Loader
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - pimni

#2
กำเนิดของวัด
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขกสีลม เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการสักการะบูชาพระอุมาเทวี พระมเหสีพระศิวะ วัดนี้มีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่สมัย ร.5 ราว พ.ศ. 2453-2454 โดยคณะผู้ศรัทธาชาวอินเดียใต้ผู้อาศัยอยู่ย่านตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก และตำบลหัวลำโพงอำเภอบางรัก ซึ่งเป็นชาวอินเดียเผ่าภารตะฑราวิฑนาดู ( ทมิฬ ) จากทางใต้ของประเทศอินเดียที่เดินทางทางทะเล เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนดินแดนย่านแหลมมลายูรวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทย
เมื่อนายไวตี พ่อค้าวัว และญาติมิตรชาวฮินดูที่ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพอยู่ย่านตำบลหัวลำโพง อำเภอบางรัก และตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก มีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที่บูชาพระอุมาเทวี ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู โดยเริ่มต้นตั้งเป็นศาลไม้ใต้ต้นสะเดาในไร่อ้อยริมคลองสีลม แถววัดวัวลำพองหรือหัวลำโพงในปัจจุบันนี้ ต่อมาคณะกรรมการผุ้ก่อตั้งวัดอาทิ นายไวตรีประเดียอะจิ( ต้นตระกูลไวตี เจ้าของเดิมที่ดินใน ซ.สีลม 13 หรือ ซ.ไวตี ถนนสีลม ) นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้หาที่ดินเพื่อตั้งสถานที่ถาวร โดยขอแลกที่ดินของพวกตนกับที่ดินสวนผักริมคลองสีลมของนางอุปการโกษากร ( ปั้น วัชราภัย ) มรรคนายิกา วัดสุทธิวราราม ภรรยาหลวงอุปการโกษากร ( เวก หรือ เวท วัชราภัย ) ปัจจุบันเป็นหัวถนนปั้นด้านที่ตัดกับถนนสีลม โดยนำเทวรูปองค์เทพและเทพี (เทวี) ต่าง ๆ มาจากประเทศอินเดียโดยมีพระศรีมหามารีอัมมัน หรือพระศรีมหาอุมาเทวีเป็นองค์ประธานของวัด รวมทั้งเทวรูปศิลาสลักพระพิฆเนศวรองค์หนึ่งซึ่งคตินิยมของพราหมณ์ฮินดูตอนใต้ถือว่าทรงเป็นเทพที่รักษาพรหมจรรย์ตลอดกาล และเทพแห่งความสำเร็จ ผู้ที่ได้รับการประทานพรจากพระศิิวะ เทพบิดร ให้เป็นเทพผู้ได้รับการเริ่มต้นบูชาก่อนการบูชาเทพ-เทพีองค์อื่นๆทุกครั้ง
วัดพระศรีมหาอุมาเทวีเป็นวัดนิกายที่ผู้ก่อตั้งนับถือว่าเป็น ศักติ คือนับถือเทพสตรีเป็นหลัก เทพสตรีอย่าง พระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า เจ้าแม่อุมา นั้น เป็นพระมเหสีของ พระอิศวร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น พระผู้ทำลาย ถือได้ว่าเมื่อยามที่พระองค์ทรงเสวยร่างเป็นเจ้าแม่อุมา จะเป็นเจ้าแห่งความเมตตากรุณา และงามสง่า ดังนั้นผู้มีจิตศรัทธาจึงนิยมไปกราบไหว้บูชา และขอพร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความรัก และ เรื่องการขอบุตร

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดเป็นลักษณะศิลปะประเพณีโบราณของอินเดียตอนใต้ผสมผสานกัน ระหว่างสมัยโจฬะและปาละ ในอินเดีย ซึ่งจะพบศิลปะทางสถาปัตยกรรมแบบนี้ได้ในเทวาลัยตอนใต้ของประเทศอินเดียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐทมิฬนาดู
ด้านในวัดมีโบสถ์ตั้งอยู่ตรงกลาง หันหน้าไปด้านถนนปั้น ด้านในสุดของโบสถ์แบ่งเป็น 3 ซุ้ม ซุ้มใหญ่ตรงกลาง มี 2 ล็อก ล็อกหน้าเป็นทางเดินเข้า ล็อกในประดิษฐาน เทวรูปปูนปั้น และเทวรูปหล่อลอยองค์ พระศรีมหามารีอัมมัน หรือพระศรีมหาอุมาเทวี ซุ้มด้านซ้ายและขวาของโบสถ์ ประดิษฐานเทวรูปของพระโอรสทั้งสอพระองค์ ซุ้มด้านซ้าย ( ด้านข้างในวัด )เป็นซุ้มประดิษฐานเทวรูปศิลาสลักองค์พระพิฆเนศ ซุ้มด้านขวา ( ด้านริมถนนสีลม ) ประดิษฐานเทวรูปหล่อลอยองค์ พระขันธ์กุมารซุ้มในโบสถ์ทั้ง 3 ซุ้มนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าไปข้างใน ยกเว้นพราหมณ์พิธีผู้มีคุณสมบัติอันสมควร แถวด้านซ้ายของโบสถ์หน้าซุ้มพระพิฆเนศ มีแท่นตั้งมีเทวรูปรูปหล่อลอยองค์พร้อมแท่นวางมีห่วงเหล็กที่สร้างไว้สำหรับอัญเชิญออกแห่ในงานพิธีหรือเทศกาลต่างๆของวัด อันได้แก่ พระพิฆเนศ พระศิวะ พระกฤษณะ พระวิษณุ พระลักษมี พระแม่กาลี พระสรัสวดีและมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นพระพุทธชินราชจำลองตั้งวางอยู่ด้านข้างประตูโบสถ์ด้านใน ส่วนด้านขวาของโบสถ์หน้าซุ้มเทวรูป พระขันธ์กุมาร มีซุ้มพระศิวะ ปางศิวนาฏราชและพระอุมาเทวี , ตู้เก็บใบคำทำนายเซียมซีของวัด ทางเข้าด้านหน้าโบสถ์ทั้งซ้ายขวา เป็นสถานที่สำหรับขายของต่างๆ
บนลานวัดด้านหน้าโบสถ์มีเสาสีทองขนาดใหญ่สูงเท่าหลังคาโบสถ์ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างประตูหน้าของวัดและช่องกลางโบสถ์ซึ่งมีซุ้มใหญ่ตรงกลาง ที่ประดิษฐานพระศรีมหามารีอัมมันอยู่ด้านในสุด ด้่านบนสุดของเสาเป็นโยนีลิงค์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะถูกตกแต่งประดับประดาและชักธงรูปสิงห์ประจำองค์พระแม่ ขึ้นในช่วงสัปดาห์เทศกาลนวราตรี บนลานวัดหน้าโบสถ์มีเทวาลัยขนาดเล็กอีก 3 เทวาลัย เทวาลัยแรกอยู่บริเวณกลางลานหน้าโบสถ์ด้านขวา (ด้านถนนสีลม) เป็นเทวาลัยประดิษฐานศิวลึงค์อันเป็นสัญญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ อีก 2 เทวาลัยอยู่ที่มุมริมสุดด้่านหน้าของวัดด้านถนนปั้นตัดกับถนนสีลม เป็นเทวาลัยประดิษฐานพระพรหม และเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปประจำวันทั้ง 7 ริมรั้วด้านถนนสีลมระหว่าเทวาลัยพระพรหมและศิวลึงค์ มีหอระฆังที่ต้องตีตลอดเวลาขณะที่พราหมณ์ทำพิธีบูชาเทพเจ้า ส่วนด้านข้างของวัดริมซ้ายติดกับบ้านเรือนของเอกชนในถนนปั้น ใกล้รั้วเป็นซุ้มใหญ่ประดิษฐานเทวรูปอีก 3 ซุ้ม ถัดเข้าไปข้างในเป็นแผ่นสลักรูปศักดิ์สิทธิ์หันหน้าเข้าหาถนนสีลมถัดเข้าอีกเป็นอาคารสำนักงานของทางวัด

เทศกาลนวราตรี

ในช่วงวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 11 รวม 9 วัน 9 คืนนั้น เป็นเป็นช่วงเวลาของเทศกาลดูเซร่า หรือนวราตรี ของชาวฮินดู ซึ่งเป็นงานแห่พระแม่อุมา และเชื่อกันว่าในช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่พระแม่และขบวนเทพจะเสด็จมายังโลกเพื่อประทานพรให้กับมนุษย์

ขอขอบคุณ : Wikipedia / travel.sanook.com / thaitambon.com
#3
พอดีว่าโดยส่วนตัวอยากปูผ้าหนังพิมพ์ลายเสือ(เทียม)บนหิ้งบูชาเทพอ่ะค่ะ เพราะว่าไปอ่านเจอมาว่า องค์พ่อพระศิวะทรงโปรดผ้าพิมพ์ลายเสือ เลยอยากจะปูผ้านี้ถวายแด่ท่าน แต่เผอิญว่า พิมบูชาเทพด้วยกันหลายพระองค์อย่างพระศรีคเณศ พระแม่อุมามหาเทวี แม่กาลี แม่ทรุคา...
แล้วอย่างนี้จะปูผ้าลายเสือถวายได้ไหมค้ะ รึจะต้องทำไงตามความเห็นของเพื่อนๆผู้รู้ ช่วยแบ่งปันความคิดเห็นหน่อยน้ะจ้ะ ขอบคุณค่ะ
#4
ก็พอดีว่าพิมไปเจอมาอ่ะค่ะ เพราะว่าพิมก็อยากเบิกเนตรพระที่บ้านด้วยอ่ะค่ะ ไม่ค่อยสะดวกที่จะออกไปไหนเลย
#5
คาถาเบิกเนตร พระคาถาเบิกเนตร บทนี้ มีประสิทธิภาพมากมายหลายสถาน คาถาเบิกเนตร ใช้เบิกเนตรพระพุทธรูปที่สร้างหรือหล่อใหม่ก็ได้ หรือรูปปั้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทพ หรืออะไรก็ได้ทุกๆ อย่างใช้พระคาถาบทนี้เสกสุรา หรือเสกน้ำ พ่นตาแดงตาเจ็บก็ดีนักแล หรือจะใช้คาถาเบิกเนตร กับร่างทรง ร่างเทพใหม่ ๆ ในการเบิกเนตรเบิกทวาร เปิดพระโอษฐ์ ก็ใช้ได้ดียิ่ง
สหัสสะเนตโต เทวินโท ทิพพะจักขุง วิโสทายิ
ที่มา:http://www.tumsrivichai.com/index.php? lay=show&ac=article&Id=5331457&Ntype=41
ถ้าผิดพลาดประการใดขอภัยด้วยน้ะค่ะ
#6
คร๊ะ ขอบคุณที่แนะนำค่ะ
พิมไม่ได้ทำแบบแม่ซักหน่อย T^T เพราะรู้อยู่แล้วมากกว่า ว่าไม่ครวจะกินอะไรเช่น น้ำอ้อยพิมก็นำไปถวายองค์คเณศก่อน พอเสร็จกะลาถวาย แล้วกะกินเองค่ะ ส่วนเรื่องกุมาร ชวนมากินข้าวรึขนมทุกครั้งค่ะ^^
#7
แม่ บอกให้เชิญมา อ่ะ - -
แต่ก็จะถวาย ขนมโมกทะ ใส่ถาดอ่ะค่ะ แล้วต้องรอให้เทียนดับรึธูปกำยานดับหรอถึงจะลาของถวายมากินได้
พิมไม่กล้าลาของถวายเลยหลังสวดอัญเชิญท่านมาอ่ะค่ะ(กลัวท่านยังเสวยไม่เสร็จแล้วเหมือนเปนการเสียมารยาทค่ะ จริงจังและก็ค่อนข้างเคร่งอ่ะค่ะ- -*)
#8
ขอบคุณค่ะ อิอิ พอดีสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศ 108 จบเกือบทุกวัน อ่ะค่ะ กลัวว่าท่าจะไม่พอพระทัย...
แต่ก่อนที่จะสวดมนต์ไหว้พระรึจุดกำยาน พิมได้อาบน้ำชำระกายให้สะอาดก่อนทุกครั้งอยู่แล้ว
#9
ขอบคุณมากค่ะ 555+ พอดี พี่ซื้อมาให้แล้วเห็นบอกว่าซื้อที่ร้านสะดวกซื้อให้แล้วค่ะ เหอๆ
ขอบคุณมากที่กรุณาตอบค่ะ ขอบคุณมากจริงๆ~!!!
#10
ชอบกินขนมราดูมาก กินจนจะอ้วนอยู่แล้ว เวลากินแม่บอกให้อัญเชิญพระพิฆเนศมาเสวยกับเราด้วยค่ะ
( งง น้ะอัญเชิญมาทำไม ) เอาไปตั้งที่หิ้งแล้วถวายเลยนี่ได้ป่าวอ่ะ
#11
อยากรบกวนถามหน่อยค่ะว่าน้ำมันจันทน์หาซื้อได้ที่ไหน - -
แล้วมีขายตามท้องตลาด รึว่าร้านสะดวกซื้อไหมค่ะ
พอดีว่าอยากจะทำการปลุกเสกเสริมมงคลให้กับเมล็ดรุทรักษะ เองค่ะ
เพราะที่นครศรีธรรมราชหา พรามณ์ทำพิธียาก(มว๊ากก~!)
รบกวนช่วยตอบทีน้ะค้ะ....เพราะพรุ่งนี้จะทำแล้วอ่ะค่ะ พรุ่งนี้เป็นทั้งวันพระวันจักรี เป็นวันมงคลอ่ะค่ะ รบกวนหน่อยน้ะค้ะ
#12
โอ้โห งบเยอะน่าดูเลย อยากได้แบบนี้มั้งจัง .....T^T
เราไม่มีตังค์เลย ของเราทำหิ้งแบบที่พอจะทำได้ไม่มีอะไรสวยงามเลยอ่ะ ....Q_Q
#13
ขอบคุณพี่กาลีทัสมากมายค่ะ อิอิ
พอดีว่าข้องใจมาตลอดไม่กล้าสวด กลัวองค์แม่ทรุคาจะไม่ชอบ- -*
แต่ว่า เวลาจุดกำยานถวายท่านถ้าหากมีประจำเดือน เนี่ยจุดได้ใช่ไหมค่ะ?
#15
รบกวนช่วยผู้รู้ช่วยตอบหน่อยน้ะค่ะ ว่าพิธีจักรันถ้าหากมีประจำเดือนสามารถทำได้ไหมค่ะ
แล้วพิธีจักรันต้องเตรียมการอะไรบ้างค่ะ อยากทราบอ่างละเอียดและเป็นขั้นตอนเลยค่ะ
รบกวนเพื่อนๆที่รู้ช่วยตอบหน่อยน้ะค้ะ T^T
#16
หวัดดีจร้า ชื่อพิมน้ะ
นับถือเทพฮินดูมากๆค่ะ ทั้งครอบครัวก็นับถือค่ะ
นับถือและศรทธามากๆ โดยเฉพาะพระศิวะพระพิฆเนศค่ะ เจอเรื่องมหัสจรรย์มาเยอะเลยค่ะ
นับถือ สุดๆเอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม และ 555+