Loader

พีธีบูชาไฟ

Started by sompope, February 18, 2010, 17:36:37

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

มีข้อกำหนดในการบูชาไฟ หรือ เปล่า แล้วบูชา ไฟ ให้ เทว องค์ไหนบ้าง แล้วส่วนใหญ่เข้าบูชากันตอนกลางวันหรือกลางคืน
แล้วไม้ที่เข้านำมาเผานั้น ส่วนใหญ่ใช้ไม้อะไร

ข้อกำหนดในการบูชาไฟ มีด้วยกันหลายอย่างมากมายคราบ เเล้วของที่จะนำมาทำถวายเทพเเต่ละองค์ก้อต่างกันออกไป
ผมว่าถ้าคุณคิดจะทำเองอย่าเลยคราบ มันยุ่งยากมากมาย เเละพิธี บางอย่าง เหนือ ใต้ ก้อไม่เหมือนกันอีกอะ
[HIGHLIGHT=#ffffff]บ้านคนจะเเต่งหิ้งพระสวยยังไงก้อยังเป็นบ้านคน จะให้บ้านคนเป็นวัดคงเป็นไปไม่ได้[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffffff]จงอยู่ในความพอดี ไม่เยอะไป ไม่น้อยไป กลาง ๆ พอดี ๆ อะ เเล้วจะมีความสุขกะสิ่งที่ทำ[/HIGHLIGHT]

ข้อกำหนดในการบูชาพระเป็นเจ้าทางกองกูณ ที่มีชื่อเรียกกันว่า โฮมัม ซัวฮา ฮาวัน หรืออะไรอีกหลายๆชื่อนั้น

คุณเองต้องเป็นคนที่มีความรู้และชำนาญในเรื่องของมนตกำกับมากมาย คะ ต้องรู้รายละเอียดทุกขั้นตอน ทุกอย่างต้องเป๊ะ

เคสนี้ ศรัทธาก็ส่วนศรัทธาคะ ทุกอย่างควรจะเป๊ะตามหลักพระเวท และอุปกรณ์วัสดุที่ใช้ก็ค่อนข้างที่จะต้องใส่ใจ และรายละเอียดในทุกขั้นตอนคะ

แม้แต่ฟืนที่จะมาก่อก็ต้องถูกคัดสรรมาอย่างดี รวมไปถึง เครื่องบูชาที่จะถวายผ่านพระอัคนีนั้น ต้องพิถีพิถันพอสมควรคะ เพราะพระเจ้าไม่ใช่เพื่อนเล่น

เลยต้องพิถีพถันกันหน่อย ไม่ใช่สักแต่ว่าหาอะไรใกล้ตัวได้ก็ใส่ๆ หรือมนต์ไม่รู้อะไรก็สักแต่ท่องๆ อันนี้ความคิดดิฉันนะคะ

ถ้าคุณไม่ถูกให้ฝึกมาเป็นพรหามณ์ และอีกอย่างไม่มีความรู้ที่ถูกต้องโดยะเฉพาะ ดิฉันว่าเราบูชาในฐานะศาสนิกชนที่ดีคนนึงก็พอแล้วคะ


บูชาแบบธรรมดา ไม่ต้องเดือดร้อนใคร

แล้วศรัทธาของคุณจะเต็มเปี่ยมด้วยคุณค่าและสิ่งที่ดีๆมากมาย 

[HIGHLIGHT=#ffc000]หากมีศรัทธาแล้วไซร้ ก็ควรทำให้ถูกต้องตามจารีตประเพณี  เพื่อศรัทธาที่มีนั้นจะได้มีค่า และหาข้อติเตียนไม่ได้[/HIGHLIGHT]

 

  จริงคะ  ของพวกนั้ไม่ได้มาทำกันเล่นๆ   เพราะถ้าทำอะไรผิดพลาดไป ความเสื่อมจะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว

  อยากให้คุณศึกษามากกว่านี้นิดนึง    และถ้าไม่เดือดร้อนอะไรมาก  ก็บูชาไฟอารตี สวดมนต์  แบบปกติ อิชั้นว่าก็เลิศแล้วคะ

   ของอย่างนี้ส่วนหนึ่งอยู่ที่ใจ  เชื่อว่าพระเจ้าก็จะทรงทราบถึงเจตนาของเราคะ


ในบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนพาธา มี บทบูชาไฟที่แปลเป็นภาษาไทยด้วย
เล่าให้ฟังเฉยๆค่ะ เห็นด้วยว่าถ้าไม่ช่นักบวชไม่ควรปฏิบัติเอง
      

มัทนะพาธา มันเรื่องแต่งนะครับ

การบูชาไฟ มีคำเรียกภาษาไทยทางการว่า"โหมกรรม"

February 19, 2010, 06:31:13 #6 Last Edit: February 19, 2010, 08:05:25 by jaidevima
เรื่องแต่งค่ะ

แต่เนื่องด้วยล้นเกล้ารัชกาลที่หกท่านมีคสามรู้เรื่องภาษาศาสตร์มาก จึงแต่งบทบูชาไฟที่ได้ต้นเค้าจากพระเวทย์

มีการบรรยายคุณสัมบัติของพระอัคนีที่เป็นไฟทั้งสามในฉันท์บทนั้นด้วย
      

แต่ผมเคยเห็นข้างๆ บ้านเค้าทำพิธีบูชาไฟทุกๆ วันศุกร์อะคับ(วันเทพศักติ) มีเตาไฟในการบูชาไฟ  มีของไหว้เยะมากๆ แถมคนที่เข้าร่วมก็มากด้วยก็ทุกวันศุกร์จะมีการประกอบพิธี

Quote from: chalit on February 19, 2010, 08:02:45
แต่ผมเคยเห็นข้างๆ บ้านเค้าทำพิธีบูชาไฟทุกๆ วันศุกร์อะคับ(วันเทพศักติ) มีเตาไฟในการบูชาไฟ  มีของไหว้เยะมากๆ แถมคนที่เข้าร่วมก็มากด้วยก็ทุกวันศุกร์จะมีการประกอบพิธี

คะ เค้าอาจจะเป็นพรหามร์ก็ได้คะ  ไม่ลบหลู่นะคะ ของไหว้เยอะ ก็ไม่ได้หมายความว้าพิธีบูชาจะถูกต้องตามหลักพระเวทย์
เพราะในการทำพิธีจะต้องมีการเชิญพระเวทย์ลงสู่กองกูณท์คะ ดิฉันเห็นสมัยนี้ คนเค้าฮิตทำกันจังเลยคะ อิอิ

ขออัมมันคุ้มครองนะคะ
[HIGHLIGHT=#ffc000]หากมีศรัทธาแล้วไซร้ ก็ควรทำให้ถูกต้องตามจารีตประเพณี  เพื่อศรัทธาที่มีนั้นจะได้มีค่า และหาข้อติเตียนไม่ได้[/HIGHLIGHT]

โอ้ ขอบคุณครับแต่ไม่ได้จะทำเองนะครับ แต่ที่บริษัทบูชาเทพ แล้วพราห์ณ ที่มาประกอบพิธีให้ในการจัดบวงสรวง ทุกปี
เข้าบอกว่าน่าจะบูชาไฟได้แล้ว เป็นพราห์ณ จากอินเดียนะครับ ไม่ใช้พราห์ม ไทย เลยสงสัยอยากทราบความหมาย

คนที่ก่อกองกูณฑ์ได้ ต้องเป็นวรรณะพราหมณ์ หรือนักบวชเท่านั้น

ฆราวาส หรือคนวรรณะอื่น อาจไปช่วยทำพิธี ช่วยตักเครื่องบูชาลงกองไฟก็ได้

เพราะการทำพิธีนี้ ทำโดยผู้ชำนาญพระเวท อาจเป็นวรรณะพราหมณ์ ฤๅษี

...

ในรามายณะ วรรณะชั้นต่ำทำพิธีโหมกรรม จนบ้านเมืองวิปริต ทำให้ลูกชายพราหมณ์คนนึงตาย จนพระรามทราบเรื่อง และพบวรรณะศูทรผู้ทำพิธีนี้ พระรามเลยตัดหัวคนนั้นเป็นการลงโทษ

เพราะคนสมัยก่อนเชื่อว่า ถ้าคนวรรณะอื่น หรือวรรณะต่ำๆ ทำตัวแบบพราหมณ์ ทำตัวแบบนักบวช ทำให้บ้านเมืองหายนะได้

สรุปแบบง่ายๆ ว่าสำหรับที่บ้านทุกวันศุกร์ทำอารตีไฟก็พอใช้ไม่ครับ  แสดงว่าที่บ้านห้ามทำพิธีบูชาไฟใช้ไม่ครับ  ถ้าทำแสดงว่าผิดใช้ไม่ครับ

February 19, 2010, 09:57:36 #12 Last Edit: February 19, 2010, 10:06:24 by ตรีศังกุ
เพราะเป็นบ้านคนไม่ใช่เทวาลัย ไม่จำเป็นต้องก่อกองไฟหรอกครับ เว้นแต่บ้านหลังนั้นเป็นศาสนสถาน หรือเป็นเทวาลัย จะก่อกองไฟก้ไม่มีปัญหา
แต่บ้านคน ก่อกองไฟในบ้าน มันผิดกาลเทศะ ถ้าทำไม่ดี เดี๋ยวไฟไหม้บ้านครับ

ที่ๆที่ก่อกองไฟทำพิธี ต้องเป็นลานกว้างๆ หรืออาจทำในเทวาลัย และไม่มีความจำเป็นที่ต้องก่อกองไฟในบ้าน เพราะเจ้าของบ้านไม่ได้ตั้งใจทำให้เป็นศาสนสถานหรือเทวาลัย

ถ้าดูตามจริง จะทราบว่าทำไม่ได้ ไม่มีข้อยกเว้น เพราะการก่อกองไฟทำพิธี เป็นหน้าที่ของนักบวชหรือวรรณะพราหมณ์ ไม่ใช่คนนั้นคนนี้ สักแต่ว่าจำๆมนต์นั้นมนต์นี้ แล้วมาทำพิธีตามนักบวช

Quote from: ตรีศังกุ on February 19, 2010, 09:36:37
คนที่ก่อกองกูณฑ์ได้ ต้องเป็นวรรณะพราหมณ์ หรือนักบวชเท่านั้น

ฆราวาส หรือคนวรรณะอื่น อาจไปช่วยทำพิธี ช่วยตักเครื่องบูชาลงกองไฟก็ได้

เพราะการทำพิธีนี้ ทำโดยผู้ชำนาญพระเวท อาจเป็นวรรณะพราหมณ์ ฤๅษี

...

ในรามายณะ วรรณะชั้นต่ำทำพิธีโหมกรรม จนบ้านเมืองวิปริต ทำให้ลูกชายพราหมณ์คนนึงตาย จนพระรามทราบเรื่อง และพบวรรณะศูทรผู้ทำพิธีนี้ พระรามเลยตัดหัวคนนั้นเป็นการลงโทษ

เพราะคนสมัยก่อนเชื่อว่า ถ้าคนวรรณะอื่น หรือวรรณะต่ำๆ ทำตัวแบบพราหมณ์ ทำตัวแบบนักบวช ทำให้บ้านเมืองหายนะได้
ว๊าย ถ้าอย่างนั้นบ้านเราคงโดนกันหลายรายนะคะ
      

ผมไม่รู้ว่าปัจจุบันมีการลดหย่อนเรื่องการก่อกองไฟบูชาเองรึเปล่า

แต่อะไรที่นักบวชทำ คนอื่นก็ไม่ต้องไปทำตามครับ

คือ อย่างนี่เราก็ยังไม่ต้องทำตามที่พราห์ณ เข้าแนะนำใช้ไหม
รอให้สร้างเป็น เทวลัย ก่อนหรือเปล่า เอ๋ เทวลัย กับเทวสถาน ต่างกันหรือเปล่า
ขอบคุณทุุก คำแนะนำ ขอความสวัสดี มีแต่ทุกท่าน นมัสเต

แต่ถ้าพราหมณ์เขาแนะนำ ก็ทำได้ครับ

เอางี้ พราหมณ์ให้ทำอะไร ก็ทำตามที่ท่านบอก เรื่องสถานที่ก่อไป ให้พราหมณ์ท่านบอกเองครับ

โอ้ดี ครับ ฉะนั้นก่อนทำการอะไร ตามถามผู้รู้ ในHM ก่อน ว่าถูกต้องหรือเปล่า
เราคนไทยไม่ค่อยรู้ เรื่อง และลึกซึ้ง ในทางเทวบูชา 
ขอโทษนะครับ HM นี้เปิดมานานหรือยังครับ
ชอบแล้วซิ ถ้ามีคำถามบ่อยอย่าเพิ่งรำคาญนะครับ ใหม่จริงๆๆ

การบูชาไฟ เขาเรียกว่า โหมกุณฑ์ คับ

ถือเป็นการบูชาสำคัญอย่างนึ่ง รากเดิมก็คือการบูชาแต่โบราณของพราหมร์ตั้งแต่ยุคพระเวท
ในไทยเอง มักจะทำแต่ในพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น พระราชพิธีครั้งหลังสุด เท่าที่ทราบ คือ
พระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่เหนว่าพระราชครูเชิญใบไม้ 3 ช่อ ที่เรียกว่า ใบสมิต
ไปถวายพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงปัดพระองค์ เพื่อให้โรคภัยต่างๆลงสู่ใบสมิตให้พ้นพระองค์
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว จึงเชิญกลับมาทำพิธีโหมกุณฑ์ที่เทวสถาน เพื่อให้พระอัคนีทรงทำลายทิ้งเสีย นี่ก็เป็นการบูชากุณฑ์อย่างหนึ่ง

รายละเอียดลองหาอ่านในศิลปวัฒนธรรม หรือหนังสือพลอยแกมเพชร เล่มธันวาคม ช่วยพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครับ

มีความเห็นเหมือนกับทุกๆท่านที่กล่าวมาในข้างต้นครับว่า พิธีนี้เป็นกิจเฉพาะที่พราหมณ์เป็นผู้มีหน้าที่ในการประกอบพิธีบูชาพระเป็นเจ้าเท่านั้น เราในฐานะที่เป็นศาสนิกชน ก็พึงประกอบพิธีบูชาตามปกติ ก็เพียงพอแล้วล่ะครับ

แต่หากต้องการทราบเพื่อประดับความรู้ ก็ไม่ถือว่าผิดอะไร ผมเองก็พอทราบข้อมูลคร่าวๆเหมือนกัน เพราะอย่างที่กล่าวไปแหล่ะครับว่า พิธีนี้เป็นพิธีเฉพาะพราหมณ์ที่จะทำกัน ฉะนั้นรายละเอียดขั้นตอน ตลอดจนพระเวทและมนตราที่ใช้กำกับขณะประกอบพิธี จึงเป็นข้อมูลที่เข้าถึงได้ยากมาก

ผมจึงขออนุญาตแสดงความเห็นเท่าที่พอทราบมาก็แล้วกันนะครับ...

พิธีบูชาไฟโหมกูณฑ์หรือพิธีโฮม่า,โฮมัม (Homa,Homam) ฯลฯ เป็นหนึ่งในพิธีบูชาพระเป็นเจ้าทางศาสนาพรามหมณ์-ฮินดู โดยมีการนำสิ่งของต่างๆ ตั้งแต่ไม้มงคล สมุนไพร ธัญพืชต่างๆ ดอกไม้ เนย น้ำผึ้ง ตลอดจนพัสตราภรณ์ อาทิ ส่าหรี โทรตี้ เป็นต้น ลงไปเผาในกองกูณฑ์ที่ลุกโชนด้วยไฟ อันถือเป็นการถวายเครื่องบูชาผ่านทางพระอัคนีไปสู่พระเป็นเจ้าองค์ที่เราประกอบพิธีบูชา โดยในแต่ละขั้นตอนพราหมณ์ก็จะสาธยายพระเวทและมนตรากำกับไปด้วยตลอดทั้งพิธี (ซึ่งเครื่องบูชาและสิ่งของที่ใส่ลงไปในกองกูณฑ์นั้น ก็จะแตกต่างไปตามสายนิกาย มากบ้างน้อยบ้างตามแต่ละสายนิกายจะกำหนดครับ)

นอกจากนี้ผมขอกล่าวถึงข้อสังเกตเท่าที่ผมสังเกตพิธีบูชาไฟโหมกูณฑ์หรือโฮมัม  จากสองศาสนสถานพราหมณ์-ฮินดูที่สำคัญของกรุงเทพฯ ได้แก่ วัดพระศรีมหาอุมาเทวีกับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ก็พบว่า ทั้งสองแห่งมีการประกอบพิธีบูชาไฟนี้เช่นกัน หากแต่มีรายละเอียดและขั้นตอนปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น

ทางวัดพระศรีมหาอุมาเทวีจะประกอบพิธีโฮมัมในงานบูชาพระเป็นเจ้าในเทศกาลสำคัญๆของวัด เช่น วันคเณศจตุรถี นวราตรี ดิปาวลี เป็นต้น  โดยจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และมีเครื่องบูชาหรือสิ่งของต่างๆที่ใส่ลงไปในกองกูณฑ์เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ไม้มงคลต่างๆ สมุนไพร ธัญพืช ดอกไม้ เนย น้ำผึ้ง รวมทั้งเครื่องพัสตราภรณ์ต่างๆ โดยมีพระเวทและมนตรากำกับในทุกขั้นตอน โดยขี้เถ้าที่เหลือจากการประกอบพิธีโฮมัม ก็มักจะถือว่าเป็นขี้เถ้าอันศักดิ์สิทธิ์

.

.
(ภาพพิธีโฮมัมบูชาพระคเณศในวันบูชาบรมครู ของทางวัดพระศรีมหาอุมาเทวี)
.
.

ส่วนทางเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า ก็มีการประกอบพิธีบูชาโหมกูณฑ์ เช่นกัน แต่จะกระทำกันในโอกาสสำคัญๆเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโอกาสที่เกี่ยวเนื่องกับทางพระราชสำนัก (เช่นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หรือพระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติ เป็นต้น) ครั้งล่าสุดเห็นจะเป็นในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ที่ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ใบสมิตปัดพระวรกายแล้ว คณะพราหมณ์ก็จะนำใบสมิตมาประกอบพิธีเผาทำลาย เรียกพิธีนี้ว่า “พิธีศาสตร์ปุณยาชุบโหมกูณฑ์” เพื่อความเป็นสิริมงคล และขจัดสิ่งที่ไม่ดีรวมทั้งอุปสรรคทั้งปวงให้หมดไป ทั้งเพื่อเป็นการขอพรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะพราหมณ์จะประกอบพิธีภายในสถานพระอิศวร โดยเครื่องบูชาจะใช้ไม้และใบไม้มงคลชนิดต่างๆ การบูร เนยและน้ำผึ้งเป็นหลัก (สังเกตว่าเครื่องบูชาเหล่านี้จะน้อยกว่าพิธีโฮมัมของทางวัดแขก)  รายละเอียดโดยสังเขปของพิธีนี้เริ่มต้นจากพระราชครูพราหมณ์ประกอบพิธีชำระกายให้สะอาดด้วยพระเวท (หรือที่เรียกว่า “อาตมวิสุทธิ์”) จากนั้นจึงประกอบพิธีถวายข้าวเวทย์ พิธีบูชาเทวดานพเคราะห์ แล้วจึงประกอบพิธีบูชาไฟโหมกูณฑ์ ด้วยการนำเครื่องบูชาต่างๆในข้างต้นรวมทั้งใบสมิตมาใส่ลงในกองเพลิง (พระอัคนี) โดยขณะที่ประกอบพิธีก็จะมีการสวดพระเวทและมนตรากำกับตลอดทั้งพิธี และเมื่อเสร็จสิ้นพิธีก็จะมีการดับไฟในเตากูณฑ์ หลังจากนั้นจึงน้ำขี้เถ้าที่เหลือทั้งหมดไปลอยในแม่น้ำต่อไป

.
.
(พิธีบูชาไฟโหมกูณฑ์(เผาใบสมิต) ในพิธีศาสตร์ปุณยาชุบโหมกูณฑ์ ที่ทางเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์
จัดถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี)
[/FONT][/FONT][/SIZE]


ที่มา : http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1096.msg9679
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

อื่ม ............  ได้ความรู้ แน่น เนือง เรย ขอบคุณทุกๆ ท่านคร้าฟ

สรุปง่ายๆ คือ แค่อารตีก็พอแล้วใช้ไม่คับ  ทำได้ทุกวัน เช้า-เย็น ถูกต้องไม่คับ  โอม ศักติ โอม...


แระการอารตีมีนอกเหนือ เพิ่มเติม จากนี้ อีกมั๊ยคร้าฟ

คุณ แต่ก็ มิได้นำพา ..........

(อื่ม ชื่อใหม่ นิ่ ได้ ใจจริงๆ)