Loader

สิรวีย์พาเที่ยว ตอนที่1

Started by อินทุศีตาลา, April 16, 2010, 12:59:00

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

หลังจากเป็นสมาชิกบอร์ดมาได้ระยะหนึ่ง ทำให้มีโอกาสพูดคุยกับหลายๆคนในบอร์ดนี้ค่ะ เรื่องที่คุยกันบ่อยๆก็สถานที่ต่างๆซึ่งมีของน่าดูน่าชมอยู่มาก

หลังจากดิฉันหลบไปรักษาสุขภาพได้สักพักก้เริ่มเหงาค่ะ เลยคิดหัวข้อกระทู้นี้ขึ้น นอกจากแก้อาการเซ้งของตัวเองแล้ว ยังถือเป็นโอกาสดีชวนเพื่อนๆทุกท่านไปเที่ยวกันค่ะ แต่ละสถานที่น่าสนุก ได้ความรู้ และถูกมองข้ามมานานแล้วทั้งนั้น

เริ่มต้นด้วย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตดุสิต กรุงเทพมหานครค่ะ



พิพิธภัณฑ์นี้อยู่ริมสนามหลวง ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และวิทยาลัยนาฏศิลป์ค่ะ ฝั่งตรงข้ามศาลอาญา คนไทยมักผ่านไปเฉยๆ มีแต่นักเรียนกับฝรั่งเข้าไปเที่ยว
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ค่าเข้าชม 30 บาทเพื่อบำรุงพิพิธภัณฑ์ ให้เขาเถอะนะคะ ไหนจะค่าจ้างพนักงาน ไหนจะน้ำไฟ ไหนจะค่าซ่อมบำรุง สารพัด

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เดิมเป็นพระราชวังบวรสถานมงคล ที่ประทับของวังหน้าในรัชกาลที่ 1 - 5 สร้างพร้อมๆกับวังหลวงค่ะ จนเมื่อวังหน้าพระองค์สุดท้ายทิวงคตในรัชกาลที่ 5 บรรดาเจ้านายวังหน้าก็ประทับอยู่จนถึงรัชกาลที่ 7 ที่นี่จึงว่างลงและรัชกาลที่ 7 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เปิดเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร

เมื่อก่อนสนามหลวงมีแค่ครึ่งเดียวนะคะ ใครผ่านไปจะเห็นว่ามีถนนผ่ากลางสนามหลวง ด้านทิศเหนือทั้งหมดเป็นพระราชฐานฝ่ายหน้าของวังหน้าค่ะ



แต่พอสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต วังหน้าส่วนนั้นก็ถูกรื้อเป็ฯสนามหลวง เหลือเพียงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในแบบที่เห็นทุกวันนี้
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

จองที่นั่ง 1 ที่ครับผม 555+


ทุกวันนี้จึงเหลืออาคารสำคัญจัดแสดงโบราณวัตถุสำคัญของชาติ ดังนี้ค่ะ

1.พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เดิมเป็ฯท้องพระโรงของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ 1 ต่มาปี 2330 ท่านเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่นี่ และประดิษฐานมาจนปัจจุบัน บุษบกทรงพระพุทธสิหิงค์นี้ได้รับการยอมรับว่างามสมส่วนระดับเอกอุ หนึ่งในสองชิ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอาคารมีจิตรกรรมภาพเทพชุมชุม และพุทธประวัติที่งดงามมาก


สิ่งที่คนมักมองข้ามคือ ด้านหน้าพระที่นั่งนี่มีประติมากรรมพระนารายณ์ทรงปืน ซึ่งหล่อขึ้นในรัชกาลที่ 5 โดยช่างฝรั่ง เดิมมีพระราชประสง๕จะไปไว้ที่พระราชวังบ้านปืน แต่สิ้นรัชกาลก่อน จึงเชิญมาไว้ที่นี่แทน

นี่คือประติมากรรมที่งดงามมากในความเห็นของดิฉัน และไม่อยากให้พลาดชมค่ะ ชื่อนารายณืทรงปืนนี้ทำให้คิดว่าคือพระราม ดังพระราชวังบ้านปืนก็มีชื่อเป็นทางการว่าพระรามราชนิเวศน์ค่ะ ดังนั้นนี่คือประติมากรรมพระรามนั่นเอง
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 16, 2010, 13:24:10 #4 Last Edit: April 18, 2010, 13:22:55 by สิรวีย์
พระที่นั่งพุไธสวรรย์ด้านในค่ะ



พระพุทธสิหิงค์ประดิฐานในบุษบกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสองหลังที่งดงามได้สัดส่วนที่สุดในโลก



จิตรกรรมฝาผนังมารผจญผนังหุ้มกลองพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ค่ะ



จิตรกรรมฝาผนังพระราชพิธีอภิเษกพระเจ้าสุโธทนะกับพระนางสิริมหามายาค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 16, 2010, 13:29:49 #5 Last Edit: April 16, 2010, 13:37:19 by สิรวีย์
ที่นี่มีพระพุทธรูป เทวรุป และโบราณวัตถุสำคัญ ที่งดงามและเก่าแก่มากมายจัดแสดงให้ชม เรียกได้ว่าบางองค์นั่งดูทั้งวันก็ไม่เบื่อค่ะ ยกตัวอย่างเช่น หมู่เทวรูปศิลปะสุโขทัย บนห้องสุโขทัย ชิ้นที่สำคัญที่สุดสูงกว่า5 เมตร คือพระอิศวรและพระนารายณ์ มีพระหริหระหลายองค์ และมีพระพรหมซึ่งหาชมที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ที่สำคัญคือมีเทวรูปเทวีพระองค์หนึ่งซึ่งอาจเป็นพระอุมาค่ะ


   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เฮ้อ ภาพไม่ค่อยขึ้น เอาไว้เดินทางมาใหม่วันหลังนะคะ 555555555 เบื่อซะแล้วค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เป็นกะทู้ที่น่าสนใจมากๆค่ะ

จะรอติดตามผลงานนะคะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

อยากไปเที่ยวมานานแล้วครับ เห็นว่าในนี้ มีเทวรูป พระแม่ปารวตีที่งดงามมากๆอยู่ เลยอยากไปดูให้เห็นเป็นบุญตา

จะคอยติดตามนะครับ

ยินดีค่ะและขอบพระคุณที่มาเที่ยวด้วยกัน  ขอไปรวบรวมภาพถ่ายสวยๆแปบนึงนะคะ แล้วเดี๋ยวมาพาเที่ยวต่อค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เป็นสถานที่อีกแห่งที่ยอมรับว่าไปทีไรแล้วมีความสุข

เมื่อได้ไปเดินดูมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้ให้ลูกหลานไทยได้ศึกษาและชื่นชม

แม้จะไปมาแล้วแบบนับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ยังมีแรงดึงดูดให้ไปได้อีกเสมอ เพราะเหมือนว่าการไปที่แห่งนี้ แต่ละครั้งมันมีอะไรให้ศึกษาได้อย่างไม่รู้จบ

ขอบพระคุณ คุณสิรวีย์ ที่ได้นำเสนอพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะหลายคนแม้จะศึกษาหรือสนใจเกี่ยวกับศาสนา และศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แต่หลายท่านก็พลาดโอกาสดีๆที่จะได้เข้าไปชื่นชมกับโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าหลายชิ้นที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้

อย่างคำที่โบราณท่านว่าไว้ "สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น" หากมีโอกาสเราน่าจะรวมตัวกันไปเที่ยวชมและศึกษาดูสักรอบ ท่าจะดีนะครับ ^_^ (เรียกว่าได้ความรู้ควบคู่กับการท่องเที่ยวกันเลยทีเดียว อิอิอิ)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ดิฉันเองเคยไปมานานมากแล้วค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะ เหมือนเตือนสติให้ดิฉันให้ได้หวนกลับไปนะสถานที่แห่งนี้อีก

สักครั้ง คุณ"สิรวีย์"ค่ะ คุณพาไปเที่ยวแบบเป็น ซีรีย์ได้ไหมค่ะ จะติดตามค่อยอ่านค่ะ




April 18, 2010, 12:42:53 #12 Last Edit: April 18, 2010, 14:52:10 by สิรวีย์
ยินดีเลยค่ะ และรู้สึกดีมากที่มีเพื่อนเที่ยวด้วยกัน ก่อนอื่นขออนุญาตเล่าถึงพระราชวังบวรสถานมงคลแบบภาพรวมก่อนนะคะ

ระบบการปกครองของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง แบ่งการปกครองระดับผู้นำเป็น 3 ฝ่ายคือ วังหลวง(พระมหากษัตริย์), วังหน้า(พระมหาอุปราช)และวังหลัง (เจ้านายพิเศษ) ซึ่งแต่ละพระองค์มีพระราชอำนาจลดหลั่นกัน

วังหน้าหรือที่เรียกเต็มๆว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้น เป็นตำแหน่งอุปราช มีพระราชอำนาจรองจากพระเจ้าแผ่นดิน ศักดินา100,000 มักเป็นโอรสพระองค์ใหญ่ หรือ พระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดิน ตำแหน่งนี้มีขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระมหาธรรมราชา โดยโปรดฯให้สมเด็จพระนเรศ ทรงดำรงตำแหน่งวังหน้า เสด็จไปประทับ ณ พระราชวังของพระองคื ซึ่งมักเรียกกันว่า "วังหน้า" ตามไปด้วย สำหรับที่อยุธยา วังหน้าก็คือพระราชวังจันทร์เกษม ซึ่งหากมีโอกาส สิรวีย์จะพาไปเที่ยวนะคะ

สำหรับวังหน้าสมัยรัตนโกสินทร์นั้น มีทั้งสิ้น 5 พระองค์ ซึ่งมีเพียงพระองค์เดียวที่ได้ครองราชสมบัติเป็นวังหลวงต่อมา คือกรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งต่อมาเป็นรัชกาลที่ 2 ส่วนพระองค์อื่นนั้น ทิวงคตก่อนวังหลวงทั้งสิ้น

สถาปัตยกรรมวังหน้ามีเอกลักษณ์มากเลยค่ะ โดยมีฐานานุศักดิ์ของอาคารตามลำดับชั้นวังหน้า เช่น หลังคาไม่ลดชั้นยกเว้นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ซึ่งใช้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์, ใช้กระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี เป็นต้น ตราประจำพระองค์ของวังหน้าเป็นรูปพระลักษณืทรงหนุมานค่ะ

สำหรับใครที่เคยเข้าไปในวิทยาลัยนาฏศิลป์กรุงเทพ จะเห็นอาคารทรงไทยงดงาม นั่นคือวัดบวรสถานสุทธาวาส วัดประจำวังหน้าค่ะ




พระคเณศประจำวิทยาลัยนาฎศิลป์กรุงเทพ อาคารด้านหลังคือพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 18, 2010, 12:57:37 #13 Last Edit: April 18, 2010, 13:57:56 by สิรวีย์
วันนี้จะขอพาไปดูของที่เพื่อนๆควรไปชมอย่างยิ่งในวังหน้านะคะ

เริ่มต้นจากเทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทย

ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราจะเรียกเทวรูปแบบนี้ว่าศิลปะทวาราวดี ต่อมานักวิชาการเห็นพ้องกันว่ายุคทวาราวดีซึ่งเคยมีศูนย์กลางทางภาคกลางของไทยนั้น อิทธิพลศาสนาพราหมณ์ยังไม่แพร่หลาย รูปเคารพทางศาสนานี้จึงไม่น่าจะจัดอยู่ในศิลปะทวาราวดี แต่เพราะเทวรูปเหล่านี้เกิดขึ้นจากฝีมือของคนท้องถิ่นจึงน่าจะจัดอยู่ในกระบวนศิลปะไทยด้วย จึงเปลี่ยนมาเรียกว่า ศิลปะรแบบเทวรูปรุ่นเก่า สรุปว่าเป็นเทวรูปซึ่งคนที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันนี้เป็นคนสร้างขึ้นนั่นเอง

เทวรูปรุ่นเก่ามักมีลักษณะอย่างนี้ค่ะ
1. 90% ทำจากหินทราย มีขนาดใหญ่
2. 10%ที่เหลือทำจากโลหะแต่มีขนาดเล็ก
3. ลักษณะไม่เหมือนพระพุทธรูปศิลปะทวาราวดีและศิลปะเขมรเลย แต่กลับมีร่องรองของศิลปะอินเดีย เช่น คุปตะ หลังคุปตะ ปาละและเสนะ เป็นต้น



เทวรูปพระอาทิตย์ ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่าค่ะ ขุดพบที่เมืองโบราณศรีเทพ เพชรบูรณ์ จะเห็ฯว่ามีอิทธิพลศิลปะอินเดียอยู่มากแต่ก็แสดงให้เห็นว่ามีลักษณะแบบท้องถิ่นอยู่บ้างโยเฉพาะลวดลายของเครื่องประดับ  เทวรูปพระอาทิตย์นี้จะมีประภามณฑลรูปวงกลมด้านหลังพระเศียรเสมอค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 18, 2010, 13:44:40 #14 Last Edit: April 18, 2010, 14:00:56 by สิรวีย์


พระหริหระ หินทราย ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทยค่ะ สังเกตเครื่องประดับพระเศียรจะเห็นว่าก้านหนึ่งจะเป็นทรงกระบอกเรียบๆไม่มีลวดลาย คือด้านที่เป็นพระวิษณุ อีกด้านหนึ่งเป็นลายคลื่น ซึ่งอันที่จริงคือปอยพระเกศาที่ย้อยลงมาแล้วตวัดขึ้น คือด้านที่เป็นพระศิวะ นุ่งผ้าโธตีสั้นชักชายด้านหน้าเป็นรูปหางปลา

สำหรับเทวรูปองค์นี้น่าสนใจมากเพราะยังถกเถียงกันไม่จบว่าเป็นศิลปะเขมร ศิลปะลพบุรี หรือเทวรูปรุ่นเก่ากันแน่ เมื่อไม่นานมานี้ดิฉันได้คุยกับคุณแต่ก็มิได้นำพาเรื่องเทวรูปองค์นี้ แต่ลืมไปเสียแล้วว่ามีรายละเอียดที่คุยกันว่าอย่างไรบ้าง หากคุณแต่ก็มิได้นำพาแวะผ่านมา รบกวนเล่าถึงเทวรุปองค์นี้ด้วยนะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

Quote from: สิรวีย์ on April 16, 2010, 13:33:21
เฮ้อ ภาพไม่ค่อยขึ้น เอาไว้เดินทางมาใหม่วันหลังนะคะ 555555555 เบื่อซะแล้วค่ะ



555+ สิรวีย์ สู้ ๆ  สิรวีย์ สู้ตาย สิรวีย์ ไว้ลาย สู้ตาย สู้ๆ  วี๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆ บึ้ม ๆๆๆๆๆๆๆๆ


เป็นกำลังใจให้ึครับผม

April 18, 2010, 13:56:16 #16 Last Edit: April 18, 2010, 15:34:56 by สิรวีย์
องค์นี้ ถ้ามาที่นี่แล้วพลาดชมไม่ได้เลยค่ะ



พระวิษณุจตุรภุช ขุดพบที่กระบี่ค่ะ เป็นเทวรูปรุ่นเก่าที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถเชิงช่างของคนสมัยนั้น เทวรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่มาก ประมาณ 200 เซนติเมตร สลักจากหินทราย โดยมีลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ที่ชัดเจน สมส่วนและสง่างามมากค่ะ เรียกว่าหุ่นดีสุดๆ (แต่ถ้ามองจากด้านข้างจะเห็นว่าพระอุทรพลุ้ยนิดๆนะคะ)ดิฉันไปที่นั่นทีไรต้องมานั่งชมเทวรุปองค์นี้นานๆ

จะเห็นว่าเทวรุปพระนารายณ์ในสมัยนั้นจะทรงสวมพระมาลาทรงกระบอกเรียบอยู่เสมอ เป็นลักษณะเพาะของเทวรูปองค์นี้ ซึ่งต่อมาก็มีการยักย้ายเป็นพระมาลาแปดเหลี่ยมแต่ก็ยังเป็นทรงกระบอกสูงทั้งนั้น และมักจะไม่สวมเครื่องประดับพระองค์อลังการ แต่มักจะมีผ้าคาดพระโสณี และประภามณฑลโค้งเป็นรุปเกือกม้าด้านหลังเทวรูป โดยสองพระหัตถ์ล่างจะทรงศาสตราวุธเช่น กระบอง โดยเท่าไว้ที่พื้น ทั้งนี้เพื่อความแข็งแรงคงทนของเทวรูป โดยช่างอาจจะเลือกประภามณฑล หรืออาวุธอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันในเทวรุปองคืเดียวก้ได้ ส่วนเทวรุปองค์นี้ไม่มีทั้งอาวุธและประภามณฑล แสดงให้เห็ฯว่าช่างสมัยนั้นเก่งและเชื่อมั่นในตนเองมากเลยค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



องค์นี้คือพระวิษณุ ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่าร่วมสมัยศิลปะพนมดา ขุดพบที่เมืองศรีเทพเช่นกันค่ะ

หากเปรียบเทียบกับพระหริหระที่พาไปชมเมือสักครู่นี้จะเห็นว่ามีบางส่วนคล้ายกัน แต่ก้ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ความน่าสนใจก็คือเทวรุปพระวิษณุองค์นี้มีอิทธิพลศิลปะแบบพนมดาแน่นอน นี่คือสิ่งที่นักวิชาการถกเถียงกันว่าเทวรุปพระหิหระองค์นั้นกับองค์นี้สร้างยุคเดียวกัน ต่างยุค หรือแค่ต่างอิทธิพลกันแน่ค่ะ

เทวรุปเหล่านี้จะไม่ค่อยมีเครื่องประดับอลังการนะคะ มักจะทรงเพียงพระภูษาเรียบๆ มีร่องรอยว่าทาสีด้วยค่ะ แต่จางมากแล้ว เพื่อนๆคงเดาออกว่า ที่ทำเรียบๆก็เพราะศาสนิกชนสมัยนั้นจะตกตแงเทวรูปด้วยเครื่องทองและผ้าแบบสมัยนี้นั่นเอง
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 18, 2010, 14:13:46 #18 Last Edit: April 18, 2010, 14:18:20 by สิรวีย์
อันนี้พิเศษนะคะ


พระคเณศศิลา ศิลปะชวาภาคกลาง มาจากจัณฑิส่าหรี รัฐบาลฮอลันดาซึ่งดูแลอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น น้อมเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 5 มาเมื่อเสด็จประพาสชวาค่ะ
พระคเณศองค์นี้มีบัลลังก์และกุณฑ,ประดับด้วยกระโหลก พร้อมกันนั้นรัฐฐาลฮอลันดาถวายพระธยานิพุทธะทั้ง 4 มาด้วย ดปรดให้ประดิษฐานที่ไพทีพรระมณฑ) วัดพระแก้ว ทำจากหินภูเขาไฟค่ะ

เทวรุปเหล่านี้จัดแสดงอยู่ ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท นะคะ หากใครว่างๆแวะเข้าไปชม รับรองไม่อยากกลับออกมาอน่นอนค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

สุดยอดมากค่ะ เป็นกระทู้ที่ดีมากๆ เอาใจช่วยเจ้าของกระทู้นะคะ อย่าลืมมาพาเที่ยวอีกนะคะ

April 18, 2010, 14:23:54 #20 Last Edit: April 18, 2010, 15:40:17 by สิรวีย์
ในอาคารหลังเดียวกันนี้ยังมีเทวรุปงามๆประดิษฐานอยู่อีกหลายองค์ค่ะ ที่สำคัญก้เช่น



ชิ้นนี้ขุดพบที่บ้านตะโหนด อำเภอโนนสูง โคราชค่ะ ศิลปะเขมรแบบกำพงพระ สังเกตว่ามีพระเกศาเป็นปอยคล้ายพระศิวะในเทวรุปพระหริหระที่พาไปชมเมื่อครู่เลยนะคะ เศียรนี้มีขนาดค่อนข้างใหญาคือ 73 เซนติเมตร ทั้งองค์คงอลังการน่าดู

ด้านหน้ามวยพระเกศาหลุดหายไปค่ะ ถ้าตรงนั้นเป็นพระพุทธรูป เศียรนี้ก็ต้องเป็นใครคะ (จะมีใครมาตอบไหมน้อ)
ถ้าตรงนั้นเป็นรูปเจดีย์ เศียรนี้ก็จะเป็นพระศรีอาริยเมตไตรยค่ะ

ดิฉันชอบเศียรนี้มาก ด้วยรุปพระพักตรงดงามสมส่วน สีพระพักร์อ่อนหวานงดงาม มองเท่าไรก้ไม่เบื่อค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



รุปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนี้ คงเป็นโบราณวัตถุที่คุ้นตาคนไทยมากที่สุดรูปหนึ่ง บ้ายมาจากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ ความงดงามคงไม่ต้องบรรยายมาก นักวิชาการทางศิลปะบางท่านถึงกับพูดว่าถ้ารุปนี้ยังสมบูรณ์ก็อาจไม่งามเท่านี้ แบบเดียวกับรูป Venus de milo นั่นเลยเทียว

คำถามก็คือ เมื่อไม่มีชิ้นส่วนพระพุทธรูปบนพระเมาลี เพราะหักหายไปแล้ว เราทราบได้อย่างไรว่าเป็นพระโพธิสัตวืพระองค์นั้น คำถามนี้ถ้าใครได้เห็นใกล้ๆ ทั้งจากองค์จริงหรือรูปคงตอบได้นะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

สันนิษฐานกันว่าหากรูปพระโพธิสัตว์ข้างบนยังสมบูรณ์อยู่ ก็คงจะมีรุปแบบประมาณนี้นะคะ



พระโพธิสัตว์สององค์นี้ มีกลิ่นอายศิลปะอินเดียแบบปัลลวะหน่อยๆนะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



องค์นี้คือพระอวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย พบที่วัดศาลาทึง อำเภอไชยาเช่นกันค่ะ (ได้คำตอบของคำถามที่แล้วหรือยังคะ อิอิ)



ส่วนองค์นี้เป็นศิลปะศรีวิชัยที่มีอิทธิพลปัลลวะหน่อยๆ พบที่อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานีค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 18, 2010, 14:44:25 #24 Last Edit: April 18, 2010, 14:48:52 by สิรวีย์


องค์นี้คือนางตารา ศิลปะศรีวิชัย พบที่บ้านหัวคู อำเภอไชยาค่ะ




องค์นี้คือนางจุณฑา ศิลปะศรีวิชัย นางจุณฑาเป็นศักติของพระวัชรสัตว์ค่ะ ได้รับการนับถืออย่างมากในบางส่วนของเบงกอล เชื่อว่านางถือกำเนิดจากอำนาจของพระพุทธเจ้าอโมฆสิทธิหรือบางตำราก็ว่าพระพุทธเจ้าไวโรจนะ และเป็นบุคลาธิษฐานของคาถาจุนฑาธาริณี รุปเคารพของพระนางมักมีหกกร ด้านขวาบนทรงปะคำ ขวากลางประทานพรมีเม็ดมณีกลางฝ่าพระหัตถ์ ขวาล่างและซ้ายล่างปางสมาธิ พระหัตถืว้ายบนทรงถือคัมภีนร์และซ้ายกลางที่หักกายไปนี้ต้องถือหม้อน้ำ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะคะ เดี๋ยวพรุง่นี้พาเที่ยวที่นี่เพิ่มเติมค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


และแลัววันอาทิตย์นี้ดิฉันได้มีโอกาสได้ ติดสอยห้อยตามคุณพี่ "สิรวีย์" ไปเที่ยวอีกครั้ง(อ่านในคอลัม) ได้เก็บเกี่ยวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย จากไกด์ที่น่ารักคือคุณพี่ "สิรวีย์" ที่นำทางไปสู่ความเป็นมาทางวัฒนธรรม ประเพณี และศิลป์ ที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งการปกครอง ในสมัยก่อน ดิฉันเองเป็นคนหนึ่งที่มีความชื่นชอบทางประวัติศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อได้อ่านเรื่องราวที่พี่เขียน จึงเกิดความปลื้มในใจ คุณพี่ค่ะ ขบวนรถเที่ยวต่อไป ที่จะพาไปเที่ยวอีก นอกจากวังหน้า วังหลังและเทวศิลป์ตอนต่อจะมีอะไรต่อ...น้อ...ใจร้อนอยากรู้จัง


ขอบคุณนะค่ะ
ดิฉันชอบภาพนี้จังเลยค่ะงดงามมาก




เริดหรูอลังการมากครับ

Quote from: สิรวีย์ on April 18, 2010, 14:13:46
อันนี้พิเศษนะคะ


พระคเณศศิลา ศิลปะชวาภาคกลาง มาจากจัณฑิส่าหรี รัฐบาลฮอลันดาซึ่งดูแลอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น น้อมเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 5 มาเมื่อเสด็จประพาสชวาค่ะ
พระคเณศองค์นี้มีบัลลังก์และกุณฑ,ประดับด้วยกระโหลก พร้อมกันนั้นรัฐฐาลฮอลันดาถวายพระธยานิพุทธะทั้ง 4 มาด้วย ดปรดให้ประดิษฐานที่ไพทีพรระมณฑ) วัดพระแก้ว ทำจากหินภูเขาไฟค่ะ

เทวรุปเหล่านี้จัดแสดงอยู่ ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท นะคะ หากใครว่างๆแวะเข้าไปชม รับรองไม่อยากกลับออกมาอน่นอนค่ะ

ขอร่วมด้วยสักภาพนะครับคุณสิรวีย์ ^_^

.
แวะไปที่ประดิษฐานเทวรูปพระคเณศองค์นี้ทีไร ก็มักจะเจอพวงมาลัยดอกดาวเรืองบ้าง ดอกมะลิบ้าง วางถวายอยู่ที่แท่นไม้ที่ประดิษฐานเทวรูปแทบทุกครั้ง วันดีคืนดีก็เจอมะพร้าวและอ้อยที่มีผู้นำมาถวายด้วย (คิดว่าถ้าไม่เป็นเจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ ก็คงเป็นประชาชนที่ศรัทธานำมาถวาย) สำหรับผมคิดว่าเป็นภาพที่แปลกตาดีครับ สำหรับห้องจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ที่มีปรากฏการณ์แบบนี้ อิอิอิ (ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ท่านผอ.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครท่านใหม่จะออกระเบียบห้ามนำพวงมาลัยหรือของถวายมาวางที่องค์พระหรือยังนะครับ)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

Quote from: สิรวีย์ on April 18, 2010, 14:23:54
ในอาคารหลังเดียวกันนี้ยังมีเทวรุปงามๆประดิษฐานอยู่อีกหลายองค์ค่ะ ที่สำคัญก้เช่น



ชิ้นนี้ขุดพบที่บ้านตะโหนด อำเภอโนนสูง โคราชค่ะ ศิลปะเขมรแบบกำพงพระ สังเกตว่ามีพระเกศาเป็นปอยคล้ายพระศิวะในเทวรุปพระหริหระที่พาไปชมเมื่อครู่เลยนะคะ เศียรนี้มีขนาดค่อนข้างใหญาคือ 73 เซนติเมตร ทั้งองค์คงอลังการน่าดู

ด้านหน้ามวยพระเกศาหลุดหายไปค่ะ ถ้าตรงนั้นเป็นพระพุทธรูป เศียรนี้ก็ต้องเป็นใครคะ (จะมีใครมาตอบไหมน้อ)
ถ้าตรงนั้นเป็นรูปเจดีย์ เศียรนี้ก็จะเป็นพระศรีอาริยเมตไตรยค่ะ

ดิฉันชอบเศียรนี้มาก ด้วยรุปพระพักตรงดงามสมส่วน สีพระพักร์อ่อนหวานงดงาม มองเท่าไรก้ไม่เบื่อค่ะ

ขออนุญาตแสดงความเห็นเท่าที่ทราบมาจากการศึกษาผ่านงานของนักประวัติศาสตร์ศิลปะนะครับ....

สำหรับภาพเศียรที่คุณสิรวีย์นำมาลงนี้ ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเศียรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งท่านสันนิษฐานจากคำบอกเล่าของผู้ที่ค้นพบเศียรนี้ว่า ได้เก็บพระพุทธรูปองค์เล็กๆที่ประดับอยู่หน้าชฏามงกุฏไว้ได้ (แต่ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว) ดังนั้นเศียรนี้จึงน่าจะเป็นเศียรของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร โดยเมื่อสังเกตจากขมวดพระเกศามีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะเขมรแบบกำพงพระ จึงกำหนดอายุไว้ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔

ส่วนท่านศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม กล่าวถึงเศียรพระองค์นี้ว่า หากเป็นเศียรของพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย ย่อมต้องเคยมีรูปเจดีย์ขนาดเล็กประดับอยู่เบื้องหน้าของชฏามงกุฏ ดังพบตัวอย่างที่คล้ายคลึงกันกับที่พบที่บ้านฝ้าย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์


.
(พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย ค้นพบที่อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) .

.....สรุปแล้วก็ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า เศียรของพระองค์นี้เป็นขององค์ไหนกันแน่ แต่ที่แน่นอนคือเป็นเศียรของพระโพธิสัตว์ครับ.....
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

Quote from: สิรวีย์ on April 18, 2010, 14:13:46
อันนี้พิเศษนะคะ


พระคเณศศิลา ศิลปะชวาภาคกลาง มาจากจัณฑิส่าหรี รัฐบาลฮอลันดาซึ่งดูแลอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น น้อมเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 5 มาเมื่อเสด็จประพาสชวาค่ะ
พระคเณศองค์นี้มีบัลลังก์และกุณฑ,ประดับด้วยกระโหลก พร้อมกันนั้นรัฐฐาลฮอลันดาถวายพระธยานิพุทธะทั้ง 4 มาด้วย ดปรดให้ประดิษฐานที่ไพทีพรระมณฑ) วัดพระแก้ว ทำจากหินภูเขาไฟค่ะ

เทวรุปเหล่านี้จัดแสดงอยู่ ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท นะคะ หากใครว่างๆแวะเข้าไปชม รับรองไม่อยากกลับออกมาอน่นอนค่ะ

ชององค์นี้เหมือนกันครับผม คือจะรบกวนถามคุณพี่สิรวีย์ ครับว่า พอจะมีรูปพระธยานิพุทธะ ทั้ง 4 ที่ทำจากหินภูเขาไฟป่าวครับอยากเห้นมากครับ และหินภูเขาไฟที่ว่านี่คือประมาณ หินดำ หรือเป็น ศิลาแลง เหรอครับ เพราะตอนนี้สนใจ เทวรูปที่มาจากหินภูเขาไฟมากครับ ขอบพระัคุณมากครับผม

     สุดยอดครับ ขอบคุณครับ สถานที่แห่งนี้เป็นความฝันของผม มาตั้งแต่เรียนอยู่ ม.๓  ได้แล้วมั่งครับ อยากเข้ามากมาย แต่ไม่มีเงินเข้า ไม่รู้นักเรียนเขาเก็บเท่าไหร่ตอนนั้นไม่กล้าเข้าไปถาม (เมื่อสมัยก่อนจนมากๆ เดินไปสอบระหว่างบางขุนนน-หัวลำโพง ตอนนี้ก็ยังจนอยู่ อิอิ)
    และเมื่อไม่นานมานี้ ก็ยังคุยกับเพื่อนเลยว่าอยากจะไป มากๆๆๆ ขอบคุณครับ ขอบคุณจริงๆ

April 19, 2010, 12:19:40 #32 Last Edit: April 19, 2010, 12:38:04 by สิรวีย์
เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่คุณอักษรชนนีกรุณาเข้ามาพาเราเที่ยวด้วยค่ะ (นึกว่าจะไม่มีใครมาร่วมสนุกซะแล้ว)

นอกจากพระพุทธรูปที่มวยพระเมาฬีจะทำให้เราทราบว่านั่นคือรูปพระโพธิสัตว์แล้ว การสังเกตเครื่องแต่งพระองค์บางอย่างก็สามารถทำให้เราชี้เฉพาะได้ว่าเป็นพระองค์ใด ยกตัวอย่างเช่นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร องค์ที่คนไทยคุ้นตากันดีนั้น จะเห็นว่าท่านมีสังวาลย์พาดพระอังศาหลายๆเส้น แต่หากเราเข้าไปสังเกตุใกล้ๆจะเห็นว่าเส้นหนึ่งทำเป็นรูปกวาง ตามลักษณะที่ระบุว่าพระโพธิสัตว์พระองค์นั้นทรงหนังกวางเป็นอาภรณ์ แต่ลายรูปกว้างนี้ค่อนข้างเล็กนะคะ ดังนั้นถ้าไม่ได้ดูรูปที่ใหญ่และละเอียดพอจะมองไม่ใคร่เห็น ดีที่สุดคือไปดูของจริงด้วยตาตนเองค่ะ นี่คือแรงบันดาลใจที่อยากชวนทุกท่านมาเที่ยวที่นี่

ตามคำขอของคุณจิ้งจอกพันหน้านะคะ

พระธยานิพุทธะซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดฯให้นำมาจากชวาและประดิษฐานอยู่ ณ มุมฐานไพทีของพระมณฑปนั้น ทำจากหินภูเขาไฟ ซึ่งมีสีดำแกมน้ำเงิน มีรูพรุนเล็กน้อย มีผิวค่อนข้างขรุขระ และเริ่มกร่อนบ้างเพราะฤทธิ์มลพิษในบ้านเรา เมื่อมีการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่ พ.ศ.2525 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์แม่กองในการบูรณะ ทรงพระกรุณาฯให้เชิญองค์จริงลงมาประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วจำลองด้วยวัสดุคล้ายเดิมขึ้นประดิษฐานไว้ที่เดิมแทน การนี้ทำให้เกิดข้อดี 2 อย่างคือ
   1. ทำให้โบราณวัตถุสำคัญของชาติมีอายุยืนยาวต่อไป
   2. ทำให้เรามีโอกาสชื่นชมพระพุทธรูปเหล่านั้นใกล้ชิดมากที่พิพิธภัณฑ์ค่ะ เอาไว้ทริปหน้าจะพาไปชมนะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 19, 2010, 12:24:16 #33 Last Edit: April 19, 2010, 12:26:43 by สิรวีย์


พระไวโรจนะพุทธเจ้า

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

April 19, 2010, 12:29:52 #34 Last Edit: April 19, 2010, 12:32:24 by สิรวีย์


พระรัตนสัมภวะพุทธะ ด้านทิศใต้



พระอามิตาภะพุทธะ ด้านทิศตะวันตก

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)



พระอักโษภยะพุทธะ ด้านทิศตะวันออกค่ะ

อันที่จริงพระธยาณิพุทธะมีด้วยกัน 5 พระองค์ แต่พระพุทธรูปซึ่งพระพุทธเจ้าหลวงทรงได้รับมานั้นมีเพียง 4 พระองค์ค่ะ ประดิษฐานอยู่ ณ 4 มุมพระมณฑปพอดี ดังนั้นองค์ที่ไม่มีพระพุทธรูปคือองค์ไหนคะ..... (ขยันถามจะได้รู้ว่ามีคนยังอ่านอยู่ค่ะ)
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

องค์ที่หายไปใช่  พระอโมฆสิทธิ (不空成就如来)  ฤป่าวครับ

หน้าเสียดายนะครับ ที่ขาดไปองค์หนึ่ง

แล้วการสังเกตุว่าเป็นพระอวโลกิเตศวร (观世音菩萨)  นอกจากพระสังวาลย์ที่เป็นรูปกวาง

ยังทรงมีสร้อย พระศอ  อีก3เส้นใช่ไหมครับ

ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

April 19, 2010, 13:32:28 #37 Last Edit: April 19, 2010, 13:39:24 by สิรวีย์
เรียน  คุณ nai3
เรื่องสร้อยพระศอสามเส้นนี่ อาจจะไม่ค่อยพบในประติมาณวิทยาแถบบ้านเราเท่าไรนะคะ บางองค์ไม่ทรงสร้อยพระศอเลยก็มี อาจเป็นได้สองทางคือไม่ได้ถือกันดั่งนี้ทางหนึ่ง หรือศาสนิกชนจะสวมสร้อยพระศอจริงๆถวายท่านก็ได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับเรื่องรุปกวางนั้น อันที่จริงไม่ได้เป็นสังวาลย์นะคะ ดิฉันขอโทษค่ะที่อธิบายคลุมเครือ อันที่จริงต้องบอกว่าสลักเป็นรูปกวางไว้ที่พระอังศา คล้ายๆกับพระอวโลกิเตศวรองค์ที่พบที่วัดศาลาทึง ในความเห็นที่ 23 นะคะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ผมเห็นประติมาณวิทยา ของ วัชรยาน  นิยมให้พระองค์ทรงมีสร้อยพระศอ 3 เส้นอะครับ  เป็นปริศนาธรรมอย่างหนึ่ง
แต่ผมไม่ทราบว่าทางตอนใต้ จะนิยมทำด้วยฤป่าว 
ข้าแต่พระวาคีศวรีเจ้า พระมารดาแห่งพระเวทย์ พระมารดาแห่งศฤงคาร พระมารดาแห่งขุนเขา 
ในนามของ พระปารวตี  ลักษมี  สรัสวตี  สาวิตรี  คายตรี พระองค์คือปรมาตมัน 
พระผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งพระพรหม วิษณุ รุทระ
ด้วยพระกรุณาแห่งพระองค์ จักทำให้โลกที่มืดด้วยอวิทยาสว่างขึ้นโดยพุทธิปัญญา

โอม ตัต สัต

April 19, 2010, 14:03:19 #39 Last Edit: April 19, 2010, 14:16:30 by สิรวีย์
สิ่งควรชมที่ไม่สมควรพลาดเป็นอย่างยิ่งสำหรับชาว HM ทุกท่านก็คือหมู่เทวรูปศิลปะสุโขทัย ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ห้องศิลปะสุโขทัยและอยุธยา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์



สำหรับพระอิศวรองค์นี้ สูงถึง 305 เซนติเมตร และมีสององค์คือพระอิศวรองค์นี้และพระนารายณ์ ซึ่งทั้งสององค์ได้รับการยอมรับว่างดงามแสดงถึงความสามารถเชิงช่างและการหล่อโลหะของช่างสุโขทัย ปรากฎร่องรอยการลงรักปิดทองบริเวณที่เป็นเครื่องประดับ และที่พระหัตถ์มีช่องสำหรับสอดเทพศาสตราของเทวรูปไว้ เทวรูปทั้งสององค์ประทับยืนเหนือแท่นโทรณะมีพวยด้านหน้ายื่นออกมา สันนิษฐานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ทรงหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ.1892 เพื่อประดิษฐาน ณ เทวาลัยมหาเกษตรพิมาน ด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย

นอกจากนี้ยังมีรูปพระพรหม ซึ่งมีเพียงองค์เดียวเท่านั้นนับตั้องแต่กรุงสุโขทัยจนถึงตลอดกรุงศรีอยุธยา ซึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ กับทั้งเทวรูปพระเทวี ประทับยืนยกพระหัตถ์ขึ้นเสมอพระโสณี ที่พระหัตถ์มีช่องสำหรับสอดเทพศาสตรา ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นดอกบัว นักวิชาการสันนิษฐานกันว่าเทวรูปพระองค์นี้คือพระนางปารวตีหรือพระอุมาเทวี เพราะมีขนาดและรูปแบบทางศิลปะคล้ายคลึงกับรูปพระอิศวรอีกองค์หนึ่ง

สิ่งที่น่าสนใจคือ เทวรูปในสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นพระหริหระ ซึ่งเป็นภาครวมของพระวิษณุและพระศิวะ ช่างจะทำให้เป็นเทวรูป 4 กร มีพระเนตรที่สามกลางพระนลาต





เครื่องทรง พระภูษาทรง เครื่องอลงกรณ์ รวมถึงรูปแบบของเทวรูปสมัยนี้ ดิฉันมีความชื่นชมมากเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะมีเส้นนอกอันอ่อนช้อยงดงาม ตามอย่างศิลปะสุโขทัยแล้ว ยังแสดงออกถึงเทพภาวะของพระผู้เป็นเจ้า มีเมตตา สงบ และพร้อมจะรับฟังทุกข์ร้อนของมรรตรัยชนเช่นเรา ความงดงามของเทวรูปสมัยสุโขทัยนี้จะต่างจากเทวรูปสมัยอื่นตรงที่ ไม่ได้ดูขึงขังแสดงความเคลื่อนไหวและอำนาจมากมาย แต่กลับน่ายำเกรง มองเท่าไรก็ไม่เบื่อเลย ดิฉันขอเชิญชวนทุกท่านลองหาโอกาสไปสัมผัสด้วยตาและใจของตัวเองสักครั้งจะทราบว่า ดิฉันกล่าวได้ไม่ถึงเสี้ยวของความเป็นจริงเลย
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)