Loader

ข้อสงสัยในโบสถ์น้อย วัดวิษณุมณเฑียร

Started by อินทุศีตาลา, August 24, 2010, 14:11:46

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

หากใครไปวัดวิษณุ แล้วแวะเข้าไปบูชาพระศิวลึงก์ในโบสถ์น้อย (ไม่ทราบต้องเรียกอย่างไร แต่โดยส่วนตัวดิฉันเรียกโบสถ์น้อยค่ะ ตามแบบที่เรียกวิหารเล็กๆในวัดคาทอลิกว่าวัดน้อย) จะเห็นว่าท่อโสมสูตรของโยนีโทรณะหันไปเบื้องทิศเหนือ แต่เบื้องตะวันออกของหลุมประดิษฐานพระศิวลึงก์มีรูปลักษณะคล้ายยันต์สีแดงอยู่บนพื้น จึงขอถามท่านทั้งหลายดังนี้ค่ะ

1.นี้คืออะไร มีความหมายและความสำคัญอย่างไร
2.เราควรทำหรือไม่ทำอย่างไรคะ เห็นบางคนนั่งบนนั้น บางคนยืนบนนั้น บางคนเอามือไปแตะแล้วมาแตะหน้าผาก บางคนเช่นดิฉันเป็นต้น ไม่กล้าไปยุ่งเพราะไม่รู้ว่าคืออะไร

รบกวนท่านผู้รู้ด้วยค่ะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

เมื่อก่อนไปก็ไม่มีนะค่ะ แต่ดิฉันไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วก็เห็นมีมามาแปะและ

เหมือนสติกเกอร์เลยค่ะ....ดูเหมือนรูปสติกเกอร์ ช่วงงานดีปาวลี เลยค่ะ

อยากรู้เหมือนกัน

วัดคาทอลิกทั้งในต่างประเทศ และบางวัดในประเทศไทยก็มีวัดน้อยเช่นกันครับ  วัดน้อยนี้จะใช้ประกอบพิธีทางศาสนา คือ พิธีมิสซาบูชา

ขอบพระคุณในวันธรรมดา การตั้งศพ และให้คริสตศาสนิกชนเข้าไปเฝ้าศีลสวดภาวนาครับ ..
ข้าแต่พระเป็นเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้เที่ยงแท้ หากปราศจากพระองค์แล้ว ข้าพเจ้าก็ไร้ค่า ..

ขอบพระคุณข้อมูลจากคุณคริสตังไทยค่ะ วัดน้อยที่ดิฉํนแวะเวียนเข้าไปบ่อยๆก็เช่นที่โบสถ์คอนเซปชั่น ค่ะ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าใช้ทำอะไร เพิ่งกระจ่างวันนี้เอง
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

ส่วนภาพด้านบนนี่ มองไปมองมาคล้าย rangoli แต่ไม่แน่ใจครับ

เป็นยันต์ชนิดหนึ่งหรือคะคุณกาลิทัสขา
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

จะบอกยังไงดี มันไม่ใช่ยันต์น่ะครับ แต่เป็นเป็นสัญลักษณ์แทนความเชื่อ



ถ้าเป็นทางอินเดียใต้ เค้าจะเรียกว่า கோலம் โกลัม ครับ
ถ้าเป็นทางอินเดียเหนือ เค้าจะเรียกว่า รันโกลิ ครับ

เป็นเครื่องหมายที่มักจะเห็นกันบริเวณหน้าบ้าน, หน้าหิ้งพระ, หน้าประตูทางเข้าวัด
โดยเฉพาะในช่วงดิปาวาลิ เป็นเครื่องหมายแสดงการต้อนรับพระเป็นเจ้าครับ

บางท้องถิ่น จะเรียกว่า บริเวณที่วาดไว้สำหรับการทำกิจบูชาพระเจ้าครับ



อันนี้เป็นรันโกลิที่หน้าศิวลึงค์ครับ

แต่ผมไม่แน่ใจว่าจะเหมือนกับที่วัดวิษณุหรือเปล่านะครับ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะใช่

ส่วนเรื่อง รันโกลิ และ โกลัม ความหมายของมันมีเยอะกว่านี้ครับ แต่เอาคร่าวๆ เท่านี้แล้วกันนะครับ






โอ กระจ่างดีค่ะ ขอบพระคุณคุณกาลิทัสมากเลยค่ะ และรบกวนอีกข้อหนึ่งค่ะ เราควรอำอย่างไรเมื่อเห็นรันโกลิคะ นั่งบนนั้น วางเครื่องบูชาหรือเทวรูปบนนั้น หรือยืนบนนั้น หรือหลีกตรงนั้น *-* ขอบพระคุณค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)

रंगोली รัน-โก-ลี (rangoli)

เป็นศิลปะลายเส้นแต่ดั้งเดิมของชาวอินเดีย มีลักษณะคล้ายยันตร์ นิยมสร้างขึ้นในเทศกาลเฉลิมฉลองต่างๆ โดยรันโกลีนี้อาจจะมีลักษณะการวาด การสร้าง การให้สี ที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น บ้างก็วาดแบบยึดหลักคัมภีร์ยันตร์ศาสตร์เป็นหลัก คือ การกำหนดทิศทางของจักรวาล บ้างก็วาดให้เป็นรูปภาพสวยงามในแบบเรขาคณิต โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามรูปแบบของยันตร์ก็มี (ตรงนี้เองจึงทำให้รันโกลี แตกต่างกับการเขียนยันต์ ซึ่งจะมีรูปแบบบังคับมากกว่า)
[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

Quote from: สิรวีย์ on August 26, 2010, 21:27:45
โอ กระจ่างดีค่ะ ขอบพระคุณคุณกาลิทัสมากเลยค่ะ และรบกวนอีกข้อหนึ่งค่ะ เราควรอำอย่างไรเมื่อเห็นรันโกลิคะ นั่งบนนั้น วางเครื่องบูชาหรือเทวรูปบนนั้น หรือยืนบนนั้น หรือหลีกตรงนั้น *-* ขอบพระคุณค่ะ




เท่าที่ผมเคยไปถามที่อินเดียมาครับ
เขาบอกว่า รังโคลี ที่ทำไว้หน้าบ้านหรือวัดหรือปะรำพิธี มีไว้เพื่อต้อนรับเทพเจ้าครับ เพราะเวลาจะเสด็จลงมาต้องมีที่ให้ลงประมาณนั้น
ดังนั้นที่อินเดีย เขาจะไม่เหยียบรังโคลี
เว้นแต่ทำไว้ทั่วพื้นที่หรือบริเวณ(เพราะคงไม่รู้จะหลบยังไง) แต่โดยมากมักเว้นที่เบื้องหน้าเทวรูปหรือตรงที่สำคัญไว้ครับ

ขอบพระคุณอาจารย์หริทาสค่ะ
   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


การวาด Rangoli ไม่มีกำหนดตายตัวครับ สามารถวาดได้ทั้งการกำหนดให้มีมณฑลจักรวาล หรือเป็นรูปดอกไม้อันเป็นมงคลที่สื่อความหมายถึงเทพองค์นั้นๆ บางท้องถิ่น ผู้ศรัทธาจะไม่สามารถเข้าไปแตะต้อง Rangoli ได้เลย เพราะเป็นที่เฉพาะของพระผู้เป็นเจ้า ให้พระองค์เสด็จลงมาประทับยังดวงตราอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ก่อนพระองค์จะเข้าสู่พิธีเพื่อประสาทพรแก่ผู้บูชาต่อไป

แต่ในบางท้องถิ่น Rangoli อาจเปรียบได้กับ "อาสนะ" ที่จะให้สวามิ หรือพระครูพราหมณ์ที่มีตำแหน่งสูงสุด นั่งลงได้เพื่อประกอบพิธีกรรม (แต่จะต้องวาดขึ้นมาเท่านั้น หากสร้างจากอักษัตหรือเมล็ดข้าว จะไม่สามารถนั่งบนนั้นได้)

การวาด Rangoli สามารถวาดได้เอง ถ้ามีความสามารถทางศิลปะมากพอ คล้ายๆกับ "แมนดาลา" ซึ่งเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ มาประกอบกันให้เกิดความสวยงาม อารมณ์ในการวาดก็ประมาณคล้ายๆ เราจะจัดดอกไม้ถวายพระเป็นเจ้านั่นแหละครับ จัดอย่างไรก็ได้ ขอให้สวยงาม ขอให้ทำด้วยความศรัทธา ออกมาเป็นรูปแบบแนวไหนก็สุดแล้วแต่จินตนาการ (หรือพระเป็นเจ้าจะดลจิตดลใจให้วาดออกมานั่นเอง) แต่ถ้าวาดได้ตามตำราก็จะมีความหมายดียิ่งขึ้น

ผมสร้าง Rangoli เป็นประจำทุกปีครับ ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ที่มีการสวดอัญเชิญมหาเทพมาสู่ประรำพิธี ถ่ายรูปเก็บไว้ทุกครั้งด้วย เป็นความสุขทางใจเหมือนการทำขนมถวายองค์เทพแหละครับ

Rangoli ไม่เหมือนการวาดยันต์ ซึ่งต้องมีองค์ประกอบ มีที่มาที่ไป มีขอบเขตที่ถูกต้องตามตำราการเขียนยันต์

( อุดหนุนหนังสือยันต์ของ อ.กาลปุตรา ได้ครับ )

ยังไงก็อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าไปยืนหรือนั่งบน Rangoli ละกันนะครับ เพราะไม่รู้ว่าแต่ละโบสถ์ แต่ละท้องถิ่นมีธรรมเนียมอย่างไรบ้าง

ปล. อ.กาลปุตราตัวจริงยิ้มเก่งมากๆครับ 555

รูป Rangoli ดูในกูเกิ้ลได้เลยครับ ที่นี่ครับ http://www.google.co.th/images?q=rangoli&oe=utf-8&rls=org.mozilla:th:official&client=firefox-a&um=1&ie=UTF-8&source=og&sa=N&hl=th&tab=wi&biw=1280&bih=637
หากศาสนิกชนฮินดูปฏิบัติการบูชาเทพอย่างถูกประเพณี เดินบนทางที่ถูกที่ควร
ไม่หลงมัวเมาไปกับอวิชชาทั้งหลาย
ศาสนาพราหมณ์และมหาเทพอันเป็นที่รักยิ่งของเราคงมีภาพลักษณ์ที่ดีกว่านี้

ขอชัยชนะจงมีแด่พระเป็นเจ้า
...กราบแทบพระบาทรูปดอกบัวแห่งพระองค์...สยามคเณศ
พิทักษ์ - สยามคเณศ

อย่าชมมากครับเดี่ยวผมจะกลายเป็นหมูหวานกันพอดี ... อิอิ

เมื่อวานไปร่วมงานกฤษณะชันมาอัษฏมี (कृष्ण जन्माष्टमी - Krishna Janmashtami) ที่วัดเทพมณเฑียรมาได้เจอทีมงานสยามคเณศ น่ารักกันทุกคน อาจารย์อ้อมยังมองตาหวานเยิ้มใส่เลย

พอดีเมื่อวานต้องรีบกลับเร็วหน่อย เพราะพา อ.อ้อมไป ด้วยความที่เธอเป็นสาวบริสุทธิ์ กลับบ้านดึกไม่ได้อีกทั้งบ้านของเธออยู่ไกลจากวัดเทพมณเฑียรมาก เลยต้องรีบไปส่งเธอตอน 2 ทุ่มกว่า 3 ทุ่ม

ใจหนะยังไม่อยากรีบกลับเลยเพราะยังไม่ได้เจอน้องๆ อีกหลายคน เนื่องจากเขาไปวัดแขกสีลมก่อน ค่ำหน่อยถึงจะตามมาที่วัดเทพมณเฑียร

พอลงจากวัดมาแจ๊คพ็อตแตก รองเท้าที่ถอดเก็บไว้ในชั้นวางถูกขโมยหายไป เลยต้องเดินเท้าเปล่ามาขึ้นรถกลับบ้าน อิอิ

ใครเอารองเท้าไปคงโชคร้ายแย่ เพราะรองเท้าเป็นตัวแทนของเรือนวินาส ฉะนั้นจึงแปลว่าการสูญเสีย เลยต้องถือว่าฟาดเคราะห์ มีคนมาเอาเคราะห์กรรมของเราไปแทน

กลับมาถึงบ้านเล่าให้น้องๆ ฟัง กลายเป็นเรื่องฮากันไปเลยเรื่องใส่รองเท้าไปทำบุญ แล้วเดินเท้าเปล่ากลับบ้าน แถมโดนแซวอีกว่าจะใส่ไปทำไม อยู่บ้านพี่ก็ไม่ชอบใส่รองเท้าอยู่แล้วนี่

[HIGHLIGHT=#ffff00]
[HIGHLIGHT=#ffff00]อันจิตมนุษย์นั้นชอบวิ่งออกไปแสวงหาพระเจ้าจากวัตถุภายนอก[/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#ffff00]จนลืมย้อนมองดูพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง อันสถิตอยู่ในใจเรา[/HIGHLIGHT]
[/COLOR][/HIGHLIGHT][/FONT]

ขอบพระคุณคุณสยามคเณศและคุณกาลปุตราค่ะ

ในที่สุดก็กระจ่างเสียทีเรื่องรันโกลิในโบสถ์น้อย

ที่มาของเรื่องคือ ดิฉันเห็นเครื่องหมายนี้มาสักพักหนึ่งแล้วที่นั่น แต่ไม่กล้าเข้าไปแตะต้องหรือแม้แต่เดินเฉียดๆก็ไม่กล้าเพราะไม่รู้ว่าคืออะไร ฉวยเป็นของสูงขึ้นมาจะไม่ดีแก่ตัว รู้สึกดีใจมากที่ทำแบบนั้น

ครั้งหลังสุดที่ไป พบว่ามีคน ย้ำว่าคนนะคะไม่ใช่นักบวช ขึ้นไปนั่งทำพิธีกรรมบนนั้นก็เลยเกิดสงสัยขึ้นมา และได้ผู้รู้ทุกท่านมาช่วยไขข้อข้องใจ อย่างนี้เราทำรันโกลิไว้ที่ห้องบูชาได้ไหมคะ

   ขอพาหาพลรามอันงามขาว    ดังจันทร์คราวเริ่มแรกอุทัยไข
ทรงกำลังสามารถฉกาจไกร       ดังว่าได้ดื่มซึ่งอาสวรส
เต็มด้วยอวตารแห่งปัทมา        ลักษมีกันยาสุภาสด
น่าใคร่ราววสันต์อันงามงด       จงคุ้มท่านทั้งหมดในที่นี้


(คัดจากเทวีวาสวทัตตา ของภาสะ แปลโดย ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล)


เคยได้ยิน อ.หริทาส พูดไว้แบบกิ๊บเก๋ว่า...

Rangoli มีไว้ให้พระเจ้าลงจอด ตอนท่านเสด็จลงมาบนโลก

ถ้าไม่ได้ทำไว้ พระเจ้าจะไม่รู้ว่าจะจอดลงตรงไหน 5555 ถูกใจ ^^

Rangoli สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น

- ทำเป็นรูปดอกบัว ตกแต่งลายเส้นหรือเติมสีสันได้เต็มที่
เพราะดอกบัวสามารถใช้ต้อนรับเทพทุกพระองค์

- รูปสัตว์พาหนะของเทพนั้นๆ เช่น ทำเป็นรูปโค เพื่อต้อนรับพระศิวะ
หรือ ทำเป็นรูปนกยูง ไว้ต้อนรับพระกฤษณะ ฯลฯ
แบบในรูปนี้ครับ   http://www.rangoli.co.in/wp-content/uploads/2009/06/makar-sankranti-rangoli-design.jpg

- เครื่องหมายโอม, เครื่องหมายสวัสติกะ, อักขระมงคลต่างๆ
เช่น คำว่า ศรี, มหา, มงคล, ชยะ ฯลฯ
แบบในรูปนี้   http://farm4.static.flickr.com/3276/3108652061_1518fd72a2.jpg

- พระนามของเทพนั้นๆ เช่น ศิวะ, หริ, ศักติ, มหาเทวี ฯลฯ

- ดิลกแบบที่พราหมณ์เขียนตรงหน้าผาก เช่น พระบาทรูปดอกบัว, สามขีด ฯลฯ

- ศาสตราวุธของเทพนั้นๆ เช่น ตรีศูล, วีณา, จักร, ขนมโมทกะเต็มๆ ถ้วย ฯลฯ

- สัญลักษณ์แทนองค์เทพ เช่น หม้อกลัศ ฯลฯ

- เป็นรูปเทพพระองค์นั้นๆ เลยก็ได้ครับ
แบบรูปนี้  http://2.bp.blogspot.com/_Q0iyLEthfuo/SV9hp16p-SI/AAAAAAAACLA/QMssiZpbu2M/s400/01_Rangoli.jpg

- คิดไม่ออกก็วาดรูปแบบนามธรรมได้เลย เอาให้สวยงาม
แบบรูปนี้  http://farm1.static.flickr.com/34/120184179_6041eac3bd.jpg

ทำแบบใดก็ได้ เน้นที่การตกแต่งด้วยเส้นสายให้สวยงาม ที่อินเดียนิยมใช้ ข้าวสารอักษัต หรือไม่ก็ ผงสีต่างๆ

แต่เราสามารถวาดลงบนกระดาษแผ่นใหญ่ๆได้

สร้างใหญ่ขนาดไหนก็ได้ อาจจะเอาดอกไม้ไปวาง
หรือตะเกียงน้ำมัน ถาดดอกไม้ ถาดบูชาธัญพืชไปวางประดับตรงกลางหรือรอบๆก็ได้ครับ
แบบรูปนี้  http://marketplacehandworkofindia.files.wordpress.com/2009/10/rangoli-21.jpg

และไม่จำเป็นต้องเป็นวงกลม อาจเป็นรูปกลีบดอกไม้ใหญ่ๆ หรือรูปแปดเหลี่ยม เก้าเหลี่ยม ฯลฯ

ถ้าอยากทำ ก็ทำเฉพาะการต้อนรับพระองค์ในพิธีสำคัญๆ ก็พอครับ

วิธีวาด Rangoli ไปดูใน Youtube ได้ที่นี่ครับ มีเยอะเลย
http://www.youtube.com/results?search_query=rangoli&aq=f

หากศาสนิกชนฮินดูปฏิบัติการบูชาเทพอย่างถูกประเพณี เดินบนทางที่ถูกที่ควร
ไม่หลงมัวเมาไปกับอวิชชาทั้งหลาย
ศาสนาพราหมณ์และมหาเทพอันเป็นที่รักยิ่งของเราคงมีภาพลักษณ์ที่ดีกว่านี้

ขอชัยชนะจงมีแด่พระเป็นเจ้า
...กราบแทบพระบาทรูปดอกบัวแห่งพระองค์...สยามคเณศ
พิทักษ์ - สยามคเณศ

Quote from: กาลปุตรา on September 02, 2010, 09:03:08
อย่าชมมากครับเดี่ยวผมจะกลายเป็นหมูหวานกันพอดี ... อิอิ

เมื่อวานไปร่วมงานกฤษณะชันมาอัษฏมี (कृष्ण जन्माष्टमी - Krishna Janmashtami) ที่วัดเทพมณเฑียรมาได้เจอทีมงานสยามคเณศ น่ารักกันทุกคน อาจารย์อ้อมยังมองตาหวานเยิ้มใส่เลย

พอดีเมื่อวานต้องรีบกลับเร็วหน่อย เพราะพา อ.อ้อมไป ด้วยความที่เธอเป็นสาวบริสุทธิ์ กลับบ้านดึกไม่ได้อีกทั้งบ้านของเธออยู่ไกลจากวัดเทพมณเฑียรมาก เลยต้องรีบไปส่งเธอตอน 2 ทุ่มกว่า 3 ทุ่ม

ใจหนะยังไม่อยากรีบกลับเลยเพราะยังไม่ได้เจอน้องๆ อีกหลายคน เนื่องจากเขาไปวัดแขกสีลมก่อน ค่ำหน่อยถึงจะตามมาที่วัดเทพมณเฑียร

พอลงจากวัดมาแจ๊คพ็อตแตก รองเท้าที่ถอดเก็บไว้ในชั้นวางถูกขโมยหายไป เลยต้องเดินเท้าเปล่ามาขึ้นรถกลับบ้าน อิอิ

ใครเอารองเท้าไปคงโชคร้ายแย่ เพราะรองเท้าเป็นตัวแทนของเรือนวินาส ฉะนั้นจึงแปลว่าการสูญเสีย เลยต้องถือว่าฟาดเคราะห์ มีคนมาเอาเคราะห์กรรมของเราไปแทน

กลับมาถึงบ้านเล่าให้น้องๆ ฟัง กลายเป็นเรื่องฮากันไปเลยเรื่องใส่รองเท้าไปทำบุญ แล้วเดินเท้าเปล่ากลับบ้าน แถมโดนแซวอีกว่าจะใส่ไปทำไม อยู่บ้านพี่ก็ไม่ชอบใส่รองเท้าอยู่แล้วนี่



สละรองเท้าให้ทานไปก็ดีครับอาจารย์
เพราะหมายถึงว่า เราจะได้เข้าใกล้พระบาทรูปดอกบัวของพระองค์มากยิ่งขึ้น
(ว่าไปนั่น -_-")

อ.อ้อม ก็น่าจะเป็นสาวบริสุทธิ์ผุดผ่องครับผม หน้าใสกิ๊งขนาดนั้น (ล้อเล่นครับ)

แต่ตัวจริง อ.กาลปุตรา size ไม่เห็นเหมือนในรูปนี้เลยอ่ะครับ อิ อิ อิ
http://www.horamahawed.com/profile.php?id=10

ไว้เจอกันใหม่ครับอาจารย์ ^_^
หากศาสนิกชนฮินดูปฏิบัติการบูชาเทพอย่างถูกประเพณี เดินบนทางที่ถูกที่ควร
ไม่หลงมัวเมาไปกับอวิชชาทั้งหลาย
ศาสนาพราหมณ์และมหาเทพอันเป็นที่รักยิ่งของเราคงมีภาพลักษณ์ที่ดีกว่านี้

ขอชัยชนะจงมีแด่พระเป็นเจ้า
...กราบแทบพระบาทรูปดอกบัวแห่งพระองค์...สยามคเณศ
พิทักษ์ - สยามคเณศ