Loader

บทความนำชมและสักการะองค์พระศิวะ ๔ ศาสนสถาน ในกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ ๑)

Started by อักษรชนนี, July 27, 2009, 00:02:49

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

สวัสดีครับเพื่อนๆ พี่ๆ ชาว Hindu Meeting ทุกท่าน หลังจากห่างหายจากการเขียนบทความมาสักระยะหนึ่ง วันนี้ก็ถือเป็นโอกาสดีที่ผมจะขออนุญาตนำเรื่องราวที่น่าสนใจมาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้อ่านกันอีกเช่นเคยนะครับ โดยในครั้งนี้ผมขอเชิญทุกท่านร่วมเดินทางผ่านตัวอักษรไปสักการะองค์พระศิวะ ณ ศาสนสถานที่สำคัญในกรุงเทพมหานครทั้ง ๔ แห่ง

โดยหวังว่าบทความนี้จะเป็นไกด์ไลน์ที่มีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่นับถือองค์พระศิวะ และปรารถนาที่จะเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าว


WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

*** โอม นมัส ศิวายะ ***




ภูตาธิปํ ภุชคภูษณภูษิตาคํ

วฺยาฆฺราชินาพรธรํ ชฏิลํ ตฺริเนตรมฺ |

ปาศากุศาภยวรปฺรทศูลปาณึ

วาราณสีปุรปตึ ภช วิศวนาถมฺ ||


"พระผู้เป็นอธิบดีแห่งภูติ ผู้ประดับพระองค์ด้วยนาค ผู้ชำนะแลนุ่งห่มหนังพยัคฆ์

ผู้มุ่นมวยพระเกศา พระตรีเนตร

ทรงถือบ่วงบาศ อังกุศะ(ขอช้าง) แลตรีศูลในพระหัตถ์ ทรงปกป้องแลประทานพร

ขอไหว้พระวิศวนาถ บดีแห่งนครวาราณสี "

[/FONT]
( หนึ่งในบทสรรเสริญพระวิศวนาถแปดบท จากหนังสือวิมุกโตทัย แปลโดย ศรีหริทาส)



พระศิวะ (หรือ พระอิศวรเป็นอีกพระนามหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดี) ทรงเป็นหนึ่งในมหาเทพที่มีผู้เคารพศรัทธาจำนวนไม่น้อย ทั้งชาวอินเดียและชาวไทยผู้นับถือพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าบรรดาเทวสถานในนิกายต่างๆ ในประเทศไทย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน) ได้แก่ ไศวนิกาย อันเป็นนิกายที่นับถือองค์พระศิวะเป็นประธาน  ไวษณพนิกาย อันเป็นนิกายที่นับถือองค์พระวิษณุเป็นประธาน และศักตินิกาย อันเป็นนิกายที่นับถือเทพสตรี (เป็นต้นว่า พระแม่อุมา) เป็นประธาน ล้วนแต่ปรากฏร่องรอยการนับถือองค์พระศิวะ อยู่ในเทวสถานเหล่านี้ด้วย ทั้งที่เป็นรูปเคารพและศิวลึงค์ ซึ่งถือเป็นสิ่งแทนองค์พระศิวะ ดังนั้นบทความเรื่องนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะนำชมและแนะนำให้ท่านที่สนใจได้รับรู้และร่วมกันเดินทางไปสักการะยังศาสนสถานสำคัญทั้ง ๔ ในกรุงเทพมหานคร ดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น [/COLOR]
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

๑. เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์




เริ่มสถานที่แรกจากศาสนสถานของพราหมณ์-ฮินดูซึ่งเก่าแก่เก่าที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือ
เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๖๘ ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๓๒๗ ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้สองปี โดยสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญประจำพระนคร อาทิ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย เป็นต้น ประกอบด้วยอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย สามหลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงก่ออิฐถือปูนล้อมรอบบริเวณเทวสถาน มีประตูทางเข้าด้านหน้าหนึ่งประตู โดยอาคารทั้งสามหลัง ได้แก่


- สถานพระอิศวร หรือโบสถ์ใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้
   

- สถานพระคเณศ หรือโบสถ์กลาง


- สถานพระนารายณ์ หรือที่เรียกว่า โบสถ์ริมตั้งอยู่ริมสุดทางทิศเหนือ


นอกจากนี้บริเวณลานด้านหน้าสถานพระอิศวร ประดิษฐานเทวรูปพระพรหมภายในศาลกลางบ่อน้ำ เยื้องไปทางด้านขวาของตัวศาล เป็นเขาไกรลาศจำลองประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรและพระคเณศขนาดเล็ก ส่วนทางด้านหลังโบสถ์ทั้งสาม เป็นหอเวทย์วิทยาคม ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของคณะพราหมณ์และเป็นห้องสมุดประจำเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์

WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

สถานพระอิศวร ถือเป็นอาคารใหญ่ที่สุดในบรรดาอาคารทั้งสามหลัง โดยมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามีลักษณะเป็นชั้นลดหนึ่งชั้น บริเวณหน้าบันมีลวดลายปูนปั้นรูปพระอิศวรและพระแม่อุมา ประทับอยู่ในวิมานบนเขาไกรลาศ  (ถือเป็นโบสถ์เพียงหลังเดียวในเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ที่หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นประดับอยู่) ด้านหน้ามีประตูทางเข้าทั้งฝั่งซ้ายและขวา ภายในอาคารหลังนี้ไม่มีลวดลายจิตรกรรม เพียงแต่ทาสีฝาผนังด้วยสีขาว และบนเพดานทาด้วยสีแดง ประดับลวดลายดาวเพดาน และแขวนโคมไฟระย้า ถือเป็นความเรียบง่ายที่เข้มขลัง ตามแบบอย่างเชิงช่างไทยในสมัยโบราณ


[/SIZE]

(บริเวณด้านหน้าสถานพระอิศวร หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า โบสถ์ใหญ่)

(ลวดลายปูนปั้นรูปพระอิศวรและพระแม่อุมาบนหน้าบันของโบสถ์ใหญ่)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ภายในสถานพระอิศวร มีเทวรูปพระอิศวรหล่อจากโลหะสำริดประทับยืนเป็นประธานอยู่กลางแท่นในตู้กระจกใส  ขนาบสองข้างด้วยเทวรูปองค์เล็กของพระเป็นเจ้าต่างๆ อาทิ พระแม่อุมา พระคเณศ  เป็นต้น เทวรูปประธานองค์นี้เป็นเทวรูปในศิลปะสุโขทัย (สันนิษฐานว่าน่าจะชะลอมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ อาจจะพร้อมหรือหลังจากการชะลอพระศรีศากยมุนี มาประดิษฐานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม) บริเวณกลางสถานพระอิศวรมีเสาสีขาวขนาดใหญ่สองต้น เรียกว่า "เสาหงส์" (สูงประมาณ ๒.๕๐ เมตร) สำหรับใช้ประกอบพิธีช้าหงส์ส่งพระอิศวรในพระราชพิธีตรียัมปวาย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี



(เทวรูปประธานภายในสถานพระอิศวร)




(เสาหงส์ บริเวณกลางสถานพระอิศวร - ถ่ายเมื่อครั้งพระราชพิธีตรียัมปวาย พ.ศ.๒๕๕๒)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ด้วยความที่ภายในสถานพระอิศวรไม่อนุญาตให้จุดธูปเทียนบูชาได้ (แต่มีพานให้สำหรับวางพวงมาลัย) ทางเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์จึงได้จัดกระถางธูป ไว้ด้านข้างประตูทางเข้า นอกจากนี้บริเวณด้านนอกยังได้จัดกระถางธูปและเชิงเทียนให้ผู้เคารพศรัทธาจุดถวายบูชาบริเวณหน้าเขาไกรลาศจำลอง อันประดิษฐานเทวรูปของพระอิศวรไว้บนยอดสูงสุด โดยเทวรูปองค์นี้หล่อจากโลหะและปิดทองทั้งองค์ ถัดลงมาประดิษฐานเทวรูปพระคเณศ และที่เชิงเขาไกรลาศจำลองทั้งสองด้าน มีศิวลึงค์ขนาดใหญ่พอสมควรตั้งอยู่ด้วย (เข้าใจว่าเป็นศิวลึงค์ที่นำมาตั้งในภายหลัง มิใช่ของโบราณแต่อย่างใด)






(เขาไกรลาศจำลองประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พี่คิว รูปชัดได้ใจเลยคับบ

ขอบคุณคับสำหรับความรู้ดีๆ
[HIGHLIGHT=#ffff00]มนุษย์จงประพฤติตัวให้แตกต่างจากพราหมณ์ พิธีกรรมบางอย่างควรขึ้นอยู่กับพราหมณ์ส่วนเราซึ่งเป็นมนุษย์ ควรปฎิบัติตัวให้เหมาะสม มีขอบเขตและไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของพราหมณ์ [/HIGHLIGHT]

นอกจากเทวรูปพระอิศวรแล้ว  ภายในเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ยังประดิษฐานองค์พระศิวลึงค์สำหรับให้ประชาชนทั่วไปผู้ศรัทธาในองค์พระอิศวรได้สักการะบูชาด้วย (นอกเหนือจากที่ประดิษฐานอยู่ด้านหลังเทวรูปประธานของสถานพระอิศวร ซึ่งประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าไปในบริเวณนั้นได้ และอีกที่คือบริเวณเชิงเขาไกรลาศจำลอง) หลายท่านที่เคยได้แวะเวียนมาสักการะพระเป็นเจ้า ณ เทวสถานแห่งนี้เป็นเวลานานมาแล้วก็คงจะสงสัยว่า ศิวลึงค์องค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่ใด  แต่อาจจะเป็นที่เริ่มคุ้นตาสำหรับท่านที่ได้มาตั้งแต่ช่วงปลายปี ๒๕๕๑
สำหรับศิวลึงค์องค์นี้ ท่านพระราชครูวามเทพมุนีฯ และคณะพราหมณ์อัญเชิญมาจากบริเวณหลังพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประดิษฐานเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ตรงบริเวณเกาะกลางระหว่างสถานพระอิศวรกับสถานพระคเณศ และประกอบพิธีสมโภชตามแบบธรรมเนียมของพราหมณ์ผ่ายไทยและพราหมณ์ฝ่ายอินเดีย เมื่อวันที่ ๕-๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒


(สถานที่ประดิษฐานศิวลึงค์ในเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์)

(พิธีบวงสรวงเมื่อวันประดิษฐาน ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑)



ศิวลึงค์องค์ดังกล่าวสร้างจากหินทราย สันนิษฐานว่ามีความร่วมสมัยในยุคขอมโบราณ  องค์พระศิวลึงค์นี้ประกอบด้วย ๓ ส่วนสำคัญ คือ ด้านล่างสุดมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม เรียกว่า "พรหมภาค" ถัดขึ้นมามีลักษณะเป็นแปดเหลี่ยม เรียกว่า "วิษณุภาค" และยอดบนสุดมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยอดโค้งมน เรียกว่า "รุทรภาค" เมื่อประดิษฐานร่วมกับฐานโยนีแล้ว (ฐานนี้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ด้านหนึ่งมีลักษณะเว้าลงไปเป็นรางน้ำ คล้ายกับอวัยวะเพศหญิง) จะปรากฏเพียงส่วนที่เรียกว่า
รุทรภาค
(ลักษณะของพระศิวลึงค์ ณ เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์)









(พระศิวลึงค์ที่ประดิษฐานเรียบร้อยแล้ว)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

สำหรับท่านที่ต้องการเดินทางมาสักการะองค์พระอิศวร ณ เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ สามารถเดินทางมาได้ทุกวัน ในเวลาราชการ (ประมาณ ๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ) สำหรับพวงมาลัย เครื่องบูชา(กล้วย อ้อย นม ฯลฯ) รวมทั้งธูปเทียนหากท่านไม่ได้จัดเตรียมมาเองจากบ้าน ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะมีร้านจำหน่ายทั้งภายในและภายนอกเทวสถานที่คอยอำนวยความสะดวกให้ท่านอยู่แล้วครับ

ในส่วนการเดินทางสำหรับท่านที่ยังไม่เคยมา ก็สามารถดูได้ตามแผนที่เลยครับ




(เครดิตแผนที่จาก : www.muangthai.com)
แหล่งข้อมูลอ้างอิงประกอบการเรียบเรียง :


- หนังสือ ประวัติศาสนาพราหมณ์และพระมหาเทพ ๗ พระองค์ โดย มูลนิธิพระพิฆเนศ

- หนังสือ เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า โดย กรุงเทพมหานคร

- หนังสือ จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ โดย กรมศิลปากร

- เอกสาร สูจิบัตรงานสมโภชพระศิวลึงค์ โดย เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์
[/SIZE]



*****ขอขอบพระคุณท่านผู้เขียนหนังสือ(ที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น)ทุกท่าน ซึ่งผู้เรียบเรียงได้นำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในบทความ ทางผู้เรียบเรียงจึงขอกราบขอบพระคุณด้วยความเคารพอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้*****
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ติดตามบทความนำชมและสักการะองค์พระศิวะ ๔  ศาสนสถาน ๓ นิกาย ในกรุงเทพมหานคร

ตอนที่ ๒ วัดเทพมณเฑียร  วัดพระศรีมหาอุมาเทวี และวัดวิษณุ
ได้ตามลิงค์นี้ครับ :
[t=522]
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ข้อมูลมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ไปโบสถ์พราหมณ์ทีไร ไม่ได้ไปกราบสักการะศิวะลึงค์สักที เพิ่งทราบก้อคราวนี้แหละค่ะ ยังไงรบกวนคุณอักษรชนนี ช่วยบอกข้อมูล เวลา เปิดและปิดโบสถ์ ได้มั๊ยค่ะ เพราะบางทีไป ไม่ทราบว่าวันใด โบสถ์หลังไหนเปิดบ้าง เพราะเคยเข้าไปสักการะแต่ที่ โบสถ์พระศิวะ และ โบสถ์พระพิฆเนศ แต่ โบสถ์พระนารายณ์ ยังไม่เคยได้เข้าไปสักการะเลยค่ะ ขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้นะคะ^_^
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]   "เรา"สามารถเห็นอะไรได้ก้อด้วย"หัวใจ"ของ"เรา"เท่านั้น[/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]
[HIGHLIGHT=#d99694][HIGHLIGHT=#d7e3bc]สิ่งสำคัญ"เรา"ไม่สามารถเห็นได้ด้วย"ดวงตา[HIGHLIGHT=#d7e3bc]"  [/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT][/HIGHLIGHT]

ได้บอกไปบ้างแล้วในตอนท้ายของบทความว่า เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์เปิดเวลาประมาณ ๙.๐๐ น.เป็นต้นไป แต่สำหรับเวลาเปิด-เปิดโบสถ์ทั้งสามหลังนั้น ต้องเรียนให้ทราบว่า ค่อนข้างไม่แน่นอนเท่าไรนัก เพราะบางวันทางเจ้าหน้าที่ก็เปิดล่าช้า  แต่แนะนำให้ไปประมาณ ๑๐.๐๐ น. จนถึงเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. ซึ่งตามธรรมดาจะเปิดให้เข้าไปสักการะภายในได้เฉพาะสถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่) เท่านั้น ส่วนอีกสองโบสถ์ที่เเหลือไม่อนุญาตให้เข้าไปภายในได้  แต่อย่างไรก็ตามในระยะหลังมานี้ ทางเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ได้เปิดทั้งสามโบสถ์ให้เข้าไปสักการะได้ถึงด้านในแล้ว (แต่ก็ยังมีเชือกกั้นไว้ไม่ให้เข้าไปใกล้เทวรูปประธาน)


และเท่าที่ทราบข่าวมานั้น ล่าสุดเข้าใจว่าทางเทวสถานเปิดให้เข้าไปสักการะภายในโบสถ์ทั้งสามหลังได้ทุกวัน แต่ถ้าจะให้แน่นอน อยากให้ไปในวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ เพราะเป็นวันหลักๆที่เทวสถานจะเปิดให้เข้าไปสักการะภายในโบสถ์ทั้งสามได้  (เพราะผมเองก็ชอบไปสองวันนี้ และก็ได้เข้าไปภายในโบสถ์ทั้งสามทุกครั้ง ^_^ )


อย่างไรก็ตามผมจะลองไปสอบถามถึงวันและเวลาเปิดโบสถ์ทั้งสามจากทางเทวสถานอีกครั้งเพื่อความแน่นอน และจะนำมาเรียนให้ทราบอีกครั้งครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบคุณอีกแล้วครับท่านอักษรชนนี สำหรับบทความดีๆ

ปล. เทวสถานนี่ผมได้ไป แต่แทบจะไม่เคยได้เข้าโบสถ์ด้านในเลยครับ เจอปิดเกือบตลอด

ขอขอบคุณ กับบทความดีๆ อีกเช่นกันครับ บทความดีๆ แบบนี้ ปลักหมุดให้แล้วนะท่าน