Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - วิชัยบุตร

#1
จะเรียกว่าเป็นเทพประจำกรุงเทพมหานคร คงไม่ผิดและไม่ถูกนัก

ถ้าอ่านประวัติวัดตั้งแต่เริ่มสร้าง จะเข้าใจว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวมศรัทธาของชาวฮินดู ซึ่งรวมเป็นชุมชนอยู่นะบริเวณนั้นมากกว่า

เพราะในระยะแรกยังไม่มีวัดอันเป็นศูนย์รวมศรัทธา

โดยชาวอินเดียใต้ ได้สร้างวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ไว้เป็นที่สักการะ และศูนย์รวมจิตใจ ส่วน ชาวอินเดียเหนือ ได้สร้างวัดวิษณุ ไว้เป็นที่สักการะ และศูนย์รวมจิตใจ
#2
จะใส่ใจกันไปทำไมกับเรื่องงวงของพระเคนช เพราะไม่ว่าจะหันไปทิศทางใด พระองค์ก็คือพระคชานันท์ อยู่ดี

ไม่ว่าผู้ปั้น ประดิษฐ์จะทำงาข้างใดหัก พระองค์ก็ได้ชื่อ เอกทนต์ ผู้มีงาเดียวอยู่ดี

แทนที่จะเอาเวลาทั้งหลายมานั่งดูเทวรูปงาหักซ้ายหรือขวา งวงหันซ้ายหันขวา

เอาเวลานั้นมาบูชาพระองค์ไม่ดีกว่าหรือ การเคลือบแคลงสงสัยในรูปลักษณ์ทั้งหลาย การยึดติดแต่เพียงรูปลักษณ์

ไม่ได้ทำให้เราหลุดพ้น เพื่อเข้าสู่ดินแดนแห่งพระเป็นเจ้า

ถ้าวันหนึ่ง พวกคุณไปพบกับพระเป็นเจ้า อาจไม่ใช่ในรูปแบบที่คุณคิด คุณจะยังศรัทธาพระองค์อยู่หรือไม่ นี่เป็นเพียงคำถามเล็กๆ ??

ถ้าคุณตอบว่า ไม่ - ผมว่าคุณเลิกศรัทธาเสียตั้งแต่ตอนนี้เถิดครับ เพราะคุณบูชาเพียงเปลือก ที่เรียกว่าเทวรูปที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้น
ถ้าคุณตอบว่า แน่นอน ยังศรัทธาอยู่ - เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คุณจะไปสนใจ หรือใส่ใจทำไมกับลูกลักษณ์ที่เรียกว่าเปลือก

ศึกษาถึงแก่นแท้แห่งธรรม ถึงแก่นแท้แห่งพระเจ้า ถึงแก่แท้แห่งพระเป็นเจ้าดีกว่าครับ

ถ้าคุณอยากได้โต๊ะซักตัวเพื่อใช้ประโยชน์ คุณจะใช้เพียงแค่เปลือกมันมาสร้างโต๊ะ หรือคุณต้องการแก่นไม้เพื่อสร้างโต๊ะที่แสนจะแน่นหนา ใช้งานได้ทนนานกันแน่ครับ


ส่วนที่เป็นกรณีกัน ผมไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น และผมไม่สนใจ

ถ้าเจ้าของกระทู้ต้องการถามเพียง ทิศทาง "งวง" ของพระเคนศ ตามหัวข้อกระทู้ น่าจะมีคำตอบจากหลายคนแล้ว ทุกอย่างก็น่าจะจบด้วยดี อย่าไปสนใจแค่คำว่า จิบน้ำส้มเอิร์กเดียวเลย (เพราะแก่นแห่งคำถามได้อยู่ครบถ้วนและได้สาระ ส่วนสิ่งที่โดนลบไปเป็นแค่เปลือกทางภาษาที่จะมีหรือไม่ก็ไม่เป็นผล)

การชิงดีชิงเด่น ไม่ได้ทำให้คนยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นครับ

เว็บมาสเตอร์เองควรมีขันติธรรมให้มากกว่านี้
คู่กรณีควรลดทิฐิ และ ความอหังกาให้น้อยลงด้วยครับ

ถ้ากล่าวไม่ถูกไม่ควร หรือ กระทบสภาวะของท่านใด ขออภัยมา ณ ที่นี้
#3
ผมไม่ใช่ตัวพ่อหรือตัวแม่

ผมเป็นเพียง 1 ในหลายล้านศรัทธา

เพียงแค่นั้นเอง

ผมเชื่อในเรื่องของวาสนา ถ้าปุถุชนใดมีวาสนาต่อกัน ไม่วันใดวันหนึ่งคงได้พบกันแน่นอน
#4
เท่าที่วิเคราะห์ ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการจัดส่งของทางร้าน หรือเป็นเพราะการขนส่งระหว่างทางช้า หรือไปตกหล่นอยู่ที่ใด

ถ้าคุณ nonger สามารถเช็ควันเริ่มต้นส่งของได้ก็คงจะทราบว่าผิดที่ใด

แต่เท่าที่อ่านจากข้อความถ้าร้านจัดส่งช้าเองหรือเพิ่งจัดส่งจากทางร้าน ราก็ไม่น่าจะขึ้นเร็ว

แต่ถ้าตกหล่นระหว่างทางหรือส่งช้าแล้วขึ้นราน่าจะเป็นไปได้มากกว่า

แต่ถึงอย่างไรก็ตามทางร้านก็ได้แสดงขึ้นความรับผิดชอบ อันถือเป็นความซื่อสัตย์ที่คนในฐานะพ่อค้า จะแสดงออกกับลูกค้า ถือเป็นสิ่งที่ดี

แต่ขอเสนอแนวทางให้กับทางร้านนะครับว่า

ควรมีระบบติดตามสินค้าขณะขนส่ง หรือ คอยตรวจสอบกับลูกค้าว่าได้รับพัสดุตามที่จัดส่งไปให้ตามเวลาหรือไม่ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจกับลูกค้าครับ

ถือเป็นหลักการเบื้องต้นของ Customer Relationship ครับ แล้วคุณจะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าตลอดไป
#5
ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พระมารีอัมมันก่อน

ว่าพระมารีอัมมัน ที่เป็นที่เคารพสักการะของประเทศอินเดียทางตอนใต้นั้น เป็นเทพประจำท้องถิ่นหรือเมือง

ดังนั้นแล้วนแล้ว คำนำหน้า มารีอัมมัน จึงมักจะตั้งเป็นชื่อท้องถิ่น หรือ เมืองนั้นๆ

พระแม่ สามายาปูรัม มารีอัมมันก็เช่นเดียวกัน พระองค์เป็นมารีอัมมัน ประจำเมือง สามายาปูรัม  ซึ่งอยู่บริเวณ ทริกซี่ เมือง เชียนไน ประเทศอินเดีย

*****************************************

อย่าง มาดูรัย มารีอัมมัน เป็นเทพท้องถิ่นของเมืองมาดูรัย
#6
ผมเป็นอีกคนที่ชอบพระสัมฤทธิ์ แต่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะบูชาพระสัมฤทธิ์ไว้ในครอบครอง

แต่สิ่งหนึ่งที่ยังถือมั่นเหนืออื่นใด คือ เทพเจ้าทุกพระองค์

ผมบูชาทุกพระองค์เหนือรูปเคารพ ผมบูชาทุกพระองค์เหนือเทวรูปทั้งหลาย

ที่กล่าว ไม่ใช่เพราะน้อยเนื้อต่ำใจแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ทราบว่า

การบูชาพระ มีปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านเงินทอง

ผมเชื่อว่าไม่มีใครไม่อยากได้เทวรูปที่งดงามไว้ครอบครอง และย่อมต้องหาเทวรูปที่ดีที่สุด

โดยบางครั้งลืมคิดไปว่า เทวรูปที่ดีที่สุด เหมาะกับเราที่สุดหรือไม่

แต่สิ่งที่จริงแท้แน่นอนคือ ความศรัทธาที่ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร

*** สุดท้ายเทวรูปเป็นเพียงรูปเคารพที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนพระเป็นเจ้า อย่ายึดติดในรูปเคารพ อย่ายึดติดในวัตถุ อย่าเจริญเพียงวัตถุ ขอให้เจริญทางด้านจิตใจ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เหนืออื่นใด ***
#7
เป็นบทมนต์เก่าแก่อีกบทมนต์หนึ่ง โดยมากจะกล่าวถึงเรื่องลมหายใจขณะท่องบทมนต์




สิ่งเกี่ยวข้องกับพระเป็นเจ้า

โสหํ หํสา คือการภาวนามนต์ถึง บิดาและมารดาแห่งจักรวาล คือ ศิวะและศักตินั่นเอง
หมายรวมถึงทุกลมหายใจของผู้บูชาขณะท่องมนต์ จะท่องถึงพระนามศิวะและศักตินั่นเองครับ

ซึ่งแตกต่างจาก ตัตตวัมอสิ ที่จะนำตัวเอง ไปรวมกับธรรมชาติ กับพระเป็นเจ้า หรือไปเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนแห่งพระเป็นเจ้า แต่ โสหํ หํสา คือ การภาวนาถึงพระเป็นเจ้าในทุกลมหายใจครับ

พิมพ์ไปก็วกไปวนมา อ่านไม่เข้าใจก็ขออภัยครับ

ต่ออีกนิดแล้วกันครับ พอดีไปเจอมา เป็นผังการสวดเผื่อใครไม่เข้าใจว่า รากฐานบทมนต์มายังไงไปยังไง ถึงเกี่ยวกับ ศิวะ และ ศักติ


#8
คัมภีร์พระเวทกล่าวว่า ตัตตวัมอสิ  เป็นการปรับเปลี่ยนทิศทาง หรือ ถ่ายทอดพลังงาน

โดยถ้าจะกล่าวโดยรวม สำหรับคำแปลที่ว่า สูเจ้าคือสิ่งนั้น นั่นคือ การผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีระดับของพลังงานต่างกัน เช่น จากพ่อแม่กับลูก จากอาจารย์กับศิษย์ เป็นการทอดทอดพลังงานต่างๆ ให้แก่กัน จนกระทั่งเป็นหนึ่งเดียวกันครับ เช่น

เราบูชาพระเป็นเจ้า เราพยายามทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า

เหมือนกับ ถ้าใครมองว่าพระเป็นเจ้าคือธรรมชาติ ก็จะพยายามทำตนให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ และเข้าไปอยู่ในสภาวะของธรรมชาติ ฉันใด เมื่อเราเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า เราก็จะเข้าไปอยู่ในดินแดนของพระเป็นเจ้าฉันนั้น

สรุป ตัตตวัมอสิ คือการเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งๆ นั้น โดยที่สิ่งๆ นั้นต้องมีพลังงาน เหนือกว่าครับ

ตอบตามที่เข้าใจเท่านั้นครับ
#9
ถ้าศึกษาถึงวัฒนธรรมของบาหลีจะทราบว่า ชาวบาหลีเป็นคนที่น่ารักมากครับ

แน่นอนว่าเกือบทั้งเกาะนับถือศาสนาฮินดู แต่ มันมีคำว่าแต่ ครับ ชาวบาหลี ไม่เคยแบ่งแยกเลยครับ เรียกว่าใครศาสนาไหนไม่สน สามารถเข้าร่วมพิธีกรรมของกันและกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยเหตุนี้เองครับ ที่ทำให้พิธีกรรมทางศาสนาเป็นแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมของฮินดู และวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไป ทำให้พิธีกรรมของบาหลีค่อนข้างแตกต่างกับต้นกับเนิดอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ลงตัวในแบบของบาหลีครับ

แต่เค้าก็ไม่ได้ทิ้งรากเหง้าทางศาสนาฮินดูแม้แต่น้อย ถ้าคุณกระทู้ด้านบนได้อ่านคำบรรยายใต้ภาพทั้งหมดของชุดภาพที่ท่านนำมาลง จะเห็นได้ว่า พราหมณ์ที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของฮินดู มีสิ่งที่ขาดไม่ได้อยู่สี่ห้าสิ่งเช่นกัน และอย่างหนึ่งคือ ตะเกียงน้ำมัน ที่มีไว้จุดบูชาประทีบครับ

และถ้าไป Search บทความ หรือจดหมายเชิงอารยธรรมในบาหลี จะเห็นแทบจะทุกบทความ และหนังสือ จะบอกไว้อย่างชัดเกินว่าวัฒนธรรมทางศาสนาค่อนข้างแตกต่างกับต้นกำเนิด ถามว่าผิดหรือเปล่า คงไม่ผิดครับ อินเดียเหนือ กับ ใต้ ยังต่างกันเห็นได้ชัด แล้วก็ผนวกเข้ากับวัฒนธรรมของตน บาหลีก็เช่นกัน

ดังที่กล่าวไปข้างต้น

เราจะศึกษาและเริ่มต้นไปในทิศทางใด

ถ้าคิดว่าใช่แน่แล้วให้มุ่งหน้าไปในทิศทางนั้นอย่างมั่นคง และถ่องแท้

อย่าสะเปะสะปะนะครับ

ไม่เช่นนั้น คุณจะสับสนและจับต้นชนปลายไม่ถูกแน่นอนครับ


พุทธยังมีหินยาน มีมหายาน เลยครับ
#10
คิดว่าไม่น่าจะใช่นะครับที่ว่า เนื้องานไม่สวยเทพจะไม่ประดิษฐาน (สถิต)

เพราะว่าเทวรูปอินเดียหลายๆ เนื้องาน เท่าที่ผมได้เห็นเทวลักษณะ บอกได้ด้วยซ้ำว่างานไทยสวยกว่าเยอะ

แล้วทำไมคนอินเดียเค้าบูชา จริงๆ แล้วเค้าไม่ได้บูชาที่เนื้อวัสดุหรือความละเอียดของเนื้องานครับ

แต่เค้าบูชาพระญาณโดยแท้ของเทพเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้ไหว้ ทองเหลือง ดิน หินอ่อนครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ว่าไม่ได้หรือกครับ ใครก็ต้องการครอบครองเทวรูปที่มีเทวลักษณะสวยงามกันทั้งนั้น

เสียตังค์แล้วก็ต้องเลือกนิดนึง *** อย่าบอกนะครับว่าใครไปซื้อเทวรูปไม่เคยเลือก หรือสรรหาองค์ที่ถูกใจ ***

ผมคนนึงหล่ะ ต้องเลือกสวยๆ เอาแบบเตะตาแตกเลยครับ ถึงจะบูชามา แหะๆๆๆๆ
#12
แม้วิธีปฎิบัติจะต่างกัน

แต่หลักการและปรัชญาทางศาสนาย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกันแน่นอน

ก่อนอื่นจงรู้ตนเองก่อนว่า เราจะศึกษาและเริ่มต้นไปในทิศทางใด

ถ้าคิดว่าใช่แน่แล้วให้มุ่งหน้าไปในทิศทางนั้นอย่างมั่นคง และถ่องแท้

อย่าสะเปะสะปะนะครับ

ไม่เช่นนั้น คุณจะสับสนและจับต้นชนปลายไม่ถูกแน่นอนครับ
#14


ผมหมายถึงภาพนี้ครับ



เหมือนไม๊ครับ คล้ายกันมากครับ
#15
ได้อ่านแล้วก็รู้สึกประทับใจกับความรักที่ทุกคนมีต่อเทพเจ้าทุกพระองค์ แต่ให้คิดไว้เสมอว่า

พระองค์ประทานพรได้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับความพยายามของเราด้วย

ถ้านั่งกินนอนกิน รอให้มีโชคมีลาภ ไม่ทำการทำงานก็อดตาย

ดังนั้นเวลาผมขอพร ผมขอแค่ " ผมขอพละกำลังแห่งพระเป็นเจ้า มาเป็นพละกำลังของตัวเอง ให้ดำเนินชีวิต ให้สู้ชีวิต "

ไปได้อย่างไม่ย่อท้อ ขอให้ผมมีความอดทน อดกลั้น แข็งแกร่ง

ทุกอย่างเริ่มที่เรา และพระองค์เป็นเพียงผู้คอยหนุนนำให้เราอีกทอดหนึ่งครับ ถ้าเราไม่เริ่ม พระองค์ก็หนุนไม่ขึ้นเหมือนกัน

และถ้าเราล้มก็ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ทรงไม่เกื้อหนุนหรือค้ำจุน เพียงเป็นกรรมที่เราต้องยอมรับ

" อะไรก็หนีคำว่ากรรมไม่พ้นครับ "

******************************************************

ผมเชื่อเหลือเกินว่า ถ้าทุกคนพยายาม ลุกขึ้นสู้ เทพเจ้าทุกพระองค์ที่คุณบูชา ท่านต้องมาอุดหนุน ค้ำจุน บุตรแห่งพระองค์แน่นอน

คุณเชื่อคำนี้ของผมหรือเปล่าผมไม่ทราบ แต่มันเกิดขึ้นจริงกับชีวิตผม ไม่ว่าผมจะตกระกร่ำขนาดไหนก็ตาม

พระองค์ไม่ได้ทำให้เราร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี
แต่ให้คุณจนหรือไม่มีเงินเท่าไหร่ก็ตามพระองค์ไม่เคยให้คุณอด

*** (พระ) แม่ครับ ผมรัก (พระ) แม่ ***
#16
ทำแล้วไม่ถูก ไม่ทำซะเลยดีกว่าครับ

ปวงเทพท่านทราบ ท่านรู้ตลอดอยู่แล้วหล่ะครับ ว่าใครบูชา ไม่บูชาพระองค์ท่าน

เพื่อนผมอินเดียแท้ๆ Import มาจากอินเดียตรงๆ ให้ความเคารพต่อองค์พระศิวะอย่างสูงที่สุด

ที่บ้านเค้าจุดกำยานบูชา อย่างหอม เรียกว่าเดินเข้าไปแล้วแตะจมูกแตกเลยครับ

แต่พอมองไปที่หิ้งบูชาพระ กลับเจอเพียงภาพพระศิวะที่หาได้ตามท้องตลาดทั่วไป ขนาดประมาณครึ่งกระดาษเอสี่

พอถามก็ได้คำตอบกลับมาว่า คนอินเดีย ไม่ได้ทำอารตีกันที่บ้านหรอก เค้าไปทำที่วัดกัน

ส่วนที่บ้านเค้าสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น อาบน้ำชำระร่างกายก่อนสวด

แค่นี้ก็พอแล้ว

นี่คือ คำตอบของคนอินเดีย ที่มาจากดินแดนแห่งศาสนาอันเก่าแก่ที่สุดในโลก คือ ฮินดู เค้าตอบมาแบบนี้ครับ

แต่ถ้าใครที่จะทำอารตี ผมคิดว่าสอบถามผู้รู้ เอาให้ถูกวิธีจริงๆ แล้วค่อยคิดจะทำ มองให้ลึกซึ้งถึงปรัชญาทางศาสนาดีกว่ามานั่ง

เอาธูปเอาเทียนวนๆ และเรียกว่าอารตีจะดีที่สุดครับ

ปล. วิธีคุณหริทาสมาจากเทพมณเฑียร ซึ่งเป็นเทวสถานที่ได้รับการยอมรับ เพราะฉะนั้นบอกได้คำเดียวครับว่าถ้าทำได้ "สุดยอด"
#17
เห็นด้วยกับคุณ Naga ผมไม่เคยเห็นเทวรูปพระแม่สรัสวตี ในแบบพิมพ์นี้ที่ไหนมาก่อนเช่นกัน

แต่ว่าแอบเห็นแว็บๆ ว่ามีพระแม่สรัสวตีศิลปะพม่าด้วยใช่ไม๊ครับ สวยมากครับ
#18
สายธุรำ เป็นด้ายมงคล เป็นเครื่องหมายแสดงวรรณะว่าคนๆ นั้นอยู่ในวรรณะ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และ ได้ผ่านการเรียนรู้พิธีกรรมทางศาสนาอย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น แต่วรรณะศูทร ไม่มีสิทธิ์คล้องสายธุรำนี้ เนื่องจากวรรณะศูทร ไม่มีสิทธิ์ เข้าพิธี อุปานยัน

ดังนั้นสายธุรำ เป็นเครื่องหมายแสดงว่าบุคคลนั้น ได้ผ่านพิธีกรรมการเข้าเป็นผู้นับถือหรือศาสนิกชนฮินดูโดยสมบูรณ์แล้วเท่านั้น

โดย พิธีอุปานยัน คือ พิธีเริ่มศึกษาเพื่อเป็นพราหมณ์ด้วยการคล้องสายยัชโญปวีต

วรรณะพราหมณ์ จะทำเมื่ออายุ 5 ขวบ
วรรณะกษัตริย์ ทำเมื่อ 6 ขวบ
วรรณะแพศย์ ทำเมื่อ 8 ขวบ

น่าจะเคลียร์ แต่ถ้าทราบอยู่แล้วคงต้องขอโทษ