Loader

พุทธประวัติโดยสังเขป

Started by phorn456, September 10, 2011, 19:12:43

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

                      พุทธประวัติสังเขป   

                      ข้อความเบื้องต้น
      การศึกษาพุทธประวัติ  คือการเรียนรู้ความเป็นไปของพระพุทธ-
เจ้า  ย่อมเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์มาก  สำหรับพุทธศาสนิกชน
เพราะพระพุทธประวัติเป็นเรื่องที่แสดงพระพุทธจรรยาของพระพุทธเจ้า
ให้ปรากฏ  ทั้งเป็นส่วนอัตตสมบัติและสัตตูปการสัมปทา  เป็นสิ่งสำคัญ
ของผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  เท่ากับพงศาวดารย่อมเป็นสิ่ง
สำคัญของชาติคน  ที่จะให้รู้ได้ว่าชาติใดได้เป็นมาแล้วอย่างไร  เพราะ
พระองค์ทรงเป็นเยี่ยงอย่างอันดี   ทั้งอุบายวิธีและระเบียบดำเนินการ
ในส่วนที่ทรงทำแก่พระองค์เองและแก่ผู้อื่น  ผู้ที่ได้ศึกษาก็จะได้เห็น
ตัวอย่างที่ดี เป็นเหตุให้ทำชีวิตของตนให้เป็นประโยชน์  ปรับปรุงความ
ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามคลองธรรม  เป็นเครื่องนำมาซึ่งชั้นต่ำ ๆ
กลาง  ๆ  ไปก่อน  กล่าวคือเรียนรู้แล้วให้รู้จักหยิบยกน้อมนำเอามาใช้
ในกิจการทางโลก  จะเป็นส่วนพระวิริยะหรือพระขันติก็ตาม  ก็คงจะได้
ประโยชนมาก  ยิ่งได้ศึกษาให้ละเอียดก็จะยิ่งรู้สึกซาบซึ้งในพระพุทธคุณ
มากขึ้น  ศรัทธา  ปสาทะ  ความเชื่อความเลื่อมใสก็เจริญมากขึ้น  เท่ากับ
ระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ได้ทำประโยชน์ไว้แก่วงศ์ตระกูล  และประเทศชาติ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 2
ของตน ๆ  แล้วจะเห็นได้ว่าท่านเหล่านั้นมีบุญมีคุณแก่ตนอย่างไร  แล้ว 
จะได้มีแก่ใจบำเพ็ญความดีเจริญรอยตาม.
      รวมความแล้วการเรียนรู้พุทธประวัติ  ย่อมได้คติ  ๓  ทาง  คือ :-
      ๑.  ทางตำนาน  ให้สำเร็จผลคือทราบเรื่องของพระพุทธเจ้าว่า
          เป็นมาอย่างไร.
      ๒.  ทางอภินิหาร   ให้สำเร็จผลคือได้เห็นวิธีการเผยแผ่พระ
          พุทธศาสนา   ที่พระองค์ทรงกระทำสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์
          และผู้ที่หนักในทางอภินิหาร   ก็จะได้ศรัทธาปสาทะในพระ
          พุทธานุภาพยิ่งขึ้น.
      ๓.  ทางธรรม  ให้สำเร็จผลคือ  ได้หยั่งทราบข้อปฏิบัติและเหตุ
          ผลที่เป็นจริงโดยละเอียดแล้วปฏิบัติถูกต้อง.
      ฉะนั้น  พุทธศาสนิกชน  นักเรียน  นักศึกษา  ควรกำหนดจดจำไว้
โดยสังเขป  ดังต่อไปนี้ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 3
                            ปุริมกาล   
                           ปริเฉทที่  ๑
                      ชมพูทวีปและประชาชน
      ๑.  ดินแดนที่เรียกว่า  ชมพูทวีป  ได้แก่ประเทศอินเดีย  (สมัยก่อน)
         อยู่ทางทิศพายัพของประเทศไทย.
      ๒.  ชมพูทวีปมีชน  ๒  ชาติ  อาศัยอยู่ต่างวาระกัน  คือ :-
             (๑)  ชาติมิลักขะ  อาศัยอยู่ก่อน.
          (๒)  ชาติอริยกะ   ยกพวกข้ามภูเขาหิมาลัยมารุกไล่เจ้าของถิ่น
                เดิม  แล้วอาศัยอยู่ทีหลัง.
      ๓.  ชมพูทวีปแบ่งออกเป็น  ๒  ส่วนใหญ่ ๆ  คือ :-
          (๑)  มัชฌิมชนบท  หรือมัธยมประเทศ  (ส่วนกลาง)  เป็น
               ที่อยู่ของพวกอริยกะ.
          (๒)  ปัจจันตชนบท  หรือปัจจันตประเทศ  (ส่วนปลายแดน)
                เป็นที่อยู่ของพวกมิลักขะ.
      ๔.  อาณาเขตของมัชฌิมชนบทนั้น มีปรากฏในพระบาลีจัมมขันธกะ
          ในมหาวรรคแห่งพระวินัย  ดังนี้  :-
          (๑)  ทิศบูรพา     จด  มหาศาลนคร  (ปัจจุบันคือเมืองเบงคอล).
          (๒)   "  อาคเนย์   "    แม่น้ำสัลลวตี.
          (๓)   "  ทักษิณ          "    เสตกัณณิกนิคม  (ปัจจุบันคือแคว้นเดกกัน).
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 4
          (๔)  ทิศปัศจิม  จด  ถูนคาม  (ปัจจุบันคือเมืองบอมเบย์).
          (๕)   "   อุดร      "   ภูเขาอุสีรธชะ (ปัจจุบันคือประเทศเนปาล).
      ๕.  มัชฌิมชนบทนั้น  เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์  เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ
          เป็นศูนย์กลางการปกครอง  และเป็นที่ประชุมนักปราชญ์คณาจารย์ 
          เจ้าลัทธิต่าง  ๆ
      ๖.  ชมพูทวีปตามในอุโบสถสูตร   ติกนิบาตอังคุตตรนิกาย  แบ่งเป็น
         ๑๖  แคว้นใหญ่  คือ  :-
                อังคะ  มคธะ  กาสี  โกสละ  วัชชี  มัลละ  เจตี  วังสะ  กุรุ
                ปัญจาละ  มัจฉะ  สุรเสนะ   อัสสกะ  อวันตี  คันธาระ  กัมโพชะ.
และระบุไว้ในสูตรอื่นอีก  ๔  แคว้น  คือ :-
                สักกะ  โกลิยะ ภัคคะ  วิเทหะ  อังคุตตราปะ.
      ๗.  การปกครองของแคว้นเหล่านี้ต่าง ๆ  กัน  คือ :-
          (๑)  มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชบ้าง.
          (๒)  มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นเพียงราชาบ้าง.      
          (๓)  มีผู้ปกครองเป็นเพียงอธิบดีบ้าง.
          (๔)  ใช้อำนาจโดยสิทธิขาดบ้าง.
          (๕)  ใช้อำนาจโดยสามัคคีธรรมบ้าง.
          (๖)  บางคราวเป็นรัฐอิสระ
          (๗)  บางคราวเป็นรัฐเสียอิสระ.
      ๘.  ประชาชนในชมพูทวีปแบ่งออกเป็น ๔  วรรณะ  (พวก)  คือ :-
          (๑)  กษัตริย์  จำพวกเจ้ามีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 5
          (๒)  พราหมณ์   จำพวกเล่าเรียนมีหน้าที่ฝึกสอนและทำพิธี.
          (๓)  แพศย์        จำพวกพลเรือนมีหน้าที่ประกอบอาชีพ  เช่นทำ
                            นา  ค้าขาย.      
          (๔)  ศูทร            จำพวกคนงานมีหน้าที่รับจ้าง.
      ๙.  ชนทั้ง  ๔  จำพวกเหล่านี้  พวกที่  ๑-๒  จัดเป็นชั้นสูง  ที่  ๓  เป็น 
          ชั้นสามัญ  ที่  ๔  เป็นชั้นต่ำ  พวกสูงถือตัวจัด  ไม่ยอมร่วมกิน
          ร่วมนอนกับพวกต่ำ  หากบังเกิดมีร่วมกัน  ลูกที่ออกมาจัดเป็นอีก
          จำพวกหนึ่งเรียกว่า  จัณฑาล  ถือว่าเลวมาก.
      ๑๐.  การศึกษาของคนในสมัยนั้นก็เป็นไปตามวรรณะนั้น  ๆ  คือ  มีหน้าที่
          อย่างไร  ก็ศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่นั้น.
      ๑๑.  คนในสมัยนั้นสนใจวิชาธรรมมาก   จึงมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน
         ต่าง ๆ  เช่น :-

          (๑)  เกี่ยวกับเรื่องสังสารวัฏ  ๒  พวกใหญ่ ๆ             ๑.  เห็นว่าตายแล้วเกิด.
                                                          ๒.  เห็นว่าตายแล้วสูญ.
          (๒)  เกี่ยวกับเรื่องสุขทุกข์  ๒  พวกใหญ่  ๆ          ๑.  สุขทุกข์เกิดจากเหตุ-
                                                          ๒.  สุขทุกข์ไม่เกิดจากเหตุ.
      ๑๒.  คนในสมัยนั้นทั้ง  ๔  วรรณะ   ก่อนแต่พระพุทธเจ้าอุบัติก็ได้ถือ
          ศาสนาพราหมณ์  ถือว่าโลกธาตุทั้งปวงมีเทวดาสร้าง   จึงพากัน
          เช่นสรวงด้วยการบูชายัญและประพฤติตบะทรมานร่างกายต่าง ๆ.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 6
                        ปริเฉทที่  ๒   
             สักกชนบท  และศากยวงศ์  โกลิยวงศ์
      ๑.  ตำนานสักกชนบทมีเรื่องย่อว่า  พระเจ้าโอกากราชในพระ-
นครหนึ่งมีพระราชบุตร  ๔ ราชบุตรี  ๕  พระองค์  ครั้นพระมเหสีทิวงคต
แล้ว  ได้พระมเหสีใหม่ได้มีพระโอรสอีก  ๑  พระองค์  พระราชทาน
ราชสมบัติให้แก่พระโอรสองค์เล็กนั้น  โปรดให้พระราชบุตร  และ
พระราชบุตรีทั้ง ๙  ไปสร้างพระนครใหม่ในดงไม้สักกะ  จึงได้ชื่อว่า
สักกชนบท  และดงไม้สักกะนั้นเป็นที่อยู่ของพวกกบิลดาบส  จึงได้
ตั้งชื่อนครใหม่นั้นว่า  กบิลพัสดุ์.
      ๒.  พระราชบุตร  พระราชบุตรี  ๘  พระองค์  สมสู่กันเอง
ในนครกบิลพัสดุ์  จัดเป็นต้นวงศ์ศากยะ.
      ๓.  พระเชฏฐภคินีได้เป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงเทวทหะ  จัด
เป็นต้นวงศ์โกลิยะ.
      ๔.  ศากยวงศ์  กับ  โกลิยวงศ์  สืบเชื้อสายลงมาโดยลำดับ  เท่าที่
ปรากฏอยู่  มีดังนี้ :-
          ศากยวงศ์                        โกลิยวงศ์
       พระเจ้าชยเสนะ                  ไม่ปรากฏพระนาม
มีพระราชบุตร  และพระราชบุตรี      พระเจ้าในโกลิยวงศ์   ไม่ปรากฏ
รวม  ๒  พระองค์  คือ :-                พระนาม  มีพระราชบุตร  และ
      (๑)  พระเจ้าสีหหนุ                พระราชบุตรี  ๒  พระองค์  คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 7
      (๒)  พระนางเจ้ายโสธรา                (๑)  พระเจ้าอัญชนะ
                                        (๒)  พระนางเจ้ากัญจนา

พระเจ้าสีหหนุกับพระนางเจ้ากัญ-      พระเจ้าอัญชนะ  กับ  พระนางเจ้า   
จนามีพระราชบุตรและพระราช-      ยโสธรา  มีพระราชบุตรและพระ
บุตรี  รวม  ๗  พระองค์  คือ :-          ราชบุตรี  รวม  ๔  พระองค์  คือ :-
      (๑)  พระเจ้าสุทโธทนะ                (๑)  พระเจ้าสุปปพุทธะ
      (๒)  เจ้าชายสุกโกทนะ                (๒)  เจ้าชายฑัณฑปาณิ
      (๓)     "       อมิโตทนะ          (๓)  พระนางเจ้ามายาเทวี
      (๔)     "    โธโตทนะ                (๔)  พระนางเจ้าปชาบดี
      (๕)     "    ฆนิโตทนะ                (โคตมี)
      (๖)  เจ้าหญิงปมิตา
      (๗)  พระนางเจ้าอมิตา

๑.  พระเจ้าสุทโธทนะ  มีพระราช-      พระเจ้าสุปปพุทธะ  กับ  พระนาง
บุตร และพระราชบุตรี ๓ พระองค์      เจ้าอมิตา  มีพระราชบุตร  และ
ประสูติแต่พระนางเจ้ามายาเทวี ๑      พระราชบุตรี  ๒  พระองค์  คือ:-
พระองค์  คือ:-                              (๑)  พระเทวทัต
      (๑)  พระสิทธัตถกุมาร                (๒)  พระนางพิมพา  หรือ
และประสูติแต่พระนางเจ้าปชาบดี                ยโสธรา
อีก  ๒  พระองค์  คือ :-
      (๑)  พระนันทะ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 8
      (๒)  พระนางรูปนันทา 
๒.  สุกโกทนะ  กับนางกีสาโคตมี
    มีพระโอรส  ๑  พระองค์  คือ
    (๑)  พระอานนท์
๓.  อมิโตทนะมีพระราชบุตร  และ
    พระราชบุตรี  ๓  พระองค์  คือ
    (๑)  พระเจ้ามหานามะ
    (๒)  พระอนุรุทธะ
    (๓)  พระนางโรหิณี

๑.  พระสิทธัตถะกับพระนางพิมพา
    มีพระโอรส  ๑  พระองค์  คือ
    พระราหุล
๒.  พระเจ้ามหานามะ  กับนางทาสี
    มีพระธิดา  ๑  พระองค์  คือ
    พระนางวาสภขัตติยา

    พระนางวาสภขัตติยาได้เป็น
    พระอัครมเหสี  ของพระเจ้า
    ปเสนทิโกศลได้พระโอรส  ชื่อ
       "พระเจ้าวิฑูฑภะ"
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 9
                            ปริเฉทที่  ๓   
                         พระศาสดาประสูติ
      ๑.  พระพุทธเจ้าของเราเป็นชนชาวชมพูทวีป หรือ  ชาวเนปาล  เชื้อ
          ชาติอริยกะ แปลว่า  ชาติที่เจริญ  คือเจริญด้วยความรู้ขนบ
          ธรรมเนียม  ศีลธรรมและฤทธิ์อำนาจ.
      ๒.  พระองค์  เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ  และ  พระนาง-
          เจ้ามายาเทวี.
      ๓.  พระองค์มีพระเจ้าสีหหนุเป็นพระเจ้าปู่  มีพระนางเจ้ากัญจนาเป็น
          พระเจ้าย่า  มีพระเจ้าอัญชนะเป็นพระเจ้าตา  มีพระนางเจ้ายโสธรา
          เป็นพระเจ้ายาย.
      ๔.  พระองค์  ไม่มีพี่น้องร่วมท้องมารดากันเลย  แต่มีน้องต่างมารดา
          กัน  ๒  พระองค์  คือ  พระนันทกุมาร  ๑  พระรูปนันทากุมารี ๑
          ซึ่งประสูติแต่พระนางเจ้าปชาบดีโคตมี.
      ๕.  พระศาสดา  ได้เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา  เมื่อเวลาใกล้
          รุ่ง  วันพฤหัสบดี  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๘  ปีระกา  บังเกิดแผ่นดิน
          ไหว  (เหตุแผ่นดินหวั่นไหว  ๘  ประการ  คือ (๑)  ลมกำเริบ
          (๒)  ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล  (๓)  พระโพธิสัตว์จุติลงสู่พระครรภ์
          มารดา  (๔)  พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์  (๕)  พระโพธิ-
          สัตว์ตรัสรู้  (๖)  พระพุทธเจ้ายังธรรมจักรให้เป็นไป  (๗)  พระ
          พุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร  (๘)  พระพุทธเจ้าปรินิพพาน).
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 10
      ๖.  พระองค์  ประสูติจากพระครรภ์มารดา  เมื่อเวลาสายใกล้เที่ยง 
          วันศุกร์  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๖  ปีจอ  ก่อนแต่  พ.ศ.  ไป  ๘๐  ปี.
      ๗.  พระองค์ประสูติที่  ใต้ร่มไม้สาละในลุมพินีวัน  ซึ่งตั้งอยู่ริมเขต
          เมืองกลิบพัสดุ์  และริมเขตเมืองเทวทหะต่อกัน  (ตำบลรุมมินเด
          แขวงเปชวาร์  ประเทศเนปาล).
      ๘.  พอประสูติแล้ว  พระมารดาและพระญาติพากลับมประทับอยู่ใน
          พระราชวัง  เมืองกบิลพัสดุ์  ตามพระดำรัสพระราชบิดา.
      ๙.  มี  อสิตดาบส  (กาฬเทวิลดาบส)   เข้ามาเยี่ยมถึงในพระราชวัง
          เห็นลักษณะแห่งพระราชกุมาร  จึงทำนายว่ามีคติเป็น  ๒  คือ :-
          (๑)  ถ้าไม่บวชจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีอำนาจมาก.
          (๒)  ถ้าบวชจะได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้สอนดีที่ ๑  ในโลก  (ศาสดาเอก)
      ๑๐.  ประสูติแล้ว  ๕  วัน  พราหมณ์  ๑๐๘  คน  มารับประทานอาหาร
          กันแล้ว  จึงขนานพระนามให้แก่พระกุมารว่า  สิทธัตถะ  แปลว่า
         ผู้มีความต้องการสำเร็จ.
      ๑๑.  ประสูติแล้วต่อมา  ๗  วัน  พระมารดาสิ้นพระชนม์  ได้รับการ
          ชุบเลี้ยงจากพระนางเจ้าปชาบดีต่อมา.
      ๑๒.  เจริญวัยขึ้นราว  ๗  ขวบ  พระบิดาให้คนขุดสระปลูกบัวไว้  ๓  สระ
          สำหรับให้พระกุมารทรงเล่นสำราญ  และทรงนำพระกุมารไปให้
          ศึกษาศิลปวิทยา  ในสำนักครูชื่อ  วิศวามิตร  พระกุมารเรียนได้
         จบความรู้ของครูโดยไม่ช้าเหมอนเด็กอื่น ๆ.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 11
      ๑๓.  พระชนมายุ  ๑๖  ปี  พระบิดาให้คนสร้างปราสาทขึ้น  ๓  หลัง  แล้ว
               ให้พระสิทธัตถะราชโอราสอภิเษก (แต่งงาน)  กับพระนางพิมพา
          ให้อยู่ในปราสาททั้ง  ๓  หลังนั้น  ตามฤดูหนาว  ฤดูร้อน  ฤดูฝน
          เป็นลำดับ   
      ๑๔.  พระชนมายุ  ๒๙  ปี  ได้พระโอรส  ๑  พระองค์  ทรงพระนามว่า
          ราหุล   แปลว่า  บ่วง  หรือห่วง.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 12
                        ปริเฉทที่  ๔   
                     เสด็จออกบรรพชา
๑.  พระองค์เสด็จออกทรงผนวชในปีที่มีพระชนมายุ  ๒๙  ปีนั้นเอง.
๒.  มูลเหตุที่พระองค์ออกผนวช  ในอรรถกถามหาปทานสูตร  กล่าวว่า
    ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต  ๔  คือ   คนแก่  คนเจ็บ    คนตาย
    และสมณะ  อันเทวดาแสร้งนิมิตไว้ในระหว่างทาง.  และใน
    ปาสราสิสูตรมัชฌิมนิกายแสดงว่า  ทรงปรารภความแก่  เจ็บ  ตาย
    อันครอบงำทุกคน  ไม่ล่วงพ้นไปได้  แล้วจึงทรงดำริว่า  เราควร
    แสวงหาเครื่องแก้ความแก่  เป็นต้น  แต่ถ้าอยู่ในพระราชวัง  โดย
    ไม่บวช  ก็คงมีแต่เรื่องเศร้าหมองมัวเมา  จึงตกลงพระทัยออกผนวช.
๓.  พระองค์หนีออกผนวชตอนกลางคืน  ทรงม้าชื่อ  กัณฐกะ  ออกไป
    มีนายฉันนะตามเสด็จไปด้วย   เพื่อนำม้ากลับ  นี้กล่าวตามพระอรรถ-
    กถาจารย์.  ส่วนพระมัชฌมภาณกาจารย์กล่าวว่า  เสด็จออกซึ่งหน้า
    อีกนัยหนึ่งว่า  เสด็จออกสรงน้ำในชลาลัยศักดิ์สิทธิ์แล้วไม่เสด็จกลับ.
๔.  พระองค์ทรงผนวชที่ฝั่ง  แม่น้ำอโนมา   ป่าอนุปิยอัมพวัน  แขวง
    มัลลชนบท.
๕.  ผ้ากาสายะและบาตร   พระอรรถกถาจารย์ว่า  ฆฏิการพรหม   นำมา
    ถวาย.  สมเด็จ ฯ  ทรงสันนิษฐานว่า  น่าจะทรงได้ในสำนักบรรพชิต
    ผู้ได้สมาบัติ----หรือได้มาด้วยการตระเตรียม.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 13
                           ประเฉทที่  ๕   
                              ตรัสรู้
๑.  ทรงบรรพชาแล้วประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน  ๗  วันแล้ว  เสด็จผ่าน
    กรุงราชคฤห์  พระเจ้าพิมพิสาร  พระเจ้าแผ่นดินมคธ  ครั้งยัง
    เป็นพระราชกุมาร   ตรัสชวนให้อยู่จะพระราชทานอิสริยยศยกย่อง
    พระองค์ไม่ทรงรับ  และแสดงว่า  มุ่งจะแสวงหาพระสัมมาสัม-
    โพธิญาณ.
๒.  พระเจ้าพิมพิสารขอปฏิญญาว่า  ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาโปรด.
๓.  ได้ไปศึกษาอยู่ในสำนักอาจารย์ทั้ง  ๒  คือ :-
          (๑)  อาฬารดาบส  กาลามโคตร  (ได้สมาบัติ ๗).
          (๒)  อุทกดาบส  ราวบุตร  (ได้สมาบัติ  ๘).
      เรียนจบความรู้ของอาจารย์ได้สมาบัติ  ๘  คือ :-
          (ก)  รูปฌาน  ๔  มี      ปฐมฌาน
                              ทุติยฌาน
                              ตติยฌาน
                              จตุตถฌาน
          (ข)  อรูปฌาน ๔ มี      อากาสานัญจายนะ
                              วิญญาณัญจายตนะ
                              อากิญจัญญาตนะ
                              เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 14
๔.  เสด็จออกจากสำนักอาจารย์  ไปทำความเพียร  เพื่อจะได้ตรัสรู้อยู่ที่ 
    ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ด้วยทุกรกิริยา ๓  อย่าง  คือ :-
          (๑)  กดฟันกับฟัน  กดลิ้นกับเพดาน.
          (๒)  กลั้นลมหายใจ.
          (๓)  อดอาหาร.
    จนพระรูปผอมมาก  ก็ยังไม่ได้ตรัสรู้เลย.
๕.  อุปมา  ๓  ข้อ  ปรากฏแก่พระองค์ว่า :-
          (๑)  ผู้มีกายและจิตยังไม่ออกจากกาม  ตรัสรู้ไม่ได้  เปรียบ
                 เหมือนไม้สดแช่น้ำ  สีไม่ติดไฟ.
          (๒)  ผู้มีกายออกแล้ว  แต่จิตยังไม่ออกจากกาม  ตรัสรู้ไม่ได้
                เหมือนไม้สดตั้งบนบก  สีไม่ติดไฟ.
          (๓)  ผู้มีกายและจิตออกจากกามแล้ว  ควรตรัสรู้ได้  เหมือน
                 ไม้แห้งตั้งบนบก  อาจสีให้เกิดไฟได้.
๖.  นับจากวันผนวชมาได้  ๖  ปี  พระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาส  ของ
    นางสุชาดา  รับหญ้าของ  นายโสตถิยะ  ลาดต่างบัลลังก์ที่โคนโพธิ์
    ประทับนั่งตั้งพระทัยอธิษฐานว่า    ยังไม่บรรลุโพธิญาณเพียงใด
    จักไม่ลุกขึ้นเพียงนั้น  เนื้อเลือดแห่งไปเหลือหนังหุ้มกระดูกก็ตาม.
๗.  ขณะนั้นมารคือกิเลสเกิดขึ้นในพระทัย  พระองค์ทรงผจญมารด้วย
    พระบารมี  ๑๐  ทัศ  คือ  ๑.  ทาน  ๒.  ศีล  ๓.  เนกขัมมะ  ๔.  ปัญญา
    ๕.  วิริยะ  ๖.  ขันติ  ๗.  สัจจะ   ๘.  อธิษฐาน  ๙.  เมตตา  ๑๐.  อุเบกขา
    ชนะแล้ว  บรรลุญาณ  ๓  คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 15
          (๑)  บุพเพนิวาสานุสติญาณ.   
          (๒)  ทิพพจักขุญาณ.      
          (๓)  อาสวักขยญาณ.
      ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  เมื่อวันพุธ  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖
      ก่อนแต่  พ. ศ.  ๔๕  ปี  ที่ต้นไม้โพธิ  (อัสสัตถพฤกษ์)  ฝั่งแม่น้ำ
      เนรัญชรา.
๘.  คำว่า  ตรัสรู้  นั้นคือรู้ของจริง ๔  อย่าง  คือ :-
          (๑)  รู้ทุกข์  คือ  ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายใจ.
          (๒)  รู้เหตุเกิดทุกข์  คือ  ความอยาก.
          (๓)  รู้ความดับทุกข์  คือ  หมดความอยาก.
          (๔)  รู้มรรค  คือ  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
๙.  ชื่อเดิมของพระองค์ว่า  สิทธัตถะ  แต่พอตรัสรู้ของจริงทั้ง ๔  นี้
    แล้ว   จึงได้พระนามว่า  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แปลว่า  ผู้ตรัสรู้
    ดีถูกต้องด้วยตนเอง.
๑๐.  ครูวิศวามิตรก็ดี    อาฬารดาบส  และอุทกดาบสก็ดี   ไม่ได้สอน
         ของจริงทั้ง  ๔  อย่างนี้เลย  ของจริงนี้  พระองค์ตรัสรู้เอาเอง
      เพราะฉะนั้น  จึงได้พระนามว่า  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 16
                      ปฐมโพธิกาล   
                      ปริเฉทที่  ๖
                ปฐมเทศนา  และ ปฐมสาวก
๑.  ครั้นตรัสรู้แล้ว  ได้ประทับในที่   ๗  แห่ง ๆ  ละ  ๗  วัน  คือ :-
      (๑)  ที่  ต้นโพธิ  (อัสสัตถพฤกษ์)  เป็นสถานที่ตรัสรู้นั้นเอง
เสวยวิมุตติสุข  พิจารณาปฏิจจสมุปบาท,  เปล่งอุทาน  ๓  ข้อใน
๓  ยามแห่งราตรี.
      (๒)  ที่  ต้นไทร  (อชปาลนิโครธ)  อยู่ทิศตะวันออกของ
ต้นโพธิ  เสวยวิมุตติสุข,  มีพราหมณ์  หุหุกชาติ   มาทูลถามถึง
พราหมณ์  และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์.
      (๓)  ที่  ต้นจิก  (มุจจลินท์)  อยู่ทิศอาคเนย์ของต้นโพธิ
เสวยวิมุตติสุข,  เปล่งอุทานว่า  ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรม
ได้สดับแล้วเป็นต้น,   มีฝนตกพรำ,   มีพระยานาคชื่อมุจจลินท์
เข้ามาวงด้วยขนด  ๗  รอบ  แผ่พันพานปกพระองค์.
      (๔)  ที่  ต้นเกต  (ราชายตนะ)  อยู่ทิศทักษิณของต้นโพธิ
ได้มีนายพาณิช  คือ  ตปุสสะ  ๑  ภัลลิกะ  ๑  ถวายข้าวสัตตุก้อน
สัตตุผง  แก่พระพุทธองค์  เป็นปฐมบิณฑบาตหลังจากตรัสรู้แล้ว
แสดงตนเป็นอุบาสก  ถึงพระพุทธ  กับพระธรรม  ก่อนใคร  ๆ  ใน
โลก  (เทฺววาจิกอุปาสก).
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 17
           (๕)  ที่อนิมมิสเจดีย์  อยู่ทางทิศอีสานของต้นโพธิ  เสด็จ
      ยืนจ้องดูต้นมหาโพธิ  ไม่กระพริบพระเนตร.   
          (๖)  ที่รัตนจงกรม  อยู่ระหว่างต้นโพธิ  กับ อนิมมิสเจดีย์
      เสด็จจงกรมในที่ซึ่งนิรมิตขึ้น.
          (๗)  ที่เรือนแก้ว  อยู่ทางทิศปัจฉิมพายัพของต้นโพธิ
      ทรงพิจารณาอภิธัมมปิฎกในเรือนแก้ว  ซึ่งเทวดานิรมิตขึ้น.
๒.  บาลีมหาวรรคว่ามีเพียง  ๔  แห่ง  อรรถกถาสามนต์  เติมอีก  ๓  แห่ง
    เรียงลำดับดังนี้  ๑.  โพธิ   ๒.  อนิมมิส   ๓.  จงกรม   ๔.  เรือนแก้ว
    ๕.  ไทร   ๖.  จิก   ๗.  เกต.
๓.  เสด็จจากไม้เกตลับไปร่มไม้ไทรอีก   ทรงพิจารณาเห็นว่า
    ธรรมนี้ลึกซึ้ง  ยากที่ผู้ยินดีในกามคุณจะรู้ตามได้  แต่ผู้มีกิเลสน้อย
    อาจรู้ได้  เพราะความทั้งหลาย  เปรียบด้วยดอกบัว ๔  เหล่า  คือ :-
          (๑)  ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าอาจรู้ธรรมได้ฉับพลัน   เปรียบ
                เหมือนดอกบัวจักบานวันนี้.
          (๒)  ผู้มีอินทรีย์ปานกลาง   เปรียบเหมือนดอกบัวจักบาน
                วันพรุ่งนี้.
          (๓)  ผู้มีอินทรีย์อ่อน   เปรียบเหมือนดอกบัวจักบานในวัน
                ต่อไป.
          (๔)  คนอาภัพ  กิเลสหนาแน่นไม่อาจรู้ธรรมเลย   เปรียบ
                เหมือนดอกบัวที่เป็นเหยื่อของปลาและเต่า.      
          จึงทรงตั้งพระหฤทัยเพื่อแสดงธรรม  และตั้งปณิธานเพื่อดำรง
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 18
      พระชนม์อยู่จนพระศาสนาแพร่หลายถาวร.   
๔.  ขึ้น  ๑๔  ค่ำ  เดือน  ๘  เสด็จไปพาราณสี  เจออุปกาชีวก  ระหว่าง
      แม่น้ำคยากับพระมหาโพธิ์ต่อกัน  อุปกาชีวกทูลถามถึงศาสดา  พระ
      องค์ตรัสตอบว่า  พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้เอง  ไม่มีใครเป็นครูสอน.
      อุปกาชีวกไม่เชื่อสั่นศีรษะแล้วหลีกไป  พระองค์เสด็จไปป่าอิสิปตน-
      มฤคทายวัน.
๕.  วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๘  ปีที่ตรัสรู้นั้นเอง   ได้ทรงแสดงธรรม
      ชื่อว่า  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  โปรดปัญจวัคคีย์  คือ  ฤษี  ๕  ตน
      คือ  โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ  มหานามะ  อัสสชิ  ที่ป่าอิสิปตน-
      มฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี.
๖.  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  อันนับเป็นปฐมเทศนา  มีใจความเป็น
      ๕  ตอน  คือ  :-
          (๑)  ทรงชี้ทางผิด  (สุดโต่ง)  ๒  อย่าง  อันได้แก่ความ
                หมกมุ่นในกาม  และการทรมานตนให้ลำบาก  ว่า
                เป็นทางไม่ควรเสพ  แล้วทรงชี้ทางถูก  (มัชฌิมา
                ปฏิปทา   คืออริยมรรคมีองค์  ๘ )  ว่าเป็นทางแห่ง
                พระนิพพาน.
          (๒)  ทรงชี้ความจริงแท้  (อริยสัจ)  ๔  อย่าง  คือ  ทุกข์
                สมุทัย  นิโรธ  มรรค.
          (๓)  ทรงยืนยันว่าเป็นพระพุทธะ    เพราะทรงรู้จักตัว
                ความจริง  หน้าที่เกี่ยวกับความจริง  และได้ทรงทำ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 19
          กิจที่เกี่ยวกับความจริงเสร็จแล้ว.   
      (๔)  ทรงแสดงความพ้นวิเศษ  สุดชาติสิ้นภพ  อันเป็น
          ผลของการรู้เห็นความจริงแท้นั้น.
      (๕)  ผลของการแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  พระ-
          โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดมีความเกิด
          เป็นธรรมดา   สิ่งนั้นทั้งหมด  มีความดับเป็น
          ธรรมดา  (เป็นพระโสดาบัน).  แล้วขอบวชได้เป็น
          พระเอหิภิกขุสงฆ์  สาวกโสดาบัน  องค์แรกในโลก
          (ข้อนี้แหละเป็นมูลเหตุให้  พุทธศาสนิกชนทำ
          อาสฬหบูชาประจำปี).
๗.  อยู่มาถึงวันแรม  ๕  ค่ำ  เดือน  ๙  (เดือน  ๘  ของไทย)  ปีนั้น
      พระพุทธเจ้าแสดงธรรมชื่อ  อนัตตลักขณสูตร  มีใจความเป็น
      ๕  ตอน  คือ :-
          (๑)  ทรงแสดงว่าเบญจขันธ์มิใช่ตัวตน  เป็นไปเพื่อความ
                เจ็บป่วย  บังคับไม่ได้.
          (๒)  ทรงตั้งปัญหาให้พระปัญจวัคคีย์ตอบเป็นข้อ ๆ  จนได้
                ความแน่นอนว่า  เบญจขันธ์ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์   มี
                ความแปรปรวนเป็นธรรมดา  ไม่ควรลงความเห็นว่า
                เบญจขันธ์เป็นของเรา  เราเป็นเบญจขันธ์  เบญจขันธ์
                เป็นตัวตนของเรา.
          (๓)  ทรงเน้นเป็นการเตือนให้เบญจวัคคีย์ลงความเห็น
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 20
                ด้วยปัญญาชอบตามเป็นจริงว่า  เบญจขันธ์ทั้งหมด   
                คือที่เป็นอดีต   อนาคต  ปัจจุบัน  ภายใน  ภายนอก
                หยาบ  ละเอียด  เลว  ประณีต  ไกลหรือใกล้ก็ตาม
                ไม่ใช่ของเรา  เราไม่เป็นเบญจขันธ์ ๆ  ไม่เป็นตัว
                ตนของเรา.
          (๔)       ทรงสรูปผลของการปฏิบัติว่า  พระอริยสาวกเมื่อ
                ลงความเห็นอย่างนี้แล้ว  ย่อมเบื่อหน่ายในเบญจ-
                ขันธ์  เมื่อเบื่อหน่าย  ย่อมคลายกำหนัด  เพราะคลาย
                กำหนัด  จิตจึงหลุดพ้นจากความถือมั่น  สิ้นชาติ  จบ
                พรหมจรรย์  เสร็จกิจ.
          (๕)  ผลของการแสดงอนัตตลักขณสูตร พระปัญจวัคคีย์
                สำเร็จพระอรหัต.
๘.  ครั้งนั้นพระอรหันต์ในโลก  ๖  องค์  คือพระพุทธเจ้า  ๑  พระสาวก  ๕.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 21
                         ปริเฉทที่  ๗   
               ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
๑.  พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมชื่อ  อนุปุพพีกถา  ๕  ข้อ  คือ:- 
          (๑)  ทาน   คือการเอื้อเฟื้อ  เผื่อแผ่.
          (๒)  ศีล  คือรักษากายวาจาให้เรียบร้อย.
          (๓)  สวรรค์  คือกามคุณที่บุคคลใคร่  ซึ่งจะได้ด้วยทานศีล.
          (๔)  โทษของกามคุณ  คือกามคุณนั้นไม่เที่ยงประกอบด้วย
                ความคับแต้น.
          (๕)  คุณของการบวช  คือเว้นจากกามคุณได้แล้วไม่มีความ
      คับแค้น.  และแสดงอริยสัจ  ๔  (สามุกกังสิกา  ธัมมเทสนา  พระธรรม-
      เทศนาที่พระองค์ยกขึ้นแสดงเอง)  โปรดลูกชายเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ
      ยส  ยสได้เป็นโสดาบัน  ภายหลังได้ฟังอนุปุพพีกถา  ๕  ข้อ  และอริย-
      สัจนั้นซ้ำอีก  จึงได้เป็นพระอรหันต์แล้วของบวช.
๒.  บิดาพระยส  เป็นอุบาสก  มารดาและภรรยาเก่า  ของพระยศ
      เป็นอุบาสิกา  ถึงรัตนตรัยคนแรกในโลก  (เตวาจิกอุบาสก - อุบา-
      สิกา)  และได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นโสดาบัน  เพราะได้ฟังอนุ-
      ปุพพีกถา  และอริยสัจเหมือนกัน  แล้วเลี้ยงพระกระยาหารอัน
      ประณีต  แด่พระศาสดาและพระยส  ก่อนกว่าใคร ๆ ในโลก.
๓.  พระองค์ได้ทรงแสดงอนุปุพพีกถานั้น  โปรดสหายของพระยส ๔
      คนคือ  วิมล,  สุพาหุ,  ปุณณชิ,  และควัมปติ  และสหายอื่นอีก  ๕๐
      คน  จนได้เป็นโสดาบันแล้วทั้งหมดบวชเป็นภิกษุ  และได้เป็น
      พระอรหันต์.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 22
๔.  รวมพระอรหันต์ในคราวนั้น  ๖๑  องค์  ทั้งพระพุทธเจ้า  พระพุทธ-   
      เจ้าทรงส่งไปแสดงธรรมสอนประชาชนทุกทิศ.
๕.  พระศาสดาเสด็จจากพาราณสี  จะไปตำบลอุรุเวลา  แวะพักที่
      ไร่ฝ้าย,  ภัททวัคคีย์ ๓๐  คนเข้ามาทูลถามหาหญิง  พระองค์ย้อน
      ถามว่า  ท่านจะแสวงหาหญิง  หรือว่าหาตนดีกว่า  ตอบว่า
      หาตนดีกว่า  พระองค์จึงให้พวกสหายนั้นนั่นลง  แล้วแสดง
      อนุปุพพีกถาและอริยสัจ  ภัททวัคคีย์  ได้ดวงตาเห็นธรรม*  ขอบวช
      พระองค์ประทานอุปสมบทแล้ว  ส่งไปประกาศพระศาสนา.
๖.  พระองค์เสด็จไปถึงตำบลอุรุเวลา  ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  แสดง
      ธรรมทรมานชฎิล  (ฤาษี)  ๓  ตนพี่น้อง คือ  :-
          (๑)  อุรุเวลากัสสป  มีบริวาร  ๕๐๐  ตน.
          (๒)  นทีกัสสป     มีบริวาร  ๓๐๐  ตน.
          (๓)  คยากัสสป    มีบริวาร  ๒๐๐  ตน.
      เขาได้บวชเป็นภิกษุทั้งหมดพร้อมกับบริวาร  ภายหลังได้ฟังธรรม
      ชื่อ    อาทิตตปริยายสูตร   ที่ตำบลคยาสีสะ  ใกล้แม่น้ำคยา.
๗.  อาทิตตปริยายสูตรมีใจความเป็น  ๓  ตอน  คือ :-
          (๑)  ทรงแสดงว่า  สิ่งทั้งปวง  คือ  อายตนะภายใน
                อายตนะภายนอก  วิญญาณ  ผัสสะ  เวทนา  เป็นของ
                ร้อน   ร้อนเพราะไฟ  คือราคะ   โทสะ  โมหะ
                ร้อนเพราะ  เกิด  แก่  ตาย  โศก  คร่ำครวญ  เจ็บกาย
                เสียใจ  คับใจ.

*  ในปฐมสมโพธิ์ว่า  ได้แก่  มรรคผลเบื้องต่ำทั้ง ๓
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 23
          (๒)  ทรงสรูปผลของการปฏิบัติว่า  พระอริยสาวก  เมื่อ   
                ลงความเห็นอย่างนี้  ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวงนั้น
                เมื่อเบื่อหน่าย   ย่อมคลายกำหนัด  เพราะคลาย
                กำหนัด  จิตจึงหลุดพ้นจากความถือมั่น  สิ้นชาติ  จบ
                พรหมจรรย์  เสร็จกิจ.
          (๓)  ผลของการแสดงอาทิตตปริยายสูตร  ภิกษุชฎิลพันรูป
                สำเร็จพระอรหัต.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 24
                         ปริเฉทที่  ๘   
         เสด็จไปกรุงราชคฤห์แคว้นมคะ  และได้อัครสาวก
๑.  พระองค์เสด็จไปกรุงราชคฤห์  ประทับ ณ  ลัฏฐิวัน  (สวนตาลหนุ่ม)
      ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ  ๔  โปรดพระเจ้าแผ่นดินมคธ
      พระนามว่า  พิมพิสาร   ท้าวเธอพร้อมด้วยบริวาร  ๑๑  ส่วนได้ดวงตา
      เห็นธรรม  อีก ๑  ส่วนตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์.
๒.  ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสารครั้งยังเป็นพระราชกุมาร  ๕  ข้อ
      คือ :-
          (๑)  ขอให้ข้าพเจ้

   
          (๑)  ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินมคธ.
          (๒)    "    พระอรหันต์  ผู้ตรัสรู้ชอบเองมายังแคว้น
                    ของข้าพเจ้า.
          (๓)    "      ข้าพเจ้าได้นั่งใกล้พระอรหันต์.
          (๔)    "      พระอรหันต์แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า.
          (๕)    "      ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์.
      ความปรารถนาทั้ง ๕ ข้อนี้  สำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ได้ดวงตาเห็น
ธรรม.
๓.  พระเจ้าพิมพิสาร   แสดงพระองค์เป็นอุบาสก  ทูลเชิญพระศาสดา
      และสงฆ์สาวกไปเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น  แล้วถวายพระ
      ราชอุทยาน  เวฬุวัน  (สวนไผ่)  ให้เป็นอาราม  (วัด)  ที่  ๑  ใน
      พระพุทธศาสนา.
๔.  มาณพสกุลพราหมณ์  ๒  สหาย  คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 25
          (๑)  อุปติสสะ  เพราะเป็นบุตรนางสารี  จึงเรียกกันว่า
                สารีบุตร. 
          (๒)  โกลิตะ   เพราะเป็นบุตรนางโมคคัลลี  จึงเรียก
                กันว่า  โมคคัลลานะ.
      พร้อมด้วยบริวาร  ๒๕๐  บวชในสำนักสัญชัยปริพาชก ไม่ได้ธรรม
      พิเศษ  ภายหลังสารีบุตรเลื่อมใสในพระอัสสชิ  และได้ฟังธรรม
      จากพระอัสสชิ  พอเป็นเลาความว่า
          ธรรมใดเถิดแต่เหตุ  พระศาสดาทรงแสดง
          เหตุแห่งธรรมนั้น  และความดับแห่งธรรมนั้น
          พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้.
      ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม  แล้วสารีบุตรแสดงธรรมนั้น  แก่โมคคัลลานะ      
      โมคคัลลานะ  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม  ปริพาชก  ๒  สหาย  ก็ได้พา
      บริวารมาอุปสมบทในพุทธศาสนา.
๕.  พระโมคคัลลานะ  อุปสมบทแล้ว ๗  วัน  ไปทำความเพียรที่บ้าน
      กัลลวาลมุตตคามแขวงมคธ  นั่งโงกง่วงอยู่  พระศาสดาทรงสอน
      อุบายแก้ง่วง  ๘  อย่าง  คือ :-
          (๑)  ควรนึกถึงเรื่องที่จำ ๆ  มาให้มาก.
          (๒)  ควรตรึกตรองถึงธรรมตามที่ได้ศึกษามา.
          (๓)  ควรสาธยายธรรม.
          (๔)  ควรยอนช่องหู.
          (๕)  ควรลุกขึ้นยืน  เอาน้ำลูบหน้าตาเหลียวดูทิศดวงดาว.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 26
          (๖)  ควรทำความสำคัญในแสงสว่าง.   
          (๗) ควรจงกรมสำรวมอินทรีย์.
          (๘)  ควรนอนตะแคงขวา มีสติสัมปชัญญะตั้งใจว่า  จะ
                ลุกขึ้น.
      และทรงสอนต่อไปว่า  ควรสำเหนียกว่า  เราจักไม่ชูงวง  (ถือตัว)
      เข้าไปสู่สกุล  ๑  ไม่พูดคำเป็นเหตุเถียงกัน ๑  เพราะจะเป็นเหตุ
      ให้ห่างจากสมาธิ  ทรงตำหนิการคลุกคลีด้วยหมู่ชน  ทรงสรรเสริญ
      ความคลุกคลีด้วยเสนาสนะอันสงัด.  แล้วตรัสตัณหักขยธรรม.
      พระโมคคัลลานะก็สำเร็จพระอรหัตผล.
๖.  พระสารีบุตร  อุปสมบทแล้ว  ๑๕  วัน  มีโอกาสถวายอยู่งานพัด
      เบื้องพระปฤษฎางค์  (หลัง)  แห่งพระศาสดา  ซึ่งกำลังทรงแสดง
      ธรรมชื่อเวทนาปริคคหสูตร   แก่ทีฆนขะปริพาชก  อัคคิเวสสน-
      โคตร  ที่ถ้ำสุกรขาตา  เขาคิชฌากูฏแขวงเมื่อราชคฤห์  พลางดำริว่า
      "พระศาสดาตรัสสอนให้ละการถือมั่นธรรมเหล่านั้น  (ทิฏฐิ-
      การ - เวทนา)  ด้วยปัญญาอันยิ่ง"  ก็สำเร็จพระอรหัตผล   ส่วน
      ทีฆนขะปริพาชก  ได้ดวงตาเห็นธรรม.
๗.  พระสารีบุตรได้เป็นอัครสาวกฝ่ายขวา  เลิศทางปัญญา  ส่วนพระ      
      โมคคัลลานะได้เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย  เลิศทางมีฤทธิ์.
๘.  พระศาสดา   ได้ทรงเลือกเอามคธชนบทเป็นที่ประดิษฐานพระ
      พุทธศาสนาเป็นปฐม  ก็สำเร็จสมพระประสงค์อย่างรวดเร็ว  เพราะ
      เป็นเมืองที่มั่งคั่งและมีศาสดาเจ้าลัทธิมาก  มีศิษยานุศิษย์มาก  ชน
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 27
      เหล่านั้นได้ความเชื่อความเลื่อมใส  ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยมาก
      ขึ้นโดยลำดับ.   
            ถอดใจความแห่งอภินิหารในเวลาประสูติ
      ๑.  ครั้งเข้าสู่พระครรภ์ปรากฏแก่พระมารดาในสุบิน  (ความฝัน)
ดุจพระยาช้างเผือก  แสดงถึงการอุบัติขึ้นแห่งบุคคลสำคัญคือพระมหา
บุรุษของโลก  ให้เกิดความยินดีทั่วหน้า.
      ๒.  เสด็จอยู่ในพระครรภ์  ไม่แปดเปื้อนมลทิน  ทรงนั่งขัดสมาธิ
เสด็จออกขณะพระมารดาประทับยืน  แสดงถึงการดำรงฆราวาส  ไม่หลง
เพลิดเพลินในกามคุณ  ได้ทรงทำกิจที่ควรทำ,  มีพระเกียรติปรากฏ
เสด็จออกบรรพชาด้วยปรารถนาอันดี.
      ๓.  พอประสูติแล้วมีเทวบุตรมารับ  ท่อน้ำร้อน - เย็น  ตกจาก
อากาศสนานพระกาย  ได้แก่อาฬารอาบสอุทกดาบส  หรือนักบวชอื่นรับ
ไว้ในสำนัก,  ทุกรกิริยาดุจท่อน้ำร้อน,  วิริยะทางจิตดุจท่อน้ำเย็น ชำระ
พระสันดานให้สิ้นสงสัย
      ๔.  พอประสูติแล้วทรงดำเนิน  ๗  ก้าว  ได้แก่ทรงแผ่พระศาสนา
ได้  ๗  ชนบท คือ  ๑.  กาสีกับโกศล  ๒. มคธกับอังคะ  ๓.  สักกะ
๔.  วัชชี   ๕.  มัลละ   ๖.  วังสะ  ๗.  กุรุ.
      ๕.  การเปล่งอาสภิวาจา  คือคำประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก
นั้น  ได้แก่ตรัสพระธรรมเทศนาที่คนฟังอาจหยั่งรู้ว่า  พระองค์เป็นยอด
ปราชญ์ศาสดาเอกในโลก.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 28
                      มัชฌิมโพธิกาล   
                         ปริเฉทที่  ๙
              ทรงบำเพ็ญพุทธกิจในมคธชนบท
๑.  คราวหนึ่ง  พระศาสดาประทับใต้ร่มไม้ไทร   ชื่อพหุปุตตนิโครธ
      ในระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทาต่อกัน  ทรงรับ  ปีปผลิ
      มาณพ  กัสสปโคตร  ผู้ถือเพศบรรพชิตบวชอุทิศพระอรหันต์ใน
      โลก  ให้เข้าเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา   ด้วยประทานโอวาท  ๓
      ข้อ  คือ :-
          (๑)  กัสสปะ  เธอพึงศึกษาว่า  เราจักเข้าไปตั้งความละอาย
      และความเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า  ทั้งที่เป็นผู้ใหม่  ทั้งที่เป็น
      ปานกลางอย่างแรงกล้า.
          (๒)  เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งประกอบด้วยกุศล
      เราจักเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น  พิจารณาเนื้อความ.
          (๓)  เราจักไม่ละ  กายคตาสติ  สติที่ไปในกาย  คือพิจารณา
      กายเป็นอารมณ์.
๒.  พระมหากัสสปะ  (ปิปผลิ)  ได้เป็นภิกษุด้วยพระโอวาท  ๓  ข้อนี้  จัด
      เข้าในพวกเอหิภิกขุอุปสมบท  นับจากอุปสมบทมาได้  ๘  วัน
      ได้สำเร็จพระอรหัต  ภายหลังได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า  เลิศ
      ทางฝ่ายทรงธุดงค์คุณ  และได้เป็นประธานสงฆ์ในคราวปฐม
      สังคายนา.
๓.  พระศาสดาประทับอยู่  ณ  เวฬุวนาราม  ถึงวันเพ็ญเดือน  ๓  ได้มีการ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 29
      ประชุมใหญ่ที่เรียกว่า  จาตุรงคสันนิบาต  แปลว่า  การประชุม   
      มีองค์  ๔  คือ :-
          (๑)  พระที่มาประชุมเป็นพระอรหันต์  ๑,๒๕๐  องค์.
          (๒)  พระเหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุ.
          (๓)  พระเหล่านั้นมากันเองโดยมิได้นัดหมายกัน.
          (๔)  พระศาสดาทรงประทาน  พระโอวาทปาติโมกข์  ในที่
      ประชุมนั้น  ใจความแห่งพระโอวาทปาติโมกข์นั้นมี  ๓  อย่าง  คือ :-
                ก.  การไม่ทำบาปทั้งปวง.
                ข.  การทำกุศลให้ถึงพร้อม.
                ค.  การทำจิตให้ผ่องใส.
      ทั้ง ๓  อย่างนี้  จัดเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา,  (จาตุรงคสัน-
      นิบาต   นี้แหละ  เป็นมูลเหตุให้พุทธสาสนิกชนทำมาฆบูชา
      ประจำปี)
๔.  ทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ในเสนาสนะได้  ๕  ชนิด  คือ  :-
          (๑)  วิหาร      ได้แก่กุฏิมีหลังคา  มีปีก ๒  ข้าง  อย่างปกติ
          (๒)  อัฆฒโยค   "    กุฏิที่มุงซีกเดียว  (เพิง)
          (๓)  ปราสาท        "    กุฏิหลายชั้น
          (๔)  หัมมิยะ        "    กุฏิหลังคาตัด
          (๕)  คูหา             "    ถ้ำแห่งภูเขา.
๕.  ราชคหกเศรษฐี  ได้สร้างวิหาร  (กุฏิ)  ๖๐  หลัง  อุทิศถวายสงฆ์
      พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาว่า  การสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมา   
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 30
แต่จตุรทิศมีประโยชน์  คือ :-   
      ๑.  วิหารนั้นย่อมกำจัดเย็นร้อน  สัตว์ร้าย  และลมแดดเสียได้.
      ๒.   "    เหมาะแก่การอยู่สำราญ  เพื่อบำเพ็ญสมถวิปัสสนา.
      ๓.  ภิกษุผู้คงแก่เรียนอยู่อาศัยในวิหารอันมีเครื่องใช้บริบูรณ์
          ย่อมจะแสดงธรรมเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์  แก่ผู้ถวาย
          วิหารเป็นต้นนั้น   ที่เขารู้ธรรมแล้วจักสิ้นอาสวะเย็นใจ.
๖.  บุรพบิดร  ๓  ชั้นคือ  บิดา  ปู่  ทวด  เป็นผู้อันจะพึงเซ่นด้วยก้อน
      ข้าวเรียก  สปิณฑะ  แปลว่า  ผู้ร่วมก้อนข้าว.  บุรพบิดรพ้นจาด
      ทวดขึ้นไปก็ดี  ญาติผู้มิได้สืบสายโดยทรงก็ดี  เป็นผู้อันจะพึงได้รับ
      น้ำกรวด  เรียก  สมาโนทก  แปลว่า  ผู้ร่วมน้ำ.
๗.  ทรงอนุญาตให้ทำ  ปุพพเปตพลี  คือทำบุญอุทิศให้เปตชนคือผู้ตาย
      โดยเป็นกิจอันผู้ครองเรือนจะพึงทำประการหนึ่ง  (เช่นที่เราเรียก
      กันว่าทำบุญ  ๗  วัน  ๕๐  วัน  ๑๐๐  วัน  หรือครบรอบปีจากวันตาย
      ทำบุญวันสารท - ตรุษ - สงกรานต์)  โดยอนุโลมธรรมเนียมเซ่นหรือ
      ทักษิณานุปทานอุทิศบุรพบิดรของพราหมณ์  ที่เรียกว่า  ศราทธะ
      แต่ขยายให้กว้างกว่าของพราหมณ์  คืออุทิศให้ทั้งแก่  สปิณฑะ
      ทั้งแก่สมาโนทก  และไทยทานก็ให้บริจาคในสงฆ์  แทนที่จะเอาไป
      วางไว้สัตว์เช่นกาเป็นต้นกิน.
๘.  คำว่าเปตชนหมายความได้  ๒  นัย  คือ :-
          (๑)  หมายเอาคนตายแล้วทั่วไปได้ในคำว่า  เปโต  กาลกโต-
          (๒)  หมาเอาบุรพบิดร  ได้ในคำว่า  ปุพพเปตพลี.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 31
๙.  เปตชนผู้ไปเกิดในกำเนิดอื่นทั้งสุคติและทุคติ  ย่อมเป็นอยู่ด้วย 
         อาหารในคติที่เขาเกิด  ไม่ได้รับผลทานที่ทายกอุทิศให้.  ต่อไป
         เกิดใน  ปีตติวิสยะ  แดนแห่งเปตร  อทิสสมานกาย* จึงจะได้รับ.
๑๐.  เปตชนจะได้รับผลทานก็ต้องพร้อมด้วยองค์  ๓  คือ :-
          (๑)  ทายกบริจาคทานแล้วอุทิศถึง.
          (๒)  ปฏิคาหกผู้รับทานเป็นทักขิเณยยะ  ผู้ควรรับทาน.
          (๓)  เปตชนนั้นได้อนุโมทนา.
๑๑.  ทักษิณาอุทิศเฉพาะบุรพบิดรเรียกว่า  ปุพพเปตพลี,  ทักษิณาอุทิศ
      คนตายทั่วไปเรียกว่า   ทักษิณานุปทาน  แปลว่า  การตามเพิ่ม      
      ให้ทักษิณาบ้าง  เรียกว่า  มตกทาน  แปลว่า  ทานอุทิศผู้ตายบ้าง.
๑๒.  ผลของปุพพเปตพลี  หรือทักษิณานุปทาน  หรือมตกทานนั้นมีมาก
      โดยใจความมี ๔  คือ :-
          (๑)  ประโยชน์สุขสำเร็จแก่เปตชนโดยฐานะอันควรสิ้นกาล
                นาน.
          (๒)  ทายก  (ผู้ให้   ผู้ทำ)  ได้แสดงญาติธรรม.
          (๓)   "            "          ได้บูชายกย่องเปตชนอย่างโอฬาร.
          (๔)   "            "          ได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุ.
      เป็นอันว่าได้บุญไม่น้อยเลย.
๑๓.  การทำปุพพเปตพลีเป็นต้น  ย่อมบำรุงความรักใครนับถือในบุรพ-
      บิดรของตน  ให้เจริญกุศลส่วนกตัญญูกตเวทิตา  เป็นทางมาแห่ง
      ความเจริญรุ่งเรืองของสกุลวงศ์.

*  มีกายอันคนธรรมตามองไม่เห็น.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 32
๑๔.  ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในกิจกรรมนั้น  ๆ  มีอุปสมบทกรรม   
      เป็นต้น  คือ  ได้โปรดตั้งพระสารีบุตรให้เป็นอุปัชฌาย์  รับ  ราธ-
      พราหมณ์  เข้าบวชเป็นภิกษุ  ด้วย  วิธีญัตติจตุตถกรรมอุป-
      สัมปทาเป็นครั้งแรก  ในพระพุทธศาสนา.
๑๕.  ทรงแสดงวิธีไหว้ทิศทั้ง ๖  โดยใจความว่า  ผู้จะไหว้ทิศต้องเว้น
      กิจเหล่านี้  คือ :-
          (๑)  เว้นกรรมเศร้าหมอง ๔  อย่าง  (ดูนวโกวาทหน้า  ๖๗).
          (๒)  เว้นอคติ  ๔  อย่าง                (          "       ๓๖).
          (๓)  เว้นอบายมุข  ๔  อย่าง  หรือ  ๖  อย่าง  (      "  ๖๗-๘๒).
      แล้วจึงไหว้ทิศทั้ง ๖  คือ :-
          (๑)  ปุรัตถิมทิศ  ๆ  เบื้องหน้า  คือ มารดาบิดา  (   "   ๗๖).
          (๒)  ทักษิณทิศ  ๆ  เบื้องหน้า  คือ  อุปัชฌาย์อาจารย์.
          (๓)  ปัจฉิมทิศ   ๆ  เบื้องหลัง   คือ  ภรรยา.
          (๔)  อุตตรทิศ    ๆ  เบื้องซ้าย   คือ   มิตร.
          (๕)  เหฏฐิมทิศ  ๆ  เบื้องล่าง คือ  บ่าว  และลูกจ้าง.
          (๖)  อุปริมทิศ    ๆ  เบื้องบน   คือ  สมณพราหมณ์.
๑๖.  ทรงอนุญาตให้ชาวพุทธทำ  เทวตาพลี  คือ  ทำบุญอุทิศให้เทวดาโดย
      เปลี่ยนวิธีทำให้สำเร็จประโยชน์ดีกว่าวิธีของพราหมณ์   คือพวก
      พราหมณ์ใช้วิธีตั้งเครื่องสังเวยให้เหมาะแก่เทวดานั้น ๆ  เช่น :-
          (๑)  เทวดาใจดี  ก็สังเวยด้วยข้าว  ขนม  นม  เนย  และผลไม้.
          (๒)  เทวดาใจร้าย  ก็สังเวยด้วยเนื้อ  เลือด  ตลอดถึงชีวิตของ
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 33
      คนหรือสัตว์.   
      การสังเวยเทวดาใจดี  ก็เพื่อให้เกิดความเอ็นดูให้ช่วยคอยพิทักษ์
      รักษา.
      การสังเวยเทวดาใจร้าย  ก็เพื่อมิให้คิดร้ายหรือทำร้ายให้เดือดร้อน.
                และเมื่อจะสังเวย  ก็เอาเครื่องสังเวยไปวางในที่นั้น ๆ
                ตามที่เทวดานั้น ๆ  สถิตอยู่  เช่น :-
          (๑)  สังเวยพระธรณี  วางที่พื้นดินหรือต้นไม้ที่กลายมาเป็น
                สังเวยรุกขเทวดา.
          (๒)  สังเวยพระคงคา  วางในน้ำ  กลายมาเป็นพิธีลอยกบาล
                หรือ  เสียกบาล.
          (๓)  สังเวยพระเพลิง  วางในกองไฟ  เรียกว่า  บูชาเพลิง.
          (๔)    "   พระอินทร์  วางบนศาลเพียงตา.
          (๕)   "    พระยม   วางในป่าช้า.
          (๖)   สังเวยเทวดาอื่น  ก็ทำไปแล้วแต่ความเหมาะสม.
๑๗.  พระศาสดาเสด็จถึงบาน  ปาฏลิคาม  ทรงรับนิมนต์เสวย
      ภัตตาหารใน  เมืองใหม่  (เมืองปาฏลิบุตร)  อัน  สุนิธพราหมณ์
      และ วัสสการพราหมณ์  กำลังสร้าง  แล้วทรงแสดงวิธีทำเทวดาพลี
      โดยใจความว่า :-
          (๑)  ผู้ฉลาดอยู่ในสถานที่ใด ๆ  ควรนิมนต์พรหมจารีผู้มีศีล
                สำรวมดีให้ฉันในที่นั้น ๆ.
          (๒)  เมื่อให้ท่านฉันแล้ว   พึงอุทิศส่วนกุศลให้แก่เทวดา
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 34
          ผู้สิงสถิตอยู่ที่นั้น.   
      และพระองค์ทรงแสดงผลของเทวดาพลีไว้ว่า :-
          (๑)  เทวดาทั้งหลายอันเขาบูชาแล้ว  ย่อมบูชาตอบ.
          (๒)    "          "          นับถือแล้ว   ย่อมนับถือตอบ.
          (๓)  จำเดิมแต่นั้นไป  เทวดานั้น  ก็ย่อมอนุเคราะห์ผู้บูชา
                นับถือนั้นด้วยจิตเมตตา  ดุจมารดากับบุตร  ฉะนั้น.
          (๔)  ผู้ที่เทวดาอนุเคราะห์คือรักษานั้น  ย่อมประสบแต่
                ความเจริญเสมอ.
๑๗. ประตูที่พระศาสดาเสด็จออกจากเมืองปาฏลีบุตรชื่อ  โคตมหทวาร
      ท่าแม่น้ำคงคาที่เสด็จข้ามชื่อ  โคตมติตถะ.
๑๙.  พระศาสดาตรัสชมเมืองปาฏลิบุตรว่า  สร้างดีได้จังหวะมีระเบียบ
      เรียบร้อย  ทรงพยากรณ์ว่าจักเป็นยอดนคร  เป็นที่ประชุมสินค้า
      แต่จักมีอันตราย  ๓ ประการ  คือ :-
          (๑)  เพลิงไหม้.
          (๒)  น้ำท่วม.
          (๓)  แตกกันเอง.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 35
                       ปริเฉทที่  ๑๐   
                      เสด็จสักกชนบท
๑.  สักกชนบท  แบ่งเป็น  ๔  นคร  คือ :-
      (๑)  นครกบิลพัสดุ์  เป็นที่อยู่ของ  (กปิลวตฺถวา  สกฺกา)  พวก
          ศากยะผู้อยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์.
      (๒)  นครวิธัญญา  เป็นที่อยู่ของ  (เวธญฺ?า  สกฺกา)  พวกศากยะ
          ผู้อยู่ในเมือง  วิธัญญา.
      (๓)  นครโคธาฬี  เป็นที่อยู่ของ  (โคธาฬิยา  สกฺกา)  พวกศากยะ
          ผู้อยู่ในเมือง  โคธาฬี.
      (๔)  นครโกฬิยะ  เป็นที่อยู่ของ  (รามคามกา  สกฺกา)  พวกศากยะ
          ผู้อยู่ในเมือง  รามคาม.
      นครโกฬิยะ  นี้  บางแห่งก็เรียกว่า  เมืองรามคาม.
๒.  พระศาสดาเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์โปรดพระพุทธบิดา  มีเรื่อง
      เล่าว่า  พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่า  พระสิทธัตถะได้เป็น
      พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว  ได้สั่งสอนธรรมแก่ประชาชน
      โดยลำดับมา  บัดนี้  ประทับอยู่  ณ  กรุงราชคฤห์  จึงตรัสสั่งให้
      อำมาตย์หลายคนไปนิมนต์  แต่พวกอำมาตย์ที่ทรงใช้ไปนั้น  ไป
      แล้วก็เงียบหายไม่ได้เชิญเสด็จพระศาสดามาตามที่ทรงรับสั่ง
      เพราะมัวไปฟังธรรมเพลินจนบรรลุอรหัต  ครั้งสุดท้ายได้ใช้ให้
      กาฬุทายิอำมาตย์  ไปนิมนต์  กาฬุทายิอำมาตย์พร้อมด้วยบริวาร
      ก็ไปฟังธรรมจนบรรลุอรหัตแล้วบวชเป็นเอหิภิกขุ  คอยอยู่จน
      สิ้นฤดูหนาว  ย่างเข้าฤดูฝน  ก็ได้ทูลเชิญพระศาสดา  พระศาสดา
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 36
      พร้อมด้วยหมู่สงฆ์ได้เสด็จจากกรุงราชคฤห์  เดินทางได้วันละ ๑   
      โยชน์  ร่วม ๒  เดือนจึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์   ประทับที่  นิโครธาราม
      ได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานเหล่าศากยะ  ผู้สูงอายุ  ซึ่งมี
      มานะไม่ยอมอภิวาทน์  พระเจ้าสุทโธทนะได้ถวายอภิวาทน์ก่อน
      ศากยะนอกนั้นก็ได้ทำตามหมด.
๓.  เหล่าศากยวงศ์  มาประชุมกันรับเสด็จพระศาสดา  เป็นมหาสัน-
      นิบาต  เรียกว่า  ญาติสมาคม  ต่างก็มีความชื่นบาน   บังเกิด
      อภินิหาร  ฝนโบกพรพรรษ  ตกตงมา  พระศาสดาทรงแสดง
      เวสสันดรชาดก  โปรด.
๔.  ในวันรุ่งขึ้นพระศาสดาเสด็จเที่ยวภิกขาจาร  ชาวบ้านพากันแตก
      ตื่น  เพราะเห็นกษัตริย์เที่ยวขอทาน  พระเจ้าสุทโธทนะไปเชิญให้
      เสด็จกลับ  พระศาสดาตรัสบอกว่า การเที่ยวบิณฑบาตนี้เป็น
      กิจวัตรของสมณะ  และได้ทรงแสดงพระคาถา  มีความว่า
          ไม่พึงประมาทในบิณฑบาต  พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
          ผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นสุข  ทั้งในโลกนี้ทิ้งในโลกหน้า.
      พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับพระคาถานี้แล้ว  ได้บรรลุโสดาปัตติ-
      ผล เป็นพระอริยเจ้า.

   ปริเฉทที่  ๑๑   
                    เสด็จโกศลชนบท
๑.  โกศลชนบท  ตั้งอยู่ในมัธยมชนบท ภาคเหนือแห่งชมพูทวีป
      มีกรุงสาวัตถีเป็นพระนครหลวง  มีอาณาเขตดังนี้
          (๑)  ด้านเหนือ  จด  กุรุชนบท  หรือ  แดนเขาหิมพานต์.
          (๒)  ด้านตะวันออก  หรือ  ตะวันออกเฉียงใต้  จด  วัชชี-
                ชนบท.
          (๓)  ด้านใต้   จด  อังคชนบท  กับ  มคธชนบท.
          (๔)  ไม่แน่ว่าด้านไหน  จด  ภัคคชนบท.
      อาณาเขตตามที่กล่าวนี้  เป็นเพียงอนุมานตามระยะทางที่
      เสด็จพุทธจาริกเป็นต้นเท่านั้น.
๒.  ในกรุงสาวัตถีมีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อ  สุทัตตะ  เกี่ยวข้องกับราชคหก-
      เศรษฐี   โดยที่ได้ภคินีมาเป็นภรรยา  วันหนึ่งได้ไปธุระที่บ้านของ
      ราชคหกเศรษฐี  เห็นราชคหกเศรษฐีจัดเตรียมอาหารมากมาย
      เพื่อถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันรุ่งขึ้น  ก็เกิด
      ความเลื่อมใส  รุ่งขึ้นก่อนรับประทานอาหารได้รับไปเฝ้าพระ
      ศาสดา  ณ  สีตวัน  ได้ฟังอนุปุพพีกถา  และจตุราริยสัจ  ได้
      ธรรมจักษุ  คือบรรลุโสดาปัตติผล   ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระ
      รัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต  ตั้งแต่นั้นมาก็ได้บริจาคทรัพย์
      มหาศาลให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาตลอดถึงคนยากจน
      อนาถาทั่วไป  จึงได้เนมิตตกนามใหม่ว่า  "อนาถปิณฑิกเศรษฐี."
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 38
                       ปัจฉิมโพธิกาล   
๑.  พระพุทธองค์เสด็จไปสั่งสอนเวไนยชน  ในคามนิคมชนบทโดย
      ทั่ว ๆ  ไป  ตลอดเวลา  ๔๕  ปี นับจากที่ตรัสรู้มา  ปีสุดท้ายได้
      จำพรรษาที่  เวฬุวคาม  เมื่อเวสาลี  ทรงพระประชวรหนักใกล้
      มรณชนม์พินาศ  ทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสนขันติ  ทรงขับพยาธิ
      ด้วยความเพียรอิทธิบาทภาวนา.
๒.  ได้ทรงแก้วความห่วงใยและความหวังของพระอานนท์  ๕  ข้อคือ :-
          (๑)  ธรรมเราได้แสดงแล้ว  ไม่ทำให้มีภายในภายนอก
                กำมืออาจารย์  คือความซ่อนเร้นในธรรมทั้งหลาย  ไม่
                มีแก่พระตถาคตเจ้า  ข้อลี้ลับที่จะต้องปิดไว้  เพื่อแสดง
                แก่สาวกบางเหล่า  หรือในอวสานกาลที่สุด  ไม่มีเลย.
          (๒)  ตถาคตไม่มีความห่วงใยที่จะรักษาภิกษุสงฆ์  หรือว่า
                ให้ภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่พึ่ง.
          (๓)  บัดนี้เราแก่เฒ่าล่วงเข้า  ๘๐  ปีแล้ว  กายชำรุดประดุจ
                เกวียนชำรุดที่ซ่อมด้วยไม้ไผ่ใช้การไม่ไหวแล้ว.
          (๔)  เดี๋ยวนี้กายแห่งตถาคต  ย่อมมีความผาสุกสบายอยู่ได้
                ด้วยอนิมิตเจโตสมาธิ  ความตั้งเสมอแห่งจิตไม่มีนิมิต.
          (๕)  ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาที่พึ่ง  คือมีธรรมเป็นที่
                พึ่ง  อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง   แล้วทรงแสดงสติปัฏฐาน  ๔
                และปกิรณกเทศนา.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 39
๓.  อยู่มาถึงวันมาฆบูชา  คือ  วัน  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๓  ปีที่  ๔๕  นั้น
      เอง  พระองค์  ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์  เมืองเวสาลี 
      คือ  กำหนดวันว่า  "ต่อจากนี้ไป  ๓  เดือน  เราจักปรินิพพาน."
๔.  อิทธิบายทั้ง ๔  คือ  ฉันทะ   วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  ผู้ใดเจริญ
      ทำให้มาก  ผู้นั้นหวังดำรงอยู่ตลอด  กัปหรือยิ่งกว่า  ก็พึงตั้งอยู่ได้
      สมหวัง.
๕.  สถานที่ทรงทำนิมิตโอภาส  เพื่อให้พระอานนท์อาราธนาพระ
      ตถาคตให้ดำรงอยู่ตลอดกัปนับได้  ๑๖  ตำบล  คือ :-      
          (๑)  ภูเขาคิชฌกูฏ.
          (๒)  โคตมกนิโครธ.
          (๓)  เหวที่ทิ้งโจร.
          (๔)  ถ้ำสัตตบัณณคูหาข้างภูเขาเวภารบรรพต.
          (๕)  กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิบรรพต.
          (๖)  เงื้อมสัปปิโสณฑิกา  ณ  สีตวัน.
          (๗)  ตโปทาราม.
          (๘)  เวฬุวัน.
          (๙)  ชีวกัมพวัน.
          (๑๐)  มัททกุจฉิมิคทายวัน  (ทั้ง ๑๐  นี้อยู่เมืองราชคฤห์).
          (๑๑)  อุเทนเจดีย์.
          (๑๒)  โคตมกเจดีย์.
          (๑๓)  สัตตัมพเจดีย์.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 40
          (๑๔)  พหุปุตตเจดีย์.   
          (๑๕)  สารันททเจดีย์.   
          (๑๖)  ปาวาลเจดีย์.  (ทั้ง  ๖  ตำบลตอนหลังนี้อยู่เมืองเวสาลี).
๖.  ต่อจากนั้นพระองค์เสด็จไป  กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน  ทรงแสดง
      อภิญญาเทสิตธรรม  (โพธิปักขิยธรรม)  สังเวคกถา  และ
      อัปปมาทธรรม.  ครั้งนั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตทอดพระเนตร
      เมืองเวสาลีเป็น นาคาวโลก  มองอย่างช้างเหลียวหลังครั้งสุดท้าย
      แล้วไปบ้าน  ภัณฑุคาม  แสดง  อริยธรรม  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา
      วิมุตติ,  ต่อจากนั้นไปบ้าน  หัตถีคาม  อัมพคาม  ชัมพุคาม
      โภคนคร  ประทับที่  อานันทเจดีย์  แสดง  ธรรมีกถา  และ
      พาหุลลกถา  สุตตันติกมหาปเทส  ๔  ต่อจากนั้นเสด็จถึง
      เมืองปาวา  ประทับอยู่ที่  อันพวัน  ของ  นายจุนทะ.
๗.  พอถึงวัน  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖  ปีนั้น  เอง  เวลาเช้าพระองค์เสด็จ
      ไปเสวยเนื้อสุกรอ่อน  (สุกรมทฺทว,  ชาวลังกาเรียก  "สูกรมุดัว"
      เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง)  ที่บ้านนายจุนทะ  บุตรของช่างทำทอง  เสร็จ
      แล้วก็อาพาธลงพระโลหิตในระหว่างทาง  ที่กำลังเสด็จไปเมือง
      กุสินารา  แวะประทับร่มไม้  รับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำใน
      แม่น้ำน้อยมาเสวยระงับความกระหายแล้ว  ได้รับผ้าสิงคิวรรณ
      ๑  คู่  จากปุกกุสะ  (ศิษย์อาฬารดาบส)  นุ่งห่มแล้วมีรัศมีผุดผ่อง
      รัศมีของพระพุทธเจ้าผุดผ่อง  ๒  กาล  คือ :-
          (๑)  วันที่ตรัสรู้.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 41
          (๒)  วันที่ปรินิพพาน.   
๘.  ต่อจากนั้นได้เสด็จถึง  แม่น้ำกกุธานที  เสด็จลงสรงแล้วขึ้น  เสด็จ
      ไปประทับสีหไสยาที่  อัมพวัน  (สวนมะม่วง)  แล้วตรัสว่า  ใคร ๆ
      อย่าทำความเดือดร้อนให้แก่นายจุนทะเลย  เพราะบิณฑบาตที่มี
      อานิสงส์มากนั้น  มี  ๒  ครั้ง  คือ :-
          (๑)  บิณฑบาตที่ฉันแล้วได้ตรัสรู้  (ได้แก่บิณฑบาตที่รับจาก
                นางสุชาดา).
          (๒)  บิณฑบาตที่ฉันแล้วปรินิพพาน  (ได้แก่ที่รับฉันในบ้าน
                นายจุนทะ).
๙.  พร้อมกับพระสงฆ์ได้เสด็จข้าม  แม่น้ำหิรัญญวดี  ไปถึงสวนชื่อ
      สาลวัน  ในเขตเมืองกุสินารา  ทรงสำเร็จสีหไสยาตะแคงขวา
      หันพระเศียรไปทิศเหนือ  หันพระพักตร์ไปทิศตะวันตก  เหนือ
      พระแท่นปรินิพพานไสยา  ระหว่างต้นไม้สาละทั้งคู่.
๑๐.  การสำเร็จสีหไสยา  เหนือแท่นปรินิพพานไสยา  ระหว่างไม้สาละทั้งคู่
      ที่เมืองกุสินารา  เป็นการไสยาครั้งสุดท้ายเรียก "อนุฏฐานไสยา"
      (นอนไม่ลุกขึ้น)  มีเหตุการณ์ต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้ :-
๑๑.  ต้นสาละทั้งคู่เผล็ดดอกมิใช่ฤดูกาลตั้งแต่โคนถึงยอด  ดอกไม้ทิพย์
      ก็หล่นลงที่สรีระของพระพุทธเจ้าเพื่อบูชา  พระพุทธเจ้าตรัสว่า
      "ดูก่อนอานนท์  เราไม่สรรเสริญการบูชาด้วยอามิสเห็นปานนี้
      ว่าเป็นการดี  ถ้าบริษัท  ๔  มาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม  เรา
      สรรเสริญว่าเป็นการดีอย่างยิ่ง  ชื่อว่าบูชาเราด้วยบูชาอันยิ่ง."

      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 42
๑๒.  ทรงแสดงความเป็นไปแห่งเทวดา  สมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรง   
      ขับ  พระอุปวาณะ  ผู้ยืนถวายงานพัดที่เฉพาะพระพักตร์ให้หลีก
      ไปเสีย  พระอานนท์สงสัยจึงทูลถาม  พระองค์ตรัสบอกว่า  "เทวดา
      ประชุมกันเต็มที่  ๑๒  โยชน์รอบเมืองกุสินารา เพื่อเห็นพระตถาคต
      แต่พระอุปวาณะยืนบังเสีย  เราจึงขับไป"  พระอานนท์ทูลถามว่า
      "เทวดารู้สึกอย่างไร ?"  พระองค์ตรัสตอบว่า  "เทวดาบางพวกที่
      ยังเป็นปุถุชนก็ร้องไห้กลิ้งเกลือกไปมา  บางพวกที่เป็นอริยชน
      มีความอดกลั้นโดยธรรมสังเวชว่า  "สังขารไม่เที่ยง  ไม่ได้ตาม
      ปรารถนา."
๑๓.  ทรงแสดงสังเวชนียสถาน  ๔  ตำบล  คือ :-
          (๑)  สถานที่พระตถาคต  ประสูติ.
          (๒)  สถานที่พระตถาคต   ตรัสรู้.
          (๓)  สถานที่พระตถาคต  แสดงธรรมจักร.
          (๔)  สถานที่พระตถาคต  ปรินิพพาน.
      ว่าเป็นที่ควรดูควรเห็น  ควรให้เกิดความสังเวช  ของกุลบุตรผู้มี
      ศรัทธา.
๑๔.  อาการที่ภิกษุพึงปฏิบัติในสตรีภาพ  พระองค์ทรงแสดงว่า :-
          (๑)  อย่าดูอย่าเห็น  เป็นการดี.
          (๒)  ถ้าจำเป็นต้องงดต้องเห็น  อย่าพูด  เป็นการดี.
          (๓)  ถ้าจำเป็นต้องพูด  ควรพูดคำเป็นธรรม.
๑๕.  ทรงแสดงวิธีปฏิบัติในพุทธสรีระ  ว่า  พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับ

      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 43
      สรีระของพระเจ้าจักรพรรดิราช  คือ  ห่อด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วย
      สำลี  สลับกันโดยอุบายนี้  ๕๐๐  คู่  แล้วเชิญลงในรางเหล็กเต็ม 
      ด้วยน้ำมันมีฝาเหล็กครอบ  ทำจิตการธารด้วยไม้หอม  ถวาย
      พระเพลิงเสร็จแล้ว  เก็บสารีริกธาตุบรรจุไว้ในเจดีย์ที่ถนนใหญ่ ๔
      แพร่ง.
๑๖.  ทรงแสดงถูปารหบุคคล  ๔  จำพวก  (บุคคลที่ควรทำเจดีย์ไว้
      บูชา)  คือ :-
          (๑)  พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า
          (๒)  พระปัจเจกพุทธเจ้า.
          (๓)  พระสาวกอรหันต์.
          (๔)  พระเจ้าจักรพรรดิราช.
๑๗.  ทรงประทานโอวาทแก่พระอานนท์  ในครั้งนั้นพระอานนท์ไป
      ยืนเกาะไม้มีสัณฐานคล้ายศีรษะวานร  ร้องไห้อยู่ในวิหาร  พระ
      องค์ตรัสเรียกมาให้พระโอวาทว่า  "สังขารไม่เที่ยง  ต้องสูญสลาย
      ไปเป็นธรรมดา" และทรงพยากรณ์ว่า  "อานนท์มีบุญได้ทำไว้
      แล้วด้วยในไตรทวาร  จักได้เป็นพระอรหันต์โดยฉับพลัน."
๑๘.  ตรัสสรรเสริญพระอานนท์  ว่า  เป็นยอดอุปัฏฐาน  ฉลาดรู้จักกาล
      รู้จักบริษัท  ว่ากาลใดบริษัทไหนควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า  ฯ ล ฯ
      ถ้าแสดงธรรม  บริษัทฟังไม่อิ่มไม่เบื่อเลย.
๑๙.  ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา   พระอานนท์กราบทูลให้พระพุทธเจ้า
      เสด็จไปปรินิพพานที่เมืองใหญ่ ๆ  คือ  ๑.  เมืองจำปา  ๒.  ราชคฤห์

      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 44
      ๓.  สาวัตถี  ๔.  สาเกต  ๕.  โกสัมพี  ๖.  พาราณสี  พระองค์ห้าม   
      เสียแล้วตรัสว่า  "เมืองกุสินารานี้  ในอดีตเคยเป็นนครใหญ่มาก
      ชื่อ  "กุสาวดี"   มีพระเจ้า  มหาสุทัศน์จักรพรรดิราช  ปกครอง
      มีพลเมืองมาก  อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร  กึกก้องกังวาน
      ด้วยเสียงทั้ง ๑๐  คือ :-
          ๑.  เสียงช้าง  ๒.  เสียงม้า  ๓.  เสียงรถ  ๔.  เสียงเภรี  ๕. เสียง
      ตะโพน  ๖.  เสียงพิณ  ๗.  เสียงขับร้อง  ๘.  เสียงกังสดาล
      ๙.  เสียงสังข์ ๑๐.  เสียงคนเรียกกินข้าว  ไม่สงบทั้งกลางวันกลางคืน.
๒๐.  ตรัสให้แจ้งข่าวปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์  ว่าจักปรินิพพานใน
      ยามใกล้รุ่งแห่งคืนวันนี้  เพื่อมิให้มัลลกษัตริย์กินแหนงแคลงใจ
      ในภายหลัง  พระอานนท์รับพุทธฎีกาแล้ว  เข้าไปบอกแก่
      มัลลกษัตริย์ในกลางที่ประชุม  ณ  ศาลาว่าราชการ  กษัตริย์เหล่า
      นั้นพร้อมด้วยโอรส,  ลูกสะใภ้,  ปชาบดี  ก็โศกเศร้ารำพันต่าง ๆ
      ประการ  แล้วเสด็จไปสาลวัน.  พระอานนท์จัดให้เข้าเฝ้าตาม
      ลำดับพระวงศ์  เสร็จในปฐมยาม.
๒๑.  ทรงโปรดสุภัททปริพาชก  สมัยนั้น  สุภัททปริพาชก  ทราบว่า
      พระพุทธเจ้าจักปรินิพพานในคืนนี้  จึงรีบไปเพื่อจะทูลถามข้อ
      สงสัยบางอย่าง  ชั้นแรกถูกพระอานนท์ห้ามไว้  ภายหลังได้รับ
      พุทธานุญาต  จึงเข้าไปทูลถามว่า  "ครูทั้ง ๖  คือ  ๑.  ปูรณกัสสปะ
      ๒.  มักขลิโคศาล  ๓.  อชิตเกสกัมพล  ๔.  ปกุทธกัจจายนะ
      ๕.  สัญชัยเวลักฏฐบุตร ๖.  นิครนถนาฎบุตร  ได้ตรัสรู้จริงหรือ ?"
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 45
          พระองค์ตรัสห้ามเสียแล้ว  ทรงแสดงธรรมแก่เขาว่า  "มรรค
      ๘  ไม่มีในธรรมวินัยใด  พระสมณะ  ๔  เหล่า  ไม่มีในธรรมวินัย
      นั้น  มรรค  ๘  มีในธรรมวินัยของตถาคตเท่นั้น  สมณะ  ๔  ย่อม 
      มีด้วย."
          สุภัททะฟังธรรมนี้แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกแล้ว  ขออุปสม-
      บท.  พระองค์ตรัสว่า  "คนนอกพุทธศาสนาต้องอยู่ปริวาส  ๔
      เดือนจึงบวชได้."  สุภัททะว่า  "ให้อยู่สัก  ๔  ปีก็อา."  พระองค์ตรัส
      ให้พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชา.
๒๒. สุภัททะเป็นสักขีสาวก  พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชาให้
      เป็นสามเณร  แล้วนำเข้าถวายพระพุทธเจ้า  พระองค์ให้สุภัททะ
      อุปสมบทเป็นภิกษุ  และบอกกัมมัฏฐานให้ไม่ช้านัก  เธอก็ได้
      สำเร็จอรหันต์ทันตาเห็น  เป็น  สักขีสาวก  ของพระศาสดา  (สาวก
      องค์หลังสุดของพระพุทธเจ้า).
๒๓.  ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์  ว่า  "ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  อันใด
      ที่เราแสดงบัญญัติไว้แล้ว  ธรรมและวินัยนั้นแล  จักเป็นศาสดา
      ของท่านทั้งหลาย  โดยกาลที่ล่วงไปแห่งเรา."
๒๔.  ตรัสให้ภิกษุเรียกกันโดยคารวะโวหาร  ๒  อย่าง คือ :-
          (๑)  ผู้แก่เรียกผู้อ่อน  ใช้คำว่า  อาวุโส  หรือ  ออกชื่อโคตร
                ก็ได้.
          (๒)  ผู้อ่อนเรียกผู้แก่  ใช้คำว่า  ภนฺเต  หรือ  อายสฺมา  ก็ได้.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 46
๒๕.  ชั่วโมงสุดท้าย  ตรัสไว้  ๔  ข้อ  คือ :-   
          (๑)  ดูก่อนอานนท์  ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็ก
                น้อยเสียบ้าง  เมื่อเราล่วงไปแล้วก็จงถอนเถิด.
          (๒)  ดูก่อนอานนท์  เมื่อเราล่วงไปแล้วสงฆ์พึงทำ  พรหม-
                ทัณฑ์  แก่  ฉันนภิกษุ  เถิด  คือ  หากฉันนะเจรจาคำใด
                ก็พึงเจรจาคำนั้น  แต่ไม่พึงว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนแก่
                เขา.
          (๓)  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ถ้าพวกเธอสงสัยในพระรัตนตรัย
                หรือในมรรคปฏิปทา  ก็จงถามเถิด  ดังนี้  ๓  ครั้ง  แต่
                พระสงฆ์นิ่งเงียบ พระอานนท์กราบทูลว่า  "น่าอัศจรรย์"
                พระองค์ตรัสรับรองว่า  "ภิกษุ  ๕๐๐  รูปที่ประชุมนั้น
                เป็นอริยบุคคล  สิ้นความสงสัยแล้ว."
          (๔)  ตรัสปัจฉิมโอวาทว่า  อปฺปมาเทน  สมฺปาเทถ  ท่าน
                ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น
                ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.
๒๖.  ปรินิพพาน  เมื่อพระองค์ตรัสปัจฉิมโอวาทแล้ว  มิได้ตรัสอะไร
      ต่อไปอีกเลย  ทรงทำปรินิพพานกรรมด้วยอนุบุพพวิหาร  ๙
      ประการ  ดังนี้ :-
          เข้าฌานที่ ๑  ออกจากฌานที่ ๑  เข้าฌานที่ ๒  โดยนัยนี้  จนเลย
      ฌานที่ ๘  เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ  (ในตอนนี้พระอานนท์
      ถาม  พระอนุรุทธ  ว่า  "พระองค์ปรินิพพานแล้วหรือ ?"  พระอนุรุทธ
      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 47
      ตอบว่า  "ยังก่อน  กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ). 
      ออกจากสัญญาเวทยิต ฯ  เข้าฌานที่ ๘  โดยนัยนี้ลงมาถึงฌานที่ ๑
      ออกจากฌานที่  ๑  เข้าฌานที่  ๒  โดยนัยนี้จนถึงฌานที่ ๔
      ออกจากฌานที่ ๔  แล้ว  ทรงปรินิพพาน.
      พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  ณ  เวลาใกล้รุ่งวันอังคาร  ขึ้น
      ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖  ที่ป่าไม้สาละ (สาสวโนทยาน)  เมืองกุสินารา.
๒๗.  ในขณะนั้นเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินหวั่นไหวกึกก้อง  มีเทพยดา
      และมนุษย์กล่าวสังเวคคาถาดังต่อไปนี้ :-
          (๑)  ท้าวสหัมบดีพรหม  กล่าวว่า  "บรรดาสัตว์ทั้งปวงใน
      โลก  ล้วนจะต้องทิ้งร่างไว้ถมปฐพี  แม้องค์พระชินสีห์มีพระคุณ
      ยิ่งใหญ่  ก็ปรินิพพานแล้ว  น่าสลดนัก !
          (๒)  ท้าวโกสีย์เทวราช  กล่าวว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
      หนอ ! เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา  ความสงบแห่งสังขารเป็น
          (๓)  พระอนุรุทธ  กล่าวว่า  "พระพุทธเจ้ามีจิตมีได้หวั่นไหว
      สะทกสะท้านต่อมรณธรรม  ปรินิพพานเป็นอารมณ์  ประหนึ่ง
      ประทีปอันไพโรจน์ดับไป  ฉะนั้น !
          (๔)  พระอานนท์  กล่าวว่า  "เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน-
      ขันธ์  เกิดเหตุมหัศจรรย์  มีโลกชาติชูชันเป็นอาทิ  ปรากฏมีแก่
      เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย !

แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 48
                         อปรกาล   
                      ๑.  ถวายพระเพลิง
๑.  ครั้นพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  แต่ยังไม่สว่างวัน  พระอนุรุทธ
      กับพระอานนท์  แสดงธรรมไปจนสว่าง  พอสว่างแล้ว  พระอนุรุทธ
      บัญชาพระอานนท์ให้ไปบอกแก่  มัลลกษัตริย์.
๒.  มัลลกษัตริย์ ให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศทั่วเมือง  นำเครื่อง
      สักการบูชา  เครื่องดนตรี  ผ้าอย่างดี  ๕๐๐  พับ  เสด็จไปสู่สาลวัน
      พร้อมกันบุชาพุทธสรีระมโหฬารสิ้นกาล ๖  วัน  ครั้นวันที่ ๗
      ปรึกษากันว่า  จะเชิญพระสรีระไปทางทิศใต้แห่งพระนครแล้ว
      ถวายพระเพลิงนอกเมือง.
๓.  อมัลลปาโมกข์  ๘  องค์  ทรงกำลัง พร้อมกันเข้าเชิญพระสรีระ
      มิสามารถที่จะให้เขยื้อนจากที่ได้.
๔.  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายถามพระอนุรุทธว่า  เพราะเหตุใด ?  พระ
      อนุรุทธ  จึงบอกไปตามเทวดาประสงค์ว่า  "ให้เชิญประสรีระไป
      ทางทิศเหนือพระนคร  แล้วข้าทรงอุดรทวาร  ผ่านไปท่ามกลาง
      เมือง  เยื้องไปออกทางประตุบูรพทิศ  แล้วถวายพระเพลิง
      ณ  มกุฎพันธนเจดีย์  ที่ด้านตะวันออกแห่งพระนคร  (ดูแผนผัง
      ดังต่อไปนี้) :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 49
                          เหนือ   
                    กุ       สิ
      สาสวโนทยาน                มกุฏพันธนเจดีย์    ออก
                       นา      รา
๕.  มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ทราบดังนั้น   จึงผ่อนผันตามความประสงค์
      ของเทวดา  เชิญพระสรีระไปยังมกุฏพันธนเจดีย์  พันด้วยผ้าใหม่
      ซับด้วยสำลี  ตามวิธีที่ตรัสไว้แก่พระอานนท์  เตรียมจะถวาย
      พระเพลิง.
๖.  ครั้งนั้นมัลลปาโมกข์  ๔  องค์  สรงนำดำเกล้านุ่งห่มผ้าใหม่นำไฟ
      เข้าจุดทั้ง ๔  ทิศ  ไม่ติดเลย  พระอนุรุทธจึงเฉลยให้ทราบว่า
      "เทพยดาให้รอ  พอ  พระมหากัสสปะ  ถวายบังคมพระพุทธบาท
      ด้วยเศียรเกล้าก่อน"  มัลลกษัตริย์จึงผัดผ่อนตามเทวาธิบาย.
๗.  สมัยนั้น  พระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐  รูป  เดินทางจาก
      ปาวานคร  พักอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง  เห็น  อาชีวกถือดอกมณฑารพ
      เดินมา  จึงถามข่าวพระศาสดา   เขาบอกว่าพระองค์ปรินิพพาน
      ๗  วัน  แล้ว.
๘.  ลำดับนั้น  ภิกษุที่ยังไม่สิ้นราคะ   ก็ร้องให้กล้องเกลือกไปมา  ท่านที่
      สิ้นราคะ  ก็อดกลั้นด้วยธรรมสังเวช   มีภิกษุบวชภายแก่รูปหนึ่งชื่อ
      สุภัททะ  ห้ามว่า  "หยุดเถิด  "หยุดเถิด  ท่านอย่าร่ำไรไปเลย  พระสมณะ

      
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 50
      นั้นพ้น  (ปรินิพพาน)  แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ  ไม่ต้อง 
      เกรงบัญชาใคร"  พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น  คิดจะทำนิคคห-
      กรรม  (ทำโทษ)  แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน   จึงพาบริวารสัญจร
      ต่อไป.
๙.  ครั้นมาถึงมกุฏพันธนเจดีย์  จึงห่มผ้าเฉวียงบ่า  ประณมหัตถ์
      นมัสการ   เดินเวียนจิตกาธาร  ๓  รอบ  แล้วเปิดเพียงเบื้อง
      พระบาท  ถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้าของตน  ภิกษุ
      ๕๐๐  รูป  ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน.
๑๐.  พอพระมหากัสสปะกับบริวารนมัสการแล้ว  เพลิงทิพย์เกิดขึ้นเอง
      ไหม้พระสรีระ  เหลืออยู่  ๕  อย่าง  คือ  ๑.  พระอัฐิ  ๒.  พระ
      เกสา  ๓.  พระโลมา  ๔.  พระนขา  ๕.  พระทันตา  กับ  ผู้คู่หนึ่ง
      สำหรับห่อพระธาตุนั้น  (ข้อนี้แหละเป็นมูลเหตุให้ชาวพุทธทำ
      วิสาขอัฏฐมีบูชา  ประจำปี  ซึ่งเรียกกันว่า  วันถวายพระเพลิง)
๑๑.  มัลลกษัตริย์นำน้ำหอมมาดับจิตกาธาร  (ดับไฟที่เชิงตะกอน)
      แล้วเชิญพระสารีริกธาตุเข้าไปประดิษฐานไว้ใน สัณฐาคารศาลา
      ในนครกุสินารา  พิทักษ์รักษาอย่างมั่นคง  ด้วยประสงค์จะมิให้
      ใครแย่งชิงไป  และได้ทำสักการบูชามโหฬาร   สิ้นกาล   ๗  วัน.
                      ๒.  แจกพระสารีริกธาตุ
๑.  พระมหากษัตริย์  และพราหมณ์  ทั้ง ๗  พระนคร  คือ  :-
      (๑)  พระเจ้าอชาตศัตรู  เมือง      ราชคฤห์.
      (๒)  กษัตริย์ลิจฉวี          "      เวสาลี.
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 51
      (๓)  กษัตริย์ศากยะ      เมือง       กบิลพัสดุ์.   
      (๔)  ถูลีกษัตริย์             "       อัลลกัปปะ.
      (๕)  โกสิกษัตริย์       "       รามคาม.
      (๖)  มหาพราหมณ์       "       เวฏฐทีปกะ.
      (๗)  มัลลกษัตริย์       "       ปาวา.
      ได้ทรงทราบว่า  พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองกุสินารา  จึงส่งทูต
      มาของแบ่งพระสารีริกธาตุ.
๒.  มัลลกษัตริย์  ไม่ยอมแบ่งให้ด้วยเหตุ  ๒  ประการ  คือ :-
          (๑)  ทรงเห็นว่า  ถ้าเราแบ่งให้ไปโดยเร็วทุกหมู่ที่มาขอ  คง
      จะไม่พอแน่  ยากที่จะเสร็จสงบลงได้  และยากที่จะผ่อนผันให้
      ถูกต้องตามอัธยาศัยของเจ้านครทุกองค์ได้  (เพราะส่งไปโดย
      ราชสาสน์).
          ๒)  ทรงคิดว่า  พระพุทธเจ้าทรงอุตส่าห์มาปรินิพพานใน
      คามเขตของเรา  ก็เพื่อประทานพระสารีริกธาตุแก่เรา.
          จึงไม่ยอมแบ่งให้แก่นครใด ๆ  และได้ตรัสแก่ทูตานุทูตทั้ง ๗
      นครว่า  "พระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานในอาณาเขต
      ของเรา  เราจักไม่ให้ส่วนพระสารีริกธาตุ."
          ส่วนทูตานุทูต  ก็ไม่ยอม  จวนจะเกิดมหาสงครามอยู่แล้ว.
๓.  โทณพราหมณ์ผู้ห้ามทัพ  ผู้มีปัญญาผ่อนผันให้ต้องตามคดีโลก
      คดีธรรม  เมื่อเห็นเช่นนั้นจึงคิดถึงความไม่เหมาะสม  ๓  ประการ
      คือ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 52
          (๑)  มัลลกษัตริย์ครองนครน้อยนี้   ควรสมานไมตรีกับนคร
      อื่น ๆ  ไม่ควรรบกัน. 
          (๒)  การรบนั้นขัดต่อคำสอนของพระศาสดา เพราะพระองค์
          ทรงสอนให้เว้นเบียดเบียนกัน.
          (๓)  พระสารีริกธาตุนั้น  ควรแบ่งไปยังนครต่าง ๆ  เพื่อ
      สักการบูชาของชนทั่วไป.
          จึงกล่าว  สุนทรพจน์  ต่อไปว่า  :-
          ขอคณานิกรเจ้าผู้เจริญ  เชิญฟังวาจาข้าพระองค์ในบัดนี้
      พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นขันติวาที  การรบกันเพราะเหตุ
      แห่งพระสารีริกธาตุของพระองค์นั้นไม่งามเลย.
          ข้าแต่กษัตริย์เจ้าผู้เจริญ   ทั้งเจ้านครเดิม  และต่างราชธานี
      จงชื่นชมสามัคคีกัน  แล้วแบ่งปันพระสารีริกธาตุ  ออกเป็น  ๘  ส่วน
      ให้เสมอกันทุกพระนครเถิด.
          ของพระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ   จงแพร่หลายทั่วทุกทิศ
      สถิตสถาพรเพื่อนิกรสัตว์สิ้นกาลนาน  เถิด.
      กษัตริย์และพราหมณ์ได้สดับมธุรภาษิต  ก็เห็นชอบในสามัคคี
      ธรรม.
๔.  กษัตริย์และพราหมณ์  มอบธุระให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งส่วน
      พระบรมธาตุ  โทณพราหมณ์จึงเอา  ตุมพะ  (ทะนานทอง)  ตวง
      ได้  ๘  ส่วนเท่า ๆ  กัน  แล้วถวายแก่เจ้านครทั้ง ๘  แล้วขอตุมพะนั้น
      ไปบรรจุไว้ในเจดีย์มีชื่อว่า  "ตุมพสถูป"  หรือ  "ตุมพเจดีย์"

แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 53
๕.  โมริกษัตริย์  เมืองปีปผลิวัน  ทราบข่าวปรินิพพานทีหลัง  จึง 
      ส่งทูตมาขอพระบรมธาตุ  เมื่อไม่ได้จึงเชิญ  พระอังคาร  (เถ้าถ่าน
ในเชิงตะกอน)  ไปบรรจุไว้ในเจดีย์  มีชื่อว่า  "อังคารเจดีย์."
             ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์
๑.  สัมมาสัมพุทธเจดีย์เกิดขึ้นครั้งแรก  ๑๐  ตำบล  คือ :-
      พระธาตุเจดีย์  ๘  ตำบล  (คือใน  ๘  นครที่กล่าวแล้ว).
      พระตุมพเจดีย์  ๑   "   (ที่โทณพราหมณ์ทำไว้).
      พระอังคารเจดีย์  ๑  "   (ในเมืองปิปผลิวัน).
      รวม  ๑๐  ตำบล.
๒.  เจดีย์ที่สร้างไว้  เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ๔
      ประเภท  คือ  :-
      (๑)  ธาตุเจดีย์  คือ  เจดีย์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ.
      (๒)  บริโภคเจดีย์  คือ  พระตุมพเจดีย์  พระอังคารเจดีย์
      สังเวชนียสถาน  ๔  ตำบล   เจดีย์ที่บรรจุบริขารที่พระองค์ทรง
      บริโภคแล้ว  เช่น  บาตร,  จีวร, เตียง,  ตั่ง  กุฏิ,  วิหาร,  และ
      บริขารอื่น ๆ.
      (๓)  ธรรมเจดีย์    คือ  เจดีย์ที่จารึกพระพุทธวจนะลงใน
      ใบลาน,  แผ่นทอง,  แผ่นศิลา  เป็นต้นแล้ว  บรรจุไว้ในเจดีย์.
      (๔)  อุทเทสิกเจดีย์  คือ  พระพุทธรูป.
               ๓.  ความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย
๑.  ในวันที่แจกพระบรมสารีริกธาตุนั้น  มีพระสงฆ์ประชุมกันเป็น
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 54
      มหาสันนิบาต  พระมหากัสสปะเป็นประธานในสงฆ์  หวังจะให้ 
      เกิดอุตสาหะในการสังคายนาพระธรรมวินัย จึงนำเอาคำจ้วงจาบ 
      พระธรรมวินัย  ของสุภัททวุฑฒบรรพชิตมากล่าว  แก่ภิกษุ
      ทั้งหลายแล้วชักชวนว่า  "อย่ากระนั้นเลย  เราทั้งหลายจงร้อยกรอง
      พระธรรมวินัยเถิด  มิฉะนั้น  วาทะที่มิใช่ธรรมวินัยจักรุ่งเรือง
      พระธรรมวินัยก็จักเสื่อมถอย  คนชั่วจักลบล้างธรรมวินัย  คนชั่ว
      จักเจริญ  คนดีจักเสื่อมถอยน้อยกำลัง  พระศาสนาก็จักตั้งอยู่
      ไม่ได้."
๒.  ครั้นพระมหากัสสปะกล่าวจบ  พระสงฆ์ในที่ประชุมนั้นเห็นชอบ
      จึงตกลงทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก  และ
      ต่อจากนั้นพระสงฆ์รุ่งหลัง ๆ   ก็ได้ช่วยกันทำการสังคายนาเป็น
      ครั้งคราว  ตามเหตุการณ์รณนั้น ๆ  รวม  ๕  ครั้ง.
๓.  ภายหลังจากนั้น  นักปราชญ์ได้แต่งคัมภีร์อรรถกถา  ฎีกา   อนุฎีกา
      กับทั้งศัพท์ศาสตร์  เป็นอุปการะแก่นักศึกษา  กุลบุตรได้บวช
      เรียนปฏิบัติสืบต่อกันมา  พระธรรมวินัยอันเป็นตัวแทนพระศาสดา
      จึงได้ดำรงเจริญแพร่หลายไป  ณ  พุทธศาสนิกมณฑล  ด้วยประการ
      ฉะนี้แล.
๔.  แผนผังการสังคายนา  ๕  ครั้ง ดังต่อไปนี้ :-
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 55
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 56
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 57
                      พุทธประวัติเนติ  ๑๕   
      เหตุการณ์ในพุทธประวัติ  แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงมี
พระลักษณะ  หรือพระนิสัยที่ควรยึดถือไว้เป็นเยี่ยงอย่างเป็นอันมาก  แต่
ในที่นี้จะนำมาให้เห็นเพียง  ๑๕  ข้อ  ดังต่อไปนี้ :-
      ๑.  ทรงมีพระเมตตากรุณา  เช่น  เมื่อทรงพิจารณาถึงธรรมที่
พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่าเป็นคุณอันลึกซึ้งมาก  ยากที่บุคคลผู้ยินดีในกามคุณ
จะตรัสรู้ตามได้  ทรงท้อพระทัยเพื่อจะตรัสสั่งสอน  แต่อาศัยพระกรุณาใน
หมู่สัตว์  จึงทรงพิจารณาเห็นว่าบุคคลนี้มี ๔  เหล่า  เปรียบเหมือนดอกบัว
๔  เหล่า  ผู้สามารถรู้ตามได้ถึง  ๓  เหล่า  จึงได้เสด็จเที่ยวสั่งสอนด้วยความ
เมตตากรุณาในหมู่ชนนั้น ๆ  (๑/๔๔-๔๕)  (พุทธ-สังเขป  ๑๗)
      แม้ในตอนใกล้จะปรินิพพาน ทรงพระกรุณาโปรดให้สุภัททะ-
ปริพาชกเข้าเฝ้าถามปัญหา  ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจ  และให้อุปสมบท
เป็นองค์สุดท้าย  (๓/๓๗)  (พุทธ-สังเขป  ๔๔)
      ๒.  ทรงตั้งใจจริง  ขยันหมั่นเพียนจริง  เช่นในคราวพระราชบิดา
ทรงทำวปมงคลแรกนาขวัญ,  พระสิตธัตถกุมารพระองค์เดียวประทับที่
ภายในม่าน  โคนต้นหว้า  เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน  ยังปฐมฌานให้
เกิดขึ้นได้  นี้จัดเป็นสัมมาสมาธิตั้งใจจริง  (๑/๑๙-๒๐)
      อนึ่ง  ในสมัยเป็นนักเรียกในสำนักครูวิศวามิตร  ทรงเรียนด้วย
ความขะมักเขม้นจนจบสิ้นความรุ้ของครูในเวลาอันรวดเร็ว  ได้แสดงความ
รู้ให้ปรากฏในหมู่พระญาติยิ่งกว่าพระกุมารอื่น (๑/๑๙)  (พุทธ-
สังเขป ๑๐)
แบบประกอบนักธรรมตรี - พุทธประวัติสังเขป - หน้าที่ 58
      ภายหลังเสด็จออกทรงผนวชแล้ว  ทรงบำเพ็ญเพียรทำฌานใน   
สำนักท่านอาฬารดาบสและท่านอุทกดาบส  ได้เท่าเทียมกับดาบสทั้งสอง
ในเวลาอันสั้น  ครั้นเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้  จึงเสด็จออกไปทรงบำเพ็ญ
ทุกรกิริยา  ปรารภความเพียรไม่ท้องถอยไม่ย่อหย่อน  (๑/๓๕ - ๓๖ - ๓๗)
(พุทธ - สังเขป  ๑๓ - ๑๔ )
      ตอนที่ทำความเพียรอย่างสูง  คือ  ในวันที่ตรัสรู้ประทับนั่งที่โพธิ-
บัลลังก์   ทรงตั้งพระหฤทัยว่า  ยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด
จักไม่เสด็จลุกขึ้นเพียงนั้น  แม้เลือดเนื้อจะแห้งไป  คงเหลือแต่หนังหุ้ม
เอ็นและกระดูกก็ตาม  (๑/๔๔)  (พุทธ - สังเขป ๑๔)  ทั้ง ๓  ตอนนี้
แสดงถึงความตั้งใจจริงและพากเพียรจริง.
      ๓.  ทรงมีความกล้าหาญ  เช่นทรงมีพระหฤทัยกล้าต่