Loader

บทความนำชมและสักการะองค์พระศิวะ ๔ ศาสนสถาน ในกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ ๒)

Started by อักษรชนนี, July 27, 2009, 14:07:53

Previous topic - Next topic

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

หลังจากนำทุกท่านเข้าชมและสักการะองค์พระศิวะ ณ เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ในตอนที่ ๑ แล้ว ( คลิกลิงค์นี้หากต้องการย้อนกลับไปอ่าน : [t=521.0] ) ในกระทู้นี้ที่เป็นตอน ๒ ผมก็ขอนำทุกท่านเดินทางไปในยังศาสนสถานแห่งต่อไป ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์เท่าไรนัก ศาสนสถานแห่งนี้ก็คือ วัดเทพมณเฑียร


๒.  วัดเทพมณเฑียร





(ภาพอาคารเทพมณเฑียร : ภาพจากเว็บไซด์สมาคมฮินดูสมาซ)
วัดเทพมณเฑียร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๖/๒ ถนนศิริพงษ์ เสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร บริเวณชั้นสามของอาคารที่ทำการสมาคมฮินดูสมาซและโรงเรียนภารตะวิทยาลัย โดยอาคารหลังนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๒ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๓ ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ ๑ ปี และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๒ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต มาทรงประกอบพิธีเปิด “เทพมณเฑียร” ณ สมาคมฮินดูสมาซแห่งนี้
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ภายในเทพมณเฑียร เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของพระเป็นเจ้าหลายองค์ ได้แก่ เทวรูปพระวิษณุกับพระแม่ลักษมี ซึ่งเป็นองค์ประธานของศาสนสถานแห่งนี้ เทวรูปพระกฤษณะและพระแม่ราธา เทวรูปพระรามและพระแม่สีดา เทวรูปพระศิวะ เทวรูปพระคเณศ เทพรูปพระพรหม เทวรูปพระแม่ทุรคา พระแม่กาลี พระแม่สรัสวตี เทวรูปพระหนุมาน รวมทั้งพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้า โดยเทวรูปและพระพุทธรูปทั้งหมด สร้างและอัญเชิญมาจากเมืองชัยปุระ ประเทศอินเดีย ซึ่งเมืองดังกล่าวถือเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านการสร้างเทวรูปหินอ่อนที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศอินเดีย





(เทวรูปหินอ่อนภายในเทพมณเฑียร)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

แม้ศาสนสถานแห่งนี้จะเป็นสถานที่ซึ่งนับถือพระวิษณุเป็นเทพองค์ประธาน  แต่ก็ปรากฏรูปเคารพขององค์พระศิวะรวมถึงพระศิวะลึงค์อยู่ด้วย โดยเทวรูปพระศิวะ อยู่ในลักษณะประทับนั่งสมาธิ มีสองพระกร สร้างจากหินอ่อนสีขาวน้ำนม โดยมีการให้สีในส่วนต่างๆของพระวรกายและเครื่องพัสตราภรณ์อย่างงดงามสมจริง เบื้องหน้าเทวรูปมีโคสองตัวนอนหมอบอยู่ สำหรับเทวรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ทางด้านซ้ายมือของเทวรูปประธาน และอยู่ถัดจากเทวรูปของพระกฤษณะกับพระแม่ราธา








(เทวรูปพระศิวะ ซึ่งประดิษฐานภายในเทพมณเฑียร)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

นอกจากเทวรูปขององค์พระศิวะแล้ว ทางฝั่งตรงข้ามของหมู่เทวรูปประธาน เป็นที่ประดิษฐานพระศิวลึงค์ ซึ่งทำจากปรอทบริสุทธิ์ โดยรอบศิวลึงค์องค์นี้ทั้งสี่ด้าน มีเทวรูปองค์เล็กประดิษฐานอยู่ด้วย หากท่านใดต้องการสรงองค์พระศิวลึงค์ ก็สามารถทำได้ แต่ต้องไปในช่วงเช้า จะมีพราหมณ์ทำพิธีให้ด้วยครับ










(พระศิวลึงค์ปรอท ภายในเทพมณเฑียร)

สำหรับท่านที่ต้องการที่จะเดินทางมาสักการะองค์พระศิวะ ณ เทพมณเฑียร กรุงเทพฯ ผมขอแนะนำให้มาในวันและเวลาดังนี้

- วันจันทร์ถึงวันพฤหัส ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา ๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ช่วงเย็นตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๐.๓๐ น. โดยในระหว่างเวลา ๑๒.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น. ทางเทพมณเฑียรจะปิดงดให้เข้าไปสักการะภายใน

- วันศุกร์-อาทิตย์  ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา ๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ช่วงเย็นตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. โดยในระหว่างเวลา ๑๒.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น. ทางเทพมณเฑียรจะปิดงดให้เข้าไปสักการะภายใน

โดยในวันและเวลาที่กล่าวในข้างต้นทางวัดจะมีการประกอบพิธีบูชาพระเป็นเจ้าภายในเทพมณเฑียร เช่น การสวดมนต์และร้องเพลงสรรเสริญพระเป็นเจ้า รวมถึงประกอบพิธีอารตีด้วย ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ศรัทธาสามารถเข้าร่วมพิธีได้ และถ้าท่านใดต้องการนำดอกไม้หรือพวกมาลัยมาถวายเทวรูปของพระเป็นเจ้าองค์ต่างๆก็แนะนำให้เตรียมมาจากบ้านหรือหาซื้อมาจากที่อื่นให้เรียบร้อย เนื่องจากที่นี่ไม่มีร้านจำหน่ายดอกไม้ธูปเทียนไว้ให้บริการ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ห้ามผู้ที่เข้ามาสักการะทำการจุดธูปเทียนภายในบริเวณเทพมณเฑียรอย่างเด็ดขาด (ยกเว้นพราหมณ์ที่จะจุดในขณะประกอบพิธีบูชาเท่านั้น)

(แผนที่การเดินทางมายังเทพมณเฑียร โดยคุณ Kasemanan)

การเดินทางมาที่เทพมณเฑียร ซึ่งอยู่ชั้นที่สามของอาคารที่ทำการสมาคมฮินดูสมาซและโรงเรียนภารตวิทยาลัยนั้น ตัวอาคารตั้งอยู่ข้างโรงเรียนเบญจมราชาลัย และอยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดสุทัศน์เทพวราราม โดยมีรถประจำทางผ่านหลายสายดังนี้ สาย10 12 19 35 42 56 96 และรถปรับอากาศสาย 42
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

๓. วัดพระศรีมหาอุมาเทวี








วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า วัดแขก สีลม ถือเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู นิกายศักติ สร้างโดยชาวอินเดียที่อพยพมาจากทางอินเดียตอนใต้ ที่เรียกว่า ชาวทมิฬ ในระยะแรกมีการก่อสร้างเป็นเพียงศาลไม้เล็กๆเพื่อประดิษฐานองค์พระแม่ศรีมารีอัมมัน (พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี) ซึ่งเป็นเทพสตรีที่ชาวทมิฬให้ความเคารพสักการะ  ต่อมาราวปี พ.ศ.๒๔๓๘-๒๔๔๓ชาวอินเดียตอนใต้ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณถนนสีลม นำโดยนายไวตี ประเดียอะจิ นายนารายเจติ นายโกบาระตี และญาติมิตรที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมใจกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินตรงถนนปั้น (บริเวณที่ตั้งปัจจุบันของวัดแขก) เพื่อที่จะสร้างเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งที่ดินบริเวณนี้สวนผักของนางปั้น อุปการโกษา จำนวน ๒๙๒ ตารางวา และเมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้มีการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อบริหารดูแลเทวสถานแห่งนี้ด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๘ ได้มีการจดทะเบียนเทวสถานแห่งนี้ในนาม “มูลนิธิวัดพระศรีมหามารีอัมมัน” และได้มีการนำเทวรูปจากประเทศอินเดียมาประดิษฐานเพิ่มขึ้นจากเมื่อครั้งที่เริ่มสร้างวัด นอกจากนี้ทางคณะกรรมการมูลนิธิฯยังได้เชิญพราหมณ์จากประเทศอินเดียทางตอนใต้มาทำหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมและบูชาพระเป็นเจ้าต่างๆด้วย อีกทั้งทางวัดยังได้มีการพัฒนา ซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารสถานที่ต่างๆภายในบริเวณวัดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสวยงามเป็นที่ปรากฏแก่สายตาของทุกท่านดังเช่นในปัจจุบัน


(วัดพระศรีมหาอุมาเทวีในปัจจุบันเมื่อมองมาจากทางฝั่งถนนสีลม)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี ก็เหมือนเช่นกับศาสนสถานอื่นๆที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ที่มีการประดิษฐานรูปเคารพขององค์พระศิวะรวมอยู่ด้วย เทวรูปของพระองค์นั้นประดิษฐานรวมกับพระเป็นเจ้าองค์อื่นๆภายในเทวาลัยประธาน โดยประทับนั่งห้อยพระบาทขวา มีสี่พระกร ส่วนอีกองค์หนึ่งเป็นเทวรูปในปางศิวะนาฏราชประทับอยู่ในซุ้มขนาดย่อม ตรงกันข้ามกับแท่นประดิษฐานหมู่เทวรูปในเทวาลัยประธาน โดยองค์พระศิวะนาฏราชประดิษฐานเคียงคู่กับเทวรูปของพระแม่ศิวะกามี่ ซึ่งเทวรูปสำริดทั้งสองนี้หล่อจากโลหะสำริดตามรูปแบบศิลปะที่นิยมทางอินเดียใต้



(ลวดลายปูนปั้นรูปองค์พระศิวะ ประดับอยู่บนหลังคาของเทวาลัยที่ประดิษฐานพระศิวลึงค์ ในวัดพระศรีมหาอุมาเทวี)


นอกจากนี้บริเวณหน้าเทวาลัยประธาน ยังมีเทวาลัยขนาดเล็กตั้งอยู่เยื้องไปด้านซ้ายของเทวาลัยประธาน ภายในประดิษฐานองค์พระศิวลึงค์หินสีน้ำตาลจากแม่น้ำนรมทา ในประเทศอินเดีย โดยจะมีพราหมณ์ยืนประจำอยู่ด้านหน้า เพื่อเจิมให้กับผู้ศรัทธาที่ไปสักการะพระศิวลึงค์องค์นี้  แต่ก็มีข้อห้ามคือ ห้ามทำการสรงพระศิวลึงค์ ซึ่งจะต่างจากศาสนสถานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัดเทพมณเฑียร และวัดวิษณุ



WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

โดยปกติ วัดพระศรีมหาอุมาเทวีจะเปิดให้สักการะได้ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐-๒๐.๐๐ น. เฉพาะวันศุกร์เปิดถึง ๒๑.๐๐ น. ยกเว้นในช่วงที่มีงานเทศกาลนวราตรี ทั้ง ๙ วัน จะเปิดให้เข้าได้ถึงเวลา ๒๔.๐๐ น.ครับ และสำหรับท่านที่ไม่ได้เตรียมพวงมาลัย ดอกไม้ ธูปเทียน หรือแม้แต่กระทั่งของถวายต่างๆติดตัวมาด้วยจากบ้าน ก็สามารถหาซื้อได้จากในวัดและบริเวณภายนอกวัด โดยราคาก็จะต่างกันไปตามแต่ลักษณะ ความสวยงาม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวงมาลัยซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายรูปแบบ) และจำนวนของถวายที่ท่านต้องการ ไม่ว่าจะเป็น กล้วย อ้อย มะพร้าว หรือแม้กระทั้งนมสด แต่ถ้าอยากซื้อแบบที่เขาจัดเป็นชุดสำเร็จไว้แล้วก็สามารถซื้อได้จากโต๊ะที่ตั้งจำหน่ายไว้ภายในวัดได้เลย ถือเป็นการร่วมทำบุญกับทางวัดด้วยในตัวครับ


(ร้านค้าบริเวณหน้าวัดที่มีจำหน่ายทั้งพวงมาลัยดอกไม้สดและเครื่องบูชาชนิดต่างๆ)


สำหรับท่านที่สนใจและอยากที่จะเดินทางไปสักการะพระศิวะ ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี ก็สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก เพราะศาสนสถานแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนสายสำคัญทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นการคมนาคมจึงมีให้เลือกหลายรูปแบบ ได้แก่




๑. รถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีช่องนนทรี แล้วเดินมาเรื่อยๆ เดินสัก ๒ ป้ายรถเมล์ก็ถึงครับ

๒. รถไฟฟ้ามหานคร ต่อ BTS ที่ศาลแดง หรือมอเตอร์ไซค์ ค่ารถประมาณ ๓๐ บาท

๓. เรือด่วนเจ้าพระยา ขึ้นท่าสะพานตากสิน ต่อรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีศาลาแดง หรือรถเมล์ หรืออื่นๆตามสะดวก

๔. รถประจำทาง สาย ๗๙, ๖๓, ๑๕, ๗๗ ฯลฯ รถปรับอากาศสาย ๕๐๔, ๕๑๔, ๑๗๗


WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

๔. วัดวิษณุ
วัดวิษณุ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๓ โดยชาวอินเดียที่อพยพมาจากแคว้นอุตตรประเทศ จากนั้นจึงมีการซ่อมและสร้างอาคารขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ทางคณะกรรมการวัดจึงมีมติให้รื้อโบสถ์หลังเก่าออกเนื่องจากมีความเก่าแก่มาก และได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์โบสถ์หลังใหม่ของวัดวิษณุ การก่อสร้างใช้เวลาทั้งสิ้น ๙ ปีจึงแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๕๔๔  โดยในบริเวณวัดวิษณุแห่งนี้ นอกจากจะมีโบสถ์หลังใหญ่เป็นประธานแล้ว โดยรอบยังมีอาคารประกอบอีกหลายหลัง เช่น หอพระศิวะ หอพระนางทุรคาเทวี หอพระลักษมี หอเทวดานพเคราะห์  และศาลาโหมกูณฑ์ เป็นต้น
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

บริเวณห้องโถงชั้นบนสุดของโบสถ์หลังใหม่นี้เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปหินอ่อนที่เชิญเข้ามาจากเมืองชัยปุระ ประเทศอินเดีย (เช่นเดียวกับที่วัดเทพมณเฑียร) ได้แก่ เทวรูปพระวิษณุกับพระแม่ลักษมี พระรามกับพระแม่สีดา พระลักษณ์ พระภรต พระสัตรุต พระหนุมาน พระกฤษณะกับพระแม่ราธา พระคเณศและชายาทั้งสองคือ พุทธิและสิทธิ เทวรูปพระแม่ทุรคา ตลอดจนพระพุทธรูปขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า





(เทวรูปพระวิษณุประทับร่วมกับพระแม่ลักษมี องค์ประธานในโบสถ์วัดวิษณุ)
(เทวรูปพระคเณศ และชายาทั้งสอง)
(บรรยากาศภายในโถงที่ประดิษฐานเทวรูปประธานของโบสถ์วัดวิษณุ)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

องค์พระศิวะที่ประดิษฐานอยู่ในวัดวิษณุแห่งนี้ อยู่ในเทวาลัยสีขาวด้านข้างโบสถ์ใหญ่ของวัด  ภายในประดิษฐานเทวรูปองค์พระศิวะประทับร่วมกับพระแม่อุมา โดยมีพระคเณศประทับอยู่ที่ตัก  ทางด้านซ้ายเป็นเทวรูปขององค์พระขันธกุมาร และทางด้านขวาเป็นรูปแกะสลักโคนนทิ ทั้งหมดแกะสลักจากหินอ่อนสีขาวน้ำนม และลงสีอย่างงดงาม อาจกล่าวได้ว่าเทวาลัยหลังนี้เป็นที่ประดิษฐานพระเป็นเจ้าตามคติครอบครัวแห่งจักรวาลของชาวฮินดูก็ว่าได้




(เทวรูปพระศิวะ พระแม่อุมา และพระคเณศภายในเทวาลัย)
(เทวรูปพระขันธกุมาร)
(โคนนทิแกะสลัก)


WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

บริเวณตอนกลางของเทวาลัยเป็นที่ประดิษฐานองค์พระศิวลึงค์สีน้ำตาล จากแม่น้ำนรมทา ประเทศอินเดีย และที่ฐานโยนีของศิวลึงค์องค์นี้เป็นหินสีดำแกะสลัก โดยมีหม้อน้ำตั้งไว้บนฐานสำหรับหยดน้ำลงมายังศิวลึงค์ตลอดเวลา







(องค์พระศิวลึงค์ภายในเทวาลัยพระศิวะ)



นอกจากนี้บริเวณหมู่เทวรูปประธานภายในเทวาลัยพระศิวะ ยังประดิษฐานศิวลึงค์ปรอท ลักษณะคล้ายคลึงกับที่วัดเทพมณเฑียร โดยประดิษฐานอยู่ตรงกลางระหว่างเทวรูปพระศิวะ พระแม่อุมา และพระคเณศ กับเทวรูปของพระขันธกุมาร







(ศิวลึงค์ปรอทที่ประดิษฐานร่วมกับหมู่เทวรูปในเทวาลัยพระศิวะ)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0



(เทวาลัยสีขาวด้านข้างโบสถ์ใหญ่ ที่ประดิษฐานเทวรูปพระศิวะและพระศิวลึงค์)



นอกจากเทวาลัยพระศิวะแล้ว ที่ด้านหลังก็นี้มีเทวรูปโลหะองค์ใหญ่ของพระศิวะประดิษฐานอยู่เช่นกัน โดยมีเทวลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิบนหนังเสือ มีสองพระกร ด้านหลังเป็นตรีศูลแขวนบัณเฑาะว์  รวมทั้งยังมีอาคารขนาดเล็กประดิษฐานพระศิวลึงค์หินสีขาวอยู่อีกด้วย





(เทวรูปองค์พระศิวะขนาดใหญ่ที่หล่อจากโลหะ)




(พระศิวลึงค์หินสีขาวอีกองค์หนึ่งในวัดวิษณุ)




สำหรับท่านที่มาสักการะองค์พระศิวะ ณ วัดวิษณุแห่งนี้ ขอให้เตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาเอง เพราะในวัดไม่มีร้านจำหน่าย  โดยภายในโบสถ์และเทวาลัยไม่มีที่ให้จุดธูปเทียน จะต้องออกมาจุดและปักธูปภายนอก บริเวณที่ทางวัดจัดไว้ให้  แต่สำหรับท่านที่ต้องการนำนมมาสรงที่องค์พระศิวลึงค์ (ทางวัดอนุญาตให้สรงได้สองจุด คือ ศิวลึงค์องค์กลางภายในเทวาลัยพระศิวะ และศิวลึงค์ในอาคารหลังเล็กด้านหลังเทวาลัย) ทางวัดมีร้านขายของชำขนาดเล็กจำหน่ายนมให้สำหรับนำไปสรงพระศิวลึงค์ครับ
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

วัดวิษณุ เปิดให้เข้าไปสักการะพระเป็นเจ้าภายในศาสนสถานได้ทุกวัน สำหรับการเดินทางมาก็สามารถมาได้ค่อนข้างสะดวก โดยวัดวิษณุตั้งอยู่ซอยเดียวกับวัดปรก เขตยานนาวา หากมาโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้ลงที่สถานีสุรศักดิ์ ส่วนรถประจำทางสายที่ผ่านได้แก่ 17, 22, 62, 67, 77, 116, 149 จากนั้นถ้าสะดวกที่สุดให้ต่อมอเตอร์ไซค์รับจ้างจากปากทางสมาคมหอการค้าไทย-จีน เพื่อเข้าไปยังวัดวิษณุครับ


(แผนที่การเดินทางมายังวัดวิษณุ : โดยคุณไม้เท้าปู่)
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

แหล่งข้อมูลอ้างอิงประกอบการเรียบเรียง :


- หนังสือ พระราชกรณียกิจในการทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดย กรมการศาสนา

- สารนิพนธ์เรื่อง รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมานวิทยาที่เทวสถานพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) โดย วรรณพรรธน์ เรืองทรัพย์ 
- หนังสือ ๑๐๐ มุมมองใหม่กรุงเทพฯ โดย กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

- หนังสือ ของดีกรุงเทพฯ โดย กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

- บทความ วัดวิษณุ หนึ่งเดียวในไทยที่มีเทพครบทุกองค์ โดย ไตรเทพ ไกรงู/นสพ.คมชัดลึก

- บทความ พลิกปูมวัดวิษณุ ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตรประเทศในกรุงเทพมหานคร
โดย ประเวช ตันตราภิรมย์/วารสารเมืองโบราณ
- สกู๊ปพิเศษ "พิธีอารตี" บูชาประจำวัน วัดเทพมณเฑียร-เสกพระพิฆเนศ
โดย หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน
- เว็ปไซด์ สมาคมฮินดูสมาซ (hindusamaj.or.th)
[/SIZE]



*****ขอขอบพระคุณท่านผู้เขียนหนังสือ(ที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น)ทุกท่าน ซึ่งผู้เรียบเรียงได้นำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในบทความ ทางผู้เรียบเรียงจึงขอกราบขอบพระคุณด้วยความเคารพอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้*****
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

ขอบพระคุณมากๆค่ะ เคยไปแค่ 2ที่เอง
ต้องหาโอกาสไปให้ครบสักครั้งนึง

ขอบคุณคับพี่

กำลังอยากได้พอดีเรย

เหอๆ

^ ^
คุณความดี....มิได้ขึ้นอยู่กับสายตาใคร

เกิดขึ้นย่อมมีดับไปเป็นธรรมดาดั่งพุทธองค์ทรงตรัส


ขอบคุณครับ น้องอักษร

สำหรับบทความดีๆ ตอนที่ 2

ปล. พี่ขออนุญาติเอาบทความและรูปภาพไปเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซด์ที่กำลังจัดทำด้วยนะค๊าบ

ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งครับพี่
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

เข้ามาติดตามอ่านขอรับ

ผมว่าพี่คิวเอาบทความพวกนี้ไปรวมเล่มขายดีมั้ยครับ ^^


ผมว่าทำได้เลยนะ

จัดรูปเล่มสวยๆ เพราะฝีมือถ่ายภาพ และปลายปากกา น้องอักษร ใช้ได้ดีเลยทีเดียวครับ

หนับหนุนๆๆ

***************************

พี่สวสติ
เราเอาเนื้อหาใน ฮินดูมีสติ้ง กะ พ่อแก่ ทำเล่มขายกันมั่งม๊ะ 555  

แต่ผมมีความคิดนะ อีกซักปีสองปี ให้เนื้อหาแน่นๆ ในฮินดู จะไลต์ลงซีดี แจกในงานนวราตรี

เสริมความรู้ให้ผู้คน คริๆๆ



อิอิอิ ขอบคุณคุณหมอFluorine พี่กาลิทัส และพี่สฺวสฺติ สำหรับไอเดียแสนบรรเจิด  ช่วงปีก่อนเคยคิดว่าจะรวมเล่ม (แจก) เหมือนกันครับ แต่ติดข้อขัดข้องหลายประการ ทั้งเรื่องเรียน และที่สำคัญเรื่องที่เขียนยังมีอยู่เพียงไม่กี่เรื่อง ฉะนั้นจึงตั้งใจว่าจะเขียนสะสมไปสักระยะหนึ่งก่อนน่ะครับ 





แต่ที่พี่กาลิทัสกล่าวถึงการไรท์ข้อมูลลงแผ่นแจกก็ถือเป็นไอเดียที่ดีเชียวครับ  จัดรูปแบบดีๆ ไรท์ลงซีดีรอมก็น่าจะป็นช่องทางทีดีอีกช่องหนึ่งที่จะช่วยกันเผยแพร่เนื้อหาสาระดีๆให้กับผู้ที่สนใจเรื่องราวทางนี้ได้





อย่างไรก็ตามช่วงนี้ผมคงฝึกฝีมือเขียนต่อไปก่อนแหล่ะครับ เพราะฝีมือยังสมัครเล่นอยู่ หลายสิ่งหลายอย่างก็ต้องปรับปรุงกันไป อิอิอิอิอิ  หวังว่าเพื่อนๆพี่ๆทุกท่านจะยังคงติดตามและเป็นกำลังใจดีๆแบบนี้เสมอนะครับ





ด้วยจิตคารวะ


WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

อ้อ ลืมบอกไปว่าบทความตอนต่อไปจะเป็นเรื่อง " สักการะ ๖ พระเป็นเจ้าสำคัญ ย่านราชประสงค์ (สไตล์นายอักษรชนนี) " ซึ่งจะนำมาลงให้ได้ติดตามกันในเร็วๆนี้ครับ    
WELCOME TO HINDUMEETING

เรียน สมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ของเว็บ HinduMeeting
ขอความกรุณาทุกท่านศึกษากฎ กติกา มารยาทของเว็บด้วยนะครับ

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1423.0

พอมาถึงตรงนี้ ก็นึกอะไรได้หลายอย่าง จากที่เคยตามงานของ คุณ [u=10] มาก็เห็นลายปากกา สำนวน น่าอ่านพอๆ กับนักเขียน สารคดี เชิงประวัติศาสตร์ หรือนักเขียน ซีไรท์บ้างคนเสียด้วยซ้ำ
จริงๆ ผมว่า ท่าน [u=10] น่าจะส่งเรื่องของตัวเองไปตีพิมพ์ตามสำนักพิมพ์ ผมว่าก็โอเคนะ แต่ก็ยังว่าแหละ ถ้าเรื่องตีพิมพ์แล้วลิขสิทธิ์นั้น จะตกไปเป็นของสำนักพิมพ์หรือเปล่า อันนี้ต้องดูสัญญาที่ทำกันไว้ อ่ะครับ
แต่ที่แน่ มีไอเดียบรรเจิดอีกแบบ คือ เคยเห็นพวก Geo ไหมครับ (อันนี้เป็นหนังสือที่ชอบอ่านมากๆ ถ้าไม่ติดว่าราคาแพง จะสะสมเสียด้วยซ้ำ) แล้วผมจะออกเป็นวารสาร ชื่อว่า HinduMeeTing Magazine หรือ HM Magazine อิอิน่าสนมะ
แต่ที่แน่ๆ ผมว่า คุณ [u=10] เสนอผลงานตัวเอง ลง คอลัม หนังสือท่องเที่ยว เป็นหน้าเกี่ยวกับเทวสถาน ต่างๆ เผลอท่านได้ไปเที่ยวเนปาลฟรี ด้วยซ้ำหรือสถานที่ต่างๆ ตามที่ท่านจะเขียนแถม ลิขสิทธิก็ไม่ตกเป็นของสำนักพิมพ์เสียด้วยซ้ำ ผมว่าก็โอเคดีนะ

"ฝันให้ดี ดีกว่าไม่ได้ฝัน"

ตัวอย่างเล่น






ว้าว.....น้องคิวเก่งจัง สนับสนุนคร้าๆๆๆๆๆๆๆๆ
  ชีวิตไม่มีใครเลือกเกิดได้..แต่ทุกคนเลือกที่จะเดินในทางที่ตัวเองเลือกได้..คุณเลือกเดินทางไหนค่ะ


หน้าป.กุ้งเผา มีศาลอยู่องค์นึง ศาลใหญ่มากครับ ทำเป็นรูปภูเขาอะ