Loader

บทความพิเศษเรื่อง " บายศรี : ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน "

Started by อักษรชนนี, September 01, 2012, 01:26:09

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

บทความพิเศษเรื่อง

" บายศรี : ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน "

บทความโดย
"หริทาส"
.
.

.
          "บายศรี" ที่เราๆ เห็นๆกัน เดี๋ยวนี้มีขายสำเร็จรูปในท้องตลาดด้วย ใส่ถ้วยโฟม หลายคนก็ซื้อไปไหว้พระเลย  หรือหากงานใหญ่ๆ งานเจ้าทรงทำขวัญ บวงสรวง ก้จะมีคนไปทำบายศรี ชนิดอลังการเก้าชั้น สิบหกชั้น หรือ บายศรีนาคราชทำเป็นรูปนาคแผ่พังพาน ธรรมจักร บายศรีเทพ พรหม ร้อยแปดพันประการ ตามแต่จะคิดกันไป ไปงานนึงเครื่องสังเวยนิดเดียวบายศรีเต็มไปหมด

           ที่จริงแล้ว บายศรีมาจากคำเขมรและสันสกฤต  บาย ภาษาเขมรแปลว่า ข้าว ศรีเป็นคำสันสกฤต แปลว่าสิริมงคล คือข้าวที่เป็นมงคลนั่นแล
  จัดเป็นเครื่องบูชาแบบหนึ่ง และยังเป็น "จักรวาลจำลอง"ด้วยบายศรีจึงไม่ได้มีแค่ใบตองพับสวยๆดอกไม้อลังซึ่งเป็นเพียง "เปลือกนอก"

           บายศรี 1 สำรับ(เรียกสำรับ)ที่ถูกต้องตามโบราณประเพณี ประกอบด้วย ตัวบายศรี ซึ่งพับกลีบใบตองซ้อนเป็นเจ็ดชั้น หมายถึงสัตบริภัณฑ์ทั้ง 7 กรวยซึ่งต้องใส่ข้าวปากหม้อ(หมายถึงข้าวที่ยังไม่มีคนคด)ลงไปด้วย(ทุกวันนี้แทบหาคนใส่ไม่ได้)หมายถึงเขาพระสุเมรุ และ"แมงดา"คือใบตองตัดเป็นรูปแมงดาทะเล บางตำราว่าแทนตรีกุฏหรือเขาทั้งสาม บางตำราว่า จะได้แทนมหานทีสีทันดรที่อยู่เบื้องล่าง ยอดของกรวยจะต้องเสียบด้วย "ไข่ต้ม" ใช้ไข่ไก่เท่านั้น (คนโบราณว่าไข่ไก่สะอาด ไข่เป็ดเปรอะโคลนตม ไม่สะอาด) เรียกว่าไข่ขวัญ  ท่านอธิบายว่า ยอดของพระสุเมรุคือที่สถิตของพระเป็นเจ้า ไข่ขวัญจึงเป็นที่สถิตของพระเป็นเจ้าหรือขวัญตามคติผี  บางท่านอธิบายเข้าพราหมณ์ว่า ว่าในพระเวทและปุราณะ เล่าว่าพระพรหมา เกิดจากฟองไข่ หรือหิรัณยครรภ์ ไข่จึงเป็นสัญลักษณ์ของหิรัณยครรภ์ ลางทีเปลี่ยนเป็นดอกบัวแทน(ในกรณีไหว้เทพเจ้าที่ไม่เสวยของสดคาว  ที่ถือตามคติฮินดูแท้ๆ) ก็ถือว่าพระพรหมาสถิตบนดอกบัว แล้วเรียกว่าบายศรีเทพ ที่จริงคือบายศรีปากชามที่มียอดเป็นบัว


          นอกจากนี้ ใน 1 สำรับ จะต้องมี แตงกวาผ่าสามซีกประกบที่กรวย กล้วยน้ำไท ผ่าสามซีก(เดี๋ยวนี้ใช้น้ำว้าหมดแล้ว ว้า -ละว้า) บุหรี่และหมากพลูหนึ่งคำ มีทั้งหมดนี้จึงจะเรียกว่าบายศรี 1 สำรับ ส่วนภาชนะนั้นใส่ชาม ท่านจึงเรียกว่า "บายศรีปากชาม"


          ลางคนหาว่าบายศรีแบบนี้เป็นบายศรีชั้นต่ำ ไม่ใช่ของเทพพรหม ต้องมีเทพมีพรหมอีก  ที่จริงบายศรีปากชามหนึ่งสำรับได้จำลองสกลจักรวาลที่สถิตของเทพยเจ้าไว้เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นของสูงโดยตัวมันเอง ถ้ายิ่งเราพินิจเราจะเห็นว่า บายศรีหนึ่งสำหรับ คือ สำรับอาหารถวายเทพเจ้าหรือผี ที่ประกอบด้วยอาหารง่ายๆแล้ว
.

.
          ดังนั้นเวลาบวงสรวงที่ถูกต้อง จึงต้องมีบายศรีปากชามเพียงแค่สำรับเดียวเท่านั้น  ที่บางงานมีเป็นคู่ก็เป็นกรณีที่มีการจัดถวายเครื่องสังเวยเป็นเครื่องคู่ คือมีสองชุด บายศรีจึงจะมีเป็นคู่ไปด้วย  เช่นการไหว้ครูทางดนตรีไทยและนาฏศิลป์ที่มีการจัดสองชุดเป็นต้น บายศรีที่มีเพียงใบไม้ดอกไม้ จึงเป็นเพียงเครื่องประดับงานให้สวยงามเหมือนดอกไม้แจกัน แต่ไม่ใช่เครื่องสังเวยตามความหมายอย่างเดิม
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

         นอกจากบายศรีปากชาม โบราณ ก็มีบายศรีต้น ขึ้นมาอีก ซึ่งใช้ในการทำขวัญ และบวงสรวง ที่พวกเราเห็นเขาเอาต้นกล้วยมาประกอบบายศรีเป็นชั้นๆนั่นเอง
.

.
บายศรีต้น ในพิธีไหว้ครูช่าง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
.
          บายศรีต้นนั้น ตามประเพณีโบราณ ราษฎรใช้ได้ 5 ชั้น แม้ในงานหลวงก็ใช้เพียง 7 ชั้น  และมีที่ต่างกับของชาวบ้าน  คือบายศรีสำรับใหญ่ ใช้พานเงิน ทอง แก้ว ซ้อนกัน5 ชั้น  สำรับเล็กใช้สามชั้น  และบายศรีที่ทำด้วยใบตอง เจ็ดชั้น แต่ในปัจจุบัน ใครๆก็ใช้กัน เก้าชั้นไปหมด หรือมากยิ่งไปกว่านั้นก็มี
.

.
โต๊ะเครื่องสังเวยในพิธีหว้ครูช่าง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา   
.
          บายศรีต้นเอง ก็ต้องมีอาหารคาวหวานขนมมงคลต่างๆ ใส่ตามชั้นต่างๆ  คติความเชื่อก็คล้ายกับบายศรีปากชาม คืออาจแทน สวรรค์ทั้งหกชั้นและมนุษย์ภูมิอีกหนึ่งก็เป็นได้ หรือ จะเป็นสัตตบริภัณฑ์อีกแบบหนึ่งก็เป็นได้  เพราะในพิธีโบราณบางพิธี เมื่อโหรา ทำบูชาครูแล้วก็จะยกเอาบายศรีปากชามไปไว้ที่ยอดชั้นบนของบายศรีต้นอีกทีหนึ่ง แสดงถึงความสำคัญของบายศรีปากชาม

.
          มีผู้สันนิษฐานว่า บายศรีทั้งต้นและบายศรีปากชามอาจมีวิวัฒนาการมาจาก การทำบัตรพลี หรือการนำอาหารใส่กระทงใบตองเพื่อเซ่นสรวง แต่จริตคนไทยต้องประดับประดากระทงเหล่านั้นให้วิจิตรมากขึ้น
.
.
.
บายศรีต้น บนโต๊ะเครื่องสังเวยในพิธีบวงสรวงราชรถ-ราชยาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
.
         นอกจากการมีเครื่องประกอบบายศรีต่างๆดังที่เล่าไว้แล้ว สมัยก่อน คนที่จะทำบายศรีได้ ต้องผ่านการ "ครอบมือ" สำหรับที่จะทำบายศรี เหมือนคนที่ครอบทางช่างหรือเรียนดนตรีไทยเรียนโขนมาด้วย จึงจะทำบายศรีได้ และเป็นสิริมงคล เพราะโบราณก็ถือว่าการทำเครื่องสดงานใบตอง เป็นงานศิลปะเกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

         ส่วนบายศรีอื่นๆเช่นนาคราช  ธรรมจักร พรหม ฯลฯ คงเป็นสิ่งที่คิดประดิษฐ์กันขึ้นมาทีหลัง และการบอกว่าทำบวงสรวงขั้นนั้นขั้นนี้ต้องใช้แบบนั้นนี้ ยิ่งงานใหญ่บายศริยิ่งต้องสูงและเยอะ อันนี้เป็นความเข้าใจผิดของทั้งคนทำคนจัด และเผลอๆก็เป็นเล่ห์ของคนรับจัดงานอีกด้วย เป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ  แต่เจ้างานก็ได้หน้าได้ตา เพราะดูแล้วอลังการ  แต่เทวดาไม่รู้จะเสวยอะไรนอกจากใบตอง โฟมและดอกไม้ เพราะในนั้นไม่มีอะไรเลย
.

.

ภาพเครื่องกระยาบวดที่มีบายศรีปากชามตรงกลาง ยอดเป็นดอกไม้
.
         นอกจากนี้บายศรียังเป็นส่วนสำคัญของเครื่อง "กระยาบวด" (บวดไม่ใช่บวช) ซึ่งเป็นเครื่องสังเวยเทวดาชั้นสูง เครื่องกระยาบวดประกอบด้วย บายศรีปากชามหนึ่งสำรับ ขนมโบราณคือ ต้มแดง ต้มขาว บางทีมีคันหลาวและหูช้าง (ขนมเหล่านี้หาคนที่ทำได้ถูกต้องแบบโบราณก็ยาก ทั้งสี่อย่างมีส่วนประกอบเหมือนๆกัน วันหลังจะเล่าให้ฟัง) มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย อ้อยแดง แกงบวด บางทีก็เพิ่มถั่วงาเผือกมัน (อันนี้ว่าตามตำราของครูมนตรี ตราโมท ซึ่งสืบทอด แบบแผนของหลวงมาแต่โบราณ) เครื่องกระยาบวด เป็นเครื่องบูชาเทพยเจ้าชั้นสูงที่ไม่เสพเสวยของสดคาว  ซึ่งในเครื่องสังเวยหนึ่งที่ มีทั้งเครื่องกระยาบวด และมัจฉมังสาหาร และอาหารคาวหวาน ซึ่งวจะได้เล่ากันในโอกาสต่อไป
.

.

ภาพเครื่องกระยาบวดที่มีบายศรีปากชามตรงกลาง ยอดเป็นไข่ต้ม
.
          ฉะนั้น เมื่อได้ทราบความจริงเกี่ยวกับบายศรีที่มีมาตั้งแต่โบราณอันมีระเบียบแบบแผนแล้ว ก็หวังใจว่า เมื่อมีงานท่านจะจัดบายศรีได้ถูกต้อง ไม่สิ้นเปลือง (นี่เป็นลักษณะของบายศรี ในแถบภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนบายศรี ในภูมิภาคอื่นๆก็มีรายละเอียดแตกต่างกันตามแต่คติความเชื่อที่สืบต่อกันมา)
.
สรุป

1.บายศรีปากชาม(ตัวมี 7ชั้นและต้องมีแมงดา) และบายศรีต้น ( 5ชั้น)เป็นบายศรีที่ถูกต้องตามโบราณประเพณี  สำหรับราษฎร์  นอกนั้นเป็นบายศรีที่คิดประดิษฐ์เพิมเติมเอาเองตามใจฉัน

2.บายศรีหนึ่งสำรับต้องมีเครื่องประกอบ ทั้งข้าวปากหม้อ แตงกวาหั่นสาม กล้วยหั่นสาม หมากพลูบุหรี่ ไข่ต้มหรือบัว จึงจะนับเป็นบายศรีที่ถูกต้อง และบายศรีต้นก็ต้องมีอาหารคาวหวานตามอย่างโบราณ

3.ในหนึ่งพิธี ใช้บายศรีแค่สำรับเดียวไม่ใช่เป็นคู่ เว้นแต่มีการจัดเครื่องบูชามากกว่าหนึ่งที่ ก้จัดตามจำนวนชุดเครื่องสังเวย เพราะบายศรีคือเขาพระสุเมรุ มีที่เดียว

4.โบราณคนจะทำบายศรีต้องครอบมือมา บายศรีถึงจะเป็นสิริมงคล

5.ถ้าไม่มีข้างต้น บายศรีก็เป็นแค่สัญลักษณ์เครื่องประดับงานให้เกิดความสวยงามอลังการเท่านั้นเอง แต่ผิดในสารสำคัญ

.

.

บายศรีต้น และบายศรีปากชามบนโต๊ะเครื่องสังเวยในพิธีหว้ครูช่าง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา   
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

          ทางทีมงานเว็บมาสเตอร์ และสมาขิก www.HinduMeeting.com ต้องขอขอบพระคุณพี่หริทาส เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาอนุญาตให้เผยแพร่บทความที่มีสาระประโยชน์นี้ ในเว็บ HinduMeeting ของพวกเราครับ

        หมายเหตุ : สำหรับภาพประกอบบทความ เป็นภาพที่นายอักษรชนนี ได้บันทึกภาพในโอกาสพิธีต่างๆ ซึ่งได้นำมาประกอบเพื่อให้บทความนี้สมบูรณ์ทั้งเนื้อหาและภาพประกอบมากยิ่งขึ้น

WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณเช่นเดียวกันครับ

พอดีเขียนแบบง่ายๆ เลยไม่ทันได้ขัดเกลาภาษาและอ้างอิง ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ

ขอบพระคุณคุณพี่หริทาสเป็นอย่างยิ่งครับ

ทำให้ผมได้เข้าใจความหมายและการจัดทำรวมถึงการใช้บายศรีอย่างถูกต้อง

ขอบพระคุณมากครับ

ต้องขอบคุณความรู้อันนี้มากเลยนะครับ เป็นความรู้ที่ดีมากๆเลยครับ และผมยังรอความรู้ที่จะมาเล่าให้ฟังที่ค้างไว้นะครับผม


อันนี้ เป็นความสงสัยส่วนตัวนะครับ อย่างตัวผมเนี่ย ถ้าจะนำบายศรี 1 สำรับ เพื่อถวายแด่ องค์เทพเจ้า ฮินดู ที่ผมนับถือบูชา อย่างที่พี่ๆกล่าวมาแล้วนั้น แต่ด้วยข้อกำหนดที่ว่า ห้ามนำ ของคาว หรือเนื้อสัตว์ขึ้นถวาย แด่องค์เทพเจ้าฮินดู ฉะนั้น การขึ้นบายศรีก็ไม่สามารถที่จะนำขึ้นถวายแด่องค์เทพเจ้าฮินดูได้ ใช่ไหมครับ เพราะต้องมี ทั้งไข่ ทั้งแมงดา แล้วถ้าจะเอาขึ้นโดยไม่ใส่ มันด็ไม่ใช่ บายศรี ที่ถูกต้องตามโบราณใช่ไหมครับ แล้วถ้าเราอยากจะขึ้นอะครับต้องทำอย่างไร เพราะเราเป็นคนไทย ตามวัฒนธรรม การนำบายศรีถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็มีมาช้านานแล้ว เพราะถือเป็นเครื่องสูง ชนิดหนึ่ง ช่วยตอบในข้อสงสัย ผมหน่อยนะครับ ผมอยากถวายเครื่องสักการะ "บายศรี" แด่องค์เทพเจ้าฮินดู ของคนไทย ให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมไทย และ ความเชื่อศรัทธาของชาวฮินดู ครับ ขอบคุณครับ
โอ้..... พระแม่เจ้า พระผู้เป็นมารดาแห่งจักรวาล พระผู้เป็นคุ้มพลังแห่งพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นพระอุปถัมถ์แห่งพระผู้เป็นเจ้า พระมารดาผู้ซึ่งมอบแสงสว่างของชีวิตด้วยวิถีแห่งศรัทธา พระผู้เป็นหนึ่งในดวงใจแห่งศรัทธาของลูก ลูกขอบูชา พระศักติ ที่อยู่ในดิน ในน้ำ ในมหาสมุทร สุดขอบจักรวาล โอม ศักติ ปาลา ศักติ
http://www.harekrsna.com/sun/features/02-10/kolapura3.jpg

Quote from: magic on September 10, 2012, 19:35:31
อันนี้ เป็นความสงสัยส่วนตัวนะครับ อย่างตัวผมเนี่ย ถ้าจะนำบายศรี 1 สำรับ เพื่อถวายแด่ องค์เทพเจ้า ฮินดู ที่ผมนับถือบูชา อย่างที่พี่ๆกล่าวมาแล้วนั้น แต่ด้วยข้อกำหนดที่ว่า ห้ามนำ ของคาว หรือเนื้อสัตว์ขึ้นถวาย แด่องค์เทพเจ้าฮินดู ฉะนั้น การขึ้นบายศรีก็ไม่สามารถที่จะนำขึ้นถวายแด่องค์เทพเจ้าฮินดูได้ ใช่ไหมครับ เพราะต้องมี ทั้งไข่ ทั้งแมงดา แล้วถ้าจะเอาขึ้นโดยไม่ใส่ มันด็ไม่ใช่ บายศรี ที่ถูกต้องตามโบราณใช่ไหมครับ แล้วถ้าเราอยากจะขึ้นอะครับต้องทำอย่างไร เพราะเราเป็นคนไทย ตามวัฒนธรรม การนำบายศรีถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็มีมาช้านานแล้ว เพราะถือเป็นเครื่องสูง ชนิดหนึ่ง ช่วยตอบในข้อสงสัย ผมหน่อยนะครับ ผมอยากถวายเครื่องสักการะ "บายศรี" แด่องค์เทพเจ้าฮินดู ของคนไทย ให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมไทย และ ความเชื่อศรัทธาของชาวฮินดู ครับ ขอบคุณครับ



ถ้ามีความประสงค์จะถวายบายศรี แด่เทพฮินดูเพื่อที่จะรักษาขนบไทยแต่ก็ต้องการทำให้ถูกต้องตามหลักศาสนาฮินดูด้วย

ไม่ยากครับ ใช้บายศรี 1 สำรับตามปกติ คือมีข้าวปากหม้อ กล้วยหั่นสาม(ตามยาว) 1 ลูก
แตงกวาหั่นสาม หมากพลู 1 คำ เปลี่ยนจากยอดไข่ต้มเป็นยอดดอกบัวเท่านั้นเองครับ ซึ่งถูกต้องตามขนบประเพณีโบราณ

ส่วนแมงดาในสำรับบายศรี ไม่ได้หมายถึงแมงดาจริงๆนะครับ แต่หมายถึง กาารตัดใบตองเป็นรูปตัวแมงดาเท่านั้นเองครับ ลองดูภาพจากตัวอย่างข้างบนครับ

ส่วนบายศรียอดไข่ต้ม ในปกติที่มีการบุชาตามประเพณีไทยก้ยังคงใช้ได้นะครับ ขึ้นอยู่กับว่า เทพเจ้าที่เราอัญเชิญอยู่ในระดับไหน ซึ่งปรึกษาครูบาอาจารย์และท่านผู้รู้ได้ เช่นการถวายเครื่องสังเวยแด่พระภูมิและเทพเจ้าระดับรองเป็นต้น ในกรณีที่เป็นเทพระดับสูงก็ใช้ตามข้างต้นที่กล่าวไว้แล้ว

จริงๆ บุชาเทพฮินดูจะบุชาแบบไทยโดยใช้บายศรีและเครื่องกระยาบวดก็ได้ครับ แต่ 1 สำรับเท่านั้นๆ ตามที่ชี้แจงไว้ข้างต้น ลองอ่านดูอีกรอบครับ
หรือจะบุชาด้วยเครื่องบุชาแบบอินเดียก็ไม่ผิดแต่ประการใด

ขอบคุณพี่ หริลาสครับ พี่มาตอบข้อสงสัยของผม ตอนนี้ เข้าใจแล้วครับผม พอดีผมเข้าใจอะไรยากนิดนึงครับ อิอิ อย่าว่ากันนะครับ ขขอบคุณครับกับความรู้ดีๆ และวิถีศรัทธาที่ถูกต้อง นำมาเผยแพร่ให้กับผู้ศรัทธา ยุคใหม่ที่มีความรู้ทางด้านศรัทธาน้อย ให้ปฏิบัติถูกต้อง ขอบคุณจริงๆครับ
โอ้..... พระแม่เจ้า พระผู้เป็นมารดาแห่งจักรวาล พระผู้เป็นคุ้มพลังแห่งพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นพระอุปถัมถ์แห่งพระผู้เป็นเจ้า พระมารดาผู้ซึ่งมอบแสงสว่างของชีวิตด้วยวิถีแห่งศรัทธา พระผู้เป็นหนึ่งในดวงใจแห่งศรัทธาของลูก ลูกขอบูชา พระศักติ ที่อยู่ในดิน ในน้ำ ในมหาสมุทร สุดขอบจักรวาล โอม ศักติ ปาลา ศักติ
http://www.harekrsna.com/sun/features/02-10/kolapura3.jpg

บรรดาพ่อร่าง แม่ร่างทั้งหลาย คงจะช็อคกันไปเป็นแถบๆ 55555555+
แม้นภูเขาจะสูงเสียดฟ้า ก็เตี้ยกว่าผืนหญ้าที่คลุมมัน