Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - อักษรชนนี

#41
ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ขอเชิญร่วมพิธี "สหัสรโมทกะ โหมะ"
(พิธียัญญะบูชาไฟด้วยขนมโมทกะหนึ่งพันลูก ครั้งแรกในประเทศไทย)
ในเทศกาลคเณศจตุรถี ประจำปี ๒๕๕๗
ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๗
ณ มณฑลพิธีหน้าคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

.


.
หมายเหตุ : ขอขอบพระคุณข่าวประชาสัมพันธ์จาก ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
#42

.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาเนื่องในโอกาส
วันคล้ายวันประสูติองค์พระพิฆเนศวร (คเณศจตุรถี)

.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันศุกร์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๗
.
พิธีบูชาเช้า เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น.
.
พิธีบูชาเย็น เริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
.
.
(หลังเสร็จพิธี อัญเชิญองค์พระคเณศออกแห่ในเส้นทางถนนปั้น)
.
#43
.
ขอเชิญร่วมในพิธีบูชาองค์พระแม่วาราห์ลักษมี
.
(VARA LAKSHMI VRATHAM POOJA)
.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๗
.
พิธีบูชาเช้า เวลา ๐๙.๐๐  น.
พิธีบูชาเย็น เวลา ๑๗.๓๐ น.
.
(หลังเสร็จพิธี อัญเชิญองค์พระแม่วาราห์ลักษมีออกแห่รอบเทวาลัย
ภายในเทวสถาน วัดพระศรีมหาอุมาเทวี)

.
#44

.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม
โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๔ ประจำปี ๒๕๕๗

การบรรยายเรื่อง "พระลักษมี : เทวีแห่งโชคลาภ"


โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว
คณะมนุษยศาสตร์และสั
งคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ในวันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

สอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่งได้ที่ ฝ่ายวิชาการ ๐๒ ๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒


(ขอบพระคุณภาพและข่าวจาก กรมศิลปากร)
.
#45

.
.

ขอเชิญร่วมพิธีบูชาพระขันทกุมาร (VAIKASI VISAKAM POOJA)
.
ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันพุธที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗
.
พิธีบูชาเริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
.
(หลังเสร็จพิธีอัญเชิญเทวรูปพระขันทกุมารออกแห่)
.
#46

.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาพระคเณศ พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี และพระแม่ลักษมี
.
(Tamil New Year Pooja)
.
ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันจันทร์ที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗
.
พิธีบูชาเช้า เวลา ๐๙.๐๐ น.
.
พิธีบูชาเย็น เวลา ๑๗.๓๐ น.
.
#47
.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาองค์พระขันทกุมาร
.
ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันอาทิตย์ที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗
.
พิธีบูชาเริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
.
#48

.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาเทพประจำดาวนพเคราะห์ทั้งเก้า

.(์Navagraha Shanti Pooja)
.
ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)

.
วันเสาร์ที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗

.
พิธีบูชาเช้า เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น.

.
พิธีบูชาเย็น เริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
.
#49

.
ขอเชิญร่วมงานมหาศิวะราตรี

.ณ โบสถ์เทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาช
[HIGHLIGHT=#fac08f].[/HIGHLIGHT]
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗
.
พิธีบูชาเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ - ๒๔.๐๐ น.
.
.
#50
.
ขอเชิญร่วมพิธีมหาศิราตรี (พิธีบูชาองค์พระศิวะมหาเทพ)
.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๗
.
พิธีบูชาเริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
.
พิธีบูชาและสรงน้ำครั้งแรก เวลา ๒๐.๐๐ น.
.
พิธีบูชาและสรงน้ำครั้งที่สอง เวลา ๒๓.๐๐ น.
.
พิธีบูชาและสรงน้ำครั้งที่สาม เวลา ๐๒.๐๐ น.
.
พิธีบูชาและสรงน้ำครั้งที่่สี่ เวลา ๐๕.๐๐ น.
.
#51
.
         เทวรูปหลวงที่อัญเชิญมาในพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวายนั้น ถือเป็นเทวรูปส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งปกติจะประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และเป็นธรรมเนียมว่า ในวันก่อนที่จะประกอบพิธีช้าหงส์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม พระราชทานออกมาให้เข้าร่วมในพระราชพิธี โดยในสมัยโบราณจะมีขบวนแห่เทวรูปหลวงไปส่งยังเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ (ซึ่งเทวรูปหลวงจะประดิษฐานอยู่ในเสลี่ยงโถง) แต่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนให้เหมาะสมตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คือ ในวันที่ประกอบพิธีช้าหงส์แต่ละวันนั้น ทางเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะอัญเชิญเทวรูปหลวงมาส่งยังเทวสถานด้วยรถยนต์พระประเทียบ

         สำหรับที่มาของเทวรูปหลวงชุดนี้ (ได้แก่ เทวรูปพระอิศวร พระอุมา พระคเณศ และพระนารายณ์) ไม่ปรากฏหลักฐานที่บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่ามีที่มาอย่างไร มีเพียงเกร็ดตอนหนึ่งในบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงกล่าวถึงเทวรูปพระคเณศที่เชิญมาในพระราชพิธีตรียัมปวายว่า

         "...เทวรูปซึ่งสำหรับส่งไปแห่นี้มีเรื่องราวที่จะต้องเล่าอยู่หน่อยหนึ่ง คือรูปมหาวิฆเนศวรนั้น เป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ยังทรงพระเยาว์ ด้วยถือกันว่าถ้าบูชาพระมหาวิฆเนศวรแล้วทำให้จำเริญสวัสดิมงคล...ครั้นเมื่อข้าพเจ้า (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) อายุได้ ๙ ขวบ ทรงคิดชื่อกรมให้เป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ เวลาแห่เทวรูปเช่นนี้จึงรับสั่งว่าไหนๆก็เอาชื่อเอาเสียงท่านมาชื่อแล้ว จะให้พระองค์นี้ไปสำหรับบูชาเหมือนอย่างที่พระองค์ท่านได้เคยทรงบูชามาแต่ก่อน จึงพระราชทานน้ำสังข์ทรงเจิมแล้วมอบพระองค์นั้นพระราชทาน เอาพระองค์อื่นไปขึ้นหงส์ตลอดรัชกาล ครั้นมาถึงแผ่นดินปัจจุบันนี้ (หมายถึงรัชกาลที่ ๕) ข้าพเจ้าจึงได้นำบุษบกเล็กๆบุทองคำตั้งเทวรูปนั้นไว้แล้ว จึ่งได้ใช้บุษบกทองคำนั้นตั้งบนพานทองสองชั้นอีกทีหนึ่ง สำหรับเชิญไปขึ้นหงส์ เทวรูปมหาพิฆเนศวร ก็เปลี่ยนเอาองค์ที่ได้พระราชทานนั้นไปขึ้นหงส์ตามเดิม..."

          ส่วนเทวรูปพระพรหมนั้นเป็นเทวรูปที่สร้างขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ

          แต่เดิมพิธีช้าหงส์นั้นมีเพียงสองวัน คือ พิธีช้าหงส์ส่งพระอิศวรในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนยี่ และ พิธีช้าหงส์ส่งพระนารายณ์ ในวันแรม ๕ ค่ำ เดือนยี่ ต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อคณะพราหมณ์จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จึงเกิดมีพิธีช้าหงส์ส่งพระพรหมเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ วัน ในวันแรม ๓ ค่ำ เดือนยี่

          ในปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (หรือผู้แทนพระองค์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์) ทรงพระสุหร่ายและเจิมเทวรูปหลวงเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะอัญเชิญเทวรูปหลวงทั้งหมดไปประดิษฐานยังพระบรมมหาราชวัง จนถึงวันที่ประกอบพิธีช้าหงส์ในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่จึงจะอัญเชิญเทวรูปแต่ละองค์มาเข้าร่วมในพิธี กล่าวคือ ในวันแรม ๑ ค่ำ เจ้าหน้าที่จะอัญเชิญเทวรูปพระอิศวร พระอุมา และพระคเณศมาส่ง ในวันแรม ๓ ค่ำ อัญเชิญเทวรูปพระพรหมมาส่ง และในวันแรม ๕ ค่ำ อัญเชิญเทวรูปพระนารายณ์มาส่ง

          และเมื่อถึงวันแรม ๖ ค่ำ (อันเป็นวันสุดท้ายของช่วงพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย) หลังจากคณะพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชและเจิมเทวรูปหลวงเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังก็จะอัญเชิญเทวรูปหลวงทั้งหมดกลับไปประดิษฐานยังพระบรมมหาราชวังตามเดิม

          สำหรับในปี ๒๕๕๗ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล เสด็จออกแทนพระองค์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงเจิมเทวรูปหลวง เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗


เอกสารประกอบการเรียบเรียง :

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๕๒.

เทวสถาน. วารสารหอเวทวิทยาคม. ๑, ๑ (เมกราคม ๒๕๔๒)



ภาพประกอบ :

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขณะทรงเจิมเทวรูปหลวง จากสำนักราชเลขาธิการ


พระรูปหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ทรงเจิมเทวรูปหลวง จากข่าวในพระราชสำนัก สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗


***เรียบเรียงบทความ โดย อักษรชนนี***
.
#52
.

ขอเชิญร่วมพิธีไทปงกัล (พิธีหุงข้าวทิพย์บูชาองค์เทวะ)

ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)

วันอังคารที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗

พิธีเริ่มเวลา ๙.๐๐ น.

#53

.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาองค์พระมหาวิษณุ
.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันเสาร์ที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗
.
พิธีบูชาเริ่มเวลา ๙.๐๐ น.
.
(หลังเสร็จพิธีจะมีการอัญเชิญองค์พระมหาวิษณุออกแห่)
#54

.
          แต่เดิมมาในสมัยโบราณ พระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย เป็นพิธีบูชาพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ที่ไม่มีพิธีสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระองค์มีพระราชดำริ ริเริ่มในการนำพิธีสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาเพิ่มเข้าไปในพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ซึ่งเป็นพิธีของศาสนาพราหมณ์ ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายไว้ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า "...แต่ก่อนมาเป็นแต่พิธีพราหมณ์ พระราชทานเงินและสีผึ้งช่วย และมีการแห่แหนตามสมควร ครั้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนับว่าพิธีนี้เหมือนพิธีมะหะหร่ำของแขกเจ้าเซ็น และ วิสาขบูชาในพระพุทธศาสนา เป็นพิธีใหญ่สำหรับพระนคร อยู่ข้างจะทรงเป็นพระราชธุระมาก จึงโปรดให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มเติมขึ้นด้วย..."

          ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ในวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนยี่ จึงได้มีการนิมนต์พระสงฆ์เข้ารับพระราชทานฉัน และรับพระราชทานเครื่องไทยทาน ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ และในเวลาค่ำของวันขึ้น ๗ ค่ำ ขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนยี่ ก็มีการจัดพระสงฆ์ ๕ รูป ไปเจริญพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมทั้งจัดเครื่องสักการะที่หน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) อันมีพานข้าวเม่า ข้าวตอก มะพร้าว กล้วย อ้อย เหมือนดังที่พราหมณ์ตั้งถวายที่หน้าเทวรูปในเทวสถาน มีการอ่านประกาศพระราชพิธี และกล่าวคำบูชาสรรเสริญพระพุทธคุณ ถวายข้าวเม่า ข้าวตอก ผลไม้ต่างๆ ต่อหน้าองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ในพระอุโบสถ โดยปรากฏความตอนหนึ่งใน "ประกาศพระราชพิธีตรียัมภวาย" ที่แสดงให้เห็นถึงพระราชดำริในการถวายเครื่องบูชาแด่องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)  ในช่วงพระราชพิธีตรียัมปวาย ดังนี้

         "...ทรงพระราชดำริห์ปรารภถึงพิธีตรียัมภวายซึ่งยังเว้นการรัตนัตยบูชา ว่าพระปฏิมาอันล้วนด้วยแก้วมรกฎทั้งแท่งทึบบริสุทธเปนของมหัศจรรย์ไม่มีที่เปรียบ ฦาเลื่องว่าพระแก้วมรกฎทั่วทุกประเทศ มีอาการนั่งเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ ผู้มีพระภาคย์เจ้าของเราทั้งหลาย อันปรินิพพานแล้ว แลยังมีพระเกียรติคุณแผ่อยู่ในประเทศนี้ โดยระลึกตามพระศาสนา เสด็จนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ เปนรัตนะอุดมอย่างยอด เปนที่เฉลิมของมนุษย์ชนชาวสยาม แลมีผู้สรรเสริญเปนอเนกประการ ตั้งอยู่ในสถานที่ควรนมัสการไหว้กราบสักการบูชา เปนนาบุญของหมู่ชนในประเทศสยามเสมอเปนนิจจกาล บันดาสิ่งของซึ่งจัดเข้าในพิธีตรียัมภวาย คือเข้าเม่าเข้าตอกแลผลไม้ทั้งหลายต่างๆ ที่สำเร็จตามกาล ควรจะนำมาบูชาพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกฎนี้ก่อน ความศิริสวัสดิจะพึงมีแก่ประชุมชนเปนอันมาก ด้วยอำนาจจิตรเลื่อมใสสำเร็จในเขตรอันดี ทรงพระราชดำริห์เห็นอำนาจประโยชน์อย่างนี้ จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้นำเครื่องสักการะวรามิศ เข้าเม่าเข้าตอก แลผลไม้ต่างๆ มาบูชาในพระรัตนปฏิมาพิมพเจดียสถานนี้..." (ใช้ตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม ซึ่งพิมพ์อยู่ในหนังสือประกาศการพระราชพิธี เล่ม ๑)

          นอกจากนี้ เมื่อถึงวันแรม ๕ ค่ำ เดือนยี่ อันอยู่ในช่วงพระราชพิธีตรีปวาย เวลาเช้า โปรดให้พระสงฆ์เข้ามารับพระราชทานฉัน และรับพระราชทานเครื่องไทยทาน เวลาค่ำโปรดให้มีการเจริญพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ไม่มีการอ่านประกาศ และกล่าวคำบูชาถวายเครื่องสักการะเหมือนกับที่กระทำในพระราชพิธีตรียัมปวาย

          สำหรับในปัจจุบัน ไม่มีพิธีสงฆ์ที่รับพระราชทานฉัน ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ตลอดจนพิธีถวายเครื่องสักการะที่หน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้ว คงเหลือแต่พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีโกนจุก ซึ่งตรงกับวันสุดท้ายของพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ณ พระเทวสถานสำหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์) เท่านั้น


เอกสารประกอบการเรียบเรียง :

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๕๒.

เทวสถาน. วารสารหอเวทวิทยาคม. ๑, ๑ (เมกราคม ๒๕๔๒)

สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. ประกาศการพระราชพิธี เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๓  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๐.

ภาพประกอบ :

ภาพ "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)" เครื่องทรงฤดูหนาว ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร  (บันทึกภาพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗)


***เรียบเรียงบทความ และจัดทำภาพประกอบ โดย อักษรชนนี***
.
#55

.
"ขอพระผู้เปนเจ้าเข้าสิงสู่เจ้าคุณ"
.
         คำพูดของพราหมณ์ที่กล่าวกับพระยายืนชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย จากหนังสือ COURT ข่าวราชการ เจ้านาย ๑๑ พระองค์ทรงช่วยกันแต่ง ทำให้นึกถึงเรื่องราวเหตุการณ์ในอดีต ที่หากนับย้อนไปก่อนปี ๒๔๗๗ ในวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนยี่ ของแต่ละปี จะเป็นวันที่ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในวันแรกของพระราชพิธีตรียัมปวาย (ใน ๑ ปี มีพิธีโล้ชิงช้า ๒ วัน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนยี่ และวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือนยี่) โดยบุคคลหนึ่งซึ่งถือว่าสำคัญมากในพิธีโล้ชิงช้านี้ ก็คือ "พระยายืนชิงช้า" เพราะถูกสมมติให้เป็นพระอิศวรที่เสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ตามความเชื่อของพราหมณ์ โดยตั้งแต่ครั้งกรุงเก่าจนถึงรัชกาลที่ ๓ เป็นหน้าที่ของข้าราชการตำแหน่ง "พระยาพลเทพ" จนมาถึงในรัชกาลที่ ๔ ได้เปลี่ยนให้ข้าราชการผู้ใหญ่ที่ได้รับพระราชทานพานทอง เป็นผู้ที่ได้รับยศประโคมกลองชนะ มีบโทนแห่ ควรจะให้ได้แห่ให้เต็มเกียรติยศเสียคนละครั้งหนึ่งๆ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพานทองเปลี่ยนกันเป็นพระยายืนชิงช้าปีละคน สำหรับพระยาบางท่านที่มีคุณพิเศษต่างๆ ก็พระราชทานเสลี่ยงบ้าง กลศบ้าง ลอมพอกโหมดเกี้ยวลงยาบ้าง เป็นการเพิ่มเติม

         สำหรับการแต่งกายของพระยายืนชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวายนี้ กำหนดให้พระยายืนชิงช้านุ่งผ้าเยียรบับ เรียกวิธีการนุ่งนั้นว่า "บ่าวขุน" คือ มีชายห้อยอยู่ข้างหน้า สวมเสื้อเยียรบับ คาดเข็มขัด สวมเสื้อครุย และลอมพอกเกี้ยวตามบรรดาศักดิ์ โดยเมื่อขบวนแห่พระยายืนชิงช้ามาถึงบริเวณเสาชิงช้าแล้ว ก็จะเข้าไปในโรงชมรม ที่มีลักษณะเป็นปะรำไม้ไผ่ดาดผ้าขาวเป็นเพดาน มีม่านสามด้าน กลางชมรมตั้งราวไม้ไผ่หุ้มผ้าขาวสำหรับนั่งราวหนึ่ง และสำหรับพิงอีกราวหนึ่ง

        หลังจากพระยายืนชิงช้าเข้าไปในโรงชมรม และนั่งที่ราวไม้ไผ่กลางชมรมแล้ว ก็จะยกเท้าข้างหนึ่งพาดที่บริเวณเข่าอีกข้างหนึ่ง (เหมือนท่าไขว่ห้าง) ให้เท้าข้างหนึ่งยันพื้นไว้ (มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าเป็นท่าเดียวกับในตำนานที่พระอิศวรทรงยืนขณะโล้ชิงช้าทดสอบความแข็งแรงของโลกมนุษย์) โดยมีข้อกำหนดว่าพระยายืนชิงช้าจะต้องนั่งท่านี้ไปจนกว่านาลิวันจะโล้ชิงช้าเสร็จ (ในเอกสารคำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าหากพระยายืนชิงช้าทำเท้าตกลงพื้นทั้งสองข้าง ก็จะถูกปรับของที่ได้รับพระราชจากกษัตริย์ให้ตกเป็นของบรรดาพราหมณ์ผู้ประกอบพิธี)

       พิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย จัดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อปี ๒๔๗๗ โดยมี "พระยาชลมารคพิจารณ์ (ม.ล. พงศ์ สนิทวงศ์)" เป็นพระยายืนชิงช้าคนสุดท้าย เนื่องจากภาวะประเทศในสมัยนั้น ต้องประสบกับปัญหาหลายประการ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาทางการเมือง ซึ่งการแห่พระยายืนชิงช้า และพิธีโล้ชิงช้าแต่ละปีนั้น ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก จึงไม่เหมาะสมกับภาวะประเทศในยุคข้าวยากหมากแพงอีกต่อไป ดังนั้น ในช่วงหลังปี ๒๔๗๗ ทางราชการจึงได้มอบเงินจำนวน ๔๐๐ บาทให้แก่คณะพราหมณ์ เพื่อนำไปจัดพิธีบูชาพระเป็นเจ้าเนื่องในพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย เป็นการภายในที่เทวสถาน โดยไม่มีพิธีโล้ชิงช้าอีกต่อไป


เอกสารประกอบการเรียบเรียง :

คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๑๐.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๕๒.

เทวสถาน. วารสารหอเวทวิทยาคม. ๑, ๑ (เมกราคม ๒๕๔๒)

หนังสือ COURT ข่าวราชการ เจ้านาย ๑๑ พระองค์ทรงช่วยกันแต่ง เล่ม ๑. พระนคร: โรงพิมพ์ไท, ๒๔๖๖.

อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น. พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑๑ เรื่อง พระราชประเพณี ตอน ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๑๔.

ภาพประกอบ :

ภาพจิตรกรรม "พระยายืนชิงช้า" บันทึกภาพจากพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

ภาพ "พระยายืนชิงช้านั่งบนราวไม้กลางโรงชมรม" สำเนาภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร


***เรียบเรียงบทความ และจัดทำภาพประกอบ โดย อักษรชนนี***
.
#56
.
          ข่าวดีสำหรับท่านซึ่งเป็นสานุศิษย์ หรือศรัทธาองค์พระเป็นเจ้าของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) เนื่องจากในเทศกาลปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ นี้ ทางวัดได้จัดทำปฏิทินพิเศษขึ้น โดยเชิญภาพเทวรูปพระเป็นเจ้าองค์สำคัญภายในวัดมาพิมพ์ลงบนปฏิทิน พร้อมทั้งมีกำหนดการงานพิธีสำคัญของวัดในแต่ละเดือนประกอบอยู่ด้วย

          สำหรับท่านที่สนใจ สามารถไปจับจองเป็นเจ้าของได้ที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (ในราคาชุดละ ๓๐๐ บาท)

.
#57

.

ขอเชิญร่วมพิธีบูชาเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗

(บูชาองค์พระคเณศ พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี และพระแม่ลักษมี)

ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)

วันพุธที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗

พิธีบูชาเช้า เริ่มเวลา ๙.๐๐ น. พิธีบูชาเย็น เริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
.
.
(นอกจากนี้ ในเวลา ๑๗.๓๐ น. ของวันที่ ๑ มกราคม ยังมีพิธีบูชาในโอกาสคล้ายวันประสูติองค์พระหนุมาน
โดยหลังจากเสร็จพิธีจะมีการอัญเชิญเทวรูป
องค์พระคเณศ พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี พระแม่ลักษมี
และพระหนุมาน ออกแห่ในเส้นทางถนนปั้น)

.
#58

.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาองค์พระแม่มหาลักษมี
.
เนื่องในวันดีปาวลี (DEEPAVALI) ประจำปี ๒๕๕๖
.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖
.
พิธีบูชาเช้า เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น.

พิธีบูชาเย็น เริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.

(หลังเสร็จพิธีอัญเชิญเทวรูปองค์พระแม่มหาลักษมีออกแห่)
.
#59
สวัสดีสมาชิกชาว HinduMeeting ทุกท่านครับ

             หลังจากที่ได้รับชมภาพบรรยากาศงานแห่ประจำปี เนื่องในวันวิชัยทัสสมิ พุทธศักราช ๒๕๕๖ ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ในกระทู้ http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=5189.0 ซึ่งนายอักษรชนนีได้นำมาลงให้ทุกท่านได้รับชมไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น มาถึงในกระทู้นี้ซึ่งถือเป็นกระทู้ปิดท้าย ผมจะขอนำเสนอประมวลภาพบรรยากาศพิธีเชิญธงสิงห์ลงจากเสา และพิธีอาบน้ำคณะพราหมณ์และคณะคนทรง  ซึ่งถือเป็นการจบงานนวราตรีของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ประจำปี ๒๕๕๖ อย่างเป็นทางการ  เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖


#60
สวัสดีสมาชิกชาว HinduMeeting ทุกท่านครับ

            ในที่สุดก็มาถึงงานพิธีนวราตรี และงานแห่ประจำปี ที่พวกเราทุกคนเฝ้ารอมาตลอดทั้งปี ซึ่งถือช่วงเวลาแห่งการบูชาและเฉลิมฉลองของสานุศิษย์ที่ร่วมกันจัดถวายแด่องค์พระแม่ที่ทุกคนเคารพสักการะ และปีนี้ก็เช่นเคย ที่ทางวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขก สีลม ได้จัดพิธีบูชาอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ ๕ - ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖  (รวมเป็นเวลา ๙ วัน) และมีงานแห่ประจำปี
เนื่องในวันวิชัยทัสสมิ  วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

            ซึ่งในโอกาสงานพิธีอันเป็นมหามงคลนี้ ทางเว็บ HinduMeeting ของพวกเรา ก็ยังคงได้รับความกรุณาเป็นอย่างสูงจากทางวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ที่อนุญาตให้ทีมงานของเว็บได้เข้าไปบันทึกภาพพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และหาชมได้ยาก ออกมาเผยแพร่ให้สมาชิกและสานุศิษย์ทุกคนได้ร่วมชื่นชมภาพบรรยากาศอันเป็นมหามงคลดังเช่นปีก่อนๆ

              โอกาสนี้กระผมนายอักษรชนนี ในนามตัวแทนของทีมงานเว็บมาสเตอร์ และสมาชิกชาว www.HinduMeeting.com ทุกคน ขอกราบขอบพระคุณ คุณสุรพงษ์ สิริธรกุล ประธานวัดพระศรีมหาอุมาเทวี และคุณปรีดา สิริธรกุล ตลอดจนคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวีทุกท่าน ที่ได้ให้ความกรุณาและอำนวยความสะดวกแก่เว็บ HinduMeeting ในการบันทึกภาพพิธีนวราตรี ประจำปี ๒๕๕๖ ของทางวัดพระศรีมหาอุมาเทวีเป็นอย่างดี

.

.
#61
ขอเชิญร่วมงานคเณศจตุรถี ประจำปี 2556
ของภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณ ลานหน้าคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
วันที่ 10 -11 กันยายน พ.ศ.2556



ในปีนี้ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดสร้างพระพิฆเณศวร์"ทรงพล" หรือพระพลธร วินายก ขึ้นเป็นองค์ประธานในพิธีแล้ว ก็จะเป็นโอกาสครั้งเดียวในหนึ่งปีที่จะอัญเชิญออกให้สักการบูชา พระพิฆเนศวร์ทรงพล ได้รวมเอามวลสารศักดิ์สิทธิื์ต่างๆจากประเทศอินเดีย และทำพิธีเทวาภิเษกปราณประติษฐาโดย ท่านอาจารย์บัณฑิตลลิค โมหัน วยาส วัดเทพมณเฑียร กรุงเทพฯ เป้นที่เคารพสักการะแก่ชาวคณะอักษรศาสตร์

โดยกำหนดการมีดังนี้

วันอังคารที่ 10 กันยายน 2556

12.30 น. พิธีอัญเชิญองค์พระพิฆเนศวร์ประจำคณะอักษรศาสตร์ "พระพลธรวินายก" จากซุ้มประดิษฐาน อาคารวชิรมงกุฏ ไปยังมณฑลพิธีหน้าคณะอักษรศาสตร์
13.00 น. พิธีสถาปนาธงประจำมณฑลพิธี(ธงรูปหนูจากวัดพระสิทธิวินายก ประเทศอินเดีย)
พิธีบูชาเทวดาประจำปีฐ คเณศามพิกา นวเคราะห์ โษฑศมาตฤกา สัปตมาตฤกา และสถาปนากลัศ จากนั้นบูชาพระพิฆเนศวร์ด้วย 16 ขั้นตอน อภิเษก
14.00 น. พิธีบูชา 108 พระนามของพระคเณศ
15.00 น. คเณศจตุรถีกถา(บรรยายเรื่องพระคเณศจากคัมภีร์ปุราณะ)
15.30 น. การแสดงทางวัฒนธรรม
16.00 น. พิธีมงคลอารตี(แกว่งประทีปบูชา)ผู้เข้าร่วมพิธีรับพรและเทวประสาท(ของมงคลต่างๆ)
18.00 น.ร่วมสวดคเณศมนตร์ต่างๆ พิธีสันธยอารตี
หัวหน้าผู้ประกอบพิธี 1.บัณฑิตพรหมานันทะ ทวิเวที พราหมณ์ชาวอินเดีย(Pandit Shri Brahmananda Dvivediji Maharaj)

วันพุธที่ 11 กันยายน 2556 วันวิสรชันหรือส่งเสด็จ

10.00 น. พิธีบูชาพระคเณศและเทวดาต่างๆในปีฐที่ประดิษฐาน ด้วยปัญจอุปจาร(5 ขั้นตอน) และอารตี
15.00 น. พิธีบูชาเทวดาต่างๆในปะรำพิธีจากนั้นทำพิธีบูชาพระคเณศด้วยอุปจาระทั้ง 16 ขั้นตอน
16.00 น. คเณศจตุรถีกถา(บรรยายเรื่องพระคเณศจากคัมภีร์ปุราณะ) และการแสดงทางวัฒนธรรม
16.30 น. พิธีโหมกรรม ก่อกูณฑ์บูชาไฟ 108 พระนามแห่งพระคเณศ
17.00 น. พิธีมงคลอารตี ส่งเสด็จเทวดาในปะรำพิธีและถอนเสาธงประจำมณฑล
17.30 น. อัญเชิญเทวรูปพระคเณศจากปะรำพิธี แห่ไปยังบริเวณสระแก้ว จากนั้นทำพิธีวิสรชัน ลอยน้ำส่งเสด็จ(องค์จำลอง) และอัญเชิญองค์พระคเณศประจำคณะอักษรศาสตร์ไปประดิษฐานยังอาคารวชิรมงกุฎตามเดิม ผู้เข้าร่วมพิธีรับพร เป็นอันสิ้นสุดเทศกาลคเณศจตุรถี



หมายเหตุ : ขอขอบพระคุณข่าวประชาสัมพันธ์จาก ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
#62
ขอเชิญร่วมงานพิธีคเณศจตุรถี ประจำปี 2556

ณ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จ.เชียงใหม่



กำหนดการ

วันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน 2556

เวลา 09.30 น. ประกอบพิธีอาจาริยบูชา (ไหว้ครู)

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2556

เวลา 09.00 น. พิธีอัญเชิญ และสรงน้ำเทวรูปองค์ประธาน

เวลา 12.00 น. พิธีคเณศจตุรถี

เวลา 16.00 น. เสร็จพิธี

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่ 089-4304050 , 089-8555852 (09.00-17.00น.)

***จัดที่ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ***
.
.
.
(ขอบคุณข่าวประชาสัมพันธ์จาก พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จังหวัดเชียงใหม่)
#63

.
.

ขอเชิญร่วมในพิธีบูชาเนื่องในโอกาส
วันคล้ายวันประสูติองค์พระกฤษณะ
.
(KRISHNA  JYANTHI)
.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕
.
พิธีบูชาเย็น เวลา ๑๗.๓๐ น.
.
(หลังเสร็จพิธี อัญเชิญองค์พระกฤษณะออกแห่)
#64

.

ขอเชิญร่วมในพิธีบูชาองค์พระแม่วาราห์ลักษมี
.
(VARA LAKSHMI VIRUNDHAM)
.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันศุกร์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖
.
พิธีบูชาเช้า เวลา ๐๙.๐๐  น.
พิธีบูชาเย็น เวลา ๑๗.๓๐ น.
.
(หลังเสร็จพิธี อัญเชิญองค์พระแม่วาราห์ลักษมีออกแห่)
#65

.
.

ขอเชิญร่วมพิธีบูชาพระขันทกุมาร (VAIKASI VISAKAM)
.
ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันศุกร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖
.
พิธีบูชาเริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
.
(หลังเสร็จพิธีอัญเชิญเทวรูปพระขันทกุมารออกแห่)
#66
แขก

.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาเทพประจำดาวนพเคราะห์ทั้งเก้า (เทพประจำวันเกิด)
และเทพประจำราศีทั้ง ๑๒ ราศี

.
ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันเสาร์ที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖
.
พิธีบูชาเช้า เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น. พิธีบูชาเย็น เริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
#67
.
.
            สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๕๖ ระหว่างวันที่ ๒ -๘ เมษายน ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

            โดยในวันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ขอเชิญฟังบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "นฤตตะมูรติ : จาก ๑๐๘ นาฏลีลาแห่งศิวะมหาเทวะมาสู่โขนและนาฏศิลป์ไทย" โดย ดร. อมรา ศรีสุชาติ ณ สังคีตศาลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


ขอบคุณภาพและข่าว จาก : National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
#68

           ในวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ นี้ ทางโบสถ์เทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาชจะจัดบูชาเนื่องในวันมหาศิวราตรี จึงขอเชิญท่านที่ศรัทธาเข้าร่วมในพิธีโดยพร้อมเรียงกัน ซึ่งศาสนิกชนท่านใดประสงค์จะทำบูชาเองก็ได้ โดยโปรดเตรียมของไปดังนี้ (รวมทั้งท่านที่ทำบูชาที่บ้านด้วย)

1.ปัญจามฤต สำหรับสรง นม(อันนี้เยอะหน่อย) โยเกิร์ตรสธรรมชาติ น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำตาล

2.น้ำอ้อยและน้ำมะพร้าว

3.น้ำคงคา(พาหุรัดมีขาย)

4.ดอกไม้ได้แก่ ดาวเรืองประมาณ 50ดอก กุหลาบ บัวแดง และดอกไม้หอมอื่นๆเช่น มะลิ จำปา ดอกรัก หรือดอกไม้สำหรับบูชา 108พระนาม(เตรียมให้พอกับ 108พระนาม)

5.ผลไม้ตามฤดูกาลและมะพร้าว1 ลูก

6.หมากพลู

7.ขนมอินเดีย หรือขนมที่ไม่สดไม่คาว

8.แป้งเจิม(จันทน์) 1 กระปุก (พาหุรัดมีขาย)

9.เครื่องสำอางโบราณ คือ 1.ขมิ้นผง 2.สินทูร(สีส้ม)3.กุงกุม(สีแดง)4.อภรัค(ผงแร่ไมก้า) (พาหุรัดมีขาย)

10. ภาสมะ หรือวิภูติ หรือผงขี้เถ้าศักดิ์สิทธิ์ (พาหุรัดมีขาย)

11.สายสิญจน์แขก และสายยัชโญปวีต(ยาเนอู)(พาหุรัดมีขาย)

12.ใบมะตูม

13.ธูปหอม

14 ประทีป(ถ้ามี)

15.หญ้าคา ถ้ามี

17.น้ำหอมที่ไม่มีแอลกอฮอร์ และยังไม่ได้ใช้

18ข้าวสารย้อมผงกุงกุม ประมาณ 1 ถุง 2 ขีด

19.ผ้าถวายพระ ถ้าองค์เล็กใช้สายสิญจน์

อุปกรณ์

1.พระศิวลึงค์

2.เทวรูปเล็กเหล่านี้(ถ้ามี)1.พระคเณศ 2. พระเทวี 3. พระวิษณุ สุริยเทพ นันทีศวร และสรปเทวดา หรือนาค

3.กะละมังสำหรับสรงน้ำได้

4.ถาดสำหรับใส่พระเมื่อสรงน้ำแล้ว

5.ถาดใส่อุปกรณ์และเครื่องบูชา

6.แก้วน้ำและช้อน

7.ที่สรงน้ำเรียกว่า เคามุข หรือใช้หม้อเจาะรู หรือจะตัดกล่องน้ำให้เล็กเมื่อสรงก็ได้

8.เบาะนั่ง

9.ภาชนะใส่แป้งเจิมและข้าวสาร

10.ประคำรุทรากษะ สำหรับใส่เอง และ ถวายพระ

การแต่งกาย สีส้ม แสด ฝาด หรือขาว กางเกงหรือกระโปรงที่ลุกนั่งสะดวก ไม่สั้น ไม่รัดรูป

กำหนดการโดยประมาณ

18.00น.อารตีประจำวันต่อด้วยอารตีพระศิวะ

19.00น. เริ่มบูชาและอภิเษก ตามวิธีในคัมภีร์ยชุรเวท

23.00น. เสร็จการบูชา ขับร้องสรรเสริญ

24.00 น. มหาอารตี เสร็จพิธีรับพรและออกพรต

ท่านที่ถือพรต ควรเว้นอาหารคาว หรือเว้นข้าวและถั่วที่มีตา หรือจะรับประทานแต่ผลไม้และนม หรือจะอดอาหาร ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของท่านเอง รวมทั้งงดกิจกรรมทางเพศทุกอย่างและความบันเทิงด้วย

หมายเหตุ : ขอบพระคุณข้อมูลประชาสัมพันธ์จาก พี่หริทาส
#69

.
ขอเชิญร่วมพิธีมหาศิราตรี (พิธีบูชาองค์พระศิวะมหาเทพ)
.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
.
พิธีบูชาครั้งแรก เวลา ๒๐.๐๐ น.
.
พิธีบูชาครั้งที่สอง เวลา ๒๓.๐๐ น.
.
พิธีบูชาครั้งที่สาม เวลา ๐๒.๐๐ น.
.
พิธีบูชาครั้งที่่สี่ เวลา ๐๕.๐๐ น.
#70
หัวข้อนี้ได้ถูกย้ายไปบอร์ด กระทู้ปัญหา (สำหรับ เว็บมาสเตอร์).

กระทู้นี้เข้าข่ายละเมิดกฏ กติกาของเว็บ ข้อที่ ๔ ว่าด้วยการห้ามตั้งหรือตอบกระทู้ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทรงเจ้าเข้าผี, ตำหนักทรง, การโฆษณาชวนเชื่อ การเสริมดวง, การแก้กรรม, การโฆษณาวัตถุมงคล, การโฆษณาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับตำหนักทรง ทั้งแบบทางตรง และแบบทางอ้อม รวมไปถึงความงมงายต่างๆ

ทางทีมงานขออนุญาตย้ายกระทู้นี้นะครับ และขอความร่วมมือคุณ montraranee ผู้เป็นเจ้าของกระทู้ งดตั้งกระทู้ในลักษณะนี้อีก มิฉะนั้นทางทีมงานจะต้องดำเนินตามกฏ กติกา และบทลงโทษที่ได้วางเอาไว้

ขออภัยในความไม่สะดวก

ทีมงาน HinduMeeting
#71
ปฏิทินวันสำคัญและเทศกาลทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู(ปํจางฺค) ประจำปีพุทธศักราช 2556
คริสตศักราช 2013, ปีวิกรม สัมวัต ที่ 2069-70, ปีศาลิวาหน ศาเก ที่ 1934-35
ปีพังคล สัมวัต ที่ 1419-20, ปี เนปาลี สัมวัต ที่1133
จากปฏิทินปัญจางค์ของ คุณพ่อฐากูร ปรสาท ออก ณ เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย




(แปลและจัดทำ โดย ศรีหริทาส)


คำชี้แจง

          ปฏิทินวันสำคัญทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้ แปลจากปฏิทินโหราศาสตร์อินเดีย เรียกว่า ปัญจางค์(ปํจางฺค) ของคุณพ่อฐากูร ปรสาท ประเทศอินเดีย ซึ่งในปฏิทินจริงจะบอกรายละเอียดต่างๆ เช่น ข้างขึ้น-แรม นักษัตร,โยค ฯลฯ เพื่อใช้ในพีธีกรรมและทางโหราศาสตร์ด้วย แต่ในการแปลมานี้ได้ตัดทอนเหลือแค่วันสำคัญทางศาสนาฮินดูเท่านั้น จริงๆแล้วท่านสามารถสังเกตว่าวันนั้นเป็นวันดิถี(ข้างขึ้นแรม)ใด โดยดูจากชื่อวัน เช่น จตุรถี -4 ค่ำ, ปัญจมี- 5 ค่ำ,อัษฏมี -8 ค่ำ, นวมี- 9 ค่ำ, เอกาทศี - 11 ค่ำ,ทวาทศี 12 ค่ำ, ตรโยทศี 23 ค่ำ, ปูรณิมา คือวันเพ็ญ 15 ค่ำ และ อมาวาสยะ – แรม 15 ค่ำ(เดือนดับ)

มีข้อชี้แจง คือ

         1.ท่านอาจสงสัยว่า ทำไม บางวันมีหลายค่ำในวันเดียวกัน เช่นเป็นทั้งปฺรโทษ(13 ค่ำ) และมาสศิวราตรี(14 ค่ำ) เนื่องจากตามหลักศาสนาฮินดูวันสำคัญส่วนใหญ่ ยึดวันตามจันทรคติ แต่บางครั้งวันของพระจันทร์จะคร่อมวันทางสุริยคติ เช่น ในวันที่ 29 เมษายน มีทั้ง 4 ค่ำและ 5 ค่ำในวันเดียว(ช่วงเวลาต่อกัน)  นอกจากนี้แล้วบางครั้งดิถี(ขึ้น-แรม)ของอินเดียกับไทยอาจต่างกันนิดหน่อย  การจะกำหนดว่าวันไหนเป็นวันสำคัญ คณาจารย์บางท่านก็ยึดถือว่า วันที่เริ่มต้นเข้าดิถีที่กำหนด บางท่านก็ให้ยึดตามปฏิทินไทย อันนี้ก็แล้วแต่สำนักและครูบาอาจารย์

         2.ปฏิทินนี้อาจไม่ตรงกับปฏิทินวันสำคัญทางศาสนาของอินเดียในภูมิภาคอื่นๆ เช่นอินเดียใต้ซึ่งมีความแตกต่างกัน และอาจไม่ตรงกับประกาศของเทวสถานต่างๆในเมืองไทย เนื่องด้วยการคำนวนทางเวลา ทั้งนี้ขอให้ท่านอ่านประกาศเทศกาลและวันสำคัญต่างๆจากเทวสถานที่ท่านจะไปร่วมงานด้วย

         3.ปฏิทินนี้เริ่มต้นด้วยเดือน ในวงเล็บจะบอกเดือนทางจันทรคติ ซึ่งจะคร่อมเดือนกันเช่น เดือนกุมภาพันธ์ (มาฆ - ผาลฺคุณ)  ส่วนวันที่จะบอกวันตามปฏิทินทั่วไป ใช้เลขสากล ด้านหลังจะบอกว่าวันนั้นเป็นวันสำคัญอะไร วันใดที่มีเครื่องหมายดอกจัน (*) หมายถึงวันสำคัญ หรือเทศกาลพิเศษต่างๆ  บางเดือนที่มีวันสำคัญซ้ำกันนอกจากเหตุผลในข้อที่1แล้ว ยังเพราะการแบ่งตามนิกายซึ่งได้ใส่ไว้ในวงเล็บด้านหลังแล้ว

         4. ท่านที่จะใช้ปฏิทินนี้เพื่อการบูชาเทพเจ้าต่างๆ และถือพรตไม่ว่าจะอดอาหาร หรือทานมังสวิรัติ หรือพรตอื่นๆ ให้เลือกปฏิบัติในวันที่ท่านต้องการ ชาวฮินดูมีวันพระหลายวันตามแต่ลัทธินิกาย  โดยมากคือ  8ค่ำ 11 ค่ำ 15 ค่ำ(ทั้งขึ้นและแรม) มีข้อแนะนำดังนี้

-สำหรับการบูชาพระคเณศ ได้แก่วัน 4 ค่ำ คือ ไวนายกี คเณศจตุรถี(ข้างขึ้น), สํกษฺฏี คเณศจตุรถี(ข้างแรม)

-สำหรับพระศิวะ ได้แก่ วันปฺรโทษ(13ค่ำ)(ถ้าปฺรโทษไหนตรงกับวันเสาร์ จะเรียกว่า ศนิปฺรโทษ เชื่อว่าให้คุณมากหากได้ถือพรตและทำบูชา), มาสศิวราตรี(ศิวราตรีประจำของเดือน)(แรม 14 ค่ำ)

-สำหรับพระเทวี คือ วัน ทุรคาษฏมี( 8 ค่ำ)

-สำหรับพระวิษณุ คือ วันเอกาทศี(11 ค่ำ) ซึ่งมีคำนำหน้าต่างๆกันออกไป เช่น กามทา เอกาทศี , โมกษทา เอกาทศี เนื่องด้วยเชื่อว่าการปฏิบัติในวันนั้นๆจะให้ผลที่ต่างกัน และปูรณิมา(ขึ้น15ค่ำ)

-สำหรับอุทิศศราทธพรตแด่ปิตฤ คือเทพบิดรหรือบรรพบุรุษ คือวันอมาวัสยะหรือวันเดือนดับ(แรม 15 ค่ำ)

-ในวันสังกรานติ หรือวันที่พระอาทิตย์ย้ายราศี บูชาพระสูรยนารายณ์

-วันฉลองหรือ ชยันตี หมายถึงวันประสูติของเทพเจ้า วันเกิดของนักบุญนักบวชและบุคคลสำคัญ

-นอกจากนี้วันอื่นๆที่มีพระนามเทพเจ้าปรากฏ ก็มีการบูชาเทพเจ้าในวันนั้นๆ และวันสำคัญอื่นๆ ให้ท่านดูรายละเอียดจากเวปไซต์ของโครงการหอมรดกไทย เรื่องศาสนาพราหมณ์ฮินดู

-ในปฏิทินนี้มีวันสำคัญของศาสนาอื่นๆในอินเดียด้วย
#72


ขอเชิญร่วมพิธีบูชาองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี (ขึ้น ๑๕ ค่ำ)

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)

วันจันทร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖

พิธีเริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.

(หลังเสร็จพิธีอัญเชิญองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีออกแห่รอบโบสถ์)
#73
พระพิฆเนศวร์ รุ่น "ทรงพล"



            เนื่องในศุภวาระที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สถาปนามาครบ ๔๕ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๕๖ นี้ จึงได้มีการจัดสร้างองค์พระพิฆเนศวร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของคณะฯ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และเป็นที่ระลึกในวาระอันเป็นมงคลดังกล่าว

             พระพิฆเนศวร์รุ่น "ทรงพล" มีความหมายว่า พระองค์ทรงไว้ซึ่งพลัง (พล) ที่จะประทานพรแห่งความสำเร็จ ปัญญา ความร่ำรวย และสิริมงคลทุกประการแก่ผู้บูชา และยังเป็นนามแห่งลานกิจกรรมเก่าแก่ของคณะฯ ซึ่งจะนำรายได้จากการบูชามาปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสำหรับการจัดกิจกรรมของเยาวชนอีกด้วย

รูปแบบของพระพิฆเนศวร์ รุ่น "ทรงพล"

            จากตราสัญลักษณ์ของคณะอักษรศาสตร์ ที่เป็นรูปพระพิฆเนศวร์ประทับบนเมฆ สู่การรังสรรค์เป็นประติมากรรมลอยองค์โดย อ.พงษ์พันธ์ จันทนมัฎฐะ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินชั้นแนวหน้าคนหนึ่ง ของเมืองไทย โดยเทวรูปถูกต้องสมบูรณ์ตามเทวลักษณะ และให้ความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ ทรงพลัง สมควรแก่การเคารพบูชา

ชนวนมวลสาร

            มวลสารแผ่นทอง จากเทวสถานอัษฏวินายกทั้ง 8 แห่ง อันเป็นสุดยอดเทวสถานของพระพิฆเนศวร์ในประเทศอินเดีย และวัดพระศรีสิทธิวินายก เมืองมุมไบ พระพิฆเนศวร์ที่ถือกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีแผ่นยันตร์ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น ศรียันต์ คณปติยันต์ สรัสวตียันต์ ยันต์นพเคราะห์ ยันต์วาสตุ ยันต์มหาเศรษฐี ยันต์ครูในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์และดนตรีไทย ฯลฯ เพื่อให้พระพิฆเนศวร์ที่จัดสร้างขึ้นนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ครอบคลุมทุกด้าน แผ่นยันตร์ข้างต้นได้รับการอธิษฐานจิตอีกครั้งโดย ท่านบัณฑิตวิทยาธร ศุกล(สุกุลพราหมณ์)ประธานปุโรหิตฮินดูแห่งประเทศไทย นับว่าเป็นการจัดสร้างองค์พระพิฆเนศวร์ที่มีมวลสารพิเศษที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศ
#74

.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาเนื่องในโอกาส
.
" วันคล้ายวันประสูติองค์พระหนุมาน (HANUMAN JYANTHI) "
.
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)
.
วันศุกร์ที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖
.
พิธีบูชาเริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.
.
(หลังเสร็จพิธี อัญเชิญองค์พระหนุมานออกแห่)
#75

บทความพิเศษเรื่อง

" ความรู้เรื่องเครื่องหอมจุณเจิม และการเจิมของชาวฮินดู "

บทความโดย
"หริทาส"
.

*******************************

จนฺทนสฺย มหตฺปุณฺยํ ปวิตฺรํ ปาปนาศนมฺ


อาปทามฺ หรเต นิตยํ ลกฺษฺมี ติษฺฐติ สรวทา

ผลบุญใหญ่แห่ง(การจุลเจิม)จันทน์ คือทำให้บริสุทธิ์(ปวิตร) บาปทั้งปวงย่อมสิ้นไป

แม้พกพาติดตัวเป็นนิตย์ พระลักษมี(คือความมีโชค) ย่อมสถิตอยู่ในกาลทุกเมื่อ

(นิตฺยกรฺมปธติ หน้า 14)


ออกจะเป็นความสงสัยขั้นพื้นฐาน สำหรับคนที่สนใจศาสนาฮินดูและวัฒนธรรมอินเดียว่าทำไมชาวฮินดู จึงมีการเจิม หรือแต้ม ผง สีต่างๆบนหน้าผาก เป็นสัญลักษณ์ต่างๆก็มี ไปไหว้พระที่เทพมณเฑียรทำไมเขาเจิมให้ด้วยแป้งเหลวสีส้มๆ พอไปวัดสีลมทำไมเขาใช้ผงแดงๆกับขาวมาเจิม

ผมจะพยายามค้นหาข้อความรู้ เกี่ยวกับ วัสดุที่ใช้ในการเจิม คติความเชื่อ พิธีกรรม และข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ เครื่องจุณเจิม และการเจิม เท่าที่สติปัญญา จะพอมีนะครับ และแน่นอนว่า ผมอ้างอิงความรู้เหล่านี้ จากตำหรับตำราที่ได้เรียนรู้มา จากที่ครูอาจารย์สั่งสอน ซึ่งบางแห่งบางสำนักอาจต่างออกไป แต่พยายามค้นคว้าจากที่ยึดถือกันโดยแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างนะครับ ทั้งนี้มิได้มีเจตนาจะให้ท่านต้องไปเสาะแสวงหาวัสดุแปลกๆ หรืออะไรพิเศษๆมาใช้ เพียงแต่ต้องการนำความรู้มาเสนอเท่านั้น

การเจิมนี้ จะมีมาเมื่อไหร่ไม่ีทราบได้ ในสมัยโบราณ คงได้ทำกันมาแล้ว เฉกเช่นเดียวกับการทาสัญลักษณ์ต่างๆในชาวพื้นเมืองหลายเผ่าดงัที่เราเห้นกันในปัจจุบัน ทั้งนี้โดยอาจมีจุดมุ่งหมายที่พอจะสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้คือ

1.เป็นการฉาบไล้ร่างกายด้วยสมุนไพร หรือ วัสดุต่างๆ เพื่อเหตุผลทางสุขอนามัย เป้นสำคัญ เช่น เพื่อป้องกันโรคผิวหนัง แมงสัตว์ ป้องกันแดดร้อน สร้างกลิ่นที่หอมเพื่อขจัดกลิ่นกาย  ตัวอย่างนี้เช่นในปัจจุบัน บรรดานักบวชสาธุที่เร่รร่อนไปบางทีก็ได้ใช้ขี้เถ้าจากการเผาศพชโลมร่างกาย(ว่ากันว่า เพื่อปฏิบัติเช่นเดียวกับพระศิวะบรมโยคี) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้ไม่เป็นโรคผิวหนัง  ไม่มีแมลงสัตว์กัดต่อย  นี่อาจเป็นเหตุผลที่โบราณและจำเป็นที่สุด สำหรับการจุณเจิม เหมือนในปัจจุบันที่เราใช้เครื่องสำอางชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผู้กล่าวว่า การเจิม โดยเฉพาะที่จุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วทั้งสอง ซึ่งเป็นศูนย์รวมประสาท โดยสิ่งที่มีความเย็น เช่นแป้งจันทน์ จะช่วยให้ผู้นั้นมีสุชภาพที่ดี มีประสาทที่เปิดกว้าง หรือ มีคำอธิบายในเรื่องจักระและพลังงานอีกมาก

2.เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของเผ่าหรือหมู่พวกคณะของตน อันนี้คงเป็นความหมายมาแต่เดิม จนกระทั้ง ศาสนาฮินดูแตกเป็นนิกายต่างๆ การเจิมบนหน้าผาก ด้วยสี และรูปร่างที่แตกต่างกันคงแสดงถึงความหมายในข้อนี้  กล่าวคือแสดงสัญลักษณ์ของนิกาย ซึ่งแบ่งออกเป้นนิกายของนักบวชและของฆราวาส ซึ่งของนักบวชนั่นมีมากมายหลายร้อยนิกายย่อยๆ




ตัวอย่างการเจิมหน้าผากหลายๆแบบที่แสดงถึงนิกายต่างๆ โดยเฉพาะในฝ่ายไวษณวนิกายที่นับถือพระวิษณุ
ที่แยกย่อยไปตามคณาจารย์ เช่น รามานุชะ วัลลภาจารย์ มาธวาจารย์ เป้นต้น

3.แสดงสถานภาพทางสังคมและศาสนา เช่น การเจิมในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว หรือแสดงว่าเป็นผู้ที่ผ่านศาสนพิธีต่างๆมา

4.เหตุผลอื่นๆ อันนี้ผมคิดว่าคงเป็นคำอธิบายที่มีขึ้น "ในภายหลัง"  เช่น ความเป็นสิริมงคล   โดยเฉพาะการเจิมบนหน้าผาก ที่ถือเป้นส่วนยอดของร่างกาย ฯลฯ

ผมสังเกตว่าในหนังสือนิตยกรรม หรือหนังสือแนะนำ กิจประจำวันทางศาสนาของฮินดูนั่น มักรวมเอาเรื่องทางสุขอนามัย ผสมผสานกับเรื่องทางศาสนาอย่างแยกไม่ออก เพราะในอดีต ความรู้ทางสุขอนามัยและวิทยาศาสตร์ มิได้แยกออกจากเรื่องทางศาสนา กิจที่สะอาด จึงเท่ากับเป็น กุศลมงคลและดี

คนอินเดีย มักจะเรียกเครื่องเจิมอย่างง่ายๆรวมๆว่า จันทน์(จนฺทน) ออกเสียงว่า จันดั้น ซึ่งจริงๆคำๆนี้หมายถึง ไม้จันทน์หอม และเรียก สัญลักษณ์จุลเจิมบนหน้าผากว่า ติลก (ติลก) หรือไทยเรียกว่า ดิลก
#76
กำหนดการพระราชพิธีตรียัมพวาย - ตรีปวาย พุทธศักราช ๒๕๕๖
วันที่ ๑๘ มกราคม – ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
ณ พระเทวสถาน สําหรับพระนคร (โบสถ์พราหมณ์)






วันศุกร์ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ขึ้น ๖ ค่ํา ๐๔.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. - ถือพรต (ในปัจจุบันถือว่าหลังเวลา ๒๔.๐๐ น.ถือว่าเป็นวันรุ่งขึ้น)
ขึ้น ๗ ค่ํา ๒๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. - อ่านพระเวท เปิดประตูเทวาลัย สวดสักการะ(สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ขึ้น ๘ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. - ถวายข้าวเวทย์
๒๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ขึ้น ๘ ค่ํา ๐๓.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. - เชิญนางกระดานลงหลุม
ขึ้น ๙ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. -ถวายข้าวเวทย์
๒๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันจันทร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ขึ้น ๑๐ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. -ถวายข้าวเวทย์
๒๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันอังคาร ที่๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ขึ้น ๑๑ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. -ถวายข้าวเวทย์
๒๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันพุธ ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ขึ้น ๑๑ ค่ํา ๐๓.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. - เชิญนางกระดานขึ้น
ขึ้น ๑๒ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. -ถวายข้าวเวทย์
๒๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ขึ้น ๑๓ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. - ถวายข้าวเวทย์
๒๐.๐๐– ๒๒.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันศุกร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖


ขึ้น ๑๔ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. - ถวายข้าวเวทย์
๒๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันเสาร์ที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ขึ้น ๑๕ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. - ถวายข้าวเวทย์
๒๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)

วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

แรม ๑ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. - ถวายข้าวเวทย์
๑๕.๐๐ น. - เปิดประตูเทวลัย (สถานพระนารายณ์)
๑๘.๐๐ น. -รับเทวรูป พระอิศวร พระอุมา พระพิฆเนศวร
๒๐.๐๐ - ๒๔.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระอิศวร , พระพิฆเนศวร)
- ช้าหงส์ส่งพระอิศวร (สถานพระอิศวร)
-อ่านพระเวทปิดประตูเทวลัย (สถานพระอิศวร)

วันจันทร์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

แรม ๒ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. -ถวายขาวเวทย
-คณะพราหมณ์เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี
เพื่อถวายอุลุบ และเครื่องพิธี ฯลฯ
๒๐.๓๐ - ๒๑.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระนารายณ์)

วันอังคารที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

แรม ๓ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. -ถวายข้าวเวทย์
๑๘.๐๐ น. - รับเทวรูปพระพรหม
๒๐.๓๐ - ๒๔.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระนารายณ์ , สถานพระอิศวร)
- ช้าหงส์ส่งพระพรหม (สถานพระอิศวร)

วันพุธที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

แรม ๔ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. -ถวายข้าวเวทย์

๐๙.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. -คณะพราหมณ์เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
เพือถวายอุลุบ และเครื่องพิธี ฯลฯ
๒๐.๓๐ - ๒๑.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระนารายณ์)

วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

แรม ๕ ค่ํา ๐๗.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. -ถวายข้าวเวทย์
๑๕.๐๐ น. - เด็กลงทะเบียนตัดจุก
๑๖.๐๐ น. - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เย็น
๑๘.๐๐ น. -รับเทวรูป พระนารายณ์
๒๐.๓๐ - ๒๔.๐๐ น. - สวดสักการะ (สถานพระนารายณ์)

- ช้าหงส์ส่งพระนารายณ์ (สถานพระนารายณ์)
-อ่านพระเวทปิดประตูเทวาลัย (สถานพระนารายณ์)

วันศุกร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

แรม ๕ ค่ํา ๐๕.๓๐ น. - เด็กมาพร้อมกันเพื่อเข้าพิธตัดจุก
๐๕.๔๕ น. - ประกอบพิธีสงฆ์
แรม ๖ ค่ํา ๐๖.๐๐ น. -ได้อรุณประกอบพิธีตัดจุก
๐๖.๓๐ น. -ร่วมกันใส่บาตรถวายภัตตาหารเช้า , สมโภชเทวรูป
- เด็กที่มาตัดจุกรับเหรียญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-อัญเชิญเทวรูปพระอิศวร พระอุมา พระพิฆเนศวร
พระพรหม และ พระนารายณ์กลับไปประดิษฐานยงพระบรมมหาราชวัง
#77
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย
ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖ วันอังคารที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖



         " ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มความสุข ความเจริญ และความสำเร็จสมประสงค์ ในสิ่งที่ปรารถนา.

         ข้าพเจ้าขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่พรั่งพร้อมกันมา ให้กำลังใจแก่ข้าพเจ้าในคราววันเกิด ด้วยความหวังดีจากใจจริง น้ำใจไมตรีที่ทุกคนทุกฝ่าย แสดงออกในวันนั้น ยังประทับอยูในความทรงจำของข้าพเจ้าไม่รู้ลืม ในปีใหม่นี้ ข้าพเจ้าจึงปรารถนาอย่างยิ่ง ที่จะเห็นคนไทยเราได้ตั้งจิตตั้งใจ ให้มั่นอยู่ในความเมตตาและหวังดีต่อกัน ดูแลเอาใจใส่กัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้กำลังใจแก่กันและกัน ผูกพันกันไว้ฉันญาติและฉันมิตร ทุกคนทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือ ร่วมความคิดอ่านกัน สร้างสรรค์ความสุข ความเจริญมั่นคง ให้แก่ตนชาติได้ ดังที่ตั้งใจปรารถนา

         ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกายสุขใจ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน "



ส.ค.ส.พระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖ แก่ประชาชนชาวไทย



         ส.ค.ส.พระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เชิ้ตลำลองสีฟ้า มีลายเส้นสีชมพูและสีฟ้าฟ้าเข้มพาดตัดกัน พระสนับเพลาสีดำ และฉลองพระบาทสีดำ

          ประทับบนพระเก้าอี้ ด้านขวาของพระเก้าอี้ที่ประทับ มีโต๊ะกลม วางพระบรมฉายาลักษณ์ครอบครัว และเชิงเทียนแก้ว ทรงฉายกับสุนัขทรงเลี้ยง คือ คุณทองแดงที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ สวมเสื้อสีทอง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านขวา และคุณมะลิ แม่เลี้ยงคุณทองแดง สวมเสื้อสีทอง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านซ้าย

          ด้านหลังพระเก้าอี้ที่ประทับ ตกแต่งด้วยดอกกล้วยไม้หลากสี ด้านขวาบน มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับ ส่วนด้านซ้ายมีผอบทองประดับ

         ด้านล่างของผอบทอง มีตัวอักษรสีทอง ข้อความว่า ส.ค.ส. พ.ศ. ๒๕๕๖ สวัสดีปีใหม่ และ ตัวอักษรสีขาว ข้อความว่า ขอจงมีความสุขความเจริญ HAPPY NEW YEAR

         ด้านขวา ใต้ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ มีข้อความพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีเหลือง ข้อความว่า "ความเมตตาเป็นคุณธรรมนำความสุข ช่วยปลอบปลุกปรุงใจให้หรรษา ความกตัญญูรู้คุณผู้เมตตา ทวีค่าของน้ำใจไมตรีเอย"

         ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีแถบสีม่วงเข้ม มุมล่างขวา มีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 181122 ธค.55 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad , D Bramaputra , Publisher ( พริ้นเทด แอ้ท เดอะ สุวรรณชาด , ดี. พรหมบุตร, พับลิชเชอร์ )

          กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ ๓ แถว ส่วนด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ ๒ แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม
#78
สวัสดีปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖

เนื่องในโอกาสเทศกาลปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖
ในนามทีมงานเว็ปมาสเตอร์ www.HinduMeeting.com
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และเทวะบารมีแห่งพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทุกพระองค์
โปรดดลบันดาลประทานพรให้สมาชิกชาว HinduMeeting ทุกท่านมีความสุข
คิดหวังสิ่งใดในทางที่ถูกที่ควรก็ขอให้สำเร็จดังหวัง ปราศจากทุกข์ภัยไข้เจ็บ
ประสบความสำเร็จในชีวิตและการงาน
ทั้งกอรปด้วยกำลังสติปัญญาอันจะนำชีวิตไปในหนทางแห่งความผาสุกสวัสดีโดยทั่วหน้ากันเทอญ


***ส่งความสุขปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖***

ในโอกาส ดิถี ขึ้นปีใหม่
ขอพระคเณศ อวยชัย ไทยทุกถิ่น
ให้ไร้ทุกข์ พ้นโศก หมดราคิน
มีทรัพย์สิน มั่งคั่ง พรั่งพร้อมเทอญ ฯ


.
#79
.
ขอเชิญร่วมพิธีบูชาเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๖

(บูชาองค์พระคเณศ พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี และพระแม่ลักษมี)

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม)

วันอังคารที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖

พิธีบูชาเช้า เริ่มเวลา ๙.๐๐ น. พิธีบูชาเย็น เริ่มเวลา ๑๗.๓๐ น.

(หลังเสร็จพิธีอัญเชิญเทวรูปทั้งสามพระองค์ออกแห่)
#80
บทความพิเศษเรื่อง " ชีวิตนักบุญฮินดู : สันตะเอกนาถ (Sant Eknath) "

บทความโดย หริทาส

****************


ช่วงสองสามวันมานี้ ระลึกนึกถึงนักบุญท่านนึงในศาสนาฮินดู คือ ท่านสันตะเอกนาถ (Sant Eknath)(1533–1599) หนึ่งในนักบุญยิ่งใหญ่แห่งแคว้นมหาราษฎร์(Maharashtra)

ท่านเอกนาถ เป็นนักบุญยุคกลางที่มีเอกลักษณ์ที่ขันติธรรม ความเมตตากรุณาในเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ และเป็นนักบุญท่านแรกๆที่เน้นการปฏิรูปสังคม โดยเฉพาะกับคนที่ถูกข่มเหง หรือคนวรรณะต่ำในอินเดีย

ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ต่อมาได้ไปเรียนกับท่านชนารทนสวามี ซึ่งเป็นผู้รู้พระเวทและโยคะ จนเกิดประสบการณ์แห่งสมาธิรวมจิตเป็นหนึ่งเดียวกับท่านคุรุ และรอบรูทั้งพระเวทและปุราณะ ในเวลาต่อมา ท่านคุรุได้ให้กลับไปบ้านเพื่อครองเรือนตามประสงค์ของปู่ย่า ท่านจึงครองเพศคฤหัสถ์และแต่งงานกับ คิริชาพาอี(Girija Bai) ซึ่งเป็นภรรยาที่สมกับความเป็นภรรยาแห่งนักบุญทุกประการ มีจิตใจที่ไม่ต่างจากท่าน

ท่านเน้นสอนผู้คนให้เมตตา มีความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า(พระปาณฑุรังคะ หรือพระวิฑล หรือ วิโฑพา ซึ่งเป็นภาคหนึ่งของพระกฤษณะ ประดิษฐานอยู่ที่ปันธรปุระ ดูในภาพ)

ท่านได้แปล "ภาควตปุราณะ" จากสันสกฤต สู่ภาษามาราฐี เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าใจได้

มีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับจิตใจแห่งความเป็นนักบุญของท่าน

เรื่องแรก ท่านลงอาบน้ำที่แม่น้ำโคทาวารีตามประเพณีพราหมณ์ในตอนเช้า เมื่อขึ้นมาก็โดน มุสลิมผู้หนึ่ง ถ่มน้ำลายใส่ด้วยความคะนอง ท่านจึงลงกลับไปอาบน้ำอีกเพื่อล้างคราบน้ำหมากน้ำลาย แต่เมื่อกลับขึ้นมา ก็โดนถ่มน้ำลายใส่อีกหลายต่อหลายครั้งแต่ท่านก็ไม่ได้โกรธเคืองแต่อย่างใด

มุสลิมผู้นั้นอยากจะรู้ว่าท่านจะทนได้สักแค่ไหน จึงถ่มน้ำลายใส่ท่านขณะขึ้นจากน้ำอย่างซ้ำๆถึง 108 ครั้ง!

ครั้นถ่มไปมากถึงเพียงนั้น ท่านก็หาได้แสดงความโกรธไม่ จนมุสลิมผู้นั้นสำนึกผิด ร้องไห้ก้มกราบขอขมาในความผิดของตน

แต่ท่านกลับกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นต้องขอโทษเลย ท่านเสียอีกต้องขอบคุณต่อมุสลิมผู้นั้น เพราะทำให้ท่านได้มีบุญลงอาบในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ถึง108 ครั้ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ เป้นวันที่ท่านได้บุญมากมายมหาศาล

ท่านนักบุญเอกนาถถือว่า ทุกสรรพชีวิตมีกายเป็นวิหาร มีพระเป็นเจ้าอยู่ภายในใจ ดังนั้นท่านจึุงเคารพและให้เกียรติทุกชีวิต แม้ว่าชาติกำเนิดของท่านจะเป็นพราหมณ์ แต่ก็ไม่เคยรังเกียจคนวรรณะต่ำหรือสัตว์ต่างๆเลย เรื่องราวเกี่ยวกับความรักในเพื่อนมนุษย์ของท่านมีดังนี้

คราหนึ่งในเทศกาลศราทธ หรือเทศกาลอุทิศกุศลให้บรรพบุรุษของชาวฮินดู ตามธรรมเนียมจะมี
การเชิญพราหมณ์มารับประทานอาหารที่บ้านเพื่ออุทิศกุศล เชื่อกันว่า เทพบิดร(ปิตฤ)จะได้รับอาหารนั้นด้วย

ในช่วงนั้น ขณะที่คิริชาพาอี ภรรยาของท่านเอกนาถเตรียมอาหารในครัว กลุ่มคนจัณฑาล(ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม)เดินผ่านบ้านของท่านพอดี และได้กลิ่นอาหารเข้า คนเหล่านั้นเปรยว่า
"แหม่ กลิ่นอาหารช่างหอมหวลเสียจริง ใครได้กินอาหารนี้คงเป็นบุญปากแท้ หิวเหลือเกิน"

ท่านเอกนาถได้ยินเข้า จึงเชื้อเชิญคนเหล่านั้นทั้งหมดให้เข้ามาทานอาหารที่บ้าน

แต่คิริชาพาอีร้องท้วงขึ้นว่า
"อย่ามาแค่นี้ กลับไปพาลูกเมียมาด้วย"
คนจัณฑาลเหล่านั้นจึงได้ทานอาหารในบ้านท่านเอกนาถ

ขณะเดียวกัน บรรดาพราหมณ์ต่างพากันรังเกียจ ไม่มีใครยอมเข้ามาทานอาหารในบ้าน พร้อมบริภาษท่านเอกนาถว่า บรรพบุรุษจะต้องหิวโหยแน่เพราะไม่ได้เลี้ยงอาหารแก่พราหมณ์

เล่ากันว่า ทันใดนั้นเทพบิดรหรือบรรพบุรุษต่างพากันมาจากปิตฤโลก ลงมาทานอาหารต่อหน้าพวกพราหมณ์เหล่านั้น

พวกพราหมณ์เก็บความแค้นไว้ วันหนึ่งจึงไปจ้างพราหมณ์แก่ให้ไปทำให้ท่านเอกนาถโกรธ
พราหมณ์คนนั้นเดินสวมรองเท้า เหยียบเข้าไปนั่งยังแท่นบูชาขณะที่ท่านเอกนาถกำลังบูชาพระอยู่

ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ท่านถอดรองเท้าของพราหมณ์ผู้นั้นออก นำถาดบูชารองเท้าของพราหมณ์ ล้างเท้า กระทำบูชาด้วยของที่ท่านเตรียมไว้สำหรับเทพเจ้า ท่ามกลางความตกตะลึงของพราหมณ์คนนั้น

"อติถิ เทโว ภว แขกผู้มาเยือนคือเทพเจ้า"

จากนั้นก็หาอาหารให้พราหมณ์กิน พราหมณ์แก่หาวิธีสุดท้ายที่จะทำให้ท่านโกรธ

จู่ๆก็กระโดดขี่หลังภรรยาของท่าน

ด้วยความเยือกเย็นท่านเอกนาถ จึงบอกภรรยาว่า "ดูแลท่านให้ดี ท่านขี่หลังเหมือนเด็กๆ ให้คิดว่าท่านคือลูกแล้วกันนะ" ภรรยาท่านรับคำ

พราหมณ์ผู้นั้นรีบลงจากหลัง ก้มกราบขอโทษ แล้วบอกความจริงทั้งน้ำตาว่า พราหมณ์พวกนั้นบอกว่า ถ้าทำให้ท่านเอกนาถโกรธได้ จะได้เงิน 6 รูปี

่ท่านเอกนาถจึงบอกกับพราหมณ์ว่า "ถ้าท่านบอกเราอย่างนี้แต่แรก เราจะโกรธท่าน"

จากนั้นท่านแกล้งทำเป็นดุว่าให้พวกพราหมณ์ที่รอดูเหตุการณ์อยู่ข้างนอกได้ยิน เพื่อที่พราหมณ์แก่จะได้เงิน 6 รูปี


ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับแง่มุมแห่งความกรุณาในชีวิตของท่านอีกมากมาย

ไม่ว่าค่ำมืดดึกดื่นแค่ไหน หากมีแขกมาหาท่านจะต้อนรับเสมอ และภรรยาของท่านก็จะทำหน้าที่หุงหาอาหารให้แขกทานอย่างอิ่มหนำ

ท่านเชิญคนทุกชนชั้นมาทานอาหารที่บ้าน และไปทานอาหารในบ้านคนวรรณะต่ำอย่างไม่รังเกียจ

คราวหนึ่ง มีขโมยขึ้นบ้านท่านกลางดึก ในความมืด ขโมยผู้นั้นพยายามควานหาของเท่าที่จะหยิบได้

ท่านเอกนาถตื่นขึ้น และพบว่า ขโมยกำลังเงอะๆงะๆกับการหาของมีค่าในความมืด

ท่านจึงหยิบกล่องทรัพย์สินส่งให้ขโมย

ขโมยผู้นั้นตกใจมาก รีบก้มกราบขอโทษด้วยกลัวความผิด บอกกับท่านว่าเขาไม่ได้ทานอะไรมาเลย ที่ขโมยก็เพราะทำไปด้วยความหิว

ท่านเอกนาถตามไฟในบ้าน ปลุกคิริชาพาอีให้ตื่นเข้าครัว ทำอาหารกลางดึก

ขณะคิริชาพาอีเข้าครัวอย่างไม่อิดออด ท่านเอกนาถสำทับว่า "อย่าลืมทำให้เกินไว้นะ จะได้ใส่ห่อให้เขาเอากลับไปกินที่บ้านด้วย"...

นี่คือจิตใจแบบนักบุญ

ความเมตตาของท่านยังเผื่อแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งหลาย เล่ากันว่า
ขณะที่ท่านเดินทางแสวงบุญตามประเพณีโบราณ คือ ตั้งต้นที่เมืองพาราณสี ตักน้ำจากแม่น้ำคงคาในพาราณสี ลงใต้ไปยังราเมศรัม เอาน้ำคงคาสรงพระราเมศรัมแล้ว ก็ตักน้ำทะเลจากราเมศวรัมกลับมาสรงพระวิศนาถที่พาราณสี จึงจะถือว่าการยาตราบริบูรณ์ ซึ่งกินเวลายาวนาน และระยะทางวที่ยาวไกล

ขณะท่านเดินทางไปราเมศรัม ก็พบกับ ลาตัวหนึ่งกำลังจะตายเพราะขาดน้ำ

ท่านจึงนำน้ำคงคาที่ตักมา เทให้ลาดื่มจนหมด

เพื่อนร่วมทางถามท่านว่า "แล้วท่านจะเอาอะไรไปสรงราเมศรัม?"

"เราสรงราเมศรัมที่สถิตในลาตัวนั้นไปแล้ว"


เล่าสืบกันมาว่า ความรักความเมตตาของท่านต่อผู้อื่น เป็นที่ประทับใจของพระผู้เป็นเจ้ามาก พระปาณฑุรังคะ หรือพระกฤษณะพระองค์เอง จึงได้ปลอมตนมาเป็นศิษย์คนหนึ่งของท่านและอยู่รับใช้ท่านเอกนาถถึง 12 ปี
(ตำนานของทางมาราฐา มักเล่าว่าพระเป็นเจ้าปาณฑุรังคะ หรือพระวิโฑพาเจ้า ชอบที่จะมามีปฏิสัมพันธ์กับสาวกเสมอๆ มาช่วยทำงานบ้านก็มี ในชีวิตนักบุญท่านอื่นๆก้มีเรื่องประมาณนี้ แต่ถึงกลับมาเป็นศิษย์ของสาวกตนเอง มีแค่ท่านเอกนาถ นี่คือแง่งามของความรักระหว่างพระเจ้ากับสาวก ในกลิ่นแบบฮินดูๆ)

คำสอนของท่านเอกนาถ เรียบง่าย เน้นชีวิตคฤหัสถ์ ไม่จำเป็นต้องออกบวช ไม่จำเป็นต้องทำพิธีที่ยุ่งยากซับซ้อน ท่านสอนผู้คนให้ทำ "นามสังกีรตนัม"คือขับร้องสวดท่องพระนามแห่งพระเป็นเจ้าด้วยจิตใจซาบซึ้งเบิกบาน หนทางในการเข้าสู่พระเจ้าคือความรัก ท่านสอนให้ผู้คนไม่แบ่งแยก และมีเมตตาเคารพต่อกันเพราะพระเจ้าสถิตในทุกชีวิต

ท่านสร้างผลงานชิ้นใหญ่ที่สุดคือการแปล ภาควตปุราณะเป็นภาษาพื้นเมืองเรียกว่า เอกนาถี ภาควัตตัม นอกนั้นยังปรับปรุงคัมภีร์ "ชญาเณศวรี" หรือ ภควัทคีตาฉบับที่ท่านนักบุญชญาเณศวร ซึ่งเกิดก่อนท่านถึง300 ปีแปลไว้ และบทกวีนิพนธ์ที่ใช้ขับร้อง เรียกว่า อภังคะอีกจำนวนหนึ่ง

ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต เล่ากันว่า เมื่อได้สั่งเสียลูกศิษย์แล้ว ท่านได้เข้า "มหาสมาธิ"(คือการตายของนักบุญหรือนักบวช) โดยร่างท่านได้จมหายไปในแม่น้ำโคทาวารี เช่นเดียวกับนักบุญชญาเณศวรที่ท่านนับถือ