Loader

มีผู้ใดจะคลายความสงสัยในข้อความได้บ้างครับกะผม

Started by Neosiris, November 03, 2009, 14:34:11

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

เคยมีผู้กล่าวว่า ชนชาติใดเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ก็มักจะเขียนเข้าข้างตัวเอง แต่ความเข้าใจเช่นนี้ไม่น่าจะถูกต้องนัก สำหรับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หรือประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมศาสดาเอกของโลก

เมื่อครั้งที่ ท่าน ลาลูแบลร์ราชทูตฝรั่งเศส ได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้น ท่านได้รายงานกลับไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุลาลูแบลร์ ว่า "พระพุทธเจ้าโคตมะเป็นบรรพบุรุษของชาวสยาม"
    
ซึ่งคงจะไม่มีใครเชื่ออย่างนั้น และคงจะคิดว่า คนสยามในสมัยนั้น คิดเข้าข้างตัวเอง และเล่าความเท็จให้ราชทูตฟัง ดังที่มีลูกหลานคนไทยเองได้แสดงความคิดเห็นต่อบรรพบุรุษของตัวเอง ว่าเอกสารโบราณของไทยที่กล่าวถึงประวัติพระพุทธเจ้าส่วนมากเป็นตำนานพื้นบ้าน โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดรับสั่งกับประชาชนว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จะมาประดิษฐานในที่นั้นๆ หลังจากพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งเอกสารเหล่านี้เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง มิได้เขียนขึ้นบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์แต่เขียนตามจินตนาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนชมพูทวีปเป็นประเทศสยาม

แต่วันนี้ ผมอยากจะเชิญชวนท่านทั้งหลาย เปิดใจให้กว้าง ลืมสิ่งที่เราเคยรับรู้มาก่อนหน้านี้ ทำใจให้เป็นกลางๆ แล้วค่อยๆ อ่าน เรื่องราวทั้งหลาย ที่ผมพยายามประมวลเรียบเรียงมาทั้งหมด เพราะผมเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้อง ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีสติ เพื่อคลี่คลายความจริงให้แผ่นดิน


เอกอิสโร วรุณศรี

ชุมนุมฟื้นธรรมฟื้นไทยแห่งยุคหลังกึ่งพุทธกาล

๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนกันแน่

ในคัมภีร์อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอก-ทุก-เอกนิบาต ตอนหนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ รจนาไว้ว่า
ชมฺพูทีเป ความว่า ชื่อว่า ชมพูทวีป เพราะเป็นทวีปที่รู้กันทั่วไป คือ ปรากฏด้วยต้นหว้าเป็นสำคัญ. เขาว่าทวีปนี้มีต้นหว้าใหญ่
ตระหง่านสูง ๑๐๐ โยชน์ กิ่งยาว ๕๐ โยชน์ ลำต้นกลม ๑๕ โยชน์ เกิดอยู่ที่เขาหิมพานต์ตั้งอยู่ชั่วกัป. ทวีปนี้เรียกว่าชมพูทวีป เพราะมีต้น
หว้าใหญ่นั้น. อนึ่งในทวีปนี้ ต้นหว้าตั้งอยู่ชั่วกัป ฉันใด แม้ต้นไม้ เหล่านี้ คือ ต้นกระทุ่ม ในอมรโคยานทวีป ต้นกัลปพฤกษ์ ในอุตตรกุรุทวีป ต้นซีก ในบุพพวิเทหทวีป ต้นแคฝอยของพวกอสูร ต้นงิ้วของ
        
พวกครุฑ ต้นปาริชาตของพวกเทวดา ก็ตั้งอยู่ชั่วกัปเหมือนกัน ฉันนั้น.

"ชมพูทวีป"
นี้มีความสำคัญอย่างไร ทำไมจะต้องค้นหานั้น ก็เป็นเพราะว่า ชมพูทวีปนี้ เป็นทวีปที่ตั้งของมัชฌิมประเทศ อันเป็นที่ที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญ แล้วเสด็จอุบัติในประเทศนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี แล้วมาเกิด พระมหาสาวกทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี แล้วมาเกิด พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเสด็จมาเกิด อีกทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ และคฤหบดีผู้มหาศาล ผู้มีศักดิ์ใหญ่เหล่าอื่นก็มาเกิดในประเทศนี้ ดังในคัมภีร์พระอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ตอนหนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ รจนาไว้ว่า

แต่นั้นเมื่อจะทรงตรวจดูทวีป ได้ทรงพิจารณาดูทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทวีปที่เป็นบริวาร ทรงเห็นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มาเกิดในทวีปทั้ง ๓
จะเกิดเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น. แต่นั้นทรงตรวจดูประเทศว่า ขึ้นชื่อว่า ชมพูทวีป จัดเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณถึงหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมมาเกิดในประเทศไหนหนอแล ทรงพิจารณาเห็นมัชฌิมประเทศแล้ว.ที่ชื่อว่า มัชฌิมประเทศ ได้แก่ประเทศที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพระวินัย โดยนัย
เป็นต้นว่า มีนิคมชื่อกชังคละอยู่ในทิศบูรพา ดังนี้. ก็มัชฌิมประเทศนั้น มีกำหนดว่า ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์.
ก็สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปบ้าง ๘ อสงไขยแสนกัปบ้าง ๑๖ อสงไขยแสนกัปบ้าง แล้วเสด็จอุบัติใน
ประเทศนี้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยแสนกัปแล้วมาเกิด. พระมหาสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ
เป็นต้น บำเพ็ญบารมี ๑ อสงไขยแสนกัป แล้วมาเกิด. พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ปราบดาภิเษกเหนือทวีปใหญ่ทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารย่อมเสด็จ
มาเกิด. อีกทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ และคฤหบดีผู้มหาศาล ผู้มีศักดิ์ใหญ่ เหล่าอื่นก็มาเกิดในประเทศนี้. ก็และในประเทศนี้ มีพระนครชื่อว่า กบิลพัสดุ์
เป็นราชธานี พระองค์จึงตกลงพระทัยว่า เราควรเกิดในนครกบิลพัสดุ์นั้น.
     
แต่ในความเข้าใจปัจจุบัน ในแบบเรียน หรือหนังสือประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เมื่อกล่าวถึง

"ชมพูทวีป"

อันเป็นแดนเกิดของพระพุทธเจ้า ก็มักจะอธิบาย ว่า ดินแดน ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ๔ ประเทศ คือ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ทั้งที่ บรรพชนคนในแถบสุวรรณภูมิ ทั้ง คนไทย ลาว พม่า มอญ สมัยโบราณ ต่างก็รู้ว่า ชมพูทวีป คือที่นี่ ซึ่งเป็นแผ่นดินที่ตั้งของ ประเทศ พม่า มอญ ไทย และลาว แล้วไม่มีใครสงสัยเลยหรือว่าความเป็นจริงแล้ว ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนกันแน่

        
ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีป ของบรรพชนแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน นิทานพระพุทธสิหิงค์ ว่าด้วยตำนานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่ง พระโพธิรังสี แต่งไว้เป็นภาษาบาลี เมื่อก่อน พ.ศ. ๑๙๘๕ ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ครองเมืองเชียงใหม่ นั้นอยู่ที่ไหน?

ผมจะขอคัดลอก ความสำคัญแต่พอสังเขป ในเหตุการณ์ที่พระร่วงเจ้า หรือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมืองสุโขทัย ไปอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากเมืองนครศรีธรรมราช และได้ทราบคำของพระเจ้าศรีธรรมราช ว่า พระพุทธสิหิงค์ ได้แสดงปาฏิหาริย์ ลอยจากบัลลังก์ที่ประดิษฐานอยู่ ขึ้นสู่อากาศ ประดิษฐานอยู่ในท้องฟ้าเปล่งรัศมี ๖ ประการไปทั่วทุกทิศ ดังนี้

พระร่วงได้ทรงฟังแล้วมีพระทัยเปี่ยมไปด้วยปีติ ทรงยกอัญชลีขึ้นเหนือพระเศียร สรรเสริญพระพุทธคุณ ทรงป่าวประกาศพลนิกายทั้งหมดให้ถือเครื่องบูชา พระองค์แวดล้อมไปด้วยอุปราช ยุพราช และหมู่อำมาตย์มีนายทหารผู้กล้าหาญเป็นหัวหน้า เสด็จเข้าไปในเมืองศรีธรรมราช ทรงดำเนินด้วยพระบาท แหงนพระพักตร์ทอดพระเนตรดูเบื้องบน ทรงทำอัญชลีเหนือพระเศียร ถวายนมัสการพระพุทธสิหิงค์องค์ประเสริฐ เมื่ออาราธนาให้เสด็จลงมาได้ตรัสเป็นคาถาว่า

ภนฺเต ภนฺเต โลกนาถ
ภนฺเต โลกมหิทฺธิกํ
อหนฺตํ ติภวเสฏฐํ
ปณมามิ อิโต ปุเรฯ
อหนฺ กตฺตุกาโมมฺหิ
อาราเธตฺวา ภวาลเย
ชมฺพูทีปมนุสฺสานํ
เทวานญฺจานุกมฺปิตุงฯ
ยาวตา สาสนา ตุยฺหํ
ติฏฐนฺติ อภิวฑฺฒิตุง
มม วาเส สุโขเทยฺยํ
อภิรมฺมตรํ อิโตฯ
อมฺหากํ อนุกมฺปาย
คฉฺฉตํ สิริยา ชลํ
ชิโน โอรุยฺห เม สีเส
นิสิทิ ชนสมฺมุเขติฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่งของโลก ข้าแต่พระผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการพระองค์ผู้ประเสริฐในสามภพ ข้าพระพุทธเจ้าใคร่จะอาราธนาอัญเชิญพระองค์จากที่นี้ไปประดิษฐานอยู่ในเมืองโน้น เพื่อทรงอนุเคราะห์มนุษย์ชาวชมพูทวีป และเทวดาทั้งหลาย ตราบเท่าที่ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่เพื่อความเจริญ เมืองสุโขทัยเป็นที่อยู่ของข้าพระพุทธเจ้า น่ารื่นรมย์ยิ่งกว่าเมืองนี้ ขอพระองค์ได้โปรดเสด็จไปเพื่อทรงอนุเคราะห์ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระพุทธผู้รุ่งเรืองด้วยพระสิริวิลาส จงโปรดลงมาประทับบนศรีษะข้าพระพุทธเจ้าต่อหน้ามหาชนเถิดฯ     
ขณะเมื่อพระร่วงเจ้าอาราธนาอย่างนี้ พระพุทธรูปองค์ประเสริฐเสด็จลงมาจากอากาศประดิษฐานบนพระเศียรของพระองค์
     
นอกจากนี้ ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนของบรรพชนคนไทยแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน ตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดง ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ที่พระมหาญาณคัมภีร์ พระสงฆ์จากเชียงใหม่เดินทางไปลังกา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๖ ดังจะขอคัดลอกมาแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ ดังนี้

พระมหาญาณคัมภีระไปลังกา        

เมื่อนั้น ญาณคัมภีระจิ่งเมือเมตตาพระยาบรมราชาธิราชบอกกิจทังมวลดั่งอั้น พระยาจิ่งไหว้ญาณคัมภีระเถรเจ้าว่าดีนัก เจ้ากูบอกแก่ข้านี้ดีจิงนัแล ขอเจ้ากูอสหะไปเถิงที่เคล้า หื้อได้อันชอบธัมมวินัยมาไว้เทอะ ข้าจักหื้ออามาจผู้ชื่อสุภรติไปกับตามเจ้ากูชะแล พระยาแต่งอามาจบ่าว ๒ คน ไปกับญาณคัมภีรเถรเจ้า ว่าดีนักเจ้ากู เถรเจ้าก็ลงไปไหว้ธัมคัมภีระสมเด็จราชคุรุ ท่านยินดีจิ่งแต่งชาวเจ้าอันเป็นสิกไป ๕ ตน มีธัมมานันทะเป็นเคล้าแก่ชาวเจ้าทังหลาย ๑๒ ตน อุบาสก ๔ คนไปสู่มะริดตะนาวสี ขึ้นเมตตาพระยาเมืองที่นั้น ยินดีกับด้วยญาณคัมภีรเถรเจ้าอันจักไปเอาสาสนานั้น พระยาก็ราธนาเถรเจ้าขอปฏิญญาณว่า คันได้สาสนาและพอกมาขอเมตตาข้าทังหลายพายหน้าแท้ อย่าล่วงพ้นทางอื่นแด่ว่าสันนี้ ก็หื้อลงเรือไปด้วยพ่อค้าสำเภา ปีก่าเหม้าสักกราชได้ ๗๘๕ ตัว (พ.ศ. ๑๙๖๖) ไปนาน ๔ เดือน ก็ไปรอดเถิงลังกาทวีป ท่านก็เข้าไปไหว้มหาสุรินทเถรในเมืองอนุราธปุรนคร วัดถูปาราม ด้วยกิจทังมวล ๑๐ ประการ สุรินทเถรเจ้ากล่าวว่า ดั่งสาสนาในลังกา ๓๐ เมืองนี้ หากดูดั่งกันเสี้ยงแล เหตุว่าท่านเจ้าม่าน ท่านเจ้าเม็ง ท่านเจ้ากุลาผาสี เจือจานกัน ไผใคร่ว่าอันใดก็หากว่า ไผใคร่เยียะอันใดก็หาเยียะตามใจอันมัก บ่ตามพระธัมมวินัยพระเจ้าสักอันแล เป็นดั่งพระเชียงใหม่สู ตนชื่อสิทธันตะมาสูตแต่ก่อนนั้นหากบ่แม่นแท้แล อันปฏิบัติตามธัมมวินัยแท้ ตามอัตถะแท้ เท่ามีในโรหณชนบท มหารัฐฐะสิ่งเดียว ด้วยสาสนาพระเจ้าตั้งอยู่ที่นั้น ยังเป็นถิรทัฬหภาวะต่อเท่า ๕,๐๐๐ วัสสา บ่เป็นภินนาเภทกัมม์เยื่องใด เหตุพระพุทธเจ้าสั่งพระยาอินท์ไว้หื้อเทวดาอยู่รักสาดูผู้ร้าย ผู้ดีแท้แล ท้าวพระยาเสนาอามาจประชาพร้อมกันรักสาด้วยชอบธัมม์แท้แล อาวุโสท่านฉลาดด้วยอัตถะจุ่งอสหะเข้าไปเถิงโรหณชนบทมหารัฏฐะเทอะ เมตตาฉันนี้แล ญาณคัมภีระก็เอาปริวารแห่งตนไปเถิงโรหณชนบท รอดประตูเวียงชั้นนอกเพิ่นก็แส้งถามด้วยกิจอันร้ายอันดีชุอันแล้ว จิ่งมีเข้าตอกดอกไม้เทียน ๘ คู่ ปูชาเทวดา สัจจอธิษฐานว่า ข้าทังหลายจักมาเอาสาสนาพระไตรรัตนะ มหาโพธิเมือถปันนาไว้ในชุมพูทวีปด้วยสวัสดีแท้ บ่มาเพื่อกระทำร้ายสักอัน ผิว่าข้าทังหลายมากระทำร้ายแก่บ้านเมืองและสาสนา จุ่งหื้อเป็นอันตรายแก่ผู้ข้าทังหลายเทอะอยู่ที่นั้นเดือน ๑ บ่มีอันตรายจิ่งใช้หนังสือเข้าเถิงชั้นถ้วน ๒ ก็แส้งถามฉันเดียว ก็กล่าวฉันเดียว เถิงชั้นถ้วน ๓ ถ้วน ๔ ถ้วน ๕ ถ้วน ๖ ถ้วน ๗ ฉันเดียว กถาคำจาบ่พัดบ่ต่าง ก็จิ่งใช้เถิงเสนาอามาจเจ้าปถวีสราชจิ่งมีอาชญาร้องเรียกแล้ว เข้าเถิงเมตตาเสนาอามาจ เจ้าปถวีสราชว่า สาธุ สาสนทายาท ดังนี้

นอกจากนี้ ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนของบรรพชนมอญแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน จารึกกัลยาณ๊ ที่พระเจ้าปิฎกธร กษัตริย์รามัญ ได้ให้จารึกไว้ หลังจากได้ชำระพระพุทธศาสนา เมื่อ ๕๐๐ กว่าปีก่อน ดังจะได้คัดลอกมา แต่พอสังเขป มีดังนี้ว่า
ภาพวาดการสร้างหออุปมบทกัลยาณีสีมา เมืองพะโค ประเทศมอญในอดีตรามัญสมณวงศ์พระโมคคลีบุตรดิสสเถระก็เลือกคัดภิกขุขีณาสพ ผู้ทรงซึ่งคุณวิเศษ คือฉฬาภิญญาและจตุปฏิสัมภิทาญาณ ได้ภิกษุประมาณ ๑๐๐๐ รูปแล้ว จึงกระทำตติยสังคีติกรรม สิ้นกาล ๙ เดือนจึงเสร็จสังคายนกิจ ก็ฉันนั้น
        
สังคีติกรณาวสาเน ปน ก็ในกาลเมื่อกระทำสังคายนกิจเสร็จแล้ว พระผู้เปนเจ้าพิจารณารู้ชัดว่า ในอนาคตกาลภายหน้า พระพุทธสาสนาจักประดิษฐานอยู่ในปัจจันตะประเทศดังนี้แล้ว จึงส่งไปซึ่งพระเถระทั้งหลายนั้นๆ บรรดาพระเถระทั้งหลายที่พระผู้เปนเจ้าส่งไปเหล่านั้น
...
ส่วนว่าพระโสณเถระกับพระอุตรเถระไปอยู่รามัญประเทศ

คุณ Neosiris คะ  ตัวอักษรมันใหญ่มากอ่ะค่ะ  อ่านแล้วไม่จบ
ยิ่งอ่านยิ่งงง  แก้ไขเป็นตัวเล็กลงสักหน่อยได้ไหมคะ
อยากอ่านน่ะค่ะ


      จริงๆแล้วยังมีต่อครับ   
นอกจากนี้ ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีปอยู่ที่ไหน
บรรพชนคนไทยแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน ตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดง ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ที่พระมหาญาณคัมภีร์ พระสงฆ์จากเชียงใหม่เดินทางไปลังกา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๖ ดังจะขอคัดลอกมาแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ ดังนี้
พระมหาญาณคัมภีระไปลังกา

         
เมื่อนั้น ญาณคัมภีระจิ่งเมือเมตตาพระยาบรมราชาธิราชบอกกิจทังมวลดั่งอั้น พระยาจิ่งไหว้ญาณคัมภีระเถรเจ้าว่าดีนัก เจ้ากูบอกแก่ข้านี้ดีจิงนัแล ขอเจ้ากูอสหะไปเถิงที่เคล้า หื้อได้อันชอบธัมมวินัยมาไว้เทอะ ข้าจักหื้ออามาจผู้ชื่อสุภรติไปกับตามเจ้ากูชะแล พระยาแต่งอามาจบ่าว ๒ คน ไปกับญาณคัมภีรเถรเจ้า ว่าดีนักเจ้ากู เถรเจ้าก็ลงไปไหว้ธัมคัมภีระสมเด็จราชคุรุ ท่านยินดีจิ่งแต่งชาวเจ้าอันเป็นสิกไป ๕ ตน มีธัมมานันทะเป็นเคล้าแก่ชาวเจ้าทังหลาย ๑๒ ตน อุบาสก ๔ คนไปสู่มะริดตะนาวสี ขึ้นเมตตาพระยาเมืองที่นั้น ยินดีกับด้วยญาณคัมภีรเถรเจ้าอันจักไปเอาสาสนานั้น พระยาก็ราธนาเถรเจ้าขอปฏิญญาณว่า คันได้สาสนาและพอกมาขอเมตตาข้าทังหลายพายหน้าแท้ อย่าล่วงพ้นทางอื่นแด่ว่าสันนี้ ก็หื้อลงเรือไปด้วยพ่อค้าสำเภา ปีก่าเหม้าสักกราชได้ ๗๘๕ ตัว (พ.ศ. ๑๙๖๖) ไปนาน ๔ เดือน ก็ไปรอดเถิงลังกาทวีป ท่านก็เข้าไปไหว้มหาสุรินทเถรในเมืองอนุราธปุรนคร วัดถูปาราม ด้วยกิจทังมวล ๑๐ ประการ สุรินทเถรเจ้ากล่าวว่า ดั่งสาสนาในลังกา ๓๐ เมืองนี้ หากดูดั่งกันเสี้ยงแล เหตุว่าท่านเจ้าม่าน ท่านเจ้าเม็ง ท่านเจ้ากุลาผาสี เจือจานกัน ไผใคร่ว่าอันใดก็หากว่า ไผใคร่เยียะอันใดก็หาเยียะตามใจอันมัก บ่ตามพระธัมมวินัยพระเจ้าสักอันแล เป็นดั่งพระเชียงใหม่สู ตนชื่อสิทธันตะมาสูตแต่ก่อนนั้นหากบ่แม่นแท้แล อันปฏิบัติตามธัมมวินัยแท้ ตามอัตถะแท้ เท่ามีในโรหณชนบท มหารัฐฐะสิ่งเดียว ด้วยสาสนาพระเจ้าตั้งอยู่ที่นั้น ยังเป็นถิรทัฬหภาวะต่อเท่า ๕
,
๐๐๐ วัสสา บ่เป็นภินนาเภทกัมม์เยื่องใด เหตุพระพุทธเจ้าสั่งพระยาอินท์ไว้หื้อเทวดาอยู่รักสาดูผู้ร้าย ผู้ดีแท้แล ท้าวพระยาเสนาอามาจประชาพร้อมกันรักสาด้วยชอบธัมม์แท้แล อาวุโสท่านฉลาดด้วยอัตถะจุ่งอสหะเข้าไปเถิงโรหณชนบทมหารัฏฐะเทอะ เมตตาฉันนี้แล ญาณคัมภีระก็เอาปริวารแห่งตนไปเถิงโรหณชนบท รอดประตูเวียงชั้นนอกเพิ่นก็แส้งถามด้วยกิจอันร้ายอันดีชุอันแล้ว จิ่งมีเข้าตอกดอกไม้เทียน ๘ คู่ ปูชาเทวดา สัจจอธิษฐานว่า ข้าทังหลายจักมาเอาสาสนาพระไตรรัตนะ มหาโพธิเมือถปันนาไว้ในชุมพูทวีปด้วยสวัสดีแท้ บ่มาเพื่อกระทำร้ายสักอัน ผิว่าข้าทังหลายมากระทำร้ายแก่บ้านเมืองและสาสนา จุ่งหื้อเป็นอันตรายแก่ผู้ข้าทังหลายเทอะอยู่ที่นั้นเดือน ๑ บ่มีอันตรายจิ่งใช้หนังสือเข้าเถิงชั้นถ้วน ๒ ก็แส้งถามฉันเดียว ก็กล่าวฉันเดียว เถิงชั้นถ้วน ๓ ถ้วน ๔ ถ้วน ๕ ถ้วน ๖ ถ้วน ๗ ฉันเดียว กถาคำจาบ่พัดบ่ต่าง ก็จิ่งใช้เถิงเสนาอามาจเจ้าปถวีสราชจิ่งมีอาชญาร้องเรียกแล้ว เข้าเถิงเมตตาเสนาอามาจ เจ้าปถวีสราชว่า สาธุ สาสนทายาท ดังนี้

         
นอกจากนี้ ความเข้าใจ หรือการรับรู้ เรื่อง ชมพูทวีปอยู่ที่ไหน
ของบรรพชนมอญแต่โบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน จารึกกัลยาณี ที่พระเจ้าปิฎกธร กษัตริย์รามัญ ได้ให้จารึกไว้ หลังจากได้ชำระพระพุทธศาสนา เมื่อ ๕๐๐ กว่าปีก่อน ดังจะได้คัดลอกมา แต่พอสังเขป มีดังนี้ว่า
          พระโมคคลีบุตรดิสสเถระก็เลือกคัดภิกขุขีณาสพ ผู้ทรงซึ่งคุณวิเศษ คือฉฬาภิญญาและจตุปฏิสัมภิทาญาณ ได้ภิกษุประมาณ ๑๐๐๐ รูปแล้ว จึงกระทำตติยสังคีติกรรม สิ้นกาล ๙ เดือนจึงเสร็จสังคายนกิจ ก็ฉันนั้น
สังคีติกรณาวสาเน ปน ก็ในกาลเมื่อกระทำสังคายนกิจเสร็จแล้ว พระผู้เปนเจ้าพิจารณารู้ชัดว่า ในอนาคตกาลภายหน้า พระพุทธสาสนาจักประดิษฐานอยู่ในปัจจันตะประเทศดังนี้แล้ว จึงส่งไปซึ่งพระเถระทั้งหลายนั้นๆ บรรดาพระเถระทั้งหลายที่พระผู้เปนเจ้าส่งไปเหล่านั้น
…
ส่วนว่าพระโสณเถระกับพระอุตรเถระไปอยู่รามัญประเทศ ที่เรียกว่าแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ เพื่อจะประดิษฐานพระพุทธสาสนาไว้ ในรามัญประเทศ
ตทา สุวณฺณภูมิรฏฺเฐ ในกาลครั้งนั้น บรมกษัตราธิราชทรงพระนามว่าพระเจ้าสิริมาโศก ได้เสวยราชสมบัติเปนใหญ่ในแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ ก็พระนครซึ่งเปนพระราชฐานที่อยู่ของพระเจ้าสิริมาโศกนั้น มีอยู่ในทิศน้อยข้างปัจฉิมทิศแห่งเกลาสภะบรรพตเจดีย์...
เอวํ สมฺมาสมฺพุทธสฺส ปรินิพฺพานโต อนึ่งบัณฑิตชาติผู้มีปรีชาพึงเห็นพึงรู้เถิดว่า นับจำเดิมแต่กาลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วมา เมื่อพระพุทธสาสนาล่วงแล้วได้ ๒๓๖ พระวัสสา พระเถระทั้งสองได้ประดิษฐานพระพุทธสาสนาไว้ ในรามัญประเทศนี้ ด้วยประการฉะนี้
เอวํ รามญฺญเทเส สาสนปติฏฺฐานโต ปฏฺฐาย จำเดิมแต่พระพุทธสาสนาประดิษฐานอยู่ในรามัญประเทศอย่างนี้ ก็รุ่งเรืองดำเนิรไปสิ้นกาลนาน ครั้นเมื่อกาลล่วงไปล่วงไป รามัญสถานก็ทุพพลภาพมีกำลังลดน้อยถอยลง ด้วยเหตุอันตรายต่างๆ คือเพราะพวกทามริกโจรเข้าทำลายแย่งชิงซึ่งรามัญประเทศมีมณฑลอันกว้างใหญ่ ทำให้เปนส่วนของตนต่างๆ ๑ เพราะอหิวาตกะโรคเบียดเบียน ๑ เพราะทุพภิกขะภัยเบียดเบียน ๑ เพราะพวกพยุหเสนาของพระราชาทั้ง ๗ พระนครยกมาย่ำยี ให้มีอาณาจักรอันประเสริฐย่นย่อน้อยเข้า ๑ เหตุดังนั้น พระพุทธสาสนาจึงทุพพลภาพเสื่อมซุดลง เพราะภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในรามัญประเทศนั้น ไม่สามารถจะเล่าเรียนพระปริยัติธรรมได้ โดยสะดวก และไม่สามารถจะบำเพ็ญสัมมาปฏิบัติให้เต็มที่ได้
อกุตฺตรฉสตาธิกวสฺสสหสฺเส ปน กาเล ก็ในกาลเมื่อพระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๑๖๐๑ พระวัสสา ลุรุทธรูปเพทศักราช ๔๑๙ ปี ในปุกามนคร พระเจ้าอนุรุทธเทพผู้เปนอิศรภาพในอริมัทนะบุรี ได้ให้นำมาซึ่งภิกษุสงฆ์กับทั้งพระไตรปิฎกแล้ว จึงยังพระพุทธสาสนาให้ดำรงอยู่ ในอริมัททนะบุรีคือปุกามนคร
ตโต สตฺตุตรวสฺสกาเล เบื้องหน้าแต่นั้นมากาลล่วงไปได้ ๑๐๗ ปี ลุรสยมปาณศักราช ๕๒๖ ปี ในลังกาทวีป พระเจ้าสิริสังฆโพธิปรักกรมพาหุ ได้ทรงชำระพระพุทธสาสนาในลังกาทวีป ให้บริสุทธิ์ครั้งหนึ่ง
ตโต ปน ฉฏฺเฐ วสฺเส ก็ครั้นลุยมสิขีปาณศักราช ๕๓๒ เปนปีที่ ๖ นับแต่ปีที่พระเจ้าสิริสังฆโพธิปรักกรมพาหุ ได้ทรงชำระพระพุทธสาสนาแล้วนั้น ยังมีพระมหาเถระองค์หนึ่ง ชื่อว่า อุตตรชีวะ เปนอาจารย์ของพระเจ้าปุกาม จึงมีดำริว่าเราจะขึ้นนาวาไปพร้อมด้วยภิกษุเปนอันมาก เพื่อจะไปนมัสการพระเจดีย์ในลังกาทวีป เยน กุสิมนครํ เมืองกุสิมนครมีอยู่ในทิศาภาคใด พระผู้เปนเจ้าก็ไปสู่ทิศาภาคนั้น
อุตฺตราชีวมหาเถโร กุสิมนครํ ปตฺวา ครั้นพระอุตราชีวมหาเถระไปถึงเมืองกุสิมนครแล้ว จึงขึ้นนาวาพร้อมกันกับภิกษุเปนอันมากและสามเณรองค์หนึ่ง มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์
อุตฺตราชีวมหาเถโรปิ นาวํ อภิรูหิตฺวา แม้เมื่อพระอุตตราชีวมหาเถระขึ้นสู่นาวาไปถึงลังกาทวีปแล้ว ในกาลนั้นพระมหาเถระชาวลังกาทวีปทั้งหลาย ก็ชักชวนกันมาสนทนาซักถามในข้อธรรมิกถา กับด้วยพระอุตตราชีวมหาเถระนั้น
เมื่อพระอุตราชีวมหาเถระได้กระทำกิจมีนมัสการพระเจดีย์เป็นต้นในลังกาทวีปแล้ว ก็กลับมายังปุกามนคร ส่วนฉปฏสามเณรได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุและอยู่เล่าเรียนพระไตรปิฎกและอรรถกถาในเกาะลังกาต่อ จนได้ ๑๐ พรรษา ได้เป็นพระเถระแล้ว จึงเดินทางกลับปุกามนคร พร้อมทั้งชักชวนพระเถระที่ทรงพระไตรปิฎกอีก ๔ รูป รวมเป็นคณะวรรค ๕ รูป เพื่อเดินทางไปสู่ปุกามนครด้วยกัน


         . สมฺมาสมฺพุทฺธปรินิพฺพานโต นับจำเดิมแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วมา พระพุทธสาสนาล่วงแล้วมาได้ ๒๐๐๒ พระวัสสา ลุนภยมนาคศักราช ๘๒๐ ปี พระเจ้ารามาธิบดี ศรีบวรมหาธรรมราชาธิราชเปนพหุสูตรด้วยอำนาจสุตคุณ คือรู้พระไตรปิฎก และรู้ตักกศาสตร พยากรณศาสตร ฉันทศาสตร อลังการศาสตร โชติศาสตร แพทยศาสตร คณิกศาสตร ทั้งเปนผู้มีศิลปศาสตรมาก ด้วยอำนาจศิลปะคุณมีช่างอิฐและช่างไม้เปนต้น และพระองค์เปนผู้ชำนาญในภาษาชาวต่างประเทศ และเปนคณสมังคีมีความพร้อมเพรียงด้วยหมู่อเนกศรัทธาทิคุณ บริบูรณ์ด้วยคชบดีสีขาวเสมอด้วยดอกกมุทและดอกคล้า หรือมีสีขาวดังพระจันทร์ ในฤดูสรทกาล และพระองค์ให้กระทำค่ายรักษาประชุมชน ในรามัญประเทศทั้งสามมณฑล คือกุสิมมณฑล ๑ หงสวดีมณฑล ๑ มุตติมมณฑล ๑ ครั้นพระองค์ให้กระทำการรักษาเสร็จแล้ว ก็ทรงครองราชย์สมบัติโดยชอบธรรมอยู่ในเมืองหงสวดี

ตโต ราชา ในกาลนั้น พระเจ้ารามาธิบดีได้ทรงสดับเถรวาทดังนั้น จึงทรงพระดำริว่า ดังเราสังเวชหนอ คำที่พระอรรถกถาจารย์เจ้าผู้ประเสริฐกล่าวไว้ว่า พระพุทธสาสนาจักดำรงอยู่ได้ จนตลอดกาลประมาณ ๕๐๐๐ พระวัสสา ก็ในกาลบัดนี้นับจำเดิมแต่กาลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณมา กาลล่วงไปได้ประมาณ ๒๐๔๗ ปี ในกาลเพียงเท่านี้ พระพุทธสาสนาสิยังเกิดมีมลทิน เปนเสี้ยนหนามประกอบด้วยอันตราย การอุปสมบทก็ประกอบด้วยความรังเกียจบังเกิดขึ้นดังนี้แล้ว จะทำอย่างไรหนอ พระพุทธสาสนาจึงจะสามารถเปนไปได้จนตลอดกาลที่สุดประมาณ ๕๐๐๐ พระวัสสา


         ....

         
พระเจ้ารามาธิบดี จึงได้มีความปริวิตก ถึงเรื่องราวที่ได้สดับมาถึง การประดิษฐานพระพุทธสาสนาในลังกาทวีป ตั้งแต่ เมื่อพระโมคคัลลีบุตรดิสสมหาเถระส่งพระมหามหินทเถระไปยังเกาะลังกา จนถึงสมัยพระเจ้าสิริสังฆโพธิปรักกมพาหุมหาราช และในรัชกาลภายหลังต่อๆ มา คือพระเจ้าวิชัยพาหุ ๑ พระเจ้าปรักกมพาหุ ๑ จึงได้มีพระราชดำริที่จะไปอาราธนาพระภิกษุสงฆ์ให้ไปนำมาซึ่งอุปสมบทอันบริสุทธิ์ในลังกาทวีป ที่เปนมหาวิหารวาสีนิกายซึ่งเปนธรรมวาทีปฏิบัติดีบริสุทธิ์โดยแท้ มาประดิษฐานอยู่ในรามัญประเทศนี้ และได้ส่งราชทูตไป ๒ นาย คือจิตรทูต ๑ และ รามทูต ๑ กับทั้งบริวารคนใช้ ให้นำพระเถระ ๒๒ รูปกับทั้งศิษย์ เพื่อเดินทางไปยังลังกาทวีป ทั้งได้จัดเครื่องบูชาสักการพระสิริทาฐธาตุ พระเจดีย์ และบูชาพระพุทธบาทวลัญชะเจดีย์ และบูชาพระศรีมหาโพธิ์เจดีย์ นอกจากนั้นยังได้ทรงจัดเครื่องพระราชบรรณาการ ที่จะส่งไปถวายพระเจ้าภูวเนกพาหุ ผู้เปนใหญ่ในสิงหฬทวีป
ตโต สสิสฺเส ในลำดับนั้น พระเจ้ารามาธิบดี จึงเสด็จส่งพระเถระ ๑๑ รูป มีพระโมคัลลานเถระเปน ประธานกับทั้งศิษย์ ให้ขึ้นนาวาลำเดียวกันกับรามทูต และเสด็จส่งพระเถระอีก ๑๑ รูป มีพระมหาสิวลีเถระเปน ประธานให้ขึ้นนาวาลำเดียวกันกับจิตรทูต
อถ รามทูตาภิรุฬฺหา นาวา ในกาลนั้น นาวาที่รามฑูตกำกับไปแล่นออกอกจากปากน้ำชื่อว่าโยคะ ในวันอาทิตย์เดือนสามแรม ๑๑ ค่ำ ลุมินิสิขีนาคศักราช ๘๓๗ แล้วแล่นออกทะเลไป ก็แต่นาวาที่จิตรทูตกำกับไปนั้น แล่นออกจากปากน้ำโยคะ ในวันจันทร์เดือนสามแรม ๑๒ ค่ำ แล้วแล่นออกทะเลไป ต้นหนเปนผู้ชำนาญรู้ทางทะเลชัดเจน นำนาวาไปถึงท่ากลัมพุได้ก่อน ในเดือนสี่แรม ๘ ค่ำ
ตโต ภูวเนกพาหุ สีหฬราชา ในสมัยกาลครั้งนั้น พระเจ้ากรุงสิงหฬทรงพระนามว่าภูวเนกพาหุ ทรงทราบข่าวนั้นแล้ว จึงมีรับสั่งให้เจ้าพนักงานออกไปรับ นำพระเถระ ๑๑ รูปนั้นกับจิตรทูตเข้ามาในวันอุโบสถแรมเดือนสี่
อถ รามทูตาภิรุฬฺหา นาวา ฝ่ายว่านาวารามทูตเมื่อเคลื่อนออกจากท่าแล้ว ก็บ่ายหน้าแล่นมาโดยทางที่จะไปเมืองอนุราธบุรี ในกาลเมื่อแล่นไปนั้นแสนยากแสนลำบากเพราะแล่นทวนลม จึงได้แล่นเลยไปยังบ้านวัลลิคาม ในวันอาทิตย์เดือนห้าขึ้น ๙ ค่ำ
ตสฺมึ ปน นาคสิขีนาคสกราชภูเต ก็ในปีนั้นลุนาคสิขีนาคศักราช ๘๓๘ ณ วันแรม ๒ ค่ำปฐมาสาธ พระเถระทั้งหลายกับรามทูตจึ่งได้โอกาสออกจากบ้านวัลลิคามหยุดแรมทาง ๕ ราตรี จึงถึงชัยวัฒนะนคร ตโต ภูวเนกพาหุสีหฬมนุชินฺโท ในกาลนั้น พระเจ้าสีหฬินทรภูวเนกพาหุได้ทรงทราบข่าวว่า พระเถระทั้งหลายกับรามทูตมาถึงแล้ว จึงมีรับสั่งให้ออกไปต้อนรับนำมาสู่ที่เฝ้าแล้ว จึงให้เจ้าพนักงานอ่านพระสุพรรณบัฎ ของพระเจ้ารามาธิบดีมหาราชที่รามทูตนำมานั้นจบแล้ว ก็มีพระกมลหฤทัยปรีดาภิรมย์ยิ่งนัก จึงให้จัดการตามควรดุจกล่าวแล้ว พระราชทานอาหารบิณฑบาตและเสบียง แก่พระเถระทั้งหลายกับรามทูตแล้ว พระราชทานที่อยู่ตามสมควร
ตโต ปรํ สีหฬราชา ในกาลเบื้องหน้าแต่นั้นไป พระเจ้ากรุงสิงหฬจึงทรงพระรำพึงว่า เราจะจัดการอีกอย่างหนึ่งให้ต้องตามพระราชสาส์นของพระเจ้าช้างเผือกเถิด จึงมีรับสั่งบังคับอำมาตย์ชาวสิงหฬทั้งหลาย ให้ทำเรือขนานในกัลยาณีคงคา ซึ่งเปนแม่น้ำอันพระผู้มีพระภาคย์เคยสรงสนาน แล้วให้ทำเปนปราสารทขึ้นในเบื้องบนแห่งเรือขนานนั้น และให้ดาดเพดานด้วยผ้าขาว ห้อยย้อยไปด้วยพวงดอกไม้ต่างๆ เสร็จแล้ว จึงมีรับสั่งให้วิทาคมมหาเถระ เลือกคัดคณะสงฆ์ที่เป็นผู้ปราศจากคำครหาปรูปวาท แต่สำนักภิกษุสงฆ์ที่สืบเชื้อมาแต่ภิกษุผู้เปนมหาวิหารวาสีนิกาย
ตโต สีหฬราชา ในกาลลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสิงหฬจึงให้อาราธนาพระรามัญเถระ ๒๒ รูป ที่อุปสมบทแล้วมารับพระราชทานฉันอาหารบิณฑบาตในพระราชฐาน ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว จึงพระราชทานของอันควรแก่สมณะ
ครั้นทรงประเคนของเสร็จแล้ว จึงมีพระราชดำรัสว่า ข้าแต่พระผู้เปนเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย
พระผู้เปนเจ้าทั้งหลายไปยังชมพูทวีปแล้ว จึงยังพระสาสนาให้รุ่งเรืองในเมืองหงสวดีเถิด

นอกจากนี้ ในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ ของสยามประเทศ หรือเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ก่อนที่ ฝรั่งชาติตะวันตก จะยกชมพูทวีปไปให้อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ นั้น
ได้ปรากฏหลักฐาน ครั้งสังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ว่า ชมพูทวีป ในความรับรู้ของบรรพชนไทย นั้น อยู่ที่ดินแดนสุวรรณภูมิปัจจุบันนี่เอง ดังปรากฏใน คำประกาศเทวดา ก่อนจะเริ่มการสังคายนา ตอนหนึ่งว่า

ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๙๕๖ ปี จึงพระพุทธโฆษาเถรเจ้าออกไปแต่ชมพูทวีป แปลพระไตรปิฎกอันเป็นสิงหฬภาษา จารึกลงลานใหม่ แปลงเป็นมคธภาษา กระทำในโลหปราสาท ณ เมืองอนุราธบุรี มีพระเจ้ามหานามเป็นศาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึงสำเร็จ นับเนื่องในฉัฏฐสังคายนาย.
ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาถึง ๑๕๘๗ ปี ครั้งนั้นพระเจ้าปรักมพาหุมหาราชได้เสวยราชสมบัติในลังกาทวีป ย้ายพระนครจากอนุราธบุรีมาตั้งอยู่ ณ เมืองจลัตถิมหานคร จึงพระมหากัสสปเถรกับพระสงฆ์ปุถุชนมากกว่าพัน ประชุมกันชำระพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสิงหฬภาษาบ้าง มคธภาษาบ้าง แปลงแปลออกเป็นมคธภาษาทั้งสิ้น จารึกลงในลานใหม่ มีพระเจ้า ปรักมพาหุมหาราชเป็นศาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึงสำเร็จบริบูรณ์ นับเนื่องเข้าในสัตมสังคายนาย เบื้องหน้าแต่นั้นมาจึงพระเจ้าธรรมา ผู้เสวยราชสมบัติ ณ เมืองอริมะทะนะบุรี คือเมืองพุกาม เสด็จออกไปลอกพระไตรปิฎกในลังกาทวีป เชิญใส่สำเภามายังชมพูทวีปนี้ แต่นั้นมาพระปริยัติธรรมจึงแผ่ไพศาล ไปในนานาประเทศทั้งปวง บรรดาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ นับถือพระรัตนตรัยนั้น ได้ลอกต่อ ๆ กันไปเปลี่ยนแปลงอักขระตามประเทศภาษาแห่งตน ๆ ก็ผิดเพี้ยนวิปลาสไปบ้างทุก ๆ พระคัมภีร์ ที่มากบ้างน้อยบ้าง.
ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๒๐๒๐ ปี จึงพระธรรมทินเถรเจ้าผู้เป็นมหาเถรอยู่ ณ เมืองนพิสีนคร คือเมืองเชียงใหม่ พิจารณาเห็นพระไตรปิฎก พิรุธมาก ทั้งพระบาลี อรรถกถา ฎีกา จึงถวายพระพรแก่พระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราชาธิราช ผู้เสวยราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ว่าจะชำระพระปริยัติให้บริบูรณ์ บรมกษัตริย์จึงให้กระทำมณฑปในมหาโพธารามวิหาร ในพระนคร พระธรรมทินเถรจึงเลือกพระสงฆ์ ซึ่งทรงพระไตรปิฎกมากกว่าร้อยประชุมกันในมณฑปนั้น กระทำชำระพระไตรปิฎก ตกแต้มให้ถูกถ้วนบริบูรณ์ ปีหนึ่งจึงสำเร็จ มีพระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราชเป็นศาสนูปถัมภก นับเนื่องในอัฐมสังคายนายอีกครั้งหนึ่ง.
เบื้องหน้าแต่นั้นมา
พระเถรานุเถระในชมพูทวีปได้เล่าเรียนสร้างสืบต่อกันมา และท้าวพระยาเศรษฐีคหบดี ศรัทธาสร้างไว้ในเมืองสัมมาทิฏฐิทั้งปวง คือเมืองไทย,ลาว,เขมร,พม่า, มอญ
เป็นอักษรส่ำสมกันอยู่เป็นอันมาก หาท้าวพระยาและสมณะผู้ใดที่จะศรัทธา สามารถอาจจะชำระพระไตรปิฎกขึ้นไว้ ให้บูรณะดุจท่านแต่ก่อนนั้นมิได้มี ครั้นพระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๒,
๓๐๐ ปีเศษแล้ว บรรดาเมืองสัมมาทิฏฐิ ทั้งปวง ก็ก่อเกิดการยุทธสงครามแก่กัน ถึงพินาศฉิบหายด้วยภัยแห่งปัจจามิตร มีผู้ร้ายเผาวัดวาอารามไตรปิฎกก็สาบศูนย์สิ้นไป จนถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ถึงกาลพินาศด้วยภัยพม่าข้าศึก พระไตรปิฎก และเจดียฐานทั้งปวงก็เป็น อันตรายสาบศูนย์ สมณะผู้จะรักษาร่ำเรียนพระไตรปิฎกนั้นก็พลัดพรากล้มตายเป็นอันมาก หาผู้ใดที่จะเป็นที่พำนัก ป้องกันข้าศึกศัตรูมิได้ เหตุฉะนี้พระไตรปิฎกจึงมิได้บริบูรณ์ เสื่อมศูนย์ล่วงโรยมาจนตราบเท่ากาลทุกวันนี้.
พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เมื่อได้ทรงสดับพระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรโดยพิสดารดังนั้น จึงดำรัสว่า ครั้งนี้ ขออาราธนา พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง จงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นจงได้ ฝ่ายอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้น เป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้พระปริยัติ บริบูรณ์เป็นมูลที่ตั้งพระพุทธศาสนาให้จงได้
จากคำประกาศเทวดาข้างต้น ย่อมจะเห็นเป็นประจักษ์ว่า บรรพชนของไทย รับรู้สืบต่อกันมา ว่า
ชมพูทวีป เป็นที่ตั้งของเมืองสัมมาทิฏฐิทั้งปวง คือเมืองไทย, ลาว, เขมร , พม่า , มอญ

  [HIGHLIGHT=#f2f2f2]ไม่รู้จักอธิบายข้อความนี้ว่าอะไรดีครับ ตัวผมเองก็สับสนอยู่ครับ[/HIGHLIGHT]

[HIGHLIGHT=#f2f2f2][/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#f2f2f2]แต่ที่ผมพอจะทราบจากผู้รู้ที่มีตาทิพย์ท่านว่า เป็นความจริง 80 % ครับ [/HIGHLIGHT]





ขอบพระคุณ web master ค่ะ

คุณ Neosiris คะ  เหมือนว่ายังไม่จบใช่ไหมคะ?

ต่อเลยนะครับ
นอกจากหลักฐาน ที่เป็นบันทึกเอกสาร ทั้งในรูป ตำนาน พงศาวดาร ของบรรพชนชาวไทย พม่า มอญ และลาว ที่จะยกมาเป็นเหตุผลสนับสนุนว่า
ชมพูทวีป คือ ผืนแผ่นดินที่ตั้งประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน แล้วหลักฐานชิ้นหนึ่งก็คือ แผนที่โบราณ ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของ ปัญจมหานที ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของชมพูทวีป ที่ได้ไหลผ่านเข้ามายังดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ไหลไปยังประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ในปัจจุบัน แม้ว่าเวลาจะผ่านมาสองพันกว่าปี ชื่อเรียกแม่น้ำแต่ละสายอาจจะเปลี่ยนไป แต่ร่องรอยของแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ สาย ก็ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อยืนยันความเป็นชมพูทวีปที่แท้จริง แล้ว

ทำไมชมพูทวีป ที่บรรพบุรุษ มอญ ลาว และ ไทย เชื่อว่า อยู่ที่ดินแดนสุวรรณภูมิปัจจุบัน จึงถูกยกให้เป็นอินเดียปัจจุบัน    
เมื่อ ความเข้าใจเรื่อง ที่ตั้งของ ชมพูทวีป เกิดความสับสน ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ ๑ แล้ว และก็น่าที่จะยุติจบลงได้โดยง่าย ว่า ชมพูทวีป คือ ผืนแผ่นดินที่ตั้งประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน เพราะเหตุว่ามีมหานทีทั้ง ๕ ไหลผ่านเข้ามายังดินแดนแถบนี้ แต่ นักประวัติศาสตร์ ก็ต้องสับสน จนไม่อาจที่จะไม่เชื่อได้ว่า ชมพูทวีป คือ แผ่นดินที่ในสมัยปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ๔ ประเทศ คือ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ก็เพราะว่ามี จดหมายเหตุการเดินทางของพระภิกษุจีนที่เดินทางจาริกมาสืบพระพุทธศาสนายังชมพูทวีป ซึ่งได้มีการบันทึกเส้นทาง และสถานที่ต่างๆ ยืนยันไว้โดยละเอียด นั่นเอง

นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีชาวตะวันตก ได้อาศัยบันทึกการเดินทางมาสืบพระพุทธศาสนาของพระภิกษุจีน ในการที่จะค้นหา สถานที่ต่างๆ ในสมัยพุทธกาล โดยเฉพาะที่ตั้งของสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน โดยบันทึกการเดินทางที่สำคัญ ๒ ฉบับ คือ
    
๑. บันทึกการเดินทางของพระภิกษุฟาเหียน ซึ่งเดินทางมายังชมพูทวีป-ลังกาทวีป ระหว่าง พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗
๒. บันทึกการเดินทางของพระภิกษุเฮี่ยนจังหรือพระถังซัมจั๊ง ซึ่งเดินทางมาอินเดีย ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๘

ซึ่งพระภิกษุจีนทั้ง ๒ รูป ได้เดินทางมาสืบพระศาสนา ในช่วงเวลาที่ห่างกันถึง ๒๓๐ ปี แต่อาจจะไม่มีใครสงสัยว่า พระภิกษุจีนทั้ง ๒ รูป นี้ ท่านได้จาริกไปยังอินเดียที่เดียวกันหรือเปล่า?
    
แต่ถ้าหากมีใครที่ได้อ่านบันทึก ทั้ง ๒ ฉบับ โดยละเอียด และไม่ได้มีอคติว่า พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดียในปัจจุบัน
ก็จะพบว่า พระภิกษุจีน ๒ รูป ท่านเดินทางไปอินเดียคนละที่กัน และ แน่นอนมีเพียงรูปเดียวที่เดินทางมาสู่ชมพูทวีปและอินเดียที่แท้จริง นั่นก็คือ

หลวงจีนฟาเหียน
 
ดังเช่นที่ผมจะยก ตัวอย่างเส้นทางการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ที่ท่านจะเดินทางไป
เมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สถานที่ประสูติของ เจ้าชายสิทธัตถะ
โดยท่านหลวงจีนได้ตั้งหลักที่ นครสาวัตถี แล้วบันทึกไว้ดังนี้ ว่า

จาก นครสาวัตถี ไปทางอาคเนย์ เดิน ๑๒ โยชน์ ถึงเมืองหนึ่งชื่อ นะปะกะ ต่อไปนี้เดินทางไปทางทิศตะวันออกทางไม่ถึงโยชน์ถึงนครกบิลพัสดุ์ จากนครไปทางทิศตะวันออก ๕๐ ลี้ มีราชอุทยานชื่อสถานพุทธประสูติ เดินไปทางตะวันออก ๕ โยชน์มี ประเทศชื่อ ราม (คาม)

จากบันทึกเส้นทางดังกล่าว เมื่อนำมาเขียนเป็นแผนที่การเดินทาง จะปรากฏ ดังแผนผังข้างล่างนี้


    
จากแผนผังข้างบน เมื่อเปรียบเทียบกับ แผนผังที่ตั้ง เมืองและสังเวชนียสถานในประเทศอินเดียและเนปาล ตามแผนที่ข้างล่างนี้ จะพบว่า ลุมพินีจะอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครสาวัตถี แทนที่จะอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้
    
ดังนั้น การที่ นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก ใช้บันทึกการเดินทางของพระภิกษุจีนทั้ง ๒ รูป ในการค้นหาที่ตั้งของสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล และเมืองต่างๆ ในสมัยพุทธกาล จึงเกิดความขัดแย้งกันเอง โดยเฉพาะ ที่ตั้งของเมือง กบิลพัสดุ์ และสวนลุมพินี ก็เพราะพระภิกษุจีนทั้ง ๒ รูปเดินทางไปคนละที่นั่นเอง แต่คนไทยก็ไม่ได้เคยใส่ใจที่จะค้นหาความจริง คือ ใครว่าที่ไหนก็ว่าที่นั่น

ทำไมเราจึงไม่ศึกษา เพื่อให้รู้แน่ว่า ความเข้าใจของ บรรพบุรุษ ของเรา ที่ว่า ชมพูทวีป คือ ดินแดนที่เป็นประเทศไทย ลาว และพม่าในปัจจุบัน เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด เพราะการที่เราจะทำการศึกษา ค้นคว้าหาที่ตั้งที่แท้จริงของชมพูทวีปนั้น ย่อมจะนำไปสู่การพิสูจน์ทราบว่า พระพุทธศาสนา เกิดขึ้นที่ไหนกันแน่

เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง และเป็นการปกป้องศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของบรรพชนของเราแต่โบราณกาล จากคำกล่าวหาและดูถูกบรรพบุรุษของตน ว่า เป็นผู้มีความรู้ในประวัติศาสตร์ในวงจำกัด ดังที่จะยกสำเนา คำตอบกระทู้ถามที่คณะรัฐบาลสมัยหนึ่ง ได้ตอบกระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นท่านหนึ่ง ที่ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง
การชำระประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ในคำถามที่ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้มีการชำระประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเพื่อค้นหาความจริงของการอุบัติแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด มาให้ท่านทั้งหลายได้อ่าน ดังนี้ว่าก่อนที่จะตอบคำถามนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เอกสารโบราณของไทยที่กล่าวถึงประวัติพระพุทธเจ้าส่วนมากเป็นตำนานพื้นบ้านซึ่งเล่าเรื่องวิถีชีวิตประชาชนในถิ่นนั้นๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาแล้วแต่งเรื่องแบบจินตนาการไปไกลเพื่อรองรับปูชนียสถานที่สร้างขึ้นในถิ่นนั้นๆ โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดรับสั่งกับประชาชนว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จะมาประดิษฐานในที่นั้นๆหลังจากพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน เช่น ตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ตำนานเมืองโยนก ซึ่งเอกสารเหล่านี้เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง มิได้เขียนขึ้นบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์แต่เขียนตามจินตนาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนชมพูทวีปเป็นประเทศสยาม เช่น เรียกเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองปาฏลีบุตร เรียกเจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราชเป็นศรีธรรมาโศกทุกพระองค์

เพราะการที่จะนำเอา เอกสารโบราณของไทยที่ผู้เขียนมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ในวงจำกัดมาตัดสินประวัติพระบรมศาสดาเอกของไตรโลกว่าเสด็จอุบัติในประเทศไทยนั้นเป็นไปไม่ได้ ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง บัณฑิตชนไม่สรรเสริญ หากทำก็จะเป็นการบิดเบือนพระพุทธศาสนาสร้างความอับอายขายหน้าแก่ชาวพุทธทั่วโลก .

ยังมีอีกยาวเลยครับแล้วจะนำมาให้อ่านวันพรุ่งนี้ครับ
ที่จริงลงกระทู้ไว้นานแล้วครับแต่น่าจะผิดพลาดกับการลิงค์ตัวอักษร
ขอบคุณ คุณ เชื่อในพระเจ้า ด้วยครับที่กรุณามาอ่านครับ

เทพรักษาเทวาคุ้มครองทั้งครอบครัวครับ

โอม   ผมเพิ่งจะลงรูปเป็นครับ พอดีไปศึกษาวิธีใช้ของคุณ กาลิทัส ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับผม 




นี้เป็นเเผนที่ ที่คิดว่าเป็น ชมพูทวีปครับ

โอม  ศานติ ศานติ

ถ้าชมพูทวีป คือประเทศไทย พม่า ลาว
แล้วสุวรรณภูมิอยู่ไหน????

อีกอย่าง แล้วมหาวิทยาลัยนาลันทามันอยู่ที่ไหนล่ะ ถ้าชมพูทวีปมันอยู่ไทยจริงๆ พระถังซัมจั๋งก็ต้องเสด็จมาที่ไทยสิครับ

งั้นพวกสงครามกุรุเกษตร สงครามแย่งพื้นที่ริมแม่น้ำโรหิณี ก็เป็นเหตุการณ์ในไทยหรอครับ???

พระเจ้าปเสนธิโกศล สืบเชื้อสายสุริยวงศ์สายพระราม งั้นพระรามก็เป็นคนไทย โดยเฉพาะพระมารดาพระราม นางเกาศัลยา(เกาสุริยา)เป็นคนไทย แคว้นโกศลอยู่ในไทย??? ส่วนอโยธยาในรามายณะ ม่ะใช่อยุธยาหรอก

โอม  ในเอกสารกล่าวไว้อย่างนั้นแต่โดยส่วนตัว ผมคิดว่า ชมพูทวีปน่าจะรวม อินเดีย,เนปาล,ศรีลังกา   พม่า,ไทย,ลาว,กัมพูชา,จรดมาเลเซีย ครับ


  และยังเคยถามผู้รู้ ที่มีตาทิพย์ ท่านว่า นครวัต นครธม พระวิหาร,ศาลพระกาฬ,ปราสาทเขาพนมรุ้ง และศิลปะทางทวารวดีอีกหลายสถานที่ในเมืองไทย

ก็แบบศิลปที่สร้างไว้บูชาองค์เทพทั้งหลายในศาสนาพราหมณ์ทั้งนั้นครับและดูจากแผนที่โลกเก่าก็จะเห็นว่าเมื่อหลายพันปีก่อนอินเดียในฝั่งตะวันออก

นั้นติดพม่าและไทยครับ


แล้วเชื่อไหมครับ ชมพูทวีปมันมีอาณาเขตไปถึงจีน

ใน"อวตังสกสูตร"กล่าวถึงภูเขาที่ประทับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นภูเขา5ยอด ตอนนั้นพระอินเดียท่านแปลพระพระสูตร ไม่รู้แปลยังไง ตอนหลังหาภูเขา5ยอดที่ปรากฎในอวตังสกสูตร หาไปหามา เขาลูกนี้คือ"เขาอู่ไถซาน"五台山 ที่ประทับพระมัญชุศรี..........เป็นเพราะนักบวชท่านนี้ ท่านไม่แตกฉานในธรรม หรือเข้าใจผิด หรือเดาเอาเอง รึเปล่าถึง แทนที่เขาลูกนี้มันจะอยู่อินเดีย

แล้วในพระสูตรพระอวโลกิเตศวร ขึ้นต้นว่า"ข้าเจ้าสดังฟังมาดังนี้ สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับที่เขาโปตลกบรรพต...."
เขาโปตลกะ อยู่ที่เกาะมลกูฏ ไม่มีใครทราบหรือยืนยันแน่ชัดว่า"มลกูฏ"อยู่ที่ไหนกันแน่ แรกๆสันนิษฐานว่าอยู่ในเขตอินเดียใต้(อ้างจากบันทึกพระถังฯ) แต่ในอินเดียใต้มันไม่มีเขาชื่อนี้ หรือจะเป็น"มาลัยกูฏ"หรือภูเขามาลายา ที่มาเลย์???........แต่ทำไมหาไปหามา เขาโปตลกะ มันไปอยู่เมืองจีน กลายเป็นเขาผู่ถัวซาน 普陀山

........

คำถามคือ

ชมพูทวีป อยู่ที่ไทย
แล้วสุวรรณภูมิอยู่ไหน????

นี่คือคำถามที่เจ้าของทฤษฎีต้องตอบครับ

  ไว้ผมลงให้จบก่อนก็ได้ครับ มีอีกมากมายกายกอง (ยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นครับ)

อาจเป็นเพราะการที่นักประวัติศาสตร์ ยุคหลัง พุทธศักราช ๒๓๐๐ ปลายๆ ได้ทำการโยกย้ายชมพูทวีป ให้ไปอยู่ที่อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ในปัจจุบัน เพราะความเข้าใจผิดที่คิดว่า สังเวชนียสถานจำลอง ที่ถูกสร้างขึ้น ในดินแดนแถบประเทศที่ว่านั้น คือสถานที่จริง ตามที่ พระภิกษุเฮี่ยนจัง หรือพระถังซัมจั๊ง ได้เดินทางมาสืบพระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีป และได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางของท่านโดยละเอียดระหว่าง พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๘ เป็นของจริง จึงทำให้พวกเขาพลาดโอกาสที่จะได้รู้จัก ชมพูทวีปที่แท้จริง

         
นอกจากแผนที่โบราณ ที่แสดงให้เห็นปัญจมหานที คือแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ สาย ที่ไหลผ่านเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งของประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยัน ที่ตั้ง ชมพูทวีป ที่แท้จริง ในบทที่ ๑ แล้ว ยังปรากฏมีแผนที่โบราณ ที่อาจทำให้นักประวัติศาสตร์ยุคค้นหาที่ตั้ง สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ในประเทศอินเดียปัจจุบัน อาจจะพลาดโอกาสที่จะได้พบเห็น สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ของจริง ก็เพราะว่า ในแผนที่โบราณฉบับที่ได้นำมาแสดงนี้ มีประเทศอินเดียอยู่ ๒ ที่ ซึ่ง เรียกว่า INDIA INTRA GANGES
ที่ครอบคลุม พื้นที่ประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ในปัจจุบันกับ
INDIA EXTRA GANGES
ที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน
แต่พวกเขากลับสาละวน หลงทางในการค้นหา สังเวชนียสถานจำลอง ในประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ในปัจจุบัน


         
ดังนั้น เพื่อเป็นการยืนยันว่า
ประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน คือ ชมพูทวีป ที่แท้จริง และยังเป็นที่ตั้งของ อินเดีย อันเป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานที่แท้จริง จึงต้องสืบค้น หาหลักฐาน ที่จะกล่าวถึง ที่ตั้งบ้านเมืองต่างๆ ในสมัยพุทธกาล หรือ ร่องรอยสังเวชนียสถาน ในเขตประเทศ ไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน เพื่อมาพิสูจน์ทราบต่อไป

เรามาเริ่มต้นการค้นหาที่ตั้งของ อินเดียที่แท้จริง จากความสัมพันธ์ ระหว่าง กษัตริย์ในแถบสุวรรณภูมิ กับกษัตริย์แห่งมคธ ประเทศอินเดียโบราณ ที่ปรากฏอยู่ใน ประวัติศาสตร์โหราศาสตร์ ดังนี้
อัญชันศักราช
         
เมื่อใช้ศักราชใหม่หรือ
“
กาลีศักราช
”

ได้ ๒๔๑๑ ปี กษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ คือ พระเจ้าสีหตราช ซึ่งเป็นปู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอัญชันซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระนางประชาบดีโคตมี หรือเป็นตาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ภายหลังได้ออกบวชเป็นฤาษีชื่อ อสิตดาบส และได้เข้ามาทำนายพุทธลักษณะเจ้าชายสิทธัตถะหลังประสูติได้ ๕ วัน ) ซึ่งกษัตริย์ทั้งสองสำเร็จจากสำนักตักศิลามีความเชี่ยวชาญทางด้านโหราศาสตร์ จึงได้ทำการลบศักราชกาลียุคเสียด้วยชื่อไม่เป็นมงคล และตั้งศักราชขึ้นใหม่ชื่อว่า
“
อัญชันศักราช
”

ได้ใช้เรื่อยมาจนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน


         
สิ่งที่น่าสังเกตและควรทราบก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ (ยังไม่ได้ออกผนวช) ได้ทรงศึกษา
“
คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช
”
จากพระเจ้าอัญชันผู้เป็นตาอย่างเชี่ยวชาญ ในทางพุทธศาสนาจึงปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับโหราศาสตร์อยู่อย่างมากมาย เช่น การโคจรของดวงอาทิตย์ ระบบสุริยจักรวาล ดวงดาวและฤกษ์ อันปรากฏอยู่ในพระบาลี คัมภีร์อัคคัญญสูตร และปฐมกัลป (
ต่อมาหลังพุทธกาลสำนักตักศิลาได้นำไปทำเป็นหลักสูตรดาราศาสตร์ชื่อว่า
“
โชติกยศาสตร์
”
แม้กระทั่งการใช้ตำแหน่งของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนดให้เป็นวันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถ ถือศีลนั้น ก็ต้องใช้วันที่จันทร์เพ็ญและจันทร์ดับ การกำหนดภิกขุปาฏิโมกข์ และแม้กระทั่งการใช้ฤกษ์เป็นตัวกำหนดนับเวลาระยะวันเข้าพรรษาและปวารณา อันถือว่าเป็นพุทธบัญญัติที่พระภิกษุต้องปฏิบัติ เรียก “
อภิสมาจาริกาสิกขา
”
อยู่ในพระบาลีวินัยปิฎก หมวดขันธกะ ว่าด้วยสังฆกรรม อุปสมบท และส่วนมหาวรรค อาทิ อุโบสถขันธกะ ว่าด้วยอุโบสถ วัสสูปนายิกขันธกะ ว่าด้วยวันเข้าพรรษา ปวารณาขันธกะ ว่าด้วยการปวารณา เป็นต้น
พุทธศักราช         
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีอัญชันศักราชที่ ๖๘ ทรงเผยแพร่พระธรรมคำสอนเป็นเวลา ๔๕ พรรษา เสด็จปรินิพพาน ณ กรุงกุสินารา เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีอัญชันศักราชที่ ๑๔๘


         
ในปีเดียวกันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระเจ้าอชุตราช ซึ่งเป็นราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าสิงหนวัติ ขึ้นครองราชในอาณาจักรโยนก สิงหนวัตินาคนคร ทรงเป็นพระญาติของพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แคว้นมคธ ราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร โดยพระเจ้าสิงหนวัติผู้ตั้งอาณาจักรโยกนกเป็นน้องชายของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชุตราชครองราชย์เมื่อเดือนยี่ ก่อนพุทธปรินิพพาน ๔ เดือน ทรงเป็นพุทธมามกะ เมื่อได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพาน จึงเดินทางไปเมืองกุสินารา เพื่อถวายสักการะพุทธสรีระ ของพระบรมศาสดา ในกาลนั้นเหล่ากษัตริย์ทั้งหลายในโคตมะโคตร จึงปรึกษากันจักกำหนดให้ตั้งศักราชขึ้นใหม่ โดยหมายเอานิมิตแห่งการเสด็จปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันเป็นกษัตริย์แห่งวงศ์โคตมะนั้น ราชวงศ์ทั้งหลายจึ่งมอบหมายให้พระเจ้าอชุตราช ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์สุวรรณโคมคำส่วนโหราศาสตร์ และพระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์สุวรรณโคมคำส่วนปราบไตรภพ วางศิลาฤกษ์ยามคำนวนตั้งศักราชขึ้น ณ เมืองกุสินารา นั้น จึงได้ทำพิธีลบอัญชันศักราชเสีย และใช้ศักราชใหม่เรียกว่า
“
พุทธศักราช
”
ประกาศต่อท้าวพระยาสามลราชอันมาประชุมรับแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทราบแลให้ทุกแคว้นทุกนครในชมพูทวีปใช้ “
พุทธศักราช
”
เป็นเครื่องหมายนับเวลา นับตั้งแต่ปีอัญชันศักราชที่ ๑๔๘ เป็นต้นไป การเริ่มต้นแห่ง “
พุทธศักราชที่ ๑
”
จึงมีขึ้นแต่บัดนั้นมา

         
ความสัมพันธ์ระหว่างดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยกับเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ นอกจาก ปรากฏในสมัยของ พระเจ้าสิงหนวัติกับพระเจ้าพิมพิสาร และสมัยพระเจ้าอชุตราชกับพระเจ้าอชาตศัตรูแล้ว ใน
ตำนานพระบรมธาตุศรีจอมทอง ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ยังได้มีการกล่าวถึง การเดินทางไปมาหาสู่กัน ระหว่าง เมืองอังครัฏฐะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ วัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง ในปัจจุบัน กับเมืองราชคฤห์ ดังที่จะขอคัดลอกความสำคัญบางตอนมาให้ท่านทั้งหลายได้ พิจารณา ดังนี้

          ...
ในสมัยเมื่อพระยาอังครัฏฐะ ครองเมืองอังครัฏฐะอยู่นั้น เป็นสมัยที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว และทรงเสด็จสำราญพระอิริยาบถอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ ส่วนพระยาอังครัฎฐะนั้น เป็นผู้สนใจคอยสดับข่าวสาส์นความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อยู่เสมอมา ครั้นอยู่มาวันหนึ่งท้าวเธอได้สดับข่าวจากพวกพ่อค้า ซึ่งมาจากกรุงราชคฤห์ว่า พระพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ และเสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ ก็มีใจปิติยินดีมากนัก ได้พระราชทานข้าวของเงินทองเสื้อผ้าแก่พ่อค้าเหล่านั้นเป็นอันมาก …

         
ซึ่งจาก ข้อความใน
ตำนานพระบรมธาตุศรีจอมทอง จะเห็นว่าได้มีการเดินทางไปมาหาสู่กันทางการค้า ระหว่างบ้านเมืองทางตอนเหนือของประเทศไทย กับ เมืองราชคฤห์ มาช้านานแล้ว แต่ที่ชวนให้คิดก็คือ เมืองราชคฤห์ ตั้งอยู่ที่ไหนแน่ระหว่าง INDIA INTRA GANGES
ที่ครอบคลุม พื้นที่ประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ในปัจจุบัน กับ
INDIA EXTRA GANGES
ที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน


         
อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่ได้เดินทางติดตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อรักษาพระอาการประชวรจนกระทั่งพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสืบค้นต่อว่า
กุสินารา ที่ หมอชีวกโกมารภัจจ์ เดินทางมา และที่พระเจ้าอชุตราชกับพระเจ้าอชาตศัตรู เดินทางมาร่วมกันลบอัญชันศักราช และตั้ง "
พระพุทธศักราช" นั้น อยู่ที่ไหน แน่


         
ถ้าเมืองกุสินารา ในสมัยพุทธกาล อยู่ที่ประเทศอินเดียปัจจุบัน คนไทยสมัยโบราณ จะไปร่วมตั้งพุทธศักราช ร่วมกับพระเจ้าอชาตศัตรู ได้จริง หรือ? และเรื่องราวเหล่านี้ สูญหายไปจากอินเดียปัจจุบันได้อย่างไร?
แต่ทำไมเรื่องราวเหล่านี้ กลับมีบันทึกสืบต่อกันมาของคนในแผ่นดินสุวรรณภูมิปัจจุบัน หรือแท้ที่จริงแล้ว เมืองกุสินารา อยู่ในเขตแดนของประเทศไทย ในปัจจุบัน ดังที่มีความเชื่อนี้ ปรากฏอยู่ในบทกวี ที่เรียกว่า
นิราศพระแท่นดงรัง ซึ่ง นายมี หรือ หมื่นพรหมสมพัตสร ท่านได้แต่งเอาไว้เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๓๗๙ ก่อนที่ เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม นักโบราณคดีชาวอังกฤษ จะขุดค้นพบพระพุทธรูปปางปรินิพาน ที่ประเทศอินเดีย ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ และประกาศว่า สถานที่นั้น เป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านที่นั้นว่า กุเซีย หรือกาเซีย ให้ใกล้เคียงกับกุสินารา ซึ่งจะขอยกความใน นิราศพระแท่นดงรัง มาแต่เพียงบางตอน ดังนี้ พระแท่นปรินิพพาน ที่ วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
โอ้พระแท่นแผ่นผาอยู่ป่าดอน   
แต่ปางก่อนที่นี้เป็นที่เมือง


         
ชื่อโกสินนารายสบายนัก
   
เป็นเอกอรรคออกชื่อย่อมฤๅเลื่อง


         
ทั้งแก้วแหวนเงินทองก็นองเนือง
   
ไม่ฝืดเคืองสมบัติกษัตรา


         
มีสวนแก้วอุทยานสำราญรื่น
   
ดูดาดดื่นดอกดวงพวงบุปผา


         
ปลูกไม้รังตั้งแท่นแผ่นศิลา
   
คือแผ่นผาอันนี้ท่านนีพาน


         
ของพระยามลราชประสาทไว้
   
ย่อมแจ้งใจทุกประเทศเขตสถาน


         
ที่สำคัญมั่นหมายหลายประการ
   
สมนิทานเรื่องเทศน์สังเกตฟัง


         
แต่บ้านเมืองสูญหายกลายเป็นป่า
   
พยัคฆาอาศัยเหมือนใจหวัง


         
พระอุทยานร้างราเป็นป่ารัง
   
อนิจจังอนาถจิตอนิจจา


         
เดชะบุญได้นบอภิวาท
   
ไม่เสียชาติที่ได้พบพระศาสนา


         
รำพันพลางทางก้มบังคมลา
   
ถอยออกมาเที่ยวชมพนมเนิน


         
ซึ่งจาก นิราศพระแท่นดงรัง ข้างต้นนี้ อาจจะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์การกล่าวถึง สังเวชนียสถาน ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยที่หลงเหลืออยู่ และสืบทอดกันมาปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจนถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่เชื่อว่า
“
สถานที่ปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่ วัดพระแท่นดงรัง ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
”
และ “
เมืองโกสินนาราย หรือโกสินาราย ก็คือ ซากเมืองโบราณโกสินารายณ์ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
”
นั่นก็หมายถึงว่า ที่ตั้งของเมืองกุสินารา และแคว้นมัลละ ในสมัยพุทธกาล ก็จะอยู่ในพื้นที่รอยต่อร่วมกันของ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม นี่เอง

         
จากบันทึก ที่หลงเหลืออยู่ของบรรพชน ที่ได้ยกมาอ้างข้างต้นนี้ นับได้ว่าเป็นหลักฐาน ในการเดินทางมาจาริกแสวงบุญสังเวชนียสถาน ๑ ใน ๔ ตำบล ของคนสมัยโบราณ ก่อนที่จะถูกย้ายไปอยู่ที่ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน


         
อีกหนึ่งหลักฐาน ที่เป็นเครื่องแสดงว่าได้มีการเดินทางมาจาริกแสวงบุญ ยังสถานที่ปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่ได้มีการค้นพบพระแท่นดงรังในสมัยพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา ก็คือ
“
รอยพระพุทธบาทไม้ประดับมุก
”

ที่วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร จังหวัดกาญจนบุรี

รอยพระพุทธบาทไม้ประดับมุก ที่วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
         
ซึ่งตามคำอธิบายความเป็นมากล่าวไว้ว่า รอยพระพุทธบาทไม้โบราณชิ้นนี้ ประดิษฐานประจำอยู่ที่พระแท่นมาเป็นเวลานับร้อยปี ประชาชนที่มานมัสการนับแต่อดีตมาได้ปิดทองโดยไม่ขาดสาย ตามแบบอย่างบรรพบุรุษปฏิบัติมา โดยไม่มีใครทราบว่าที่ปิดทองทับนั้น มีลายมุกที่สวยงามอยู่ภายใน


         
ต่อมาเมื่อต้นปี ๒๕๓๗ คณะผู้เชี่ยวชาญการสืบค้นรอยพระพุทธบาทนำโดย ดร. วอลเดมาร์ ซี. ไซเลอร์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้มาสำรวจรอยพระพุทธบาท ณ จังหวัดกาญจนบุรี จึงขออนุญาตตรวจและล้างจึงเห็นรอยพระพุทธบาทไม้นี้ประดับด้วยเปลือกหอยมุกทั้งแผ่น
สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างหลวงในสมัยพระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา อันสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องสัญลักษณ์อันเป็นมงคล ๑๐๘ ประการ อันเหมือนกับลวดลายรอยพระพุทธบาทที่เขียนบนผืนผ้าที่พระเจ้าบรมโกศ ทรงส่งเป็นเครื่องราชบรรณาการ เพื่อเจริญพระราชไมตรี กับ พระเจ้าสีหะกิตติ ประเทศศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมืองแคนดี้)

         
นอกจากนี้ ยังมี
ตำนานพระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้เรียบเรียงไว้ และผมจะขอคัดลอกมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านแต่พอสังเขป ดังนี้ องค์พระประโทณเจดีย์ วัดพระประโทณวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

          ...
ได้ค้นหาเรื่องพระปฐมเจดีย์และเรื่องพระประโทณเจดีย์ได้ความในหนังสือพงศาวดารเมืองเหนือได้ที่พระยามหาอรรคนิกร ฉบับ ๑ ได้ที่นายทอง ฉบับ ๑ รวม ๒ ฉบับ มีความคล้ายกัน จึงเก็บเอาความรวมเป็นฉบับเดียวกันเข้าไว้ เพื่อจะให้สัปบุรุษทั้งหลายรู้ความบุราณ จะเท็จจริงประการใดข้าพเจ้าผู้ได้จดหมายนี้ตัดสินไม่ได้ ยังมีตำนานนิทานว่าไว้สืบๆ กันมา
แต่ก่อนพระนครไชยศรียังมิได้ตั้งเมือง มีตำบลบ้านพราหมณ์อยู่ เรียกว่าบ้านโทณะพราหมณ์ซึ่งเอาโทณะ คือ ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมธาตุพระพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ในเรือนหินนั้นแล

         
ว่าเมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๓๓ พรรษา ยังมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อท้าวศรีสิทธิชัย พรหมเทพ มาแต่เมืองมโนหัน ต่อเมืองยศโสธร ท้าวเธอจึงมาสร้างเมืองนครไชยศรีขึ้นเป็นเมืองใหญ่ และอยู่มาเจ้าเมืองลังกาจะใคร่ได้หน่วยโทณะอันตวงพระธาตุของสมเด็จพระพุทธเจ้านั้น มาไว้ในลังกาทวีป เธอจึงไปหาพระกัลยาดิศเถรเจ้า จึงว่าข้าพเจ้าจะขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าไปว่ากล่าวด้วยพระเจ้าเมืองนครไชยศรี ขอเอาโทณะที่ตวงพระบรมธาตุมาไว้ในเมืองลังกานี้เถิด และชาวเมืองลังกาทั้งปวงจะได้นมัสการไปเบื้องหน้าแล


         
ดับนั้น พระมหากัลยาดิศเถร ก็รับอาราธนา แล้วเธอก็มาแต่ลังกาทวีปถึงพอจวนค่ำ เธอก็เข้าอาศัยอยู่ในอารามแห่งหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้า พระกัลยาดิศเถรเจ้าก็ไปบิณฑบาต ทำภัตตากิจเสร็จแล้ว ก็เข้าไปหาพระเจ้าศรีสิทธิไชยก็รับปฏิญญาณซึ่งกันและกันแล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็กลับไปสู่เมืองลังกา จึงเข้าไปแจ้งความแก่พระเจ้าแผ่นดินลังกาว่าพระยาศรีสิทธิไชยขอรับพระบรมสารีริกธาตุแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าสักทะนานหนึ่งจึงจะให้หน่วยโทณะนั้นแล


         
ดับนั้น พระยาลังกาได้ฟังถ้อยคำดังนั้น ก็มีความยินดีจึงนำเอาพระบรมสารีริกธาตุ ให้แก่พระกัลยาดิศเถรเจ้านั้นทะนานหนึ่ง ครั้นว่าพระมหาเถรเจ้าได้รับพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เธอก็กลับมาถึงเมืองนครชัยศรี พระผู้เป็นเจ้าก็เอาพระบรมสารีริกธาตุเข้าไปให้แก่พระยาศรีสิทธิไชยๆ ได้รับพระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งแล้ว จึงหาหมู่พราหมณ์ทั้งหลายมาจะขอเอาทะนานที่ตวงพระบรมธาตุให้แก่พระกัลยาดิศเถรเจ้าและหมู่พราหมณ์ทั้งหลายจึงขัดแข็งไว้มิให้หน่วยโทณะแก่พระยา
จึงว่าหมู่พราหมณ์ซึ่งเป็นปู่ย่าตายายแต่ก่อนสั่งไว้ว่า ท้าวพระยาสามลราชและเทวดาอินทร์พรหม ท่านมาชิงเอาพระบรมสารีริกธาตุไปสิ้นแล้วยังเหลือแต่โทณะเปล่าได้มาไว้เป็นที่ไหว้บูชาแต่เท่านี้ และบัดนี้ข้าพเจ้าจะเอาหน่วยโทณะให้แก่พระองค์มิได้เลย โทณะพราหมณ์ ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้กษัตริย์ ๘ เมืองที่มาแย่งชิงพระธาตุ

          ลำดับนั้น พระยาศรีสิทธิไชย ได้ฟังหมู่พราหมณ์ว่าก็ขัดเคืองจึงยกรี้พลออกไปตั้งเป็นเมืองอยู่ต่างหาก ให้ชื่อว่า ปาวัน แล้วท่านจึงให้สร้างพระปฐมไสยาสน์องค์หนึ่ง ใหญ่ยาวมหึมา จะเป็นพระปฐมเจดีย์หรือ จะเป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ก็ไม่ได้ความชัด พระยาศรีสิทธิไชยเธอจึงเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในนั้นแล้ว พระยาจึงหักหาญเอาหน่วยโทณะนั้น ส่งให้แก่พระกัลยาดิศเถรเจ้าเธอก็รับเอาหน่วยโทณะนั้นไปเมืองลังกา พระเจ้าแผ่นดินลังกาก็บรรจุไว้ในสุวรรณเจดีย์ และพระปฐมเจดีย์นั้นอยู่เหนือพระประโทณเจดีย์ อันอยู่ในเรือนศิลานั้น เดิมเมื่อแรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้นพระพุทธศักราชล่วงได้พระวัสสาหนึ่ง จะเป็นผู้ใดสร้างหาแจ้งไม่


         
ครั้นอยู่มาถึงพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๙๙ พรรษา มีกษัตริย์องค์หนึ่งเป็นใหญ่อยู่ในเมืองละโว้ ชื่อ กากะวรรณดิศราช นั้น เธอได้ก่อพระเจดีย์ล้อมเรือนศิลาที่บรรจุพระทะนานทอง คือ โทณะอันตวงพระบรมธาตุนั้น แล้วจึงให้นามว่า พระประโทณเจดีย์ พระประโทณเจดีย์สร้างเมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๙๙ พรรษา ได้ความแต่เท่านี้


         
จาก ตำนาน พระประโทณเจดีย์ ซึ่งท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ซึ่งเป็นเสนาบดีใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เรียบเรียงไว้ข้างต้นจะเห็นได้ว่า
บริเวณรอบๆ ที่ตั้ง องค์พระประโทณเจดีย์ เป็นตำบลบ้านพราหมณ์ เรียกว่าบ้านโทณะพราหมณ์ ซึ่งคงจะตั้งชื่อตำบลตามชื่อของ ท่านโทณะพราหมณ์ ผู้ที่ได้ทำหน้าที่แบ่งตวงพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แจกจ่ายให้กับกษัตริย์ทั้ง ๘ เมืองที่ยกทัพมาแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ หลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ที่เมืองกุสินารา บริเวณ เขาถวายพระเพลิง วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร จังหวัดกาญจนบุรี ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ห่างจากวัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร จังหวัดนครปฐม นี้ประมาณ ๖๐ กิโลเมตร

         
นอกจาก ตำนานพระประโทณเจดีย์ ที่ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ซึ่งเป็นเสนาบดีใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เรียบเรียงไว้ แล้ว ในนิราศพระแท่นดงรัง ซึ่ง นายมี หรือ หมื่นพรหมสมพัตสร ท่านได้แต่งเอาไว้เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๓๗๙ ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งจะขอยกความใน นิราศพระแท่นดงรัง มาแต่เพียงบางตอน ดังนี้


         
ถึงประโทณารามพราหม์เขาสร้าง      
เป็นพระปรางค์แต่บุราณนานนักหนา


         
แต่ครั้งตวงพระธาตุพระศาสดา
      
พราหมณ์ศรัทธาสร้างสรรไว้มั่นคง


         
บรรจุพระทะนานทองของวิเศษ
      
ที่น้อมเกศโมทนาอานิสงส์


         
จุดธูปเทียนอภิวันท์ด้วยบรรจง
      
ถวายธงแพรผ้าแล้วลาจร


         
เรื่อง ตำนานพระประโทณเจดีย์ นี้ นอกจากที่ ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้เรียบเรียงขึ้นจากพงศาวดารเมืองเหนือแล้ว ยังมี ตำนานพระประโทณเจดีย์ ฉบับของนายอ่อง ไวกำลัง ซึ่งกรมศิลปากรได้ตรวจสอบและชำระใหม่ แล้วนำมาจัดพิมพ์ในหนังสือ เรื่อง
พระปฐมเจดีย์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ ซึ่งจะมีเรื่องราวหลังจากที่พระยากากะวรรณดิศราช ได้สร้างพระประโทณเจดีย์เมื่อพุทธศักราช ๑๑๙๙ ดังจะขอคัดลอกมา ดังนี้

         
ดับนั้นพระยากาวัณดิศราชจึงแต่งตั้งให้ท้าวพระยาทั้งหลาย ขึ้นไปตั้งบ้านเมืองอยู่ทุกแห่ง แต่ฝ่ายขุนนางขึ้นไป จึงถึงทวารบูรีสัตนาหะคือเมืองล้านช้างขึ้นไปถึงอุเชนธิราช ยังเมืองโกลำ (โกสัมพี?)
ครั้นแล้วก็กลับลงมา ได้นมัสการรอยพระพุทธิบาทที่เมืองระแวกเมืองเมื่อพระเจ้าตั้งบาตรฉัน ที่มีแม่ซองนั้นแล


         
เมื่อพระเจ้าเสด็จไปจากทุ่งยางนั้น พระเจ้าจึงให้พระอานนท์กับสงฆ์ทั้งหลายหยุดยังทุ่งยาง แต่พระตถาคตเข้าไปสู่อาลพัดลาธิราช(กาลพัตราธิราช
?)

         
ครั้นแล้วพระยากาลพัดธิราชจึงถอยลงมายังเมืองวาลกบูรีนั้น เดิมเมื่อประจุพระรากขวัญขวาพระเจ้านั้น พระยากาลพัดธิราชอันพ่อพระยากาวัณดิศราชนั้น เดิมพระยากาลพัดธิราช ให้ท่านผู้วิเศษออกไปรับมาแต่เมืองลังกา พระรากขวัญขวานั้นมาประจุไว้ในเมืองละโว้นั้นแล ธาตุพระพุทธิเจ้านั้น เมื่ออยู่ในเมืองละโว้นั้น กระทำยมกปาฏิหาริย์ ลอยขึ้นไปเหนือทนมา
(
น้ำ
?)
สู่เมืองสวาลบูรี(สวางคบุรี
?)
นั้น อันว่าพระยากาวัณดิศราชไปสร้างเมืองเหนือแล้วกลับมาสร้างเมืองสะวาบูรี (สว่างบุรี
?)
เธอก็ให้รับเอาพระรากขวัญขวาพระเจ้ามาประจุไว้ในองค์เจดีย์กับด้วยธาตุพระพุทธิเจ้าอันว่าพระอานนท์กับพระอนุรุทเถรแลพระยาทำมะสีโสกราช(ศรีธรรมาโศกราช
?)
มาประจุไว้แต่ก่อนนั้น เมื่อพระยากาวัณดิสราช ให้ประจุรากขวัญขวากับธาตุข้อมือพระพุทธิเจ้านั้น เมื่อพระพุทธศักราชพระเจ้าได้พันสองร้อยเก้าปี แลจุลศักราชได้สิบสองศก


         
แลดับนั้นมาถึงพระยาอินทราไชยธิราช ท่านมาเมืองนครหลวงต่อแดนเมืองยศโสธร ท่านนั้นวงศ์กษัตริย์พระยาสี่เสา กลบุตรท่านนั้นอยู่ทิศบูรพา ลงมาสร้างเมืองโสกะทัย เมื่อพุทธศักราชพระเจ้าได้พันสองร้อยยี่สิบสองปี จุลศักราชได้ยี่สิบศกนั้น สืบกันมาจนถึงพระยากรุงภาลีธิราชท่านนั้นสิได้โสกะทัย แลยกพลมาแต่เมืองโสกะทัยมาประจนกับเมืองนครไชยศรีได้แล้ว ท่านจึงอุปภิเศกลูกชายทั้งสองคน คนหนึ่งชื่อพระยาภาลี ให้กินเมืองมหานครหลวง ต่อแดนเมืองยศโสธร เธอเป็นเชื้อวงศ์พระยาสี่เสา กลบุตรท่านนั้นอยู่ทิศบูรพา ลงมาสร้างเมืองโสกะทัย เมื่อพระพุทธศักราชได้พันสองร้อยสามสิบปี จุลศักราชได้สามสิบสองศกนั้นแลสืบๆ กันมาจนถึงพระยาภาลีบพิตร ได้กินเมืองนครไชยศรี มีลูกคนหนึ่งชื่อพระยาไสยทองสมให้กินเมืองเทพบูรี คือชื่อเมืองราชคฤห์ แลพี่น้องสองคน ท่านนั้นมีเงินทองมากนักหนา
อันท่านพี่น้องสองคนเป็นเชื้อสันดานพระยากาวัณดิศราช เป็นเชื้อสันดานโทณพราหมณ์นั้นมาแต่บุราณ แลพระยาภาลีนั้นมีเหตุด้วยมาฆ่าพระยากาวัณดิศราชผู้เป็นพ่อเสียให้ถึงแก่ความตาย แล้วมาทำแปลกด้วยมารดา ด้วยทำตัวทุราจารแลท่านสองพี่น้องก็คิดสังเวชนักหนา ท่านพี่น้องจึงมาซ่อมแปลงปฏิสังขรณ์ในอารามพระธาตุพระยาศรีสิทธิชัยสร้างมาแต่ก่อนโน้นมาแล


ไว้มาต่อให้ครับ (โอม ศานติ ศานติ)

รอยพระพุทธบาทไม้ประดับมุก ที่วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


องค์พระประโทณเจดีย์ วัดพระประโทณวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม



จากการประมวล ร่องรอยหลักฐาน จากเอกสาร และโบราณสถาน ที่มีอยู่ จึงเป็นเครื่องยืนยัน ว่า ที่ตั้งของเมืองกุสินารา และแคว้นมัลละ ในสมัยพุทธกาล ก็คือพื้นที่รอยต่อร่วมกันของ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม นี่เอง

         
การที่จะค้นหา ที่ตั้งของ
"
เมืองราชคฤห์"
ดูอาจจะมืดมน เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร ดังที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนนี้ว่า หลักฐาน หรือบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ระบุถึงที่ตั้งของ สังเวชนียสถาน ที่เนื่องกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในดินแดนประเทศไทย ปัจจุบัน มีเพียง "
สถานที่ปรินิพพาน"
ดังที่ สามารถประมวลสรุปได้ว่า ที่ตั้งของเมืองกุสินารา และแคว้นมัลละ ในสมัยพุทธกาล คือพื้นที่รอยต่อร่วมกันของ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม นี่เอง โดยอาจมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองโบราณโกสินารายณ์ ที่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นั้น

         
แต่ก็ใช่ว่า การค้นหา
”
เมืองราชคฤห์
”
จะไม่มีความหวังเอาเสียเลย ซึ่ง เมื่อเราได้อ่าน พระอรรถกถา แห่ง มหาปรินิพพานสูตร จึงทำให้เรา พบความหวัง ที่จะค้นหา ที่ตั้งของ "เมืองราชคฤห์" จาก ข้อความ ในพระอรรถกถา ที่ว่า


          พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระสรีระ ของพระผู้มี
         
พระภาคเจ้าและงานมหกรรมในกรุงราชคฤห์. ถามว่า ได้ทรงทำอย่างไร
?
         
ตอบว่า ได้ทรงทำการมหกรรม
ตั้งแต่กรุงกุสินาราจนถึงกรุงราชคฤห์เป็นระยะ
         
ทาง ๒๕ โยชน์.
ในระหว่างนั้น ทรงให้ทำทางกว้าง ๘ อุสภะปราบพื้นเรียบ
         
สั่งให้ทำการบูชาในทางแม้ ๒๕ โยชน์ เช่นที่เหล่าเจ้ามัลละสั่งให้ทำการบูชา

         
ระหว่างมกุฏพันธนเจดีย์และสัณฐาคาร ทรงขยายไปในระหว่างตลาดในที่ทุก

         
แห่ง เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก ทรงให้ล้อมพระบรมธาตุที่บรรจุไว้ในราง

         
ทองคำ ด้วยลูกกรงหอก ให้ผู้คนชุมนุมกันเป็นปริมณฑล ๕๐๐ โยชน์ ใน

         
แคว้นของพระองค์. ผู้คนเหล่านั้นรับพระบรมธาตุ เล่นสาธุกีฬา ออกจาก

         
กรุงกุสินารา พบเห็นดอกไม้มีสีดั่งทองคำในที่ใด ๆ ก็เก็บดอกไม้เหล่านั้น

         
ในที่นั้น ๆ บูชาพระบรมธาตุในระหว่างหอก เวลาดอกไม้เหล่านั้นหมดแล้ว

         
ก็เดินต่อไป เมื่อถึงฐานแอกแห่งรถในคันหลัง ก็พากันเล่นสาธุกีฬาแห่งละ ๗

         
วัน ๆ เมื่อผู้คนรับพระบรมธาตุมากันด้วยอาการอย่างนี้ เวลาก็ล่วงไป ๗ ปี

         
๗ เดือน ๗ วัน. เหล่ามิจฉาทิฏฐิพากันติเตียนว่า ตั้งแต่พระสมณโคดมปรินิพพาน

         
พวกเราก็วุ่นวาย ด้วยการเล่นสาธุกีฬา โดยพลการ การงานของพวกเราเสียหาย

         
หมด แล้วก็ขุ่นเคืองใจ ไปบังเกิดในอบายประมาณ ๘๖
,
๐๐๐ คน.

         
เหล่าพระขีณาสพ ระลึกแล้วเห็นว่า มหาชนขุ่นเคืองใจ พากันบังเกิด

         
ในอบาย แล้วดำริว่า พวกเราจักให้ท้าวสักกะเทวราชทรงทำอุบายนำพระบรม

         
ธาตุมา ดังนี้ จึงพากันไปยังสำนักท้าวสักกะเทวราชนั้น ทูลบอกเรื่องนั้นแล้ว

         
ทูลว่า ท่านมหาราช ขอได้โปรดทรงทำอุบายนำพระบรมธาตุมาเถิด. ท้าว

         
สักกะตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่า ปุถุชนที่มีศรัทธาเสมอด้วยพระเจ้าอชาต

         
ศัตรูไม่มี พระองค์ไม่ทรงเชื่อเราดอก ก็แต่ว่า ข้าพเจ้าจักแสดงสิ่งที่น่าสะพึง

         
กลัว. เสมือนมารที่น่าสะพึงกลัว จักประกาศเสียงดังลั่น จักทำเป็นคนไข้สั่น

         
ระรัว เหมือนคนผีเข้า ขอพระคุณเจ้าทูลว่า มหาบพิตร พวกอมนุษย์เขา

         
โกรธเคือง ได้โปรดให้นำพระบรมธาตุไปโดยเร็ว ด้วยอุบายอย่างนี้ ท้าวเธอ

         
ก็จักทรงให้นำพระบรมธาตุไป. ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ ก็ได้ทรงทำทุกสิ่งทุก

         
อย่างดังกล่าวนั้น ฝ่ายพระเถระทั้งหลายก็เข้าไปเฝ้าพระราชาทูลว่า ถวายพระพร

         
พวกอมนุษย์เขาโกรธเคือง โปรดให้นำพระบรมธาตุไปเถิด. พระราชาตรัสว่า

         
ท่านเจ้าข้า จิตของโยมยังไม่ยินดีก่อน แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะให้เขานำพระ

         
บรมธาตุไป. ในวันที่ ๗ ผู้คนทั้งหลายก็นำพระบรมธาตุมาถึง. ท้าวเธอทรง

         
รับพระบรมธาตุที่มาด้วยอาการอย่างนั้น ทรงสร้างพระสถูปไว้ ณ กรุงราชคฤห์

         
และทรงทำมหกรรม แม้เหล่าเจ้าพวกอื่น ๆ ก็นำไปตามสมควรแก่กำลังของ

         
ตน ๆ สร้างพระสถูปไว้ ณ สถานของตน ๆ แล้วทำมหกรรม.


         
นั่นหมายความว่า
"
เมืองราชคฤห์"
ตั้งอยู่ห่างจาก "
เมืองกุสินารา"
หรือ "เมืองโบราณโกสินารายณ์ ที่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี" เป็นระยะทางห่างกันเท่ากับ ๒๕ โยชน์ หรือ ๔๐๐ กิโลเมตร

         
และเพื่อให้ การค้นหาที่ตั้งของ
“
เมืองราชคฤห์
”
จำกัดวงให้แคบลงมาอีก เราจำเป็นต้องค้นหา เมืองสำคัญๆ ในสมัยพุทธกาล ที่จะเชื่อมโยงไปหา “เมืองราชคฤห์”
อีกสักเมืองหนึ่ง ซึ่งนับว่า เหมือนสวรรค์เปิดทางจริงๆเพราะผลจากการที่ค้นหาข้อมูลจาก
พระราชพงศาวดารเหนือ ทำให้เราได้พบข้อมูลที่ตั้ง เมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างดียิ่งกับ “
เมืองราชคฤห์
”
ทั้งในระดับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้น และระดับเศรษฐีคหบดีในแว่นแคว้นนั้น นั่นก็คือ “
เมืองสาวัตถี
”
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล

         
ในสมัยพุทธกาล
“
เมืองสาวัตถี
”

มีความสำคัญยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎก เราจะพบว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเทศนา คำสอน ที่เมืองสาวัตถีนี้ เป็นจำนวนมาก ดัง พระอานนท์ จะยกมาอ้างว่า ในตอนต้นของหลายๆ พระสูตร ว่า
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า...

         
ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ในช่วง ๒๕ พรรษา สุดท้าย ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระพุทธองค์ได้ประทับจำพรรษา อยู่ที่พระนครสาวัตถีนี้ เป็นประจำ จึงมีเศรษฐีคหบดีที่ได้ถวายการอุปฐาก ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีของชาวพุทธจนถึงทุกวันนี้ แม้เวลาจะผ่านมานานกว่า ๒
,
๕๐๐ ปีมาแล้ว นั่นก็คือ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กับ นางวิสาขามิคารมาตา โดยท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สร้างพระวิหารเชตวันอารามถวายแด่พระพุทธองค์ ส่วน นางวิสาขามิคารมาตา ได้สร้างพระวิหารบุพพารามถวายแด่พระพุทธองค์

         
ซึ่งในเวลาต่อมาไม่นานนักแคว้นโกศลก็ได้เสื่อมทรุดลงไป เมื่อสิ้นพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้าวิฑูฑภะ ที่ได้แย่งชิงราชสมบัติ จากพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้เป็นพระราชบิดา และต่อมาไม่นานพระเจ้าวิฑูฑภะ ก็มาสวรรคต เพราะถูกน้ำท่วมที่ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี หลังเดินทางกลับจากการไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศากยะ ที่กรุงกบิลพัสดุ์ โดยพระเจ้าวิฑูฑภะรับสั่ง ให้ฆ่าทุกคน ที่บอกว่า
‘
พวกเราเป็นเจ้าศากยะ
’
เมื่อถูกถาม ยกเว้นที่รอดจากความตาย ก็คือ พวกที่ยืนอยู่ในสำนักของเจ้าศากยะมหานาม ผู้เป็นพระเจ้าตาของพระเจ้าวิฑูฑภะ ซึ่งเจ้าศากยะทั้งหลาย ที่ยืนอยู่นั้น บางพวกก็คาบเอาหญ้า บางพวกก็ถือเอาไม้อ้อ ยืนอยู่ เมื่อถูกทหารพระเจ้าวิฑูฑภะถามว่า "
ท่านเป็นเจ้าศากยะหรือไม่ใช่

เพราะเหตุที่เจ้าศากยะเหล่านั้น แม้จะตายก็ไม่พูดคำเท็จ พวกที่ยืนคาบหญ้าอยู่แล้ว จึงกล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ
,
หญ้า." พวกที่ยืนถือไม้อ้อก็กล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ
,
ไม้อ้อ." เจ้าศากยะเหล่านั้นเมื่อได้รอดชีวิต จึงคงจะพากันอพยพหนีไปสร้างบ้านสร้างเมืองที่อื่นให้ไกลเสียจากกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงสาวัตถี


         
ซึ่งจะขอคั่นเกร็ดที่น่าสนใจ และเป็นข้อมูลเพื่อที่จะได้สืบค้นหาข้อเท็จจริงต่อไปในภายหน้า ก็คือ มีความใน
พงศาวดารฉบับหอแก้วลำดับวงศ์กษัตริย์พม่า (The Glass Chronicle of Kings of Burmar) ได้กล่าวว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ของพม่าจนสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ได้สืบต่อมาจากราชวงศ์ของเจ้าชายศากยะแห่งเมืองกบิลพัสดุ์ สถานที่ประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่อพยพมาตั้งอาณาจักรขึ้นที่ เมืองตะกาวน์ (Tagaung)
ตั้งแต่สมัยพุทธกาล
จึงไม่แน่ว่า จะใช่บรรดาเจ้าศากยะที่ยืนคาบหญ้า กับเจ้าศากยะที่ยืนถือไม้อ้อ แล้วรอดตาย จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ของกองทัพพระเจ้าวิฑูฑภะ หรือไม่?



เอาเป็นว่า ขอย้อนกลับมาถึงการสืบค้นหาที่ตั้งของ “
เมืองสาวัตถี
”
ต่อ แต่จะขอกล่าวถึงความสัมพันธ์กันอย่างดียิ่งกับ
“
เมืองราชคฤห์
”
ทั้งในระดับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้น และระดับเศรษฐีคหบดีใน
“
เมืองสาวัตถี
”
พอเป็นสังเขปก่อนดังนี้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งกรุงสาวัตถี นั้นเป็นพระมาตุลา คือลุง ของพระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์ เพราะเหตุที่พระเจ้าพิมพิสารได้อภิเษกสมรสกับพระขนิษฐาคือน้องสาวของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่วนในระดับเศรษฐีคหบดีก็คือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี แห่งเมืองสาวัตถี กับราชคฤห์เศรษฐี แห่งเมืองราชคฤห์ ที่เป็นสหายกัน เพราะนี่เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นถึงการเดินทางไปมาหาสู่กัน ระหว่าง ๒ เมืองนี้ ดังนั้น หากหาที่ตั้ง
“
เมืองสาวัตถี
”
ได้ การที่จะค้นหา ที่ตั้ง
“
เมืองราชคฤห์
”
ก็จะง่ายขึ้นนั่นเอง


         
ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า
เหมือนสวรรค์เปิดทางจริงๆ เพราะผลจากการที่ค้นหาข้อมูลเรื่องอื่นๆ จาก พระราชพงศาวดารเหนือ ทำให้เราได้พบบันทึกของคณะทูตจากกรุงศรีอยุธยา ที่ได้เดินทางไปยัง
“
เมืองสาวัตถี
”
เพื่อไปทำการถ่ายแบบแปลน
“
พระวิหารเชตวัน
”
เพื่อมาสร้างที่ กรุงอโยธยา และเพื่อนำเครื่องสักการะบูชาไปถวายนมัสการ พระมาลีเจดีย์ ที่พระเจ้าอโศกมหาราช มาสร้างไว้กลางเมือง ดังปรากฏความในพงศาวดาร ที่จะคัดลอกมาแต่เพียงย่อๆ ดังนี้
เรื่องพระมาลีเจดีย์
          พระยาเชียงทองเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ว่ายังมีพระอาจารย์พระองค์หนึ่งมาถวายพระพรว่า สมเด็จพระพุทธเจ้ายังทรงพระทรมานอยู่นั้น เสด็จพระราชดำเนินไปสู่ลังกาทวีป เปนเหตุด้วยพระภิกขุสององค์วิวาทกันสมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากเมืองลังกาทวีปมาสู่พระเชตุพนเมืองสาวัตถี จึงตรัสธรรมเทศนาแก่พระอานนท์ว่า สืบไปเมื่อน่าเมืองสาวัตถี จะกลายเปนเมืองหงษาวดี เหตุว่าจะมีกระษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามชื่อว่าพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช จะสร้างพระมาลีเจดีย์องค์หนึ่งในกลางพระนคร แลพระมหากระษัตริย์นั้นมีศรัทธายิ่งนักให้เปิดประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ให้คนเข้าสองประตู ออกสองประตู จึงพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชตรัสสั่งชาวพระคลังให้ เอาทองคำมากองไว้ในพระนคร ถ้าคนเข้าไปช่วยทำพระมาลีเจดีย์นั้น ก็ให้รับเอาทองคำตำ ลึงหนึ่งก่อน จึงให้ช่วยทำการ แลทุกวันนี้ยังปรากฎมีอยู่ แลพระมาลีเจดีย์นั้นอยู่ทิศอุดร พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ครั้นแจ้งประพฤดิเหตุแล้ว ก็มีพระไทยยินดีนัก จุลศักราช ๔๑๓ ปีชวดตรีศก จึงมีพระ ราชโองการตรัสสั่งขุนการเวก แลพระยาศรีธรรมราชา ภูดาษราชวัตรเมืองอินทร์ ภูดาษกินเมืองพรหม ยกกระบัตรนายเพลิงกำจาย นายชำนององครักษ์ นายหาญใจเพ็ชร์ นายเด็จสงคราม ข้าหลวงแปดนายกับไพร่ ๕๐๐ คุมเอาเครื่องบูชาขึ้นไปถวายพระมาลีเจดีย์ แลข้าหลวงขุนการเวก ยกออกจากกรุงแต่ ณวันพฤหัศบดี เดือนอ้าย ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ไปทางสุพรรณบุรีไปถึงบ้านชบา ยกแต่บ้านชบาไปถึงเมืองพระยาเจ็ดตน ยกจากเมืองพระยาเจ็ดตนไปถึงบ้านรังงาม ยกจากบ้านรังงามไปด่านทราง ยกจากด่านทรางไปถึงเจ้าปู่หิน ยกแต่เจ้าปู่หินไปจากแม่น้ำชุมเกรียวนั้น มีพระพุทธไสยาศน์องค์หนึ่ง เปนทองสำริด องค์พระยาวห้าเส้น ขุนการเวกแลข้าหลวงทั้งปวงก็ชวนกันเข้าไปนมัสการ จึงตั้งสัจจาธิษฐานว่า ขอเดชะพระบารมีพระพุทธไสยาศน์ให้ข้าพเจ้าทั้งปวงนี้ไปถึง ได้นมัสการพระมาลีเจดีย์ในเมืองหงษาวดีสำเร็จความปราถนานั้นเถิด ข้าหลวงทั้งปวงกราบถวายบังคมนมัสการก็ลาออกจากแม่น้ำชุมเกรียว ก็ไปถึงเขาฝรั่งยางหิน ไปถึงตำบลเขาหลวง พอสิ้นแดนกรุงศรีอยุทธยา ไปถึงด่านทุ่งเขาหลวงสิ้นเขตแดนนับได้ ๓๘ วัน ครั้นแล้วจึงตั้งสัจจาธิษฐานอีกครั้งหนึ่ง ยกออกจากที่ ขุนการเวกกับข้าหลวงทั้งปวง จึงตั้งนมัสการพระศรีรัตนไตรยแล้วก็ยกไปขาดระยะบ้าน ไม่มีผู้คนเดินเลย บ่ายหน้าต่อทิศอุดร เปนป่าใหญ่เดินไปมาไม่ต้องแดด เปนทุ่งอยู่กลางเปนป่าละเมาะ คนทั้งปวงสิ้นอาหาร กินแต่ผลไม้เปนอาหาร สิ้นหนทาง ๓๐ วัน จึงเข้าเมืองหงษาวดี มีด่านบ้านพราหมณ์รายไปบ้าง ขุนการเวกกับข้า หลวงทั้งปวงเดินต่อ ๆ กันไป สิ้นหนทางนั้น ๓๐ วัน จึงถึงเมือง หงษาวดีนั้น คิดเข้ากันสิ้นทาง ๒ เดือนกับ ๒๑ วัน จึงเข้าเมือง หงษาวดี ขุนการเวกกับพระยาศรีธรรมราชา ข้าหลวงทั้งปวงพากันเข้าไปในพระอาราม พบปะขาวรูปหนึ่ง ขุนการเวกจึงถามปะขาวว่าอารามนี้ท่านผู้ใดเปนใหญ่ ปะขาวบอกว่าพระสังฆราชา ขุนการเวกแลข้าหลวงทั้งปวง จึงเข้าไปนมัสการพระสังฆราชา ๆ จึงซักไซ้ไต่ถามว่าอุบาสกทั้งปวงนี้มาแต่สถานที่ใดฤๅ ขุนการเวกกราบทูลพระสังฆราชาว่าข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงนี้ เปนข้าทูลละอองสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงศรีอยุทธยา ๆ มีพระกมลหฤไทยเลื่อมไสศรัทธาในพระมาลีเจดีย์ยิ่งนัก จึงตรัสใช้ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงนี้คุมเอาเครื่องสักการบูชาพอสมควร ขึ้นมานมัสการพระมาลีเจดีย์นั้น พระสังฆราชา ปราไสว่า อาตมภาพขออนุโมทนา ด้วยพระราชทรัพย์แห่งพระองค์นั้นเถิด วันนี้ท่านไปอยู่สำนักให้สบายก่อนเถิด ต่อพรุ่งนี้จะให้ปะขาวนำไปนมัสการตามความปราถนา


         
ครั้นรุ่งเช้าพระสังฆราชาให้ปะขาวนำข้าหลวงทั้งปวงเข้าไปในอาราม ทำประทักษิณพระรเบียงนั้นได้รอบหนึ่ง แลพระรเบียงนั้นเปนสี่เหลี่ยมจัตุรัศ ขุนการเวกจึงให้นายน้อยหาญใจเพ็ชร์วัดพระรเบียงข้างหนึ่ง แต่ยาวได้ ๒๐ เส้น ชื่อพระรเบียงยาว ๒ เส้น ๑๐ วา มีพระพุทธรูปรายรอบหล่อด้วยทองสำริดทั้งสิ้น เปนพระพุทธรูปสูง ๑๐ วา เสาพระรเบียงแปดเหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมนั้นวัดได้ ๙ ศอก สูงถึงท้องขื่อวัดได้ ๒๐ วา ก่ออิฐกระชับรักแล้วถือปูน หุ้มด้วยทองแดงหนาสามนิ้ว แลที่แปกลอนรแนงรเบียงทำด้วยไม้แก่น พื้นพระรเบียงดาษด้วยดีบุกน่าสิบสองนิ้ว ขุนการเวกแลข้าหลวงทั้งปวง ก็เข้านมัสการในพระรเบียง พอเพลาพลบค่ำก็ชวนกันกลับมาที่อยู่


         
ครั้นเพลารุ่งเช้าพระสังฆราชาให้ปะขาวนำขุนการเวกแลข้าหลวงทั้งปวง ขึ้นไปนมัสการพระมาลีเจดีย์ คือองค์พระมาลีเจดียธาตุ ขุนการเวกแลข้าหลวงทั้งปวง ก็เข้าไปถึงตีนบันไดใต้พระมหาธาตุ นายหาญใจเพ็ชร์วัดฐานพระมาลีเจดีย์นั้น ด้านหนึ่งยาว ๓๕ เส้น ๕ วา ทั้งสี่ด้านยาว ๑๔๑ เส้น บันไดขึ้นพระมาลีเจดีย์นั้นทำด้วยทองแดงตั้งลงกับอิฐ แม่บันไดรอบใหญ่ ๔ กำกึ่ง ลูกบันไดใหญ่รอบ ๓ กำ ปะขาวขุนการเวก ข้าหลวงทั้งปวง ขึ้นไปดูประตูพระมหาธาตุนั้นกว้าง ๒ เส้น สูงได้ ๕ เส้น มีหงษ์ทองคำสี่ตัวเข้าประชุมกันเปนแท่นรอง พระ พุทธรูปบนหลังหงษ์สองร้อยองค์ แต่ล้วนทองคำทั้งแท่ง สูงสองศอก แลข้อเท้าหงษ์นั้นใหญ่รอบ ๑๑ กำ ตัวหงษ์นั้นสูง ๑๖ ศอกทำด้วยทองคำทั้งแท่ง แลองค์พระมหาธาตุแผ่ทองคำเปนแผ่นอิฐ หนานั้นสามนิ้วกว้างสามศอกยาวห้าศอก ทองคำหุ้มองค์พระมหาธาตุขึ้นไปจนถึงยอด แล้วเอาลวดทองแดงร้อยหูกันเข้า เอาสายโซ่คล้องเข้าเปนตาข่ายหุ้มรัดข้างหน่วงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง แลยอดพระมาลีเจดีย์มีลูกแก้วใหญ่ได้ห้าอ้อมมัชฌิมบุรุษ ขุนการเวกแลข้าหลวงทั้งปวง ขึ้นแต่เชิงบัน ไดนั้นแต่เช้า ขึ้นไปถึงประตูพระมาลีเจดีย์พอเพลาเที่ยงก็ได้นมัสการแล้วกลับลงมาถึงเชิงบันไดก็พอค่ำ พื้นพระมาลีเจดีย์ซึ่งรองหงษ์เหยียบอยู่นั้นดาษด้วยแผ่นเงินหนาสามนิ้ว กว้างสามศอกเปนสี่เหลี่ยม ปะขาวบอกข้าหลวงว่า เหล็กกระดูกพระมาลีเจดีย์ที่ร้อยลูกแก้วนั้น ใหญ่รอบ ๑๑ กำ ขุนการเวกจึงถามว่า พระมาลีเจดีย์ใหญ่นักหนาฉนี้คือท่านผู้ใดสร้าง ปะขาวจึงบอกว่า
พระพุทธศักราช ๒๑๘ ปี ยังมีพระมหากระษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามชื่อพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช สร้างพระมาลีเจดีย์ไว้นั้น ให้เปิดประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ให้คนเข้าสอง ประตู ให้ออกสองประตู เอาทองกองไว้ ถ้าผู้ใดรับเอาทองคำตำลึงหนึ่งแล้ว จึงให้ผู้นั้นเข้าไปทำการ ถ้าผู้ใดมิรับเอาทองคำตำ ลึงหนึ่งนั้น ก็มิได้ให้เข้าไปทำการเลย ทำการพระมาลีเจดีย์นั้น แต่คนตกตายทำบาญชีไว้ได้ถึง ๙ โกฏิ แลคนตายครั้งนั้น พระอัตถกถาจารย์เจ้าผู้รู้วิสัชนาว่าได้ไปสวรรค์ทั้งสิ้น แลขุนการเวกจึงถามปะขาวว่า เมื่อก่อนนั้นก่อด้วยอิฐฤๅ ศิลา ปะขาวบอกว่าก่อด้วยอิฐ จึงนำขุนการเวกไปดูอิฐที่เหลือนั้นสักร้อยแผ่น ขุนการเวกก็ให้วัดแผ่นอิฐนั้นน่าสี่ศอกหกนิ้ว โดยกว้างห้าศอก โดยยาวห้าวาสองศอก ขุนการเวกจึงถามปะขาวว่าในเมืองหงษาวดีนี้ยังมีสิ่งใดประหลาดอยู่บ้าง ปะขาวจึงนำขุนการเวกกับข้าหลวงทั้งปวงไปดูบ่อน้ำมันดินน้ำมันงา ขุนการเวกจึงให้วัดบ่อน้ำมันดินนั้น โดยยาวเส้นหนึ่งกับห้าวาจัตุรัศทั้งสองบ่อ ขุนการเวกจึงถามว่าผู้ใดทำไว้ ปะขาวบอกว่าน้ำมันดินนั้น ท้าวมหาพรหมประดิษฐานไว้ สำหรับพระภิกษุสามเณร ปะขาวนางชีทั้งปวง ให้เปนยาทาแก้เมื่อยขบแก้เจ็บหลัง กับแก้ถีนะมิทธะเงียบเหงาหาวนอน แล้วก็ให้ทานสัตวทั้งหลายกินแก้โรคต่าง ๆ มีเรี่ยวแรงทำการได้สดวก แลบ่อน้ำมันงานั้นพระอินทราชาธิราชใช้ให้พระเวศุกรรมเทวบุตรลงมาประดิษฐานไว้ให้พระสงฆ์ตามดูหนังสือแลบูชาพระศรีรัตนไตรยเจ้า แลให้ทานสัตวทั้งหลายตามแต่ผู้ใดจะปราถนา ขุนการเวกแลข้าหลวงทั้งปวงก็กลับมาหาพระสังฆราช ๆ ว่าพรุ่งนี้จะให้ปะขาวนำไปนมัสการพระเชตุพนมหา วิหาร ข้าหลวงทั้งปวงก็กลับมาที่อยู่ ครั้นเพลารุ่งเช้า ปะขาวก็นำขุนการเวกแลข้าหลวงทั้งปวงไปที่พระเชตุพนมหาวิหาร แลบันไดนั้นขุนการเวกให้วัด บันไดก่ออิฐโดยกว้างได้ ๑๗ เส้นกับ ๑๐ วา แต่เชิงบันไดขึ้นไปบนถนน ๑๕ เส้น ถนนยาวได้ ๑๗ เส้นกับ ๑๐ วา ปะขาวก็พาเข้าไปในพระเชตุพนชั้นในกว้าง ๓๐ เส้นกับ ๑๐ วา เสาก่อด้วยอิฐเปนแปดเหลี่ยม วัดดูแต่เหลี่ยมหนึ่งได้เจ็ดวา แต่ประตูพระเชตุพนเข้าไปจนถึงพระอาศนบัลลังก์ ที่ตรัสพระธรรมเทศนา วัดได้ ๓๗ เส้นกับ ๑๐ วา ด้านแปพระเชตุพนยาวได้ ๗๕ เส้น เสาสูงถึงท้องขื่อวัดได้ ๑ เส้น ๑๐ วา พระรัตนบัลลังก์อยู่หว่างกลางห้องหนึ่งนั้น พื้นบนดาษด้วยทองคำหนาสามนิ้ว มีพื้นลดลงมาอีกห้องหนึ่งดาษด้วยนากหนาสามนิ้ว มีพื้นลดลงมาอีกชั้นหนึ่ง ดาษด้วยเงินหนาสามนิ้ว รอบรัตนบัลลังก์ทั้งสี่ด้าน ที่อาศนพระสงฆ์กว้างสามเส้น พื้นนั้นดาษด้วยเงินหนาสามนิ้ว ที่พื้นบริสัชนั่งนั้น ดาษด้วยดีบุกหนาห้านิ้ว นับเสาพระเชตุพนได้ ๓๐๐๐ เสา มีกำแพงแก้วรอบพระเชตุพนสูงสิบวา ขุนการเวกจึงถามปะขาวว่า พระเชตุพนนี้ท่านผู้ใดสร้าง ปะขาวบอกว่า อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีสร้างถวายแด่สมเด็จพระพุทธเจ้า ที่อันนี้เปนที่สวนเจ้าเชต จึงให้ชื่อพระเชตุพน มหาวิหาร ตามนามพระราชกุมารผู้เจ้าของสวน มหาเศรษฐีสร้างสิ้นทรัพย์ถึง ๔๔ โกฏิ สร้างพระเชตุพนขึ้นจนสำเร็จ มหาเศรษฐีจ้างแต่คนในเรือนแห่งมหาเศรษฐีนั้นเองให้ทำการจ้าง ทองคำเสมอคนละตำลึงทอง คนในเรือนมหาเศรษฐีนั้น นับได้ ๑๒ อักโขภินี มหา เศรษฐีนั้นอยู่ปรางคปราสาทเจ็ดชั้น มีกำแพงแก้วสูงสองวา ขุนการเวกจึงถามปะขาวว่า เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานั้น พระสงฆ์แลบริสัชนั่งเต็มพระเชตุพนฤๅมิได้ ปะขาวบอกว่าเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานั้น พระสงฆ์แลบริสัชเต็มออกไปจนกำแพงแก้วแล้วยังมิพอ บริสัชยังเหลืออยู่นั้นก็เปนอันมากปะขาวกับขุนการเวกแลคนทั้งปวงก็กลับมา ขุนการเวกให้วัดทางแต่พระเชตุพนมาถึงพระมาลีเจดีย์ เปนทาง ๒๕ เส้น ก็พากันมานมัสการพระสังฆราชา ๆ ก็ปราไสว่า อุบาสกไปนมัสการพระเชตุพนเห็นสนุกดีอยู่ฤๅ ขุนการเวกกับข้าหลวงทั้งปวงจึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงได้มาพบมาเห็นทั้งนี้ ก็เปนบุญลาภแก่ข้าพระพุทธเจ้านักหนา ได้มานมัสการบูชาเกิดความยินดีหาที่สุดมิได้ พระสังฆราชาจึงสั่งให้ปะขาวนำไปดูรฆังทองหล่อหนา ๑๑ นิ้ว ปากกว้าง ๕ วา ๒ ศอก สูง ๑๑ วา ไม้ตีรฆังใหญ่รอบ ๓ กำยาว ๓ วา โรงรฆังสูง ๑๕ วา เสานั้นไม้แก่น ข้าหลวงทั้งปวงก็กลับมานมัสการพระสังฆราชา ขุนการเวกจึงถามว่าพระสงฆเจ้ามีสักกี่อาราม เปนพระสงฆ์มากน้อยสักเท่าใด พระสังฆราชาจึงบอกว่า พระสงฆ์มีแต่อารามเดียวเท่านี้ มีบาญชีมีพระวรรษาเปนพระสงฆ์ ๒๐๐๐๐๐ กับ ๓ พระองค์ พระสังฆราชาจึงถามขุนการเวกว่าพระสงฆเจ้ากรุงศรีอยุทธยานั้น ผ้าอันใดเปนผ้าพระสมณะสำรวม ขุนการเวกกราบทูลว่า พระสงฆ์ในกรุงศรีอยุทธยา ฝ่ายคันถธุระทรงผ้ารัตตกัมพลแดง ฝ่ายวิปัสนาย่อมทรงเหลือง พระสังฆราชาก็ว่า ทรงผ้ารัตตกัมพลแดงนั้นได้ชื่อว่าพระพุทธชิโนรสแท้จริง แลพระสังฆราชาว่าในเมืองหงษาวดีนั้นทรงผ้าแดงทั้งสิ้น พระสังฆราชาจึงเขียนอักษร ส่งให้กับขุนการเวกนั้นตัว ๑ ถ้าจะว่าเปนอักษรขอมเรียกว่าตี ว่าตามอักษรไทยเรียกตามตัวว่าเลขเจ็ด ก็พิเคราะห์โดยธงไชยก็ได้ทั้งสามตัวนั้นแล เลขเจ็ดตัวนั้นได้แก่เมืองหงษาวดี ตีนั้นได้แก่เมืองลังกาทวีป ตะนั้นได้แก่กรุงศรีอยุทธยาเหตุว่าเปนเมืองท่าน้ำ ต่ำกว่าเมืองเชียงใหม่ ๑๕๐ เส้น พระสังฆราชาจึงเขียนเปนบาฬีแปลตัดบทพิเคราะห์เปนคำไทยส่งให้ขุนการเวก ให้เอาลงไปถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาโพ้นเถิด ขุนการเวกกับข้าหลวงทั้งปวงอยู่ได้ประมาณ ๒๕ วัน แลคนซึ่งไปด้วย ๕๐๐ นั้น ที่ประมาทไม่ตั้งอยู่ในศีลกล่าวมุสาทำปาณาติบาต ตายเสียที่ตามระยะทาง ๓๐๐ คน ที่เห็นสบายสนุกนั้นก็ลาบวชอยู่ ณ เมืองหงษาวดี ๕๐ คน ขุนการเวกพระยาธรรมราชาข้าหลวงแปดนาย กับไพร่ ๑๕๐ ก็กราบลาพระสังฆราชา กลับคืนมายังกรุงศรีอยุทธยา ครั้นถึงแล้วก็เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็กราบทูลแจ้งประพฤดิเหตุ ซึ่งพระสังฆราชาจดหมายสั่งมานั้น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายหนังสือพระสังฆราชานั้น พระเจ้าอยู่หัวมีพระไทยปรีดาภิรมย์หรรษายิ่งนัก ทรงพระกรุณาตรัสถามข้าหลวงทั้งปวงต่าง ๆ แล้วพระราชทานรางวัลต่าง ๆ ตามควร ขุนการเวก พระยาธรรมราชา ภูดาษวัดเมืองอินทร์ ภูดาษกินเมืองพรหม นายเพลิงกำจาย นายชำนององครักษ์ นายหาญใจเพ็ชร์ นายเด็จสงคราม กับไพร่ ๑๕๐ คน บรรดามาด้วยกันทั้งสิ้นนั้น ก็กราบถวายบังคมลาบวช ทรงพระกรุณาโปรดให้บรรพชา ตามเลื่อมไสศรัทธา


         
จบความในพระราชพงศาวดารเหนือแต่เพียงเท่านี้ อาศัยซึ่งบันทึกการเดินทางฉบับสำคัญนี้ จึงสรุปลงได้เลยว่า ที่ตั้ง
“
เมืองสาวัตถี
”
อยู่ที่เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ในปัจจุบันนี้เอง


         
และโดยอาศัย ความในพระอรรถกถา แห่งพระไตรปิฎก ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ ได้ รจนาไว้ว่า


                  
ในเวลาพระอาทิตย์ตก กุลบุตรนั้นไปถึงกรุงราชคฤห์ จึงถามว่า
                  
พระศาสดาทรงประทับ ณ ที่ไหน. ท่านมาจากที่ไหนขอรับ. จากอุตตรประ-

                  
เทศนี้.
พระนครชื่อว่า สาวัตถี มีอยู่ในทางที่ท่านมา ไกลจากพระนครราช-

                  
คฤห์นี้ประมาณ ๔๕ โยชน์ พระศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั้น.
กุลบุตร

                  
นั้นคิดว่า บัดนี้ไม่ใช่กาล เราไม่อาจกลับ วันนี้เราพักอยู่ในที่นี้ก่อน พรุ่งนี้จัก

                  
ไปสู่สำนักพระศาสดา. แต่นั้นจึงถามว่า เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในยามวิกาล

                  
พัก ณ ที่ไหน. พัก ณ ศาลานายช่างหม้อนี้ ท่าน. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้น

                  
ขอพักกะนายช่างหม้อนั้นแล้ว เข้าไปนั่งเพื่อประโยชน์แก่การพักอาศัยในศาลา ของนายช่างหม้อนั้น.


         
จากพระอรรถกถา ที่ยกมาข้างต้น จึงทำให้ได้ทราบถึงระยะทางระหว่าง
“
เมืองราชคฤห์
”
กับ
“
เมืองสาวัตถี
”
หรือ
“
เมืองหงสาวดี
”
ว่า อยู่ห่างกันเท่ากับ ๔๕ โยชน์ หรือ ๗๒๐ กิโลเมตร


         
จากข้อมูลระยะทางระหว่าง เมืองราชคฤห์ กับ เมืองกุสินารา เท่ากับ ๔๐๐ กิโลเมตร


         
จากข้อมูลระยะทางระหว่าง เมืองราชคฤห์ กับ เมืองสาวัตถี เท่ากับ ๗๒๐ กิโลเมตร


         
โดยวิธีเรขาคณิต กางวงเวียนที่มีรัศมี ๔๐๐ กิโลเมตร โดยมีจุดศูนย์กลาง อยู่ที่ เมืองโบราณโกสินารายณ์ จังหวัดราชบุรี

                  
โดยวิธีเรขาคณิต กางวงเวียนที่มีรัศมี ๗๒๐ กิโลเมตร โดยมีจุดศูนย์กลาง อยู่ที่ เมืองหงสาวดี (พะโค) ประเทศพม่า


         
จะได้จุดตัดกัน ที่น่าสนใจ อยู่ในบริเวณ พื้นที่ จังหวัด ชัยภูมิและขอนแก่น ของประเทศไทย เพราะอีกจุดตัดหนึ่งจะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ดัง แบบจำลองเพื่อการค้นหาที่ตั้ง เมืองราชคฤห์ ข้างล่างนี้ และนั่นหมายถึงว่า เราอาจจะตั้งสมมติฐานได้ว่า
“
เมืองราชคฤห์ อยู่ในพื้นที่ จังหวัด ชัยภูมิและขอนแก่น ของประเทศไทย
”






         
มีข้อมูลความสัมพันธ์ ระหว่าง ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศลาว กับ เมืองราชคฤห์ ปรากฏอยู่ใน
"
ตำนานอุรังคธาตุ"
ที่น่าสนใจดังจะขอคัดลอกมาเพื่อให้ได้อ่านประกอบการพิจารณา ตอนหนึ่งว่า


         
...
ครั้งเมื่อพระมหากัสสปเถระเจ้า
พร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเสร็จการก่ออุโมงค์และประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ที่ภูกำพร้าแล้วก็กลับไปสู่เมืองราชคฤห์ พระมหากัสสปเถระเจ้า มองเห็นสามเณร ๓ องค์ เป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในการปฏิบัติ ถูกต้องตามคำสั่งสอน มีความเพียรในการกระทำสมถะวิปัสสนา สามเณรทั้ง ๓ องค์นี้ เมื่อบวชเป็นภิกษุก็ได้สำเร็จพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ องค์ องค์หนึ่งมีนามว่าพุทธรักขิต องค์หนึ่งมีนามว่า ธรรมรักขิต อีกองค์หนึ่งมีนามว่าสังฆรักขิต พระอรหันต์ทั้ง ๓ องค์นี้ มาแต่เมืองราชคฤห์มาอยู่ “
หนองกก
”
ใกล้กับภูเขาหลวง


         
ซึ่งในเวลาต่อมาพระอรหันต์ทั้ง ๓ องค์ ก็ได้ไปนำเอาพระยาทั้ง ๕ ซึ่งในเวลาต่อมาได้ไปเกิดในตระกูลกษัตริย์ในบ้านเมืองต่างๆ กันไปเพื่อนำมาบวชเป็นภิกษุ และสอนวิปัสสนาภาวนา จนกระทั่ง พระลูกศิษย์ทั้ง ๕ องค์ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผู้เป็นอาจารย์จึงนำเอาสานุศิษย์ทั้ง ๕ นี้ ไปสู่
เมืองราชคฤห์


         
ในเวลาไล่เลี่ยกันนี้เอง ก็ได้มีพระอรหันต์ ๒ องค์ มาจาก
เมืองราชคฤห์ องค์หนึ่งชื่อ มหาพุทธวงศา อยู่ที่ริมน้ำบึง องค์หนึ่งชื่อ มหาสัชชะดี อยู่ป่าโพนเหนือน้ำบึง ไม่ไกลจาก “
หนองคันแทเสื้อน้ำ
”
ที่
“
บุรีจันอ้วยล้วย
”
ตั้งบ้านเรือนอยู่ และเป็นผู้อุปฐากพระอรหันต์ทั้ง ๒ องค์ด้วยข้าวบิณฑบาตและข้าวสงฆ์เป็นปกติ ในเวลาต่อมาได้ราชาภิเษกขึ้นเป็น พระยาจันทบุรี ครองราชสมบัติ ที่ เมืองจันทบุรีศรีสัตตนาค ซึ่งก็คือ พระยาจันทบุรี ที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ว่าเป็นพระเจ้าปัสเสนทิโกศล กลับชาติมาเกิด ทั้งยังเป็นหน่อเนื้อพุทธังกูร ผู้จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลภายหน้านั่นเอง...


         
ซึ่งจากตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งพูดถึงความสัมพันธ์ และการเดินทางไปมาหาสู่กัน ระหว่าง ดินแดนฟากซ้ายแม่น้ำโขง คือประเทศลาวในปัจจุบัน กับเมืองราชคฤห์นี้ สนับสนุนความเป็นไปได้ของสมมติฐาน ที่ว่า “
เมืองราชคฤห์ อยู่ในพื้นที่ จังหวัด ชัยภูมิและขอนแก่น ของประเทศไทย
”

เพราะในสมัยประวัติศาสตร์ปัจจุบัน ก็ยังมีการไปมาหาสู่ระหว่างเวียงจันทน์กับจังหวัดชัยภูมิ ในสมัยที่
พระยาชุมพลภักดี(แล) ผู้สร้างเมืองชัยภูมิ และเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ได้อพยพไพร่พลข้ามแม่น้ำโขง เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง ขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องทำการค้นหา หลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมายืนยันสมมติฐานที่ตั้ง “
เมืองราชคฤห์
”
ต่อไป


         
ซึ่ง เบาะแส หลักฐานที่สำคัญ ที่จะยืนยันที่ตั้งของ
“
เมืองราชคฤห์
”
ในพื้นที่ จังหวัด ชัยภูมิและขอนแก่น นั่นก็คือ สถูปบรรจุพระบรมธาตุ ที่เมืองราชคฤห์ ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูได้สร้างไว้ และเป็นที่มาของ “
พระบรมสารีริกธาตุ
”

ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่ วัดพระธาตุศรีจอมทอง หรือ เจดีย์ศาสนสักขี ที่เมืองระแวกในเขตแดนอาณาจักรอยุธยา รวมทั้ง พระธาตุเจดีย์อื่นทั้ง ๘๔
,
๐๐๐ องค์ ทั่วทั้งชมพูทวีป โดยพระอรรถกถาจารย์ ได้รจนาไว้ในคัมภีร์อรรถกา ว่า พระเจ้าอโศกมหาราช ได้พระบรมสารีริกธาตุจากการขุดค้น สถูปบรรจุพระบรมธาตุ ที่เมืองราชคฤห์ ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูได้สร้างไว้ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปเถระ ใน
คัมภีร์ถูปวงศ์ ได้กล่าวถึงรายละเอียดการสร้างพระสถูปในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรูและการขุดค้นหาพระบรมสารีริกธาตุสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ไว้น่าสนใจ ดังจะขอคัดลอกมาแต่พอสังเขป ดังนี้



         
พระเจ้าอชาตศัตรูโปรดให้สร้างพระสถูปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของกรุงราชคฤห์ โดยโปรดให้ขุดลึกลงไปถึง ๘๐ ศอก แล้วให้เอาแผ่นโลหะปูข้างล่าง แล้วให้สร้างเรือนทองแดงโตเท่าเรือนพระเจดีย์ในถูปารามขึ้นในที่นั้น (
คัมภีร์นี้เขียนที่ลังกา จึงเปรียบเทียบขนาดกับ พระถูปาราม ที่ ลังกา) ครั้นแล้วจึงโปรดให้สร้างกล่องและพระสถูปด้วยไม้จันทน์เหลืองเป็นต้นอย่างละ ๘ อัน


         
บนพระเจดีย์แก้วผลึกนั้น โปรดให้สร้างเรือนแก้วล้วน บนนั้นขึ้นมาเป็นเรือนทองคำ เรือนเงิน เรือนทองแดง เป็นชั้นๆ ขึ้นไป แล้วให้โปรยทรายแก้วลงไว้ให้ทั่วบริเวณ แล้วโปรยดอกไม้น้ำ ดอกไม้บกนับเป็นเรือนพันลงไว้
ทั้งให้หล่อรูปในเรื่องพระเจ้า ๕๕๐ ชาติ พระอสีติมหาสาวก พระเจ้าสุทโธทนะมหาราช พระมหามายาพุทธมารดาและสหชาติทั้ง ๗ ให้แล้วด้วยทองคำทั้งนั้น แล้วให้ตั้งหม้อน้ำอันเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหม้อทองคำ ๘ หม้อเงิน อย่างละ ๕๐๐ ไว้ ให้ยกธงทอง ธงเงินขึ้นไว้อย่าละ ๕๐๐ ให้ตามประทีปทองประทีปเงินไว้อย่างละ ๕๐๐ ประทีปเหล่านั้น ล้วนแต่ใส่เต็มด้วยน้ำมันหอมทำไส้ด้วยผ้าอย่างดี


         
ลำดับนั้น พระมหากัสสปเถระจึงอธิษฐานว่า ดอกไม้ทั้งหลายจงอย่ารู้เหี่ยว กลิ่นหอมทั้งหลายจงอย่าหาย ประทีปทั้งหลายจงอย่ารู้ดับ แล้วให้จารึกอักษรลงที่แผ่นทองคำไว้ว่า
ในข้างหน้าโน้น เมื่อใด ปิยทาสกุมารได้เสวยราชย์ เป็นพระเจ้าอโศกธรรมราชา เมื่อนั้น พระองค์จักทำพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลาย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงบูชาด้วยเครื่องประดับสำหรับกษัตริย์ทั้งปวง แล้วปิดประตูเริ่มแต่ชั้นแรกออกไปเป็นลำดับ พอปิดประตูทองแดงแล้วก็ใส่กุญแจที่เชือกสายยู แล้ววางแก้วมณีดวงใหญ่ไว้ที่นั้น ทั้งโปรดให้จารึกอักษรไว้ว่า ในข้างหน้าจงให้พระราชาผู้เข็ญใจเอาแก้วมณีดวงนี้แล้วสักการบูชาพระบรมธาตุเถิด


         
ท้าวสักกเทวราชก็ตรัสสั่งวิสสุกรรมเทพบุตรว่า พระเจ้าอชาตศัตรูได้จัดการบรรจุพระบรมธาตุไว้แล้ว เธอจงไปจัดเครื่องป้องกันไว้ วิสสุกรรมเทพบุตรก็มาประกอบเครื่องยนต์เป็นรูปสัตว์ร้ายไว้ แล้วให้มีรูปพยนต์หลายรูปถือพระขรรค์แก้วผลึก วิ่งวนอยู่รอบห้องพระธาตุ รวดเร็วดังลมพัด ครั้นประกอบเครื่องยนต์แล้วก็ลงสลักลิ่มอันหนึ่งไว้แล้วล้อมด้วยศิลา มีอาการเหมือนตึกที่ก่อด้วยอิฐ ปิดด้วยศิลาก้อนหนึ่งไว้เบื้องบน แล้วโปรยฝุ่นลงทำพื้นดินให้เสมอกัน แล้วตั้งพระสถูปศิลาไว้เบื้องบน


         
เมื่อการเก็บพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยอย่างนี้แล้ว แม้พระเถระดำรงอยู่จนตลอดอายุก็ปรินิพพาน แม้พระราชาก็เสด็จไปตามยถากรรม พวกมนุษย์แม้เหล่านั้น ก็ตายกันไป.
ว่าด้วยพระสถูป ๘๔๐๐๐ องค์

          ต่อมาภายหลัง เมื่อครั้งอโศกกุมารเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระธรรมราชาพระนามว่าอโศก ทรงรับพระบรมธาตุเหล่านั้นไว้แล้ว ได้ทรงกระทำให้แพร่หลาย. ทรงกระทำให้แพร่หลายอย่างไร
?
พระเจ้าอโศกนั้น อาศัยนิโครธสามเณร ทรงได้ความเลื่อมใสในพระศาสนา โปรดให้สร้างวิหาร ๘๔
,
๐๐๐ วิหารแล้ว ตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า โยมให้สร้างวิหาร ๘๔
,
๐๐๐ วิหารแล้ว จักได้พระบรมธาตุมาจากไหนเล่า ท่านเจ้าข้า. ภิกษุสงฆ์ทูลว่า ถวายพระพรพวกอาตมภาพฟังมาว่า ชื่อว่าที่เก็บพระบรมธาตุมีอยู่ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน.พระราชาให้รื้อพระเจดีย์ในกรุงราชคฤห์ ก็ไม่พบ ทรงให้ทำพระเจดีย์คืนดีอย่างเดิมแล้ว ทรงพาบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปยังกรุงเวสาลี แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้ ก็ไปยังกรุงกบิลพัศดุ์ แม้ในที่นั้น ก็ไม่ได้แล้วไปยังรามคาม เหล่านาคในรามคาม ก็ไม่ยอมให้รื้อพระเจดีย์. จอบที่ตกต้องพระเจดีย์ ก็หักเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ในที่นั้นก็ไม่ได้ ก็ไปยังเมืองอัลลกัปปะเวฏฐทีปะ ปาวา กุสินารา ในที่ทุกแห่งดั่งกล่าวมานี้ รื้อพระเจดีย์แล้วก็ไม่ได้พระบรมธาตุเลย ครั้นทำเจดีย์เหล่านั้นให้คืนดีดั่งเดิมแล้ว ก็กลับไปยังกรุงราชคฤห์อีก ทรงประชุมบริษัท ๔ แล้วตรัสถามว่า ใครเคยได้ยินว่า ที่เก็บพระบรมธาตุ ในที่ชื่อโน้น มีบ้างไหม. ในที่ประชุมนั้น พระเถระรูปหนึ่ง อายุ ๑๒๐ ปี กล่าวว่า อาตมาภาพก็ไม่รู้ว่า ที่เก็บพระบรมธาตุอยู่ที่โน้น แต่พระมหาเถระบิดาอาตมภาพ ให้อาตมภาพครั้งอายุ ๗ ขวบ ถือหีบมาลัย กล่าวว่า มานี่ สามเณร ระหว่างกอไม้ตรงโน้น มีสถูปหินอยู่เราไปกันที่นั้นเถิด แล้วไปบูชา ท่านพูดว่า สามเณร ควรพิจารณาที่ตรงนี้. ถวายพระพร อาตมภาพรู้เท่านี้ พระราชาตรัสว่า ที่นั่นแหละ แล้วสั่งให้ตัดกอไม้ แล้วนำสถูปหินและฝุ่นออก ก็ทรงเห็นพื้นโบกปูนอยู่ แต่นั้นทรงทำลายปูนโบกและแผ่นอิฐแล้วเสด็จสู่บริเวณตามลำดับ ทอดพระเนตรเห็นทรายรัตนะ ๗ ประการ และรูปไม้ (หุ่นยนต์) ถือดาบ เดินวนเวียนอยู่ ท้าวเธอรับสั่งให้เหล่าคนผู้ถือผีมา แม้ให้ทำการเส้นสวงแล้ว ก็ไม่เห็นที่สุดโต่งสุดยอดเลย จึงทรงนมัสการเทวดาทั้งหลายแล้วตรัสว่า ข้าพเจ้ารับพระบรมธาตุเหล่านี้แล้วบรรจุไว้ในวิหาร ๘๔
,
๐๐๐ วิหาร จะทำสักการะ ขอเทวดาอย่าทำอันตรายแก่ข้าพเจ้าเลย.



         
ท้าวสักกะเทวราช เสด็จจาริกไปทรงเห็นพระเจ้าอโศกนั้นแล้ว เรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อเอ๋ย พระธรรมราชาอโศก จักทรงนำพระบรมธาตุไป เพราะฉะนั้น เจ้าจงลงสู่บริเวณไปทำลายรูปไม้
(
หุ่นยนต์) เสีย วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น ก็แปลงเพศเป็นเด็กชาวบ้านไว้จุก ๕ แหยม ยืนถือธนูตรงพระพักตร์ของพระราชาแล้ว ทูลว่า ข้าจะนำไป มหาราชเจ้า. พระราชาตรัสว่านำไปสิพ่อ. วิสสุกรรมเทพบุตรจับศรยิงตรงที่ผูกหุ่นยนต์นั้นแล ทำให้ทุกอย่างกระจัดกระจายไป. ครั้งนั้น พระราชาทรงถือตรากุญแจ ที่ติดอยู่ที่เชือกผูกทอดพระเนตรเห็นแท่งแก้วมณีและเห็นอักษรจารึกว่า
ในอนาคตกาล เจ้าแผ่นดินที่ยากจนถือเอาแก้วมณีแท่งนี้แล้ว จงทำสักการะพระบรมธาตุทั้งหลาย ทรงกริ้วว่า ไม่ควรพูดหมิ่นพระราชาเช่นเราว่า เจ้าแผ่นดินยากจน ดังนี้แล้วทรงเคาะซ้ำ ๆ กันให้เปิดประตู เสด็จเข้าไปภายในเรือนประทีปที่ตามไว้เมื่อ ๒๑๘ ปี ก็โพลงอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ดอกบัวขาบก็เหมือนนำมาวางไว้ขณะนั้นเอง เครื่องลาดดอกไม้ก็เหมือนลาดไว้ขณะนั้นเอง เครื่องหอมก็เหมือนเขาบดวางไว้เมื่อครู่นี้เอง. พระราชาทรงถือแผ่นทอง ทรงอ่านว่า ต่อไปในอนาคตกาล ครั้งกุมารพระนามว่า อโศก จักเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระธรรมราชาพระนามว่า อโศก ท้าวเธอจักทรงกระทำพระบรมธาตุเหล่านี้ให้แพร่หลาย ดังนี้ แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้า มหากัสสปเถระเห็นตัวเราแล้วทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบกับพระหัตถ์ขวา. ท้าวเธอเว้นเพียงพระบรมธาตุที่ปกปิดไว้ในที่นั้น ทรงทำพระบรมธาตุที่เหลือทั้งหมดมาแล้ว ปิดเรือนพระบรมธาตุไว้เหมือนอย่างเดิม ทรงทำที่ทุกแห่งเป็นปกติอย่างเก่าแล้ว โปรดให้ประดิษฐานปาสาณเจดีย์ไว้ข้างบน บรรจุพระบรมธาตุไว้ในวิหาร ๘๔,
๐๐๐ วิหาร



         
เมื่อได้อ่านความพิสดารใน คัมภีร์ถูปวงศ์ แล้ว ทำให้เกิดความคิดว่า
ทำอย่างไร?
จึงจะค้นพบ
“
สถานที่ตั้งสถูปบรรจุพระบรมธาตุที่เมืองราชคฤห์
”
ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูโปรดให้สร้าง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของกรุง ราชคฤห์
นั้น เพราะการค้นพบ สถานที่ตั้งสถูปบรรจุพระบรมธาตุที่เมืองราชคฤห์ จะเป็นเครื่องยืนยัน ที่ตั้งของ “
เมืองราชคฤห์
”
เพื่อที่จะมายืนยันข้อสมมติฐาน ที่ว่า “
เมืองราชคฤห์ อยู่ในพื้นที่ จังหวัด ชัยภูมิและขอนแก่น ของประเทศไทย
”



         
เรื่องราวของท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจใคร่ศึกษา ผมไม่รู้หรอกว่าหมอยาสมัยโบราณกาล นานเท่าใดไม่รู้ได้ ที่ได้อาศัยตำรับตำรา ที่ ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ แต่งไว้ และใช้ในการรักษาโรค หรือปรุงยาแผนโบราณ รักษากันมา ก่อนที่จะมีแพทย์แผนใหม่ เมื่อชาติตะวันตกได้เริ่มแผ่ขยายอิทธิพลทางการค้า และศาสนา จนเกิดการล่าอาณานิคมและหลายประเทศตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ยกเว้นประเทศไทย ที่ยังโชคดี รอดพ้นมาได้ และก็ยังโชคดีที่สรรพตำรา ที่บรรพชนได้สืบรักษาตกทอดกันมา ยังไม่ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น และเหลือให้เป็นเชื้อให้ลูกหลานในยุคปัจจุบัน ได้ใช้เป็นเครื่องสืบค้นเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ว่า
แท้ที่จริงแล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ ท่านถือกำเนิดในดินแดนแคว้นมคธ ที่ตั้งอยู่ในประเทศอินเดียปัจจุบัน หรือ ที่เป็นที่ตั้งของสุวรรณภูมิปัจจุบันกันแน่?ภาพวาดการสร้างหออุปมบทกัลยาณีสีมา เมืองพะโค ประเทศมอญใน


คนส่วนใหญ่ จะรับรู้ ประวัติและเรื่องราวของหมอชีวกโกมารภัจจ์ จาก พระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ดังที่จะประมวลมาให้ท่านทั้งหลายได้ทราบสักเล็กน้อย ดังนี้ ว่า

         
หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นางนครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งตำแหน่งนางนครโสเภณีสมัยนั้น เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติเพราะพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้งที่กองขยะนอกเมือง เคราะห์ดีที่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารไปพบเข้าขณะเสด็จออกไปนอกเมือง จึงทรงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ชื่อ “ ชีวก ตั้งขึ้นตามการกราบทูลตอบคำถามพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่รึเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่ายังมีชีวิตอยู่” ( ชีวโก)ส่วนคำว่า “ โกมารภัจจ์ ” แปลว่า “ กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู ” หรือ “ กุมารในราชสำนัก ” อันหมายถึง “ บุตรบุญธรรม ”
นั้นเอง เมื่อชีวกโกมารภัจจ์โตขึ้นถูกพวกเด็กๆ ในวังล้อเลียนว่า "เจ้าลูกไม่มีพ่อ" ด้วยความมานะจึงหนีพระบิดาเลี้ยงไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักศิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่นของพวกเด็กในวังให้ได้ วิชาที่ชีวกเรียนคือวิชาแพทย์ เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียนให้อาจารย์จึงอาสาอยู่รับใช้อาจารย์สารพัดแล้วแต่ท่านจะใช้ อาศัยเป็นเด็กอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเคารพเชื่อฟังอาจารย์ จึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์มาก มีศิลปวิทยาเท่าไร อาจารย์ก็ถ่ายทอดให้หมดโดยไม่ปิดบังอำพราง ชีวกเรียนวิชาแพทย์อยู่ ๗ ปี จึงไปกราบลาอาจารย์กลับบ้านอาจารย์ได้ทดสอบความรู้โดยให้เข้าป่าไปสำรวจดูว่าต้นไม้ว่าต้นไหนว่าทำยาไม่ได้ให้นำตัวอย่างกลับมาให้อาจารย์ดู ปรากฏว่าเขาเดินกลับมาตัวเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้หมด อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้วจึงอนุญาตให้เขากลับ หลังจากกลับมายังเมืองราชคฤห์แล้ว ชีวกได้ถวายการรักษาพระอาการประชวรของพระเจ้าพิมพิสารหายขาดจาก “ ภคันทลาพาธ ” ( โรคริดสีดวงทวาร) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวงพร้อมทั้งได้รับพระราชทานสวนมะม่วงให้เป็นสมบัติอีกด้วย ต่อมาชีวกได้ถวายสวนมะม่วงแห่งนี้ให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ได้ถวายการรักษาแด่พระบรมศาสดาเมื่อคราวพระองค์ทรงประชวร และถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย
ตลอดชีวิตหมอชีวกได้บำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยไม่เลือกยากดีมีจน จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ผู้เป็นเลิศกว่าคนอื่น) ในทาง “ เป็นที่รักของปวงชน ” ในวงการแพทย์แผนไทยนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น
“ บรมครูแห่งการแพทย์แผนไทย ”
เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป
หลายท่านที่ยังปักใจเชื่อว่า กรุงราชคฤห์อยู่ที่ประเทศอินเดียปัจจุบัน และได้เดินทางไปแสวงบุญยังที่ประเทศอินเดีย ก็จะได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวชม สถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวกับท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ เช่นที่ ชีวกัมพวัน ซึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ถวายสวนมะม่วงจัดสร้างให้เป็นวัด ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่นอกจากซากอิฐ ซากหิน ที่เห็นแล้ว มีร่องรอยอะไรที่สำคัญเกี่ยวกับหมอชีวกโกมารภัจจ์ หลงเหลืออยู่บ้าง

ชีวกัมพวัน ซึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้สร้างเป็นวัด ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา
         
ครั้นสืบย้อนไปตามประวัติที่ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ ไปศึกษาวิชาการแพทย์ ยัง เมืองตักศิลา ซึ่งนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก ก็ระบุว่า เมืองตักศิลาในสมัยพุทธกาลคือ เมือง
Taxila
ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ซึ่งในสมัยพุทธกาล นั้น ว่ากันว่า เป็นสำนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แต่เฉพาะด้านการแพทย์เท่านั้น แต่เป็นสำนักเรียนด้านศิลปะศาสตร์ อีกหลายแขนง แม้ พระราชโอรสของพระเจ้ามหาโกศล ในพระนครสาวัตถี พระนามว่าปเสนทิกุมาร พระกุมารของเจ้าลิจฉวี ในพระนครเวสาลี พระนามว่ามหาลิ และ โอรสของเจ้ามัลละ ในพระนครกุสินารา พระนามว่าพันธุละ ก็ได้เสด็จไปนครตักกสิลานี้ เพื่อเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์



         
ปัจจุบัน ก็ได้มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดี มากพอสมควร หนึ่งในนั้น คือ
ธรรมราชิกาสถูป ซึ่งว่ากันว่าเป็นพุทธสถานในยุคแรกในปากีสถาน เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ในเวลาต่อมาได้มีการต่อเติมขยายให้ใหญ่ขึ้นอีกในราว คริสตศตวรรษที่ ๒ ในสมัยพระเจ้ากนิษกะ

ธรรมราชิกาสถูป เมืองปัญจาป ประเทศปากีสถาน

         
นอกจากซากโบราณสถาน ที่ปรากฏให้เห็นแล้ว ทั้งที่ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และที่เมือง
Taxila
แคว้นปัญจาป ประเทศปากีสถาน ซึ่งเป็นสำนักเรียนทางการแพทย์ที่ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์เดินทางไปร่ำเรียนนั้น กลับไม่หลงเหลืออะไรที่เกี่ยวกับมรดกแพทย์แผนโบราณเอาไว้เลย ตรงกันข้าม ตำรับตำราทางการแพทย์แห่งเมืองตักศิลา หรือ ตำราแพทย์ที่ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ แต่งไว้ กลับถูกถ่ายทอด และสืบต่อกันอย่างแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา ๒
,
๕๐๐ กว่าปี ในดินแดนสุวรรณภูมิปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศไทย

ซึ่งเป็นที่มาของการยกย่องให้ ท่านเป็น
บรมครูแห่งการแพทย์แผนไทย




         
ซึ่งผม จะขอยก เอาคัมภีร์ทางการแพทย์ ที่บรรพบุรุษ ของเราได้เก็บรักษา และเผยแพร่สืบต่อกันมา อันเป็นมรดกแห่ง สำนักแพทย์ตักศิลา และบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ ดังนี้

พระคัมภีร์ตักกะศิลา         สิทธิการิยะ จะกล่าวถึงเมืองตักกะศิลา เกิดความไข้วิปริตเมื่อห่าลงเมือง ท้าวพระยาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งปวง เกิดความไข้ล้มตายเปนอันมาก ซึ่งคนที่เหลือตายอยู่นั้นออกจากเมืองตักกะศิลาไป ยังเหลือแต่เปลือกเมืองเปล่า ยังมีพระฤาษีองค์หนึ่ง มีนามมิได้ปรากฎ เที่ยวโคจรมาแต่ป่าหิมพานต์ จึงเห็นแต่เมืองเปล่า มีแต่ซากศพตายก่ายกองทั้งบ้านเมือง เธอจึงตั้งพิธีชุบซากศพนั้นขึ้น แล้วถามว่าท่านทั้งหลายนี้เปนเหตุอะไรจึงล้มตายเปนอันมาก ฝูงคนทั้งหลายที่ชุบเปนขึ้นนั้น จึงแจ้งความว่า ข้าแต่พระผู้เปนเจ้า บ้านเมืองนี้เกิดความไข้เปนพิกลต่างๆ ลางคนไข้วัน ๑ บ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้างตาย ลางคนนอนลางคนนั่งลางคนยืนลางคนตะแคงลางคนหงายตาย เปนเหตุเพราะความตายอย่างนี้ พระดาบสได้ฟังถ้อยคำคนทั้งหลายบอกดังนั้น ก็มีใจกรุณาแก่สัตว์ทั้งหลาย เธอพิจารณาด้วยฌานสมาบัติรู้ว่าห่าลงเมือง จึงแต่งพระคัมภีร์ไข้เหนือแก้ไข้พิษไข้กาฬตักกะศิลาสำหรับแพทย์ไปข้างน่า ให้รู้ประเภทอาการเพื่อจะให้สืบอายุสัตว์ไว้
ถ้าผู้ใดจะเรียนเปนแพทย์รักษาโรคไข้พิษไข้เหนือ ก็ย่อมมีมาหลายจำพวก ผู้จะเปนแพทย์รักษาไข้พิษไข้เหนือนั้น ให้เอาดินโป่ง ๗ โป่ง ดินท่า ๗ ท่า ดินปลวก ๗ แห่ง ดินสระ ๗ สระ ดินป่าช้า ๗ ป่าช้า เอาขี้เท่า คนตายวันเสาร์เผาวันอังคาร แล้วให้เอาใบราชพฤกษ์ ๑ ใบไชยพฤกษ์ ๑ ใบคันธพฤกษ์ ๑ ใบชุมแสง ๑ เผาประสมกับดิน ปั้นเปนรูปพระดาบสไว้บูชา เมื่อจะบดยาเชิญรูปพระดาบสมาตั้งไว้เปนประธาน จึงทำเครื่องบูชาพระดาบส ดอกไม้ ธูปเทียนเครื่องกระยาบวช บายศรีซ้ายขวา ผ้าขาวปู เคารพสักการะบูชาพระดาบสแล้ว เศกยาด้วยพระคาถาดังนี้
อธิเจตโส อปมัช์ชโต โมนปเถ สุสิก์ขโต โสกานัพ์ภวัน์ติ ตาทิโน อุปสัน์ตัส์ส สตีมโต เมื่อจะไปดูไข้ก็ให้ว่าพระคาถานี้ ให้เศกน้ำล้างหน้ารดตัวผู้ที่จะเรียนเปนแพทย์รักษาไข้พิษไข้เหนือนั้น จึงจะคุ้มอุปัททะวะอันตรายแห่งตัวได้ แล้วให้เศกน้ำมนต์ประคนไข้ แล้วให้พิจารณาไข้ให้ถ่องแท้
เมื่อผู้เปนเจ้าจะแสดงเภทไข้พิษไข้เหนือแลไข้กาฬ ให้คนทั้งหลายรู้ประจักษ์ คืออันใดที่จะเปนไข้พิษนั้นเปนต้น ไข้อีดำอีแดง ไข้ปานดำปานแดง ไข้ลากสาด ไข้สายฟ้าฟาด ไข้ระบุชาติ ไข้กระดานหิน ไข้สังวาลพระอินทร์ ไข้มหาเมฆ ไข้มหานิล ไข้เข้าไหม้ใหญ่น้อย ไข้เข้าไหม้ใบเตรียม ไข้ไฟเดือนห้า ไข้เปลวไฟฟ้า ไข้หงษ์ระทดดาวเรือง ไข้จันทรสูตร ไข้สุริยสูตร ไข้เมฆสูตร ว่าดังนี้คนทั้งหลายจึงวิงวอน ว่าข้าแต่ผู้เปนเจ้าจงได้โปรดสัตว์ทั้งหลายให้อายุยืนยาวไปข้างน่านั้น ขอผู้เปนเจ้าโปรดให้ข้าพเจ้าทราบอาการไข้ เภทไข้ลักษณไข้ทุกประการ
ฯลฯ
พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์(
อหํ ) อันว่าข้า ( ชีวกโกมารภัจ์โจ ) มีนามปรากฎว่า โกมารภัจแพทย์ ( อภิวัน์ทิต๎วา ) ถวายนมัสการแล้ว ( พุ, ธ , สํ ) ซึ่งพระคุณแก้ว ทั้ง ๓ ประการ (เสฏ์ฐํ) อันประเสริฐโดยพิเศษ ( เทวิน์ทํ ) อันเปนใหญ่แลเปนที่เคารพย์ของเทพยดาทั้งหลาย (กิต์ตยิส์สามิ) จักตกแต่งไว้ (คัน์ถํ )
ซึ่งคัมภีร์แพทย์ ( โรคนิทานํ ) ชื่อว่าโรคนิทาน ( ปมุขํ ) จำเภาะหน้า ( อิสิสิท์ธิโน ) แห่งครุชื่อว่าฤาษีสิทธิดาบศ ( นาถัต์ถํ ) เพื่อจะให้เปนที่พึ่ง ( โลกัส์ส ) แก่สัตวโลกย์ทั้งปวงคือแพทย์แลคนไข้ ( อิติ ) คือว่า ( อิมินา ปกาเรน ) ด้วยประการดังนี้ พระอาจารย์เจ้าจึงชักเอาพระบาฬี ในคัมภีร์พระบรมัตถธรรม มาว่า ซึ่งบุคคลจะถึงแก่ความตายสิ้นอายุนั้น เทวทูต ในธาตุทั้ง ๔ มีพรรณสำแดง ออกให้แจ้งปรากฎโดยมะโนทวาร วิถีอินทรีย์ประสาททั้งปวง แลธาตุอันใดจะขาดจะหย่อนจะพิการอันตรธานใดๆ ก็ดี มีแจ้งอยู่ในคัมภีร์มรณะญาณสูตร์นั้นแล้ว แต่ถึงกระนั้นต้องอาไศรยธาตุเปนหลักเปนประธาน ลักษณะคนตายด้วยบุราณโรค นั้น เทวทูตทั้ง ๔ ก็หากจะแสดงออกให้แจ้งดังกล่าวมานั้นลักษณะคนตายด้วยปัจจุบันกรรมนั้นก็มีอยู่ต่างๆ ถึงดังนั้นก็จริง เทวทูตมหัศจรรย์ก็หากจะแสดงอยู่ แต่แพทย์ที่จะหยั่งรู้หยั่งเห็นเปนอันยากยิ่งหนัก โกมารแพทย์ผู้ประเสริฐจึงนิพนธ์ลงไว้ในคัมภีร์โรคนิทาน


พระคัมภีร์โรคนิทาน   
( อหํ) อันว่าข้า (ชิวกโกมารพัจ์โจ) ผู้มีนามโกมารพัจแพทย์ ( อภิวัน์ทิต๎วา) ถวายนมัสการแล้ว (พุท์ธคุณํ) ซึ่งคุณแก้ว ๓ ประการ มีพระพุทธรัตนะเปนต้น (เสฏ์ฐํ) ประเสริฐโดยวิริยะยิ่งนัก (เทวิน์ทํ) ย่อมเปนที่นมัสการของเทพยดาทั้งหลาย (กิต์ตยิส์สามิ) จักตกแต่งไว้ (คัน์ถํ) ซึ่งคัมภีร์แพทย์ (โรคนิทานํ นาม)ชื่อว่าโรคนิทาน(ปมุขํ)เภาะภักตร ( อิสีสิท์ธิโน) แห่งท่านมีนามชื่อว่าฤๅษีสิทธิดาบศ (ปติฏ์ฐิตํ) เพื่อจะให้เปนที่พึ่ง (โลกานํ) แก่สัตวโลกทั้งหลาย (อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรนะ) ด้วยประการดังนี้
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์                
นโม ตัส์ส ภควโต อรหโต สัม์มาสัม์พุท์ธัส์ส
                  
นมัส์สิต๎วา จ เทวิน์ทํ เทวราชสัก์กํ อิว

                  
ชีวกโกมารภัจ์จํ โลกนาถํ ตถาคตํ

                  
ปฐมจิน์ตารคัน์ถํ ภาสิส์สํ ฉัน์ทโสมุขํ

                  
สํเขเปน กิต์ตยิตํ ปุพ์เพ โลกาน นาถัต์ถัน์ติ


         
แปล (อหํ) อันว่าข้า (นมัส์สิต๎วา) ถวายนมัสการแล้ว (ตถาคตํ) ซึ่งพระศรีสุคตทศพลญาณเจ้า (โลกนาถํ) เปนที่พึ่งของโลกย์ (จ) อนึ่งโสด (อหํ) อันว่าข้า (อภิวัน์ทิต๎วา) ไหว้แล้วโดยพิเศษ (ชีวกโกมารภัจ์จํ) ซึ่งชีวกโกมารภัจ แพทย์ผู้ประเสริฐ (เทวราชสัก์กํ อิว) เปรียบดุจสมเด็จอมรินทราธิราชบพิตร (เทวิน์ทํ) ผู้มีมหิศรภาพเปนจอมมกุฎแก่เทพย์บุตย์ทั้งหลาย (ภาสิส์สํ) จักแสดงบัดนี้ (คัน์ถํ) ซึ่งพระคัมภีร์แพทย์อันวิเศษ (ปฐมจิน์ตารํ) ชื่อประถมจินดาร์ (ฉัน์ทโสมุขํ) อันเปนหลักเปนประธานแห่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ทั้งปวง (กิต์ตยิตํ) อันพระอาจารย์โกมารภัจ แต่งไว้ (ปุพ์เพ) ในกาลก่อน (สังเขเปน) โดยสังเขป (นาถัต์ถํ) เพื่อจะให้เปนที่พึ่ง (โลกานํ) แก่สัตว์โลกย์ทั้งหลาย (เอวํ) ด้วยประการดังนี้ [CENTER       
ตัวอย่างข้างต้น หยิบยกมาแต่ความขึ้นต้น ของแต่ละคัมภีร์ เท่านั้น ซึ่งความละเอียดโดยพิสดารผู้ใดใคร่รู้ ก็สามารถที่จะสืบค้น หาอ่านได้ไม่ยาก ซึ่ง คัมภีร์ดังที่ได้อ้างมาแล้วนี้ ไม่ปรากฏว่า จะหลงเหลืออยู่ในทั้งที่ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และที่เมือง Taxila แคว้นปัญจาป ประเทศปากีสถาน หรือไม่ปรากฏหลงเหลือวิธีการรักษา หรือการปรุงตำรับยาแผนโบราณเลย ซึ่งหากท่านทั้งหลายได้อ่าน รายละเอียด ของตัวยา คือ พืชสมุนไพรที่นำมาประกอบปรุงยา ก็ยิ่งจะเกิดความสงสัยต่อไปว่า
พืชสมุนไพร ในตำรับยาของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ล้วนแล้วแต่เป็นพืชสมุนไพรไทย ซึ่งไม่ปรากฏมีในทั้งที่ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และที่เมือง Taxila แคว้นปัญจาป ประเทศปากีสถาน
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ทั้งที่ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และที่เมือง Taxila แคว้นปัญจาป ประเทศปากีสถาน ไม่ใช่ เมืองราชคฤห์ และเมืองตักศิลา ในสมัยพุทธกาล ดังที่ได้มีการศึกษา และค้นคว้า ในบทก่อนหน้านี้แล้วว่า
เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยพุทธกาล ไม่ได้อยู่ที่ประเทศอินเดียในปัจจุบัน แต่อยู่ในประเทศไทย หรืออาจจะบอกได้ว่าอยู่ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิและขอนแก่นนี่เอง และนั่นก็อาจหมายถึงว่า เมืองตักศิลา ก็อาจจะอยู่ในประเทศไทยของเรานี่เอง นี่กระมัง ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ จึงได้ชิ่อว่า บรมครูแห่งการแพทย์แผนไทย

อ่านแล้วได้ความรู้มากๆ และตื่นเต้นสุดๆ
ถ้า...(ย่อหน้าสุดท้าย)........อยู่ในเมืองไทยจริงๆๆ 
น่าปลื้มนะคะ  คงต้องอ้อนวอนให้นักโบราณคดี
ออกมายืนยันกันก่อน คงมีเฮแน่นอนคะ
สาธุ...........ขอให้เป็นจริงทีเถอะะ.......

Quote from: Neosiris on November 22, 2009, 11:53:25
         
ประเทศอินเดียปัจจุบัน และที่เมือง Taxila แคว้นปัญจาป ประเทศปากีสถาน
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ทั้งที่ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และที่เมือง Taxila แคว้นปัญจาป ประเทศปากีสถาน ไม่ใช่ เมืองราชคฤห์ และเมืองตักศิลา ในสมัยพุทธกาล ดังที่ได้มีการศึกษา และค้นคว้า ในบทก่อนหน้านี้แล้วว่า
เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยพุทธกาล ไม่ได้อยู่ที่ประเทศอินเดียในปัจจุบัน แต่อยู่ในประเทศไทย หรืออาจจะบอกได้ว่าอยู่ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิและขอนแก่นนี่เอง และนั่นก็อาจหมายถึงว่า เมืองตักศิลา ก็อาจจะอยู่ในประเทศไทยของเรานี่เอง นี่กระมัง ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ จึงได้ชิ่อว่า บรมครูแห่งการแพทย์แผนไทย


แคว้นปัญจาบ มันกินอาณาเขตถึงปากีสถาน เป็นเมืองในปากีสถาน ส่วนในอินเดียคือแคว้นปัญจาบ

แล้วเมืองตักษศิลา หรือ ตักกสิลา เป็นเมืองหลวงของแคว้นคันธาระในสมัยก่อน พุทธศิลป์คันธาระก็พบแถวๆนั้นครับ

ไม่ได้เข้ามาซะหลายวันติด ภาระกิจ ครับ มาต่อกันเลยครับผม

         
นักศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาชาวไทย ได้เกิดความสับสน ในพระราชประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นองค์ศาสนูปถัมภกผู้ยิ่งใหญ่ มาตั้งแต่ที่ ได้รับรู้ผลการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก เรื่องช่วงเวลาที่พระเจ้าอโศกมหาราช เกิดขึ้นมาในโลก เพราะจากการลำดับประวัติศาสตร์ในลุ่มน้ำสินธุ ประเทศอินเดียปัจจุบัน
โดยเริ่มตั้งแต่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์ชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ ที่เริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามายังอินเดีย ในราวปี พ.ศ. ๒๑๗ เท่ากับว่าช่วงเวลานั้น พระเจ้าอโศกองค์ศาสนูปถัมภกผู้ยิ่งใหญ่ ยังไม่ได้เกิดมาลืมตามองดูโลก ซึ่งจะขัดแย้งกับ พระราชประวัติของพระเจ้าอโศก ในความรับรู้ของชาวพุทธในแผ่นดินสุวรรณภูมิปัจจุบัน เพราะนอกจากเรื่องราวของพระเจ้าอโศกจะปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาบาลีแล้ว ในพระราชพงศาวดาร ตำนาน ที่สืบต่อๆ กันมา ในแผ่นดินสุวรรณภูมิ นี้ ย่อมเป็นที่รับรู้กันว่า พระเจ้าอโศกศาสนูปถัมภกผู้ยิ่งใหญ่ นี้ ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นมาในโลกนี้ เมื่อ วันเพ็ญ เดือนวิสาขะ พ.ศ. ๑๘๘ และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์หลังผ่านสงครามช่วงชิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔ ก่อนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จะยกทัพมายึดครองอินเดีย เสียอีก



และแน่นอนที่สุด เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ก็คือ การทำตติยสังคายนา หรือ การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ และการส่งคณะพระธรรมทูต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งจะปรากฏความไม่ลงรอยกัน ในประเทศ แว่นแคว้น ที่ คณะพระธรรมทูต ซึ่งพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา ระหว่างความเห็นของนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก กับที่พระปัญญาสามี พระภิกษุชาวพม่าได้บันทึกไว้ใน คัมภีร์ศาสนวงศ์ ทั้งนี้ ก็เพราะ ความสับสนใน ที่ตั้งของชมพูทวีป ที่ตั้งของอินเดีย และที่ตั้งของนครปาฏลีบุต ของพระเจ้าอโศก นอกจากนี้ในพงศาวดารมอญยังบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรมอญที่เมืองตะโทง เป็นเจ้าชายที่เป็นราชบุตรของพระเจ้าติสสะ และเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช จนเป็นข้อสงสัยที่ต้อง ค้นหา และพิสูจน์ว่า ตกลงพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นแขกหรือเป็นมอญกันแน่?



         
ดังจะขอยกหลักฐานความสับสนของนักประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งปรากฏอยู่ในพระนิพนธ์คืองานเขียนของเจ้านายชั้นสูงในสมัยนั้น คือหนังสือ
ตำนานพระพุทธเจดีย์ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชูว่าเป็น พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ปรากฎอยู่ในตอนที่ ๓ ของพระนิพนธ์ ตำนานพระพุทธเจดีย์ ซึ่งพระองค์ท่านได้นิพนธ์ไว้ว่า



...
ตรงนี้จะแสดงวินิจฉัยเรื่องราชประวัติแห่งพระเจ้าอโศกมหาราชแทรกลงสักหน่อย
ด้วยแต่ก่อนมาเรารู้เรื่องแต่ตามที่ปรากฎในหนังสือซึ่งแต่งในลังกาทวีป คือหนังสือมหาวงศ์เป็นต้น ครั้นนักปราชญ์ตรวจค้นของของโบราณในอินเดีย พบศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก อ่านได้ความแตกต่างกับมหาวงศ์หลายข้อ อีกประการหนึ่ง ในเรื่องมหาวงศ์เมื่อกล่าวถึงเหตุที่ทำให้พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนา มักอ้างไปในทางข้างปาฏิหาริย์ มิได้พิจารณาพฤติการณ์ทางฝ่ายอาณาจักร...



         
เหตุที่พระองค์ท่านจะทรงวินิจฉัยไว้ก็เนื่องมาแต่ว่าตามคัมภีรมหาวงศ์ก็ดี ในอรรถกถาก็ดี กล่าวถึงสมัยพระเจ้าอโศกครองราชย์ว่า เกิดขึ้นเมื่อ ๒๑๘ ปี นับแต่ปีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่ตามลำดับที่นักปราชญ์ตะวันตกแต่งพงศาวดารอินเดียนั้น ในปี พ.ศ. ๒๑๗ เป็นช่วงปลายสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ กว่าพระเจ้าจันทรคุปต์ซึ่งเป็นเสด็จปู่ และพระเจ้าพินทุสารซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอโศก จะได้ครองราชย์หลังจากนั้นและทิวงคตคือตายนั้น พระเจ้าอโศกจึงได้ราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๗๐
ตรงนี้จึงได้ขัดแย้งกับสิ่งที่บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณเชื่อถือ และสืบทอดกันมา เพราะปรากฏอยู่ในอรรถกถาพระไตรปิฎก ปรากฏอยู่ในตำนาน พงศาวดาร แม้ในไตรภูมิพระร่วง ที่พระยาลิไท แต่งในสมัยสุโขทัย ก็อ้างมาจากคัมภีร์มหาวงศ์และอรรถกถาว่า พระเจ้าอโศกครองราชย์เมื่อพุทธปรินิพพานได้ ๒๑๘ ปี และครองราชย์อยู่ได้ ๓๗ ปี ก็สวรรคตคือตายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕ เรื่องทั้งหลายจึงขัดแย้งกับฝรั่ง ซึ่งหากเราเชื่อตามฝรั่งนั้นก็คงต้องกลับไปแก้ตำนาน พงศาวดาร และอรรถกถา ไม่ว่าจะเป็นวันเดือนปี ที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์ ปีที่พระเจ้าอโศกอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ รวมทั้งปีที่พระเจ้าอโศกสวรรคต ซึ่งหากทำเช่นนั้น ก็เท่ากับเป็นการล้มล้างคำของพระอรหันต์ที่ได้แต่งอรรถกถาไว้ ลบล้างคำของบรรพบุรุษที่สู้อุตส่าห์สืบรักษาต่อๆ กันมาช้านาน


         
อีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็คือ
การส่งพระสมณฑูตไปเผยแผ่พระพระศาสนา หลังจากได้กระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นในปลายปี พ.ศ. ๒๓๕ ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพท่านได้นิพนธ์ไว้ว่า เรื่องพระเจ้าอโศกมหาราช ให้สอนพระพุทธศาสนาแพร่หลายไปยังนานาประเทศนั้น มีหลักฐานปรากฏทั้งในหนังสือมหาวงศ์และศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก แต่รายการที่กล่าวผิดกันชอบกล ในหนังสือมหาวงศ์กล่าวว่า พระเจ้าอโศกทรงอาราธนาให้พระสงฆ์ไปเที่ยวสอนพระศาสนายังนานาประเทศ แสดงนามพระสงฆ์และนามประเทศต่างๆ ที่ไปสอนไว้ ส่วนศิลาจารึกของพระเจ้าอโศก มิได้กล่าวถึงการที่ให้พระสงฆ์ไปเที่ยวสอนพระศาสนา แต่กล่าวว่าได้ให้ราชทูตเชิญพระธรรมไปแสดงถึงนานาประเทศ บอกนามไว้ตรงกับประเทศตริโปลี อียิปต์ ซีเรีย ตลอดจนถึงประเทศกรีซและมาซิโดเนียในยุโรป เหตุที่หนังสือมหาวงศ์กับคำจารึกของพระเจ้าอโศกแตกต่างกันดังนี้ สันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นเพราะท่านผู้แต่งหนังสือมหาวงศ์ประสงค์จะแสดงแต่เรื่องส่วนที่เกี่ยวด้วยพระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายการจารึกศิลาประสงค์จะแสดงพระเกียรติแก่มหาชนในพระราชอาณาจักร


จริงๆ แล้วความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อเกือบ ๑๐๐ ปีที่แล้ว น่าที่จะมีใครเอะใจ หรือตั้งสติและโต้แย้งสิ่งเหล่านี้บ้าง แต่การที่อนุโลมตามความเห็นหรือมติของนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกนั้น ทำให้ ความจริงของแผ่นดินถูกบิดเบือนไป จนถึงทุกวันนี้ ทั้งชมพูทวีป ทั้งอินเดียโบราณอันเป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล จึงถูกยกให้ไปอยู่ที่ประเทศอินเดียในปัจจุบันนี้ รวมทั้งพระเจ้าอโศกมหาราช จึงถูกแปลงสัญชาติเป็นแขกไป ที่สำคัญ คือ ตำนานต่างๆ ที่บรรพชนของเราสู้อุตส่าห์สืบรักษาถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ก็ถูกเย้ยหยันหรือมองข้าม โดยถูก

มองข้ามเป็นแค่นิทานลวงโลกเท่านั้น
พระเจ้าอโศกเกิดเมื่อไหร่แน่ตามโคตรเหง้าคนไทยรู้จัก จาก ตำนานธรรมราชเกี่ยวด้วยเมืองเชียงใหม่
ในหนังสือ ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ ๑ และ ภาคที่ ๒
หน้าที่ ๑๕๗ บันทึกไว้ว่า

         
“
ปีกาบสันศักราช ๖๐๔ ศาสนา ๑๘๘ วัสสาเดือนวิสาขะเพ็งยามหาดลั่นเช้าพระยาธรรมาโศกเกิด

ปีกาบซง้าศักราช ๖๓๖ ศาสนา ๒๑๘ วัสสา เดือนวิสาขะเพ็งพระยาอโศกปราบชมพูทวีป
”
         
เรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช ในตำนาน พงศาวดาร หรือบันทึกเหตุการณ์ของมอญและไทย ที่พิสดารไปอีก ปรากฏใน
“
คำให้การชาวกรุงเก่า
”
ซึ่งเป็นหนังสือพงศาวดารประวัติศาสตร์ ที่ได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆ สมัยครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จากคำให้การของเชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไป สมัยเสียกรุงครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ เชื่อว่าต้นฉบับเป็นภาษารามัญที่ถูกแปลเป็นภาษาพม่า และไทย ตามลำดับ นั้น มีอยู่ตอนหนึ่ง น่าสนใจ บันทึกไว้ว่า
           …
ครั้นแล้วพระองค์เสด็จจากเขาสุวรรณบรรพต ไปยังตำบลบ้านพ่อแอ่งในข้างทิศตะวันตก ตำบลนั้นมีบึงใหญ่แห่งหนึ่ง ใกล้บึงนั้นมีพฤกษชาติใหญ่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านใบอันสมบูรณ สมเด็จพระพุทธองค์ก็ทรงกระทำปาฏิหาริย์อยู่เหนือยอดพฤกษชาตินั้น คือทรงนั่ง ทรงไสยาสน์ ทรงพระดำเนิรจงกรม แลทรงยืน บนยอดกิ่งไม้ใหญ่ มีพระอิริยาบถทั้งสี่เปรปรกติมิได้หวั่นไหว ในขณะนั้น ฝ่ายพฤกษเทพยดาทั้งหลายได้เห็นปาฏิหารของพระองค์เปนมหัศจรรย์ดังนั้น ก็บังเกิดปีติโสมนัสเลื่อมใสในพระคุณของพระองค์ จึงนำผลสมอดีงูแลผลสมอไทยอันเปนของเทพโอสถ มากระทำอภิวาท น้อมเข้าไปถวายแด่พระพุทธองค์ ในขณะนั้นพระองค์ทอดพระเนตรเห็นแพะเล็กตัวหนึ่งอยู่ในที่ใกล้ ก็ทรงแย้มพระโอษฐ ฝ่ายพระอานนทเถรพุทธอนุชาเห็นพระองค์ทรงแย้มพระโอษฐให้ปรากฏดังนั้น จึงกราบทูลถามถึงเหตุแห่งการแย้มพระโอษฐว่าจะมีเปนประการใด สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าจึงตรัสพยากรณ์ว่า ไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า แพะเล็กตัวนี้จะได้บังเกิดเปนกษัตริย์ครองราชย์สมบัติในประเทศนี้ จะมีเดชานุภาพมาก แลจะได้ทำนุบำรุงบทวลัญช์อันเปนรอยพระบาท กับรูปฉายาปฏิมากรของเราตถาคตสืบไป

         
ครั้นล่วงกาลนานมา
สมเด็จพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระพุทธศักราชล่วงได้ ๒๑๘ ปี จึงบังเกิดพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ครองราชย์สมบัติในกรุงปาตลีบุตรมหานคร พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมีการสร้างพระอาราม พระสถูปเจดีย์ แลขุดบ่อสระเปนต้น เปนอันมาก พระองค์ได้เสด็จประพาสทั่วไปในสกลชมพูทวีปตราบเท่าถึงเมืองสังขบุรี เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติอยู่ในเมืองนั้นต่อไป พระองค์มีมหิทธิฤทธิเดชานุภาพมากล้ำเลิศกว่ากษัตริย์ทั้งหลาย ได้ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองไปทั่วสกลชมพูทวีป ในคราวหนึ่งพระองค์ได้ตรัสแก่เสนาอำมาตย์ราชมนตรีทั้งปวงของพระองค์ว่า พระองค์ได้มาบังเกิดเปนกษัตริย์ทั้งนี้ ด้วยบุญญาบารมีกฤดาธิการของพระองค์ตามพระพุทธทำนายซึ่งได้ตรัสพยากรณ์ไว้นั้นทุกประการ


         
จาก พงศาวดารข้างต้นนี้ จะเห็นว่า
“
พระเจ้าอโศก
”
ได้มาปกครองแผ่นดิน “
ในประเทศนี้
”
คือที่ ๆ พระพุทธองค์เสด็จมาพยากรณ์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจาก “
เขาสุวรรณบรรพต
”

ที่ จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย





         
ตำนาน ที่เกี่ยวกับพระเจ้าอโศกมหาราชในดินแดนแถบประเทศไทย พม่า มอญ และลาว มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เชื่อว่า ที่ยังไม่ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยน่าจะยังมีอีกจำนวนไม่น้อย ดังจะได้หยิบยกตำนานที่ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยสักตำนานหนึ่ง ซึ่งเป็นตำนาน
พระธาตุศรีจอมทอง ฉบับที่แปลมาจากภาษาพื้นเมือง ที่ผมมีอยู่นี้ เห็นว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าฝรั่ง ได้ตำนานฉบับนี้ ในสมัยที่ ประเทศไทยเรายังไม่เจริญขนาดนี้ พวกฝรั่งนักล่าสมบัติ คงจะ พากันขุดค้นกรุมหาสมบัติ ที่ฝังอยู่ ในบริเวณวัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นแน่แท้ ดังที่จะขอคัดลอกมา แต่เพียงส่วนสำคัญ ดังนี้


         ...
จำเดิมแต่กาลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี มีพระราชาองค์หนึ่งพระนามว่า ศรีธรรมาโศกราชหรืออีกนัยหนึ่งว่า
พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้ทรงเดชานุภาพปราบชมพูทวีปทั้งมวลได้เสด็จไปสู่ดอยศรีจอมทอง พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนามาตย์ราชบริพารเป็นอันมาก ด้วยอานุภาพแห่งพระอินทร์ เทพยดาและพระอรหันต์แล้ว ได้ให้ขุดคูหาอุโมงค์ที่ใต้พื้นดอยศรีจอมทองลึกนัก ใหญ่ประมาณเท่าที่ตั้งพระคันธกุฏิแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระเชตะวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถีในสมัยพุทธกาล แล้วให้สร้างพระถูปองค์หนึ่งแล้วด้วยทองคำสูง ๖ ศอก ไว้ในคูหานั้น หล่อพระพุทธรูปยืนด้วยทองทิพย์หนัก ๑ แสน ๒ องค์ ตั้งไว้ทางทิศเหนือพระสถูปองค์ ๑ ทิศใต้ ๑ องค์ หล่อพระพุทธรูปนั่งด้วยทองคำ ๒ องค์หนักองค์ละ ๑ แสน ตั้งไว้ ณ ทิศตะวันออกพระสถูปองค์ ๑ ทิศตะวันตก องค์ ๑ และได้จัดสร้างดุริยดนตรี เครื่องปูลาด เตียงตั้ง และฉัตรธงไว้ทั้ง ๔ ด้านแห่งพระสถูปนั้น แล้วให้หล่อรูปยักษ์ ๘ ตน ยืนเฝ้าที่หน้ามุขพระสถูปทั้ง ๔ ด้าน ๆ ละตน และยืนเฝ้าประตูแห่งคูหาทั้ง ๔ ด้าน ๆ ละตน แล้วพระเจ้าอโศกมหาราชจึงเอาโกศแก้ววชิระ หนัก ๑ พันน้ำ มาตั้งไว้เหนืออาสนะทองคำ ครั้นได้นักขัตฤกษ์ชัยมงคล จึงพร้อมด้วยพระอรหันต์ เทวดา นาค ครุฑและสมณพราหมณ์ ทำการฉลองสมโภชบูชาพระบรมธาตุแห่งสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นมหาปางอันใหญ่ตลอด ๗ วัน ครั้นแล้วจึงได้ทำการอัญเชิญพระทักษิณโมลีธาตุจอมพระเศียรเบื้องขวาแห่งพระพุทธเจ้า เท่าเมล็ดในพุทราเสด็จเข้าสู่โกศแก้ววชิระนั้น พร้อมทั้งพระธาตุกระดูกด้ามมีดเบื้องขวา โตเท่าเมล็ดข้าวสารหัก มีสัณฐานเป็นสามเหลี่ยม และพระบรมธาตุย่อยอีก ๕ องค์เท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด รวมเป็นพระธาตุ ๗ องค์ ให้เข้าอยู่ในโกศแก้ววชิระนั้น จึงเชิญโกศแก้ววชิระให้เข้าประดิษฐานไว้ในพระสถูปทองคำเสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนามาตย์ เทพยดา และพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำอธิษฐานไว้ว่า
ข้าแต่พระบรมธาตุเจ้าองค์ประเสริฐในกาลเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ได้เคยเสด็จมาสู่ที่นี่ และได้ตรัสทำนายไว้แก่พระยาอังครัฏฐะว่า "
พระทักษิณโมลีธาตุของเราตถาคตจะมาประดิษฐานอยู่ที่นี่" ดังนี้ และบัดนี้พระบรมธาตุเจ้าก็ได้เสด็จเข้าประดิษฐานอยู่ในที่นี่ สมดังพระพุทธทำนายแล้ว ในกาลต่อไปข้างหน้า แม้ว่าคน เทวดาและครุฑ นาคใด ๆ ก็ดี จักมานำเอาพระบรมธาตุเจ้าไปในสถานที่ใดก็ดีขอพระบรมธาตุเจ้าอย่าได้เสด็จไปเลย แม้ถึงว่าได้เสด็จไปแล้วก็ขอจงได้ เสด็จกลับคืนมาอยู่ ณ สถานที่นี้ตราบเท่า ๕๐๐๐ พระวัสสา เพื่อได้เป็นที่สักการบูชาแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายชั่วกาลนาน ข้าแต่พระบรมธาตุเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า หากมีพระราชาหรือมหาอำมาตย์ผู้ใด ได้มาสักการะพระบรมธาตุเจ้า ณ ดอยศรีจอมทองที่นี่ ขอจงให้พระราชาเป็นต้น พระองค์นั้นจงมีเดชานุภาพเหมือนดั่งข้าพระพุทธเจ้าอโศกมหาราชธรรมราชานี้เทอญ
ข้าแต่พระบรมธาตุเจ้า เมื่อใดพระราชามหาอำมาตย์ผู้เสวยราชบ้านเมือง มีบุญวาสนาเสมอดั่งข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอนิมนต์พระบรมธาตุเจ้า จงเสด็จออกมาจากพระสถูปทองคำแสดงอภินิหารให้ปรากฏแก่คนและเทพยดาทั้งหลาย เพื่อให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองต่อไปตลอด ๕,
๐๐๐ พระวัสสา ถ้าหากพระราชาและอำมาตย์เสวยราชบ้านเมืองที่นี้ ปราศจากการเคารพนับถือพระรัตนตรัย กระทำแต่บาปอกุศลกรรมมีประการต่าง ๆ ไซร้ ขอพระบรมธาตุเจ้า จงเสด็จประทับอยู่ในพระสถูปทองคำ แห่งข้าพระพุทธเจ้า ขอจงอย่าได้เสด็จออกมาให้ปรากฏแก่ผู้ใดเลย ข้าแต่พระบรมธาตุเจ้า กาลใดเมื่อพระพุทธศาสนาตั้งอยู่ตลอด ๕
,
๐๐๐ พระวัสสา แล้ว พระธาตุแห่งพระพุทธเจ้าก็จักเสด็จไปรวมกันในที่แห่งเดียว ขอพระสถูปทองคำของข้าพระพุทธเจ้ากับทั้งเครื่องสักการบูชาทั้งหลาย จงอย่าได้สูญหายเป็นอันตรายไปเลย ขอจงตั้งอยู่ตราบเท่าถึงศาสนาพระศรีอริยะเมตไตรยผู้จะมาตรัสในภายหน้า และขอจงให้พระศรีอริยะเมตไตรยพระองค์นั้นจงนำพระสถูปทองคำของข้าพระพุทธเจ้านี้ออกมาแสดงแก่เทพยดา และมนุษย์ทั้งหลาย ได้กระทำสักการบูชาทุก ๗ วันเทอญ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงอธิษฐานดังนี้แล้ว เหล่าเทพยดา นาคครุฑ ทั้งหลายจึงไปนำเอาหินจากป่าหิมพานต์ เอามาก่อแวดล้อมพระสถูปไว้ ๗ ชั้น เพื่อมิให้คนและสัตว์มาทำอันตรายได้ แล้วจึงอาณัติสั่งเทวดา ๒ ตนและพญานาค ๒ ตน ให้อยู่พิทักษ์รักษาพระบรมธาตุเจ้าต่อไป ในกาลใดถ้าหากพระราชามหาอำมาตย์และฝูงชนทั้งหลาย ประกอบด้วยบุญสมภารมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ในกาลนั้น เทพยดา และพระยานาคผู้รักษาพระบรมธาตุ ก็ดลบันดาลให้ชนทั้งหลายทราบว่าพระบรมธาตุเจ้ามีอยู่ในที่นี้ ถ้าชนทั้งหลายมีใจหนาแน่นไปด้วยกิเลสประกอบแต่กรรมอันเป็นอกุศลบาปธรรม เทพเจ้าผู้รักษาพระบรมธาตุก็นิมนต์พระบรมธาตุให้เข้าอยู่ในคูหาใต้พื้นดอยศรีจอมทองเสีย มิให้ออกมาปรากฏแก่คนทั้งหลาย
และในกาลนั้นพระเจ้าอโศกธรรมราชาได้รับสั่งให้เสนาอำมาตย์ราชบริพารทั้งหลาย ให้ขุดหลุมใหญ่ฝังทองคำไว้ในทิศทั้ง ๘ แห่งดอยศรีจอมทอง ทรงอธิษฐานไว้ว่าเมื่อใดพระบรมธาตุเจ้า เจริญรุ่งเรืองไปภายหน้า ขอจงให้ผู้อยู่ปฏิบัติรักษาพระบรมธาตุนี้ จงขุดเอาทองคำที่ฝังไว้นี้ออกบำรุงก่อสร้าง สถาปนาพระพุทธศาสนาให้เจริญถาวรต่อไปชั่วกาลนานเทอญ ครั้นแล้วท้าวเธอพร้อมด้วยเสนามาตย์ราชบริพารก็เสด็จคมนาการกลับไปสู่พระนครของพระองค์ ณ กาลนั้นแล


เรื่องของ พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จมาสร้างพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะ ในภาคเหนือของประเทศไทย แต่ในเขตแดนอาณาจักรอยุธยา ก็มีปรากฏอยู่เช่นเดียวกัน ดังจะยกมาประกอบ ให้ท่านทั้งหลายได้อ่าน แต่พอสังเขป จาก “
พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก
”
ฉบับชำระสะสาง ดังนี้


         
...
พระพุทธองค์เสด็จจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายตามลำดับนิคมราชธานี จนเสด็จบรรลุถึงเมืองระแวกอันควรเป็นศาสนสักขี คือ เป็นที่ตั้งแห่งพระเจดีย์ธาตุ ๕ หลัง เพื่อเป็นเครื่องกำหนดอายุแห่งพระพุทธศาสนา ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ได้ทรงมีพุทธฎีกาพยากรณ์ ไว้ว่า
“…
ดูราอานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ พรรษา จะมีพระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า
“
อโศกราช
”
เสวยราชในเมืองปาฏลีบุตร เป็นผู้มีเดชานุภาพแผ่ไปในชมพูทวีปทั้งมวล จะแบ่งแจก ธาตุแห่งตถาคตมาประดิษฐานก่อเป็นมหาเจดีย์ ๕ หลัง ให้เป็นที่บรรจุเกศาธาตุ ๕ องค์ ไว้เป็นที่สักการะบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย ตลอดถึงพระอินทร์ พระพรหม ครุฑ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ไอศวรทั้งหลาย จักเป็นที่กำหนดหมายยังอายุแห่งพระพุทธศาสนา ๕๐๐๐ วัสสา เจดีย์ธาตุทั้ง ๕ หลังนี้แบ่งไว้ดังนี้ เจดีย์หลังที่ ๑ เป็นบรุพนิมิต แห่งพระพุทธศาสนาพันที่ ๑
,
หลังที่ ๒ เป็นอายุแห่งพระพุทธศาสนาพันที่ ๒
,
หลังที่ ๓ เป็นพันวัสสาที่ ๓
,
หลังที่ ๔ เป็นพันวัสสาที่ ๔ หลังที่ ๕ เป็นพันวัสสาที่ ๕ คือว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้ ๑๐๐๐ พรรษาบริบูรณ์เจดีย์หลังที่ ๑ ก็จะจมลงไปในวังน้ำอันเป็นที่อยู่ของพญานาค ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๒๐๐๐ พรรษาบริบูรณ์ เจดีย์หลังที่ ๒ ก็จักจมลงไปในน้ำ ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๓๐๐๐ ปีบริบูรณ์ เจดีย์หลังที่ ๓ ก็จะจมลง ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๔๐๐๐ ปีบริบูรณ์ เจดีย์หลังที่ ๔ ก็จมลง ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๕๐๐๐ ปีบริบูรณ์ เจดีย์หลังที่ ๕ ก็จะจมลงไป
…

         …
หลังจากสมเด็จพระชินมารเสด็จดับขันข์ปรินิพพานไปแล้ว เป็นเวลานานถึง ๒๑๘ ปี จึงมีพระราชาองค์หนึ่งพระนามว่า
“
ธรรมาโศกมหาราช
”
ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและพระชินธาตุให้รุ่งเรืองปรากฏทั่วไปทั่วชมพูทวีป และทรงทราบชัดว่า สถานที่อันมีอยู่ในเมืองระแวกนั้น เป็นอุดมสถานจักปรากฏเป็นที่รุ่งเรืองต่อไปถึง ๕๐๐๐ พระพรรษาเช่นนั้น พระองค์จึงทรงมีพระราชอาชญามอบ พระราชวัตถุทั้งหลาย คือ เงิน ทองคำ แก้ว แหวน วัตถาภรณ์และเครื่องอลังการต่าง ๆ แก่มหาเสนาอำมาตย์พร้อมด้วยบริวาร มาประชุมปรึกษาก่อสร้างเจดีย์ ๕ หลัง เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุไว้แทนที่พระพุทธองค์ประทับนั่ง เพื่อเป็นที่กำหนดอายุพระพุทธศาสนา ให้รู้ว่า เป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต จนกระทั่งครบ ๕๐๐๐ พรรษา พระเจดีย์นี้ประดิษฐานอยู่ที่เวียงระแวก ที่พระเจ้าอโศกธรรมราชทรงให้ปฏิสังขรณ์มั่นคงดีขึ้น เพื่อให้เป็นที่เฝ้ารักษาพระเกศาธาตุทั้ง ๕ องค์นั้น มิให้มีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ พระมหาเจดีย์ธาตุทั้ง ๕ องค์นี้ จึงหุ้มด้วยแผ่นจังโกทองคำตั้งแต่ช่อฟ้าลงมาจรดถึงพื้นดินเหมือนกันทุกองค์ และพระมหาเจดีย์ ๕ องค์นั้น แต่ละองค์สูง ๖๐ วา วัดรอบฐานธรณีทั้ง ๔ ด้านได้ ๑๒๑ วา แต่ละด้านกว้าง ๓๐ วา ๑ ศอก ฐานธรณีก่อตั้งฉากลดหลั่นสูงขึ้นไป ๗ ชั้น กว้างชั้นละ ๓ ศอก นับแต่ขอบขึ้นถึงหน้าชานสูง ๓ วา ปั้นรูปเทวดาไว้สี่มุมพระเจดีย์ทั้ง ๕ องค์ เทวดา ๒ องค์ถือหอยสังข์เป่าฟ้อนรำอยู่ เทวดาอีก ๒ องค์ประนมมือไหว้อยู่ใกล้พระเจดีย์ ๑ วา ๑ ศอก ทุก ๆ องค์ พระเจดีย์ทั้ง ๕ องค์นั้น ตั้งอยู่ห่างกันองค์ละ ๑๐ วาเท่า ๆ กัน
…
แล้วพระองค์ทรงให้สร้างปราการกำแพงเมืองอันมั่นคงยิ่งนัก ยาววัดได้ ๓๔๒๐ วา กว้าง ๒๐๔๐ วา ก่อด้วยหินทั้งสิ้น กำแพงหนาประมาณ ๗ วา สูง ๗ วา ขุดรากลึกลงไปในดิน ๙ วา แล้วขุดคูล้อมรอบ ๓ ชั้น คูแต่ละชั้นลึก ๒๐ วา กว้าง ๔๐ วา
…

          ...
ตั้งแต่นั้นมาอายุพระพุทธศาสนาล่วงเข้าสู่พันที่สาม จนกระทั่งมาถึงปีกัดไส้จุลศักราช ๙๓๑ อายุพระศาสนาล่วงไปได้ ๒๑๑๒ พรรษา มีกษัตริย์องค์หนึ่งพระนามว่าฟ้ามหาธาเสวยราชย์ในเมืองหงสาวดีนคร ได้ยกจตุรงคเสนาโยธาเมืองได้อโยธยาและเมืองล้านช้าง ในกองทัพนั้นมีบัณฑิตผู้หนึ่งเป็นลูกของ แสนเชียงแลง เป็นผู้ฉลาดมีปัญญารู้พินิจพิเคราะห์อย่างยิ่ง เมื่อกองทัพมาถึงเมืองระแวกได้หยุดทัพเพื่อให้พ้นฤดูฝนที่เมืองระแวกนั้น บัณฑิตผู้นั้นได้เที่ยวตรวจตราดูบริเวณบ้านเมืองและได้สักการะบูชาพระมหาเกศาธาตุอันประเสริฐ ได้อ่านดูจาฤกษ์ศาสตร์ (ศิลาจารึก) ที่พระยาอโศกธรรมราชและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้สลักไว้ที่แผ่นหิน รู้สึกอัศจรรย์ยิ่ง ก็พิจารณากำหนดดูตามศิลาจารึก ที่ประดิษฐานแห่งพระมหาเจดีย์ธาตุทั้งมวล จึงรู้ว่า พระมหาเจดีย์ทั้ง ๕ องค์นั้น ทรุดจมลงไปในน้ำลึกไปแล้ว ๒ องค์ ก็กำหนดได้ว่าพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้ว ๒๐๐๐ พรรษา และในปีกัดไส้จุลศักราช ๙๓๑ ปีที่บัณฑิตลูกแสนเชียงแลงลงมาพักอยู่ในเมืองระแวกนั้น เขาก็ได้เห็นพระมหาเจดีย์เกศาธาตุหลังที่ ๓ อันเป็นเครื่องกำหนดหมายอายุพระพุทธศาสนาพันที่สามก็ได้ทรุดจมลงไปในน้ำ คือฐานธรณีจมลงไปได้ชั้นหนึ่งในปีนั้น
…
กล่าวถึงพระมหาเจดีย์เกสธาตุ ๕ องค์ ที่ประดิษฐาน
อยู่กลางเมืองระแวกอันมีในเขตด้าวเมืองอโยชิยาหวาราวัตตินคร ก็จบเป็นกัณฑ์หนึ่ง


         
นอกจากเจดีย์ศาสนสักขีที่เมืองระแวก ตามที่มีบันทึกอยู่ในตำนานข้างต้นนี้แล้ว ก็ยังมีเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างไว้อีกหลายแห่งในดินแดนสุวรรณภูมินี้ ในประเทศพม่า ก็มีเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ คือ
พระมาลีเจดีย์ กลางเมืองหงสาวดี และอีกองค์หนึ่งคือ เจดีย์ชเวม๊กตอ ซึ่งตามประวัติก็กล่าวไว้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้สร้าง เสียดายก็แต่ไม่สามารถที่จะหาตำนานการสร้างฉบับเต็มๆ มาให้ท่านทั้งหลายได้อ่าน ในประเทศลาว มีกล่าวถึงการสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในที่ต่างๆ เช่น พระธาตุหลวง นครเวียงจันทน์ ซึ่งในประวัติการสร้างกล่าวไว้ว่า เป็นเจดีย์ที่สร้างเพื่อบรรจุพระธาตุหัวเหน่า ๒๗ องค์ ไว้ที่ภูเขาลวง โดยมีพระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้านครเวียงจันทน์ ได้เป็นประธาน ในปีพุทธศักราช ๒๓๘ โดยพระองค์ได้ให้ก่อ อุโมงค์หินครอบไว้ เต้าฝาอุโมงค ์ทั้งสี่ด้าน กว้างด้านละ ๕ วา หนา ๒ วา และสูงได้ ๔ วา ๓ ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรีฯ จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหาร ขึ้นในเวียงจันทน์ ๕ หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ ๕ องค์นั้น








พระธาตุหลวง องค์เดิม สร้างโดยพระยาจันทบุรี ตรงกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ในพงศาวดารมอญ บันทึกไว้ว่า อาณาจักรมอญที่เมืองตะโทง (Thaton)
ได้ถูกการสถาปนาขึ้นโดย ๒ พระราชกุมารของกษัตริย์อินเดียนามว่าพระเจ้าติสสะ ดังจะขอคัดลอกความบางส่วนมาดังนี้


         
มีพงศาวดารมอญฉบับหนึ่งกล่าวไว้ว่า อาณาจักรมอญที่เมืองตะโทง (
Thaton)
ได้ถูกสถาปนาขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑ โดย ๒ ราชกุมารของกษัตริย์อินเดียพระนามว่า ติสสะ
อาณาจักรมอญแห่งแรกนี้ มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง ๕๙ พระองค์ อาณาจักรมอญที่เมืองตะโทงนี้มีการติดต่อค้าขายกับทั้งประเทศอินเดียและลังกา และได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียทั้งในแง่ภาษาและศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธแบบหีนยานหรือเถรวาท ในความเป็นจริงแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ชาวมอญเป็นผู้ที่เผยแผ่อารยธรรรมอินเดียนี้ออกไปไปยังผู้คนทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นชาวพม่า ไทย และลาว นอกจากด้านการศาสนาแล้ว ชาวมอญยังมีความรู้ระดับสูงในด้านการเกษตร พวกเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านระบบชลประทานและเปลี่ยนที่ราบลุ่มทางตอนล่างของประเทศพม่าให้กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง


         
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ปกครองอินเดีย ตามความเข้าใจของคนทั่วไป และพระเจ้าติสสะ ที่กล่าวถึงในพงศาวดารนั้น ก็น่าจะหมายถึง ท่านพระอนุชาของพระเจ้าอโศก ซึ่งภายหลังได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา ดังนั้น วงศ์ของพระเจ้าอโศก พระเจ้าติสสะ หรือ พระเจ้าพินทุสาร ซึ่งเป็นพระราชบิดา จึงอาจจะเป็นคนเชื้อชาติมอญ ดังนั้น
“
ตัวอักษร
”
ที่ใช้ในการเขียนบันทึก จารึก จึงเป็น
“
ตัวหนังสือมอญโบราณ
”

ที่มีการค้นพบในจารึกต่างๆ ที่มีปรากฏอยู่ หรือที่ได้มีการขุดค้นพบ ในดินแดนสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งของประเทศไทย พม่า และลาว นี้ แต่ ไม่ว่าจะเป็นมอญหรือคนชาติไหน ก็จะต้องมีการเรียน
“
ภาษามคธ
”
เพื่อที่จะ ศึกษาพระไตรปิฎก ดังที่ พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อบวชเรียนแล้ว ก็ได้เรียนพระไตรปิฎก และอรรถกถา ดัง ความใน พระอรรถกถา ว่า


         
ภายหลังตั้งแต่เวลาที่ทรงผนวชแล้ว พระมหินทเถระก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมและพระวินัย อยู่ในสำนักพระอุปัชฌายะของตนนั่นเอง ได้เรียนเอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยพระไตรปิฎก ซึ่งขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๒ คราว จบในภายใน ๓ พรรษา แล้วได้เป็นปาโมกข์ (หัวหน้า) ของพวกภิกษุประมาณ ๑
,
๐๐๐ รูป ผู้เป็นอันเตวาสิกแห่งอุปัชฌายะของตน. คราวนั้น พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๙ ปี.
พงศาวดารมอญ บันทึกไว้ว่า อาณาจักรมอญที่เมืองตะโทง (Thaton)
ได้ถูกการสถาปนาขึ้นโดย ๒ พระราชกุมารของกษัตริย์อินเดียนามว่าพระเจ้าติสสะ ดังจะขอคัดลอกความบางส่วนมาดังนี้


         
มีพงศาวดารมอญฉบับหนึ่งกล่าวไว้ว่า อาณาจักรมอญที่เมืองตะโทง (
Thaton)
ได้ถูกสถาปนาขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑ โดย ๒ ราชกุมารของกษัตริย์อินเดียพระนามว่า ติสสะ
อาณาจักรมอญแห่งแรกนี้ มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง ๕๙ พระองค์ อาณาจักรมอญที่เมืองตะโทงนี้มีการติดต่อค้าขายกับทั้งประเทศอินเดียและลังกา และได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียทั้งในแง่ภาษาและศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธแบบหีนยานหรือเถรวาท ในความเป็นจริงแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ชาวมอญเป็นผู้ที่เผยแผ่อารยธรรรมอินเดียนี้ออกไปไปยังผู้คนทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นชาวพม่า ไทย และลาว นอกจากด้านการศาสนาแล้ว ชาวมอญยังมีความรู้ระดับสูงในด้านการเกษตร พวกเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านระบบชลประทานและเปลี่ยนที่ราบลุ่มทางตอนล่างของประเทศพม่าให้กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง


         
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ปกครองอินเดีย ตามความเข้าใจของคนทั่วไป และพระเจ้าติสสะ ที่กล่าวถึงในพงศาวดารนั้น ก็น่าจะหมายถึง ท่านพระอนุชาของพระเจ้าอโศก ซึ่งภายหลังได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา ดังนั้น วงศ์ของพระเจ้าอโศก พระเจ้าติสสะ หรือ พระเจ้าพินทุสาร ซึ่งเป็นพระราชบิดา จึงอาจจะเป็นคนเชื้อชาติมอญ ดังนั้น
“
ตัวอักษร
”
ที่ใช้ในการเขียนบันทึก จารึก จึงเป็น
“
ตัวหนังสือมอญโบราณ
”

ที่มีการค้นพบในจารึกต่างๆ ที่มีปรากฏอยู่ หรือที่ได้มีการขุดค้นพบ ในดินแดนสุวรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งของประเทศไทย พม่า และลาว นี้ แต่ ไม่ว่าจะเป็นมอญหรือคนชาติไหน ก็จะต้องมีการเรียน
“
ภาษามคธ
”
เพื่อที่จะ ศึกษาพระไตรปิฎก ดังที่ พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อบวชเรียนแล้ว ก็ได้เรียนพระไตรปิฎก และอรรถกถา ดัง ความใน พระอรรถกถา ว่า


         
ภายหลังตั้งแต่เวลาที่ทรงผนวชแล้ว พระมหินทเถระก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมและพระวินัย อยู่ในสำนักพระอุปัชฌายะของตนนั่นเอง ได้เรียนเอาเถรวาททั้งหมด พร้อมทั้งอรรถกถา ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยพระไตรปิฎก ซึ่งขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๒ คราว จบในภายใน ๓ พรรษา แล้วได้เป็นปาโมกข์ (หัวหน้า) ของพวกภิกษุประมาณ ๑
,
๐๐๐ รูป ผู้เป็นอันเตวาสิกแห่งอุปัชฌายะของตน. คราวนั้น พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๙ ปี.



จารึกภาษาพราหมี ในอินเดีย ซึ่งนักโบราณคดี ระบุว่า เป็นจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช

ดังนั้น จารึกประวัติศาสตร์ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จะต้องเป็น “
อักษรมอญโบราณ
”
ไม่ใช่อักษรที่เรียกว่า
“
อักษรพราหมี
”
ดังที่ปรากฏในประเทศอินเดียปัจจุบัน เพราะพระเจ้าอโศกในพระไตรปิฎก และอรรถกถา ไม่ได้ครองราชย์ที่แถบประเทศอินเดียปัจจุบัน แต่ได้ปกครองแว่นแคว้นในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อุษาคเนย์ นี่เอง ซึ่งจะได้มีการศึกษา ค้นคว้า และจะได้กล่าวลงในรายละเอียดในบทต่อๆ ไป เพื่อพิสูจน์ให้รู้แน่ว่า ตกลงพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นแขกหรือเป็นมอญกันแน่?


         
จากความไม่ลงรอยกัน ในประเทศ แว่นแคว้น ที่ คณะพระธรรมทูต ซึ่งพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา สายหนึ่งคือ
สายของ พระมหารักขิตเถระ ที่ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศ ซึ่ง นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก ระบุว่า คือดินแดนที่อยู่ในการยึดครองของฝรั่งชาติ กรีก ในทวีปเอเชียตอนกลาง เหนืออิหร่าน ขึ้นไปจนถึงเตอรกีสถาน แต่ ในบันทึกความเข้าใจของบรรพชนในดินแดนสุวรรณภูมิกลับมีความเชื่อว่า โยนกประเทศ คือดินแดนทางตอนเหนือของประเทศเทศไทยปัจจุบัน กินพื้นที่ จังหวัด ลำปาง เชียงใหม่


         
ดังในหนังสือ
“
ศาสนวงศ์
”
ที่ พระปัญญาสามี ซึ่งเป็นพระสงฆ์ชาวพม่า แต่งไว้เป็นภาษาบาลี โดยท่านแต่งเสร็จเมื่อวันเพ็ญเดือนอ้าย จุลศักราช ๑๒๒๓ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๐๕ หรือเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว กรมศิลปากร ของไทย ได้แปล และจัดพิมพ์ขึ้น ใจความตอนหนึ่งว่า
         
ครั้งนั้นมีหัวหน้าพวกลั๊วะอยู่ริมแม่น้ำปิงในรัฐโยนกมอบบุตรของตนอายุ ๗ ขวบแด่พระผู้มีพระภาคให้บรรพชา สามเณรนั้นเพียรทำกรรมฐานเนืองๆ ไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ จึงเรียกสถานที่นั้นตามภาษาโยนกว่าเจียงใหม่ ครั้นนานเข้าก็กลายเป็นเชียงใหม่ ตั้งแต่นั้นมา ศาสนาก็ประดิษฐานในรัฐโยนก นี่คือการประดิษฐานศาสนาในรัฐโยนกครั้งที่ ๑
ลุศาสนา ๒๓๕ พระมหารักขิตเถระไปรัฐโยนก ได้ประดิษฐานศาสนาในรัฐต่างๆ หลายแห่งเช่น กัมโพชะ เชียงตุง หริภุญชะ และอยุธยา เป็นต้น
แต่พระอรรถกถาจารย์ท่านรวมรัฐเหล่านั้นทั้งหมด กล่าวโดยคำทั่วๆ ไปหมายถึงสถานที่ว่า
ประเทศโยนก เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง ผู้แต่งคัมภีร์จะบัญญัติความหมายอย่างไรก็ได้


         
พระมหารักขิตเถระพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ องค์ ออกจากเมืองปาฏลิบุตร มายังประเทศโยนกทางอากาศ ทำให้ชนชาวโยนกทั้งหลายเลื่อมใสด้วยเทศนากาฬการามสูตร พระเถระได้ให้เครื่องประดับ คือ มรรคผลแก่ชาวโยนกประมาณ ๑๗๐
,
๐๐๐ คน และได้บวชในสำนักของท่านประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ท่านได้ประดิษฐานศาสนาในรัฐโยนกด้วยประการฉะนี้
ตั้งแต่นั้นมา พระเถระทั้งหลายที่เป็นศิษย์ปรัมปราของท่านเหล่านั้นมีจำนวนมากขึ้นเหลือที่จะนับคณนา นี่คือการประดิษฐานในรัฐโยนกครั้งที่ ๒ โดยอาศัย
พระมหารักขิตเถระ เป็นต้น

ประวัติพระพุทธปฏิมาแก้วมณี
เมื่อพระพุทธศาสนาได้ ๕๐๐ ปี พระวิสสกรรมเทวบุตรสร้างพระพุทธปฏิมาแก้วมณีให้แก่พระนาคเสนเถระในนครลำปางรัฐโยนก
พระนาคเสนเถระได้ตั้งใจอธิษฐานขอให้พระธาตุมาประดิษฐานอยู่ในพระพุทธปฏิมา พระธาตุก็ได้มาประดิษฐานในองค์พระพุทธปฏิมา ๗ องค์ ข้อความนี้กล่าวไว้ในหนังสือราชประวัติ ( ฉบับพม่า )
พระนาคเสนประดิษฐานศาสนาในโยนก และข้อความนี้ สมประมาณกาลเวลาที่กล่าวไว้ในหนังสือ มิลินทปัญหาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้วได้ ๕๐๐ ปี พระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลนทจะบังเกิดขึ้น


 
รัฐโยนกในรัชสมัยของพระเจ้ามิลินท พุทธศาสนาได้ ๕๐๐ ปี พุทธศาสนาเจริญงอกงามโดยอาศัยพระนาคเสนเถระ นี่คือการประดิษฐานในรัฐโยนกครั้งที่ ๓ โดยอาศัยพระนาคเสนเถระ


         
จากข้อความที่ ท่านปัญญาสามี แต่งประวัติศาสนาเรื่องการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในรัฐโยนก ที่ผมได้คัดลอกมาข้างต้นนี้เอง ที่ ทางกรมศิลปากร ได้มีเชิงอรรถ เป็นการอธิบายความหมายของ “ รัฐโยนก” ว่า


         
รัฐโยนกที่พระนาคเสนอยู่นั้น คือ เปอร์เซียในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ลำปาง ผู้ประพันธ์เข้าใจว่าโยนกเป็นไทยภาคพายัพ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปก็ไขว้เขวกันหมด พระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินทพลอยเป็นชาวลำปาง,
เชียงใหม่ไปหมด ซึ่งที่แท้ท่านเป็นชาวอินเดียภาคเหนือ ไม่ใช่ไทยภาคพายัพ อนึ่งนครลำปางนั้น ชาวลำพูนเรียกแต่คำนำหน้าคือนคร ไม่เรียกเต็มว่านครลำปาง แต่เขาออกเสียงเรียกนครเป็นละกุน คำนี้ จึงหมายถึงนครลำปาง


         
พระเจ้ามิลินท์ ที่กล่าวไว้ใน คัมภีร์ศาสนวงศ์ นั้น คงจะไม่ใช่ท่านผู้ใด นอกจาก พระเจ้ามิลินท์ ที่นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก ได้โอนสัญชาติให้ไปเป็นชนชาติกรีก และบอกว่าพระเจ้ามิลินท์คือพระเจ้าเมนันเดอร์ ดังปรากฏ ข้อมูลในสารานุกรม หรือหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาสมัยใหม่ ดังจะยกตัวอย่าง ประวัติของ พระเจ้ามิลินท์หรือพระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ปรากฏอยู่ในคำอธิบายท้ายเรื่อง มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย มาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน ดังนี้ว่า

         
พระเจ้ามิลินท์ คือใคร ภรัต สิงห์ อุปัธยายะ (
Bharat Singh Upadhyaya)
ได้ให้คำตอบในปัญหานี้ไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์นั้น เป็นองค์เดียวกับพระเจ้าเมนันเดอร์ กษัตริย์ชาติอินโดกรีก ซึ่งเป็นผู้ทรงอุปถัมภ์และสนับสนุนพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่งระหว่างคริสตศตวรรษที่ ๒ คำว่า มิลินท์ มาจากคำภาษากรีก ว่า เมนันดรอส ( Menandros)
นักเขียนในสมัยนั้นเรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ในหนังสือ อวทานกัลปลดา ของท่านเกษเมนทร ( Ksemendra’s Avadanakalpalata)
เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ว่า มิลินทร์ ( Milindra)
ซึ่งเป็นนามเดียวกันกับที่พบในหนังสือหมวด ตันเชอร์ ( the Bstanhygur) แห่งพระไตรปิฎกธิเบต คำจารึกหีบศพภาษาชินกอต ( Shinkot) เป็นตัวอักษร ขาโรษฐิ (Kharosthi)
เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ว่า เมนัทระ ( Menadra)
หลักฐานสำคัญที่พอจะประมวลเรื่องราวของกษัตริย์ชาติอินโดกรีกพระองค์นี้ ก็คือมิลินทปัญหานั่นเอง เรื่องราวของนักประวัติศาสตร์กรีก เช่น สตรโบ ( Strabo) พลูตาร์ก ( Plutarch) และจัสติน ( Justin)
และเหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์เอง ซึ่งจารึกตัวอักษรว่า “Basileus Soteros Menandros” ที่ค้นพบในที่ต่าง ๆ ๒๒ แห่ง ในลุ่มน้ำกาบุล ( Kabul) และสินธ์ ( Sindh)
และในบริเวณภาคตะวันตก ของมณฑลอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh)
นักปราชญ์หลายท่านมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องสมัยอันแน่นอนของพระเจ้าเมนันเดอร์ สมิธ ( Smith)
มีความเห็นว่า พระเจ้าเมนันเดอร์รุ่งเรืองอยู่ในกาลศตวรรษที่ ๒ ก่อน คริสตศักราช เอชซีเรย์เชาธุรี ( HC Raychaudhuri)
กล่าวว่า พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ในศตวรรษที่ ๑ ก่อน คริสตศักราช
ใน มิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงพระชนม์อยู่ หลังพุทธปรินิพพาน ๕๐๐ ปี ฉะนั้น จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าวว่า กษัตริย์กรีกพระองค์นี้ ทรงครองราชย์ในศตวรรษที่ ๑ ก่อน คริสตศักราช หรือราว ๆ นั้น ซึ่งมีข้อเท็จจริงอื่น ๆ ยืนยันอีกเป็นอันมาก ในมิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ เป็นพระราชาแห่งพวกโยนก “ โยนกานํ ราชา มิลินโท” คำบาลี โยนก หรือโยน (สันสกฤตว่า ยวน) เป็นคำเดียวกับภาษาเปอร์เซียนโบราณว่า “ เยาวนะ ” ซึ่งแต่เดิมหมายถึงพวกไอโอเนียนกรีก
(Ionian Greeks) แต่ต่อมาเลือนไป หมายถึงพวกกรีกทั้งหมด อาณาจักรของพวกโยนะ ( Yonas) และพวกกัมโพชะ ( Kambojas)
เป็นที่รู้จักแก่ชาวอินเดียในศตวรรษที่ ๖ ก่อน คริสตศักราช ดังมีหลักฐานอยู่ในอัสสลายนสูตร มัชฌิมนิกาย ซึ่งแสดงว่า ประชาชนของอาณาจักรเหล่านี้ มีเพียง ๒ วรรณะคือ พวกนาย ( Arya) และพวกทาส ( Dasa)
แทนที่จะมี ๔ วรรณะเหมือนในสังคมอินเดีย เป็นข้อเท็จจริงที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ซึ่งทำที่กรุงปาฏลีบุตร ได้มีการส่งนักเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศโยนะอันห่างไกล อันประกอบไปด้วยอาณาจักรพระเจ้าอันติโอคอสที่ ๔ แห่งซีเรีย ( Antiochos II of Syria)
อาณาจักรของพระเจ้าอันตีโกนอส โกนาตอส แห่งเมซิโดเนีย ( Antigonos Gonatos of Macedonia)
เป็นต้น ข้อความนี้ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกนั้น มีคำกล่าวต่อไปอีกว่า พระภิกษุชาวกรีกชื่อ โยนกธรรมรักขิต ( Yona Dhammrakkhita)
ถูกส่งไปประกาศพระศาสนาในอปรานตกประเทศ ฉะนั้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่า คำสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าได้เข้าถึงจิตใจของชาวกรีกก่อนสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์ แต่ส่วนมากเราได้ทราบกันว่า กษัตริย์พระองค์นี้เป็นพระองค์แรกที่ทรงสนพระทัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยทรงตั้งข้อสงสัยขึ้นหลายประการ เมื่อพระองค์ทรงได้สดับคำวิสัชนาของพระนาคเสนจนหมดความสงสัยแล้ว พระองค์ก็ทรงสนับสนุนในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในมิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ประสูติที่ตำบลกลสิคาม ในเกาะอลสันทะ คือ เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) หรือกับทหาร ( Kandahar) ในปัจจุบัน นครหลวงของพระองค์ คือ เมืองสาคละ ซึ่งเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองสังคาล ( Sangal) ของนักประวัติศาสตร์กรีกชื่อ แอร์เรียน ( Arrian) และเมืองสาคาล ( Sagal) หรือยูธูเมเดีย ( Euthumedeia) ของปโตเลมี (Ptolemy) เมืองนี้อยู่ในบริเวณเมือง ไสอักอต ( Sialkot) ในมลฑลปัญจาบ อาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ประกอบด้วยมณฑลเปษวาร์ ( Peshawar) ลุ่มน้ำกาบุลตอนบน มณฑลปัญจาบ

( Panjab) มณฑลสินธ์ ( Sindh) มณฑลกาเธียวาร ( Kathiawar)
และมณฑลอุตตรประเทศตะวันตก เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์ก็ทรงสร้างวิหารชื่อ มิลินทวิหาร ถวายพระนาคเสน นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงขยายอาณาจักรแห่งพระพุทธศาสนาออกไปอีกเป็นอันมาก ตามหนังสือมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์สวรรคต เมื่อทรงผนวชเป็นภิกษุ หลังจากทรงสละราชสมบัติและราชอาณาจักรให้แก่ราชโอรส กล่าวกันว่าพระองค์ได้บรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทด้วยอีกประการหนึ่ง ที่เหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์ มีตราพระธรรมจักร จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ผิดพลาดว่า พระองค์ทรงเป็นพุทธศาสนิกที่เคร่งครัด อนึ่ง ศิลาจารึกภาษาชินกอต ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กษัตริย์กรีกพระองค์นี้ ได้ทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปในอาณาบริเวณตั้งแต่ ภูเขาฮินดูกูษ จนถึงแม่น้ำสินธุ พลูตาร์กกล่าวต่อไปว่า ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีความยุติธรรมอย่างยอดเยี่ยม และทรงเป็นที่รักใคร่ของปวงชนทุกชั้น
แม้ว่าอำนาจที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นจะเสื่อมสูญไปจากอินเดียพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็ตาม แต่อนุสาวรีย์อันแสดงถึงความที่พระองค์ทรงมีความยุติธรรม มีพระปรีชาสามารถ และเป็นพุทธศาสนิกผู้เคร่งครัด จะยืนยงคงอยู่คู่กับหนังสือมิลินทปัญหา และเหรียญตราธรรมจักรของพระองค์ชั่วกัลปาวสาน


         
จริงๆ แล้ว ผมไม่ได้ปฏิเสธ การมีอยู่ของ
“
พระเจ้าเมนันเดอร์
”
ที่เป็นกษัตริย์ชาวกรีก เพียงแต่เห็นว่านักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกได้เอาพระราชประวัติพระเจ้ามิลินท์ แห่งโยนกประเทศ ไปสวมเป็นประวัติของพระเจ้าเมนันเดอร์ แล้วยังยกเอา คัมภีร์มิลินทปัญหา ที่มีความลึกซึ้งในข้อธรรมทางพระพุทธศาสนา ว่าเป็น บทสนทนาของพระเจ้าเมนันเดอร์กับพระนาคเสนเถร ซึ่ง เป็นการยากที่จะเชื่อได้ว่า ชนชาวกรีก ในสมัยนั้น จะสามารถเข้าถึง ภาษาบาลี และข้อธรรมทางพระพุทธศาสนา และสามารถที่จะซักถามปัญหาข้อธรรม จนแม้แต่ พระอายุปาลเถระก็ถวายวิสัชนาให้ทรงสิ้นสงสัยไม่ได้ แม้เพียงปัญหาแรก


         
จึงอยากจะขอให้ ท่านทั้งหลาย ได้มารับรู้ เรื่องราวของพระเจ้ามิลินท์ ดังที่ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งเป็นฉบับที่แปลมาจาก ภาษาบาลี ที่ไม่ใช่ฉบับที่แปลมาจากภาษาจีน ก่อนที่จะได้ ค้นหาความจริงว่า
ตกลงพระเจ้ามิลินท์เป็นชาวกรีกหรือเป็นคนลำปางกันแน่? ดังนี้ว่า
เดิมมีกษัตริย์ชาวโยนกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้ามิลินท์ เสวยราชสมบัติอยู่ในสาคลราชธานี พระองค์มีปรีชาเฉลียวฉลาดว่องไว สามารถทรงทราบเหตุการณ์ได้ทันท่วงทีและมักพอพระราชหฤทัยในการไล่เลียงลัทธิต่าง ๆ จนนักปราชญ์ ในสมัยนั้นครั่นคร้ามไม่กล้าจะทูลโต้ตอบพระราชปุจฉาได้

ก็ในสมัยนั้นมีพระเถระองค์หนึ่งชื่อว่า อัสสคุตอยู่ที่ถ้ำรักขิตคูหา ณ ป่าหิมพานต์เมื่อได้ทราบพระเกียรติคุณของพระเจ้ามิลินท์ ดังนั้น จึงประชุมสงฆ์ไต่ถามว่า รูปใดจะสามารถแก้ปัญหาถวายพระเจ้ามิลินท์ได้บ้าง สงฆ์ทุกรูปต่างพากันนิ่ง พระอัสสคุตจึงว่า มีเทพบุตรฉลาดอยู่องค์หนึ่งชื่อว่ามหาเสน อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นั่นแล จะเป็นผู้สามารถโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้ สังฆสมาคมจึงตกลงพร้อมกันขึ้นไปยังเทวโลก เล่าเรื่องและความประสงค์ให้พระอินทร์และมหาเสนเทพบุตรฟัง จนตลอด ครั้นอัญเชิญมหาเสนเทพบุตรได้สมประสงค์แล้ว จึงพากันกลับมายังมนุษยโลก แล้วจัดให้พระโรหณเถระเข้าไปเพาะความนิยมนับถือให้แก่ตระกูลโสณุตตรพราหมณ์ ซึ่งเป็นตระกูลที่มหาเสนเทพบุตรจะจุติลงมาเกิด จนตระกูลนั้นเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ฝ่ายมหาเสนเทพบุตร เมื่อรับอัญเชิญจากคณะสงฆ์แล้วก็จุติลงมาเกิดในตระกูลโสณุตตรพราหมณ์ ตำบลชังคลคามริมป่าหิมพานต์ ได้นามว่านาคเสนกุมาร เมื่อเติบโตขึ้นก็ได้รับการศึกษาศิลปวิทยาจากสำนักครูทั้งหลาย ตลอดจนไตรเพท อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพราหมณ์ก็ได้ศึกษาจนชำนิชำนาญ ครั้นแล้วจึงมารำพึงว่า วิชาเหล่านี้ไม่มีแก่นสารอะไร ก็เกิดความเบื่อหน่าย
อยู่มาวันหนึ่ง พระโรหณเถระเข้าไปฉันที่บ้านโสณุตตรพราหมณ์ พอนาคเสนกุมารเห็นก็นึกแปลกทันที จึงเรียนถามว่า ทำไมท่านจึงต้องโกนผมโกนหนวดและต้องนุ่งห่มผ้าเหลือง ครั้นรู้เหตุผล จึงเรียนถามอีกว่า คนเพศเช่นท่านได้รับศึกษาวิชาอะไรบ้าง เมื่อได้รับตอบว่าได้รับศึกษาวิชาอย่างสุงสุดในโลก จึงไปขออนุญาตต่อบิดามารดาบวชเรียนบ้าง
ครั้นบวชเป็นสามเณรแล้ว ก็เล่าเรียนพระไตรปิฎกในสำนักพระโรหณเถระพออายุเต็ม ๒๐ ก็บวชเป็นพระภิกษุ ศึกษาต่อไปจนเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก เมื่อพระอัสสคุตรู้ว่า พระนาคเสนเชี่ยวชาญดีแล้ว จึงนำไปหาพระอายุปาลเถระ ที่สังเขยบริเวณ ( ใกล้พระราชวังพระเจ้ามิลินท์) เพื่อจะได้มีโอกาสถวายวิสัชนาพระราชปุจฉา
วันหนึ่งพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่า เห็นมีใครบ้างซึ่งพอจะโต้ตอบกับเราได้ เหล่าอำมาตย์จึงกราบทูลว่า มีพระเถระอยู่รูปหนึ่ง ชื่อว่าอายุปาละ พอจะถวายวิสัชนา แก้ปัญหาของพระองค์ได้ เมื่อทรงทราบดังนั้นก็เสด็จไปหาพระอายุปาลเถระตรัสถามปัญหาแรก พระอายุปาลเถระก็ถวาย วิสัชนาให้ทรงสิ้นสงสัยไม่ได้
ขณะนั้นเทวมันติยอำมาตย์จึงกราบทูลว่า ยังมีพระภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อว่านาคเสนเป็นผู้มีปฏิภาณแตกฉานในพระไตรปิฎก พอพระเจ้ามิลินท์ทรงได้ยินนามว่านาคเสน ก็ทรงหวาดพระราชหฤทัย เพราะว่า เมื่อครั้นศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้ามิลินท์บวชเป็นสามเณรอยู่ในสำนักของพระนาคเสน (ซึ่งในครั้นกระนั้น ท่านพระนาคเสนเป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง) วันหนึ่งพระภิกษุรูปนั้น ( คือพระนาคเสน) กวาดหยากเยื่อกองไว้แล้วเรียกให้สามเณรมาขน สามเณรแกล้งทำเป็นไม่ได้ยินเสีย ท่านจึงบันดาลโทสะหยิบเอาไม้กวาดตีสามเณรๆ ก็จำใจขน ครั้นขนเสร็จแล้วจึงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยผลบุญแห่งการขนหยากเยื่อทิ้งนี้ ชาติต่อไปขอให้มีเดชศักดานุภาพใหญ่หลวง และขอให้มีปัญญาเฉียบแหลมกว่าชนทั้งปวง พระภิกษุรูปนั้นรู้ว่าสามเณรตั้งสัตยาธิษฐานเช่นนั้น จึงปรารถนาบ้างว่า ด้วยเดชแห่งกุศลที่ข้าพเจ้าได้กวาดหยากเยื่อนี้ ชาติต่อไปขอให้มีปฏิภาณว่องไวสามารถโต้ตอบปัญหาแม้ของ สามเณรนี้ได้
เมื่อได้รู้จัก พระเจ้ามิลินท์ ไปบ้างแล้ว ก็สมควรที่จะได้รู้จัก พระนาคเสนเถระ ซึ่งเป็นผู้วิสัชนาปัญหาของพระเจ้ามิลินท์ และได้เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้ามิลินท์ ซึ่ง ในดินแดนที่เป็นอาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ ประกอบด้วยมณฑลเปษวาร์ (Peshawar) ลุ่มน้ำกาบุลตอนบน มณฑลปัญจาบ (Panjab)
มณฑลสินธ์ (Sindh)
มณฑลกาเธียวาร (Kathiawar)
และมณฑลอุตตรประเทศตะวันตก นั้น จะยังมีร่องรอย หรือหลักฐาน ตำนานที่เกี่ยวกับพระนาคเสนเถระ หลงเหลืออยู่หรือไม่นั้น ยังไม่มีการค้นพบแต่อย่างใด
?
แต่ในในดินแดนแถบถิ่นสุวรรณภูมิของเรา เรื่องราวของพระนาคเสนเถระ ปรากฏอยู่ใน
ตำนานพระแก้วมรกต ดังที่จะได้คัดลอกมามาให้ท่านทั้งหลายที่อาจจะยังไม่เคยได้รับรู้มาก่อน ได้ทราบพอเป็นสังเขป ดังนี้


         
ยังมีพระอรหันต์เจ้าองค์หนึ่งทรงนามว่า
พระมหานาคเสน
อันจบด้วยพระไตรปิฎก และมีปัญญาฉลาดลึกล้ำ รู้โวทนาแก้ปริศนาปัญหาทั้งปวง เป็นอาจารย์พระยามิลินทราช อยู่ที่ วัดอโสการาม ใน เมืองปาตลีบุตร เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงได้ ห้าร้อย พระวัสสา

         
พระมหานาคเสนพิจารณาเห็นว่า เราควรจะสร้างพระพุทธรูปเจ้าไว้ให้เป็นที่นมัสการแก่มนุษย์ และเทพ แต่จะสร้างด้วยเงินหรือทองคำให้มั่นคงถึงห้าพันพระวัสสานั้นหาได้ไม่ ควรจะสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วลูกประเสริฐ


         
สมเด็จพระอมรินทราธิราช คิดเห็นอัธยาศรัยแห่งพระมหานาคเสน จึงเสด็จมาพร้อมด้วยพระวิศณุกรรม เข้าไปไหว้พระมหานาคเสนแล้วว่า พระองค์จะช่วยสงเคราะห์ให้สมความปรารถนา โดยจะไปเอาแก้วอันมีในเขาเวบุลบรรพตมาถวาย แล้วพระองค์กับพระวิศณุกรรมก็ไปที่เขาเวบุลบรรพต เห็นคนธรรพ์และกุมภัณฑ์ทั้งปวง จึงได้ตรัสแก่เขาเหล่านั้นว่าจะมาขอเอาแก้วลูกประเสริฐไปถวายพระนาคเสนเจ้าเพื่อสร้าง แปลงเป็นพระพุทธรูป พวกเขาเหล่านั้นจึงกราบทูลว่า แก้วลูกประเสริฐที่พวกเขารักษาไว้นี้เป็นแก้วมณีโชติ อันเป็นของพระบรมจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ถ้าถวายแก้วนี้ไป ครั้นพระบรมจักรพรรดิราชาธิราชเจ้ามาเกิด พวกตนก็จะหาแก้วลูกประเสริฐมาถวายท่านมิได้ แต่ว่าพวกตนจะถวายแก้วมรกตลูกหนึ่ง มีรัศมีอันเขียวงามบริสุทธิ์แก่พระองค์


         
เมื่อพระองค์ได้แก้วมรกตมาแล้ว จึงนำไปถวายแก่พระมหานาคเสนเจ้า พระมหานาคเสนมาคำนึงในใจว่า เราจะได้ผู้ใดมาสร้างแปลงยังพระพุทธรูปเจ้าด้วยแก้วมรกตลูกนี้ พระวิศณุกรรมรู้อัธยาศรัยแห่งพระมหานาคเสนเจ้าแล้วจึง จำแลงแปลงกายเป็นมนุษย์ อาสาทำงานนี้ พระมหานาคเสนเจ้าก็ยินดีให้ทำ พระวิศณุกรรมจำแลงก็สร้างแปลงพระพุทธรูป ด้วยแก้วมรกตลูกนั้นอยู่เจ็ดวันก็สำเร็จการ แล้วจึงนิมิตเป็นมหาวิหารอันใหญ่ ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง มีแก้วเป็นประธาน ตั้งอยู่ในอโสการามนั้น ตั้งพระแก้วเหนือแท่นรัตนบัลลังก์กาญจน์ในท่ามกลางพระมหาวิหาร


         
พระมหานาคเสนเจ้าจึงนำพระบรมธาตุเจ้าเจ็ดพระองค์อันงามบริสุทธิ มีฉัพพรรณรังษีต่าง ๆ กัน ท่านจึงตั้งไว้ยังพานเงินเจ็ดพานซ้อนกัน ตั้งไว้ยังสุวรรณพานทองเจ็ดพานซ้อนกัน ตั้งยังพานแก้วเจ็ดพานซ้อนกันบนพานเงินพานทองนั้น แล้วจึงเชิญพระบรมธาตุเจ้าเจ็ดพระองค์นั้นใส่ลงในผอบแก้วลูกหนึ่ง อันวิจิตรงามมาก ยกผอบแก้วขึ้นประดิษฐานไว้บนพานเงินพานทอง พานแก้วนั้น พระบรมธาตุเจ้าเจ็ดพระองค์นั้นก็กระทำปาฏิหาริย์ เปล่งรัศมีหกประการ ให้รุ่งเรืองสว่างไปทั่วทิศทั้งสี่ ทิศทั้งแปด ก็ให้รุ่งขึ้นทั่วพื้นอากาศเวหาทั้งมวล


         
พระมหานาคเสนจึงตั้งสัตยาธิษฐานขออาราธนาเชิญพระบรมธาตุเจ้าเจ็ดพระองค์นั้น ให้เสด็จเข้าไปในพระองค์พระแก้วเจ้านั้น พระบรมธาตุพระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระโมฬี พระองค์หนึ่งเสด็จเข้าพระพักตร์ พระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระหัตถ์กำขวา พระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระหัตถ์กำซ้าย พระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในเข่าข้างขวา พระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในเข่าข้างซ้าย พระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระชงฆ์แห่งพระแก้วเจ้า


         
พระมหานาคเสนจึงเล็งอรหัตมรรคญาณไปแต่ข้างหน้านั้น จึงเห็นว่าพระแก้วนี้จะไม่ได้อยู่ในเมืองปาตลีบุตร ท่านจึงทำนายไว้ว่า พระแก้วเจ้าของเราองค์นี้ ท่านยังจะเสด็จไปโปรดสัตว์ในประเทศห้าแห่งคือ ลังกาทวีปเป็นกำโพชวิสัยแห่งหนึ่ง ศรีอยุธยาวิสัยแห่งหนึ่ง โยนกวิสัยแห่งหนึ่ง สุวรรณภูมิวิสัยแห่งหนึ่ง ปมหลวิสัยแห่งหนึ่ง



         
เมื่อได้อ่านเรื่องราวของ
พระนาคเสนเถระ ดังกล่าวข้างต้น แล้ว ช่างเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ ที่นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกกลับไม่เคยพบร่องรอย ของ พระนาคเสนเถระ หรือ แม้แต่ตำนาน นิทาน ที่เกี่ยวข้องกับ พระนาคเสนเถระ ทั้งในในดินแดนที่เป็น อาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ หรือในเมืองปาตลีบุต แคว้นมคธ ในประเทศอินเดียปัจจุบัน โดยเฉพาะ เหตุการณ์สำคัญคือ “
การสร้างพระแก้วมรกต
”
แต่ เรื่องราวทั้งหลาย กลับหลงเหลือ และแพร่หลาย ในดินแดนสุวรรณภูมิอันเป็นที่ตั้งของประเทศ ไทย ลาว และพม่าในปัจจุบัน และที่สำคัญที่สุด คือ ปัจจุบัน
“
องค์พระแก้วมรกต
”
ได้ประดิษฐานอยู่ในประเทศไทย


พระแก้วมรกต ตามประวัติสร้างโดยพระนาคเสน อาจารย์ของพระเจ้ามิลินท์
         
นอกจาก ตำนานพระแก้วมรกต นี้แล้ว เรื่องราวของพระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสน ยังปรากฏมีอยู่ใน
ตำนานพระธาตุเจดีย์ซาว จังหวัดลำปาง ซึ่งตามคัมภีร์ศาสนวงศ์ ที่พระปัญญาสามี แต่งไว้ ระบุว่า ในอดีตจังหวัดลำปาง คือ นครลำปางรัฐโยนก โดยในประวัติ พระธาตุเจดีย์ซาว กล่าวไว่ว่า


         

วัดนี้สร้างกันมาแต่โบราณแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด พ.ศ. เท่าใดแน่ ตามทางสันนิษฐาน ประกอบกับได้ขุดพบพระเครื่องสมัยหริภุญไชยที่องค์พระเจดีย์ เข้าใจกันว่าสร้างมาประมาณพันกว่าปีมาแล้ว


         
บริเวณวัดเจดีย์ซาว เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ เป็นที่รกชัฏเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุมบรรยากาศเงียบวังเวงน่าสะพรึงกลัว ชาวบ้านหากไม่มีกิจจำเป็นแล้วจะไม่ยอมเดินผ่านไปมาเลย ภายในวัดไม่มีเสนาสนะสิ่งก่อสร้างอื่นใดอยู่ในสภาพดี คงมีแต่กลุ่มพระเจดีย์อยู่ในหมู่ไม้อันรกชัฏ พร้อมกับเนินซากพระวิหารด้านเหนือและมีปะรำมุงด้วยหญ้าคาหลักเล็กๆ พอเป็นที่กำบังฝนชั่วคราวของชาวบ้านในถิ่นนั้น ทำขึ้นเพื่อประกอบกิจการกุศลในวันเพ็ญเดือน ๙ เหนือ

ภาพองค์พระธาตุเจดีย์ซาวหลัง วัดพระธาตุเจดีย์ซาวหลัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ต่อมาได้มีพระภิกษุชาวพม่ารูปหนึ่ง ชื่อ “ อูชะยันต่าเถระ ”
ซึ่งเล่าเรียนจบพระไตรปิฎกมาจากเมืองมัณฑเล ประเทศพม่า ท่านได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์พม่าให้มาทำการสอนพระบาลีคัมภีร์พระไตรปิฎก และสอนพระปาฏิโมกข์แห่งพระสงฆ์ชาวพม่าที่อยู่ในเมืองนครลำปาง และเพื่อศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวลานนาไทย ในการมาครั้งนั้นท่านได้คัดเอาตำนานวัดเจดีย์ซาวจากประเทศพม่าติดตัวมาด้วย ( สาเหตุที่ตำนานตกไปอยู่ที่ประเทศพม่า สันนิษฐานว่า สมัยก่อนหัวเมืองฝ่ายเหนือถูกพม่ารุกราน ทรัพย์สิ่งของต่างๆ ตลอดถึงของมีค่าจึงถูกรวบรวมไปยังประเทศพม่า )
สรุปความจากตำนานดังนี้ หลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วประมาณ ๕๐๐ ปี มีพระอรหันต์ ๒ รูป จาริกมาจากชมพูทวีปเพื่อประกาศพระศาสนา พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองได้จาริกผ่านสถานที่ต่างๆ เรื่อยมาจนถึงบริเวณที่ตั้งวัดพิจารณาเห็นว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่มีทำเลดี เหมาะสมกับสมณเพศ จึงได้ยึดถือเป็นที่พำนักจำพรรษาได้เผยแพร่ศีลธรรมเทศนาสั่งสอนผู้คนในถิ่นใกล้เคียง
ในกาลครั้งนั้น ยังมีพระยาองค์หนึ่งมีพระนามว่า “ พระยามิลินทร์ ”
ได้มาพบพระอรหันต์ไต่ถามปัญหาธรรมะข้อข้องใจในการประพฤติปฏิบัติ ในที่สุดปัญญา คือ ความรอบรู้ในเหตุและผลก็บังเกิดขึ้น พร้อมกันนั้นก็บังเกิดศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสในพระอรหันต์ทั้งสองเป็นที่สุด ได้ปวารณาตนเป็นศิษย์และมีพระประสงค์จะสร้างถาวรวัตถุขึ้น ณ ที่นั่น พระยามิลินทร์และเสนาอำมาตย์อัญเชิญพระเกศาธาตุ (เส้นผม) จำนวน ๒๐ เส้นของพระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองซึ่งบรรจุไว้ในผอบทองคำ ลงประดิษฐานในหลุมและให้ช่างก่อพระเจดีย์ครอบไว้จำนวน ๒๐ องค์
          เมื่อพระอูชะยันต่าเถระอ่านตำนานเจดีย์ซาวหลังให้ชาวพม่า และชาวบ้านฟังต่างก็มีจิตศรัทธาได้พร้อมใจกันออกค้นหาพระธาตุ ข่าวการค้นพบพระธาตุเจดีย์ซาวได้แพร่หลายไปสู่บรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไปในเมืองนครลำปาง และทราบไปถึงเจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิต ท่านทรงรับประธานพร้อมด้วยคหบดีราษฎรชาวไทย พม่า และไทยใหญ่ ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยลงเมื่อ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ แต่เป็นที่น่าเศร้าเสียใจสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วเมืองนครลำปาง คือในขณะที่กำลังบูรณะพระเจดีย์ เจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิต องค์ประธานในการบูรณะได้ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน ทายาทของเจ้าพ่อฯ ได้บูรณะพระเจดีย์ต่อจนเสร็จ และได้จัดงานฉลองสมโภชเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗







      
ลังกาทวีปอยู่ที่ไหนกันแน่
ทำไมต้องทำให้ความจริงกระจ่าง ก็เพราะเหตุว่า พระอรรถกถา ได้กล่าวว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จมายังลังกาทวีป เมื่อครั้งยังทรงมีพระชนม์อยู่ ถึง ๓ วาระ ดังนั้น การที่เกิดความเข้าใจผิดว่า ลังกาทวีป คือ ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน แล้ว ไปกล่าวตู่ว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปยัง “ ประเทศศรีลังกา ” จึงเป็นการบิดเบือน เป็นบาปอย่างยิ่ง โดยในเบื้องต้น จะขอยกอรรถกถา ที่กล่าวถึงการเสด็จไป ลังกาทวีป ของพระพุทธองค์ ดังนี้ ว่า
                  
ได้ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปสู่เกาะนี้ (เกาะลังกา) ถึง ๓ ครั้ง แม้ในคราวยังทรงพระชนม์อยู่ คือ คราวแรกเสด็จมาพระองค์เดียวเท่านั้น เพื่อทรมานยักษ์ ครั้นทรมานยักษ์แล้ว ทรงตั้งอารักขาที่เกาะตัมพปัณณิทวีป เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพพาแล้ว ศาสนาของเรา จักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้.
รั้งที่สอง เสด็จมาพระองค์เดียวเหมือนกัน เพื่อต้องการทรมาน พญานาคผู้เป็นลุงและหลานกัน ครั้นทรมานนาคเหล่านั้นแล้ว ได้เสด็จไป. ครั้งที่สาม เสด็จมามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ณ ที่ตั้งมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปารามเจดีย์ ที่ประดิษฐานต้นมหาโพธิ์ ที่ตั้งมุติงคณ-
เจดีย์ ที่ตั้งทีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้งกัลยาณิยเจดีย์.


          การประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปสมัยต่อมา เกิดขึ้นเมื่อวิชัยกุมารได้อพยพจากชมพูทวีป ไปสู่ลังกาทวีป ในวันปรินิพพานดับขันธ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีท้าวอมรินทราธิราช อารักขาไป ตามพุทธดำรัสตรัสสั่งไว้ โดยใน
คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งพระรัตนปัญญาเถระ ชาวล้านนา แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๖๐-๒๐๗๑ แปลโดย ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร เปรียญ จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ มีความตอนหนึ่งว่า


         พระผู้มีพระภาค ทรงจำพรรษามาโดยลำดับ กระทั่งออกพรรษาครั้งสุด ทรงมีพระสติสัมปชัญญะปลงพระชนมายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ว่า นับจากวันเพ็ญเดือนมาฆพระจันทร์ประกอบด้วยมาฆฤกษ์นี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน ครั้นต่อจากนั้นมาอีก ๓ เดือน วันนั้นกำลังเป็นวันเพ็ญเดือนวิสาข พระจันทร์ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ พระพุทธทรงบรรทมบนพระแท่นมหาปรินิพพาน ในสาลวันของมัลลกษัตริย์ทั้งหลายเมืองกุสินารา ตรัสกับท้าวสักกะผู้เป็นราชาของเทวดาว่า
มหาบพิตร พระราชบุตรของพระเจ้าสีหพาหุ ทรงพระนามว่า วิชัยกุมารห้อมล้อมด้วยชายฉกรรจ์ ๗๐๐ คน เสด็จไปลังกาทวีปในวันนี้ ขอให้มหาบพิตรจงอภิบาลรักษาวิชัยกุมารกับบริวารและลังกาทวีปไปด้วย เพราะต่อไปศาสนาของตถาคต จักตั้งมั่นอยู่ที่ลังกาทวีปนั้น


          กาลล่วงไปนับแต่พุทธปรินิพานได้ ๒๓๖ ปี พระพุทธศาสนาอันสังคายนาให้บริสุทธิ์แล้ว ก็ได้แผ่กระจายไปสู่ลังกาทวีปอีกวาระหนึ่ง โดยความอุปถัมภ์ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่นาม “ อโศกมหาราช ”
โดยมีพระมหินท์ เป็นหัวหน้าคณะ มีพระอินทร์ร่วมไปด้วย ตามคำสั่งขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่เมื่อครั้งประทับอยู่โคนศรีมหาโพธิ์ สมดังคำในอรรถกถาว่า

เวลานั้น ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพ เสด็จเข้าไปหาพระมหินท-
เถระ แล้วได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ! พระเจ้ามุฏสีวะ สวรรคต แล้ว , บัดนี้ พระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราชเสวยราชย์แล้ว ,
และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงพยากรณ์องค์ท่านไว้แล้วว่า ในอนาคต ภิกษุชื่อ มหินท์ จักยังชาว
เกาะตัมพปัณณิทวีปให้เลื่อมใส ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ!
เพราะเหตุดังนั้นแล เป็นกาลสมควรที่ท่านจะไปยังเกาะอันประเสริฐแล้ว แม้
กระผม ก็จักร่วมเป็นเพื่อนท่านด้วย. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจึงได้ตรัสอย่างนั้น ?
      แก้ว่า เพราะได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงตรวจดูโลกด้วย
พุทธจักษุ ที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง ได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัติแห่งเกาะ นี้ในอนาคต จึงได้ตรัสบอกความนั่นแก่ท้าวสักกะนั้น และทรงสั่งบังคับไว้ ด้วยว่า
“ ในเวลานั้น ถึงบพิตรก็ควรร่วมเป็นสหายด้วย ” ดังนี้ ฉะนั้น ท้าวสักกะ
จึงได้ตรัสอย่างนั้น.

ประเทศศรีลังกา ได้สร้างประวัติศาสตร์ของประเทศย้อนไปถึงยุคโบราณได้อย่างไร?

คำตอบก็คือ อ้างอิงจากคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งเป็นพงศาวดารลังกา แต่จะมีใครรู้บ้างมั๊ยว่า แต่เดิมนั้น ไม่ปรากฏมี คัมภีร์มหาวงศ์ อยู่เลยในแผ่นดินศรีลังกา ทั้งที่คัมภีร์นี้แต่งโดยพระมหาเถระชาวสีหล จนกระทั่ง สมัยกรุงศรีอยุธยา ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ ที่พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะ กษัตริย์ศรีลังกาได้ส่งคณะทูตมาขอคณะสงฆ์ไปจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อไปอุปสมบทให้แก่ชาวสิงหฬ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๕ โดยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐได้อาราธนาพระอุบาลี ๑ พระอริยะมุนี ๑ พระสงฆ์อันดับ ๑๕ รวม ๑๗ รูป พร้อมทั้งอัญเชิญพระมณฑปพระพุทธรูป หีบพระธรรม และพระราชสาส์น ไปยังกรุงศิริวัฒนบุรี ประเทศศรีลังกา จนกระทั่ง ผ่านไปอีก ๓ ปี ทางฝ่ายกรุงศรีอยุธยาได้อาราธนาพระวิสุทธาจารย์ พระวรญาณมุนี เดินทางไปผลัดให้พระสงฆ์ที่ไปก่อนกลับมายังกรุงศรีอยุธยา จึงได้มีการนำ “ คัมภีร์มหาวงศ์ ” ไปประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๙
ดังปรากฏหลักฐานในศุภอักษรอัครมหาเสนาบดีกรุงศรีอยุธยาที่มีไปยังอัครเสนาบดีกรุงศิริวัฒนบุรี ต้นฉบับเดิมเขียนบนกระดาษสา ด้วยอักษรขอเป็นภาษามคธ แปลโดย พระปริยัติธรรมธาดา
( แพ ตาละลักษณ์ เปรียญ) ซึ่งจะขอคัดลอกมาแต่เฉพาะตอนที่กล่าวถึงการส่งคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ไปศิริวัฒนบุรี ดังนี้ว่า

อีกประการหนึ่งเราได้ทราบศุภอักษรที่ท่านส่งมาความว่า ปกรณ์ คือพระธรรมวินัยเป็นต้น ในลังกาทวีปหามีไม่ ปรากฏในสมณเลขาว่า ปรารถนาจะใคร่ได้ประดิษฐานไว้ในเกาะลังกา แลขอปกรณ์พระธรรมวินัยอื่นๆ ที่ไม่มีนั้น เราได้ยกอัญชลีเหนือเกล้าฯ ถวายบังคมกราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมบรมราชาธิราชผู้สูงสุดแล้ว จึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมบรมมหาราชเจ้า ทรงพระปิติโสมนัสดำรัสให้พระราชทาน
ปกรณ์ ๙๗ คัมภีร์เพื่อจะได้ประดิษฐานไว้ในเกาะลังกา คือ พระสุมังคลวิลาสินี ๔ คัมภีร์ พระอัฏฐกถาสุตตปิฎก ๑ คัมภีร์ พระปฐมสมันตปาสาทิกาทิ ๕ คัมภีร์ พระวินยัฏฐกถาปิฎก ๑ คัมภีร์ พระโมคคัลานปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระอัฏฐกถาวินยัฏฐสฎีกา ๑ คัมภีร์ พระวิมติวิโนทนี ๑ คัมภีร์ พระรูปสิทธิ ๑ คัมภีร์ พระพาลปโพธิสฎีกา ๑ คัมภีร์ พระพาลาวตารสฎีกา ๑ คัมภีร์ พระสัททสารสฎีกา ๑ คัมภีร์ พระสัททพินทุปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระกัจจายนนาฏฐปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระสัมปิณฑมหาปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระทวิวิมานวัตถุปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระทวิเปตวัตถุปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระจักกวาฬทีปนีปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระโสตัพพมาลินีปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระโสฬสกีมหานิทาน ๑ คัมภีร์พระโลกทีปก ๑ คัมภีร์พระโลกวินาศ ๑ คัมภีร์ พระชมพูบดีสูตร ๑ คัมภีร์ พระเถรคาถาพระเถรีคาถาปกรณ์ ๑ คัมภีร์พระอนุฎีกาสังคหทวิปกรณ์ ๑ คัมภีร์ มหาวังสปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระมังคลทีปนีปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระมัชฌิมนิกายทวิปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระปปัญจสูทนีอัตถกถามัชฌิมนิกายทวิปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระอังคุตตรนิกายมโนรถปุรณีทวิปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระสัมโมหวิโนทนีอัตถกถาวิภังคทวิปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระวชิรพุทธฎีกาปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระเนตติปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระจุลลวัคค ๑ คัมภีร์พระมหาวัคค ๑ คัมภีร์ พระปริวาร ๑ คัมภีร์ พระอัตถกถามาติกาปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระวินัยวินิจฉัย ๑ คัมภีร์ พระฎีกาสังคหะ ๑ คัมภีร์ พระอนุฎีกาสังคหะ ๑ คัมภีร์ พระวิภังค์ปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระธุตังค ๑ คัมภีร์ พระกังขาวิตรณีทวิปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระปัญจปกรณ์อัตถกถาปรมัตถทีปนี ๑ คัมภีร์ พระสุมังคลวิลาสินีอัตถกถาทีฆนิกาย ๑ คัมภีร์ พระสีลขันธวัค ๑ คัมภีร์ พระมหาวัคค ๑ คัมภีร์ พระปาติกฎีกา ๑ คัมภีร์ พระปรมัตถวินิจฉัย ๑ คัมภีร์ พระสัจจสังเขป ๑ คัมภีร์ พระปรมัตถทีปนีสังเขปฎีกาสัจจสังเขป ๑ คัมภีร์ พระปรมัตถมัญชุสาฎีกาวิสุทธิมัคค ๑ คัมภีร์ พระฎีกาปรมัตถวินิจฉัย ๑ คัมภีร์ พระปรมัตถทีปนี ๑ คัมภีร์ พระฎีกาขุททกสิกขา ๑ คัมภีร์ พระอัตถกถาเถรคาถา ๑ คัมภีร์ พระสารัตถชาลินี ๑ คัมภีร์ พระฎีกาเปตวัตถุ ๑ คัมภีร์ พระฎีกาสุตตนิบาต ๑ คัมภีร์ พระฎีกาจริยาปิฎก ๑ คัมภีร์ พระฎีกาเนตติปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระอัตถกถาปฏิสัมภิทามัคค ๑ คัมภีร์ พระฎีกาอิติวุตตก ๑ คัมภีร์ พระอัตถกถาอุทาน ๑ คัมภีร์ พระอัตถกถาจูลนิเทศ ๑ คัมภีร์ พระบาลีพุทธวงศ์ ๑ คัมภีร์ พระฎีกาพุทธวงศ์ ๑ คัมภีร์ พระบาลีอนาคตวงศ์ ๑ คัมภีร์ พระอัตถกถาอนาคตวงศ์ ๑ คัมภีร์พระฎีกาอนาคตวงศ์ ๑ คัมภีร์ พระฎีกามิลินทปัญหา ๑ คัมภีร์ พระฎีกามธุรสวาหินี ๑ คัมภีร์ พระฎีกาวินิจฉัย ๑ คัมภีร์ พระยมกปกรณ์ทวิปกรณ์ ๑ คัมภีร์ พระพุทธสิหิงคนิทาน ๑ คัมภีร์


         
เมื่อพระเจ้าพระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะ ได้สำเนาคัมภีร์มหาวงศ์ไปจากกรุงศรีอยุธยา จึงมีรับสั่งให้แต่งเรื่องมหาวงศ์ต่อลงมาอีกตอนหนึ่ง ต่อจากที่พระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราช ซึ่งได้ปกครองลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๑๖๙๖ ได้รับสั่งให้แต่งไว้ตอนหนึ่งต่อจากที่พระมหานามแต่งไว้ครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. ๑๐๐๒ ถึง พ.ศ. ๑๐๒๐ ต่อมา คัมภีร์มหาวงศ์นี้ ถูกแปลเป็นภาษาไทย เมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๕๘ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๙ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ แต่ไม่รู้ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือย้อนไปถึงสมัยสุโขทัย คัมภีร์มหาวงศ์ซึ่งเป็นภาษามคธนั้น จะมีการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยอยู่ก่อนแล้วหรือไม่


พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ

วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นอกจากที่ชาวศรีลังกา ในสมัยพระเจ้าเกียรติศิริสิงหะนั้น จะไม่รู้เรื่องราวประวัติความเป็นมาของลังกาทวีป ที่ปรากฏในคัมภีร์มหาวงศ์มาก่อนแล้ว ชาวศรีลังกาในสมัยนั้น ยังไม่รู้จัก พระพุทธสิหิงค์ ที่ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสร้างที่ ลังกาทวีป และพระพุทธรูปปางทรงเครื่องจักรพรรดิ์อีก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงได้ประทาน พระพุทธสิหิงคนิทาน และพระชมพูบดีสูตร ส่งไปให้พระเจ้ากรุงศิริวัฒนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๙ ดังปรากฏหลักฐานในศุภอักษรอัครมหาเสนาบดีกรุงศรีอยุธยาที่มีไปยังอัครเสนาบดีกรุงศิริวัฒนบุรี ตอนหนึ่งว่า
๓๘ ตโย ทูตา จ สอุณฺหิสํ พุทฺธพิมฺพํ ๓๘ ทูตทั้ง ๓ นาย ได้เห็น
นิกฺขสุวณฺณมยํ ตสฺส ปฏิรูปกํ ทิสฺวาพระพุทธพิมพ์สุวรรณมัย เนื้อนิกข
นวรตนมณฺฑิตํ มณิมุตฺตาเวฬุริยาทิกํทรงอุณหิสสวมไว้ ประดับนพรัตน
มหคฺฆํ สุนฺทรมณฺฑเป สุสณฺฐิตํประดิษฐานอยู่ในมณฑป งามล้วน
นานาชาตรูปรชตมยขจิตฺตํ ทิสฺวา ของมีค่ามาก คือมณีมุกดาไพฑูรย์
อญฺญํ พุทฺธรูปญฺจ หทเยน สํสยมานา เป็นต้น ได้เห็นพระพุทธรูปอื่น ๆ อีก
ตํ พุทฺธพิมฺพํ นวรตนมณฺฑิตํ เอวรูปเมว อันขจิตรงามล้วนทองเงินต่าง ๆ
ลงฺกายํ น โหเตว ตสฺมา อยํ พุทฺธพิมฺโพหากมีใจสงสัยว่า
พระพุทธพิมพ์ อวรูโป ปฏิมณฺฑิโต เทวปุตฺตสทิโส 

ประดับนพรัตนอย่างนี้ ในลังกา อโหสีติ มาพฺรวุ ไม่เคยมีเลย เพราะเหตุนั้น พระพุทธพิมพ์ประดับงามอย่างนี้ พากันพูดว่าเหมือนเทวรูปดังนี้เลย
๓๙ โส ราชาธิราชุตฺตโม ราชกิจฺจํ ๓๙ พระเจ้าราชาธิราชผู้อุดมนั้น อภิกุสลํ วิตถํ พุทฺธวจเนน นานุกเรยฺย หาทรงทำพระราชกิจอันเป็นพระกุศล
พุทฺธพิมฺโพ มกุฎจุมฺพิโต อีทิโสวยวดยิ่ง ให้ผิดคลองพระพุทธพจน์ไม่ มหาชมฺพูปติวตฺถุมฺหิ ปากโฏติ วตฺวา พระพุทธพิมพ์ที่ทรงมงกุฎเช่นนี้
ตํ นิทานํ ปากฏํ วาเจนฺโต ราชปุริโสเอวได้มีปรากฏในมหาชมพูบดีวัตถุ
ตํ เอวมาห เหตุนั้น ราชบุรุษผู้เล่าเรียนนิทานนั้น ชัดเจน บอกเล่ามีมาอย่างนี้แท้จริง๔๐ ชมฺพูปติวตฺถุ เปสมานามฺหเส
         
๔๐ เราได้ส่งชมพูบดีวัตถุมาให้ท่าน

ลงฺกาทีเป สาสิตุ พฺราหฺมณานํ
         
อัครมหาเสนาบดีลังกา เพื่อได้สั่งสอน

อคฺคมหาเสนาปติ ลงฺกายํ ลงฺกาทีป
         
พราหมณ์ทั้งหลายในเกาะลังกา แล้ว

ทุตฺตมราชสฺส ตํ อาโรจยิตฺวา อิมํ วตฺถุ ขอให้ทูลเรื่องนั้นแก่พระเจ้าอุดมมหาราช
เปเสนฺโต สงฺฆวรนาย กุตฺตมสฺส ลังกาทวีปด้วย เมื่อเริ่มจะส่งวัตถุชมพูบดี                  
วิจาเรตฺวา วิมติหรณตฺถาย สพฺเพสํนมา ได้ถวายพระสังฆวรนายกอุดม
พฺราหฺมณานญฺจ ลงฺกินฺทํ ตํ พุทฺธพิมฺพํให้พิจารณาแล้ว เพื่อที่จะได้ถอนวิมัติ
สพฺพนวรตนปฏิมณฺฑิตํ เอทิสํ กาเรสิ ของพราหมณ์ทั้งหลาย ขอให้พระเจ้า

กุสลํ ภิยฺโยกาวาย ลงฺกาทีเป กรุงลังกา ทรงสร้างพระพุทธรูป
สิริวฑฺฒนปุรีวิชิเตติ ทรงเครื่อง เหมือนอย่างกรุงเทพมหานคร
สร้างประดับเนาวรัตนล้วนเถิดพระราชกุศลจะได้เจริญยิ่ง ๆ
ในกรุงศิริวัฒนบุรี ตลอดแว่นแคว้น ในลังกาทวีป
          ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าโดยปรกติแล้วเรามีความเชื่อว่า ประเทศไทยรับอิทธิพลพระพุทธศาสนามาจากลังกาทวีป ดังนั้นการมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ จึงน่าจะมีเรื่องราวสอดคล้องกับลัทธิความเชื่อจากลังกาทวีปอยู่บ้าง แต่ทว่าพระพุทธรูปทรงเครื่องเช่นนี้กลับไม่มีเรื่องราวปรากฏในลังกาทวีปเลย ดังที่ราชทูตลังกาสงสัย จึงชวนให้น่าคิดว่า
ประเทศศรีลังกาในปัจจุบันอาจจะไม่ใช่ ลังกาทวีป ในสมัยพุทธกาล ก็เป็นได้





         
พูดถึงร่อยรอยและการหลงเหลือ ทำให้นึกถึงว่า ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลังกาทวีป แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือร่องรอยในประเทศศรีลังกาอยู่เลย หรืออาจจะเป็นเพราะในคราวที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐพระราชทานคัมภีร์ปกรณ์ไปถวายพระเจ้าเกียรติศิริสิงหะนั้น ไม่ได้พระราชทาน
คัมภีร์พระมาลัย ไปด้วย คนศรีลังกาจึงไม่รู้จัก พระมาลัย
พระอินทร์ และพระศรีอาริยเมตไตรยเทพบุตร สนทนาธรรมกับพระมาลัย

ที่ พระจุฬามุนีเจดีย์ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เรื่องพระมาลัย       
มีเนื้อเรื่องย่อว่า กาลครั้งหนึ่งพระภิกษุนามว่าพระมาลัยเทพเถร อยู่ที่บ้านกัมโพชโรหณชนบท ประเทศลังกา เป็นพระเถระผู้มีฤทธิ์และฌานเทียบได้กับพระโมคคัลลาน์เถระ ได้เหาะไปในยมโลกโปรดสัตว์นรก ในขุมนรกต่างๆ และเปรตในเปตภูมิ พร้อมทั้งนำข่าวสารของสัตว์นรกและเปรตที่สั่งความถึงญาติพี่น้องมาบอกแก่ญาติของเขาในเมืองมนุษย์ เพื่อจะได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติของตนให้พ้นจากนรก ทั้งสั่งสอนให้คนทั้งหลายให้ละจากการทำบาปที่จะทำให้ตกนรก อาทิ ผู้ใช้พระเณรกระทำการที่ผิดพระวินัย หรือพระเถรที่ทำผิดวินัย จะตกนรกโลหะกุมภี ถูกต้มเคี่ยวในหม้อเหล็กที่ร้อนเดือดพล่าน ผู้ทำร้าย พ่อแม่ผู้มีพระคุณจะตกนรกที่มีกงจักรพัดอยู่บนหัว หญิงชายคบชู้จะตกนรกต้นงิ้วที่มีหนามแหลมยาว ผู้โลภฉ้อโกงที่ดินคนอื่น จะตกนรกที่พื้นเป็นแผ่นเหล็กร้อนแดง ผู้เมาสุราจะตกนรกที่มียมบาลคอยเอาน้ำเดือดกรอกปาก เป็นต้น

จากนั้นพระมาลัยเทพเถระได้เหาะไปเทวโลกเพื่อนำดอกบัวที่ชายตัดฟืนถวาย ไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนดาวดึงส์สวรรค์ ได้พบกับพระอินทร์สนทนาถึงกุศลผลบุญของเทพบุตรและเทพธิดาบนสวรรค์ อาทิ ให้ทานอาหารแก่สัตว์ แก่มนุษย์ แก่ผู้ทรงศีล ฯลฯ รักษาศีล ฟังธรรม เป็นต้น ได้พบกับพระศรีอริยเมตไตรโพธิสัตว์ ผู้เสด็จมาบูชาพระจุฬามณีเจดีย์ ได้สนทนากับพระโพธิสัตว์ถึง การบำเพ็ญบารมีของ พระโพธิสัตว์ด้วยประการต่าง ๆ เป็นระยะเวลาถึง ๑๖ อสงไชย แสนกัปป์ เพื่อจะเสด็จตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป ผู้ที่ประสงค์จะเกิดในศาสนาพระศรีอาริยะ จะต้องหมั่นทำบุญให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม ฟังเทศน์มหาชาติ ให้จบภายในวันเดียว บูชากัณฑ์เทศน์ ด้วยเครื่องบูชา สิ่งละพัน เมื่อทำกุศลทุกครั้งให้ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อเกิดในศาสนาของพระองค์ ในช่วงศาสนกาล ของพระศรีอาริย์นั้น มนุษย์ทุกคนจะมีรูปร่างหน้าตางดงามเหมือนกับอายุ ๑๖ ปี ไม่มีการแก่ชรา ไม่ต้องเหนื่อยยากทำมาหากิน จะมีต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นไม้สารพัดนึก อยู่ ๔ มุมเมือง บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์เจริญรุ่งเรือง ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พระมาลัยเทพเถระได้นำข้อความด้งกล่าวมาเล่าให้ชาวโลกฟังทุกประการ มนุษย์ทั้งหลายฟังแล้วชื่นชมยินดี พากันทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม ครั้นตายแล้วได้บังเกิดบนสวรรค์ เนืองแน่นไปทั้งหกชั้น ของฉกามาพจรสวรรค์ ส่วนชายตัดฟืนผู้ถวายดอกบัวได้ไปเกิดเป็นเทพบุตร อยู่ในวิมานแก้วที่เต็มไปด้วยดอกบัวส่งกลิ่นหอมขจรไปทั้งสวรรค์ พระมาลัยเทพเถรโปรดสัตว์ทั่วโลกอยู่จนถึงอายุขัยจึงเข้าสู่นิพพาน
เหตุหนึ่งที่เรื่องพระมาลัยยังคงมีการสืบต่อ รักษากันมาในประเทศไทยนี้ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ก็เป็นเพราะความฉลาด หลักแหลมของคนโบราณ ที่ให้มีการสวดพระมาลัย ในงานพิธีกรรมทางศาสนา เรื่อง
การสวดพระมาลัย นี้แต่เดิมเราเชื่อกันว่าเอาเรื่องมาจากลังกา แต่ อาจารย์สุภาพรรณ ณ บางช้าง ได้ศึกษาพบว่า ไม่ได้เอามาจากลังกาแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นในเมืองไทย และเชื่อว่าเอามาจาก มารายกะ ของพม่าเป็นเค้าเรื่อง ในประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ก็มีจารึกที่พม่าจารึกว่ามีการสวดพระมาลัยกัน เมื่อเข้ามาแล้วคนไทยก็ได้เอามาแต่งขยายเพิ่มเติมคัมภีร์เดิมให้เข้าใจได้ชัดเจนง่ายขึ้นเป็นฎีกามาลัยที่เราได้ยินกัน จากนั้นฎีกามาลัยก็กลายมาเป็นพระมาลัยกลอนสวด พระมาลัยคำหลวง การสวดจะสวดในลักษณะเป็นงานมงคล งานทางศาสนาหรือว่างานอวมงคล และการสวดพระมาลัยจะแพร่หลายอยู่ในทุกภาค แต่จำแนกเป็น ๒ สายใหญ่ๆ สายของภาคเหนือและภาคอีสาน จะสวดควบคู่ไปกับประเพณีเทศน์มหาชาติ งานบุญพระเวส งานบุญเดือนยี่ของชาวอีสาน ภาคกลางกับภาคใต้ จะสวดในงานศพ คือแต่เดิมจะสวดพระมาลัยกันในพิธีแต่งงาน ต่อมาภายหลังก็เริ่มเลื่อนมาสวดในงานศพ แต่เดิมพระสงฆ์จะเป็นผู้สวด ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นฆราวาสเป็นผู้สวด วิธีการสวดในภาคกลางและภาคใต้จะเหมือนกัน โดยเขาจะมีหนังสือสวดพระมาลัยที่อยู่ในหีบพระอภิธรรม

นอกจากคัมภีร์พระมาลัย ที่จารหรือเขียนด้วยตัวหนังสือขอมแล้ว ยังมีฉบับภาษาไทยที่แต่งเป็น กาพย์ ฉันท์ โคลง กลอน ดังจะขอยกวรรณกรรมท้องถิ่นเมืองพัทลุง
เรื่องพระมาลัย ต้นฉบับเป็นหนังสือบุดขาวจารอักษรด้วยหมึกดำ แต่งแต่ปีใดไม่ปรากฏ ประพันธ์ในรูปกาพย์และฉันท์ ซึ่งถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนของชาวพัทลุง โดยจะขอคัดลอกมาเฉพาะตอนที่พระศรีอาริยเมตไตรยสั่งให้พระมาลัยไปบอกชาวชมพูทวีปว่า ผู้ใดต้องการเกิดทันศาสนาของพระองค์ให้ปฏิบัติตน ดังนี้

มื่อนั้นพระสีอาน  ฟังองกานก็เต็มใจ
จึงตรัดว่าพระมาไลย  ผู้เป็นเจ้ากล่าวเพราะดี
จึงสั่งพระมาไลย ท่านจะไปในโลกี
จงท่านเอาคดี  ดังนี้บอกแก่ฝูงชน
ว่าพระโพทิสัด  ผู้จะตรัดเป็นทศพน
ได้ยินว่าฝูงคน ทำกุสนสร้างสมภาน
ทำแล้วปราถหนา จะขอพบพระสีอาน
ได้ยินบ่อหมินาน พระหฤาไทยก็ยินดี
ท่านตรัดสั่งให้รู้ ว่าผู้ใดในโลกี
จะใคร่พบพระไมตรี พระสีอานผู้มีคุน
ให้หญิงชายทั้งหลาย เร่งขวนขวายก่อทำบุน
ให้จำสินทานทุกคน ให้ฟังธรรมไหว้พระสงฆ์
ผู้ใดจะขอพบ ประสบเจ้าหน่อพุทธอง
ให้ผู้นั้นเร่งบันจง ทำบุนแล้วให้แผ่ผน
อย่าได้ทำร้ายกาด อย่าประมาทลืมกุสน
อย่าทำเป็นสนล่อวน ให้ผิดของผองใจกัน
ถ้าผู้ใดจะใคร่พบ จะขอพบเจ้าจอมทัม
อย่าทำบาปอันฉกัน คือปานาทิปาตา
ถ้าผู้ใดจะใคร่ทัน เมื่อท่านได้เป็นศาสดา
อย่าลักทรับท่านมา เอามาไว้เป็นของตน
ถ้าผู้ใดจะใคร่พบ ขอประสบหน่อทศพน
อย่าทำเป็นสนละวน ด้วยเมียท่านบ่อมิเป็นการ
ถ้าผู้ใดจะใคร่ทัน ศาสนาพระสีอาน
อย่ากินเล้าสุราบาน ผู้กินเล้ามิทันพระเลย
ถ้าผู้ใดใคร่จะทัน มื่อเทอเป็นพระชมเชย
ฝูงคนทั้งหลายเอ้ย อย่าได้กล่าวมุดสาวาทา
ถ้าผู้ใดจะใคร่เห็น หน่อทศพนสร้อยพระศาสดา

ให้จำสินภาวะนา ทรงทุดงกัมะถาร
ถ้าผู้ใดจะใคร่เห็น สมเด็จองพระสีอาน
ให้ตั้งใจชื่นบาน ฟังนิทานพระเวดสันดอน
ถ้าท่านผู้ใดจะใคร่ไว้ เมื่อท่านได้เป็นพระบอวอน
ให้ฟังนิทานพระเวดสันดอน ในวันเดียวจบทั้งนั้น
ฟังบาลีพระเทศหนา ฟังคาถาถ้วนทั้งพัน
เข้าแลขนมนั้น ทุกสิ่งพันจงมากมาย
ฉัดทงเพดานกั้น รูปภาพนั้นผูกแขวนสาย
ประทีปทูพเทียนถวาย ดอกไม้เพลิงเรืองรัศหมี
ดอกบัวหลวงดอกบัวขาว ดอกสามหาวจงกละนี
ดอกอุบนอันขาวสี นีลบนดอกมลทา
ดอกกระบุดขาวไสยสุด ดอกลัดปุดแดงรจนา
สิ่งละพันถวายบูชา มหาชาดเวดสันดอน
ฟังแล้วประนิบัด ทำตามอัดพระสั่งสอน
มหาชาดพระเวดสันดอน ถ้วนคาถาแลบาลี
ผู้ใดทำดังนี้จบ จึงจะพบพานด้วยดี
จึงจะเห็นพระไมตรี เมื่อเป็นพระพ้นประมาณ
ซึ่งจากข้อสังเกต ดังได้กล่าวมาแล้ว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยได้ว่า
ประเทศศรีลังกา ไม่น่าจะใช่ ลังกาทวีป ในสมัยพุทธกาล ต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้าอโศก ต่อมาจนถึงสมัยพระเจ้ามหานาม ที่พระพุทธโฆษาจารย์ออกไปแปลอรรถกถาจากภาษาสีหลเป็นภาษามคธ และพระภิกษุฟาเหียนเดินทางไปพำนักที่ลังกาทวีปก่อนกลับเมืองจีน หรือไม่
?
ดังนั้น เราจึงต้องศึกษา ค้นคว้า เพื่อที่จะพิสูจน์ให้ได้ว่า
ลังกาทวีป อยู่ที่ไหนกันแน่?

     ความสัมพันธ์ระหว่าง ดินแดนแถบสุวรรณภูมิ กับลังกาทวีป ในบันทึก ตำนาน พงศาวดาร มีกล่าวไว้หลายยุคหลายสมัย แต่นักวิชาการอาจจะไม่ยอมรับว่า นี่คือประวิติศาสตร์ ตัวอย่าง เช่น ตำนานการสร้างพระบาง ซึ่งปัจจุบันนี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศลาว ซึ่งเป็นเรื่องพิสดาร กล่าวคือ ขัดกับ สิ่งที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบอกสอนมาโดยตลอดว่า
ในอินเดียโบราณ ไม่มีการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้า จนกระทั่ง ได้รับอิทธิพลจากพวกกรีก จึงเริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ในสมัยคันธาราษฎร์ ราว พ.ศ. ๖๐๐ กว่าแล้ว ซึ่ง สมเด็จกรมพระดำรงราชานุภาพ ก็อนุโลมเชื่อตามนั้น และจนถึงวันนี้ คนส่วนใหญ่ก็เชื่อตามนั้น ทำให้ ประวัติของการสร้างพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรพชน บันทึกเอาไว้ ตามพงศาวดาร ตำนาน กลายเป็นเรื่องโกหกหลอกลวงไป




ต่อครับต่อ

      
ขอกลับมา เรื่อง
ตำนานพระบาง ที่ปรากฏอยู่ใน “
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕
”
รวบรวมโดย กรมศิลปากร ตอน “
พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน
”
ซึ่งจะขอคัดลอกมาแต่พอเป็นสังเขป ดังนี้



พระบาง ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ที่ประเทศลาว
[/SIZE][/COLOR]
แต่ครั้งศักราช ๒๓๖ พระวัสสา มีพระอรหันต์ชื่อว่าพระจุลนาคเถระอยู่ในเมืองลังกาทวีป ประกอบด้วยพระไตรปิฎก คิดจะให้พระศาสนารุ่งเรืองไปตราบเท่าถ้วนถึง ๕,
๐๐๐ พระวัสสา พระองค์จึงพิเคราะห์ด้วยเหตุจะสร้างรูปพระปฏิมากร จึงให้คนไปป่าวร้องชาวเมืองลังกาทวีปให้มาพร้อมกันแล้ว ให้ช่างปั้นรูปพระพุทธเจ้ายกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นห้าม เมื่อพระยากบิลพัสดุ์ พระยาโกลียยกพลไพร่มารบกันริมน้ำโรหิณี ครั้นปั้นเสร็จแล้ว คนทั้งหลายก็เอาเงินและทองคำ ทองแดง ทองเหลืองมาให้พระจุลนาคเถระหล่อรูปพระปฏิมากร แล้วชาวเมืองลังกาก็หากันทำสักการบูชาต่างๆ พระจุลนาคเถระพระยาลังกาพร้อมใจกันยกเอารูปพระปฏิมาตั้งไว้ในปราสาทขนานนามตั้งว่าพระบาง แล้วพระจุลนาคเถระจึงเชิญพระบรมธาตุ ๕ พระองค์ ใส่ผอบแก้วขึ้นตั้งไว้บนอาสนะทองตรงพระพักตร์พระบางอธิษฐานว่า พระบางองค์นี้จะได้เป็นที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดามนุษย์ทั้งหลายถาวรสืบไปถึง ๕
,
๐๐๐ พระวัสสา ก็ขอให้พระบรมธาตุ ๕ พระองค์เสด็จเข้าสถิตในรูปพระบางนั้น แล้วพระบรมธาตุเสด็จเข้าที่พระนลาฏองค์ ๑ อยู่ที่พระหณุองค์ ๑ อยู่ที่พระอุระองค์ ๑ อยู่พระหัตถ์เบื้องขวาองค์ ๑ อยู่พระหัตถ์เบื้องซ้ายองค์ ๑ แล้วพระบางก็ทำปาฏิหาริย์มหัศจรรย์ต่างๆ ได้มีการสมโภช ๗ วัน ๗ คืน
ครั้นพระศาสนาล่วงมาถึง ๔๑๘ พระวัสสา พระยาสุบินราชได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเมืองลังกาทวีป
พระยาศรีจุลราชได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเมืองอินทปัตนคร มีความเสน่หารักใคร่แก่กัน พระยาศรีจุลราชจึงแต่งราชทูตถือพระราชสาสน์ลงสำเภาไปยังลังกาทวีป ขอเชิญพระบางมาทำการสักการบูชา พระยาสุบินราชจึงเชิญพระบางมอบให้ราชทูตไปยังเมืองอินทปัตนคร แล้วเจ้าเมืองอินทปัตนครแห่พระบางขึ้นไว้ในพระวิหารกลางเมือง มีการสมโภช ๗ วัน ๗ คืน พระบางนั้นสูงแต่ฝ่าพระบาทถึงยอดพระเมาฬี สองศอกเจ็ดนิ้ว ทองหนัก ๔๒ ชั่ง ๑ ตำลึง



      
จาก
ตำนานพระบาง ก็มี ตำนานพระแก้วมรกต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ดินแดนกรุงอินทปัตมหานคร ประเทศกัมพูชา ในปัจจุบันกับลังกาทวีป ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงที่ พระแก้วมรกต จะได้ถูกอัญเชิญมาที่กรุงอินทปัตมหานครนี้ แม้จะยังดูสับสน ว่า ถูกอัญเชิญ มาในสมัย พระพุทธโฆษาจารย์ กลับจากไปแปลอรรถกถาจากภาษาสีหล เป็นภาษามคธ หรือ ในสมัยพระเจ้าอนุรุธราชาธิราช ครองราชย์ที่เมืองพุกาม แต่ก็มีความตอนท้ายคล้ายกัน คือ พระแก้วมรกต ได้ถูกอัญเชิญจากกรุงลังกา มาที่กรุงอินทปัตมหานคร ประเทศกัมพูชา ดัง ความใน พระราชพงศาวดารเหนือ
ตอนขึ้นต้น บันทึกไว้ว่า

      
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ วันอังคาร เดือนหก ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีมะเส็ง สัมฤทธิศก พระอาจารย์เจ้าได้ตั้งปีมะเมีย เป็นเอกศก เมื่อล่วงแล้วสี่เดือน พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ชุมนุมพระอรหันต์ทำปฐมสังคายนา เมื่อล่วงไปได้ ๑๐๐ ปี จุลศักราช ๑๑ ปี พระเจ้ากาลาโสกราช ทำทุติยสังคายนา เมื่อล่วงไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี จุลศักราช ๓๙ ปี พระเจ้าศรีธรรมาโสกราช ทำตติยสังคายนา เมื่อล่วงไปได้ ๒๓๘ ปี จุลศักราช ๑๑๓ ปี พระมหินทรเถรเจ้า ทำจตุตถสังคายนา เมื่อล่วงไปได้ ๔๓๓ ปี พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย ในลังกาทวีปชุมนุมพระอรหันต์มากกว่า ๑
,
๐๐๐ ทำปัญจมสังคายนา แล้วจารลงใบลานเป็นอักษรลังกา
เมื่อล่วงไปได้ ๙๕๖ ปี พระพุทธโฆษาจารย์ไปแปลธรรมในลังกาแล้วได้อาราธนาพระแก้วมรกต ซึ่งสถิตย์อยู่เมืองลังกา เข้ามาเรือซัดไปเข้าปากน้ำบันทายมาศ


      
นอกจากนี้ ใน
ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่ง พระโพธิรังสี แต่งไว้เป็นภาษาบาลี เมื่อก่อน พ.ศ. ๑๙๘๕ นั้นกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์นี้เจ้าลังกา ๓ องค์ได้ร่วมพระทัยกันพร้อมด้วยพระอรหันต์ในเกาะลังกาสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๗๐๐

ก่อนจะสร้างก็ได้ปรึกษาสอบสวนถึงพระพุทธลักษณะอย่างถี่ถ้วน โดยหมายจะให้ได้พระรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าพญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้ามาแปลงกายให้ดูเป็นตัวอย่าง ในขณะทำการหล่อช่างคนหนึ่งทำไม่ถูกพระทัยเจ้าองค์หนึ่ง เจ้าองค์นั้นทรงพระพิโรธหวดด้วยหางกระเบน ถูกนิ้วมือช่างเจ็บปวด ครั้นเมื่อหล่อพระพุทธสิหิงค์แล้วนิ้วพระหัตถ์พระพุทธสิหิงค์ก็มีรอยพิรุธไปนิ้วหนึ่ง

      มาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. ๑๘๒๐-๑๘๖๐) มีพระภิกษุลังกาเข้ามาสู่ประเทศสยาม พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทราบถึงลักษณะที่งดงามของพระพุทธสิหิงค์ ก็โปรดเกล้าฯ ให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตเชิญพระราชสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์ จากพระเจ้ากรุงลังกา พระเจ้ากรุงลังกาก็ถวายมาตามพระราชประสงค์ พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราช แล้วเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย นั้นโดยตลอดเวลาที่เคลื่อนขบวนเดินทางไป พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประคององค์พระพุทธสิหิงค์ไปตลอดทาง


      
พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยทุกพระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา ครั้นเมื่อได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น ทางสุโขทัยอ่อนกำลัง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) เจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้สุโขทัยไว้ในอำนาจเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๐ พระยาไสยลือไทย เจ้ากรุงสุโขทัย ถูกลดตำแหน่งเป็นพระเจ้าประเทศราชลงมาครองพิษณุโลก ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่พิษณุโลกด้วย เมื่อพระยาไสยลือไทยสิ้นพระชนม์แล้วสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ก็โปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์โดยทางเรือลงมาไว้กรุงศรีอยุธยา



      
นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองนครศรีธรรมราช กับ เมืองลังกา ดังปรากฏ ใน
ตำนานพระบรมธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่ง จะขอคัดลอกมาแสดงไว้แต่พอสังเขป ดังนี้


      
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยานกรุงรัตนโกสินาราราชธานีล่วงแล้วได้ ๗ วัน จึงถวายพระเพลิง แต่คงเหลือพระบรมสารีริกธาตุ บรรดาเมืองต่าง ๆ ที่นับถือศาสนาพุทธ จึงส่งฑูตมาเพื่อขอพระบรมสารีริกธาตุจากกษัตริย์มัลลกษัตริย์ ๆ จะไม่ยอมแบ่ง แต่โฑณพราหมณ์ได้ชี้แจงให้เข้าใจ และขอให้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ฑูตทั้ง ๗ เมืองที่มาขอ กษัตริย์มัลล ฯ จึงยอมแบ่งและให้โฑณพราหมณ์เป็นอธิบดี (ประธาน ฯ) ในการจัดสรรแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ


      
ในขณะนั้นมีพระอรหันต์องค์หนึ่ง นามว่าพระเขมเถระ ได้เข้าญาณสมาบัติทราบด้วยอนาคตญาณว่า ต่อไปพระพุทธศาสนาจะเจริญในภาคกลาง ภาคใต้ของชมพูทวีป (อินเดีย) และจะเคลื่อนย้ายไปสู่สุวรรณทวีป (ประเทศไทยปัจจุบัน) พระเถระจึงเข้าไปขออัญเชิญพระทันตธาตุ คือพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวา และพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้ายมาอย่างละ ๑ องค์ จากนั้นได้นำไปถวายพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงคราษฎร์ ซึ่งกำลังมีอำนาจมากในอินเดียตอนกลาง และพระเจ้าพรหมทัตไม่ได้ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุจากมัลลกษัตริย์ พระทันตธาตุทั้ง ๒ องค์นั้น ได้ประดิษฐานและเคลื่อนย้ายไปยังนครต่าง ๆ เป็นเวลาถึง ๘๐๐ ปีเศษ จนครั้งหลังสุดได้มาประดิษฐานอยู่ที่เมือง“ ทันทบุรี” (
บางแห่งว่านครป่าหมาก) ซึ่งมีพระเจ้าโคสีหราช เป็นเจ้าเมืองนคร ครองเมืองและมีพระมเหสีชื่อนางมหาเทวี มีพระราชบุตรีชื่อ เหมชาลา และพระราชบุตรชื่อ ทันทกุมาร
ประมาณ พ.ศ. ๘๕๒ กษัตริย์เมืองขันธบุรี เจ้าเมืองชื่อท้าวอังกุศราช เมืองนี้เป็นพวกทมิฬเดียรถีย์ แต่นับถือศาสนาพุทธ ท้างอังกุศราชจึงยกทัพมาเพื่อแย่งชิงพระทันตธาตุจากเมืองทันทบุรี ซึ่งท้าวโคสีหราชประมาณกำลังข้าศึกแล้วเหลือที่จะรับ จึงคิดที่จะสงวนชีวิตไพร่ฟ้าประชาชนด้วยการยอมตายเสียเอง จึงท้าท้าวอังกุศราช มาชนช้างกันคือทำยุทธหัตถี แต่ก่อนถึงวันกระทำยุทธหัตถี ก็ได้เตรียมการเอาไว้ก่อน โดยสั่งให้เจ้าหญิงเหมชาลา และเจ้าชายทันทกุมารว่า ให้เตรียมการเล็ดลอดหนีออกจากเมือง เพราะดูแล้วศึกนี้หนักนัก พ่อคงวายชนม์แน่ให้เตรียมเชิญพระทันตธาตุไว้ให้พร้อมทั้ง ๒ องค์ เมื่อพ่อแพ้ศึกให้หนีเอาไปถวายพระเจ้ากรุงลังกา อย่าให้พระทันตธาตุในมือของพวกทมิฬ เมื่อเตรียมการแล้วก็ท้ารบทันที ท้าวอังกุศราชก็หัวร่อลั่นไปเท่านั้นเอง เพราะยังหนุ่มแน่นกว่า กำลังพลก็มากกว่า ผลการกระทำยุทธหัตถีก็เป็นไปตามที่ท้าวโคสีหราชคาดการณ์ไว้คือแพ้ ตัวตายในที่รบ เจ้าฟ้าทั้งสองซึ่งเตรียมการอยู่แล้วจึงหนีออกจากเมืองทันที ไปสู่เมืองท่าแล้วลงเรือสำเภาเพื่อข้ามมหาสมุทรไปยังเกาะลังกา กองเรือพบกับพายุที่พัดจัดปะทะคลื่นใหญ่ เรือสำเภาลำใหญ่เสากระโดงหักพังเกือบอับปาง ลำเล็กที่อยู่ในกองเรือก็อับปางหมดคงเหลือเพียงลำเรือทรงของเจ้าฟ้าทั้งสองเท่านั้น ที่ลอยละล่องตามลมวิ่งอ้าวผ่านหมู่เกาะต่าง ๆ ไป แต่กระแสลมบังคับให้หลุดไปทางฝั่งตะวันตกของสุวรรณภูมิ ไปเกยหาดที่หน้าเมือง
"
ตะโกลา" หรือตะกั่วป่าในปัจจุบัน เจ้าฟ้าทั้งสองจึงขึ้นจากเรือ อัญเชิญพระทันตธาตุไปอยู่กับชาวเมืองตะโกลาพอสมควรแล้ว และทราบว่าทางฝั่งตะวันออกของสุวรรณภูมิทางเมืองตามพรลิงค์
(
นามเดิมของนครศรีธรรมราช) มีท่าเรือที่มีเรือสำเภามาค้าขาย และวิ่งไปมาระหว่าง ตามพรลิงค์กับลังกาเป็นประจำ จึงได้ออกเดินทางไปยังเมืองตามพรลิงค์ ไปจนถึงหาดทรายแก้ว (ในท้องที่อำเภอท่าศาลา) เจ้าฟ้าทั้งสองก็เข้าพักผ่อนกำบังกายเพื่อรอคอยเรือพาณิชย์ที่จะขอโดยสารไปยังเมืองลังกาต่อไป

รูปหล่อพระนางเหมชาลา และพระทนทกุมาร ผู้ที่อัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว มายังลังกาทวีป

ในครั้งนั้นยังมีพระอรหันต์องค์หนึ่ง นามว่าพระมหาเถรพรหมเทพ ธุดงค์มาจากอินเดียเป็นผู้ที่มีอภิญญาสมาบัติสูงมาก ได้เล็งทราบว่าพระทันตธาตุมาอยู่ที่หาดทรายแก้ว พระมหาเถระองค์นี้สูงด้วยอิทธิฤทธิ์ขั้นเดินทางมาทางอากาศได้ พอมาใกล้หาดทรายแก้วก็เห็นพระทันตธาตุเปล่งรัศมีโชติช่วงสว่างไสว จึงลงจากนภากาศเข้าไปนมัสการพระทันตธาตุ เจ้าฟ้าทั้งสองที่หลบซ่อนอยู่เห็นพระเถระองค์นี้แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงออกจากที่กำบังเข้าไปนมัสการแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง เปิดเผยฐานะที่แท้จริงของพระองค์ พระมหาเถระจึงแนะนำว่าให้เดินทางข้ามกลับไปยังฝั่งตะวันตกแต่ไปที่ท่าเรือเมืองตรัง ซึ่งจะมีเรือไปมามากกว่านี้รวมทั้งเรือไปลังกาด้วย และได้ทำนายไว้ว่าต่อไปเบื้องหน้าประมาณ ๒๐๐ ปี จะมีท้าวพระยาสำคัญมาสร้างเมืองใหม่ ณ หาดทรายแก้วแห่งนี้ และจะสร้างพระเจดีย์สูงถึง ๑๗ วา เพื่อบรรจุพระบรมธาตุไว้สักการะบูชา และได้บอกแก่เจ้าฟ้า ๒ พี่น้องว่าหากระหว่างเดินทางมีอันตรายอันใดให้นึกถึงท่านจะมาช่วยเหลือ แล้วพระมหาเถระก็ลากลับไป เจ้าฟ้าทั้งสองจึงอัญเชิญพระทันตธาตุที่ฝังไว้ ณ หาดทรายแล้วนำใส่เกล้าเมาลีของพระนาง ออกเดินทางกลับไปยังท่าเรือเมืองตรัง ( เดินเก่งจริง ๆ) ขอโดยสารเรือสำเภาไปลังกา เรือออกแล่นไปถึงกลางมหาสมุทร ก็เกิดอัศจรรย์เรือหยุดอยู่กับที่ไม่เคลื่อน นายสำเภาจึงประชุมลูกน้องว่าเรือหยุดอยู่กับที่โดยหาสาเหตุไม่ได้เช่นนี้คงจะเป็นเพราะ ๒ พี่น้อง โดยสารเรือมาเป็นแน่ ต้องจับฆ่าโยนลงทะเลเสีย เจ้าฟ้าจึงระลึกถึงพระมหาเถระพรหมเทพให้มาช่วย ทันใดนั้นพญาครุฑใหญ่ปีกกว้างประมาณ ๓๐๐ วา ได้บินมาที่เรือ เหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นก็หายไป กลายร่างเป็นพระเถระฯ จึงชี้แจงให้ลูกเรือทราบว่าเรือหยุดเป็นเพราะพญานาคราช และบริวารขึ้นมานมัสการพระทันตธาตุจึงเกิดอัศจรรย์ พระมหาเถระชี้แจงแล้วก็กลับไป เรือสำเภาก็แล่นต่อไปยังเมืองลังกาได้ ๒ เจ้าฟ้าจึงขึ้นเฝ้าพระเจ้ากฤติสิริเมฆวัน กษัตริย์กรุงลงกา แล้วเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ถวายพร้อมทั้งถวายพระทันตธาตุ พระเจ้ากรุงลังกาปิติโสมนัสยิ่งนัก จึงสร้างพระเจดีย์บนบรรพตเป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุทั้งสององค์คือ พระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาและซ้าย ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนสืบไป
พระเจ้ากรุงลังกาจึงจัดที่ประทับให้เจ้าฟ้าทั้งสองพักเป็นการถาวร ต่อมากษัตริย์วงศ์คุปตะผู้นับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ได้มาตีเมืองทันทบุรีคืนจากกษัตริย์ทมิฬได้ และได้จัดให้ผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์พรหมทัต ที่เป็นต้นวงศ์ของเจ้าฟ้าทั้งสอง ครองเมืองทันทบุรีต่อมา ทางกรุงลังกาทราบข่าวนี้ จึงขอทราบความประสงค์ของเจ้าฟ้าทั้งสองว่า จะอยู่ที่เมืองลังกาต่อไป หรือกลับไปอยู่บ้านเมืองเดิม เจ้าฟ้าทั้งสองทูลกษัตริย์ลังกาว่า ขอกลับไปอยู่ยังบ้านเมืองเดิม แต่จะขอพระทันตธาตุองค์หนึ่งไปประดิษฐานไว้ ณ หาดทรายแก้ว เพื่อที่จะได้เป็นไปตามคำทำนายของพระมหาเถระ กษัตริย์ลังกาจึงพระราชทานพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย กับพระบรมสารีริกธาตุที่หักย่อยอีก ๑ ทะนาน ให้แก่พี่น้องทั้งสอง แล้วจัดกระบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ขึ้นสู่เรือสำเภาลำใหญ่ไปสู่ท่าเรือหาดทรายแก้ว แล้วจึงก่อเจดีย์อัญเชิญพระทันตธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุครึ่งทะนาน ( อีกครึ่งหนึ่งนำกลับไปเมือง) บรรจุในผอบแก้วประดิษฐานในแม่ขันทอง แล้วนำฝังลงไว้ในพระเจดีย์ ณ รอยเดิม ทำพิธีไสยเวทย์ผูกภาพยนต์เป็นกา ๔ ฝูง รักษา ๔ ทิศ
จากความสัมพันธ์ระหว่างดินแดนสุวรรณภูมิกับลังกาทวีป ดังที่ได้ยกมาแสดงข้างต้นนี้ ดูอาจจะเป็นเรื่องในนิทานมากกว่าที่จะเป็นความจริง แต่ในสมัยต่อมาที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เป็นเพียงนิทาน ก็คือบันทึกการเดินทางของพระสงฆ์ ที่เดินทางไปบวชและศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกาทวีป ซึ่งนอกจากจะมีคณะสงฆ์จากประเทศมอญ ดังที่ปรากฏหลักฐานใน
จารึกกัลยาณี แล้ว ก็ยังมี บันทึกการเดินทางของ พระพุทธคัมภีร์ ซึ่งปรากฏอยู่ใน ตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดง ดังที่ได้คัดลอกแต่พอเป็นสังเขปและนำมาแสดงไว้แล้วในบทที่ ๑ ว่าด้วย ชมพูทวีปอยู่ที่ไหนกันแน่?

[/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/FONT]

นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่อยู่ในยุคประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ขึ้นมาสักนิด คือในช่วงกรุงศรีอยุธยา ตรงกับรัชสมัยพระเอกาทศรถ คือ เรื่องการแก้ปริศนาพระอภิธรรมของหลวงปู่ทวด ที่มีคณะทูตตัวแทนพระเจ้ากรุงลังกา ส่งมาเพื่อประลองปัญญา ซึ่งมีเดิมพันคือกรุงศรีอยุธยา ดังที่จะคัดลอกมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน ดังนี้
      ประมาณ พ.ศ. ๒๑๔๙ พระเจ้าคามินี กษัตริย์ประเทศลังกาคิดจะแผ่อำนาจมายังประเทศสยาม เพราะครั้งหนึ่งประเทศลังกาเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามตอนใต้ การที่คิดจะแก้มือครั้งนี้ ประเทศลังกาพิจารณากันอย่างแนบเนียน เพราะ

      •
ประเทศไทยเวลานั้นตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ แม้ประเทศไทยจะทำสงครามกับพม่าติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีก็ตามแต่ความอ่อนเพลียหามีแก่ทหารไทยไม่ เพราะการไปรบมีชัยชนะมาทุกครั้ง อีกทั้งได้เพิ่มความชำนาญในการรบให้แก่ทหารไทยเป็นอย่างมาก ถ้าประเทศลังกายกกองทัพมาทำสงครามก็คงไม่มีทางที่จะเอาชนะกองทัพไทยได้
กษัตริย์ประเทศลังกาจึงดำเนินสงครามแบบใหม่เรียกว่า “ ธรรมยุทธ ”
เพราะเห็นว่า ประเทศไทยเพิ่งเสร็จจากสงครามใหม่ ๆ เข้าใจว่าการพระพุทธศาสนาของคนไทยเราต้องด้อยลง ถ้าท้าพนันเมืองกันในการแปลธรรมะประเทศสยามคงหาผู้เชี่ยวชาญมาแปลไม่ได้ และคงเป็นฝ่ายแพ้ ดังนั้นกษัตริย์ประเทศลังกาจึงให้ช่างตีแผ่นทองคำให้เป็นแผ่นเล็ก ๆ แล้วจารึกอักขระจากพระคาถาของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อักขระแต่คำแยกเป็นแผ่น ๆ ๗ คัมภีร์ จึงแบ่งได้ ๗ แม่ขันทอง เมื่อจัดเรียบร้อยแล้วก็จัดเครื่องบรรณาการอีก ๗ สำเภาใหญ่ให้พราหมณ์ราชทูต ๗ คน ถือพระราชสาส์นเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา พราหมณ์ราชทูตเข้าเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถและนำพระราชสาส์นเข้ากราบทูลให้ทรงทราบ ตอนนี้สันนิษฐานว่า สมเด็จพระเอกาทศรถคงจะทราบไตร่ตรองว่า
ประเทศสยามเป็นประเทศที่นับถือพุทธศาสนาถ้าไม่รับคำถ้าครั้งนี้ก็จะเป็นที่เสื่อมเกียรติยศของประเทศ
ถ้าพระองค์รับคำท้าพนันเมือง ก็ยังไม่ทราบว่าจะสามารถหานักปราชญ์ที่สามารถได้หรือไม่
พระองค์มีขัตติยะมานะ เพราะทรงเชื่อแน่ว่าประเทศย่อมไม่สิ้นคนดี จึงทรงยอมรับคำท้าพนันกับกษัตริย์กรุงลังกา
เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถทรงตอบรับคำท้าพนันแล้ว จึงให้มีพระบรมราชโองการให้ป่าวร้องแก่ภิกษุทั้งหลาย มีหนังสือออกไปยังวัดวาอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครหลวงและต่างเมืองเพื่อให้จัดหาภิกษุแสดงความจำนงเข้าแปลคัมภีร์เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อถึงเวลาแปลจริง ๆ ก็ยังไม่มีภิกษุองค์ใดทำการแปลได้สำเร็จจนล่วงเวลาไปถึง ๖ วัน ยังเหลือเวลาอีก ๑ วัน ก็จะครบตามสัญญา ซึ่งเป็นวันชี้ชะตากรรมของประเทศสยามว่าจะต้องอยู่ในสภาพเช่นไร
ในภาวะคับขันนี้มีผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนระลึกได้ว่าพระไตรปิฎกฉบับหนังสือขอมก็เคยเผยแพร่ ไปจากเมืองลังกา (พะโคะ) ลัทธิลังกาวงศ์ ก็สืบเนื่องมาจากเมืองลังกา (พะโคะ) พระพุทธสิหิงค์ก็ไปจากเมืองลังกา (พะโคะ) เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้ทุกคนระลึกได้ว่า
ผู้ชำนาญในการแปลคัมภีร์ครั้งนี้คงเป็นผู้ที่มากจากเมืองลังกา ( พะโคะ) แน่นอน
ในราตรีนั้นเอง สมเด็จพระเอกาทศรถพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงสุบินนิมิตว่า มี
พญาช้างเผือกเชือกหนึ่งวิ่งมาจากทางทิศใต้เข้าสู่พระบรมมหาราชวังพระพุทธเจ้าอยู่หัวตกพระทัยเป็นอันมาก ทรงตื่นจากพระบรรทมและดำริว่าคราวนี้ประเทศสยามอาจจะเป็นเมืองขึ้นของประเทศลังกาก็ได้ เพื่อความกระจ่างพระองค์โปรดให้หาโหราธิบดีเข้ามาคำนวณบ้านเมือง พระโหราธิบดีคำนวณฤกษ์ยามแล้ว กราบบังคมทูลให้ทรงทราบว่าชะตาราศีบ้านเมืองจะรุ่งเรืองขึ้นกว่าเดิมพระเกียรติยศของพระองค์จะลือกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศทั้งนี้เพราะมีนักปราชญ์มาจากทิศใต้เป็นผู้ช่วยเหลือในการแปลธรรมครั้งนี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ได้สดับดังนี้ก็โสมนัสเป็นอย่างยิ่ง
ฝ่ายขุนศรีธนญชัย ข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้ประกาศและสืบหาภิกษุที่เป็นนักปราชญ์ ทั้งที่เป็นชาวกรุงและชาวต่างเมืองได้ไปพบกับเจ้าสามีรามที่วัดราชานุวาส ได้สนทนาปราศรัยแล้วเห็นว่าเจ้าสามีรามมีลักษณะทุกอย่างเป็นนักปราชญ์ ก็นิมนต์เข้าสู่พระราชฐาน ณ ท้องพระโรง ก่อนเข้าท้องพระโรงสัตบุรุษได้ตักน้ำมาล้างเท้าให้เจ้าสามีราม
เจ้าสามีรามจึงย่างเท้าขึ้นไปเหยียบบนแผ่นศิลา ทำให้แผ่นศิลานั้นแยกออกด้วยอำนาจอภินิหาร เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก เมื่อเข้าไปยังท้องพระโรงได้คลานไปกราบภิกษุสงฆ์ที่เป็นอาจารย์และผู้อาวุโส พราหมณ์ทูตทั้ง ๗ เห็นดังนั้น ก็กล่าวขึ้นท่ามกลางที่ประชุมว่ากษัตริย์สยามพาเด็กเข้ามาแก้ปริศนา ซึ่งเจ้าสามีรามได้ให้กรมการจดบันทึกคำพูดนั้นไว้ พร้อมกับถามพราหมณ์ราชทูตว่า กุมารที่ออกจากครรภ์มารดากี่วันจึงจะนั่ง กี่วันจึงจะคลานท่านทราบหรือไม่พราหมณ์ทั้ง ๗ ก็กล่าวแก้ไม่ได้ หลังจากนั้นเจ้าสามีรามก็ตรงไปยังเตียงทองซึ่งจัดไว้เป็นที่รองรับอักขระธรรมนั้น เจ้าสามีรามทำวัตรปฏิบัติแก่พระอภิธรรม แล้วเอาอักขระแต่ละขันออกมาเรียงขันละแถว จึงทราบว่ายังขาดอักขระอยู่ขันละ ๑ ตัว อักขระที่ขาดนั้นคือ สัง วิ ทา ปุ กะ ยะ ปะ พราหมณ์ทั้ง ๗ จึงเอาอักขระที่ซ่อนไว้ในมวยผมทั้งหมดส่งมอบให้แก่เจ้าสามีราม เจ้าสามีรามจึงแปลคัมภีร์ได้ถูกต้องทุกประการ พราหมณ์ราชทูตทั้ง ๗ จึงแพ้ก้มลงกราบเจ้าสามีรามด้วยความเคารพเลื่อมใสยิ่ง

ฝ่ายทางคณะกรรมการของธรรมสภา เมื่อเห็นชัยชนะเช่นนั้นก็โห่ร้องและแสดงความยินดี ดังกึกก้องไปทั่วท้องพระลานหลวง และได้มีการตีกลองสัญญาณประโคมสังคีตดนตรีกันอย่างครื้นเครง พราหมณ์ราชทูตทั้ง ๗ ได้นำเครื่องราชบรรณาการเหล่านั้นมาถวายแก่เจ้าสามีราม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งสมณศักดิ์ว่า
“ สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ ”

สมเด็จเจ้าไม่ยอมรับเครื่องบรรณาการ และได้ถวายคืนแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างกุฏิขึ้น ๑ หลัง ถวายแก่สมเด็จเจ้าพร้อมกับเมืองอีกกึ่งหนึ่งสมเด็จเจ้าพำนักอยู่ที่กุฏิหลังนั้น ๓ วันก็ถวายกุฏิและเมืองคืนแก่สมเด็จพระจ้าอยู่หัว และสมเด็จเจ้าไปพำนักอยู่ที่วัดราชานุวาส ซึ่งเป็นสถานที่สงบต่อไปดังเดิม
สมเด็จเจ้าได้พำนักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาหลายปีทั้งนี้เพราะเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่พุทธศาสนา มีระยะหนึ่งได้เกิดไข้ห่าระบาดอย่างร้ายแรงประชาชนล้มตายเป็นอันมาก พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงวิตกเป็นอันมาก จึงดำรัสสั่งให้ขุนศรีธนญชัยไปนิมนต์สมเด็จเจ้าเข้ามาในพระบรมหาราชวัง เพื่อให้การช่วยเหลือแก้ไขความเจ็บป่วยของประชาชน สมเด็จเจ้าจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์ โดยระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย เพ่งเอาพระบารมีที่สมเด็จสร้างสมมาช้านานเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งเอาดวงแก้ววิเศษเป็นแรงอธิษฐานด้วย เมื่อทำน้ำมนต์เสร็จแล้ว จึงให้กรมการนำไปประพรมแก่ประชาชนจนทั่วกรุงศรีอยุธยาไม่ช้าไข้ห่าก็เบาบางและหายไปในที่สุด พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงโสมนัสเป็นยิ่งนัก วันหนึ่งทรงมีพระราชดำรัสว่าถ้าสมเด็จประสงค์สิ่งใดหรือจะบูรณะวัดวาอารามใด ๆ พระองค์จะทรงอุปถัมภ์ทุกประการ
ต่อมาไม่นานสมเด็จเจ้า ได้ทูลลาสมเด็จพระสังฆราชาธิบดีเพื่อรุกขมูลธุดงค์กลับไปยังภาคใต้ ซึ่งเป็นปิตุภูมิมาตุภูมิ สมเด็จพระสังฆราชาธิบดีก็อนุญาต ครั้นไปอำลาสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงอาลัยแต่ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า
“ สมเด็จเจ้าอย่าละทิ้งโยม
”
พระพุทธเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าจนสิ้นเขตพระนครกรุงศรีอยุธยา

จาก ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ในช่วงรัชสมัย
พระเอกาทศรถ นั้น เมื่อสอบย้อนกลับไป ในประวัติศาสตร์ของ ประเทศศรีลังกา ในยุคสมัยเดียวกัน คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๙ ตรงกับ ค.ศ. ๑๖๐๖ พบว่า ในช่วงเวลานั้น สถานการณ์พระพุทธศาสนา ในศรีลังกา อยู่ในช่วงตกต่ำสุด จนไม่น่าเชื่อว่า จะมีพราหมณาจารย์ ที่จะมีความรู้เชี่ยวชาญในพระอภิธรรม พระไตรปิฎก ถึงขนาดหาญกล้ามาท้าเอาบ้านเอาเมืองกัน ดังจะ คัดลอกประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในศรีลังกา ในช่วงเวลานั้น มาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน ดังนี้
พระพุทธศาสนาในช่วงกลียุค
       ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระพุทธศาสนาในลังกาอยู่ในยุคเสื่อม ส่วนหนึ่งมาจากการรุกรานอย่างต่อเนื่องจากอินเดียใต้ และอีกส่วนหนึ่งจากการแย่งชิงอำนาจกันเองในหมู่ผู้นำชาวสิงหล เมื่อฝ่ายทมิฬได้รับชัยชนะ พระพุทธศาสนาก็ถึงจุดเสื่อมถอย ทำให้สถาบันภิกษุณีสูญหายไป และสถาบันภิกษุก็เกือบจะสูญสิ้น เมื่อพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ (
Vijayabahu I) ปราบฝ่ายทมิฬได้สำเร็จ (พ.ศ. ๑๖๑๔) และขึ้นสู่อำนาจที่เมืองโปโลนนะรุวะ ( Polonnaruwa)
ทรงประสงค์จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ แต่ขณะนั้นไม่มีพระสงฆ์เพียงพอ พระองค์จึงทรงนิมนต์พระสงฆ์ ๒๐ รูป จากภาคใต้ของพม่า มาร่วมประกอบพิธีอุปสมบทเพื่อจัดตั้งคณะสงฆ์ลังกาขึ้นมาใหม่
ต่อมา พระเจ้าปรักรมพาหุที่ ๑ ( Parakramabahu I) ( พ.ศ. ๑๖๙๖-๑๗๒๙) ทรงรวบรวมลังกาให้เป็นปึกแผ่น และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างสำคัญ โดยทรงปฏิรูปวินัยของคณะสงฆ์และรวมนิกายที่หลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียว การปฏิรูปครั้งนี้ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปพระพุทธศาสนาทั่วทั้งเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัย ศิลาจารึกในสมัยสุโขทัยเปิดเผยให้ทราบว่า ช่วงเวลานั้นกัมพูชา พม่า รามัญ (มอญ) และสยามต่างก็ส่งพระภิกษุสงฆ์ไปยังลังกา เพื่อนำพระวินัยที่เคร่งครัดกลับมายังประเทศของตน
สิ้นรัชสมัยของพระองค์
ลังกาได้ถดถอยเข้าสู่ห้วงแห่งความสับสนและปั่นป่วนที่ยาวนาน ทำให้วินัยของสงฆ์ย่อหย่อนลง คณะสงฆ์เกิดเรื่องอื้อฉาวจนนำไปสู่การลาสิกขาเป็นอันมาก นับจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ เป็นต้นไป การแย่งชิงอำนาจภายในทำให้โปรตุเกสและชาวต่างชาติอื่นๆ เข้ามามีบทบาทในลังกามากขึ้น ในที่สุดลังกาก็ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกยาวนานถึง ๓๐๐ ปี
อิทธิพลของมหาอำนาจยุโรป      
ปี พ.ศ. ๒๐๖๐ โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาปักหลักที่เมืองท่าโคลอมโบ ( Colombo)
ชาวโปรตุเกสได้ยื่นข้อเรียกร้องมากมายกับกษัตริย์ลังกาจนนำไปสู่การสู้รบ หลายครั้ง เมื่อไม่สามารถต่อสู้กับโปรตุเกสได้ กษัตริย์ลังกาจำต้องยอมจำนนและจ่ายค่าชดเชยสงครามให้แก่โปรตุเกส สงครามและการสู้รบยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอีก ๑๐๐ ปี กระทั่งปี พ.ศ. ๒๑๗๕ โปรตุเกสจึงสามารถยึดเมืองท่าสำคัญทั้งหมดบนเกาะลังกาได้
กองเรือของโปรตุเกสไม่เพียงแต่บรรทุกสินค้ามาเท่านั้น แต่ยังบรรทุกกองทหารและบาทหลวงที่ตั้งใจจะมาเปลี่ยนคนพื้นเมืองให้หันมา นับถือคาทอลิกอีกด้วย
จุดมุ่งหมายนี้บรรลุความสำเร็จเมื่อกษัตริย์สิงหลซึ่งมีพระนามว่า ธรรมะปาละ ดอน จวน (Dhamapala Don Juan)
ได้เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ ในปี พ.ศ. ๒๐๘๕ ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส พระพุทธศาสนาถูกบ่อนทำลายเป็นอันมาก วัด พระพุทธรูป และแม้แต่พระพุทธบาทบนเขาสุมนา ( Sumana)
ก็ถูกทำลาย เพื่อปูทางไปสู่การสร้างสิ่งก่อสร้างทางศาสนาอย่างใหม่ ขณะเดียวกันกษัตริย์ที่เมืองแคนดี้ ( Kandy)
พระองค์หนึ่ง ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ก็ทรงจับพระภิกษุและสามเณรสึกเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งสั่งทำลายเจดีย์ วิหาร และพระไตรปิฎก ลังกาได้สูญเสียคณะสงฆ์อีกเป็นครั้งที่สอง
ในปี พ.ศ. ๒๒๐๐ ชาวดัตช์เข้ามาแทนที่โปรตุเกส แต่ไม่เข้ามาก้าวก่ายพระพุทธศาสนา จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพลเมืองท้องถิ่น ภายใต้การปกครองของดัตช์ พระพุทธศาสนาได้ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระภิกษุสงฆ์จำนวน ๓๐ รูป จากยะไข่
(Yakai) หรืออารข่าน ( Arakan)
ได้นำการอุปสมบทกลับเข้ามาในอาณาจักรแคนดี้ในปี พ.ศ. ๒๒๔๐
ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนชาวไทย และทั่วโลก มักจะหาโอกาสเดินทางไปเมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา เพื่อไป นมัสการ
" พระเขี้ยวแก้ว"
ที่วัดมัลลิกา ดาลดา หรือวัดพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งในระหว่างวันที่ ๖-๑๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา มีงานสมโภชเปิดพระทันตธาตุเขี้ยวแก้ว ณ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา ซึ่ง คุณไตรเทพ ไกรงู ได้เขียนสกู๊ป เพื่อเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ให้เดินทางไปร่วมงาน ดังกล่าว ในคอลัมน์ ศาสนา ศิลปะ-วัฒนธรรม ของ หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ซึ่งจะขออนุญาตคัดลอกมา บางส่วน ดังนี้



พระเจดีย์ทองคำที่บรรจุ พระเขี้ยวแก้ว ที่เชื่อว่าเป็น พระทันตธาตุ ของพระพุทธเจ้า
วัดมัลลิกา ดาลดา หรือ วัดพระเขี้ยวแก้ว แห่งเมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระทันตธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเขี้ยวแก้ว เพียงองค์เดียว ที่ปรากฏบนโลกมนุษย์ โดยมีหลักฐานรองรับความถูกต้องตรงตามพระคัมภีร์มหาวังศา ด้วยว่าพระทันตธาตุ หลังจากการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ มีอยู่ด้วยกัน ๔ องค์ คือ องค์ขวาบน ประดิษฐานอยู่ที่เจดีย์เกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ องค์ขวาล่าง อยู่ที่แคว้นคันธารราษฎร์ คือ ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน และหายสาบสูญไปแล้ว องค์ซ้ายล่าง อยู่ที่นาคพิภพบาดาล และสุดท้าย คือ องค์ซ้ายบน ประดิษฐาน ณ เกาะลังกา แห่งนี้
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙ พระเขี้ยวแก้วได้ประดิษฐานอยู่บนแผ่นดินแห่งนี้มาโดยตลอด มิเคยถูกนำออกนอกดินแดนเลย ตั้งแต่ถูกอัญเชิญมาจากชมพูทวีป โดย เจ้าหญิงเหมมาลา แห่งแคว้นกาลิงคะ เมื่อกว่า ๑
, ๗๐๐ ปีก่อน ชาวศรีลังกา ต่างถวายความเคารพต่อพระทันตธาตุอย่างสูงสุด โดยเชื่อกันว่า หากเมื่อใดพระเขี้ยวแก้วถูกนำออกนอกเกาะลังกาแล้ว จะนำภัยพิบัติมาสู่ประเทศชาติ และยังเชื่อว่า หากเมื่อใดที่เกิดทุกข์ภัยขึ้น การเปิดอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วออกให้ผู้คนสักการบูชา จะสามารถขจัดเภทภัยต่างๆ ได้ โดยจะมีการจัดพิธีสมโภช เปิดอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว ในช่วงราวทุก ๔-๕ ปี โดยในปีนี้จะจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ ๖-๑๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ทุกวันนี้ ชาวศรีลังกายังคงระลึกถึง เมื่อคราวอังกฤษยกทัพเข้ามายึดกรุงศรีวัฒนาปุระแคนดีแห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ทหารลังกาทุกนายยอมวางอาวุธแต่โดยดี เมื่อทราบว่า อังกฤษสามารถยึดพระเขี้ยวแก้วไว้ได้แล้ว หากมิฉะนั้น การสู้รบก็คงจะยืดเยื้อ ด้วยทหารลังกายังหมายจะต่อสู้โจมตีพวกอังกฤษต่อไป ไม่คิดยอมจำนน
หลังจากพวกอังกฤษยึดเอาพระเขี้ยวแก้วไว้ ก็เกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก ติดต่อกันหลายปี เกิดความทุกข์ยากแสนสาหัสทั่วประเทศ ชาวลังกาจึงเจรจากับผู้ปกครองอังกฤษ ขออนุญาตให้มีการนำพระเขี้ยวแก้วมาเปิดบูชาตามประเพณีโบราณ ฝ่ายอังกฤษก็ยินยอม ในระหว่างทำพิธีนั้นเอง ท้องฟ้าที่เคยปราศจากเมฆฝนมาหลายปี ก็บังเกิดฝนเทลงมา สร้างความชุ่มฉ่ำ และอัศจรรย์ใจให้ผู้คนที่พบเห็น แม้กระทั่งพวกอังกฤษก็เช่นกัน ปาฏิหาริย์ของพระเขี้ยวแก้ว เป็นเรื่องที่ชาวศรีลังกาเล่าขานกันมิรู้เบื่อ
พิธีการเปิดพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งบรรจุอยู่ในเจดีย์ทองคำ และผอบทองคำเจ็ดชั้น ประดิษฐานในห้องกระจกกันกระสุนอย่างแน่นหนา การนำออกมาให้สาธุชนสักการบูชานั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกุญแจที่ใช้เปิดพระเจดีย์ทองแต่ละชั้น มีถึง ๓ ดอก แยกกันถือโดย พระมหาสังฆนายก (เทียบได้กับพระสังฆราช) สยามนิกาย ๒ องค์ที่ปกครองฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสี ส่วนกุญแจอีกดอก อยู่กับตัวแทนของฝ่ายฆราวาส อันมาจากการเลือกตั้งจากผู้มีเกียรติ อันเป็นที่ยอมรับของทั้งทางฝ่ายศาสนาและประชาชน มีตำแหน่งเรียกว่า "นิละเม" ซึ่งทั้ง ๓ ท่านนี้จะต้องมาโดยพร้อมเพรียงกัน ถึงจะเปิดได้
ระหว่างการเปิด คณะกรรมการจะถอดสายสร้อย สายสังวาล เครื่องเพชร เครื่องทองต่างๆ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่ามหาศาล ที่ชาวพุทธศรีลังกา ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ในอดีต จนถึงชาวบ้านปัจจุบัน ได้ถอดคล้องถวายเป็นพุทธบูชา จำนวนมากมาย จนต้องทำบัญชีบันทึกไว้ทุกชิ้น ในทุกครั้งที่ทำการเปิดพระเขี้ยวแก้ว
การเปิดพระเขี้ยวแก้ว เริ่มจากพระเจดีย์ทององค์ใหญ่ชั้นนอกสุด เข้าไปหาพระเจดีย์ทองที่ลดหลั่นเล็กลงไปอีก ๔ ชั้น ชั้นในจะพบผอบหิน และผอบทองคำฝังอัญมณี และเมื่อเปิดออก ก็จะเป็นกลักทองประดับเพชรพลอยล้ำค่า ซึ่งเป็นที่บรรจุ พระทันตธาตุ ชั้นในสุด
[/COLOR][/FONT]





พระเขี้ยวแก้ว ที่วัดมัลลิกา ดาลดา เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา
[/SIZE][/COLOR][/FONT]พระเขี้ยวแก้ว จะถูกอัญเชิญนำออกมาประดิษฐานสอดในห่วงเส้นทองคำปักบนฐาน อัญเชิญไว้ในเจดีย์แก้วขนาดใหญ่ เพื่อให้สาธุชนเห็นได้ชัดเจนระยะไม่กี่เมตร ท่ามกลางการแห่ประโคมของช่างฟ้อน ช่างดนตรี เสียงปี่กลองมังคละดังกระหึ่ม ขับความชั่วร้ายทั้งปวงให้ออกไปจากมณฑลพิธี ภาพชาวศรีลังกาที่แออัดกันเพื่อที่จะขอมีโอกาสสักครั้งในชีวิต ได้กราบนมัสการพระเขี้ยวแก้ว หลั่งไหลกันมาราวกับสายน้ำ
จำนวนผู้คนนับแสน ที่ต่อแถวกันด้วยอาการสงบ ยาวออกไปด้านนอกวัด นับหลายกิโลเมตร ต่างคนมาจากต่างเมือง มาเป็นครอบครัวเดียวกัน ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า เพื่อที่จะขอสักครั้งเข้าไปกราบนมัสการพระทันตธาตุ มิพักที่จะต่อแถวตั้งแต่ตีสี่ตีห้า กว่าจะได้เข้าไปกราบเพียงไม่กี่อึดใจตอนประมาณบ่ายสามโมงเย็น แล้วเดินยิ้มหน้าใสออกมา เพียงเพื่อจะมาต่อแถวใหม่อีกครั้ง
พระทันตธาตุ สัณฐานคล้ายดอกจำปีตูมปลายสอบ สีเหลืองอมส้ม ตรงปลายสอบเล็กน้อย มีขนาดใหญ่กว่าฟันมนุษย์ธรรมดา


      
พระเขี้ยวแก้วนี้ย่อมเป็นของแท้จริงอย่างแน่นอน แท้จริงด้วยพระคัมภีร์โบราณ ที่มีการสืบทอดมานานนับพันปี แท้จริงด้วยความศรัทธาอันแรงกล้าของชาวพุทธลังกา ผู้ปราศจากวิกิจฉาลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย แท้จริงด้วยจิตใจอันงดงามบริสุทธิ์ อันยึดเอาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เพ่งรวมกันเป็นพลังแรงกล้า ซึมซ่านอาบอวลทุกอณูอากาศทั่วบริเวณเขตแดนอันศักดิ์สิทธิ์นี้ คุณล่ะรู้สึกได้ไหม
?

      
ซึ่งผมคิดว่า
พระเขี้ยวแก้วที่เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกานี้ จะเป็นของจริงแท้แน่นอน หรือจะเป็นของปลอมนั้น ท่านทั้งหลายพึงจะพิจารณาด้วยสติ ปัญญาของท่านเอง แต่ผมมีเกร็ดเล็กน้อย ที่เกี่ยวกับ “
พระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา
”
นี้ ที่น้อยคนนักที่จะได้รู้ หรือได้อ่าน ซึ่งผมจะขอคัดลอกมา จากหนังสือ
“
ประวัติศาสตร์สากล เล่มที่ ๔
”
ที่เขียนโดย หลวงวิจิตรวาทการ แต่เพียงโดยย่อให้ท่านทั้งหลาย ได้พิจารณาดังนี้
   “
ผู้ที่ได้อ่านพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เมื่อเสด็จประพาสยุโรป ตอนที่พรรณนาถึงการไปนมัสการพระเขี้ยวแก้วที่เกาะลังกา ทรงเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า
พระเขี้ยวแก้วนั้นเป็นของปลอม ไม่ใช่ของจริง ผู้ที่ได้เห็นรูปพระเขี้ยวแก้ว ที่ถ่ายรูปมาพิมพ์เผยแพร่หลายแล้วจะเห็นพ้องตามพระราชนิพนธ์ว่า พระเขี้ยวแก้วซึ่งเก็บรักษาไว้ที่เมืองแกนดี เกาะลังกานั้น เป็นแต่เพียงงาช้างชิ้นเดียว เอามากลึงอย่างเกลี้ยงเกลา แล้วก็บอกว่าเป็นพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าพิจารณาสักเล็กน้อย ก็จะเห็นได้ว่าไม่ใช่ของจริง”



[/COLOR][/FONT]

Quote from: Neosiris on November 28, 2009, 15:30:58
      
ลังกาทวีปอยู่ที่ไหนกันแน่
ทำไมต้องทำให้ความจริงกระจ่าง ก็เพราะเหตุว่า พระอรรถกถา ได้กล่าวว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จมายังลังกาทวีป เมื่อครั้งยังทรงมีพระชนม์อยู่ ถึง ๓ วาระ ดังนั้น การที่เกิดความเข้าใจผิดว่า ลังกาทวีป คือ ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน แล้ว ไปกล่าวตู่ว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปยัง “ ประเทศศรีลังกา ” จึงเป็นการบิดเบือน เป็นบาปอย่างยิ่ง โดยในเบื้องต้น จะขอยกอรรถกถา ที่กล่าวถึงการเสด็จไป ลังกาทวีป ของพระพุทธองค์ ดังนี้ ว่า
                  
ได้ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปสู่เกาะนี้ (เกาะลังกา) ถึง ๓ ครั้ง แม้ในคราวยังทรงพระชนม์อยู่ คือ คราวแรกเสด็จมาพระองค์เดียวเท่านั้น เพื่อทรมานยักษ์ ครั้นทรมานยักษ์แล้ว ทรงตั้งอารักขาที่เกาะตัมพปัณณิทวีป เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพพาแล้ว ศาสนาของเรา จักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้.
รั้งที่สอง เสด็จมาพระองค์เดียวเหมือนกัน เพื่อต้องการทรมาน พญานาคผู้เป็นลุงและหลานกัน ครั้นทรมานนาคเหล่านั้นแล้ว ได้เสด็จไป. ครั้งที่สาม เสด็จมามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ณ ที่ตั้งมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปารามเจดีย์ ที่ประดิษฐานต้นมหาโพธิ์ ที่ตั้งมุติงคณ-
เจดีย์ ที่ตั้งทีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้งกัลยาณิยเจดีย์.


อรรถกถาเป็นไงผมไม่ทราบ

แต่ในพระสูตรมหายานมีพระสูตรนึง พระพุทธเจ้าเสด็จไปลังกา ไปโปรดยักษ์ราวณะ

ภาษาจีนข้อความว่า
如是我聞:一時婆伽婆住大海畔摩羅耶山頂上楞伽城中...
ข้าพเจ้าสดับฟังมาดังนี้ สมัยหนึ่งพระภควันประทับที่มาลัยคีรีริมฝั่งทะเล ในเมืองลังกา....

มาลัยคีรี ไม่รู้มันอยู่ไหน โอริสสา ลังหา หรือคือ"เขามาลายา(มาลัยกูฏ)"

      
เอาเป็นว่า
พระเขี้ยวแก้วที่เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกานี้ จะเป็นของจริงแท้แน่นอน หรือจะเป็นของปลอมนั้น ท่านทั้งหลายก็พิจารณากันต่อไป แต่ผมจะขอกลับมาถึงเรื่อง ลังกา ที่เกี่ยวข้อง บ้านเมืองในชมพูทวีป ตามที่ได้ ตั้งข้อสมมติฐาน ก่อนนี้แล้วว่า ชมพูทวีปอยู่ในดินแดนที่เป็นแผ่นดินสุวรรณภูมิ จึงน่าจะมีเรื่องราว อะไรที่เกี่ยวกับ เกาะลังกา หลงเหลืออยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นเช่นนี้จริงๆ เพราะ มี นิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างเมืองสิงห์บุรี
ซึ่งผมจะขอคัดลอกมาให้ท่านได้อ่านกัน ดังนี้


      นิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างเมืองสิงห์บุรี ว่ากันว่าพระเจ้าสิงหพาหุเป็นผู้สร้าง นามนี้ดูไปพ้องกับสีหพาหุกุมารในพงศาวดารลังกาที่กล่าวไว้ในหนังสือมหาวงศ์ว่า ในสมัยเมื่อร่วมพุทธกาล มีกษัตริย์ชาวอริยพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้าวังคราช ครองวังคนคร เป็นราชธานีอยู่ทางข้างเหนือเมืองกลิงคราษฎร์ได้ราชธิดาพระเจ้ากลิงคราษฎร์เป็นอัครมเหสี มีราชธิดานามว่านางสุปา นางสุปาถูกขับไล่จากเมืองไปเพราะมากด้วยกามกิเลส จึงเที่ยวซัดเซพเนจรไปในที่ต่าง ๆ ไปได้พระยาราชสีห์เป็นสามี มีบุตรชื่อสีหพาหุ เพราะมีกำลังวังชามาก เมื่อเติบใหญ่จึงพานางผู้เป็นมารดาหนีพระยาราชสีห์ กลับมาอยู่กับมนุษย์ฝ่ายข้างพระยาราชสีห์มีความอาลัยอยู่จึงออกติดตามเที่ยวขบกัดชาวเมืองวังคนครล้มตายลงเป็นอันมาก พระเจ้าวังคราชต้องประกาศป่าวร้องหาผู้ที่จะรับอาสาฆ่าพระยาราชสีห์นั้น สีหพาหุกุมารจึงอาสาฆ่าพระยาราชสีห์นั้นตาย เพราะเหตุนี้จึงปรากฏนามต่อมาว่าสีหฬกุมาร หมายความว่า กุมารผู้ฆ่าราชสีห์ ต่อมาเมื่อพระเจ้าวังคราชสิ้นพระชนม์ไม่มีเชื้อพระวงศ์ ชาววังคนคร เห็นสีหฬกุมารมีอานุภาพมาก จึงพร้อมใจกันถวายราชสมบัติแก่สีหฬกุมาร สีหฬกุมารรับราชสมบัติแล้ว ไม่ปรารถนาจะอยู่ในวังคนครนั้น จึงได้มอบเมืองให้แก่อำมาตย์ ผู้เป็นสามีใหม่ของมารดา ส่วนตัวออกไปตั้งราชธานีใหม่ใช้ชื่อว่า สีหบุรีแล้วเสวยราชอยู่ ณ เมืองนั้น มีราชบุตรถึง ๓๐ องค์ องค์ใหญ่ทรงพระนามว่า วิชัยราชกุมาร
( เรื่องนี้ได้มาจากเรื่องประดิษฐาน พระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีปของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) เมื่อสังเกตตามนี้ เรื่องนี้อาจเป็นต้นเค้าของนิยายเกี่ยวกับสร้างพระพุทธไสยาสน์วัดนี้ก็ได้ เพราะนามผู้สร้างนี้ก็มีนามเดียวกันคือ ชื่อสีหพาหุ และก็ได้ฆ่าพ่อ คือ พระยาราชสีห์เหมือนกัน แต่ต่างกรรมต่างวาระกัน เรื่องของเราฆ่าพ่อเพราะรังเกียจเป็นสัตว์ ส่วนเรื่องนี้ที่ฆ่าเพราะรับอาสาฆ่าที่พ่อไปขบกัดคนตาย และชื่อเมืองที่ออกไปตั้งใหม่ที่ชื่อสีหบุรี เหมือนกับเมืองสิงห์บุรี เพราะคำว่าสีหกับสิงหก็เป็นคำเดียวกัน สีหเป็นบาลี สิงหเป็นสันสกฤต สีห แปลว่า ราชสีห์เหมือนกัน และพระพุทธไสยาสน์นี้ก็ตั้งอยู่ในจังหวัดสิงห์บุรีด้วย
แต่ในเรื่องมหาวงศ์พงศาวดารลังกา มิได้กล่าวไว้ว่าพระเจ้าสีหพาหุเมื่อ

ฆ่าพระยาราชสีห์ผู้เป็นพ่อแล้ว ได้สร้างอนุสาวรีย์อะไรเป็นหลักฐานเพื่อล้างบาปบ้าง ส่วนเรื่องของเราคงมากล่าวเสริมต่อขึ้นก็ได้หรืออาจได้สร้างจริง แต่มิได้อยู่ในลังกา แต่มาอยู่ในสิงห์บุรีเสียเรื่องจึงไม่ปรากฏในมหาวงศ์ แต่มาปรากฏทางของเรา


พระนอนจักรสีห์ ที่วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี



      
และเรื่องพระเจ้าสีหพาหุสร้างพระพุทธไสยาสน์นี้ อยู่ใน
ตำนานพระนอนจักรสีห์ ดังนี้ว่า

      วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นวัดสำคัญของจังหวัดสิงห์บุรี อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์หรือที่เรียกกันว่า พระนอนจักรสีห์เป็นวัดพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่และมีความยาวที่สุดในประเทศ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสิงห์บุรีมาช้านาน

      
พระนอนจักรสีห์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางไสยาสน์ ตามพุทธประวัติกล่าวว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเนรมิตร่างกายให้ใหญ่กว่ายักษ์ เทศนาปาฏิหาริย์แก่ยักษ์อสุรินทราหู เพื่อลดทิฐิของยักษ์อสุรินทราหูนั้นลง พระนอนจักรสีห์มีความยาวถึง ๔๗.๔๐ ม. โดยมีพระพุทธลักษณะแบบสุโขทัย แต่เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา องค์พระหันพระเศียรไปทางตะวันออก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีความงดงามอย่างมาก
แม้ไม่ทราบประวัติความเป็นมาที่แน่ชัดถึงการสร้างพระนอนจักรสีห์ แต่กล่าวกันว่า
องค์พระนอนนั้นสร้างขึ้นโดยสิงหพาหุ ตามตำนานเล่าสืบมาว่า สิงหพาหุได้รู้ความจริงว่ามีพ่อเป็นสิงห์ซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานจึงคิดละอายและฆ่าสิงห์ตัวนั้นตายลง ภายหลังรู้สึกสำนึกจึงกลัวบาปและเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก จึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นด้วยแกนทองคำเพื่อเป็นการไถ่บาป โดยพระนอนจักรสีห์นี้เป็นที่กราบไหว้บูชามาหลายชั่วอายุคนจนองค์พระได้พังทลายลงเป็นเนินดิน ในกาลต่อมานั้นท้าวอู่ทองได้นำพ่อค้าเกวียนผ่านมาพบก็เกิดความเลื่อมใสและเห็นประโยชน์พระศาสนา จึงชักชวนพ่อค้าเกวียนสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้นอีกครั้ง โดยใช้แท่งทองคำที่พบนั้นเป็นแกนองค์พระดังเดิม

       อย่างไรก็ดี ในพระราชพงศาวดารช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา มีบันทึกถึงองค์พระนอนจักรสีห์ว่า ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๗ โดยทรงให้สร้างพระวิหาร พร้อมทั้งพระอุโบสถและเสนาสนะต่างๆ ขึ้นใหม่และทรงเสด็จในการสมโภช โดยทรงประทับแรม ณ วัดพระนอนจักรสีห์แห่งนี้ถึง ๓ คืน และในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินยังวัดนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๑ และพระราชทานเงินให้บูรณปฏิสังขรณ์พระนอนจักรสีห์ด้วย
จากตำนาน และนิทานพื้นบ้านเมืองสิงห์บุรีนี้ นับเป็นเรื่องน่าคิด ในความบังเอิญ ของสาระสำคัญของเรื่องและชื่อของ
“ พระเจ้าสีหพาหุ ” แม้ว่าโดยรายละเอียดจะแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งอาจจะเกิดการคลาดเคลื่อนกันในการถ่ายทอด แต่เรื่องนี้คงจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงที่เมืองสิงห์บุรี เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาเป็นแน่ เพราะมีปูชนียวัตถุ คือ “ องค์พระนอนจักรสีห์ ” เหลืออยู่เป็นหลักฐาน ถึงทุกวันนี้ และถ้าหากบังเอิญหาข้อพิสูจน์ได้ว่า ราชบุตรองค์ใหญ่ของ พระเจ้าสีหพาหุ ที่สร้างองค์พระนอน คือ “ วิชัยกุมาร ” แล้ว และ จากการที่ได้พยายามพิสูจน์ว่า ชมพูทวีป และอินเดียโบราณ อยู่แผ่นดินสุวรรณภูมิ นี้ นั่นหมายความว่า เจ้าชายวิชัย ที่ได้อพยพไปตั้งหลักแหล่งที่ลังกาทวีป ก็ต้องเดินทางไปจากดินแดนชมพูทวีปที่แผ่นดินสุวรรณภูมินี้ หรือเดินทางไปจากเมืองสีหบุรี ที่จังหวัดสิงห์บุรี นี้ ดังนั้น ลังกาทวีป จึงอยู่ทางใต้ และสามารถเดินทางไปยังทวีปนี้ โดยการล่องเรือไปถึงได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่า “ ลังกาทวีปจะอยู่แถบแถวภาคใต้ของประเทศไทย หรือคาบสมุทรมลายู ” นี่เองหรือเปล่า?

       
มีแผนที่โบราณของประเทศสยามที่ตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนมาถึงสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏอยู่ใน
สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงธนบุรี ซึ่ง แสดงให้เห็นการเดินทาง ของบรรพชนแต่โบราณ ไปลังกา โดยเรือสำเภา จากปากแม่น้ำ ที่พม่า โดยมีถนนพระราม คือแนวหมู่เกาะ อันดามันบังคับเส้นทางไปสู่ลังกาทวีป โดยไม่ได้ตัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย แต่อย่างใด ก็ไปถึง ลังกาทวีปได้ ดังจะได้นำมาแสดงนี้






แผนที่ จากสมุดภาพไตรภูมิ ฉบับ กรุงธนบุรี ปัจจุบันอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ

ผมจะขอยกเอา งานเขียนของ
คุณไมเคิล ไรท ในหนังสือ ที่ชื่อ แผนที่ แผนทาง ในประวัติศาสตร์โลกและสยาม หน้า ๔๔-๔๕ ซึ่งเป็นความเห็นต่อ แผนที่โบราณของสยามประเทศ จาก สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-กรุงธนบุรี เล่ม ๒ มาให้ท่านได้อ่านก่อน เพราะเป็นความเห็นที่น่าสนใจที่จะนำมา พิจารณากันว่า ลังกาทวีป อยู่ที่ไหนกันแน่ ? ดังนี้

แผนที่ท่อนนี้ควรแสดงระยะเดินทางจากอุษาคเนย์ในทิศตะวันออกสู่ลังกาในทิศตะวันตกโดยข้ามมหาสมุทรอินเดีย ( อ่าวเบงกอล) เป็นระยะทางหลายพันไมล์ แต่แผนที่ของเราชวนให้เข้าใจว่า เรือออกจากปากน้ำพม่าแล่นไปทางใต้ตาม “ ถนนพระราม ”
ก็ถึงเกาะลังกา มหาสมุทรอินเดีย/อ่าวเบงกอลหายไปเสียแล้ว,
หายไปได้อย่างไร ?
"





เส้นทางจากไทยไปลังกา (จริง) กับทางไป “ ลังกา ” ( ตำแหน่งเกาะสุมาตรา) ในแผนที่ จากสมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงธนบุรี ของไทย
ที่คุณไมเคิล ไรท เห็นว่า แผนที่โบราณของไทย มีความผิดพลาด
ซึ่งการตั้งข้อสังเกตของ คุณไมเคิล ไรท นั้น ตั้งอยู่บนความเข้าใจในปัจจุบันที่ว่า “ ลังกาทวีป ” อยู่ที่ “ ประเทศศรีลังกา
”
แต่เมื่อผมได้ไปพบแผนที่โบราณฉบับหนึ่งซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นว่า มีประเทศอินเดียอยู่ ๒ ที่ ซึ่ง เรียกว่า INDIA INTRA GANGES
ที่ครอบคลุม พื้นที่ประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ ในปัจจุบัน กับ INDIA EXTRA GANGES
ที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย ลาว พม่า ในปัจจุบัน
แล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าทางตอนใต้ของแผ่นดินสุวรรณภูมิปัจจุบัน มีเกาะที่เรียกว่า “Taprobana” หรือ “ ตัมพปัณณิทวีป ” ซึ่งก็คือ “ ลังกาทวีป
”
นั่นเอง จึงเป็นเครื่องยืนยันให้เห็นว่า บรรพชนแต่โบราณของเราไม่ได้มีความเข้าผิดในการเขียนแผนที่ แต่มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องของที่ตั้ง ลังกาทวีป เป็นอย่างดี




แผนที่โบราณ แสดงแผ่นดินอินเดียที่มี ๒ แห่ง และยังระบุว่า เกาะที่อยู่ทางตอนใต้ของ อินเดียที่เป็นที่ตั้งของสุวรรณภูมิประเทศ คือ
“Taprobana” หรือ “ ตัมพปัณณิทวีป ”
เรื่องการโต้เถียงกันว่า “Taprobana” คือ “ เกาะสุมาตรา ” หรือ “ เกาะซีลอน ” นั้น มีการโต้เถียงในหมู่นักประวัติศาสตร์มาก่อนนานแล้ว แต่เรายังต้องค้นหาความจริงกันต่อไป ว่า เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ ที่ว่า เกาะสุมาตรา คือ “ ตัมพปัณณิทวีป ” หรือ “ ลังกาทวีป ”
เพราะ
ในปัจจุบันแทบจะไม่หลงเหลือความเป็นดินแดนของพระพุทธศาสนาเหลืออยู่เลย ซึ่งไม่เป็นไปตามที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองในตัมพปัณณิทวีป
การค้นหาที่ตั้งลังกาทวีปที่แท้จริง จากข้อมูลที่ลำดับมาเบื้องต้น ดูจะยังไม่สามารถที่จะบ่งชัด ถึงที่ตั้งที่แน่นอนของ
“ ลังกาทวีปที่แท้จริง ” ได้ แต่ในแผนที่โบราณของไทย ได้ระบุสถานที่สำคัญ และจะเป็นเครื่องยืนยันทีตั้งของ “ ลังกาทวีปที่แท้จริง ” นั่นก็คือ “ รอยพระพุทธบาทที่บนเขาสุมนกูฏ ” ดังนั้น หากเราสามารถค้นหา “ รอยพระพุทธบาทที่บนเขาสุมนกูฏ ” ได้ เราก็จะสามารถ ค้นหาที่ตั้งของ “ ลังกาทวีปที่แท้จริง ”ได้ ในจดหมายเหตุการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ซึ่งท่านได้เดินทางมาที่เกาะลังกา ตรงกับสมัยพระเจ้ามหานาม และเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ พระพุทธโฆษาจารย์ เดินทางไปแปลอรรถกถาจากภาษาสีหลเป็นมคธภาษา เมื่อ พ.ศ. ๙๕๖ ท่านได้บันทึกไว้ว่า หลังจากนั้น หลวงจีนได้อาศัยเรือสินค้าขนาดใหญ่เดินทางออกสู่ท้องทะเลมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้. เนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูหนาว จึงมีลมพัดดี หลังจากเดินเรืออย่างหามรุ่งหามค่ำโดยไม่ได้หยุดพัก เพียงแค่สิบสี่วันเท่านั้น เรือที่หลวงจีนโดยสารมานั้นก็มาถึงประเทศสิงหล ซึ่งมีคนบอกว่าบอกว่าประเทศห่างจากเมืองท่าตามลิตติ ประมาณ ๗๐๐ โยชน์ อาณาจักรนี้ตั้งอยู่บนเกาะใหญ่ ความกว้างจากฟากตะวันออกถึงตะวันตกเป็นระยะทาง ๕๐ โยชน์ และจากฟากทางเหนือถึงทางใต้มีความยาว ๓๐ โยชน์ ทั้งฟากซ้ายและขวาของเกาะนี้มีเกาะเล็กเกาะน้อยนับร้อยเกาะ อยู่ห่างกัน ๑๐ ลี้บ้าง ๒๐ ลี้บ้าง หรือไกลถึง ๒๐๐ ลี้ก็มี แต่ทั้งหมดล้วนแต่อยู่ใต้การดูแลของกษัตริย์ที่ปกครองเกาะใหญ่นี้. ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้มีอาชีพผลิตไข่มุกและอัญมณีล้ำค่านานาชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่เกาะหนึ่งที่เป็นแหล่งผลิตไข่มุกที่มีความบริสุทธิ์และสุกใสงดงามมาก เกาะนี้มีรูปร่างค่อนข้างสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวประมาณด้านละ ๑๐ ลี้. กษัตริย์เมืองนี้ได้จ้างให้คนเฝ้าและคุ้มกันเกาะนี้ และเรียกเก็บผลประโยชน์แบบสิบชักสามจากผู้ที่หาไข่มุกได้จากเกาะนี้ ประเทศนี้แต่เดิมไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ มีแต่ภูตผีปีศาจและพวกนาค พวกพ่อค้าจากประเทศต่างๆ มักจะพากันเดินทางมาทำการค้าขายที่นี่ เมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นเดินทางมาถึงที่นี่ พวกภูตผีปีศาจจะไม่แสดงตัวให้คนได้เห็นพวกมัน แต่จะจัดวางบรรดาสินค้าทั้งหลายไว้พร้อมกับติดป้ายบอกราคา เมื่อพวกพ่อค้าพึงพอใจกับราคาสินค้านั้นก็จะจ่ายเงินตามราคานั้นแล้วพากันบรรทุกสินค้าไป เมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นเดินทางไปมาอยู่อย่างนี้ และข่าวนี้แพร่หลายไปถึงผู้คนในประเทศต่างๆ ว่ามีดินแดนที่น่ารื่นรมย์เช่นนี้ จึงพากันหลั่งไหลเดินทางมายังที่นี่ จนกระทั่งกลายเป็นประเทศใหญ่ขึ้นมา สภาพอากาศของที่นี่อบอุ่น และน่าอยู่มาก ไม่มีความแตกต่างระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ การเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรทำได้ตลอดเวลาที่พวกเขาคิดว่ามันเหมาะที่จะลงมือ โดยไม่มีข้อจำกัดฤดูกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเพื่อดัดนิสัยพญานาคที่ดุร้ายยังประเทศนี้ พระองค์ได้แสดงปาฏิหาริย์ด้วยการประทับรอยพระพุทธบาทรอยหนึ่งไว้ที่ทางเหนือของเมืองหลวง และอีกรอยหนึ่งอยู่บนยอดเขา รอยพระพุทธบาททั้งสองนี้อยู่ห่างกัน ๑๕ โยชน์ เบื้องบนเหนือรอยพระพุทธบาทที่อยู่ทางตอนเหนือของเมืองหลวงนี้ พระมหากษัตริย์ได้ทรงสร้างสถูปใหญ่สูง ๔๐๐ ศอก ครอบรอยพระพุทธบาทไว้ สถูปองค์นี้ได้รับการบุด้วยแผ่นทองคำและเงิน และตกแต่งด้วยอัญมณีล้ำค่านานาชนิด ข้างๆ ของสถูปนั้น ในเวลาต่อมาพระองค์ได้สร้างเป็นวัดขึ้นมา เรียกว่า อภัยคีรีมหาวิหาร ซึ่งในปัจจุบันนี้มีพระภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ รูป ที่นั่นมีหอพระพุทธ ซึ่งได้รับการตกแต่งด้วยแผ่นทองคำและเงินที่ได้รับการสลักเสลาลวดลายและฝังด้วยอัญมณีล้ำค่า ๗ ชนิด ซึ่งในหอพระพุทธนี้มี พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นจากหยกเขียว มีความสูงมากกว่า ๒๐ ศอก ส่องแสงสุกใสเป็นประกาย และมีความสง่างามเกินกว่าที่จะอธิบายออกมาโดยใช้คำพูดได้

ยอดเขาที่ประเทศศรีลังกา ซึ่งเชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาทบนเขาสุมนกซึ่งในประเทศศรีลังกา มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า ศรีปาทะ ( Sri Pada) ฝรั่งเรียกว่า Adam’s Peak ส่วนฮินดูเรียกว่าวิษณุบาท อยู่ที่จังหวัดรัตนปุระ ทางตอนใต้ของเกาะ พุทธศาสนิกชนทั่วโลก เข้าใจว่า เป็นรอยพระพุทธบาท ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับไว้บนยอดเขาสุมนกูฏ แต่อีกรอยหนึ่งที่หลวงจีนบันทึกว่า อยู่ห่างกัน ๑๕ โยชน์ และต่อมาได้สร้างสถูปครอบไว้ แล้วสร้างวัดชื่อ อภัยคีรีมหาวิหารนั้น ในประเทศศรีลังกา ก็มีเจดีย์อภัยคีรี ในบริเวณวัดอภัยคีรีวิหาร เมืองอนุราธปุระจริง แต่เป็นเรื่องที่แปลกอยู่ ที่ไม่ได้มีการกล่าวถึง รอยพระพุทธบาท เลย ซึ่งเมื่อพิจารณาระห่างจาก เขา Adam’s Peak กับ เจดีย์อภัยคีรีวิหารนี้ ก็มีระยะห่าง ประมาณ ๑๘๖ กิโลเมตร หรือประมาณ ๑๒ โยชน์ เพราะฉะนั้น เราจะต้องค้นหา เขาสุมนกูฏ และรอยพระพุทธบาท ในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อยืนยันความเป็น“ ลังกาทวีปที่แท้จริง ” ให้ได้
[/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/SIZE][/COLOR][/FONT][/SIZE]

หายไปนานมาต่อให้ครับผม
เจดีย์อภัยคีรี ที่วัดอภัยคีรีวิหาร เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
      
ในบันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียนนี้ มีเรื่องที่ชวนให้น่าสงสัยว่า
ลังกาทวีปที่หลวงจีนฟาเหียนเดินทางไปนั้น จะใช่ ประเทศศรีลังกาในปัจจุบันหรือไม่ นั่นก็คือเรื่องสภาพภูมิอากาศ ที่หลวงจีนฟาเหียนบันทึกไว้ว่า อากาศในประเทศลังกาอบอุ่นและน่าอยู่ ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างฤดูหนาวและฤดูร้อน ซึ่งแตกต่างกับสภาพภูมิอากาศของประเทศศรีลังกา ดังใน พระนิพนธ์ ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือ เรื่องประดิษฐาน พระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป ว่าด้วยความวิบัติของสมณวงศ์ในลังกาทวีป ตอนหนึ่งความว่า


      
พ.ศ. ๒๒๔๐ พระเจ้าวิมลธรรมสุริยมีรับสั่งให้จัดหาชาวสิงหฬซึ่งเป็นผู้ดีมีสกุลบวชเป็นพระภิกษุได้ ๓๐ รูป เป็นสามเณร ๑๒๐ รูป แต่ในปีนั้น พระเจ้าวิมลธรรมสุริยก็สิ้นพระชนม์ พระเจ้าศรีวีรปรักรมนเรนทรสิงหะได้เสวยราชย์ต่อมา นับลำดับเป็นรัชกาลที่ ๑๖๑
พระภิกษุสงฆ์ชาวยะไข่ที่ไปให้บรรพชาอุปสมบทแก่ชาวสิงหฬ ทนหนาวแลความเจ็บไข้ที่เมืองศิริวัฒนบุรีไม่ได้ ถึงมรณภาพลงหลายรูป ที่เหลืออยู่จึงพากันกลับไปเมืองยะไข่เสีย


      
นอกจากนั้น ในครั้งที่พระอุบาลี พระอริยมุนี เดินทางไปให้บรรพชาอุปสมบทแก่ชาวสิงหฬ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ พ.ศ. ๒๒๙๖ นั้น พระสงฆ์ที่เดินทางไปตายเสีย ๑๐ รูป สามเณรตายอีก ๒ รูป รวมทั้ง พระอุบาลีมหาเถระก็ป่วยและถึงแก่อนิจกรรมลงเสียที่ประเทศศรีลังกา โดยไม่ได้กลับมากรุงศรีอยุธยา ก็เป็นเพราะว่า
ในกรุงศิริวัฒนบุรีลังกานั้น ฝนตกเป็นนิจไปทั้ง ๓ ฤดู หนาวนัก ไม่มีร้อนเลย


ซากฐานเจดีย์ ขนาดใหญ่ ที่ขุดค้นพบ ในพื้นที่ เมืองโบราณยะรัง หรือ “
ลังกาสุกะ
” จังหวัดปัตานี
ที่ เมืองลังกาสุกะ (
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี) ปัจจุบันยังคงร่งรอยรากฐานเจดีย์น้อยใหญ่หลายองค์ ในท้องที่ตำบลยะรัง ตำบลวัด และพบเจดีย์ดินเผาจำลอง (แบบมาลิกะเจดีย์) ในบริเวณเมืองโบราณแห่งนี้อีกเป็นจำนวนมาก
จากการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ บ้านโคกอิฐ ตำบลพะร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส บริเวณ สนามบิน และวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา บ้านป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งตำนานเมืองไทรบุรี-ปัตตานี ระบุว่า เคยเป็นที่ตั้ง เมืองปัตตานี มาครั้งหนึ่ง แหล่งชุมชนดังกล่าวปรากฏว่า มีซากโบราณวัตถุสถานน้อยกว่าบริเวณชุมชนในท้องที่อำเภอยะรัง โดยเฉพาะ ในเขต ท้องที่ตำบลยะรัง ตำบลวัด ตำบลปิตุมุดี และใกล้เคียงในพื้นที่ ๕ ตารางกิโลเมตร มีโบราณวัตถุ สถาน อันมี คุณค่า ทาง ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่พบแล้ว ดังนี้ โบราณสถาน ได้แก่ ฐานเจดีย์และเนินดิน ประกอบด้วยอิฐที่มีลักษณะแบบอิฐสมัยทวารวดี ศรีวิชัย สลักหักพัง กระจายอยู่ ในท้องที่ บ้านประแว บ้านใหม่ บ้านวัด บ้านปิตุมุดี มากกว่า ๓๐ เนิน เฉพาะบริเวณเนินดินขนาดใหญ่ที่บ้านวัด พบธรณีประตู ธรณีหน้าต่าง ทำด้วยศิลาสีขาว ๑๐ กว่าชิ้น สันนิษฐานว่า เนินดินแห่งนี้คงเป็นที่ตั้งโบราณสถานที่สำคัญของเมือง และเนินดิน ที่ตั้งอยู่ ด้านตรงกันข้าม พระภิกษุวัดสุขาวดีเคยทำการขุดมาแล้ว ปรากฏว่าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ พบผนังอิฐ ก่อลึกลงไป ใต้พื้นดิน ประมาณ ๒ เมตร ปัจจุบันเจ้าของที่ดินได้กลบหลุมที่ขุดทิ้งไว้ ปลูกต้นเงาะขึ้นปกคลุมหมดแล้ว คงเห็นแต่ ฐานเจดีย์ ปรากฏอยู่ ฐานพระเจดีย์องค์นี้ หากได้มีการขุดแต่งดินใหม่แล้ว คงจะได้ทราบ รูปแบบ องค์พระเจดีย์ ว่าอยู่ในลักษณะ รูปแบบ เจดีย์โบราณ สมัยใด อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาตีความด้านอายุของเมืองโบราณแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง

      

พระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิ มีรูปสถูปอยู่ด้านข้าง และมีจารึก

คาถา เยธมฺมา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา พบที่เมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี




      โบราณวัตถุ พบพระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดีประทับยืน ปางประทานพร ๑ องค์ และปางอาหูยมุทรา (ปางกวักพระหัตถ์) อีก ๑ องค์ สูงขนาด ๖๐ เซนติเมตร ชาวบ้านพบที่บริเวณทุ่งนาบ้านกำปงบารู ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดป่าศรี อำเภอยะหริ่ง และ วัดตานีนรสโมสร วัดละ ๑ องค์
พระพุทธรูปนูนต่ำ แกะในแผ่นศิลาแดงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๖ นิ้ว เป็นรูปพระโพธิสัตว์ อมิตาภะ พุทธเจ้า พบอยู่ในซาก องค์พระเจดีย์ ที่บ้านกำปงบารู ตำบลยะรัง

ธรรมจักรศิลา สูง ๑๓ เซนติเมตร วงล้อกว้าง ๒๖ เซนติเมตร มีกงล้อ ๘ อัน ไม่มีลวดลายแกะสลักประดับตกแต่งวงล้อ ปัจจุบัน เก็บรักษาอยู่ที่วัดตานีนรสโมสร อำเภอเมืองปัตตานี

กุฑุ หรือ ซุ้มเรือนแก้ว ทำด้วยปูนปั้นผสมกรวดทราย มีลวดลายดอกไม้แบบศิลปอมรวดี คล้ายรูปจำหลักศิลาที่นาคารซุนกอนดา ประเทศอินเดีย และชิ้นส่วนปูนปั้นซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรม แต่ละชิ้นมีความกว้าง-ยาว ขนาดแผ่นอิฐ มีลวดลาย บัวคว่ำ และลายหน้ากระดาน ศิลปะสมัยคุปตะเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่า เป็นส่วนประกอบ ของสถูป ที่ถูกทำลาย หรือปรักหักพังลง เพราะความเสื่อมสภาพของวัตถุ ที่ถูกฝนและอากาศชื้นกัดกร่อนมานานปี ชิ้นส่วนปูนปั้นเหล่านี้ พบในสวน ทุเรียนใกล้บ้านปอชัน ตำบลปิตุมุดี ปัจจุบันมอบให้ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสงขลาเก็บรักษาไว้

สถูปดินเผาจำลอง พบเป็นจำนวนมากอยู่ในซากองค์พระเจดีย์ ที่บ้านกำปงบารู ตำบลยะรัง มีหลายขนาดหลายรูปแบบ อาทิ ทรงฉัตรวาลี ที่ปัตตานีและชวาเรียกแบบอย่างชาวทมิฬว่า จันฑิมะลิฆัย หรือมะลิกะเจดีย์ ตามตำนาน พระธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช และทรงกลมมีลวดลายหน้ากระดานโดยรอบองค์สถูป น. ณ ปากน้ำ นักประวัติศาสตร์ ศิลปะ ของเมืองไทย กล่าวว่า
“
เป็นสถูปเก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบมาในเอเซียอาคเนย์ เหมือนสถูปแบบคุปตะที่กุสินาราและที่สารนาถ
” ( วารสารเมืองโบราณ ธันวาคม ๒๕๒๑ เรื่อง ศิลปะแบบทวารวดีที่ปัตตานี)
ซึ่งจากข้อมูลที่ประมวลเรียบเรียงมาข้างต้นทั้งหมดนี้ จึงเป็นเครื่องสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า
“ ลังกาทวีปที่แท้จริง อยู่ในดินแดนทางตอนใต้ของประเทศไทยนี้เอง ” แต่จะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ใดที่แน่ชัด ยังต้องทำการค้นหา สืบค้น หรือขุดค้น เพื่อที่จะได้หลักฐานมายืนยันต่อไป


มีต่ออีกนิดหน่อยครับ ขอบคุณที่ทุกท่านได้กรุณามาอ่านเรื่องที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ครับ



โอม ศานต ศานติ

"พระเจ้าอโศกมหาราช" กับ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" เป็นความผูกพันกันอย่างยิ่งชีวิตพระเจ้าอโศกมหาราช ต้องมาดับสิ้นไป ก็ด้วยความอาลัยรักใน "ต้นพระศรีมหาโพธิ์"

พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จไปนมัสการ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อยู่เป็นประจำ

ครั้งสำคัญ ก็เมื่อ จะไปอัญเชิญกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปยังลังกาทวีป


ซึ่งเหตุการณ์นี้ "พระพุทธเจ้าของเรา" ได้เล็งเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า ถึง ๒๓๖ ปี

ดัง ในพระอรรถกถา ว่า

[
มหาอธิษฐาน ๕ ข้อ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า]

มหาอธิษฐาน ๕ ข้อเป็นไฉน ? คือได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบรรทมบนพระแท่นปรินิพพาน ได้ทรงอธิษฐานว่า เพื่อต้องการให้ต้น

มหาโพธิ์ประดิษฐานอยู่ในลังกาทวีป พระเจ้าอโศกมหาราชจักเสด็จมารับเอา

ต้นมหาโพธิ์ ในเวลานั้น กิ่งมหาโพธิ์ด้านทิศทักษิณ จงขาดเองทีเดียว แล้ว

ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง นี้เป็นอธิษฐานข้อที่หนึ่ง. ทรงอธิษฐานว่า

ก็ในเวลาประดิษฐานอยู่ในกระถางทองนั้น มหาโพธิ์จงลอยเข้าไปสู่ห้องหิมวลา-

หกตั้งอยู่ นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สอง. ทรงอธิษฐานว่า ในวันคำรบ ๗ ต้น

มหาโพธิ์จงลอยลงมาจากกลีบหิมวลาหก ตั้งอยู่ในกระถางทอง เปล่งฉัพพรรณ-

รังสีจากใบและผลทั้งหลาย นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สาม. ทรงอธิษฐานว่า

พระธาตุรากขวัญเบื้องขวา จงทำยมกปาฏิหาริย์ในวันประดิษฐานอยู่ที่พระเจดีย์

ในถูปาราม นี้เป็นอธิษฐานข้อที่สี่. ทรงอธิษฐานว่า พระธาตุของเราประมาณ

โทณะหนึ่ง ในเกาะลังกานี้แล ในเวลาประดิษฐานอยู่ในมหาเจดีย์ จงแปลง

เพศเป็นพระพุทธเจ้าแล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ทำยมกปาฏิหาริย์ นี้เป็นอธิษฐาน

ข้อที่ห้า.“ปาฏิหาริย์วันอัฐเชิญกิ่งพระศรีมหาโพธิ์” เหตุการณ์สำคัญที่ไม่มีปรากฏในจารึกอโศกดังในพระอรรถกถา ว่า

[
พระราชาทรงทำสัตยาธิษฐาน]

ครั้งนั้น พระราชาทรงบูชา (ต้นมหาโพธิ์) ด้วยดอกไม้และของหอม

เป็นต้น กระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมในที่ทั้ง ๘ เสด็จลุกขึ้นแล้ว

ประทับยืนประคองอัญชลี มีพระประสงค์จะเชิญเอาต้นมหาโพธิ์ด้วยการทำ

คำสัตย์ รับสั่งให้ตั้งกระถางทองข้างบนตั่งที่สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่าง ซึ่งตั้งหนุน

ให้สูงขึ้น ตั้งแต่พื้นดินจนถึงกิ่งด้านขวาของมหาโพธิ์แล้ว เสด็จขึ้นบนรัตนบิฐ

ทรงถือพระสุวรรณตุลิกา (พู่กันทองคำ) ทำรอยขีดด้วยมโนศิลา แล้วได้ทรง

ทำสัจพจน์กิริยาว่า ถ้าต้นมหาโพธิ์ควรประดิษฐานอยู่ในเกาะลังกา และหากว่า

ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนาไซร้ ขอให้ต้นมหาโพธิ์จง

ประดิษฐานอยู่ในกระถางทองเสียเองทีเดียว. พร้อมกับการทรงทำสัจพจน์

กิ่งโพธิ์ขาดตรงที่ทรงเอามโนศิลากำหนดหมายไว้ แล้วตั้งอยู่ในเบื้องบนกระถาง

ทอง อันเต็มด้วยโคลนผสมด้วยของหอม. ต้นโพธิ์นั้นมีลำต้นสูงได้ ๑๐ ศอก

กิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง ประมาณ ๔ ศอก ประดับด้วยผล ๕ ผลเท่า ๆ กัน. ส่วนกิ่ง

เล็ก ๆ มีจำนวนพันกิ่ง. ครั้งนั้นพระราชาทรงกำหนดตัดรอยขีดในประเทศ

(
ส่วน ที่) ประมาณ ๓ องคุลี ข้างบนรอยขีดเดิม. ขณะนั่นนั้นเอง รากใหญ่

๑๐ ราก งอกเป็นต่อมคล้ายต่อมน้ำออกจากรอยขีดนั้น. พระราชาทรงกำหนด

ตัดรอยขีดอื่น ๆ อีก ๙ แห่งในระยะต่อ ๆ ไป แต่ละ ๓ องคุลี. ราก ๙๐ ราก

งอกเป็นปุ่มคล้ายต่อมน้ำออกจากรอยขีดแม้เหล่านั้น รอยละ ๑๐ ราก. รากใหญ่

๑๐ รากแรก งอกออกมาประมาณ ๔ นิ้ว. ราก ๙๐ ราก แม้นอกนี้ ก็งอก

เกี่ยวประสานกัน คล้ายตาข่ายขวัญโค. พระราชา ประทับยืนอยู่เหนือสุดตั่ง

รัตนบิฐนั่นแล ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ประมาณเท่านี้ ได้ทรงประคอง

อัญชลีบันลือลั่น. ภิกษุจำนวนหลายพันรูป ก็ได้ซ้องสาธุการ. ราชเสนาทั้งสิ้น

ก็ได้บันลือกันอึงมี่. ธงผ้าที่ยกขึ้นไว้ตั้งแสนธง ได้โบกสะบัดพริ้ว. พวกทวยเทพ

ตั้งต้นภุมมัฏฐกเทวดา ได้ให้สาธุการเป็นไป จนกระทั่งถึงเหล่าเทพพรหม

กายิกา.

เมื่อพระราชา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์นี้ มีพระวรกายอันปีติ

ถูกต้องหาระหว่างมิได้ ประทับยืนประคองอัญชลีอยู่นั่นแล, ต้นมหาโพธิ์ก็ได้

ประดิษฐานอยู่ในกระถางทอง ด้วยจำนวนรากตั้งร้อย. รากใหญ่ ๑๐ ราก

ได้หยั่งลงจดพื้นกระถางทอง. รากที่เหลือ ๙๐ รากก็เจริญงอกงามขึ้นโดยลำดับ

หยั่งลงแช่อยู่ในเปือกตมที่ผสมด้วยของหอม. เมื่อต้นมหาโพธิ์ สักว่าประดิษฐาน

อยู่ในกระถางทองอย่างนั้นแล้ว มหาปฐพีก็หวั่นไหว. เหล่าเภรีของทวยเทพ

บันลือลั่นไปในอากาศ. ความโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ตั้งแต่พื้นปฐพีจนถึง

พรหมโลกได้กึกก้องเป็นอันเดียวกัน เพราะความโน้มเอนไปมาแห่งเหล่า

บรรพต เพราะเสียงสาธุการแห่งทวยเทพ เพราะการทำเสียงหิง ๆ แห่งเหล่า

ยักษ์ เพราะการกล่าวชมเชยแห่งพวกอสูร เพราะการปรบมือแห่งพวกพรหม

เพราะความคำรามแห่งหมู่เมฆ เพราะความร้อนแห่งหมู่สัตว์สี่เท้า เพราะความ

ขันกู่แห่งเหล่าปักษี (และ) เพราะความว่องไวเฉพาะตน ๆ แห่งพนักงาน

ตาลาวจรดนตรีทั้งปวง. ฉัพพรรณรังสีพวยพุ่งออกจากแต่ละผลในกิ่งทั้ง

แล้วก็พุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลกเหมือนทำจักรวาลทั้งสิ้น ให้ติดเนื่องกันดุจ

กลอนเรือนแก้ว ฉะนั้น.

น้ำตาหลั่งวันส่งพระศรีมหาโพธิ์ เหตุการณ์ที่พระเจ้าอโศกที่อินเดียคงไม่รู้จัก?

ดังในพระอรรถกถา ว่า
[
พระเจ้าอโศกทรงลุยน้ำส่งต้นมหาโพธิ์ไปเกาะลังกา]

พระเจ้าอโศกธรรมราชา ครั้นทรงบูชา (ต้นมหาโพธิ์) ด้วยราชสมบัติ

อย่างใหญ่อย่างนั้นแล้ว ในวันปาฏิบทแรก (คือแรม ๑ ค่ำ) แห่งเดือน

มิคสิรมาส (คือ เดือนอ้าย) จึงทรงยกต้นมหาโพธิ์ขึ้น เสด็จลุยน้ำไปประมาณ

เพียงพระศอ ทรงวางไว้บนเรือ แล้วทรงรับสั่งให้แม้พระนางสังฆมิตตาเถรี

พร้อมด้วยบริวารขึ้นเรือ จึงได้ตรัสคำนี้กะอริฏฐอำมาตย์ว่า พ่อ ! ข้าพเจ้า

บูชาต้นมหาโพธิ์ ด้วยราชสมบัติในสากลชมพูทวีปถึง ๓ ครั้ง ต้องลุยน้ำไป

ประมาณเพียงคอ ส่ง (ต้นมหาโพธิ์) ไปให้พระสหายของข้าพเจ้า, แม้พระสหาย

ของข้าพเจ้านั้น ก็จงทรงบูชาต้นมหาโพธิ์เหมือนอย่างนี้แหละ.

ท้าวเธอ ครั้นพระราชทานข่าวสาสน์แก่พระสหายอย่างนั้นแล้ว ทรง

คร่ำครวญประคองอัญชลี ประทับยืนหลั่งพระอัสสุชลอยู่ว่า ต้นมหาโพธิ์ของ

พระทศพล ซึ่งฉายช่อพระรัศมีดุจมีชีวิตอยู่ ไปละหนอ ดังนี้. นาวาที่ต้น

มหาโพธิ์ขึ้นประดิษฐานอยู่แม้นั้นแล เมื่อมหาชนจ้องมองแลดูอยู่ ก็ออกวิ่งไป

สู่ท้องทะเลหลวง. เหล่าระลอกคลื่นในมหาสมุทรสงบเงียบประมาณโยชน์หนึ่ง

โดยรอบ. เหล่าปทุมชาติเบญจพรรณก็แย้มบาน. ทิพยดุริยางค์ดนตรีทั้งหลาย

ก็บันลือลั่นอยู่บนอากาศกลางหาว. ได้มีการบูชาอันโอฬารยิ่งนัก ซึ่งพวก

ทวยเทพผู้อาศัยอยู่ในอากาศ ทางน้ำ บนบกและที่ต้นไม้เป็นต้น บันดาลให้

เป็นไปแล้ว. พระนางสังฆมิตตาเถรี ทำให้ตระกูลนาคทั้งหลายในมหาสมุทร

สะดุ้งกลัวแล้ว ด้วย (จำแลงเป็น) รูปสุบรรณ (คือนิรมิตเป็นรูปครุฑ). ก็นาค

เหล่านั้นสะดุ้งกลัว มาเห็นสมบัตินั้นเข้า จึงทูลขอกะพระเถรี แล้วนำต้น

มหาโพธิ์ไปสู่นาคพิภพ บูชาด้วยราชสมบัติแห่งนาคตลอด ๗ วันแล้ว (นำ

กลับมา) ให้ประดิษฐานอยู่บนเรืออีก. นาวาได้เล่นไปถึงท่าชมพูโกลปัฏฏนะ

ในวันนั้นนั่นเอง. ฝ่ายพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงระทมทุกข์เพราะวิโยคจาก

ต้นมหาโพธิ์ ทรงคร่ำครวญกันแสง จ้องพระเนตรดูจนสุดทัศนวิสัย แล้วก็

เสด็จกลับ.




ในพระอรรถกถา ถ้าได้อ่านดู จะไม่พบว่า "ระยะทาง" หรือ "ทิศทาง" ระหว่าง
พระนครปาตลีบุตร กับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อยู่ห่างกันเท่าใด
แต่ ถ้าท่านได้อ่าน ใน "คัมภีร์ถูปวงศ์" จะมีคำอธิบายว่า
"พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้แต่งเส้นทางจาก พระนครปาตลีบุตร
ไปถึง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นระทาง ๗ โยชน์"
แต่ไม่ได้ กล่าวถึง "ทิศทาง"ระยะทาง ๗ โยชน์ ก็เท่ากับ ๑๑๒ กิโลเมตร
คราวนี้ เรามา ดูระยะทางที่อินเดีย ซึ่งจาก "ปัตนะ ที่เขาว่า เป็นนครปาตลีบุตร มาถึง พุทธคยา เป็นระยะทาง 110 กม."
ใกล้เคียง อย่างสามารถยอมรับได้ แต่ "จากปัตนะต้องเดินทางไปทางใต้ จึงจะไปถึงต้นศรีมหาโพธิ์"







แต่จาก การศึกษา ค้นคว้า
โดยที่ มีสมมติฐานว่า "ปาตลีบุตร คือ ที่ตั้งอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา"
และ "โพธิมณฑลที่ตั้ง ต้นโพธิ์ตรัสรู้ อยู่ที่ บ้านโพธิ์ชัย อำเภอโคกโพธิ์ชัย จ.ขอนแก่น"
ก็จะได้ แผนผังการเดินทาง โดยทางเท้า เป็นดังภาพข้างล่างนี้


"ระยะทางระหว่าง อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กับ บ้านโพธิ์ชัย ก็ได้ระยะทาง 112 กม."

ก็ช่างใกล้เคียงกัน กับที่อินเดียเสียนี่กระไร
แต่
จุดที่ต่าง คือ "จากพิมาย ไป บ้านโพธิ์ชัย ต้องไปทางเหนือ

"

ตรงนี้ หล่ะ ที่ผมเรียก "จุดแตกหัก" คือ ถ้า สามารถ หาหลักฐาน บันทึก

ที่ระบุ
ทิศของที่ตั้ง
"ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ว่า อยู่ทาง เหนือ หรือ ใต้ ของ "ปาตลีบุตร"

แน่

เราก็จะรู้ว่า
"ตกลงพระเจ้าอโศกตัวจริง อยู่ที่ ไทย หรือ อินเดีย"




เรื่องราวทั้งหลายที่ประมวล เรียบเรียงมาทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องใหญ่ ถึงใหญ่มาก การที่เราจะคืนความจริงให้แผ่นดินได้ ยังจำเป็นต้องศึกษา และค้นคว้าอย่างละเอียด ทั้งภาคเอกสารบันทึก และภาคสนาม ซึ่งอาจะต้องใช้งบประมาณ และความร่วมมือสนับสนุนจากหน่วยงาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากไม่ได้รับการสนับสนุน จาก รัฐบาลไทย ที่จะสามารถบัญชาสั่งการ ให้หน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีความเกี่ยวข้องมาให้ความร่วมมือในการ ค้นคว้าอย่างละเอียด ทั้งภาคเอกสารบันทึก และภาคสนามแล้ว การที่จะนำความจริงคืนให้แผ่นดินได้ก็คงจะไม่สามารถสำเร็จลงได้ เพราะการที่เราจะทำแต่เพียงลำพัง อาจจะถูกต่อต้านจากผู้ที่ยังไม่เข้าใจและมีอคติ

โอม ศานติ ศานติ