Loader

สอบถามเกี่ยวกับทวารบาลของศาสนสถานทางฮินดู รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ

Started by princess_kinne, February 25, 2011, 01:00:57

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

อยากทราบประวัติและชื่อของทวารบาลประตูของศาสนสถานทางฮินดูที่มักปั้นเป็นรูปหญิงถือดาบ เหมือนที่วัดพระศรีมหาอุมาวี อ่าครับ รบกวนผู้รู้ด้วยน่ะครับ

ครานั้นทรงเครื่องแล้ว            พระศรี
เสด็จไปเฝ้าวิษ                ณุไท้
บังคมพระจักรี                  กายยอม
วิษณุรับกอดไว้                กับทรวง

ทวารบาลที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) พระนามว่า อังสุมาน และ กังสุมาน ครับ

ได้ความรู้อีกเเล้ว
ขอบคุณ คุณกาลิทัส
มากๆนะครับ
ว่าเเต่ ทวารบาล เป็นยักษ์ใช่ไหมครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้น่ะครับ คุณกาลิทัส

ครานั้นทรงเครื่องแล้ว            พระศรี
เสด็จไปเฝ้าวิษ                ณุไท้
บังคมพระจักรี                  กายยอม
วิษณุรับกอดไว้                กับทรวง

ทวารบาล ของวัดไทย เรามักจะเห็นเป็นยัก แต่วัดของฮินดูส่วนมากจะเป็นเทพ หรือ เทพบุตร เทพนารี ครับ

อย่าง พระนนทิ เป็นทวารบาลของ พระศิวะ
อย่าง พระชัยยะ วิชัยยะ เป็นทวารบาลของ พระวิษณุ ครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

แล้วพระอังสุมาน กับ พระกังสุมาน มีประวัติไหมครับ ว่ามาจากที่ใด แล้วชื่อทางฮินดู หรือ เขียนในภาษาอังกฤษว่าอย่างไรครับ

ครานั้นทรงเครื่องแล้ว            พระศรี
เสด็จไปเฝ้าวิษ                ณุไท้
บังคมพระจักรี                  กายยอม
วิษณุรับกอดไว้                กับทรวง


[COLOR=#NaNNaNNaN]"ทวารบาล" มาจากคำว่า "ทวาร" ที่แปลว่า "ประตู" และ"บาล" ซึ่งแปลว่า"รักษา ปกครอง"

"ทวารบาล"จึงมีความหมายว่า "ผู้รักษาประตู"ซึ่งจากคำแปล ก่อให้เกิดการตีความต่อประติมากรรมประเภททวารบาลว่าคือ รูปของสัตว์ อสูร เทพ เทวดา และมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตใดๆก็ตาม ที่ตั้งอยู่บริเวณบานประตู ช่องทางผ่านเข้าออก ช่องหน้าต่าง หรือราวบันได แต่หากประติมากรรมชนิดเดียวกันนี้ไปตั้งอยู่บริเวณอื่นที่มิใช่ประตู หรือช่องหน้าต่าง หรือทางเข้าออก ก็ไม่สามารถจะกล่าวว่าเป็นทวารบาล
สำหรับกำเนิดของการการสร้างทวารบาลนั้น น่าจะเกิดมาจากความเชื่อที่ว่า "ผี" เป็นผู้กระทำให้เกิดสิ่งต่างๆ เหนือธรรมชาติ และได้รับการพัฒนามาเป็นความเชื่อในเรื่องของเทวดาโดยได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ โดยทางศาสนาฮินดูนั้นก่อเกิดเทพเจ้าต่างๆขึ้น

โดยกำหนดให้เขาไกรลาส หรือเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีพระอิศวรเป็นใหญ่ และมีเทพชั้นรองทำหน้าที่พิทักษ์ผู้รักษาประตู หรือทางเข้าสู่เขาไกรลาส ทั้งแปดทิศ ซึ่งเทพเจ้าในศาสนาฮินดูไม่จำกัดรูปร่าง จะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์ ตามแต่ความเชื่อ ซึ่งสัตว์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์เรียกว่า "สัตว์หิมพานต์" ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาสที่ถือเป็นดินแดนแห่งเทพเจ้า

จากคติความเชื่อเทพผู้พิทักษ์นี้ได้นำมาใช้กับงานประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เหตุที่ชาวฮินดูต้องการให้มีเทพปกปักรักษาสถานที่สำคัญทางศาสนา ซึ่งมนุษย์ทั่วไปไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะป้องกันภัยจากสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา ทั้งนี้เนื่องจากศาสนสถานเหล่านั้นสร้างขึ้นตามคติที่เทพเจ้าสูงสุดประทับอยู่ จึงจำลองเขาไกรลาสมาไว้ยังโลกมนุษย์แล้วเกิดคติการสร้างทวารบาลขึ้นมา

[/COLOR]จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ กล่าวถึงทวารบาลตำนานของอินเดีย ว่า ในยุคบรรพกาล พวกอสูรกับเทวดามักจะรบกันอยู่เสมอๆ แต่ว่าพวกอสูรจะเกรงกลัวพระอินทร์มาก เนื่องจากพระอินทร์ถือสายฟ้า(วชิราวุธ)และพระอินทร์ท่านก็เห็นว่าพวกเทวดาที่เป็นบริวารหวาดกลัวอสูร จึงให้วาดรูปพระอินทร์ไว้ตามประตูสวรรค์
ตามคติความเชื่อของไทยเองก็ถือว่าพระอินทร์เป็นผู้รักษาพระศาสนาด้วยเช่นกัน ด้วยความคิดตรงนี้จึงเกิดมีการผสมผสานขึ้นมา เพราะคนไทยเป็นชาติที่ไม่ลอกเขา แต่เราชอบเลียนเขา คือเราไม่ได้ลอกเขามาทั้งหมด แต่เราจะดูว่าแบบของเขาเป็นอย่างไร ส่วนของเราคิดอย่างไร แล้วค่อยมาผสมกัน ก็เลยเกิดเป็นทวารบาลหลายรูปแบบขึ้นมา มีทั้ง เทวดาถือพระขรรค์ เทวดาไทยผสมจีน(เซี่ยวกาง) หรือถือพวกอาวุธต่างๆ ขี่กิเลนบ้าง ขี่สิงห์บ้าง แบบแผนตรงนี้ตามศาสนสถานหลายแห่งต่างก็มีแนวทางที่แตกต่างกันออกไป"

[COLOR=#NaNNaNNaN]
[/COLOR]

ครานั้นทรงเครื่องแล้ว            พระศรี
เสด็จไปเฝ้าวิษ                ณุไท้
บังคมพระจักรี                  กายยอม
วิษณุรับกอดไว้                กับทรวง

ทวารบาลพระวิษณุ ชื่อ ชัย และ วิชัย
ทวารบาลพระศิวะ ชื่อ นนทิ และ มหากาล

ส่วนทวารบาลพระแม่ ได้ยินว่าชื่อ ชยา วิชยา

แล้วอย่างนี่ถ้าเป็นบ้านของพวกเราจะสามารถมีทวารบาลมาเฝ้าที่หน้าประตูทางเข้าห้องพระของเราได้หรือไม่คับ
สงสัยมานานละอะคับ