Loader

ที่มาของ ปุราณะ

Started by พิษประจิม, December 19, 2009, 13:57:36

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

ตำรับปุราณ โบราณของจริง

คำว่าโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า มีมาแล้วช้านาน เก่าก่อน ใช้ประกอบกับคำอื่นๆอีกมากมายหลายคำ เช่น โบราณคดี โบราณวัตถุ โบราณสถาน

ส่วนคำว่า ปุราณ เป็นคำเดียวกับ โบราณ ประพัฒน์ ตรีณรงค์ และสงวน อั้นคง อธิบายว่า เป็นนาม ใช้เรียกหนังสือหนึ่งในสามพวก ที่พราหมณ์รวบรวมแต่งไว้ แบ่งเป็นสามยุค ตามลักษณะแห่งหนังสือ

1. ยุคไตรเพท เป็นยุคที่แต่งตำรับที่ออกนามว่า พระเวท พร้อมตำรับอื่นอันเป็นบริวาร มีข้อความกล่าวด้วยการบูชายัญ สรรเสริญพระเป็นเจ้าด้วยวิธีอย่างเก่าที่สุด ไม่ใคร่จะมีเรื่องราวเล่าอย่างเป็นนิยายหรือประวัติพิสดาร

เพราะในสมัยนั้น ยังมิได้มีเวลาคิดประดิด ประดอยเรื่องราว

2. ยุคอิติหาส เป็นยุคที่เกิดมีวีรบุรุษขึ้นแล้ว จึงมีผู้คิดรวบรวมเรื่องราวอันเป็นตำนานเนื่องด้วยวีรบุรุษ รจนาเป็นกาพย์เพื่อให้จำง่าย สอนให้ศิษย์สาธยายในกาลอันควร  แล้วก็จำกันต่อๆมา  มีเรื่องรามายณะ (รามเกียรติ์) และมหาภารตะ เป็นอาทิ แต่ยังไม่มีผู้จดลงเป็นลายลักษณ์อักษร

ภายหลังอีกหลายร้อยปี จนมีผู้จดเป็นหนังสือ เพราะฉะนั้น หนังสืออิติหาสจึงมักมีข้อผนวกหรือแก้ไขเกินไปกว่าเรื่องเดิม

3. ยุคปุราณ เมื่อยกยอวีรบุรุษต่างๆมากขึ้นๆ ในที่สุดวีรบุรุษก็กลายเป็นผู้วิเศษหรือเทวดา เกิดตำรับชุดปุราณขึ้นเป็นพยานหลักฐานว่า พระเป็นเจ้า หรือเทวดาองค์นั้นๆ ได้ทรงอภินิหารอย่างนี้ ยิ่งแต่งยิ่งเพลินขึ้นทุกที

ข้างฝ่ายไสยศาสตร์ก็เกิดตำรับปุราณ อ้างว่ารวบรวมจากเรื่องเก่าขึ้นมาบ้าง

หนังสือตำรับเหล่านี้ เมื่อเป็นที่ถูกใจนักศึกษาก็มีผู้จำได้มาก จนในที่สุด ทั้งพราหมณ์ และชนสามัญที่ถือไสยศาสตร์ก็เริ่มไม่รู้จักไตรเพทที่แท้จริง ยึดตำรับหนังสือชุดปุราณ เป็นตำรับสำคัญของลัทธิไสยศาสตร์ไปเลยทีเดียว

หนังสืออมรโกษ หนังสืออภิธานภาษา สันสกฤตที่เก่าที่สุด แต่งโดยพราหมณ์อมรสิงห์ รัตนกวีผู้หนึ่ง ในราชสำนักพระเจ้าวิกรมาทิตย์ กรุงอุชยินี(อุชเชนี) อธิบายคุณลักษณะ หนังสือปุราณไว้ว่า ควรมีลักษณะพร้อมด้วยองค์ 5 กล่าวคือ

1. กล่าวด้วยการสร้างโลก
2. กล่าวด้วยการล้างโลกและกลับสถาปนาขึ้น
3. กล่าวด้วยกำเนิดแห่งพระเจ้า และพระบิดาทั้งหลาย
4. กล่าวด้วยกัลป์แห่งพระมนูทั้งหลาย ผู้บันดาลให้กาลแบ่งเป็นมันวันตระ
5.กล่าวด้วยพงศาวดารกษัตริย์ สุริยวงศ์ และจันทรวงศ์

พราหมณ์อมรสิงห์ระบุว่า หนังสือใดบริบูรณ์ด้วยเนื้อหาเช่นนี้ จึงเรียกว่า บริบูรณ์ ด้วยเบญจลักษณ์แห่งปุราณคัมภีร์ หรือคัมภีร์ปุราณที่แท้จริง

หนังสือปุราณทุกฉบับแต่งเป็นกาพย์ มีฉันท์กับโศลกคละกัน รูปแบบหนังสือมักเป็นปุจฉาวิสัชนา และมีคนอื่นๆพูดบ้างบางแห่ง

อายุหนังสือปุราณไม่ใช่สมัยเดียว กันหมด แม้ในเล่มเดียวกัน ข้อความบางตอนชี้ให้เห็นว่า มีผู้แต้มเติมเข้าใหม่ ภายหลัง เชื่อมหัวต่อไม่สนิท

หนังสือปุราณทุกคัมภีร์ มักอ้างว่าเป็นของมุนีตนใดตนหนึ่ง รับมาจากพระเป็นเจ้า มาสอนให้ศิษย์นามว่าอย่างนั้นๆ

เช่น วิษณุปุราณ พระปุลุสตยมนีรับมาจากพระพรหมา แล้วมาบอกเล่าให้ศิษย์ ชขื่อปราศร และปราศรบอกให้แก่ศิษย์ชื่อไมไตรยอีกชั้นหนึ่ง

ตำรับปุราณ มี 18 คัมภีร์ แบ่งเป็น 3 นิกาย ตามลักษณะแห่งเรื่อง ดังต่อไปนี้

ก. สาตตวิกนิกาย  มีลักษณะเต็มไปด้วยความเที่ยงธรรม  หรืออีกนัยหนึ่ง เรียกว่าไวษณพนิกาย  กล่าวด้วยพระพิษณุเจ้า  มี  6  คัมภีร์ 
1.วิษณุปุราณ 
2.นารท หรือนารทียปุราณ
3. ภาควัตปุราณ
4. ครุฑปุราณ
5. ปัทมปุราณ
6. วราหปุราณ

ข.ตามัสนิกาย กล่าวด้วยสมัยที่โลกยังขุ่นเป็นน้ำตม อีกนัยหนึ่ง ไศวนิกาย กล่าวด้วยพระศิวะเป็นเจ้า มี 6 คัมภีร์
1. มัตสยปุราณ
2. กูรมปุราณ
3. ลิงคปุราณ
4. ศิวปุราณ
5 สกันทปุราณ
6. อัคนิปุราณ หรือวายุปุราณ(หลังๆแยกออกเป็น2ปุราณะ)

ค. ราชัสนิกาย กล่าวด้วยสมัยเมื่อโลกเต็มไปด้วยความมืด และกล่าวด้วยพระพรหม สมมติว่าพระพรหมมาเป็นผู้แสดงบ้างในบางเรื่อง มี 6 คัมภีร์ 1. พรหมปุราณ
2. พรหมาณฑปุราณ
3. พรหมไววรรตปุราณ
4. มารกัณเฑยปุราณ
5. ภวิษยปุราณ
6. วามนปุราณ

ข้อมูลหนังสือปุราณเหล่านี้ ผู้ เรียบเรียงบอกว่าได้มาจากอภิธานศกุนตลา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6. (อ่านรายละเอียดใน บ่อเกิดรามเกียรติ์ และ ศกุนตลา)

Oบาราย O

http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/52476


ขอบคุณมากครับผม
ชัดแจนแจ่มแจ้ง อิ อิ^^
 

พฤษภกาสรอีกกุญชรอันปลดปลง
   โททนต์เสน่คงสำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวายมลายสิ้นทั้งอินทรีย์   สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลกา

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์      มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด   ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

ขอบคุณสำหรับสาระความรู้ที่มอบให้ครับ

Quote from: พิษประจิม on December 19, 2009, 13:57:36
ตำรับปุราณ โบราณของจริง

คำว่าโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า มีมาแล้วช้านาน เก่าก่อน ใช้ประกอบกับคำอื่นๆอีกมากมายหลายคำ เช่น โบราณคดี โบราณวัตถุ โบราณสถาน

ส่วนคำว่า ปุราณ เป็นคำเดียวกับ โบราณ ประพัฒน์ ตรีณรงค์ และสงวน อั้นคง อธิบายว่า เป็นนาม ใช้เรียกหนังสือหนึ่งในสามพวก ที่พราหมณ์รวบรวมแต่งไว้ แบ่งเป็นสามยุค ตามลักษณะแห่งหนังสือ

1. ยุคไตรเพท เป็นยุคที่แต่งตำรับที่ออกนามว่า พระเวท พร้อมตำรับอื่นอันเป็นบริวาร มีข้อความกล่าวด้วยการบูชายัญ สรรเสริญพระเป็นเจ้าด้วยวิธีอย่างเก่าที่สุด ไม่ใคร่จะมีเรื่องราวเล่าอย่างเป็นนิยายหรือประวัติพิสดาร

เพราะในสมัยนั้น ยังมิได้มีเวลาคิดประดิด ประดอยเรื่องราว

2. ยุคอิติหาส เป็นยุคที่เกิดมีวีรบุรุษขึ้นแล้ว จึงมีผู้คิดรวบรวมเรื่องราวอันเป็นตำนานเนื่องด้วยวีรบุรุษ รจนาเป็นกาพย์เพื่อให้จำง่าย สอนให้ศิษย์สาธยายในกาลอันควร  แล้วก็จำกันต่อๆมา  มีเรื่องรามายณะ (รามเกียรติ์) และมหาภารตะ เป็นอาทิ แต่ยังไม่มีผู้จดลงเป็นลายลักษณ์อักษร

ภายหลังอีกหลายร้อยปี จนมีผู้จดเป็นหนังสือ เพราะฉะนั้น หนังสืออิติหาสจึงมักมีข้อผนวกหรือแก้ไขเกินไปกว่าเรื่องเดิม

3. ยุคปุราณ เมื่อยกยอวีรบุรุษต่างๆมากขึ้นๆ ในที่สุดวีรบุรุษก็กลายเป็นผู้วิเศษหรือเทวดา เกิดตำรับชุดปุราณขึ้นเป็นพยานหลักฐานว่า พระเป็นเจ้า หรือเทวดาองค์นั้นๆ ได้ทรงอภินิหารอย่างนี้ ยิ่งแต่งยิ่งเพลินขึ้นทุกที

ข้างฝ่ายไสยศาสตร์ก็เกิดตำรับปุราณ อ้างว่ารวบรวมจากเรื่องเก่าขึ้นมาบ้าง

หนังสือตำรับเหล่านี้ เมื่อเป็นที่ถูกใจนักศึกษาก็มีผู้จำได้มาก จนในที่สุด ทั้งพราหมณ์ และชนสามัญที่ถือไสยศาสตร์ก็เริ่มไม่รู้จักไตรเพทที่แท้จริง ยึดตำรับหนังสือชุดปุราณ เป็นตำรับสำคัญของลัทธิไสยศาสตร์ไปเลยทีเดียว

หนังสืออมรโกษ หนังสืออภิธานภาษา สันสกฤตที่เก่าที่สุด แต่งโดยพราหมณ์อมรสิงห์ รัตนกวีผู้หนึ่ง ในราชสำนักพระเจ้าวิกรมาทิตย์ กรุงอุชยินี(อุชเชนี) อธิบายคุณลักษณะ หนังสือปุราณไว้ว่า ควรมีลักษณะพร้อมด้วยองค์ 5 กล่าวคือ

1. กล่าวด้วยการสร้างโลก
2. กล่าวด้วยการล้างโลกและกลับสถาปนาขึ้น
3. กล่าวด้วยกำเนิดแห่งพระเจ้า และพระบิดาทั้งหลาย
4. กล่าวด้วยกัลป์แห่งพระมนูทั้งหลาย ผู้บันดาลให้กาลแบ่งเป็นมันวันตระ
5.กล่าวด้วยพงศาวดารกษัตริย์ สุริยวงศ์ และจันทรวงศ์

พราหมณ์อมรสิงห์ระบุว่า หนังสือใดบริบูรณ์ด้วยเนื้อหาเช่นนี้ จึงเรียกว่า บริบูรณ์ ด้วยเบญจลักษณ์แห่งปุราณคัมภีร์ หรือคัมภีร์ปุราณที่แท้จริง

หนังสือปุราณทุกฉบับแต่งเป็นกาพย์ มีฉันท์กับโศลกคละกัน รูปแบบหนังสือมักเป็นปุจฉาวิสัชนา และมีคนอื่นๆพูดบ้างบางแห่ง

อายุหนังสือปุราณไม่ใช่สมัยเดียว กันหมด แม้ในเล่มเดียวกัน ข้อความบางตอนชี้ให้เห็นว่า มีผู้แต้มเติมเข้าใหม่ ภายหลัง เชื่อมหัวต่อไม่สนิท

หนังสือปุราณทุกคัมภีร์ มักอ้างว่าเป็นของมุนีตนใดตนหนึ่ง รับมาจากพระเป็นเจ้า มาสอนให้ศิษย์นามว่าอย่างนั้นๆ

เช่น วิษณุปุราณ พระปุลุสตยมนีรับมาจากพระพรหมา แล้วมาบอกเล่าให้ศิษย์ ชขื่อปราศร และปราศรบอกให้แก่ศิษย์ชื่อไมไตรยอีกชั้นหนึ่ง

ตำรับปุราณ มี 18 คัมภีร์ แบ่งเป็น 3 นิกาย ตามลักษณะแห่งเรื่อง ดังต่อไปนี้

ก. สาตตวิกนิกาย  มีลักษณะเต็มไปด้วยความเที่ยงธรรม  หรืออีกนัยหนึ่ง เรียกว่าไวษณพนิกาย  กล่าวด้วยพระพิษณุเจ้า  มี  6  คัมภีร์ 
1.วิษณุปุราณ 
2.นารท หรือนารทียปุราณ
3. ภาควัตปุราณ
4. ครุฑปุราณ
5. ปัทมปุราณ
6. วราหปุราณ

ข.ตามัสนิกาย กล่าวด้วยสมัยที่โลกยังขุ่นเป็นน้ำตม อีกนัยหนึ่ง ไศวนิกาย กล่าวด้วยพระศิวะเป็นเจ้า มี 6 คัมภีร์
1. มัตสยปุราณ
2. กูรมปุราณ
3. ลิงคปุราณ
4. ศิวปุราณ
5 สกันทปุราณ
6. อัคนิปุราณ หรือวายุปุราณ(หลังๆแยกออกเป็น2ปุราณะ)

ค. ราชัสนิกาย กล่าวด้วยสมัยเมื่อโลกเต็มไปด้วยความมืด และกล่าวด้วยพระพรหม สมมติว่าพระพรหมมาเป็นผู้แสดงบ้างในบางเรื่อง มี 6 คัมภีร์ 1. พรหมปุราณ
2. พรหมาณฑปุราณ
3. พรหมไววรรตปุราณ
4. มารกัณเฑยปุราณ
5. ภวิษยปุราณ
6. วามนปุราณ

ข้อมูลหนังสือปุราณเหล่านี้ ผู้ เรียบเรียงบอกว่าได้มาจากอภิธานศกุนตลา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6. (อ่านรายละเอียดใน บ่อเกิดรามเกียรติ์ และ ศกุนตลา)

Oบาราย O

http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/52476


ในหนังสือประวัตวรรณคดีสันสกฤต ของ อาจารย์มณีปิ่น พรหมสุทธิลักษณ์ ศิลปากร
กล่าวว่า
ในการแบ่งปุราณะ ออกเป็นสามนิกายนั้น
บางคณาจารย์ถึงกับถือว่า
ปุราณะที่เป็นสาตวิกนิกายนั้น อ่านแล้วไปสวรรค์

ส่วนตมัสนิกาย อ่านแล้วไปนรก
เข้าใจว่าคณาจารย์ที่กล่าวอ้างเช่นนี้คงเป็นคณาจารย์ในฝ่ายไวษณวะ เพราะสาตวิกนิกายทั้งหมดเป็นปุราณะในฝ่ายไวษณวะ
ส่วนตมัสนิกายเป็นของไศวะครับ

นอกจากปุราณะหลักข้างต้นแล้ว
ยังมีปุราณะชั้นรอง ที่เรียกว่าอุปปุราณอีก จำนวนหนึ่ง

ที่เป็นที่รู้จักกันมากคือ คเณศปุราณะ และมุทคลปุราณะ

และยังมีปุราณะในภาษาถิ่นอีก อย่างเปริยาปุราณัม ของทมิฬ ที่เขียนด้วยภาษาทมิฬ เป็นเรื่องความภักดีในพระศิวะ

มาเพิ่มเติมครับ