีของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร มี ๔ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท  ๕ บาท  ๑๐ บาท  และ ๕๐ บาท  เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘














ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรแบบ ๘
   เมื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพายุติลงในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ รัฐบาลไทยได้ติดต่อสั่งพิมพ์ธนบัตรไปยังบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  อีก ครั้ง แต่เนื่องจากโรงพิมพ์ของบริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหายจากภัยสงครามไม่ สามารถดำเนินงานได้ รัฐบาลไทยจึงติดต่อให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์ธนบัตรให้ชั่วคราว  โดย โรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง (Bureau of  Engraving and Printing, Treasury Department) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ทำแม่แบบแม่พิมพ์ธนบัตร และว่าจ้างให้บริษัท ทิวดอร์ เพรส จำกัด (Tudor Press Inc.) เป็นผู้พิมพ์

          ด้าน หน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อ ทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน  และภาพพระปฐมเจดีย์เป็นภาพประกอบของแต่ละชนิดราคา ส่วนด้านหลังเป็นภาพรัฐธรรมนูญประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องจากธนบัตรแบบแปดสั่งพิมพ์ในรัชกาลที่ ๘ แต่ส่งเข้ามาถึงประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๘๙ ซึ่งขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว





















ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย

May 01, 2010, 11:52:33 #17 Last Edit: May 02, 2010, 10:31:37 by phorn456
ธนบัตรแบบ ๙
มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔  แต่เปลี่ยนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มี ๖ ชนิดราคา  ได้แก่ ๕๐ สตางค์ ๑ บาท  ๕ บาท ๑๐ บาท  ๒๐ บาท  และ ๑๐๐ บาท พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๑  และ ด้วยเหตุที่ธนบัตรแบบเก้า มีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า ๒๐ ปี ประชาชนจึงคุ้นเคยกับสีของธนบัตรแต่ละชนิดราคาจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สีของธนบัตรแบบเก้า เป็นต้นแบบของการกำหนดสีของธนบัตรในปัจจุบัน





















ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรแบบ ๑๐

ด้วยเหตุที่ธนบัตรแบบ ๙ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท ออกใช้ติดต่อกันนานกว่า ๒๐ ปี และพิมพ์ด้วยการพิมพ์เส้นนูนสีแดงเพียงสีเดียว จึงมีการปลอมแปลงมาก รัฐบาลจึงได้เปลี่ยนแบบธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาทใหม่ โดยด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดชเป็นภาพประธาน ส่วนด้านหลังเป็นภาพเรือสุพรรณหงส์ และกำหนดให้พิมพ์สอดสีหลายสีและพิมพ์เส้นนูนสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสี ธนบัตรแบบสิบมีเพียงชนิดราคาเดียว พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑



ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย

May 01, 2010, 12:04:38 #19 Last Edit: May 02, 2010, 10:35:07 by phorn456
ธนบัตรแบบ ๑๑
       เป็นธนบัตรที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากขึ้น ด้วยการนำลายไทย สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นเป็นศิลปะประจำชาติมาเป็น
องค์ประกอบ สำคัญของธนบัตร นอกจากนี้ ยังมีลักษณะสำคัญคือ ภาพประกอบด้านหน้ามีความสัมพันธ์กับภาพประธานด้านหลัง ธนบัตรแบบสิบเอ็ด
มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๕๐๐ บาท







ภาพประธาน ด้านหน้า   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรง เครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง   พระ ที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ขนาด   ๖.๗๕ x ๑๓.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๒
จ่ายแลก   วัน ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒



ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรง ฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง   พระ อุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ขนาด   ๗.๐๐ x ๑๓.๕๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๒
จ่ายแลก   วัน ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒



ภาพประธาน ด้านหน้า   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรง เครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง   เรือ พระที่นั่งอนันตนาคราช
ขนาด   ๗.๒๕ x ๑๔.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๑๔
จ่ายแลก   วัน ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔


ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรง ฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง   วัด พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
ขนาด   ๗.๗๕ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๕
จ่ายแลก   วัน ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๕

ภาพประธาน ด้านหน้า   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรง เครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง   พระ ปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ขนาด   ๘.๒๕ x ๑๖.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออก ใช้   ลง วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘
จ่ายแลก   วัน ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๘

ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรแบบ ๑๓
    มีจุดมุ่ง หมายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จึงนำภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่สำคัญ ๆ นับแต่แรกสถาปนากรุงเทพมหานครป็นเมืองหลวง และการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเป็นภาพประธานด้านหลัง มี ๒ ชนิดราคา ได้แก่ ๕๐ บาท และ ๕๐๐ บาท      
ภาพประธานด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรง เครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธาน ด้านหลัง   พระ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารรัฐสภา และพระที่นั่งอนันตสมาคม
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๔.๔๐ เซนติเมตร
วันประกาศ ออกใช้   ลง วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๒๘
จ่ายแลก   วัน ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๘




ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิส ลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธาน ด้านหลัง   พระ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง
ขนาด   ๘.๐๐ x ๑๖.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออก ใช้   ลง วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๓๐
จ่ายแลก   วัน ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๐





ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย


ธนบัตรแบบ ๑๔

        มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ แห่งพระราชวงศ์จักรี ที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ มี ๓ ชนิดราคา ได้แก่ ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท      


ภาพประธานด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธาน ด้านหลัง   พระบรมราชานุสาวรีย์พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออก ใช้   ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๓๗
จ่ายแลก   วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๗
 
ภาพประธานด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่องแบบจอมทัพ 
ภาพประธาน ด้านหลัง   พระบรมราชานุสาวรีย์พระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ วัดอัมพวันเจติยาราม  จ.สมุทรสงคราม
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๕.๖๐ เซนติเมตร
วันประกาศออก ใช้   ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
จ่ายแลก   วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๙



ภาพประธานด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธาน ด้านหลัง   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จพระราชดำเนิน
ทอดพระเนตรที่สร้างฝายและอ่างเก็บน้ำ ณ บ้านบากง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
ขนาด   ๘.๐๐ x ๑๖.๖๐ เซนติเมตร
วันประกาศออก ใช้   ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
จ่ายแลก   วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๕

May 03, 2010, 15:46:09 #22 Last Edit: May 03, 2010, 16:00:33 by phorn456
ธนบัตรแบบ ๑๕
       ธนบัตรแบบนี้ยังคงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณีย กิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท   


ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ภาพพระราช กรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และ
ภาพสะพานพระราม ๘
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๓.๘๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
จ่ายแลก   วัน ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๖






(รุ่นหนึ่ง)
    พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์
ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์
และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๔.๔๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๐
จ่ายแลก   วัน ที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๐





(รุ่นสอง)
    แบบปรับปรุง  พิมพ์บนกระดาษ
ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์
และภาพพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๔.๔๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗
จ่ายแลก   วัน ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗





(รุ่นหนึ่ง)
    ลักษณะเหมือนกับธนบัตรแบบ ๑๔ แต่มีแถบฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร
ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ
พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
ภาพการ ศึกษาของไทย
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
จ่ายแลก   วัน ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗





(รุ่นสอง)
    แบบปรับปรุง  เปลี่ยนภาพประธานด้านหลัง
ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเครื่อง แบบเต็มยศทหารเรือ และภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๘
จ่ายแลก   วัน ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๘





ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลา
มหา เจษฎาบดินทร์ ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร และ
ภาพเรือสำเภา
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๕.๖๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔
จ่ายแลก   วัน ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔





ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลา
มหา เจษฎาบดินทร์ ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร และ
ภาพเรือสำเภา
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๕.๖๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔
จ่ายแลก   วัน ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔





(รุ่นสอง)
    แบบปรับปรุง  เพิ่มฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร
ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
และ ภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๖.๒๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จ่ายแลก   วัน ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

โห เริศ ..  ยอมข้อมูลคุณเจ้าของกระทู้มากครับผม แน่นมั่กๆ  อ่านไปหยิืบตังค์ไป หุหุ

May 05, 2010, 21:47:24 #24 Last Edit: May 05, 2010, 22:46:36 by phorn456
ความเป็นมาและแบบธนบัตร
   ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก ๑๒๑  โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕ กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย   ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ ๑๑ รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

      การจัดทำและนำออกใช้ธนบัตร เป็นหน้าที่หลักสำคัญอีกด้านหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศเป็น อย่างยิ่ง ด้วยธนบัตรเป็นเงินตราที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน เพื่อให้ธนบัตรไทยคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือสมเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ที่สำคัญในปัจจุบัน      


ก่อน ที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่น ๆ ในระบบการเงินของประเทศ ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ย  ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง
ปี้กระเบื้อง  และ เหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน


หอยเบี้ย        


ประกับดินเผา      


เงินพดด้วง


      จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตรา หลักในขณะนั้นได้ทันต่อความต้องการ ทั้งยังมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้ปะปนในท้องตลาด จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้น ใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า  หมาย          
          หมาย  เป็นกระดาษสีขาวพิมพ์ตัวอักษรและลวดลายด้วยหมึกสีดำ ประทับตราพระราชสัญลักษณ์ประจำพระราชวงศ์จักรีรูปพระแสงจักร และพระราชลัญจกรประจำพระองค์รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ด้วยสีแดงชาด เพื่อป้องกันการปลอมแปลง หมายที่โปรดให้จัดทำมี ๓ ประเภท ได้แก่ หมายราคาต่ำ  หมายราคากลาง (ตำลึง) และหมายราคาสูง  อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่หมายเป็นเงินตราชนิดใหม่ ในขณะที่ราษฎรยังคงคุ้นเคยกับเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราโลหะมาแต่โบราณ จึงไม่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายตามพระราชประสงค์  
   

   หมายราคาต่ำ       หมายราคากลาง (ตำลึง)         หมายราคาสูง


    ต่อมาระหว่างพุทธศักราช ๒๔๑๕ - ๒๔๑๖ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่ำซึ่งเป็นเงินปลีกที่ทำจากดีบุกและทองแดง ขาดแคลน ประกอบกับมีการนำ ปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันมาใช้แทนเงินตรา ในพุทธศักราช ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ให้ ราษฎรได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับหมาย  


อัฐกระดาษ


เงินกระดาษชนิดต่อมา คือ บัตรธนาคาร ซึ่ง ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒, ๒๔๔๑, และ ๒๔๔๒ ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทัน ต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ
         บัตรธนาคาร มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ ระหว่างธนาคารกับลูกค้า ดังนั้น การหมุนเวียนของบัตรธนาคารจึงจำกัดอยู่ในวงแคบเฉพาะบุคคลที่มีความจำเป็น ต้องติดต่อธุรกิจกับธนาคารดังกล่าวเท่านั้น อย่างไรก็ดี บัตรธนาคารมีส่วนช่วยให้ประชาชนรู้จักคุ้นเคยกับเงินที่เป็นกระดาษมากขึ้น และเนื่องจากมีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า ๑๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๔๕) ทำให้การเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ ในขณะนั้น สร้างความเคยชินให้คนไทยเรียกธนบัตรของรัฐบาลที่ออกใช้ในภายหลังว่า แบงก์ จนติดปากมาถึงทุกวันนี้

บัตรธนาคารชนิดราคา ๔๐๐ บาท
ของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้
   

บัตรธนาคารชนิดราคา ๘๐ บาท
ของธนาคารชาร์เตอร์แห่ง อินเดีย ออสเตรเลีย และจีน
   

บัตรธนาคารชนิดราคา ๕ บาท


       ขณะเดียวกันรัฐบาลในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็น ว่าบัตรธนาคารที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกใช้อยู่ในขณะนั้น มีลักษณะคล้ายกับเงินตราที่รัฐบาลควรจัดทำเสียเอง ในพุทธศักราช ๒๔๓๓ จึงได้เตรียมการออกตั๋วเงินของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า เงิน กระดาษหลวง โดยสั่งพิมพ์จากห้างกีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท์ (Giesecke & Devrient) ประเทศเยอรมนี จำนวน ๘ ชนิดราคา เงินกระดาษหลวงได้ส่งมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของทางการในการบริหาร จึงมิได้นำเงินกระดาษหลวงออกใช้    



เงินกระดาษหลวงชนิดราคา ๘๐ บาท
   

เงินกระดาษหลวงชนิด ราคา ๑๐๐ บาท
   

เงินกระดาษหลวงชนิด ราคา ๔๐๐ บาท
          
          จน กระทั่งพุทธศักราช ๒๔๔๕  จึงเข้าสู่ วาระสำคัญในการออกธนบัตร กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ อีกทั้งโปรดให้จัดตั้ง กรมธนบัตร ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและรับจ่ายเงิน ขึ้นธนบัตร และเปิดให้ประชาชนนำเงินตราโลหะมาแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕  จึงนับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการ เงินของไทยอย่างจริงจังนับแต่นั้น มา
          ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑ นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำ ธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมา ในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๔๗๑  ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วย ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่าง สมบูรณ์
   























ธนบัตรที่ ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามงคลวันราชาภิเษกสมรส และวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๓


   ธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา ๑๐๐ บาท ด้านหน้ามีลักษณะ สี และขนาดเหมือนกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท ซึ่งใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนเฉพาะ 
      ด้านหลังธนบัตรเป็นเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับการราชาภิเษกสมรส และการบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
      และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 
ภาพประธานด้านหลัง   

เชิญพระบรมฉายาสาทิส ลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงโบกพระหัตถ์ และพระฉายาสาทิสลักษณ์
สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตอนล่างของธนบัตรมีข้อความ "ราชาภิเษกสมรสครบ ๖๐ ปี ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓" และ
"บรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓"

ภาพประกอบด้านหลัง ธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทกใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดับด้วยลายดอกพิกุล 6 ดอก สื่อความหมายถึง การบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรยดอกพิกุลเงิน ดอกพิกุลทอง พระราชทานแก่พราหมณ์และพระบรมวงศา
นุวงศ์ตามคติความเชื่อที่ว่าพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีนั้นเปรียบเสมือนสมมติเทพที่อุบัติลง มาจากสวรรค์ บริเวณพระราชมนเทียรจึงถือว่าเป็นดุจสวรรค์ ต้นพิกุลเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในอุทยานบนสวรรค์ ดังนั้น ในระหว่างการประกอบ
พระ ราชพิธีจึงมีการโปรยดอกพิกุลซึ่งเปรียบเหมือนดอกไม้สวรรค์ และเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งสมบูรณ์
เพื่อเป็นการให้ สิ่งที่เป็นมงคลในพระราชพิธี

เบื้องซ้ายมุมบน เชิญพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ ๙ พิมพ์บนธงชาติไทย สื่อความหมายถึง ความเป็นชาติไทย ซึ่งประกอบด้วย สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

เบื้องซ้ายมุมล่าง เชิญพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ซึ่ง
พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือเป็นพระราชปณิธานอันแน่วแน่และสำคัญยิ่ง ดังที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครอง
ราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรม จริยาดังพระปฐมบรมราชโองการที่พระราชทานไว้ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
ขนาด   ๗.๒๐ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๓

ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐



ภาพประธานด้านหน้า   

เบื้องซ้ายมีพระบรม ฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นภาพประธาน ตอนกลางของธนบัตรชนิดราคา ๑ บาท มีภาพการเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี ๒๔๙๓ ชนิดราคา ๕ บาท มีภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในพระราชพิธีมหามงคลเนื่องในวโรกาสที่เจริญพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบพระนักษัตร ในปี ๒๕๐๖ และชนิดราคา ๑๐ บาท มีภาพการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในปี ๒๕๔๙ เรียงตามลำดับ

ภาพประธานด้านหลัง
    เป็น ภาพลำดับเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่เมื่อทรงพระเยาว์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในโครงตัวเลขไทย " ๙ "
ขนาด   ๒๒.๙ x ๑๔.๗ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๐
จ่ายแลก   วัน ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสการจัดงาน ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙




ภาพประธานด้านหน้า   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ณ พระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร  ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย และทอดเครื่องราชูปโภคบรมราชอิสริยยศ
ภาพประธานด้านหลัง   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ และภาพเขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก
ขนาด   ๘.๑ x ๑๖.๒ เซนติเมตร
วันประกาศออก ใช้   ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๙
จ่ายแลก   วัน ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙


[/COLOR]


ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗


ภาพประธานด้านหน้า   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในฉลองพระองค์ชุดไทยศิวาลัย
ภาพประธานด้านหลัง   พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในฉลองพระองค์ชุดไทยจักรี
ขนาด   ๗.๒ x ๑๖.๒ เซนติเมตร
วันประกาศออก ใช้   ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
จ่ายแลก   วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗

May 11, 2010, 11:06:22 #29 Last Edit: May 11, 2010, 11:16:05 by phorn456
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในอภิลักขิตสมัยมหา มงคลวันราชาภิเษกสมรส และ วันบรมราชาภิเษกครบ ๕๐ ปี







พิมพ์สองชนิดราคา ได้แก่ ๕๐๐๐๐๐ บาท และ ๕๐ บาท      
ภาพประธาน ด้านหน้า   พระ บรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. คู่กับตราอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. และภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ภาพประธาน ด้านหลัง   พระบรมฉายา สาทิสลักษณ์ และพระฉายาสาทิสลักษณ์ ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
ขนาด   ๑๒.๖ x ๒๐.๕ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๓

ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี ธนบัตรไทย



ภาพประธาน ด้านหน้า   พระบรมฉายา สาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คู่กับพระบาทสมเด็จ
พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดสากล
ภาพประธาน ด้านหลัง   มีลักษณะเช่น เดียวกับธนบัตรแบบ ๑ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท
ขนาด   ๑๐.๕ x ๑๖.๕ เซนติเมตร
วันประกาศออก ใช้   ลงวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕
จ่ายแลก   วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๕

ธนบัตรที่ ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี



มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท แบบ ๑๔ ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
แทน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙       
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
จ่ายแลก   วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๙




ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษ มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท แบบ ๑๓ ต่างกันที่พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์ และมีตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี แทนลายกระจัง       
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๓๙
จ่ายแลก   วัน ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๓๙
พิมพ์ที่   โรงพิมพ์ธนบัตร ประเทศออสเตรเลีย




ธนบัตรที่ระลึกแบบพิเศษ ชนิดราคา ๕๐๐ บาท พิมพ์บนวัสดุพอลิเมอร์และผนึกฟอยล์สีทองพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ไว้มุมขวาบน ของธนบัตร
ภาพประธานด้านหน้า   พระบรมฉายา สาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับ   พระที่นั่งราชยานพุดตานทอง
ภาพประธานด้านหลัง   พระบรมฉายา สาทิสลักษณ์ขณะทรงงาน และภาพเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจาก
พระ ราชดำริด้านต่าง ๆ
ขนาด   ๙.๑ x ๑๗.๑ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๙
จ่ายแลก   วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙
พิมพ์ที่   โรงพิมพ์ธนบัตร ประเทศออสเตรเลีย

ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย


ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒




มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๕ ต่างกันที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระ เจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ แทน พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ ๙      
วันประกาศออกใช้   ลง วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๒
จ่ายแลก   วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒


ขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนบัตรที่ระลึก เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ



      มี ลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท แบบ ๑๔ ต่างกันที่ลายน้ำเป็นพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ใต้ลายน้ำมีคำว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕         
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
จ่ายแลก   วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๕

บัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์๕ ธันวาคม ๒๕๓๐   




ภาพประธาน ด้านหน้า
    พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย ประทับเหนือ พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์
ภาพประธาน ด้านหลัง   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคร ราชกุมารี ประทับท่ามกลางพสกนิกร
ขนาด   ๑๕.๙ x ๑๕.๙ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้   ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๐
จ่ายแลก   วัน ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๐