Loader

ปีชง ไท้ส่วย 2553 (เริ่มวันที่ 14 ก.พ. 2553)

Started by กาลปุตรา, December 21, 2009, 08:48:49

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.


ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 จะเป็นวันแรก หรือ ปีใหม่ของชาวจีน ซึ่งในทุกๆ ปีจะมีเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา หรือ องค์ไท้ส่วยเอี๊ย พลัดเปลี่ยนกันลงมาทำหน้าที่คุ้มครองดวงชะตาสลับสับเปลี่ยนกันในแต่ละปีธาตุ รวม 60 องค์ (5 ธาตุ x 12 นักษัตร)

โดยในปีนี้เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ยที่จะลงมาทำหน้าที่คุ้มครองดวงชะตาในปี "แกอิ๊ง ()" (อิ๊ง หมายถึง ปีนักษัตรขาล และ แก หมายถึง ธาตุทอง) ก็คือ องค์ไท้ส่วยที่มีพระนามว่า
"鄔桓大將軍" อูฮ้วยไต่เจียงกุง (ภาษาแต้จิ๋ว) หรือ อูหวนต้าเจียงจวิน (ภาษาจีนกลาง)
ท่านมีนามย่อว่า "อูอี้" เป็นชาวเมืองซินช่าง เกิดในสมัยราชวงศ์หยวน ด้วยในชีวิตทำคุณงามความดีไว้มาก เมื่อเสียชีวิตลงจึงได้รับพระราชทานยศจากองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ให้ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในเทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา ประจำในปีขาลทอง (พ.ศ. 2493, 2553, 2613)

ในแต่ละปีจะเห็นได้ว่าคนไทยเรานั้นมักจะให้ความสนใจกับการชงปีไท้ส่วยกันมาก แต่หลายท่านก็ยังไม่ทราบว่า แท้จริงแล้วปีเกิดของแต่ละท่านไม่ได้ชงกับปีไท้ส่วยเสมอไป แต่กลับถูกเหมารวมเรียกว่าชงไปหมด ซึ่งตามความจริงจะแยกออกเป็น 5 ลักษณะ และ ในปีขาลทองดวงชะตาของแต่ละท่านจะได้รับผลดังนี้

1. ท่านที่เกิดในปีขาล จะตกเกณฑ์ "คัก" โดยเฉพาะที่ที่เกิดในปีขาล พ.ศ. 2529
อันจะทำให้ในปีนี้จะเกิดแต่เรื่องปวดหัว มีทุกข์ลาภ มีความสุขความทุกคละเค้ากันไป ชีวิตจะมีแต่เรื่องการต่อสู้แย่งชิงไม่ว่างเว้น

2. ท่านที่เกิดปีมะเส็ง จะตกเกณฑ์ "เฮ้ง" โดยเฉพาะท่านที่เกิดในปีมะเส็ง พ.ศ. 2520
อันจะทำให้เกิดเรื่องเกี่ยวกับคดีความ มีอุปสรรคขวากหนามมากมาย ถูกทำร้าย เห็นผิดเป็นชอบ เกิดการเข้าใจผิดอยู่เสมอ

3. ท่านที่เกิดปีวอก จะตกเกณฑ์ "ชง" โดยเฉพาะท่านที่เกิดในปีวอก พ.ศ. 2487, 2511 และ 2547
ถือว่าเป็นปี "ฆาต" จะเกิดมรสุมเข้ามาในชีวิต ทั้งในหน้าที่การงาน การเงิน สุขภาพ ความรัก ความสงบสุขในชีวิต ความสูญเสียและภัยพิบัติต่างๆ นานา

4. ท่านที่เกิดปีกุน จะตกเกณฑ์ "ผั่ว" โดยเฉพาะท่านที่เกิดในปีกุน พ.ศ. 2502 กับ 2538
อันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตบ่อย ในปีนี้จะรู้สึกเหงาเดียวดายเป็นพิเศษ ชีวิตคู่ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

5. ท่านที่เกิดปีมะเส็ง จะตกเกณฑ์ "ไห่" โดยเฉพาะท่านที่เกิดในปีมะเส็ง พ.ศ. 2520
อันจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่ออยู่เป็นประจำ อีกทั้งจะเกิดการทะเลาะวิวาทในหมู่ญาติพี่น้อง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผลของแต่ละแบบไม่เหมือนกัน แต่คนไทยเรามักไม่เข้าใจเลยเหมารวมเรียกทั้งหมดว่า "ชง" ที่แปลว่า "ปะทะ" เพียงคำเดียวไปเสียหมด

วิธีสะเดาะเคราะห์กับไท้ส่วยประจำปีนั้น สามารถกระทำได้ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 2553 เป็นต้นไป ห้ามกระทำก่อนถึงวันตรุษจีนนะครับ เพราะถ้าไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ก่อนวันตรุษจีนย่อมเท่ากับไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์กับไท้ส่วยองค์เก่า เนื่องจากไท้ส่วยอูฮ้วยไต่เจียงกุง จะเสด็จลงมารับหน้าที่คุ้มครองดวงชะตา หรือ เข้ารับตำแหน่งของท่านในวันชิวอิก หรือ ตรุษจีนเป็นต้นไปเท่านั้น

ซึ่งเห็นมีหลายท่านไม่ทราบกัน รีบไปแก้กันก่อนตรุษจีนด้วยกลัวว่าถ้าไปทำในช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้วคนจะเยอะแน่นมาก เลยรีบไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์กันก่อนอันถือว่าผิด แต่ที่ถูกควรเริ่มไปทำตั้งแต่วันตรุษจีนแล้วเป็นต้นไปจะถูกต้องกว่า หรือ ถ้ากลัวคนเยอะก็ให้ไปทำหลังวันตรุษจีนก็ย่อมได้ของเพียงให้อยู่ในปีขาลทองก็ใช้ได้

ของที่ใช้สะเคาะเคราะห์ไท้ส่วยประจำปีก็ไม่มีอะไรมาก อย่าไปใช้ให้สิ้นเปลืองนักตามที่หนังสือบางเล่มลงไว้เพื่อขายของ เพราะ ตามตำราโบราณนั้นกำหนดไว้ไม่กี่อย่างเอง โดยสามารถทำได้ทั้งเดินทางไปทำตามวัดที่มีองค์ไท้ส่วยสถิตอยู่ หรือ จะตั้งโต๊ะกลางแจ้งหน้าบ้านของท่านก็กระทำได้ ของที่ใช้จะมีดังนี้

1. เทียนเหลือง 1 คู่ (เพราะถือว่าไท้ส่วยนั้นความจริงก็คือดาวพฤหัส ซึ่งมีสีเหลืองเป็นสีประจำพระองค์) หรือ เทียนแดงก็ได้ เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่าสีแดงเป็นสีมงคล


2. ธูป 3 ดอก


3. เทียบเชิญ หรือ กระดาษแดง 1 ใบ เขียนอัญเชิญองค์ไท้ส่วย "อูฮ้วยไต่เจียงกุง" ลงไปเหมือนกับการที่เราเขียนการ์ดเชิญทั่วไป จากนั้นก็เขียนชื่อ นามสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด เวลาเกิดของเจ้าชะตาลงไป แล้วเขียนสิ่งที่ต้องการให้องค์ไท้ส่วยช่วยเหลือ และ สิ่งที่ต้องการขอพรลงไปในนั้น


4. หงิงเตี๋ย 12 แผ่น (แต่ถ้าปีใดมีเดือน 5 จีนสองหน ก็เพิ่มเข้าไปอีก 1 แผ่น)

ลักฮะจี๊แบบรวม
ลักฮะจี๊แบบแยก

5. ลักฮะจี้ (วลีอวยพร 6 ประการ) 1 ผับ จะเป็นแบบรวมหรือแบบแยกก็ได้ มีขายที่ตลาดเยาวราช แต่ขอแนะนำให้เอาอย่างรวมทั้ง 6 วลีไว้ในแผ่นเดียวเพื่อความประหยัด


ที่เหลือท่านจะนำอะไรมาเป็นเครื่องบรรณาการเพิ่มเติมอีกก็ได้ แต้ห้ามให้ตกเลข 7 หรือ 7 ชนิด เพราะ ชาวจีนถือว่าเลข 7 ไม่เป็นมงคลนะครับ ของที่นำมาบรรณาการเพิ่มก็อาจจะได้แก่ ผลไม้, ขนม, เจฉ่าย, ค้อซี, เทียงเถ่จี๊, กิมหงอ่งเต้า, ตั่วกิม, กิมฮก และ ฯลฯ แล้วแต่กำลังเงิน

เมื่อทำพิธีไหว้ทำพิธีไหว้องค์ไท้ส่วยประจำปีเพื่อสะเดาะเคราะห์เสร็จ ก็ให้ลาเอา หงิ่งเตี๋ยทั้ง 12 แผ่นกับลักฮะจี๊ มาปัดไล่รังควานตั้งแต่หัวจรดเท้า 12 ครั้งตามจำนวนเดือนในปีนั้น ถ้าปีใดมีเดือน 5 จีน 2 หน ก็ให้เพิ่มการปัดไล่เสนียดจัญไรนั้นเพิ่มไปอีก 1 ครั้ง ส่วนลักฮะจี๊จะเป็นการปัดเพื่อให้มงคลทั้ง 6 ประการเข้าอยู่ในตัวเรา ทำเช่นนี้ก็จะเป็นอันเสร็จพิธีสะเดาะเคราะห์ไท้ส่วยประจำปีอย่างสมบูรณ์

ปล. ตามหนังสือที่ขายกันตามท้องตลาด มักจะให้จัดข้าวของใช้ไหว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่มีความจำเป็นเท่าใดนัก เพราะนั้นเขาทำเพื่อการค้าขายได้มากเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น ฉะนั้นขอให้ใช้เท่าที่จำเป็นก็พอแล้ว
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

ขอบคุณครับ
ผมไปทำมาแล้ว คงต้องไปทำอีกหลังวันตรุษจีน

ขอบคุณมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก...ค่ะ

ดีจัง !
[HIGHLIGHT=#ffff00]ผู้ที่ได้ชื่อว่าบุตรแห่งเทวะ  ย่อมมีหัวใจของเทวะ    [/HIGHLIGHT]

ไปทำมาแล้วครับ สุดยอดแห่งคนวัดคับแคบไปเลย ส่วนตาก็แดงเพราะควันธูปที่มหาศาล ทั้งที่วัดมังกร กับ ศาลเจ้าพ่อเสือ แต่หากใครจะไปปัดตัวน่าจะซื้อของสักการะบูชาหน้าวัดชุดปีชงด้วยนะครับในนั้นจะมี ส้ม เทียนแดง กระดาษที่ไว้เผา และอื่นๆ แค่120บาท ทางวัดไม่ได้จัดให้แบบนั้นแต่ทางวัดมีแค่กระดาษปัดตัวอย่างเดี่ยว
วงการมายา ไม่ใช่สนามเด็กเล่น แต่เป็นสมรภูมิรบ และ การผูกสัมพันธ์ไมตรี ทั้งจริงและจอมปลอม

มายา ความหมายของมันช่างลึบลับเหลือเกิน

วงการมายาไม่ใช่ของเล่นทั่วไป เข้าแล้วออกยาก ระวังเอาไว้

แล้วที่วัดบำเพ็ญจีนพรตอะคัฟ
มีแก้ปีชงปะ
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

วัดที่ทำพิธีแก้ปีชง
1.วัดโพธิ์แมน
2.วัดทิพย์วารี
3.วัดมังกรกมลาวาส
4.วัดบำเพ็จจีนพรต
5.สำนักสงค์สุธรรม หมู่บ้านเศรษฐกิจบางแค
6.วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ กาญจนบุรี
7.วัดโพธิ์เย็น กาญจนบุรี
8.วัดโพธิทัตตาราม ชลบุรี
9.วัดเทพพุทธาราม ชลบุรี
10.วัดฉือฉาง หาดใหญ่ตรงข้ามบ้านไอ้บอย
11.วัดบรมราชากาญจนาภิเษก นนทบุรี
12.วัดมังกรบุปผาราม จันทบุรี
13.วัดจีนประชาสโมสร แปดริ้ว
14.วัดเล่งจิ๋วเจ็งเสี่ย ห้วยขวาง-ดินแดง

ใครชงก็รีบไปทำเลยนะครับ เดี่ยวตรุษจีนคนจะเยอะมาก
วงการมายา ไม่ใช่สนามเด็กเล่น แต่เป็นสมรภูมิรบ และ การผูกสัมพันธ์ไมตรี ทั้งจริงและจอมปลอม

มายา ความหมายของมันช่างลึบลับเหลือเกิน

วงการมายาไม่ใช่ของเล่นทั่วไป เข้าแล้วออกยาก ระวังเอาไว้

เห็นว่าต้องทำหลังตรุษจีนใช่ป่ะครับ ถึงจะเป็นปีเสือจริงๆ
โอม ทัต ปูรูชยา วิดมาเฮ วักรา ทุนดายา ดีมาฮี ทะโน ทันติ ปราโชดายะ 

ถูกแล้วครับ การที่องค์ไท้ส่วยองค์ใหม่จะลงมาทำหน้าที่คุ้มครองดวงชะตานั้น ท่านจะลงมาในวันชิวอิก หรือวันแรกของปีใหม่จีนนั่นเอง

ส่วนคนที่กลัวว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนคนจะเยอะมากแล้วทำพิธีลำบากนั้นก็ไม่ต้องกลัว เพราะพิธีสะเดาะเคราะห์ปัดชงไถ่ส่วยนั้นสามารถทำได้ทั้งปีขาลทองนี้ครับ เลือกไปทำวันไหนก็ได้ โดยเฉพาะในทุกวันพระจีน

และถ้าเป็นช่วงวันเเทศกาลช็งเม้งก็จะดีมาก เพราะคำว่า "เช็ง" หมายถึง สะอาดหมดจด กับคำว่า "เม้ง" จะหมายถึง สุกสว่าง ถ้าไปทำการปัดสะดาะเคราะห์กันในช่วงเทศกาลเช็งเม้งนั้น ชาวจีนบางท่านถือว่าจะเป็นการปัดไล่เคราะห์ร้ายออกจากร่างกายไปได้จนหมดเกลี้ยง อีกทั้งยังทำให้ดวงชะตานั้นกลับมาสุกสว่างขึ้นอีกครั้ง

อีกอย่างในช่วงเทศกาลเช็งเม้งนั้นชาวจีนถือว่าเป็นช่วงที่เทพเจ้างดการลงโทษ คือให้อภัยในสิ่งที่มนุษย์ได้ทำผิดที่ผิดทาง หรือทำผิดจารีตประเพณีด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาลอีกด้วย

ส่วนวันที่ห้ามไปปัดชงไถ่ส่วยนั้น ชาวจีนหลายท่านเชื่อกันว่าวันห่อบะจ่างและวันไหว้บะจ่างนั้นไม่ควรไปทำการปัดเคราะห์ เพราะถือว่าเป็นวันแน่ เหมือนการมัดขนมบะจ่างในสมัยโบราณที่มัดจนแน่นแล้วนำไปต้มในน้ำได้โดยที่น้ำแทบจะไม่ซึมเข้าไปเลย ดังนั้นจึงไม่ควรไปปัดเคราะห์ออกในวันนี้ ด้วยเชื่อว่าเคราะห์นั้นจะเกาะแน่ปัดเท่าไรก็ไม่ออก

ฉะนั้นไม่ต้องกังวลครับ ว่าจะต้องรีบไปแย่งกันทำพิธีในช่วง 15 วันแรกของเทศกาลตรุษจีนเท่านั้น ทำได้ทั้งปีครับ

อีกอย่างองค์ไถ่ส่วยนั้นความจริงในตำราโหราศาสตร์จีนนั้น ก็เอาต้นแบบมาจาก 60 รอบปีดาวพฤหัสของอินเดีย ดังนั้นเทียนที่ใช้ไหว้ควรเป็นสีเหลือง หรือ เทียนที่ใช้ไหว้พระจะดีกว่า เนื่องจากสีเหลืองสดนั้นเป็นสีของดาวพฤหัส ในแบบอินเดียนั่นเอง แต่การใช้เทียนสีแดงก็ถือว่าไม่ผิด

ส่วนท่านใดที่ไม่สามารถไปไหว้ปัดชงไถ่ส่วยตามวัดได้เนื่องจากไม่สะดวก หรือต้องเดินทางมาไกล ท่านก็สามารถตั้งโต๊ะบูชาองค์ไถ่ส่วยกลางแจ้งได้ และอย่างน้อยควรจะมีรูปองค์ไถ่ส่วยใหญ่ (องค์ประธาน) หรือองค์ไถ่ส่วยประจำปีนั้นๆ ไว้บนโต๊ะบูชาทำพิธีด้วยก็จะดีครับ

[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]