Loader

ขอความอนุเคราะห์ค่ะ

Started by เทวาเหนือเกล้า, November 04, 2010, 10:36:12

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

พอจะมีใครทราบพระประวัติของพระแม่องค์ที่ชื่อว่า พระแม่อธิปาราศักติ บ้างคะขอความอนุเคราะห์จากผู้รู้สักหน่อยค่ะ
อยากจะทราบประวัติเกี่ยวกับพระองค์ค่ะ และมันตราของพระองค์ค่ะ ขอบพระคุณในความกรุณาค่ะ

สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


ไม่รู้ว่าเป็นปางเดียวกับ พระแม่ทุระคาปางเปิดโลกไหมน้า.....

ขออนุญาตดันๆๆๆๆค่ะ  มาปูที่เสื่อนั่งรอความรู้จากท่านผู้รู้ค่ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


มาตีตั๋วรอด้วยคนครับ

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

ของปูสาดท่าเลยเด้อครับ (คำแปล ขอปูเสื่อรอเลยนะครับ) ^_^
[HIGHLIGHT=#ffff00]โอม ศักติ ปารา ศักติ[/HIGHLIGHT]

ผมไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับพระแม่อธิปาราศักติเท่าไหร่ครับ

เท่าที่พอทราบคร่าวๆ คือ มีเหล่าอสูรจำนวนหนึ่งมีฤทธิ์มาก เพราะได้รับพรจากเทพเจ้าต่างๆ พระองค์กัน  ชื่อของอสูรเหล่านี้ เช่น ศุมภะ นิศุมภะ จันทร มุนดา ทูมรักษะ รัคตะ บีชะ มหิษาสูร ได้นำเหล่าบรรดาสาวกอสูรจำนวนมากมาบุกยังเทวโลก เหล่าเทพเจ้าหลังหลายได้ช่วยกันหาทางป้องกัน และขับไล่บรรดาอสูร มาร รากษสเหล่านั้นให้พ้นไป แต่ก็ไม่เป็นผล จึงพากันไปขอร้องต่อพระศิวะให้มาช่วย จนท้ายที่สุดพระศิวะได้ให้พระอุมาเทวีบันดาลรูปแห่งพระองค์เป็นพระแม่อาทิปาราศักติ 18 พระกร (บางคนเชื่อว่า คือ พระแม่ทุรคาเทวี) โดยอำนาจของพระองค์มาจากกระแสพิโรธของเหล่าเทพเจ้าและเทวนารีทั้งหลายมารวมกันจนเกิดเป็นพลังอำนาจอันมหาศาล เพื่อปราบอสูรให้สิ้นไป พระองค์ประกอบด้วยพลังอำนาจแห่ง ศิวะ, วิษณุ, พรหม, สิทธิทั้ง 8, ฤาษีทั้ง 7, รุทระทั้ง 11, เทพประจำทิศทั้ง 8 โดยการสู้รบครั้งนั้น มีสัปตะมาตริกาทั้ง 7 พระองค์เป็นแกนนำทัพครับ

บทบูชาง่ายๆ ครับ คือ

โอม ปาราศักติ นะมะฮา

ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ดีๆ

เป็นแนวคิดเรื่องศักติ เรื่องพระแม่ต่างๆ เป็นแนวคิดที่เกิดในยุคหลังๆอะครับ ไม่แน่อาจไม่มีในปุราณะด้วย

ขอบพระคุณพี่ยีนส์นะคะ น่ารักเหมือนเดิม เว็บมาสเตอร์ของเรา แต่ด้วยความอยากรู้อยากเรียนก็ยังอยากจะทราบเพิ่มเติมนะคะเกี่ยวกับพระองค์ท่าน

และเรียนคุณชัย เอ่อ ไม่ทราบว่าเกี่ยวกับปุราณะนี่เป็นอย่างไรเหรอคะ พอจะอธิบายเรื่องราวที่เป็นไปให้ฟังหน่อยค่ะ ขอบพระคุณนะคะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


เท่าที่ผมทราบ พระนามแห่งพระปาราศักติ ได้ถูกกล่าวขึ้นในปุราณะต่างๆ ที่ชัดเจนมีประมาณสาม-สี่ปุราณะครับ

ดังนั้นคงพูดไม่ได้แน่นอนว่า พระนามแห่งพระปาราศักตินั้น ไม่มีในปุราณะครับ เพียงแต่มีในฐานะศูนย์รวมแห่งพลังอำนาจ สำหรับปุราณะอื่น
แต่ใน มารฺกณฺเฑย ปุราณ พระปาราศักติ ถูกกล่าวถึงในพระนามของ เทวีมาหาตฺมฺยมฺ หรือ พระทุรคาอย่างโดดเด่นที่สุดครับ


เทพบางองค์ปรากฎในเฉพาะคัมภีร์ ไม่ได้รู้จักกันแพร่หลาย
เทพบางองค์อยู่ในปุราณะ แต่ปุราณะนั้นก็เป็นของแต่งยุคหลังมากๆ
เพราะปุราณะเองมี18เล่ม แต่ละเล่มก็เล่าไม่เหมือนกัน

ก็ต้องพิจารณาเอาเองครับ

การอ่านปุราณะนั้น สิ่งที่ควรระลึกอยู่เสมอคือ คุณอ่านปุราณะเล่มใดอยู่ ซึงปุราณะแต่ละเล่มนั้น มีการยกย่องเทพเจ้าต่างๆ กันไป
สรุปแล้วถ้าคุณกำลังพยายามเชื่อมโยงปุราณะทั้ง 18 เล่ม คุณจะงงครับ เพราะบางเล่มก็เล่าบางพระองค์ซะละเอียด แต่บางเล่มก็เป็นเพียงการเอ่ยพระนาม หรือปลีกย่อยเท่านั้นครับ แล้วแต่ว่าเทพเจ้านั้นจะเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหลักของปุราณะนั้นมากน้อยเพียงใด

แต่พระนามแห่งปาราศักติ มีปรากฎอยู่ หลายปุราณะด้วยกันครับ ดังนั้นจึงเชื่อได้แน่นอนว่า พระนามแห่งปาราศักติ ถือกำเนิดในปุราณะ อย่างน้อย 3-4 เล่มจาก 18 เล่ม (เท่าที่ผมอ่านเจอนะครับ)

ขอบคุณมากมายสำหรับข้อมูลความรู้ที่ดี เพราะไม่เคยรู้มาก่อนเหมือนกัน..
Om Maha Mata Durga Devi
ขอพระแม่เจ้าผู้ทรงมหิทธานุภาพ พระแม่เจ้าผู้ทรงมีชัยเหนือกาลเวลา ประทานพรให้ลูกและเพื่อนมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ด้วยเถิด

เอ่อ พี่ยีนส์คะ ขอบพระคุณค่ะ หากแต่จะรบกวนเกินไปไหมไม่ทราบ คือว่าหากว่าแนทอยากจะศึกษาปุราณะแม้จะเป็นภาคภาษาอังกฤษ
รบกวนพี่ยีนส์ช่วยหาลิ้งค์ให้น้องหน่อยค่ะ เอาหมดทั้ง 18 เล่มเลยนะคะ  จะได้อ่านให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ ขอบพระคุณพี่ยีนส์ค่ะ

ปล. น้องหาเรื่องใส่ตัวให้หัวฟูอีกแล้วพี่

สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


มาทำความรู้จักกับปุราณะหลักๆทั้ง 18 ก่อนว่ามีอะไรบ้างนะครับ
1. พรหมา ปุราณะ

2. ปัทมะ ปุราณะ
3. วิษณุ ปุราณะ
4. ศิวะ ปุราณะ
5. ภาควต ปุราณะ
6. นารายณ ปุราณะ
7. มารฺกณฺเฑย ปุราณะ
8. อัคนี ปุราณะ
9. ภวิษยะ ปุราณะ
10. วฺรหฺมไพวรฺต ปุราณะ
11. ลึงคัม ปุราณะ
12. วราหะ ปุราณะ
13. สกัณฑะ ปุราณะ
14. วามนะ ปุราณะ
15. กูรมะ ปุราณะ
16. มัสยะ ปุราณะ
17. การุดะ ปุราณะ
18. พรหมาตะ ปุราณะ

ส่วนดาวโหลดภาคอังกฤษเดี๋ยวผมเอามาลงให้นะครับ รอเช็คความถูกต้องครบถ้วนนิดนึง

ตำรับปุราณะ โบราณของจริง

คำว่าโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า มีมาแล้วช้านาน เก่าก่อน ใช้ประกอบกับคำอื่นๆอีกมากมายหลายคำ เช่น โบราณคดี โบราณวัตถุ โบราณสถาน

ส่วนคำว่า ปุราณ เป็นคำเดียวกับ โบราณ ประพัฒน์ ตรีณรงค์ และสงวน อั้นคง อธิบายว่า เป็นนาม ใช้เรียกหนังสือหนึ่งในสามพวก ที่พราหมณ์รวบรวมแต่งไว้ แบ่งเป็นสามยุค ตามลักษณะแห่งหนังสือ

1. ยุคไตรเพท เป็นยุคที่แต่งตำรับที่ออกนามว่า พระเวท พร้อมตำรับอื่นอันเป็นบริวาร มีข้อความกล่าวด้วยการบูชายัญ สรรเสริญพระเป็นเจ้าด้วยวิธีอย่างเก่าที่สุด ไม่ใคร่จะมีเรื่องราวเล่าอย่างเป็นนิยายหรือประวัติพิสดาร

เพราะในสมัยนั้น ยังมิได้มีเวลาคิดประดิด ประดอยเรื่องราว

2. ยุคอิติหาส เป็นยุคที่เกิดมีวีรบุรุษขึ้นแล้ว จึงมีผู้คิดรวบรวมเรื่องราวอันเป็นตำนานเนื่องด้วยวีรบุรุษ รจนาเป็นกาพย์เพื่อให้จำง่าย สอนให้ศิษย์สาธยายในกาลอันควร  แล้วก็จำกันต่อๆมา  มีเรื่องรามายณะ(รามเกียรติ์) และมหาภารตะ เป็นอาทิ แต่ยังไม่มีผู้จดลงเป็นลายลักษณ์อักษร

ภายหลังอีกหลายร้อยปี จนมีผู้จดเป็นหนังสือ เพราะฉะนั้น หนังสืออิติหาสจึงมักมีข้อผนวกหรือแก้ไขเกินไปกว่าเรื่องเดิม

3. ยุคปุราณะ เมื่อยกยอวีรบุรุษต่างๆมากขึ้นๆ ในที่สุดวีรบุรุษก็กลายเป็นผู้วิเศษหรือเทวดา เกิดตำรับชุดปุราณะขึ้นเป็นพยานหลักฐานว่า พระเป็นเจ้า หรือเทวดาองค์นั้นๆ ได้ทรงอภินิหารอย่างนี้ ยิ่งแต่งยิ่งเพลินขึ้นทุกที

ข้างฝ่ายไสยศาสตร์ก็เกิดตำรับปุราณะ อ้างว่ารวบรวมจากเรื่องเก่าขึ้นมาบ้าง

หนังสือตำรับเหล่านี้ เมื่อเป็นที่ถูกใจนักศึกษาก็มีผู้จำได้มาก จนในที่สุด ทั้งพราหมณ์ และชนสามัญที่ถือไสยศาสตร์ก็เริ่มไม่รู้จักไตรเพทที่แท้จริง ยึดตำรับหนังสือชุดปุราณะ เป็นตำรับสำคัญของลัทธิไสยศาสตร์ไปเลยทีเดียว

หนังสืออมรโกษ หนังสืออภิธานภาษา สันสกฤตที่เก่าที่สุด แต่งโดยพราหมณ์อมรสิงห์ รัตนกวีผู้หนึ่ง ในราชสำนักพระเจ้าวิกรมาทิตย์ กรุงอุชยินี(อุชเชนี) อธิบายคุณลักษณะ หนังสือปุราณะไว้ว่า ควรมีลักษณะพร้อมด้วยองค์ 5 กล่าวคือ

1. กล่าวด้วยการสร้างโลก
2. กล่าวด้วยการล้างโลกและกลับสถาปนาขึ้น
3. กล่าวด้วยกำเนิดแห่งพระเจ้า และพระบิดาทั้งหลาย
4. กล่าวด้วยกัลป์แห่งพระมนูทั้งหลาย ผู้บันดาลให้กาลแบ่งเป็นมันวันตระ
5.กล่าวด้วยพงศาวดารกษัตริย์ สุริยวงศ์ และจันทรวงศ์

พราหมณ์อมรสิงห์ระบุว่า หนังสือใดบริบูรณ์ด้วยเนื้อหาเช่นนี้ จึงเรียกว่า บริบูรณ์ ด้วยเบญจลักษณ์แห่งปุราณคัมภีร์ หรือคัมภีร์ปุราณะที่แท้จริง

หนังสือปุราณทุกฉบับแต่งเป็นกาพย์ มีฉันท์กับโศลกคละกัน รูปแบบหนังสือมักเป็นปุจฉาวิสัชนา และมีคนอื่นๆพูดบ้างบางแห่ง

อายุหนังสือปุราณะไม่ใช่สมัยเดียวกันหมด แม้ในเล่มเดียวกัน ข้อความบางตอนชี้ให้เห็นว่า มีผู้แต้มเติมเข้าใหม่ ภายหลังเชื่อมหัวต่อไม่สนิท

หนังสือปุราณทุกคัมภีร์ มักอ้างว่าเป็นของมุนีตนใดตนหนึ่ง รับมาจากพระเป็นเจ้า มาสอนให้ศิษย์นามว่าอย่างนั้นๆ

เช่น วิษณุปุราณะ พระปุลัสตยมุนีรับมาจากพระพรหม แล้วมาบอกเล่าให้ศิษย์ชื่อปราศร และปราศรบอกให้แก่ศิษย์ชื่อไมเตรยะอีกชั้นหนึ่ง

ตำรับปุราณะ มี 18 คัมภีร์ แบ่งเป็น 3 นิกาย ตามลักษณะแห่งเรื่อง ดังต่อไปนี้

ก. สาตตวิกนิกาย  มีลักษณะเต็มไปด้วยความเที่ยงธรรม  หรืออีกนัยหนึ่ง เรียกว่าไวษณพนิกาย  กล่าวด้วยพระวิษณุเจ้า  มี  6  คัมภีร์ 
1.วิษณุปุราณะ 
2.นารท หรือนารทียปุราณะ
3. ภาควัตปุราณะ
4. ครุฑปุราณะ
5. ปัทมปุราณะ
6. วราหปุราณะ

ข.ตามัสนิกาย กล่าวด้วยสมัยที่โลกยังขุ่นเป็นน้ำตม อีกนัยหนึ่ง ไศวนิกาย กล่าวด้วยพระศิวะเป็นเจ้า มี 6 คัมภีร์
1. มัตสยปุราณะ
2. กูรมปุราณะ
3. ลิงคปุราณะ
4. ศิวปุราณะ
5 สกันทปุราณะ
6. อัคนิปุราณะ หรือวายุปุราณะ(หลังๆแยกออกเป็น2ปุราณะ)

ค. ราชัสนิกาย กล่าวด้วยสมัยเมื่อโลกเต็มไปด้วยความมืด และกล่าวด้วยพระพรหม สมมติว่าพระพรหมมาเป็นผู้แสดงบ้างในบางเรื่อง มี 6 คัมภีร์ 1. พรหมปุราณะ
2. พรหมาณฑปุราณะ
3. พรหมไววรรตปุราณะ
4. มารกัณเฑยปุราณะ
5. ภวิษยปุราณะ
6. วามนปุราณะ

ข้อมูลหนังสือปุราณเหล่านี้ ผู้ เรียบเรียงบอกว่าได้มาจากอภิธานศกุนตลา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6. (อ่านรายละเอียดใน บ่อเกิดรามเกียรติ์ และ ศกุนตลา)

Oบาราย O

http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/52476

บางปุราณะ มีเรื่องคลายในคัมภีร์พันธสัญญา เช่าน มนุษย์คู่แรก เรื่องบุตรเกิดจากสาวพรหมจรรย์ เรือในน้ำท่วมโลก เรื่องในคัมภีร์อัลกุรอานก็มีในปุราณะ

ขอบคุณครับคุณ chai

ว่าแต่สำนวนการตอบ วิธีการตอบกระทู้ ดูคุ้นๆ นะครับ

ส่วนน้องเทวาเหนื่อเกล้า

วันนี้เอาวิษณุปุราณะไปก่อนนะครับ เดี๋ยวพี่จะค่อยๆ ทยอยหาลิ้งมาให้เรื่อยๆ ครับ



ดาวโหลดภาคภาษาอังกฤษได้ที่นี่ คลิ๊กเลยครับ

ขอบพระคุณที่มาของสถานที่ให้ดาวโหลดครับ http://hinduebooks.blogspot.com/2009/04/vishnu-purana-complete-english.html

Quote from: กาลิทัส on November 12, 2010, 13:24:59
ขอบคุณครับคุณ chai

ว่าแต่สำนวนการตอบ วิธีการตอบกระทู้ ดูคุ้นๆ นะครับ


 

[HIGHLIGHT=#d7e3bc][HIGHLIGHT=#ffff00][HIGHLIGHT=#e36c09][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]ชีวิตนี้ขอสู้เพื่อเทวดา  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#92d050][HIGHLIGHT=#ffc000]สุดแล้ว[/HIGHLIGHT][HIGHLIGHT=#ffc000]แต่สวรรค์จะบัญชา[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

ขอบคุณค่ะ พี่ยีนส์น่ารักซาเหมอ

ถึง คุณชัย ขอบพระคุณนะคะที่ได้นำข้อมูลมาให้ฝากกันค่ะ
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ




ถัดมาเป็นกูรุดะปุราณะ (ครุฑปุราณะ)

ดาวโหลดได้ที่นี่เลยครับ คลิ๊ก

ขอบพระคุณ ที่มาครับ http://www.cincinnatitemple.com/downloads/

ขอบพระคุณพี่ยีนส์ค่ะ (ต่อเรื่อยๆนะพี่ชาย)
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


ดาวโหลดปุราณะทั้ง 18 เล่ม ในเวอร์ชั่นภาอังกฤษ

http://www.dharmicscriptures.org/Puranas_Draft.zip

ขอบพระคุณที่มา มา ณ โอกาสนี้ครับ

พี่ยีนส์แนทโหลดแล้วนะแต่รู้สึกว่าด้านท้ายๆของหน้า 581-587 ยังไม่เสร็จนี่ค่ะ ของพี่ยีนส์เป็นงั้นหรือเปล่า
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ


จริงๆ แล้วชุดนี้ เอาแค่ปุราณะหลัก 18 เล่มครับ คือถึงแค่หน้า 580

นอกนั้นเป็นปุราณะรองลงมาครับผม

อ่าค่ะ ขอบคุณมากมายค่ะพี่ยีนส์
สุ จิ ปุ ลิ  ขาด สักข้อ ก็ไม่ครบการเป็นปราชญ์

ปราชญ์ที่ดีต้องเป็นผู้ฟังมากกว่า พูด พูดในสิ่งที่สมควรพูด

ผู้ที่ฉลาดแท้จริง ฟัง มากกว่าพูด เพราะถ้าเรารู้ไม่จริง หรือไม่หมดก็จงอย่าพูด

เพราะเมื่อเปิดปากออกมา เมื่อนั้นได้แสดงความโง่ออกมาโดยไม่รู้ตัว

คนเก่งจริง ต้องเรียนรู้เสมอว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตัวเรายังมีคนที่เก่งกว่า จงถ่อมตนเสมอ จงเป็นผู้ให้เสมอ